Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

สิ่งสำคัญคู่บ้านคู่เมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองสมุทรปราการ ได้มีพิธีฝังหลักเมือง เมื่อปี พงศ.๒๓๖๒ ศาลหลักเมืองเดิม เป็นอาคารทรงไทย ต่อมาได้ชำรุดทรุดโทรม จึงได้มีการเปลี่ยนรูปแบบจากเดิม มาเป็นแบบศาลเจ้าพ่อของจีน เจ้าพ่อในศาลหลักเมืองเป็นรูปปั้น ขุนนางจีนโบราณในเครื่องแต่งกายเต็มยศ
เสาหลักเมือง อยู่ทางเบื้องซ้ายของเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นไม้กลึงกลมสูงประมาณ หกศอกเศษ ยอดเสากลึงเป็นดุม ลดหลั่น ยอดเป็นพุ่มแหลมเป็นอย่างไทย แต่มีการแกะสลักเป็นมังกรพันเสาหลักเมืองขึ้นไป

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ทำพิธีฝังอาถรรพ์หลักเมือง เมื่อปี พ.ศ.๒๓๕๘ ปัจจุบันศาลนี้มีผู้ดูแลเป็นชาวจีน บรรยากาศจึงเป็นแบบจีน ไม่มีความเป็นมอญเหลืออยู่ มีแต่เพียงรูปบูชา เป็นรูปพระพิฆเนศ ซึ่งคงจะให้สอดคล้องกับนามของพระยาเจ่ง ที่แปลว่า ช้าง

ศาลพระเสื้อเมือง ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของทางเข้าตลาดสดพระประแดง ภายในศาลมีพระพุทธรูปปางห้ามญาติประดิษฐานอยู่ เดิมศาลแห่งนี้เคยใช้เป็นที่สาบานตน และปฏิญาณตนของทหารในกองทัพเรือที่ ๓ ต่อมามีการรื้อป้อมที่อยู่รอบ ๆ ออกไป
ต่อมาศาลพระเสื้อเมืองชำรุดไปมากจึงได้มีการเรี่ยไรเงินทางงภาคเอกชนร่วมกับทางราชการ สร้างศาลขึ้นมาใหม่ตามแบบของกรมศิลปากร

Read more »

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ

gp51f55e6e7742e

เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก

รายละเอียด :
ศาลหลักเมืองของอำเภอพระประแดง มีขึ้นตั้งแต่ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี พ.ศ. 2358 โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง พร้อมทั้งกระทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง เมื่อวันศุกร์ เดือน 7 แรม 10 ค่ำ ปีกุล พ.ศ. 2358

ตั้งอยู่ที่ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก

ปัจจุบันศาลหลักเมืองนี้ อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศวร เป็นที่สักการะของประชาชนทั่วไป คนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองแห่งนี้เมื่อใดไม่ปรากฏ ดังนั้นสภาพสิ่งก่อสร้างและบรรยากาศของศาลหลักเมืองจึงเป็นแบบจีน จนแทบไม่เหลือเค้าเดิม

Read more »

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง ศาลพระเสื้อเมือง ศาลพระเสื้อเมือง

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง  อำเภอพระประแดง จ.สมุทรปราการ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง
อยู่ที่ตำบลตลาด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง ชาวบ้านถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญแห่งหนึ่งซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก หลักเมืองนี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีรูปของพระพิฆเนศวร์สถิตอยู่เหนือเสา

smp05

ศาลพระเสื้อเมือง  อำเภอพระประแดง จ.สมุทรปราการ

ศาลพระเสื้อเมือง อยู่ที่ตำบลตลาด สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองพระประแดง ชาวบ้านนับถือเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์เคารพบูชากันมาก

ศาลเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู (เสียนหลอไต้เทียนกง) อำเภอเมือง จ.สมุทรปราการ

ศาลเจ้ามูลนิธิธรรมกตัญญู (เสียนหลอไต้เทียนกง) ตั้งอยู่เลขที่ 5 หมู่ 7 ถนนสุขุมวิท ต.บางปูใหม่ อ.เมือง เป็นศาลเจ้าที่สวยงาม สถาปัตยกรรมเพียบพร้อมไปด้วย ศิลปะ วัฒนธรรมของชาวจีนโบราณ ฝีมือแกะสลักหินอันปราณ๊ต เป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าขุนศึกที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวไต้หวัน 5 องค์ คือ เทพเจ้าตระกูลหลี่ เทพเจ้าตระกูลฉือ เทพเจ้าตระกูลอู่ เทพเจ้าตระกูลจู และเทพเจ้าตระกูลฟ่าน ซึ่งเรียกชื่อรวมกันว่า “อู๋ฟุ่เซียนส้วย” (โหวงหวังเอี้ย) ภายในบริเวณศาลเจ้าสามารถชมภาพแกะสลักหินเขียว เกี่ยวกับเทพนิยายจีน และตะเกียงไม้ชุบทองคำซึ่งตกแต่งอยุ่บนฝ้าเพดาน นอกจากนี้ยังมีศาลเจ้าแม่กวนอิมและเทพเจ้าองค์อื่นๆ เพื่อให้ประชาชนสักการะ เทพเจ้าตระกูลทั้ง 5 หรือ โหวงหวังเอี้ย เป็นยอดขุนพลที่มีความสุจริตมาก เป็นขุนนางที่จงรักภักดีสมัยราชวงศ์หมิงได้เสด็จเดินทางลงใต้จากมณฑลฮกเกี้ยน ถึงเกาะหนานคุนเซินประเทศไต้หวัน เป็นที่เลื่อมใสในหมู่ประฃาชน

Read more »

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง พระประแดง

เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก ”

gp51f558f809249

ศาลหลักเมืองของอำเภอพระประแดง มีขึ้นตั้งแต่ครั้งที่พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี พ.ศ. 2358 โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง พร้อมทั้งกระทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง เมื่อวันศุกร์ เดือน 7 แรม 10 ค่ำ ปีกุล พ.ศ. 2358

ตั้งอยู่ที่ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง สมุทรปราการ เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก

ปัจจุบันศาลหลักเมืองนี้ อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศวร เป็นที่สักการะของประชาชนทั่วไป คนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองแห่งนี้เมื่อใดไม่ปรากฏ ดังนั้นสภาพสิ่งก่อสร้างและบรรยากาศของศาลหลักเมืองจึงเป็นแบบจีน จนแทบไม่เหลือเค้าเดิม

Read more »

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง (The City Pillar Shrine at Phra Pradaeng City)-พระประแดง สมุทรปราการ Thailand

74332314

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง (The City Pillar Shrine at Phra Pradaeng City)-พระประแดง สมุทรปราการ Thailand)-เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้ยังมีฐานะเป็นเมืองอยู่ ศาลหลักเมืองพระประแดงเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่เมืองพระประแดงมาตั้งแต่เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ขึ้นเมื่อ วันศุกร์ เดือน 7 แรม 10 ค่ำ ปีกุล สัปตศก จุลศักราช 1177 ซึ่งตรงกับวันที่ ๒ มิถุนายน พุทธศักราช 2358 โดยทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง และอัญเชิญองค์พระพิฆเนศมาประดิษฐานบนเสาหลักเมือง พร้อมทั้งสร้างศาลประจำเมืองขึ้นตามโบราณราชประเพณี โดยมีลักษณะเป็นศาลเจ้าจีน..ในเรื่องความศักดิ์สิทธิ์ของศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดงนั้น มีขึ้นเมื่อในอดีต ตอนยามที่บ้านเมืองเกิดวิกฤตต่างๆ พวกชาวบ้าน พ่อค้าแม่ค้า ก็มักจะไปกราบไหว้ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองเพื่อที่จะขอพรอยู่เสมอ ในบริเวณตลาดพระประแดงนั้น จะมีคนจีนอาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก

ขอขอบคุณ http://www.panoramio.com/

ศาลพระคเณศ (เจ้าพ่อหลักเมือง) พระประแดง

IMG_0112

ศาลพระคเณศ หรือเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ตั้งอยู่ที่เทศบาลเมืองพระประแดง ต.ตลาด อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างขึ้นในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ ๒ ประมาณปี พ.ศ. ๒๓๕๘ โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง และได้ประกอบพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง เมื่อวันศุกร์ เดือน ๗ แรม ๑๐ ค่ำ ปีกุน พ.ศ. ๒๓๕๘ นับว่าเป็นพระคเณศองค์เดียวที่มีฐานะเป็นหลักบ้านใจเมืองด้วย

ลักษณะของศาลในปัจุบัน (เนื่องจากศาลแห่งนี้มีการปรับปรุงและบูรณะหลายครั้ง) มีการผสมผสานศิลปะหลายวัฒนธรรม ทั้งไทย จีน และมอญ ที่สะท้อนให้เห็นจากลวดลายและสิ่งของที่ประดับตกแต่งศาล แต่ถ้าท่านที่เคยไปจะเห็นว่า ศาลแห่งนี้จะมีลักษณะที่ค่อนไปทางศาลเจ้าของจีน เพราะปัจจุบันผู้ดูแลศาลแห่งนี้เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนนั่นเอง

พระคเณศประจำศาลหลักเมืองพระประแดงองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบกแบบไทย มีลักษณะเป็นพระคเณศศิลา มีสี่พระกร พระกรขวาบนถือตรีศูล พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วงบาศ) พระกรขวาล่างถืองา และพระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม ประทับนั่งบนฐานบัวหงาย โดยพระคเณศองค์นี้งดงามด้วยความเรียบง่าย เนื่องจากที่องค์เทวรูปแทบจะไม่มีลวดลายเครื่องประดับใดๆ แม้กระทั่งเครื่องศิราภรณ์.

ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดง ได้รับยกย่องให้เป็นศาลพระคเณศที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย และหลายท่านอาจสงสัยว่า ทำไมพระคเณศองค์ดังกล่าวจึงมีฐานะและได้รับการนับถือให้เป็นเจ้าพ่อหลักเมือง ทั้งๆทีเวลาที่เราไปศาลแห่งนี้ จึงไม่เห็นเสาหลักเมืองเหมือนกับศาลหลักเมืองแห่งอื่นๆ เรื่องนี้ในความเป็นจริงแล้วองค์พระคเณศที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน เป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักเมือง โดยตัวเสาจริงๆนั้นอยู่ลึกลงไปทางด้านล่างของศาล มีลักษณะเป็นเสาก่ออิฐถือปูนทรงสี่เหลี่มจตุรัส และทาด้วยสีแดง จึงอาจอนุมานได้ว่า พระคเณศองค์นี้ก็คือส่วนหนึ่งของเสาหลักเมืองพระประแดงนั่นเอง ซึ่งน้อยคนจะมีโอกาสได้ลงไปถึงด้านล่างอันเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของพระประแดงจริงๆ

Read more »

ศาลหลักเมืองพระประแดง ศาลพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดในประเทศไทย

ประวัติความเป็นมา
ศาลหลักเมืองของอำเภอพระประแดง มีขึ้นตั้งแต่ครั้งที่ พระบาทสมเด็จ พระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้สร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี พ.ศ. 2358 โดยสร้างเป็นศาลประจำเมือง พร้อมทั้งกระทำพิธีฝังอาถรรพ์เสาหลักเมือง เมื่อวันศุกร์ เดือน 7 แรม 10 ค่ำ ปีกุล พ.ศ. 2358 นั่นเอง

ปัจจุบันศาลประจำเมือง หรือศาลหลักเมืองนี้ อยู่ติดกับที่ว่าการอำเภอ พระประแดง ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศร์ เป็นที่สักการะของประชาชนทั่วไป คนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองแห่งนี้เมื่อใดไม่ปรากฏ ดังนั้น สภาพสิ่งก่อสร้างและบรรยากาศของศาลหลักเมืองจึงเป็นแบบจีน จนแทบไม่เหลือเค้าเดิม

สิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้
ตามโบราณราชประเพณี ในการสร้างเมืองมักจะมีการสร้างศาลหลักเมืองไว้เป็นศาลกลางของบ้านเมือง ดังนั้นศาลหลักเมืองจะถือเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของบ้านของเมือง ซึ่งเมืองที่จะมีศาลหลักเมือง มักจะเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ และจัดตั้งตามโบราณราชประเพณี ดังนั้นศาลหลักเมืองของเมืองนครเขื่อนขันธ์ หรืออำเภอพระประแดง จึงสะท้อนให้เห็นว่าเมืองนี้ เป็นเมืองที่เก่าแก่ และได้จัดตั้งตามโบราณราชประเพณี

ขอขอบคุณ http://www.hindumeeting.com/

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สมุทรปราการ

อยู่ที่ตำบลตลาด อำเภอพระประแดง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์แห่งหนึ่งซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก

gp51f55f62020e4

พระพิฆเนศวร
ลักษณะของศาลในปัจุบัน (เนื่องจากศาลแห่งนี้มีการปรับปรุงและบูรณะหลายครั้ง) มีการผสมผสานศิลปะหลายวัฒนธรรม ทั้งไทย จีน และมอญ ที่สะท้อนให้เห็นจากลวดลายและสิ่งของที่ประดับตกแต่งศาล แต่ถ้าท่านที่เคยไปจะเห็นว่า ศาลแห่งนี้จะมีลักษณะที่ค่อนไปทางศาลเจ้าของจีน เพราะปัจจุบันผู้ดูแลศาลแห่งนี้เป็นชาวไทยเชื้อสายจีนนั่นเอง

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง ชาวบ้านถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก หลักเมืองนี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีรูปของพระพิฆเนศวร์สถิตอยู่เหนือเสา

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สมุทรปราการ

Phra-Pradaeng-City-pillar-shrine3

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง อยู่ที่ตำบลตลาด สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2356 เป็นหลักเมืองเก่าของอำเภอพระประแดง ในสมัยเมื่ออำเภอนี้มีฐานะเป็นเมือง ชาวบ้านถือว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์และสำคัญแห่งหนึ่ง ซึ่งชาวเมืองเคารพนับถือมาก หลักเมืองนี้มีลักษณะพิเศษ คือ มีรูปของพระพิฆเนศวร์สถิตอยู่เหนือเสา

ขอขอบคุณ http://www.hoteldirect.in.th/

ศาลพระพิฆเนศที่เก่าที่สุดในประเทศไทย ยุคสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์

The-City-Pillar-Shrine-at-Phra-Pradaeng-City-01

ศาลหลักเมืองพระประแดงสร้างขึ้นหลังจากพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 สร้างป้อมปราการเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในปี พ.ศ.2358 ต่อมามีลักษณะเป็นศาลเจ้าแบบจีนผสมกับไทยและมอญ ตามหลักฐานไม่ปรากฏว่าคนจีนได้เข้ามาดูแลศาลหลักเมืองนี้เมื่อใด ภายในมีรูปหล่อพระพิฆเนศ นับว่าเป็นพระพิฆเนศองค์เดียวที่เป็นส่วนหนึ่งของเสาหลักเมือง โดยตัวเสาจริงๆนั้นอยู่ลึกลงไปทางด้านล่างของศาล บุคคลทั่วไปไม่มีโอกาสได้ลงไปถึงด้านล่างอันเป็นที่ประดิษฐานเสาหลักเมืองของพระประแดงจริงๆ ด้วยโบราณราชประเพณีแล้วเมืองที่จะมีศาลหลักเมืองมักจะเป็นเมืองที่มีอายุเก่าแก่ และศาลหลักเมืองจะถือเป็นศูนย์กลางทางจิตใจของบ้านของเมือง ศาลเจ้าพ่อหลักเมืองพระประแดงจึงได้รับยกย่องให้เป็นศาลพระพิฆเนศที่เก่าแก่ที่สุดในประเทศไทย

พระพิฆเนศประจำศาลหลักเมืองพระประแดงองค์นี้ ประดิษฐานอยู่ภายในบุษบกแบบไทย มีลักษณะเป็นพระพิฆเนศศิลา มีสี่พระกร พระกรขวาบนถือตรีศูล พระกรซ้ายบนถือปาศะ (บ่วงบาศ) พระกรขวาล่างถืองา และพระกรซ้ายล่างถือถ้วยขนม ประทับนั่งบนฐานบัวหงาย โดยพระคเณศองค์นี้งดงามด้วยความเรียบง่าย เนื่องจากที่องค์เทวรูปแทบจะไม่มีลวดลายเครื่องประดับใดๆ แม้กระทั่งเครื่องศิราภรณ์

ขอขอบคุณ http://www.zthailand.com/

ศาลเจ้าพ่อหลักเมือง สมุทรปราการ

t20110201094357_1549

ตั้งอยู่ริมถนนประโคนชัย ใกล้กับตลาดปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ ซึ่งเป็นที่นับถือของชาวจังหวัดสมุทรปราการ มานานเกือบ 200 ปี มีลักษณะแตกต่าง จากการสร้างหลักเมืองที่อื่นๆ ที่มีการแยกสถานศักดิ์สิทธิ์ประจำเมืองเป็น 2 ส่วนคือ ศาลเจ้าพ่อ คุ้มครองเมือง ซึ่งเป็นไปตามความเชื่อของจีน เสาหลักเมือง ซึ่งถือเป็นฐานหลักของแต่ละเมือง แต่ชาวเมืองปากน้ำนิยมเรียกรวมเป็นชื่อเดียวว่าศาลเจ้าพ่อหลักเมือง

เสาหลักเมือง ทำด้วยไม้ชัยพฤกษ์ สูง 6 ศอก เมื่อครั้งสร้างเมืองสมุทรปราการ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ได้ทรงประกอบพิธีฝังหลักเมือง เมื่อวันอาทิตย์ เดือน 4 ขึ้น 7 ค่ำ ปีมะเมีย จัตวาศก กระทั่งวันพะเดือน 4 ขึ้น 10 ค่ำ ย่ำรุ่ง 4 นาฬิกา 6 บาท ได้ฤกษ์เอาแผ่นยันต์ ทอง เงิน ทองแดง ดีบุกและศิลา ลงสู่ภูมิบาท แล้วยกเสาหลักเมือง ณ วันเสาร์เดือน 4 ขึ้น 13 ค่ำ ย่ำรุ่ง 5 นาฬิกา 6 บาท ฝังอาถรรพณ์ แผ่นยันต์องค์รักษ์อีกครั้ง

ศาลเจ้าพ่อ คือ ศาลแห่งเทพเจ้าที่ชื่อ เฉิงหวง (คำว่า เฉิง คือ เมือง ส่วนคำว่า หวง คือ เจ้า เมื่อรวมความคำ เฉิงหวง คือ เทพเจ้าเมือง ) ตามตำนานจีน เทพเฉิงหวง เป็นเทพผู้มีพระมัสสุ(หนวด)ยาว หน้าตาน่าเกรงขาม

Read more »

พระสมุทรเจดีย์

พระสมุทรเจดีย์_1410504072

ตั้งอยู่ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด ในวัดพระสมุทรเจดีย์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงกันข้ามกับศาลากลางจังหวัด แต่เดิมพระเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำตื้นเขินงอกออกมาเชื่อมติดกับเกาะอันเป็นที่ตั้งพระเจดีย์
ปัจจุบันจึงไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์นี้ขึ้นแต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อเป็นพระเจดีย์สูง 20 เมตร ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปทรงพระเจดีย์แล้วก่อให้สูงขึ้นอีกเป็น 38 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระชัยวัฒน์ และพระปางห้ามสมุทร
สอบถามรายละเอียดโทร. 0 2425 8898

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

พระสมุทรเจดีย์ จ.สมุทรปราการ

14688548938_ec128aa8e6_z

ได้ยินชื่อ “พระสมุทรเจดีย์” มานาน วันก่อนไปเที่ยวป้อมพระจุล ทางเดียวกันเลยถือโอกาสแวะไปดูสักครั้งครับ

พระสมุทรเจดีย์ไปง่ายครับ ตามถนนสุขสวัสดิ์ไปจนตกถนนก็จะเจอกับวัดพระสมุทรเจดีย์ ไม่ต้องเลี้ยวใดๆ ทั้งสิ้นครับ (แต่อย่า search ใน Google Maps ตรงๆ นะ พิกัดมันผิด ให้ใช้เป็นวัดพระสมุทรเจดีย์แทน)

ตามประวัติแล้ว พระสมุทรเจดีย์เริ่มสร้างโดยรัชกาลที่ 2 พร้อมกับเมืองสมุทรปราการ (แต่มาเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 3 และสร้างต่อเดิมอีกหลายครั้ง)

เจดีย์นี้สร้างขึ้นที่เกาะกลางน้ำ (เลยชื่อ “สมุทร” เจดีย์) แต่ปัจจุบันพื้นที่ตรงนั้นไม่เป็นเกาะแล้วเพราะดินงอกมาจนกลายเป็นตลิ่งไปหมด (กลายเป็นเจดีย์ติดน้ำแทน)

อย่างไรก็ตาม พื้นที่ตรงฐานเจดีย์ยังต่ำกว่าระดับน้ำอยู่ดี ไปตอนเย็นๆ น้ำกำลังขึ้นก็มีน้ำเอ่อล้นขึ้นมาตามท่อระบายน้ำแถวฐานเจดีย์ด้วย

นอกจากตัวองค์เจดีย์แล้วก็ยังมีสิ่งปลูกสร้างอื่นๆ รายล้อมเล็กน้อย พอดูได้เพลินๆ ครับ

ขอขอบคุณ http://www.isriya.com/

พระสมุทรเจดีย์

2010_08_28_142739_yzyidjqm

พระสมุทรเจดีย์ ตั้งอยู่ถนนสุขสวัสดิ์ ตำบลปากคลองบางปลากด ในวัดพระสมุทรเจดีย์ริมแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตรงกันข้ามกับศาลากลางจังหวัด เดินทางตามทางหลวงหมายเลข 303(ถนนสุขสวัสดิ์) แต่เดิมพระเจดีย์นี้ตั้งอยู่บนเกาะกลางปากแม่น้ำเจ้าพระยา ท้ายป้อมผีเสื้อสมุทร ต่อมาชายตลิ่งฝั่งขวาของแม่น้ำตื้นเขินงอกออกมาเชื่อมติดกับเกาะอันเป็นที่ ตั้งพระเจดีย์ ปัจจุบันจึงไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไป พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระเจดีย์นี้ขึ้นแต่ยังไม่ทันเสร็จก็สิ้นรัชกาล พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าฯ เจ้าอยู่หัวทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อเป็นพระเจดีย์สูง 20 เมตร ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้เปลี่ยนรูปทรงพระเจดีย์แล้วก่อให้สูงขึ้นอีกเป็น 38 เมตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระชัยวัฒน์ และพระปางห้ามสมุทรไว้ ติดต่อสอบถามรายละเอียดที่ โทร 0 2425 8898

การเดินทาง
จากสามแยกพระประแดง ใช้เส้นทางถนนสุขสวัสดิ์ (ทางหลางหมายเลข 303) มุ่งไปทางอำเภอพระสมุทรเจดีย์ ระยะทาง 6 กิโลเมตร ถึงสามแยกพระสมุทรเจดีย์ให้เลี้ยวซ้ายไปอีก 1 กิโลเมตร ก็จะถึงวัดพระสมุทรเจดีย์ สามารถเดินทางโดยรถโดยสารประจำทางปรับอากาศและแบบธรรดา สาย 20 (ป้อมพระจุลฯ-ท่าน้ำท่าดินแดง) ลงที่สามแยกพระสมุทรเจดีย์แล้วต่อรถรับจ้างไปที่วัดได้

ขอขอบคุณ http://www.sadoodta.com

พระสมุทรเจดีย์ อำเภอพระสมุทรเจดีย์ จังหวัดสมุทรปราการ

canon40932

พระสมุทรเจดีย์ ……เป็นสถานที่ท่องเที่ยวประเภทโบราณสถานและเป็นปูชนียสถานที่สำคัญ ซึ่งมีผู้คนมาเคารพสักการะบูชา และยังเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดสมุทรปราการ ผู้คนทั่วไปจะเรียกกันติดปากว่า พระเจดีย์กลางน้ำ เนื่องจากเดิมบริเวณที่ก่อสร้างพระสมุทรเจดีย์เป็นเกาะที่มีน้ำล้อมรอบ แต่ต่อมาแผ่นดินได้งอกเพิ่มออกมาจนในปัจจุบันไม่มีสภาพเป็นเกาะอีกต่อไป

– งานนมัสการพระสมุทรเจดีย์

จะเริ่มจัดในวันแรม 5 ค่ำเดือน 11 ของทุกปี ( หลังวันออกพรรษา 5 วัน )
โดยงานจะมีด้วยกัน 9 วัน 9 คืน

การเดินทาง :-ทางรถยนต์ :-

เส้นทางที่ 1 :
…จากกรุงเทพฯ ใช้ถนนสุขุมวิท มุ่งหน้าสู่จังหวัดสมุทรปราการ ก่อนถึงจังหวัดสมุทรปราการ ประมาณ 5 กิโลเมตร ให้ท่านเลี้ยวขวาที่แยกไฟแดง ไปทาง อำเภอพระประแดง

…เมื่อเลี้ยวขวาแล้ว ให้ท่านขับตรงไป ประมาณ 5.9 กิโลเมตร จากนั้นเลี้ยวซ้ายตามป้ายบอกทาง ที่เขียนว่า ถนนสุขสวัสดิ์ จากนั้นขับตามป้ายบอกทาง ขึ้น สะพานวงแหวนอุตสาหกรรม ประมาณ 4.8 กิโลเมตร หลังจากนั้นท่านก็จะลงจากสะพาน

…เมื่อท่านลงจากสะพานแล้ว ท่านจะเห็นป้ายบอกทาง พระประแดง กับ ดาวคะนอง ให้ท่านขับตรงไปประมาณ 1.2 กิโลเมตร ท่านจะพบ แยกไฟแดง

( ถ้าเลี้ยวซ้ายจะเป็นเส้นทางไปตลาดน้ำวัดบางน้ำผึ้ง ถนนหมายเลข 3104 )
( ถ้าตรงไป จะเป็นเส้นทางไปพระสมุทรเจดีย์ และป้อมพระจุลจอมเกล้า )

ให้ท่านขับตรงไป ประมาณ 10.2 กิโลเมตร ท่านจะพบ สามแยก

( ถ้าเลี้ยวขวาจะเป็นเส้นทางไปป้อมพระจุลจอมเกล้า ถนนหมายเลข 303 )
( ถ้าตรงไป จะเป็นเส้นทางไปพระสมุทรเจดีย์ )

ให้ท่านขับตรงไป ประมาณ 900 เมตร ก็จะถึง พระสมุทรเจดีย์

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .