วัดสุทัศน์ฯ มีชื่อเสียงโด่งดังด้านการสร้างพระกร่ิง-พระชัยวัฒน์ และพระเครื่องประเภทหล่อโบราณทุกชนิด โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระสังฆราช (แพ) ปฐมบูรพาจารย์เป็นผู้ให้กำเนิดพระกริ่งสายวัดสุทัศน์ ฯ นับตั้งแต่บัดนั้นเป็นต้นมา การสร้างพระกริ่งก็ได้รับการถ่ายทอดมาเป็นรุ่นๆโดยได้เรียนรู้ขั้นตอนพิธีกรรมต่าง ๆ จากการปฏิบัติจริง จนมาถึงยุคปัจจุบัน คือเจ้าคุณพระพิพัฒน์สังวรคุณ ลูกศิษย์มักจะเรียกกันว่า เจ้าคุณถนอม ซึ่งเป็นศิษย์เอกของเจ้าคุณพระศรีสัจจญาณเถระ หรือ เจ้าคุณศรีประหยัด เจ้าคุณศรีประหยัดนี้ ได้อยู่ทันเห็นพิธีกรรมการสร้างพระกร่ิง-พระชัยวัฒน์ในสมัยสมเด็จพระสังฆราช (แพ) และเจ้าคุณศรีสนธิ์ พระเกจิอาจารย์อีกรูปหนึ่งของวัดสุทัศน์ ฯ ที่มีชื่อเสียงในการสร้างพระกริ่งที่โด่งดังเช่นกัน เช่น พระกริ่งรุ่นนำ้ท่วม ปี๒๔๘๕ และอีกหลายรุ่น และขณะนั้น เจ้าคุณศรีประหยัดได้สร้างเหรียญพระขาว เป็นรุ่นแรก และพระกริ่งรุ่นฟ้าลั่น เป็นต้น ท่านเจ้าคุณถนอม ก็ได้ช่วยงานท่านด้านการจัดพิธี ตระเตรียมมวลสารแร่ธาตุ และได้เรียนรู้การสร้างพระกริ่งจากเจ้าคุณศรีประหยัดผู้เป็นอาจารย์มาเป็นย่างดี
Archive for the ‘วัดในกรุงเทพ’ Category
วัดสุทัศน์
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร –พระประธานในวิหาร
พระศรีศากยมุนี (พระประธานในพระวิหารหลวง)
พระศรีศากยมุนีเป็นพระประธาน ในพระวิหารหลวงวัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ซึ่งหล่อด้วยสำริดที่ใหญ่กว่าพระพุทธรูปองค์อื่นๆ ที่ปรากฏในประเทศไทย ขนาดหน้าตักกว้าง ๖.๒๕ เมตร เดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ กลางเมืองสุโขทัย มีศิลาจารึกวัดป่ามะม่วงกล่าวอ้างถึงว่า พระมหาธรรมราชาลิไท กษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง (พ.ศ.๑๘๙๐-๑๙๑๙ ปีครองราชย์) แห่งสุโขทัย โปรดให้หล่อ และทำการฉลองในปีพุทธศักราช ๑๙๐๔
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร–สมัยรัชกาลที่ ๕
ต่อมาในรัชกาลที่ ๕ สมัยสมเด็จพระวันรัต (แดง) เป็นเจ้าอาวาส ๒ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จพระวันรัต (แดง) จัดการซ่อมพระวิหารพระศรีศากยมุนีเป็นครั้งใหญ่ ได้ลงมือซ่อม เมื่อเดือนกรกฎาคม ปีมะแม จุลศักราช ๑๒๕๗ ร.ศ. ๑๑๔ (พ.ศ. ๒๔๓๘) มีรายการที่ได้ซ่อมทำไปแล้ว แจ้งต่อไปนี้
๑. หลังคาพระวิหาร ตัวไม้และกระเบื้องชำรุดมาก ได้รื้อออกเปลี่ยนเชิงกลอนใหม่ต่ออกไก่ต่อแปหัวเสา ต่อขื่อใหญ่ในปธานและซ่อมกลอนระแนง แล้วมุงกระเบื้องซึ่งรื้อออก ที่ยังดีใช้ได้แต่ไม่พอ ได้รื้อกระเบื้องที่เฉลียงไปมุงเพิ่มเติม แล้วได้ถือปูน อกไก่ และเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาใหม่ ที่หน้าบัน ได้ซ่อมเทวรูปและกระจัง แล้วลงรักปิดทองประดับกระจกที่ตัวช้างเอราวรรณและรูปพระอินทร์แล้วเสร็จ ที่หน้าบันมุขเด็จและหน้าบันเฉลียงได้ซ่อมกระจังกับม่านสาหร่าย ลงรักปิดทองแล้วทั้งสองหน้า
