Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคใต้’ Category

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช –ประวัติความเป็นมา

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สันนิษฐาน จากตำนานเมืองนครศรีธรรมราชว่า สร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ใน พ.ศ.1098 เพื่อเป็นที่ ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ในสมัยโบราณถือว่าเป็นเขตพุทธาวาสจึงไม่มีพระสงฆ์จำ พรรษา ต่อมาได้มีการบูรณะและสร้างเสริมโบราณวัตถุ โบราณสถานภายในวัดอีกหลายครั้ง

ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดเกล้าฯให้นำทองแดงหล่อปิดทอง ยอดพระบรมธาตุและสร้างพระระเบียงโดยรอบทั้งหมด165 ห้อง พระพุทธรูป 165 องค์ สร้าง กำแพง 4 ด้าน สร้างวิหารสามจอม และพระรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช

สมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณะวิหารทับเกษตร วิหารหลวง และศาลากุ ฎิในพระอาราม ถมทรายเทปูนรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ยกพื้นสูง 75 ซม.กว้าง 1 เมตรเรียกกัน ว่า ทางเดินพระเจ้าตากสิน

สมัยรัตนโกสินทร์ การบูรณะครั้งใหญ่ทำในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้า อยู่หัวในระหว่างปี พ.ศ. 2437 ถึง พ.ศ. 2441 มีผู้นำในการบูรณะคือ พระครูเทพมุนีศรีสุวรรณถู ปาฏมาภิบาล (ปาน) ต่อมา พ.ศ. 2513 กรมศิลปากรได้ซ่อมแซมวิหารคดหรือพระระเบียงและมี การซ่อมอีกหลายครั้ง

สมัยพลเอกเปรม ติณสูลานนท์ เป็นนายกรัฐมนตรีได้บูรณะปฏิสังขรณ์กลีบบัวทอง คำ ปัจจุบันได้มีการบูรณะซ่อมปลียอดทองคำโดยสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราช กุมารีเป็นองค์ประธานคณะกรรมการโครงการเหรียญบาทสืบทอดพระธาตุเมืองคอนโดยมีกรม ศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการบูรณะปลียอดทองคำพระบรมธาตุเจดีย์ โดยเสริมความแข็งแรงของปลียอด
ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร นครศรีธรรมราช

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารเดิมเรียกว่าวัดพระบรมธาตุ เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร และมีอายุการก่อสร้างเก่าแก่ โดยมีความสำคัญทางศาสนามาแต่โบราณ อีกทั้งมีโบราณสถานที่สำคัญของประวัติศาสตร์ทางโบราณคดีและศาสนา

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ ที่ชาวนครเรียกว่าวัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็น มิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน ทั้งหลาย สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จัก กันแพร่หลายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากเป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้

พระบรมธาตุเจดีย์เป็นเจดีย์สถาปัตยกรรมแบบล้านนา มีจุดเด่นที่ยอดเจดีย์ ซึ่งหุ้มด้วยทองคำแท้ จากความเชื่อ เล่าสืบตอบกันมาว่าองค์พระธาตุประกอบด้วยทองรูปพรรณและของมีค่ามากมายจรดปลายเจดีย์ ซึ่งสิ่งของมีค่า เหล่านี้พุทธศสานิกชนนำมาถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้ตนได้พบกับนิพพาน จากคำขวัญประจำ จังหวัดเมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปข้อความว่า พระธาตุทองคำ จึงหมายถึง ยอดเจดีย์ทองของพระบรมธาตุนั่นเอง และหากใครต้องการ ชมยอดพระธาตสีทองเหลืองอร่ามอย่างใกล้ชิด มีบริการกล้องส่องทางไกลให้ใช้บริการสนนราคาแล้ว แต่ตกลง กันว่าจะชื่นชมความงดงามนั้นนานเพียงใด ด้วยความมีชื่อเสียงและศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมธาตุเจดีย์ ดึงดูดให้ผู้คน จากทั่วสารทิศแวะมากราบไหว้ขอพรคู่ไปกับพิธีปฏิบัติอีกอย่างหนึ่ง คือ การนำผ้าขึ้นธาตุ ตามตำนานเชื่อว่า หากใครได้นำผ้าขึ้นธาตุ และบนขอพรใน เรื่องใด จะขอให้หายเจ็บหายไข้ ขอให้ได้ลูก ขอเรื่องการงานการเรียน สิ่งนั้นก็จะเป็นจริงดังหวัง มีเรื่องเล่าว่า มีชายคน หนึ่งประสบอุบัติเหตุเดินไม่ได้ รักษาเท่าไหร่ก็ไม่หาย สุดท้ายพ่อแม่ไม่รู้จะทำอย่างไร จึงมาบนและนำผ้าขึ้นธาตุที่ พระบรมธาตุ ขอให้ลูกชายหายจากอาการป่วยและหากหายจะให้มาบวชที่วัดพระธาตุ ในไม่ช้าชายหนุ่มคนดังกล่าว ก็หายวันหายคืน จนกลับมาเดินได้เป็นปกติในทุกปีช่วงวันมาฆและวันวิสาขบูชา จะจัดงานแห่ผ้าขึ้นธาตุซึ่งถือเป็น งาน บุญประจำปีที่มีผู้คนจากทั่วสารทิศมาร่วมสร้างบุญกุศลที่ยิ่งใหญ่นี้ความ มหัศจรรย์อย่างหนึ่งของ องค์พระบรมธาตุ คือ องค์พระธาตุจะไม่มีเงาทอดลงพื้นไม่ว่าแสงอาทิตย์จะส่องกระทบไปทางใด ซึ่งยังไม่มี ใครหาคำตอบ ได้ว่าเป็นเพราะอะไร จากความมหัศจรรย์นี้ ท.ท.ท. จึงให้เจดีย์นี้เป็น 1 ใน unseen Thailand ของเมืองไทย นอกจากพระบรมธาตุเแล้วเจดีย์องค์เล็กที่รายล้อมรอบองค์พระธาตุมากมายเป็นสิงที่แปลกตาแก่นักท่องเที่ยว ที่ได้พบเห็น เจดีย์นี้เรียกว่า องค์เจดีย์บริวาร ซึ่งมีทั้งหมด 149 องค์เจดีย์บริวาร คือ เจดีย์ที่ลูกหลานบรรพบุรุษ ได้สร้างไว้สืบต่อกัน มาเรื่อยๆเพื่อบรรจุอัฐิของญาติผู้ล่วงลับไปแล้วโดยอธิษฐานว่าขอให้ญาติของตนได้มาเกิด ในศาสนา ของพระพุทธองค์อีกครั้งในภพหน้า นอกจากความหัศจรรย์ของพระธาตุไร้เงาแล้ว เจดีย์บริวารที่ เรียงราย ล้อมรอบองค์พระบรมธาตุเป็นสิ่งมหัศจรรย์ซึ่งเราไม่ค่อยได้เห็นจากที่ใดเช่นกัน

Read more »

ประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร มีโบราณสถานโบราณวัตถุที่สำคัญอยู่มากมาย จึงได้รับประกาศให้เป็นโบราณสถานของชาติ ดังประกาศขึ้นทะเบียนโบราณสถาน ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๕๓ ตอนที่ ๓๔ หน้า ๑๕๓๐ วันที่ ๒๗ กันยายน ๒๔๗๙ และประกาศขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุจำนวน ๒๑ รายการ ในราชกิจจานุเบกษา เล่ม ๑๐๖ ตอนที่ ๑๖ หน้า ๗๒๖-๗๒๘ วันที่ ๓๑ มกราคม ๒๕๓๒ ทั้งนี้เพราะแทบทุกที่ทุกทางภายในวัด ล้วนมีคุณค่าต่อการศึกษาและมีประโยชน์สำหรับอนุชนทั้งสิ้น ซึ่งจะขอกล่าวถึงโบราณสถานและโบราณวัตถุที่สำคัญภายในวัดตามลำดับ ดังนี้

องค์พระบรมธาตุเจดีย์
สัญลักษณ์ของเมืองนครศรีธรรมราชที่รู้จักกันดีในทุกภาคของประเทศไทย ตลอดถึงต่างประเทศก็คือองค์พระบรมธาตุเจดีย์ อันเป็นมิ่งขวัญของชาวจังหวัดนครศรีธรรมราชและชาวพุทธทั้งมวล เพราะเป็นที่บรรจุประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า เป็นที่เคารพสักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วโลก เป็นเจดีย์ทรงกลมแบบลังการูประฆังคว่ำ หรือโอคว่ำ ตั้งอยู่บนลานทักษิณสี่เหลี่ยม
กล่าวกันว่า แต่เดิมรูปทรงของพระบรมธาตุเจดีย์ไม่ได้มีรูปทรงอย่างทุกวันนี้ ที่เห็นเป็นพระเจดีย์ที่สร้างขึ้นใหม่เพื่อครอบเจดีย์องค์เก่าไว้ พระเจดีย์องค์เดิมที่อยู่ภายในนั้นสร้างตามคติความเชื่อของพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ในสมัยศรี

Read more »

วัดพระมหาธาตุ ว่าที่มรดกโลกแห่งใหม่ของไทย

Image

ถือเป็นหนึ่งในข่าวดีของเมืองไทยที่ล่าสุด “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร” หรือ “วัดพระมหาธาตุ” จ.นครศรีธรรมราช ได้รับการลงมติรับรองให้วัดพระมหาธาตุ ขึ้นเป็นแหล่งมรดกโลกทางวัฒนธรรมที่อยู่ในบัญชีรายชื่อเบื้องต้น จากที่ประชุมคณะกรรมการมรดกโลกที่จัดประชุมขึ้น ณ กรุงพนมเปญ ประเทศกัมพูชา เมื่อไม่กี่วันที่ผ่านมา

ทั้งนี้ในขั้นตอนต่อไปประเทศไทยจะต้องจัดทำรายงานฉบับสมบูรณ์ หรือที่เรียกว่าแฟ้มข้อมูล (Nomination File) ส่งไปยังศูนย์มรดกโลกในเดือนกุมภาพันธ์ 2557 เพื่อผลักดันให้เข้าสู่วาระการพิจารณาขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกต่อไป ซึ่งคาดว่าจะใช้เวลาไม่ต่ำกว่า 2 ปี

วัดพระมหาธาตุเมืองนคร ตั้งอยู่ในตัวเมืองนครศรีธรรมราช มี “พระบรมธาตุเมืองนคร” หรือ “องค์พระบรมธาตุเจดีย์” เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญคู่บ้านคู่เมือง ตามตำนานกล่าวว่า สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณ ปี พ.ศ. 854 ด้วยศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย (หลายคนเชื่อว่ามีลักษณะคล้ายพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี) ภายในบรรจุพระทันตธาตุ (ส่วนฟันของพระพุทธเจ้า)
Read more »

สิ่งที่น่าสนใจในวัพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

watpratad12 watpratad8

1. พระบรมธาตุเจดีย์
2. วิหารพระทรงม้า
3. วิหารเขียน
4. วิหารโพธิ์ลังกา
5. วิหารสามจอม
6. วิหารพระแอด
7. วิหารทับเกษตร
8. วิหารคด
9. วิหารธรรมศาลา
10. วิหารหลวง
11. วิหารโพธิ์พระเดิม
12. พระอุโบสถ
13. เจดีย์รายรอบพระบรมธาตุเจดีย์
14. โบราณวัตถุภายในวัด

นอกจากนี้ในบริเวณวัดพระธาตุ ยังจำหน่าย สินค้า 1 ตำบล 1 ผลิตภัณฑ์ (OTOP)เครื่องถมนคร งานฝีมือโบราณที่ ถือเป็นเอกลักษณ์ของนครศรีธรรมราช เครื่องถมหลากหลายทั้งแหวน สร้อย กำไล พาน ขันและอื่นๆ อีกมากมี แหล่งขายรวมอยู่ที่ถนนท่าช้าง หลังสนามหน้าเมืองบริเวณวัดพระมหาธาตุวรวิหาร และตลาดท่าวัง

Read more »

ประวัติวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหารพระบรมธาตุจังหวัดนครศรีธรรมราช

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมเรียกว่า วัดพระบรมธาตุ เป็นวัดใหญ่ ตั้งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณ ค่อนมาทางทิศใต้ เนื้อที่ 25 ไร่ 2 งาน มีถนนราชดำเนินตัดผ่านหน้าวัด เข้าใจว่าเดิมคงเป็นถนนโบราณ ประวัติ การสร้างวัดไม่มีหลักฐานปรากฎแน่ชัดนอกจากประวัติจากตำนานที่กล่าวถึงการก่อสร้างพระมหาธาตุ ซึ่งเป็น เอกสารที่ี่เขียนขึ้นจากคำบอกเล่าภายหลังเหตุการณ์จริงเป็นเวลายาวนานมาก หลักฐานทางเอกสาร ที่ชัดเจน ปรากฏขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 6 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์กล่าวว่าวัดนี้เป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา ต่อมาพระเจ้า บรมวงศ์เธอเจ้าฟ้ายุคลฑิฆัมพร กรมหลวงลพบุรีราเมศวร์ อุปราชปักษ์ใต้ทรงพระสงฆ์จากวัดเพชรจริก มาดูแล รักษาวัด และคราวที่รัชกาลที่ 6 เสด็จประพาสเมืองนคร ได้โปรดพระราชทานนามวัดว่า วัดพระมหาธาตุวรมหา วิหารประวัติ จากตำนานที่เล่าเรื่องการก่อสร้างพระบรมธาตุมีหลายสำนวนสามารถประมวล เนื้อหาได้ว่า เมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จดับขันธ์ปรินิพพาน เมืองต่าง ๆ ในแว่นแคว้นชมพูทวีปได้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุไปเก็บ รักษา เคารพบูชา มีเมืองหนึ่งชื่อเมืองทนธบุรี ได้พระทันตธาตุมาเก็บรักษาไว้ ต่อมามีกษัตริย์จากเมืองอื่นยกทัพ มาเพื่อขอแบ่งพระทันตธาตุ กษัตริย์สิงหราชเจ้าเมืองทนธบุรีเห็นว่าจะรักษาเมืองไว้มิได้ จึงให้พระนางเหมชาลา และเจ้าชายทนทกุมารพระธิดาและพระโอรสอัญเชิญพระทันตธาตุ ลงเรือหนีไปลังกา เผอิญเรือกำปั่นถูกพายุพัด เรือแตกทั้งสองพระองค์มาขึ้นฝั่ง ณ หาดทรายแก้ว แล้วฝังพระทันตธาตุไว้ เรื่องราวดำเนินต่อไปจนทั้งสอง พระองค์ไ์ด้กลับ ไปลังกาโดยมีพระทันตธาตุสวน หนึ่งยังฝังอยู่ที่หาดทรายแก้วต่อมาพระเจ้าศรีธรรมโศกราช ได้มาพบพระทันตธาตุ และโปรดให้สร้างพระบรมธาตุเจดีย์ ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุและสร้างเมือง ณ หาดทรายแก้ว จนสำเร็จเมืองดังกล่าวก็คือ เมืองนครศรีธรรมราชพระบรมธาตุเจดีย์ก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ นครศรีธรรมราช ซึ่งเชื่อกันว่าเดิมเป็นเจดีย์แบบอิทธิพลศิลปะ ศรีวิชัย คือเป็นเจดีย์ทรงมณฑป มีหลังคาเป็น สถูปห้ายอดคล้ายพระบรมธาตุเจดีย์ที่อำเภอไชยา จังหวัดสุราษฎร์ธานี อายุราวพุทธศตวรรษที่ 13-15 ต่อมา พระสถูปแบบศรีวิชัยทรุดโทรมลง จึงได้มีการสร้างเจดีย์องค์ใหญ่ทรงลังกาซึ่งเป็นเจดีย์องค์ปัจจุบันครอบไว้ เชื่อกันว่าในขณะนั้นคือราวพุทธศตวรรษที่ 18 อิทธิพลพุทธศาสนาแบบลังกาในดินแดน นครศรีธรรมราช เข้มแข็งมาก นครศรีธรรมราชจึงได้รับอิทธิพลทั้งศาสนาและศิลปกรรมจากลังกา ศาสตราจารย์หม่อมเจ้าสุภัทรดิศ ดิศกุลทรงวินิจฉัยว่าพระบรมธาตุเจดีย์ปัจจุบันมีลักษณะคล้ายเจดีย์กิริเวเทระในเมืองโบโลนนารุวะ ประเทศ ศรีลังกา สร้างในสมัยพระเจ้าปรากรมพาหุมหาราช ราวต้นพุทธศตวรรษที่ 18 พระบรมธาตุเจดีย์ ก็ควรสร้างหลัง จากนั้นมากส่วนสถาปัตยกรรมอื่น ๆ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ ล้วนเป็นของที่สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาเป็นส่วนใหญ่จะ มีสิ่งก่อสร้างในสมัย ธนบุรีและรัตนโกสินทร์ตอนต้นอยู่บ้าง เช่น วิหารทับเกษตร วิหารพระแอด เป็นต้น

ขอขอบคุณ http://www.paiduaykan.com/

วัดพระธาตุ นครศรีธรรมราช

watpratad1

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ ที่ชาวนครเรียกว่า วัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็น มิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน ทั้งหลาย สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จัก กันแพร่หลายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากเป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้พระบรมธาตุเจดีย์ เป็นเจดีย์สถาปัตยกรรมแบบล้านนา มีจุดเด่นที่ยอดเจดีย์ ซึ่งหุ้มด้วยทองคำแท้ จากความเชื่อ เล่าสืบตอบกันมาว่าองค์พระธาตุประกอบด้วยทองรูปพรรณและของมีค่ามากมายจรดปลายเจดีย์ ซึ่งสิ่งของมีค่า เหล่านี้พุทธศสานิกชนนำมาถวายแด่องค์พระสัมมาสัมพุทธเจ้าเพื่อให้ตนได้พบกับนิพพาน จากคำขวัญประจำ จังหวัดเมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสามกษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปข้อความว่า พระธาตุทองคำ จึงหมายถึง ยอดเจดีย์ทองของพระบรมธาตุนั่นเอง และหากใครต้องการ ชมยอดพระธาตสีทองเหลืองอร่ามอย่างใกล้ชิด มีบริการกล้องส่องทางไกลให้ใช้บริการสนนราคาแล้ว แต่ตกลง กันว่าจะชื่นชมความงดงามนั้นนานเพียงใด ด้วยความมีชื่อเสียงและศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมธาตุเจดีย์ ดึงดูดให้ผู้คน จากทั่วสารทิศแวะมากราบไหว้ขอพรคู่ไปกับ

Read more »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร–ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ

ประเพณีผ้าขึ้นธาตุ หมายถึง การนำผ้าผืนยาวขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์ในวันสำคัญทางศาสนา ชาวนครได้ร่วมมือร่วมใจกันบริจาคเงินตามกำลังศรัทธานำเงินที่ได้ไปซื้อผ้ามาเย็บต่อกันเป็นแถวยาวนับพันหลา แล้วจัดเป็นขบวนแห่ผ้าขึ้นห่มพระบรมธาตุเจดีย์ ผ้าที่ขึ้นไปห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เรียกว่า “ผ้าพระบฎ” (หรือ พระบต) นิยมใช้สีขาว สีเหลือง สีแดง สำหรับผ้าสีขาวนิยมเขียนภาพเนื้อหาเกี่ยวกับพุทธประวัติตั้งแต่ประสูติ เสด็จออกบรรพชา ตรัสรู้ ปฐมเทศนา และปรินิพพาน ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุเป็นเอกลักษณ์ประจำเมืองนครศรีธรรมราช แก่นแท้อยู่ที่การบูชาพระพุทธเจ้าอย่างใกล้ชิด โดยใช้องค์พระบรมธาตุเจดีย์เป็นตัวแทน

ตามตำนานประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุมีว่า ในสมัยที่พระเจ้าสามพี่น้อง คือ พระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระเจ้าจันทรภาณุ และพระเจ้าพงษาสุระ กำลังดำเนินการสมโภชพระบรมธาตุอยู่นั้น คลื่นได้ซัดผ้าแถบยาวชิ้นหนึ่ง ซึ่งมีลายเขียนเรื่องราวพุทธประวัติ (เรียกว่า พระบฎ หรือ พระบต) ขึ้นที่ชายหาดปากพนัง จึงนำผ้าผืนนั้นไปถวายพระเจ้าศรีธรรมโศกราช พระองค์จึงรับสั่งให้ซักจนสะอาด แต่ลายเขียนพุทธประวัติก็ไม่ลบเลือนยังคงสมบูรณ์ดีทุกประการ จึงรับสั่งให้ประกาศหาเจ้าของ ได้ความว่าชาวพุทธกลุ่มหนึ่ง จะเดินทางไปลังกา เพื่อนำพระบฎไปถวายเป็นพุทธบูชาพระทันตธาตุ คือ พระเขี้ยวแก้ว แต่เรือถูกมรสุมซัดแตกที่ชายฝั่งเมืองนครมีรอดชีวิต 10 คน ส่วนพระบฏถูกคลื่นซัดขึ้นฝั่งปากพนัง พระเจ้าศรีธรรมโศกราชทรงพิจารณาเห็นว่าควรจะนำขึ้นไปห่มพระบรมธาตุเจดีย์เนื่องในโอกาสสมโภชพระบรมธาตุ เจ้าของพระบฎที่รอดชีวิตก็ยินดีด้วย จึงโปรดให้ชาวเมืองนครจัดเครื่องประโคมแห่แหนผ้าห่มโอบฐานพระบรมธาตุเจดีย์ จึงเป็นประเพณีประจำเมืองนครสืบมาจนทุกวันนี้

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร–สถานที่สำคัญ

800px-thumbnail

พระวิหารหลวง
วิหารพระมหาภิเนษกรณ์ หรือวิหารพระทรงม้า
วิหารเขียน
วิหารโพธิ์ลังกา
วิหารพระกัจจายนะ หรือวิหารพระแอด
วิหารพระปัญญา
เจดีย์ราย รอบพระบรมธาตุ
พระบรมธาตุเจดีย์
วิหารสามจอม หรือวิหารพระเจ้าศรีธรรมโศกราช
วิหารทับเกษตร หรือพระระเบียงตีนธาตุ
Read more »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เดิมชื่อ วัดพระบรมธาตุ ตั้งอยู่ ถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครศรีธรรมราช จังหวัดนครศรีธรรมราช เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดวรมหาวิหาร

ประวัติ
พ.ศ. 854 เจ้าชายทนทกุมาร และพระนางเหมชาลาและบาคู (แปลว่า นักบวช) ชาวศรีลังกา ได้สร้างวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร (เดิมชื่อ วัดพระบรมธาตุ นครศรีธรรมราช) เจดีย์องค์เดิมเจดีย์แบบศรีวิชัยคล้ายเจดีย์กิริเวเทระ ในเมืองโบโลนนารุวะ ประเทศศรีลังกา
พ.ศ. 1093 พระเจ้าจันทรภาณุ ได้ทำการสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมกับการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่เป็นเจดีย์แบบศาญจิ
พ.ศ. 1770 พระเจ้าจันทรภาณุ ได้บูรณะพระบรมธาตุเจดีย์ เจดีย์แบบลังกา ทรงระฆังคว่ำ หรือ โอคว่ำ มีปล้องไฉน 52 ปล้อง สูงจากฐานถึงยอดปลี 37 วา 2 ศอก ยอดปลีของปล้องไฉน หุ้มทองคำเหลืองอร่าม สูง 6 วา (เท่ากับ 2 เมตร) 1 ศอก (เท่ากับ 0.50 เมตร) แผ่เป็นแผ่นหนา เท่าใบลานหุ้มไว้ น้ำหนัก 800 ชั่ง (เท่ากับ 960 กิโลกรัม) รอบพระมหาธาตุมีเจดีย์ 158 องค์
พ.ศ. 2155 และ พ.ศ. 2159 สมัยสมเด็จพระเอกาทศรถมีการซ่อมแผ่นทองที่ปลียอดพระบรมธาตุ
พ.ศ. 2190 สมัยสมเด็จพระเจ้าปราสาททอง ยอดพระบรมธาตุได้ชำรุดหักลง และได้มีการซ่อมสร้างขึ้นใหม่
Read more »

ปูชนียสถาน-วัตถุ วัดสวนดอก

พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา

พระเจดีย์วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะใหม่และหุ้มแผ่นทองจังโก
พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระอารามหลวง” โดยโปรดเกล้าให้สร้าง “พระเจดีย์ทรงลังกา” ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระสุมนได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 ซึ่งแต่เดิมมีเจดีย์แบบสุโขทัย (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) อยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระเจดีย์ใหญ่ แต่ได้ปรักหักพังลง พระเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

พระเจ้าเก้าตื้อ
เป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง (“ตื้อ” เป็นคำในภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง) พระญาเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047 “พระเจ้าเก้าตื้อ” เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า “วัดเก้าตื้อ” แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .