พระบรมธาตุแช่แห้ง พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองของชาวน่าน วัดพระบรมธาตุแช่แห้งตั้งอยู่ที่บ้านหนองเต่า ตำบล ม่วงตึ๊ด กิ่งอำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองไปราว 2กม. เส้นทางสายน่าน-แม่จริม สันนิษฐานว่ามี อายุราว 600 ปี พญาการเมืองโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1891 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่ได้มาจาก กรุงสุโขทัย องค์พระธาตุมีีความสูง55.5 เมตร ตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 22.5 เมตร บุด้วยทอง เหลืองหมดทั้งองค์ เป็นโบราณสถาน ที่งดงามที่สุดแห่งหนึ่งของล้านนา ทุกปีจะมีงานนมัสการพระบรมธาตุแช่แห้ง ระหว่างวันขึ้น 11 ค่ำ ถึง 15 ค่ำเดือน 6 ทางเหนือ ซึ่งจะอยู่ราวปลายเดือนกุมภาพันธ์หรือต้นเดือนมีนาคมของทุกปี พระบรมธาตุแช่แห้งปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่าพญาการ เมือง โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ของวัดพระธาตุแช่แห้ง ที่สำคัญและแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรมและ ศิลปกรรมสกุลช่างน่าน
พระบรมธาตุแช่แห้งเป็นศิลปะการก่อสร้าง ที่มีความวิจิตรงดงาม อีกแห่งหนึ่ง ของภาคเหนือ ที่เป็นศิลปะ การก่อสร้าง ที่ได้รับอิทธิพล การก่อสร้างมาจากเจดีย์พระธาตุหริภุณไชย โดยมีลักษณะโดยรอบๆ ของ องค์พระธาตุ คือจะมี การบุรอบองค์ด้วยทองจังโก ในส่วนของทางเดิน ขึ้นสู่งองค์พระธาตุนั้น จะเป็นตัวพญานาค หน้าบันเหนือประตูทางเข้าลักษณะของการปันจะเป็นลายนาคเกี้ยว ที่เป็นเอกลักษณ์เฉพาะของ ช่างฝีมือและของ ศิลปะ ของจังหวัดน่านโดยแท้จริง ี่ชาวเมือง ล้านนามีความ เชื่อกันว่า การได้เดินทางไปสักการบูชา กราบไหว้ นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้ง หรือชาวล้านนาจะเรียกกันว่า การชุธาตุ แล้วนั้นจะทำได้รับอานิสงค์อย่างแรงกล้า ทำให้ชีวิตอยู่ดีมีสุข ปราศจากโรคภัยต่างๆ มาเบียดเบียน หน้าที่การงานเจริญก้าวหน้า เป็นต้น และหากใครที่จะ เดินทางได้ นมัสการองค์พระธาตุแซ่แห้งนั้น สามารถเดินทางไปได้ทุกวัน ซึ่งจะเปิดให้เข้านมัสการ ตั้งแต่เวลา 06.00-18.00 น. Read more »
Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคเหนือ’ Category
วัดพระบรมธาตุแช่แห้ง
วัดพระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง อ.ภูเพียง
วัดพระธาตุแช่แห้ง มาถึงเมืองน่านไม่ได้มานมัสการ ถือว่ามาไม่ถึงเมืองน่าน
ปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่า พญาการเมือง โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ ของวัดพระธาตุแช่แห้งที่สำคัญ และแสดงให้เห็น ถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรม และศิลปกรรมสกุลช่างน่าน แยกออกเป็น 2 แห่ง ได้แก่
วิหารหลวง อยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุเป็นวิหารขนาดใหญ่ 6 ห้อง ห้องกลางมีขนาด 3 ห้อง และต่อชั้นลดออกไป ทางด้านหน้า 2 ห้องและด้านหลัง 1 ห้อง ดังนั้นหากดูจากภายนอก จะมองเห็นเป็นอาคาร ขนาดใหญ่ หลังคาลาดต่ำลงมาเป็นชั้นซ้อน ด้านละ 3 ชั้น และมีชั้นลดด้านหน้า 2 ชั้น ด้านหลัง 1 ชั้น มีประตูทางด้านหน้า และด้านข้างตรงกลาง ที่น่าสนใจคือ ตรงกลางสันหลังคา ทำเป็นส่วนหางของนาคสองตัว เกี่ยวกระหวัดกันขึ้นไปเป็นสามชั้น เป็นศิลปกรรม ที่งดงามและหาดูได้ยาก Read more »
แหล่งท่องเที่ยวทางศิลปะวัฒนธรรม –วัดพระธาตุแช่แห้ง
ปูชนียสถานที่สำคัญของเมืองน่าน มีอายุกว่า 600 ปี ตามพงศาวดาเมืองน่านกล่าวว่า พญาการเมือง โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่ได้มาจากเมืองสุโขทัย ระหว่างปี พ.ศ.1891-1901 สถาปัตยกรรมด้านโบสถ์ของวัดพระธาตุแช่แห้วที่สำคัญและแสดงให้เห็นถึงแบบอย่างสถาปัตยกรรมและศิลปกรรมสกุลช่างน่าน กิ่งอำเภอ ภูเพียง
วิหารหลวง อยู่ทางด้านทิศใต้ขององค์พระธาตุเป็นวิหารขนาดใหญ่ 6 ห้อง ห้องกลางมีขนาด 3 ห้อง และต่อชั้นลดออกไปทางด้านหน้า 2 ห้องและด้านหลัง 1 ห้อง ดังนั้นหากดูจากภายนอกจะมองเห็นเป็นอาคารขนาดใหญ่ หลังคาลาดต่ำลงมาเป็นชั้นซ้อนด้านละ 3 ชั้น และมีชั้นลดด้านหน้า 2 ชั้น ด้านหลัง 1 ชั้น มีประตูทางด้านหน้าและด้านข้างตรงกลาง
วิหารพระนอน อยู่ทางด้านหน้านอกกำแพงแก้วขององค์พระธาตุ วิหารก่อสร้างตามแนวยางขององค์พระ มีประตูทางเข้าด้านหลังคือ
ทิศใต้ Read more »
ความเป็นมาของพระเจ้าแช่แห้ง
วัดพระธาตุแช่แห้ง
• ความเป็นมา ตามพงศาวดารเมืองน่านเล่าว่า พระมหาธาตุเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อปีพุทธศักราช 1896 ในสมัยพญาการเมือง เจ้าผู้ครองเมืองวรนคร (อ.ปัว ในปัจจุบัน) ได้เสด็จไปร่วมพระราชกุศลกับพระมหาธรรมราชาลิไท ในการสร้างวัดหลวงอภัยขึ้นที่เมืองสุโขทัย เมื่อทรงสร้างเสร็จ พระเจ้ากรุงสุโขทัยได้ถวายพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ ลักษณะเท่าเมล็ดพันธุ์ผักกาด มีวรรณสุกใสดั่งแก้ว 2 พระองค์ มีวรรณดั่งมุก 3 พระองค์ และมีลักษณะเท่าเมล็ดงาวรรณดั่งทองคำ 2 พระองค์ พระพิมพ์เงิน พิมพ์คำ (ทองคำ) อีกอย่างละ 20 องค์ ให้แก่พญาการเมือง พญาท้าวมีความปิติเป็นอย่างมาก จึงได้อัญเชิญพระมหาชินธาตุเจ้า พระพิมพ์เงิน พิมพ์คำ มายังดอยภูเพียงแช่แห้งประจุลงในเต้าปูนทองสำริด แล้วพอกด้วยสะตาย (ปูนขาวผสมยางไม้) กลเหมือนก้อนศิลา ขุดหลุมลึก 1 วา แล้วอาราธนาพระมหาชินธาตุเจ้าประดิษฐานในหลุมนั้น ก่อเจดีย์สูง 1 วา ทับไว้อีกชั้นหนึ่ง
• การต่อมาหลังจากพญาการเมืองเสวยราชสมบัติที่เมืองวรนครได้อีก 6 ปี จึงได้ย้ายเมืองจาก วรนคร มาสร้างเมืองใหม่ขึ้นที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และได้ปกครองอยู่ตราบสิ้นรัชสมัยของพระองค์ พญาผากองโอรสของพญาการเมือง ทรงขึ้นครองราชย์แทนและได้ย้ายเมืองจากดอยภูเพียงแช่แห้ง ข้ามฝั่งแม่น้ำมาตั้งเมืองใหม่ขึ้นจวบจนถึงปัจจุบันนี้
• อีกตำนานหนึ่งกล่าวว่า เมื่อครั้งสมัยพุทธกาล สมเด็จพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน พระอรหันต์เจ้าทั้งหลายได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุข้อพระหัตถ์ซ้ายและเศษสรีรังคารธาตุ มาประดิษฐานไว้บนดอยภูเพียง เพื่อให้มนุษย์และเทวดาได้สักการบูชาตราบเท่า 5,000 พระวัสสา นอกจากนี้พระธาตุแช่แห้งมีความสำคัญอีกประการหนึ่ง คือ เป็นพระธาตุประจำปีนักษัตรปีเถาะหรือปีกระต่าย ซึ่งผู้คนที่เกิดปีเถาะหรือผู้ที่นับถือจะมานมัสการพระธาตุแช่แห้งเพื่อความเป็นสิริมงคล Read more »
คำนมัสการพระธาตุแช่แห้ง
นะโมตัสสะ ภะคะวะโต อะระหะโต สัมมา สัมพุทธัสสะ (3 จบ)
ยา ธาตุภูตาอะตุลานุภาวา จิรังปะติฏฐิตา
นันทะกัปปะเก ปุเรเทเวนะ คุตตาวะระพุทธะธาตุง จิรัง
วันทามิหันตังชินะธาตุโย โสตะถาคะตัง
อะหัง วันทามิสัพพะทา อะหัง วันทามิ ทูระโต
ขอขอบคุณ http://www.ch.or.th/
ตำนานพระธาตุแช่แห้ง ปรากฎในธรรมพระเจ้าเลียบโลกทรงพระพุทธทำนาย
ปรากฏในอดีตกาลองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้ตรัสรู้พระอนุตรสัมมาสัมโพธิญาณแล้วเสด็จประทับ ณ พระเชตะวันมหาวิหารถึงพรรษาที่ ๒๕ พรรษา วันหนึ่งเวลาใกล้รุ่งพระองค์ทรงเล็งเห็นด้วยพระญาณว่า เราตถาคตเมื่อตรัสรู้แล้ว บัดนี้อายุเราได้ ๖๐ ปี เมื่ออายุแห่งเราได้ ๘๐ ปีเราก็จะดับขันธ์ปรินิพพาน ยังเหลือเวลาอีก ๒๐ ปีที่เราตถาคตจะดำเนินไปโปรดเทศนาสั่งสอนเทวดา มนุษย์และเวไนยสัตว์ทั้งหลาย ในเมื่อพระองค์ทรงเล็งเห็นดังนั้นแล้ว พระพุทธเจ้าตนมีพระมหากรุณาจะเสด็จจึงเรียกเอาพระอรหันต์สาวกมีพระอานนท์เป็นผู้ถือบาตร พระรัตนเถร พระโสภณเถร พญาเมืองกุสินารามีพระนามพญาอโศกถือรองเท้าและไม้เท้าเสด็จตามพระพุทธเจ้าตามอุปฏฐาก ส่วนพญาอินทร์ก็ลงมาถือฉัตรกันแดดกันฝนให้พระผู้เป็นเจ้า พระองค์ได้โปรดเทศนาชาวเมืองกุสินาราเป็นปฐมฤกษ์ พระก็เสด็จออกจากเชตวนอาราม ในวันเดือนเกี๋ยง แรม ๑ ค่ำ ไปยังเมืองคูลวา เมืองแกว เมืองลังกา เมืองสวนตาล เมืองจีน เมืองฮ่อ เมืองลื้อ เมืองเขิน เมืองพระยาก เมืองเชียงแสน เมืองเชียงราย ดอยนภยาว ไปจอมแว ดอยคระชาว เมืองลำปาง เมืองแพร่แล้วเสด็จมาถึงยังเมืองนันทบุรีเสด็จประทับอยู่ที่ริมน้ำห้วยไคร้ Read more »
ประวัติพระธาตุแช่แห้ง
จากประวัติเก่าแก่ของเมืองน่าน เป็นระยะเวลายาวนานกว่า ๖๐๐ ปี ที่เมืองน่านดำรงอยู่ในฐานะนครที่มีเจ้าผู้ครองนคร แม้บางครั้งเมืองน่านจะตกอยู่ใต้อำนาจของกรุงสุโขทัย และกรุงรัตนโกสินทร์ก็ตาม แต่ด้วยชัยภูมิที่ตั้งของเมืองน่าน เป็นเมืองค่อนข้างเร้นลับ ยากแก่การเดินทางไปถึงของผู้คน และวัฒนธรรม ศิลปกรรมภายนอก เมืองน่านจึงสร้างสมมรดกทางศิลปกรรม และวัฒนธรรม ด้วยเอกลักษณ์ของตนเอง
สำหรับองค์พระเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่สร้างไว้แต่เดิมนั้น แม้บางยุคบางสมัยจะถูกละทิ้งให้รกร้างไปบ้าง แต่ต่อมาได้มีเจ้าผู้ครองนครองค์อื่นๆ บูรณปฏิสังขรณ์องค์พระเจดีย์ให้สูงใหญ่ยิ่งๆขึ้น ปัจจุบันสูงประมาณ ๒ เส้นเศษ
จึงนับว่าพระธาตุแช่แห้งนี้ เป็นปูชนียสถานสำคัญ และศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่โบราณของจังหวัดน่าน ซึ่งมีอายุกว่า ๖๐๐ ปีมาแล้ว (นับถึง พ.ศ. ๒๕๔๐) โดยปกติจะมีงานเทศกาลนมัสการเป็นประจำทุกปี ระหว่างวันขึ้น ๑๑ ค่ำ – ๑๕ ค่ำ เดือน ๔ (เดือน ๖ เหนือ) จะอยู่ในราวๆเดือนมีนาคม
เรื่องราวประวัติความเป็นมาของพระธาตุแช่แห้ง ตามที่ประมวลมาให้เป็นที่รู้จักกันนี้คงเป็นเพียงสังเขปปะติดปะต่อกันกับประวัติศาสตร์ของเมืองน่าน หากจะเจาะลึกให้ละเอียดลงไปอีก คงต้องขออ้างข้อความตามพงศาวดารเมืองน่านบางตอน ปรากฏข้อความ ดังนี้ Read more »
พระธาตุแช่แห้ง จังหวัดน่าน
พระธาตุแช่แห้ง ตั้งอยู่ภายใน วัดพระธาตุแช่แห้ง หมู่ 3 บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตี๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร เดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ ทางฝั่งตะวันออกของแม่น้ำน่าน บริเวณที่เป็นศูนย์กลางเมืองน่านเดิม หลังจากที่ย้ายมาจากเมืองปัว ซึ่ง พระธาตุแช่แห้ง เป็นสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง 2 เส้น เป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต
พระธาตุแช่แห้ง เป็นปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ สร้างในสมัยเจ้าพระยาการเมือง (เจ้าผู้ครองนครน่านระหว่าง พ.ศ.1869-1902) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระมหาชินธาตุเจ้า 7 พระองค์ พระพิมพ์เงิน และพระพิมพ์ทอง ที่ได้รับพระราชทานจากพระมหาธรรมราชาลิไท เมื่อครั้งที่เจ้าพระยาการเมืองเสด็จไปช่วยสร้างวัดหลวงอภัย (วัดป่ามะม่วง จังหวัดสุโขทัยในปัจจุบัน) ในปีพ.ศ. 1897 Read more »
พระธาตุแช่แห้ง
พระธาตุแช่แห้ง พระอารามหลวง วัดพระธาตุแช่แห้ง หมู่ 3 บ้านหนองเต่า ตำบลม่วงตี๊ด อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน เดิมเป็นวัดราษฎร์ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวง ประดิษฐานอยู่ ณ อำเภอภูเพียง จังหวัดน่าน อยู่ห่างจากตัวเมืองออกไปประมาณ 3 กิโลเมตร องค์พระธาตุตั้งอยู่บนเนินเขาลูกเตี้ย ๆ เป็นสีทองสุกปลั่ง สามารถมองเห็นได้แต่ไกล เนื่องจากสูงถึง 2 เส้น เป็นอนุสรณ์ของความรักและความสัมพันธ์ ระหว่างเมืองน่านกับเมืองสุโขทัยในอดีต
รูปแบบสถาปัตยกรรม
ตัวพระธาตุตั้งอยู่บนเชิงเนินปูด้วยอิฐ ลาดขึ้นไปยังยอดเนิน กว้างประมาณ 20 วา มีบันไดนาคขนาบทั้งสองข้าง องค์พระเจดีย์เป็นแบบล้านนา ฐานเป็นสี่เหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไปจนสูง ใช้แผ่นทองเหลืองบุรอบฐาน แล้วลงรักปิดทอง จากพงศาวดารเมืองน่านกล่าวว่า พระยาการเมือง เจ้านครน่านได้อัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุจาก กรุงสุโขทัย มาประดิษฐานไว้ที่ดอยภูเพียงแช่แห้ง และตามตำนานกล่าวว่า พระพุทธเจ้าได้เสด็จมาประทับสรงน้ำที่ริมฝั่ง แม่น้ำน่านทางทิศตะวันออก ที่บ้านห้วยไค้ และเสวยผลสมอแห้ง ซึ่งพระยามลราชนำมาถวาย แต่ผลสมอนั้นแห้งมาก พระพุทธเจ้าจึงทรงนำผลสมอนั้นไปแช่น้ำก่อนเสวย และทรงพยากรณ์ว่า ต่อไปที่นี่จะมีผู้นำพระบรมสารีริกธาตุมาประดิษฐาน จึงเรียกพระสถูปที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุแห่งนี้ว่า พระธาตุแช่แห้ง Read more »
วัดพระธาตุจอมกิตติ อ. เชียงแสน จ. เชียงราย
วัดพระธาตุจอมกิตติ – ข้อมูลทั่วไป
วัดพระธาตุจอมกิตติ ตั้งอยู่บนเนินเขานอกตัวเมือง เป็นเจดีย์ทรงมณฑปที่สร้างขึ้นโดยพระเจ้าพังคราช เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ต่อมาในปี พ.ศ.2030 หมื่นเชียงสงได้ก่อสร้างเจดีย์องค์ใหม่ครอบทับองค์เดิม บริเวณพระธาตุจอมกิตติ มีพระธาตุขนาดเล็กตั้งอยู่อีกองค์หนึ่ง คือ พระธาตุจอมแจ้ง และมีจุดชมทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงอยู่หลังองค์พระธาตุจอมแจ้ง มีบันไดนาค 339 ขั้น เป็นทางเดินขึ้นไปนมัสการหรือจะนำรถขึ้นไปจอดบนพระธาตุก็ได้
ขอขอบคุณ http://www.ezytrip.com/
วัดพระธาตุจอมกิตติ
วัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย (อยู่ถนนเลียบแม่น้ำเชียงแสน – เชียงของ) ตามพงศาวดารกล่าวว่า พระเจ้าพังคราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง เมื่อ พ.ศ. 1483 สมัยเดียวกับการสร้างพระธาตุจอมทอง เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ เป็นเจดีย์ย่อเหลี่ยมไม้สิบสองสมัยเชียงแสน ต่อมาในปี พ.ศ. 2030 หมื่นเชียงสงได้ก่อสร้างเจดีย์องค์ใหม่อยู่อีกองค์หนึ่ง คือ พระธาตุจอมแจ้ง
มีบันไดนาค 339 ขั้น เป็นทางเดินขึ้นไปนมัสการหรือจะนำรถขึ้นไปจอดบนพระธาตุได้ สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระเจดีย์ทรงปราสาทยอดทรงระฆัง หลังคารูปบัวคว่ำ พระเจ้าพังคราชโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1483 เพื่อบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ต่อมาเจ้าสุวรรณ คำล้าน เจ้าเมืองเชียงแสน ได้สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมไว้ เมื่อปี พ.ศ.2030 ตามรูปแบบสถาปัตยกรรมองค์เจดีย์ในปัจจุบัน
พระธาตุจอมกิตติ(1 ใน พระธาตุ 9 จอม พระธาตุศักดิ์สิทธิ์ประจำ จ.เชียงราย)
ที่ตั้ง วัดพระธาตุจอมกิตติ ตำบลเวียง อำเภอเชียงแสน จังหวัดเชียงราย โทร. o- ๕๓๖๕- o๕๓๔ มีพระครูวิกรมสมาธิคุณเป็นเจ้าอาวาส Read more »
พระธาตุจอมกิตติ พระธาตุคู่บ้านคู่เมืองเชียงแสน
จากเหตุการณ์แผ่นดินไหวขนาด 6.1 ริคเตอร์ ที่ชายแดนประเทศลาวเมื่อวันที่ 17 พ.ค. ได้ส่งผลให้พระธาตุจอมกิตติ ในเมืองโบราณเชียงแสน ที่อยู่ห่างจากจุดเกิดแผ่นดินไหวราว 60 กิโลเมตร เกิดความเสียหาย โดยยอดของพระธาตุได้หักสะบั้นลงมา
ทั้งนี้จากการตรวจสอบของกรมศิลปากรพบว่ายอดของพระธาตุได้รับความเสียหายหลายส่วน โดยเฉพาะอัญมณีประดับยอดฉัตร 9 ชนิด ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานบรรจุในยอดฉัตร เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ(พระเกศาธาตุ)เมื่อ ปี พ.ศ. 2519 ปรากฏว่าได้หลุดออกมา 5 เม็ด โดย ณ วันนี้กรมศิลปกรสามารถตามหาพบแล้ว 3 เม็ด ส่วนอีก 2 เม็ดยังคงหาไม่พบ ซึ่งหากว่าไม่สามารถหาอัญมณีที่หายไปได้ ทางกรมศิลปากรจะทำหนังสือไปยังสำนักพระราชวัง เพื่อขอพระราชทานเม็ดพลอยสี ที่เหมือนกับเม็ดเก่ามาประดับไว้ในยอดฉัตรดังเดิมต่อไปในการทำการบูรณะองค์พระธาตุจอมกิตติ
Read more »
วัดพระธาตุจอมกิตติ WATPHRATHATCHOMKITTI
วัดพระธาตุจอมกิตติ มีประวัติมาช้านาน ตั่งแต่สมัย 30 ปี ก่อนพุทธกาล เมื่อพระพุทธเจ้า ได้เสด็จมาเยือนพระเจ้า
สิงหนวติ ปฐมกษัตริย์แห่งพันธุสิงหนวตินคร หรือเมืองโยนกนครราชธานีไชยบุรีศรีช้างแสน ในฐานะพระญาติ และได้ประทานพระ
เกศาซึ่งได้บรรจุไว้ในเจดีย์ที่สร้างขึ้นบนดอยน้อย หรือดอยจอมกิตติ
ครั้นสมัยพระเจ้าพังคราช พุทธศตวรรษที่ 9 ได้รับพระบรมธาตุส่วนพระนลาฏ (หน้าผาก) รวม 16 องค์ แบ่งไปบรรจุ
ที่ดอยจอมทอง เมืองพะเยา 5 องค์ บรรจุไว้ที่ดอยน้อย 11 องค์ ในสมัยพ่อขุนผาเมือง พุทธศตวรรตที่ 18 ได้บรรจุพระบรมธาตุรวม
ุไว้อีก ส่วนพระอุระ (ทรวงอก) 8 องค์ พระรากขวัญ (ไหปลาร้า) 5 องค์ รวมแล้วมีพระบรมธาตุบรรจุไว้ในเจดีย์จอมกิตตินี้ถึง 25 องค์
หลังจากนั้นก็มีการบูรณะ และขยายฐานองค์พระธาตูเรื่อยมาจนปัจุบัน มีฐานกว้าง 8.70 เมตร สูง 25 เมตร
นอกจากองค์พระธาตุจอมกิตติแล้ว ในบริเวณวัดยังมีพระธาตุจอมแจ้ง ซึ่งเจ้าสุวรรณคำล้านนา สร้างในปี พ.ศ. 2030 มีพระอุโบสถ์
ซุ้มประตูโขง บันไดนาค ศิลปะแบบล้านนาที่งดงาม ที่บรเวณหน้าโบสถ์ยังสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของแม่น้ำโขงได้อย่างสวยงาม
และที่เชิงดอยยังมีพระพุทธโยนกมิ่งมงคลเชียงแสนองค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่บริเวณบ่อน้ำทิพย์อันศักดิ์สิทธิ์ Read more »
ที่มาของพระธาตุจอมกิตติ ก่อนยอดฉัตรหัก
จากเหตุแผ่นดินไหวครั้งใหญ่ขนาด ๖.๑ ริคเตอร์ ที่ชายแดนประเทศลาว เมื่อวันที่ ๑๖ พฤษภาคม พ.ศ.๒๕๕๐ เป็นผลให้พระธาตุจอมกิตติ พระธาตุองค์สำคัญและเก่าแก่ในเมืองโบราณเชียงแสน ซึ่งตั้งอยู่บนยอดดอยน้อยหรือดอยจอมกิตติ ต.เวียง อ.เชียงแสน จ.เชียงราย ที่อยู่ห่างจากจุดเกิดแผ่นดินไหวราว ๖๐ กิโลเมตร เกิดรอยร้าวในส่วนองค์พระธาตุ รวมทั้งในส่วนยอดฉัตรและยอดปลีได้หักพังลง
ทั้งนี้จากการตรวจสอบของกรมศิลปากร พบว่า ยอดขององค์พระธาตุจอมกิตติได้รับความเสียหายหลายส่วน โดยเฉพาะอัญมณีประดับยอดฉัตร ๙ ชนิด ที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดช และสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ฯ พระบรมราชินีนาถ ได้พระราชทานบรรจุในยอดฉัตร เพื่อบูชาพระบรมสารีริกธาตุ (พระเกศาธาตุ) เมื่อปี พ.ศ.๒๕๑๙ ปรากฏว่าได้หลุดออกมา ๕ เม็ด โดย ณ เวลานี้ กรมศิลปกรสามารถตามหาอัญมณีประดับยอดฉัตรพบแล้ว ๓ เม็ด ส่วนอีก ๒ เม็ดยังคงหาไม่พบ ซึ่งหากว่าไม่สามารถหาอัญมณีที่หายไปได้ ทางกรมศิลปากรจะทำหนังสือไปยังสำนักพระราชวัง เพื่อขอพระราชทานเม็ดพลอยสีที่เหมือนกับเม็ดเก่ามาประดับไว้ในยอดฉัตรดังเดิมต่อไป ในการทำการบูรณะองค์พระธาตุจอมกิตติ Read more »
ความเป็นมาของ วัดพระธาตุจอมกิตติ
วัดพระธาตุจอมกิตติ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ ที่เป็นสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเปรียบเสมือนเป็นองค์แทนพระองค์ไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญเพียรเผยแพร่หลักธรรมแห่งพุทธศาสนา เพื่อการหลุดพ้นจากบ่วงกรรมความทุกข์ทั้งปวง อันจะนำพาความเป็นสิริมงคลมาสู่ชีวิตของผู้ที่เคารพและศรัทธา
ตามคติความเชื่อของชาวล้านนามาตั้งแต่โบราณกาล เชื่อกันว่าการได้ทำบุญวัดประจำปีเกิด หรือการได้ไปทำบุญวัดที่เป็นมงคลนามทั้งเก้า รวมถึงการได้ไปนมัสการสักการะพระธาตุเก้าจอม จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล “อยู่เย็นเป็นสุข” หรือ ตามคติล้านนาว่า “อยู่ดีกินหวาน” ประสบความสำเร็จทั้งการงาน การเงิน การดำเนินชีวิตได้สมดังปรารถนา
วัดพระธาตุจอมกิตติ ถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอัศจรรย์ปาฏิหาริย์มาก จากคำบอกเล่าของบรรพชนมักได้ยินได้ฟังอยู่เสมอว่า ทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ของบางเดือน จะเกิดปรากฏการณ์พิเศษเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เช่น การปรากฏลำแสงพวยพุ่ง สุขสว่างสดใสเป็นรัศมีสีแดง สีเหลือง สีขาว ขึ้นรอบองค์พระธาตุ หรือ พาดผ่านขึ้นสู่ท้องฟ้าบ้าง หรือการปรากฏความร่มเย็นเป็นสุขมีฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลที่แห้งแล้วบ้าง หรือปรากฏกลิ่นหอมโรยรื่นอบอวลชวนให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสบ้าง ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้สำแดงออกมาโดยอัศจรรย์ด้วยพุทธานุภาพเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ผองชนที่เคารพเลื่อมใสเป็นอันมาก Read more »