๒. หลังคาเฉลียงในปธาน ชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นต่ำ ได้เปลี่ยนเชิงกลอนใหม่แล เปลี่ยนแปจันทัน แลต่อคอสอง เปลี่ยนกลอน ระแนง เปลี่ยนฝ้ามุงกระเบื้องใหม่
๓. หลังคามุขลดในปธาน แลเฉลียงมุขลด ชั้นบน ชั้นกลาง ชั้นต่ำ เปลี่ยนเชิงกลอน แปหัวเสา จันทันกลอน ระแนง เปลี่ยนฝ้า เปลี่ยนกรอบแว่น มุงกระเบื้องใหม่ แลเปลี่ยนช่อฟ้าใบระกาใหม่ทั้ง ๔ ด้าน
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร–สมัยรัชกาลที่ ๔
ลุถึงรัชกาลที่ ๔ พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงสร้างเพิ่มเติมต่อมาเมื่อจุลศักราช ๑๒๑๕ (พ.ศ. ๒๓๙๖) ทรงดำริว่า “ วัดสุทัศน์นั้น พระศาสดา ซึ่งสมเด็จเจ้าพระยาองค์น้อยไปเชิญเอามาแต่วัดบางอ้อยช้างในกรุงเทพฯ มาไว้ที่วัดประดู่ ทรงเห็นว่า พระศาสดา พระชินราช พระชินสีห์ ท่านอยู่วัดเดียวกันจะให้ไปอยู่วัดในเรือกสวนนั้นไม่สมควร จึงให้ไปเชิญมาไว้หน้าพระอุโบสถต่อพระประธานใหญ่ออกมา ภายหลังวิหารวัดบวรนิเวศแล้ว ก็ให้เชิญพระศาสดาไปไว้แล้วให้สร้างพระพุทธรูปใช้ใหม่องค์ ๑ พระอสีติมหาสาวก ๘๐ องค์นั่งฟังธรรมเทศนา ประดิษฐานแทนไว้ในพระอุโบสถแล้วถวายนามพระประธานในวิหารว่า “ พระพุทธศรีศากยมุนี ” พระประธานในพระอุโบสถถวายพระนามว่า พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ ๑.
๑. พระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ ร.๔ ฉบับสำนักพิมพ์คลังวิทยา พ.ศ. ๒๕๐๖ หน้า ๗๗๕-๗๗๖ (วิจิตร)
โปรดให้เชิญพระพุทธศาสดามาวัดสุทัศน์
ด้วยเจ้าพระยาธรรมาธิการ เสนาบดี รับพระบรมราชโองการใส่เกล้าฯ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สั่งว่า พระพุทธศาสดาหน้าตักกว้าง ๖ ศอก อยู่วัดประดู่ จะชักลงเรือสำปั้นแห่มาท่าพระ ณ วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาเช้า จะได้เชิญพระลงเรือ แห่มาแต่วัดประดู่มาประทับอยู่ท่าพระสมโภชคืนหนึ่ง ครั้นรุ่งขึ้น ณ วัน ฯ ๕ ๑๐ ค่ำ เพลาเช้า จะได้ชักขึ้นจากท่าแห่ไปทางประตูวิเศษไชยศรีเลี้ยวป้อมเผด็จดัษกรถนนโรงม้า ตรงไปถนนเสาชิงช้าไปไว้หน้ามุขพระอุโบสถวัดสุทัศนเทพวราราม ให้กรมนครบาลป่าวประกาศ ประชาราษฎรไทย จีน ตั้งเครื่องบูชาตามบก เรือ แพ แล้วให้ไล่ โรงร้าน เรือ แพ อย่าให้กีดขวางทางที่จะแห่พระพุทธรูปได้เป็นอันขาด อนึ่ง ให้พันจันทนุมาตย์เกณฑ์เรือกราด เรือราชการยาว ๙ ถึง ๑๐ วา ๓๐ ลำ มีธงมังกรปักจำลองหน้าท้ายลำละ ๒ คัน ไปแห่ชักพระพุทธรูป แต่วัดประดู่มาจนถึงท่าประตูท่าพระ ให้มีเชือกชักจูงทุกลำ แล้วให้เกณฑ์พิณพาทย์ ๔ สำรับลงเรือพระพุทธรูป ๔ มุมเรือ ให้ไปลงเรือพระพุทธรูปที่วัดประดู่แต่ ณ วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาย่ำรุ่งให้ทันกำหนด แล้วให้บอกบุญแก่กันกับนักเลงเพลง ปรบไก่ ดอกสร้อย สักวา ตามประดาที่มีอยู่ในกรุงเทพฯ ให้มาเล่นสมโภชพระพุทธรูปที่ท่าพระ แต่ ณ วัน ฯ ๔ ๑๐ ค่ำ เพลาค่ำ คืนหนึ่ง Read more »
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร–สมัยรัชกาลที่ ๓
ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ได้ทรงมีพระราชศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดสุทัศนเทพวรารามอีก และในรัชกาลนี้เองได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานนามพระอารามว่า “ วัดสุทัศนเทพวราราม ” ดังมีความปรากฏอยู่ในพระราชพงศาวดารตอนหนึ่งว่า“ ทรงพระราชดำริว่า วัดพระโต เสาชิงช้า พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย เมื่อปลายแผ่นดินก็โปรดให้ทำพิหารใหญ่ขึ้น การยังไม่ทันแล้วเสร็จ เชิญเสด็จพระศรีศากยมุนีขึ้นประดิษฐานไว้ การที่อื่นยังมิได้ทำ ก็พอสิ้นแผ่นดินไปครั้งนี้จะต้องทำเสียให้เป็นวัดขึ้นให้ได้ จึงให้พระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองดูทั่วไปทั้งวัดให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทักษเทเวศรทำพระอุโบสถใหญ่และทำพระระเบียงล้อมพระวิหารการนั้นก็แล้วสำเร็จทั่วทุกแห่งทั้งกุฏิสงฆ์ด้วย จึงให้อาราธนาพระธรรมไตรโลกอยู่วัดเกาะแก้ว ตั้งเป็นพระพิมลธรรมเป็นเจ้าอธิการจัดเอาพระภิกษุในวัดพระเชตุพนวัดมหาธาตุ วัดราชบุรณะ รวมได้ ๓๐๐ รูปไปอยู่เป็นอันดับพระราชทานชื่อ วัดสุทัศนเทพวราราม ”
๑ แต่ในหนังสือเทศนาพระราชประวัติรัชกาลที่ ๓ ฉบับกรมราชบัณฑิตพิมพ์ พ.ศ. ๒๔๖๒ ว่า “ ต่อมา จุลศักราช ๑๑๙๖ (พ.ศ. ๒๓๗๗) ในรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระราชดำริว่า วัดพระโตนั้น เมื่อในปัจฉิมรัชกาลแห่งพระบาทสมเด็จพระบรมชนกนาถ ก็ได้โปรดให้ทำพระวิหารใหญ่ขึ้น การก็ยังไม่ทันแล้ว เชิญพระศรีศากยมุนีขึ้นประดิษฐานไว้ การอื่นก็ยังมิได้กระทำอะไรลง ก็พอเสด็จสวรรคตล่วงไป ครั้งนี้จะต้องขวนขวายให้เสร็จจงได้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นพิทักษเทเวศ กับพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษา ปันหน้าที่กันดูแลทำทั่วไปทั้งพระอาราม ครั้นการเสร็จแล้วพระราชทานนามว่าวัดสุทัศนเทพวราราม แล้วสร้างพระวิหารจนสำเร็จ และโปรดให้สร้างพระอุโบสถ ส่วนพระประธานในพระอุโบสถนั้นหล่อขึ้นใหม่ที่โรงหล่อในพระบรมมหาราชวัง จะเป็นวันเดือนปีใดยังไม่พบหมาย เป็นแต่ได้ความตามหนังสือตำนานเรื่องวัตถุสถานต่างๆ ซึ่งราชบัณฑิตยสถานรวบรวมมีความย่อๆ ว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้หล่อ Read more »
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร–สมัยรัชกาลที่ ๒
ในรัชกาลที่ ๒ พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้เสวยราชสมบัติในปีนั้น เมื่อได้ทรงจัดการถวายพระเพลิงพระบรมศพเสร็จแล้ว เมื่อปีมะแมตรีศก จุลศักราช ๑๑๗๓ ถึงปีระกาเบญจศกจุลศักราช ๑๑๗๕ จึงได้ทรงสร้างวัดสุทัศน์ต่อมา โดยพระราชดำริว่าพระพุทธรูปองค์ใหญ่ซึ่งประดิษฐานอยู่ที่เสาชิงช้านั้น สมเด็จพระบรมชนกนาถ มีพระดำริจะสร้างวัดใหญ่ขึ้นกลางพระนคร พอก่อรากพระวิหารประดิษฐานพระศรีศากยมุนีแล้ว ก็พอสิ้นรัชกาล ยังมิได้ประดิษฐานเป็นสังฆาราม ซี่งเรียกกันในเวลานั้นว่า วัดพระโต จึงโปรดให้สถาปนาต่อมา สร้างพระวิหารยังไม่แล้ว “ แล้วทรงพระดำริให้ช่างเขียนเส้นลายบานประตูวัดพระใหญ่ยกเข้าไป ทรงพระศรัทธาลงลายพระหัตถ์สลักภาพกับกรมหมื่นจิตรภักดี
เรื่องบานประตูวัดพระใหญ่ซึ่งทุกวันนี้เรียกว่าพระโต คือพระศรีศากยมุนีวัดสุทัศน์นี้ได้ความชัดเจนดีนัก ประหลาดที่ไม่ใคร่จะมีใครรู้ เล่ากันไปต่างๆ นานา แต่ที่ทรงเองเห็นจะเป็นบานกลาง เมื่อรัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างพระอุโบสถวัดราชประดิษฐ์ มีพระราชประสงค์อยากจะให้สลักบานอย่างพระวิหารพระศรีศากยมุนี โปรดให้กรมขุนราชสีห์และช่างสลักมีพระยาจินดารังสรรค์เป็นต้น ไปคิดอ่านสลักให้เหมือนเช่นนั้นไม่สำเร็จต้องสลักเป็นสองชั้นซ้อนกันลงเพราะถากไม้ไม่เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้าทรงถากรูปหุ่นดีนัก จึงได้ถากลายบานนี้ได้เพราะเป็นการเหลือวิสัย ที่ช่างเขียนหรือช่างสลักจะทำ
วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ ชนิดราชวรมหาวิหาร–ผู้สร้างและมูลเหตุที่สร้าง
วัดนี้ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ ๑ แห่งพระบรมราชวงศ์จักรี โปรดเกล้าให้สถาปนาขึ้น แต่ทรงสร้างค้างไว้แต่เพียงรากพระวิหาร ถึงรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงสร้างใหม่ทั้งอาราม ในรัชกาลที่ ๕ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงปฎิสังขรณ์เพิ่มเติมอีก
ส่วนมูลเหตุที่จะทรงสร้างวัดนี้ มีเรื่องราวปรากฏมาว่า “ เมื่อสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ขึ้นมาเป็นราชธานีแล้ว ความมุ่งหมายที่จะทำนุบำรุงให้เหมือนกรุงศรีอยุธยาเดิม ด้วยนับถือกันว่า ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีเป็นสมัยที่บ้านเมืองรุ่งเรือง เรียกกันว่า “ ครั้งบ้านเมืองดี ” รั้ววังวัดวาที่สร้างขึ้นสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ก็มักถ่ายแบบมาจากกรุงศรีอยุธยา ยกตัวอย่างเช่นที่สร้างวัดสุทัศน์ฯ เป็นที่ประดิษฐานพระโตซึ่งเชิญมาแต่กรุงสุโขทัยในสมัยรัชกาลที่ ๑ ก็มีพระราชประสงค์จะสร้างแทนวัดพระเจ้าพนัญเชิงที่กรุงเก่าดังนี้เป็นต้น ” ๒
พระศรีศากยมุนีมาถึง
อีกฉบับหนึ่ง ด้วยเจ้าพระยาศรีธรรมาธิราชรับสั่งใส่เกล้าฯ ด้วยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าสั่งว่า ทรงพระราชศรัทธาให้อาราธนาพระพุทธรูปซึ่งอยู่ ณ เมืองสุโขทัยลงมากรุงเทพฯแล้ว ทอดทุ่นอยู่กลางน้ำหน้า พระตำหนักแพ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้มีการมหรสพสมโภชเพลากลางวัน กลางคืน ครั้นถึงวัน ๓ ฯ ๙ ๕ ค่ำ (ไม่มีปี ไม่มีศักราช เห็นจะเป็นปีมะโรงสัมฤทธิศก จุลศักราช ๑๑๗๐) เพลาเช้า พระสงฆ์ ๒๐ รูปรับพระราชทานฉันที่เรือบัลลังก์ แล้วเถิงเพลาบ่าย ๒ โมง จะได้ตั้งบายศรี ทอง เงินตอง ที่เรือหน้าพระพุทธรูป สมโภชเวียนพระเทียนนั้น ให้ข้าทูลละอองฯ ผู้ใหญ่ผู้น้อย ฝ่ายทหารพลเรือนมารับแว่นเวียนพระเทียนให้พร้อม จงทุกหมู่ทุกกรม อย่าให้ขาดได้ตามรับสั่ง
พระประธานทั้ง 3 องค์–วัดสุทัศน์
พระศรีศากยมุน พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระพุทธเสรฏฐมุนี
พระอุโบสถของวัดสุทัศน์ จัดว่าเป็นพระอุโบสถที่ยาวที่สุดในประเทศไทย พระประธานภายในพระอุโบสถ คือ พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ทั้งพระอุโบสถและพระประธานนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 ผนังด้านในของพระอุโบสถมีภาพจิตกรรมฝาผนังฝีมือช่าง ในสมัยรัชกาลที่ 3 ซุ้มประตูและหน้าต่างเป็นซุ้มยอด มีลัดษณะแปลกและงดงามมาก รอบ ๆ พระอุโบสถ มีซุ้มเสมา 8 ซุ้ม ตั้งอยู่บนกำแพงแก้ว เป็นใบเสมาคู่ซึ่งทำจากหินอ่อนสีเทา สลักเป็นภาพช้าง 3 เศียร งวงชูดอกบัวตูมเศียรละ 1 ดอก เบื้องบนมีดอกบัวบาน 3 ดอก บนกำแพงแก้วด้านทิศเหนือและทิศใต้ มีเกยอยู่ด้านละ 4 เกย ซึ่งใช้เป็นที่สำหรับประทับโปรยทานแก่ประชาชนในงานพระราชพิธี เรียกว่า เกยโปรยทาน ภาพวาดบนฝาผนังในอุโบสถ ที่เป็นรูป เปรต ตนหนึ่งนอนพาดกายอยู่ และมีพระสงฆ์ยืนพิจารณาอยู่ ซึ่งภาพนี้มีชื่อเสียงมากในสมัยอดีต เป็นที่เลื่องลือกันของผู้ที่ไปที่วัดแห่งนี้ว่าต้องไปดู
ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/
วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร
วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม” ปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม” และในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญ ให้คล้องกันว่า “พระศรีศากยมุนี” “พระพุทธตรีโลกเชษฐ์” และ “พระพุทธเสรฏฐมุนี”
วัดราชนัดดารามวรวิหาร โลหะประสาท
วัดราชนัดดารามวรวิหาร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 3 เพื่อพระราชทานเป็นเกียรติแก่พระราชนัดดา เรียกชื่อวัดเราออกจะไม่คุ้นกัน แต่ถ้าบอกว่า โลหะประสาททุกคนต้องร้องอ้อ โลหะประสาทสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุ โลหะประสาทหลังเดียวในไทย แต่ละชั้นมีความแตกต่างกัน ต้องลองเข้าไปชมดูค่ะ
วิธีเดินทาง
รถโดยสาร
รถเมล์สาย 5, 35, 44, 47, 59, 511 ลงป้ายสะพานผ่านฟ้า แล้วเดินอีกนิด (เห็นยอดโลหะประสาทตั้งแต่ตอนลง)
รถส่วนตัว
วิ่งไปสนามหลวง ด้วยถนนราชดำเนิน วัดอยู่ตรงหัวมุมแยกราชดำเนิน
ขอขอบคุณ http://galakung.com/
ประวัติวัดราชนัดดารามวรวิหาร–วัดราชนัดดารามวรวิหาร/ Wat Ratchanatdaram
วัดราชนัดดารามวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ต้นถนนมหาชัยที่ตัดกับถนนราชดำเนินกลาง เชิงสะพานผ่านฟ้าลีลาศและป้อมมหากาฬ แขวงบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร
อาณาเขตติดต่อ
ทิศเหนือ ติดกับถนนราชดำเนินกลาง จรดลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร์
หรือศาลารับแขกเมือง และพระบรมราชานุสาวรีย์ พระบาทสมเด็จ
พระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทิศใต้ จรดคลองวัดเทพธิดาราม
ทิศตะวันออก จรดถนนมหาชัย ฝั่งตรงข้ามเป็นป้อมมหากาฬ และแนวกำแพง
พระนครเดิม
ทิศตะวันตกจรดถนนซอยวัดราชนัดดาราม ถนนบ้านดินสอ
วัดราชนัดดาราม
ต้นชมพูพันธุ์ทิพย์ ขนาดใหญ่จำนวนหลายต้น บริเวณริมกำแพงวัดราชนัดดารามวรวิหาร ถ.มหาไชย แขวงวัดบวรนิเวศ เขตพระนคร กรุงเทพฯ ถูกตัดออกไปจนเหลือแต่ตอ บางจุดได้ขุดตอไม้ออกไปแล้วเหลือเพียงแต่หลุม
ล่าสุดเจ้าอาวาสออกมายอมรับว่าเป็นผู้สั่งตัดเอง เนื่องจากกิ่งไม้ล้ำเข้าไปพาดหลังคาศาลา ทิ้งใบและดอกเกลื่อน เมื่อร้องไปทางเขตแล้วไม่มาดำเนินการให้
สำหรับ “วัดราชนัดดาราม” เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร สร้างขึ้น เมื่อปีมะเมีย อัฐศก พ.ศ.2389
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯสร้างขึ้น เพื่อให้ปรากฏเป็นเกียรติแก่พระเจ้าหลานเธอ พระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี
ต่อมาได้ดำรงตำแหน่งเป็นพระอัครมเหสีองค์แรกของรัชกาลที่ 4 มีพระนามว่า สมเด็จพระนางเจ้าโสมนัสวัฒนาวดีบรมราชเทวี จึงพระราชทานนามว่า วัดราชนัดดาราม เมื่อปี พ.ศ.2386
โลหะปราสาท วัดราชนัดดารามวรวิหาร The Loha Prasat
โลหะปราสาท ตั้งอยู่ภายในวัดราชนัดดารามวรวิหาร และอยู่ในบริเวณพื้นที่ ลานพลับพลามหาเจษฎาบดินทร ถือเป็นองค์โลหะปราสาทแห่งที่สามของโลก และถือว่าเป็นองค์โลหะปราสาทเดียวที่ยังคงความสมบูรณ์ในปัจจุบัน โดยโลหะปราสาทองค์แรกที่อินเดีย สร้างขึ้นโดยนางวิสาขามหาอุบาสิกา บุตรีธนัญชัยเศรษฐีแห่งเมืองสาวัตถี เป็นปราสาท 2 ชั้น 1,000 ห้อง ยอดปราสาททำด้วยทองคำ ที่ชื่อว่า “มิคารมาตุปราสาท” ส่วนโลหะปราสาทหลังที่ 2 สร้างโดยพระเจ้าทุฏฐคามณี กษัตริย์แห่งกรุงอนุราธปุระลังกา ในราวปีพุทธศักราช 382 เป็นปราสาท 9 ชั้น 1,000 ห้อง มีความกว้างและความสูงแต่ละด้าน 100 ศอก หลังคามุงด้วยแผ่นทองแดง ผนังเป็นไม้ประดับด้วยหินมีค่าและงาช้าง ปัจจุบันโลหะทั้งสองแห่งนี้ได้ถูกทำลายลงแล้ว
Loha Prasat(Metal Castle) located in Wat Ratchanaddaram. This Loha Prasat is the third in the world and it is the only one that remains standing in its complete form today. As in the past, there are 2 Loha Prasat, one in the city of Sawatthi in India and the other in Anurathpura in Sri Lanka. Both had been ravaged by time and ceased to exist several centuries ago.
วัดราชนัดดารามวรวิหาร Wat Rat Natda Ram Worawihan
วัดราชนัดดาราม อยู่ที่ถนนมหาไชย สร้างเมื่อ พ.ศ. 2389 เป็นวัดที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อเป็นเกียรติแด่พระเจ้าหลานเธอพระองค์เจ้าโสมนัสวัฒนาวดี มีเจ้าพระยายมราชเป็นแม่กองออกแบบ เจ้าพระยาศรีพิพัฒน์เป็นแม่กองสร้างโลหะปราสาท วัดนี้แปลกกว่าวัดอื่น คือ โปรดเกล้าฯ ให้สร้างธรรมเจดีย์ปราสาทแทนการสร้างพระเจดีย์ (นับเป็นแห่งที่ 3 ของโลก) มีความสูง 36 เมตร ประกอบด้วย เจดีย์ล้อมรอบ 37 องค์ เพื่อให้เท่ากับ โพธิปักขียธรรม 37 ประการ ปัจจุบันโลหะปราสาทแห่งนี้เหลืออยู่เพียงแห่งเดียวในโลก เนื่องจากโลหะปราสาทที่ประเทศอินเดียและศรีลังกาได้ปรักหักพังไปหมดแล้ว
ขอขอบคุณ http://travel.edtguide.com/
มหากุศลงานงานบูรณะปิดทอง โลหะปราสาทวัดราชนัดดา2556-2559
“งานบูรณะปิดทองครั้งแรกโลหะปราสาท(เหลือแห่งเดียวในโลกในปัจจุบัน) วัดราชนัดดารามวรวิหาร2556” เพื่อเป็นพุทธบูชาและถวายพระราชกุศลแด่พระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบันและพระบรมวงศานุวงศ์ทุกพระองค์ …พุทธสถานสำคัญ ทรงโปรดสร้างโดย รัชกาลที่ 3 – เสร็จสมบูรณ์ในรัชสมัย รัชกาลที่ 9 ถึงปัจจุบัน(กว่า150ปี) กรมศิลปากรขึ้นทะเบียนโบราณสถานปี 2492 คาดว่าจะใช้งบประมาณปิดทองบูรณะใหม่ทั้งหลัง 160ล้าน+บาท ครับ อนุรักษ์สถาปัตยกรรมสถานสำคัญของชาติ ถนนรราชดำเนินกลาง ใจกลางกรุงรัตนโกสินทร์ เขตพระนคร กทม. เข้าไปช่วยกัน ถูกใจ นะครับ ….ติดตามภาพ และข้อมูลความคืบหน้าการบูรณะครั้งใหญ่นี้จนกว่าจะเสร็จ งานบูรณะปิดทองโลหะปราสาท ครั้งแรก ที่ www.facebook.com/Gold.MetalCastle.Thailand (เข้าไปถูกดูหรือถูกใจเพจได้ )
คาดการบูรณะแล้วเสร็จ ก่อนงานเฉลิมพระเกียรติ 84 พรรษา มหาราชินี 12 ส.ค.2559
สืบทอดพระพุทธศาสนาเป็นที่ชุ่มชื่นตาชื่นใจในพุทธานุสติ เป็นที่พึ่งสงบสุขใจ ใจกลางพระนครอันแข่งขันและวุ่นวายของสังคมโลก (ทั้งชาวไทยและต่างชาติ นักท่องเที่ยวที่มาเที่ยวสักการะบูชาเป็นจำนวนมากในแต่ละวัน) Read more »