Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

สิ่งสำคัญภายในวัด เบญจบพิตร พระที่นั่งทรงผนวช

10020023_0_20130725-185339

เมื่อเริ่มการสถาปนาวัดเบญจมบพิตร พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้รื้อพระที่นั่งทรงผนวชองค์เดิม จากพุทธรัตนสถาน ที่สวนศิลาลัย ในพระบรมมหาราชวัง ซึ่งโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้นเป็นที่ประทับของพระองค์ในคราวทรงผนวช เมื่อ พ.ศ.๒๔๑๖ ออกไปปลูกที่วัดเบญจมบพิตร เพื่อเป็นกุฏิเจ้าอาวาส โดยรักษารูปแบบเดิมไว้ เป็นหมู่กุฏิประกอบด้วย “พระที่นั่งทรงผนวช” อยู่ด้านทิศเหนือ “พระกุฏิ” อยู่ด้านทิศใต้ กับกุฏิ ๒ ห้อง ๒ หลัง อยู่ด้านตะวันออกและตะวันตก มีหอเสวยกลาง มีลานหินอ่อนโดยรอบ
ทุกหลังมีช่อฟ้า ใบระกา ลำยอง ลงรักปิดทองทึบ
หลังด้านทิศใต้คือ “พระกุฏิ” หน้าบันจำหลักลายประกอบ “พัดยศ” ลงรักปิดทองประดับกระจก มีความหมายว่าเป็นที่ประทับของสมเด็จพระอุปัชฌาย์ เมื่อพระองค์ทรงผนวช
ส่วนหลังทิศเหนือคือ “พระที่นั่งทรงผนวช” เป็นตรีมุข ประตูหน้าต่างด้านนอกเขียนลายรดน้ำตรา “เครื่องราชอิสริยาภรณ์” ที่ทรงปรับปรุงขึ้นใหม่เป็น ๕ สาย ๕ ชั้น ด้านในเขียนภาพเทวดาถือดอกไม้เหนือคนแคระ
หน้าบันทั้ง ๓ ด้านจำหลักลายไทยประกอบตรา “พระเกี้ยว” ซึ่งเป็นตราประจำของพระองค์ ลงรักปิดทองประดับกระจก หมายถึงพระที่นั่งองค์นี้ เป็นที่ประทับเมื่อคราวพระองค์ทรงผนวช
Read more »

สิ่งสำคัญภายในวัด เบญจมบพิตร พระพุทธชินราช

10020023_0_20130725-192735

พระพุทธชินราช เป็นพระพุทธรูปนั่งสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย มีเรือนแก้ว ประทับนั่งเหนือรัตนบัลลังก์หินอ่อน (เรือนแก้วนี้ พระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๖ โปรดเกล้าฯให้ทำถวาย เมื่อ พ.ศ.๒๔๕๕ แต่ช่างทำไม่งาม รัชกาลที่ ๗ จึงโปรดเกล้าฯ ให้แก้ไขใหม่สวยงามตามที่เห็นอยู่ในปัจจุบัน)
พระพุทธชินราช มีขนาดหน้าตัก ๕ ศอกคืบ ๕ นิ้ว มีเศษ น้ำหนักทองที่ใช้หล่อ ๓,๙๔๐ ชั่ง
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ โปรดเกล้าฯให้พระประสิทธิปฏิมา (ม.ร.ว.เหมาะ ดวงจักร เมื่อครั้งเป็น หลวงประสิทธิปฏิมา) จางวางช่างหล่อขวา ซึ่งเป็นช่างหล่อฝีมือดีที่สุด ขึ้นไปปั้นหุ่นถ่ายแบบจากพระพุทธชินราชองค์เดิม ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก แล้วเสด็จพระราชดำเนินทรงเททองหล่อเป็นส่วน ๆ เมื่อวันที่ ๒๐ ตุลาคม ๒๔๔๔ อัญเชิญล่องเรือมาคุมองค์และแต่งที่กรมทหารเรือ โดยพระยาชลยุทธโยธิน (Andre du Plessis de Richelieu ชาวเดนมาร์ก เข้ามารับราชการเป็นทหารเรือ มียศเป็นพลเรือโท ตำแหน่งผู้บัญชาการกรมทหารเรือ) เป็นผู้ควบคุมการแต่งองค์พระ เสร็จแล้วเชิญลงเรือมณฑปแห่ไปประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร เมื่อวันที่ ๑๓ ธันวาคม ๒๔๔๔
Read more »

สิ่งสำคัญภายในวัด เบญจมบพิตร พระวิหารสมเด็จ(ส.ผ.)

10020023_0_20130804-020142

พระวิหารสมเด็จ (ส.ผ.) เป็นตึกจตุรมุข ๒ ชั้น แต่มุขด้านใต้เชื่อมต่อกับมุขกุฏิสมเด็จ มุขด้านตะวันออกและตะวันตกขยายยาวเป็นชั้นเดียว บันไดพื้นชั้นล่างปูหินอ่อน ชั้นบนปูไม้

ความงามของพระวิหารนี้อยู่ที่ประตูหน้าต่างที่เขียนลายไทยรดน้ำทั้งชั้นล่างและชั้นบน หน้าบันและซุ้มประตูหน้าต่าง ปั้นลายก้านขดประกอบตราพระนามาภิไธยย่อ “ส.ผ.” (เสาวภาผ่องศรี) ลงรักปิดทองประดับกระจก

ข้างบันไดขึ้นด้านหน้าหล่อราชสีห์ประดับ ๒ ตัว

ภายในทั้งชั้นบนชั้นล่าง เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณ ขนาดและสมัยต่าง ๆ ตลอดจนเครื่องลายครามจีนต่างชนิด เฉพาะชั้นล่างมีตู้พระธรรมลายรดน้ำ เป็นลายไทยประกอบภาพต่าง ๆ เช่นรามเกียรติ์ เวสสันดร เป็นต้น

พระวิหารสมเด็จนี้ “สมเด็จพระนางเจ้าเสาวภาผ่องศรี พระบรมราชินีนาถ” ทรงบริจาคพระราชทรัพย์สร้างสำเร็จในปี พ.ศ.๒๔๔๕ ตามพระราชประสงค์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่จะให้เป็น “หอธรรม” หรือ “หอสมุด” ประจำวัด ชื่อว่า “หอพุทธสาสนสังคหะ” ต่อมา พ.ศ.๒๔๔๘ โปรดเกล้าฯให้รวมกิจการหอธรรมเข้ากับหอพระสมุดวชิรญาณ หอพระมณเฑียรธรรม เป็นหอพระสมุดสำหรับพระนคร คงเหลือสิ่งของและคัมภีร์พระไตรปิฎกหรับวัดเท่านั้น หอพุทธสาสนสังคหะ จึงกลายเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูป และตู้พระธรรมเป็นส่วนใหญ่

Read more »

สิ่งสำคัญภายในวัด เบญจมบพิตร พระที่นั่งทรงธรรม

10020023_0_20130822-151553

เป็นตึก ๒ ชั้น ก่ออิฐถือปูนตลอด พื้นชั้นล่างและบันไดปูหินอ่อน ชั้นบนปูไม้ หลังคา ๒ ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสี ช่อฟ้าใบระกาลงรักปิดทองทึบ หน้าบันทั้ง ๔ ด้าน จำหลักภาพต่าง ๆ ปิดทองประดับกระจก คือ
ทิศเหนือ จำหลักภาพพระโพธิสัตว์สิทธัตถะตัดสินพระทัยออกผนวช กำลังทอด
พระเนตรพระนางพิมพาและพระโอรสราหุล ที่กำลังบรรทมหลับ มีนายฉันนะเตรียมม้ากัณฐกะรออยู่ข้าง ๆ
ทิศใต้ พระโพธิสัตว์เสด็จถึงริมฝั่งแม่น้ำอโนมา ทรงตัดพระเมาลีด้วยพระขรรค์ อธิษฐานเพศบรรพชิต มีนายฉันนะและม้ากัณฐกะเฝ้าอยู่ใกล้ ๆ
ทิศตะวันออกและตะวันตก จำหลักลายไทยประกอบพระราชลัญจกรสมเด็จ
พระยุพราชอยู่ภายในสายสังวาลทั้งสองด้าน
ภายในผนังเสมอกรอบหน้าต่าง ประกบแผ่นหินอ่อนสีขาว เสาเขียนลายรดน้ำเทพนม ตั้งธรรมาสน์กลางห้อง ด้านใต้กั้นพระฉากดีบุกฉลุลายไทยเทพนมและกุมภัณฑ์ เพื่อเป็นที่ประทับของฝ่ายใน
Read more »

ประวัติความเป็นมาวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

10020023_0_20130725-190657

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า “The Marble Temple” เพราะพระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี ประกอบกับเป็นวัดที่มีความวิจิตรงดงามด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจเข้าชมจำนวนมากทุกวัน
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๑๐,๕๖๖ ตารางวา ๑๔ ตารางศอก ตั้งอยู่แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ระหว่างถนนสายใหญ่คือ ถนนพระรามที่ ๕ ถนนศรีอยุธยา ถนนราชดำเนินนอก และถนนพิษณุโลก
พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาขึ้นด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ และวางแบบแปลนแผนผังแยกสัดส่วนเป็นเขตพุทธาวาส สังฆาวาส และที่ธรณีสงฆ์สำหรับผู้อุปัฏฐากภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ในเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส มีสนามหญ้าและปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น กุฏิที่อยู่ของภิกษุสามเณร เป็นระเบียบ ปลอดโปร่ง ซึ่งถือว่าเป็นวัดที่มีการวางแปลนแผนผังที่ดีที่สุดวัดหนึ่ง

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

ben1

เมื่อกล่าวถึงพระอุโบสถหินอ่อนสีขวบริสุทธิ์สวยงามแห่งเดียวในประเทศไทย คงทราบกันแน่นอนว่าพระอุโบสถแห่งนี้อยู่ในวัดเบญจมบพิตร เพราะเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ถึงความงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถหินอ่อนนอกจากนี้ภายในวัดยังมีสิ่งสวยงาอีกมากมายที่ควรรู้จักอีกด้วย เรามาทราบประวัติความเป็นมาของวัดเบญจมบพิตร แต่เดิมเป็นเพียงวัดเล็ก ๆ มีชื่อว่า “ วัดแหลม ” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “ วัดไทรทอง ” ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื่องจากพระองค์ทรงสร้างพระราชวังดุสิตขึ้นในบริเวณวัดดุสิต และได้ตัดถนนผ่านวัดร้างอีกวัดหนึ่งซึ่งตามประเพณีต้องมีการสร้างวัดขึ้นทดแทนแต่การสร้างวัดใหม่ขึ้นนั้นยากต่อการดแลรักษาพระองค์จึงโปรดให้รวบรวมเงินมาบูรณะวัดเดิมจะดีกว่า วัดแลมเป็นวัดที่โปรดให้สถาปนาขึ้นใหม่และพระราชทานนามว่า “ วัดเบญจมบพิตร ”
Read more »

วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

wat-ben3

วัดสำคัญแห่งหนึ่งของเขตดุสิต เดิมเป็นวัดโบราณ มีชื่อว่า “วัดแหลม” หรือ “วัดไทรทอง” ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด จนถึงปี พ.ศ.2369 สาเหตุที่ได้ชื่อว่า “วัดเบญจมบพิตร” นั้นเนื่องจากการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 นั้นมีการตั้งกองบัญชาการอยู่ในบริเวณ “วัดแหลม” นี้ หลังจากปราบกบฏเสร็จสิ้น เมื่อเสร็จสิ้นการปราบกบฏแล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ ผู้บัญชาการกองทัพในส่วนการรักษาพระนครพร้อมด้วย พระเชษฐภคินี พระขนิษฐภคินี และพระกนิษฐภาดา ร่วมเจ้าจอมมารดาอีก 4 พระองค์ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดเบญจบพิตร” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย 5 พระองค์ ครั้นมาถึงในรัชกาลที่ 5 ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้อย่างเต็มที่ และสถาปนาขึ้นเป็น “วัดเบญจมบพิตร” เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2442 ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 นับแต่นั้นมา

ขอขอบคุณ http://office.bangkok.go.th/

พระอุโบสถเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

watben1

ลักษณะทั่วไปของพระอุโบสถ เป็นแบบจตุรมุข มุขด้านตะวันออกขยายยาว ด้านเหนือและใต้มีมุขกระสันต่อกับพระระเบียง หลังคา ๔ ชั้น ด้านมุขกระสันทิศเหนือและทิศใต้ ๕ ชั้น มีพระระเบียงโอบรอบด้านหลัง

ด้านหน้าพระอุโบสถ มีกำแพงแก้ว บนมุมกำแพงแก้วซ้าย-ขวา มีเสาคอนกรีตหัวเสาเป็นศิลาสลักรูปดอกบัวตูม คือเครื่องหมาย “สีมา” สำหรับด้านหน้า ส่วนสีมาด้านหลังพระอุโบสถ สลักรูปเสมาธรรมจักรที่แผ่นหินแกรนิตปูพื้น ภายในกำแพงแก้ว ปูหินแกรนิตสีชมพูอ่อนและสีเทา

มุขตะวันออกมีเสากลมหินอ่อน ๔ ต้น ข้างบันไดหินอ่อนมีสิงห์สลักหินอ่อน ๒ ตัว ซึ่งโปรดเกล้าฯให้ ขุนสกลประดิษฐ์ ช่างในกรมช่างสิบหมู่ เป็นผู้ปั้นแบบ ตามภาพที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเขียน

ผนังรอบพระอุโบสถด้านนอกประดับด้วยแผ่นหินอ่อน ๔ เหลี่ยมสีขาวบริสุทธิ์ หนา ๓ เซนติเมตร

มุขตะวันตกด้านนอก มีเสาและสิงห์เช่นเดียวกับด้านหน้า และที่ซุ้มจรนำ ประดิษฐานพระพุทธรูปโบราณ เป็นพระยืนทรงเครื่องสมัยลพบุรี ปางห้ามญาติ ถวายพระนามว่า “พระธรรมจักร” เพราะที่ฝ่าพระหัตถ์สลักเป็นรูปพระธรรมจักร กับโปรดเกล้าฯให้บรรจุพระอังคารสมเด็จพระเจ้ามไหยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตนราชประยูร (พระเจ้าราชวงศ์เธอ พระองค์เจ้าละม่อม ซึ่งทรงอภิบาลเลี้ยงดูพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว แต่พระเยาว์มา ประหนึ่งสมเด็จพระราชชนนี) ใต้ฐานพระด้วย

Read more »

เริ่มสถาปนาวัดเบญจมบพิตร

ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์จะทรงสร้างพระราชอุทยาน เป็นที่ประทับแรมสำราญพระราชอิริยาบถในวันสุดสัปดาห์ จึงโปรดเกล้าฯให้จัดซื้อที่บริเวณด้านทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง ระหว่างคลองสามเสนกับคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเป็นที่สวนและทุ่งนา ตามราคาจากราษฎร ด้วยพระราชทรัพย์สำหรับใช้จ่ายการในพระองค์ พระราชทานนามว่า “สวนดุสิต”

โปรดเกล้าฯให้เริ่มลงมือตัดไม้ ปรับพื้นที่เพื่อสร้างสวนดุสิต เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๑ และได้ทำการสืบมาจนกระทั่งถึงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๒ จึงได้เสด็จเถลิงพลับพลาเป็นครั้งแรก

การสร้างสวนดุสิต ได้ใช้พื้นที่ของวัดดุสิต หรือวัดดุสิดาราม ที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม มีภิกษุอยู่เพียง ๑ รูป เป็นที่สร้างพลับพลา และที่วัดร้างอีกวัดหนึ่งตัดเป็นถนนภายในสวนดุสิตด้วย ประกอบกับมี “วัดเบญจบพิตร” ที่ชำรุดทรุดโทรมอยู่ใกล้เขตพระราชฐานด้านทิศใต้ด้วย จึงมีพระราชดำริที่จะทรงทำ “ผาติกรรม” สถาปนาวัดขึ้นใหม่ โดยมีพระราชประสงค์สำคัญคือ
๑. เพื่อแสดงว่าพระองค์ทรงเป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก เมื่อทรงใช้ที่วัดสร้างพระราชอุทยาน ก็ทรงทำ “ผาติกรรม” สร้างวัดขึ้นทดแทนตามประเพณี โดยสร้างเพียงวัดเดียว แต่ทำให้เป็นพิเศษ วิจิตรงดงาม สมควรที่จะเป็นวัดอยู่ใกล้เขตพระราชฐาน
๒. เป็นที่แสดงแบบอย่างทางการช่างของสยามประเทศ โดยโปรดเกล้าฯให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ออกแบบก่อสร้างพระอุโบสถพร้อมพระระเบียงอย่างวิจิตรงดงามด้วยแบบอย่างศิลปะและสถาปัตยกรรมไทยโบราณ
Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร

benchamabophit
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า “The Marble Temple” เพราะพระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี ประกอบกับเป็นวัดที่มีความวิจิตรงดงามด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจเข้าชมจำนวนมากทุกวัน

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๑๐,๕๖๖ ตารางวา ๑๔ ตารางศอก ตั้งอยู่แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ระหว่างถนนสายใหญ่คือ ถนนพระรามที่ ๕ ถนนศรีอยุธยา ถนนราชดำเนินนอก และถนนพิษณุโลก

พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงสถาปนาขึ้นด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ และวางแบบแปลนแผนผังแยกสัดส่วนเป็นเขตพุทธาวาส สังฆาวาส และที่ธรณีสงฆ์สำหรับผู้อุปัฏฐากภิกษุสามเณรอยู่อาศัย ในเขตพุทธาวาสและสังฆาวาส มีสนามหญ้าและปลูกต้นไม้ให้ร่มรื่น กุฏิที่อยู่ของภิกษุสามเณร เป็นระเบียบ ปลอดโปร่ง ซึ่งถือว่าเป็นวัดที่มีการวางแปลนแผนผังที่ดีที่สุดวัดหนึ่ง

Read more »

สิ่งก่อสร้างสำคัญวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

ศาลาสี่สมเด็จ
ศาลาสี่สมเด็จ เป็นศาลาจตุรมุขพื้นศิลา หลังคาประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา สร้างขึ้นจากพระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวร่วมกับสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอและสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระราชชนนีอีก 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช โดยพระองค์พระราชทานนามศาลาแห่งนี้ว่า ศาลาสี่สมเด็จ ไว้เป็นที่พักผ่อนสำหรับพระสงฆ์และสามเณร ปัจจุบัน ศาลาสี่สมเด็จใช้เป็นหอกลอง

บริเวณหน้าบันทั้ง 4 ด้านของศาลาสี่สมเด็จได้จำหลักลายไทยเป็นตราประจำพระองค์ของแต่ละพระองค์ไว้ ได้แก่ ตราพระเกี้ยว พระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตราจันทรมณฑล ตราประจำพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ ตราจักร ตราประจำพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ ตราสุริโยทัย ตราประจำพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

800px-Wat_Benchamabophit

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนดุสิตขึ้นพระองค์ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัด

ประวัติ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ วัดแหลม เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมที่สวนต่อกับทุ่งนา หรือ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดไทรทอง เนื่องจากอาจมีต้นไทรอยู่ภายในวัด[1] ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด เมื่อ พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ขึ้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา ทรงเป็นแม่ทัพรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการทัพที่วัดแหลม หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ (ต้นราชสกุลกุญชร)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (ต้นราชสกุลทินกร)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล และ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวงศ์
มีพระประสงค์ที่จะร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม พร้อมทั้งทรงสร้างพระเจดีย์เรียงรายไว้หน้าวัด 5 องค์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร หมายความว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์

Read more »

วัดมงคลบพิตร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา

Mongkholborphit500_updated

“ พระมงคลบพิตร ” เป็นชื่อของพระประธานองค์ใหญ่ซึ่งประดิษฐานอยู่ภายในวัดแห่งนี้ เดิมทีพระมงคลบพิตรประดิษฐานอยู่ในวิหารหลังเล็ก แต่ในสมัยพระพุทธเจ้าเสือ เกิดอสุนีบาตต้องยอดพระมณฑป เกิดไฟไหม้พังลงมาต้องพระศอของพระมงคลบพิตรหัก

ขอขอบคุณ http://www.thailandsworld.com/

วิหารพระมงคลบพิตร

วิหารพระมงคลบพิตร

วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ทางด้านทิศใต้ของวัดพระศรีสรรเพชญ์ ใช้เส้นทางเดียวกับทางไปคุ้มขุนแผน วิหารพระมงคลบพิตรจะอยู่ถัดไปไม่ไกลนัก พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปบุสัมฤทธิ์ปางมารวิชัย มีขนาดหน้าตักกว้าง 9.55 เมตร และสูง 12.45 เมตร นับเป็นพระพุทธรูปขนาดใหญ่องค์หนึ่งในประเทศไทย ไม่มีหลักฐานแน่ชัดว่าสร้างในสมัยใด สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ระหว่างปี พ.ศ. 1991-2145 สมเด็จพระเจ้าทรงธรรมโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายจากทิศตะวันออกนอกพระราชวังมาไว้ทางด้านทิศตะวันตกที่ประดิษฐานอยู่ในปัจจุบัน และโปรดเกล้าฯ ให้ก่อมณฑปสวมไว้

ในสมัยสมเด็จพระเจ้าเสือ เมื่อปี พ.ศ. 2249 อสุนีบาตตกลงมาต้องยอดมณฑปพระมงคลบพิตรเกิดไฟไหม้ทำให้ส่วนบนขององค์พระมงคลบพิตรเสียหาย จึงโปรดเกล้าฯ ให้ซ่อมแซมใหม่ แปลงหลังคายอดมณฑปเป็นมหาวิหารและต่อพระเศียรพระมงคลบพิตรในสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ (พ.ศ. 2285-2286) ในคราวเสียกรุงศรีอยุธยาครั้งที่ 2 พ.ศ. 2310 วิหารพระมงคลบพิตรถูกข้าศึกเผาชำรุดทรุดโทรม เครื่องบนวิหารหักลงมาต้องพระเมาฬีและพระกรขวาของพระมงคลบพิตรหัก รัชกาลที่ 5 โปรดเกล้าฯ ให้การปฏิสังขรณ์ใหม่

สำหรับบริเวณข้างวิหารพระมงคลบพิตรทางด้านทิศตะวันออก แต่เดิมเป็นสนามหลวง ใช้เป็นที่สำหรับสร้างพระเมรุพระบรมศพของพระมหากษัตริย์และเจ้านายเช่นเดียวกับท้องสนามหลวงของกรุงเทพฯ

ขอขอบคุณ http://travel.kapook.com/

วิหารพระมงคลบพิตร

พระมงคลบพิตรเป็นพระพุทธรูปอิฐบุทองสัมฤทธิ์สีดำตลอดองค์ เพราะเคลือบรักไว้สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยสมเด็จพระไชยราชา ราว พ.ศ.2081 สำหรับเป็นพระพุทธรูปประจำวัดซีเซียง ประดิษฐานอยู่กลางแจ้งวิหารพระมงคลบพิตรทั้งองค์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่มากที่สุดองค์หนึ่งของประเทศไทย
วิหารพระมงคลบพิตร ตั้งอยู่ที่ ถ.คลองท่อ ต.ประตูชัย อ.พระนครศรีอยุธยา จ.พระนครศรีอยุธยา

ขอขอบคุณ http://www.ayutthaya.go.th/

. . . . . . .
. . . . . . .