Archive for the ‘วัดในฉะเชิงเทรา’ Category

สถานที่ท่องเที่ยวฉะเชิงเทรา วัดจีนประชาสโมสร(เล่งฮกยี่)

ตั้งอยู่ที่ตำบลบ้านใหม่ อำเภอเมืองฉะเชิงเทรา วัดแห่งนี้เดิมชื่อว่า “เล่งฮกยี่” เป็นพุทธสถานฝ่ายมหายานที่ทรงคุณค่าด้วยศิลปกรรมอันงดงามแบบจีน พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินเยือนเมืองแปดริ้ว ใน พ.ศ. 2450 เพื่อเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา พระองค์ได้เสด็จพระราชดำเนินเยือนวัดแห่งนี้และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อ “วัดเล่งฮกยี่” เป็น “วัดจีนประชาสโมสร” โดยมีป้ายชื่อพระราชทานประดับเด่นเป็นสง่าตราบเท่าปัจจุบัน

บริเวณทางเข้าพระอุโบสถของวัดคือท้าวจตุโลกบาล ซึ่งทำหน้าที่ปกปักรักษาโลกในทิศทั้งสี่ ส่วนภายในพระอุโบสถมีพระพุทธรูปแบบจีนลัทธิมหายานอีก 3 องค์ คือ พระยู่ไล้ พระโอนิโทฮุดและพระเอื้อซือฮุด ซึ่งเชื่อว่าสามารถปกปักรักษาโรภัยไข้เจ็บได้ พระพุทธรูปทั้ง 3 องค์ สร้างขึ้นจากกระดาษที่นำมาจากเมืองเซี่ยงไฮื้ ประเทศจีน พร้อม ๆ กันกับพระพุทธรูป 18 อรหันต์ ที่ประดิษฐานอยู่ด้านข้างพระอุโบสถ วัดจีนประชาสโมรได้ดำเนินการก่อสร้างเจดีย์ 7 ยอด และรูปปั้นพระโพธิสัตว์อวโลกิเตศวรหรือเจ้าแม่กวนอิมพันมือ เพื่อร่วมเฉลิมฉลองในวาระเป็นมหามงคลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริรราชสมบัติครบ 50 ปี

ขอขอบคุณ http://www.banphoriverside.net/

“ตามรอยมังกร” ขอพรแห่งอิทธิฤทธิ์

Image

รู้มั๊ยว่า..ประเทศไทยของเราก็เป็นดินแดนอุดมมังกรเหมือนกัน มังกรที่ว่านี้ไม่ใช่มังกรที่พ่นไฟฟู่ๆอย่างในหนังฝรั่งเขา หากแต่เป็น”มังกร”สัตว์ศักดิ์สิทธิ์ของคนจีน ซึ่งชาวจีนจึงเชื่อกันว่า “มังกร” คือสัตว์ที่ทรงพลังและศักดิ์สิทธิ์แห่งฟ้าและดิน มังกรเป็นตัวแทนของพลังที่ยิ่งใหญ่แห่งธรรมชาติ พลังอำนาจสูงสุดของโลก

บางครั้งเราอาจพบมังกรจีนในรูปสัญลักษณ์ของเทพเจ้าแห่งการปกป้องและคุ้มครอง นำมาซึ่งอายุยืนยาว ความเจริญรุ่งเรือง โชคลาภวาสนา มังกรจีนได้กลายมาเป็นสัญลักษณ์ของความยิ่งใหญ่ ความดีงาม และอำนาจบารมี จนถือได้ว่า มังกร เป็นสัญลักษณ์แทนความโชคดีสูงสุดก็ว่าได้
ดังนั้นทริปนี้ “ตะลอนเที่ยว” จึงเลือกที่จะเดินทาง”ตามรอยมังกร” ไปใน 3 จังหวัด กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา-จันทบุรี โดยมี “อ.คฑา ชินบัญชร” เป็นวิทยากรผู้ทรงคุณวุฒินำเที่ยวชม ซึ่งการตามรอยมังกรครั้งนี้เราจะตามกันให้ครบทั้งตัวตั้งแต่หัวมังกร ท้องมังกร ไปจนถึงหางมังกรเลยทีเดียว

ที่แรกต้นทางอยู่ที่กรุงเทพฯ ในย่านเยาวราชที่เชื่อกันว่าเป็นถนนสายมังกรและเป็นที่ตั้งของวัดมังกร หรือ”วัดเล่งเน่ยยี่” ซึ่งในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ทรงโปรดเกล้าฯให้เลือกชัยภูมิที่ตั้งวัดโดยให้เจ้ากรมท่าซ้ายร่วมกับพุทะสาสนิกชนชาวจีนก่อสร้างขึ้นในปี พ.ศ.2414 ใช้เวลาก่อสร้างถึง 8 ปีจึงแล้วเสร็จและให้ชื่อว่า “วัดเล่งเน่ยยี่” อันมีความหมายคือ เล่ง แปลว่ามังกร เน่ย แปลว่าดอกบัว ยี่แปลว่าวัด ต่อมาภายหลังรัชกาลที่ 5 พระราชทานนามใหม่ว่า “วัดมังกรกมลาวาส”
สถาปัตยกรรมของวัดแห่งนี้ก็โดดเด่นด้วยการวางผังแบบวังหลวงแต้จิ๋วโบราณ คือ มีวิหารท้าวจตุโลกบาลเป็นวิหารแรก ตรงกลางเป็นพระอุโบสถ ข้างหลังพระอุโบสถเป็นวิหารเทพเจ้า การสร้างใช้ไม้และอิฐเป็นวัสดุสำคัญ โดยก่อนจะเข้าสู่วิหารท้าวจตุโลกบาลหน้าประตูทางเข้าทั้งสองด้านมีป้ายคำโคลงคู่มีความหมายว่า ประทุมประทีปส่องสว่างกลางเวหา และ มังกรเหินสู่สวรรค์ ณ ถิ่นนี้ ที่วัดแห่งนี้จึงได้ชื่อว่าเปรียบดั่ง “ส่วนหัวของมังกร”

Read more »

วัดจีนประชาสโมสร

วัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่) ขยายมาจากวัดมังกรกมลาวาสในกรุงเทพมหานคร เริ่มสร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว พ.ศ. 2449 เป็นวัดจีนเก่าแก่แห่งศาสนาพุทธนิกายมหายาน ภายในวัดมีพระพุทธรูปที่หล่อด้วยกระดาษ เทพเจ้าแห่งโชคลาภไฉ่ซิ้งเอี๊ย เจ้าแม่กวนอิม และเทพอื่นๆภายในวัด ถือเป็นวัดจีนเพียงแห่งเดียวในจังหวัดฉะเชิงเทรา มีระฆังใบใหญ่ของชาวจีนแต้จิ๋วที่ได้สร้างขึ้น มีน้ำหนักกว่า 1 ตัน วัดจีนประชาสโมสร ตั้งอยู่ที่ ถนนศุภกิจ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จังหวัดฉะเชิงเทรา

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่)

g1

มาแปดริ้วทั้งทีก็ต้องมีของฝากมาให้เพื่อนๆพี่ๆอยู่แล้ว คราวก่อนไปเที่ยววัดหงษ์ทอง สวยงามใช่ม๊า… วันนี้แวะมาที่ วัดจีนประชาสโมสร หรือวัดเล่งฮกยี่ อยู่ในตัวเมืองฉะเชิงเทราเลยค่ะ… อยู่บนถนนศุภกิจ ต.บ้านใหม่ อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา ห่างจากศาลากลางจังหวัด 4 กิโลเมตร สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ราว พ.ศ.2449 และเมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี เพื่อเปิดทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา ได้ทรงพระกรุณาโปรดพระราชทานนามวัดว่า “วัดจีนประชาสโมสร” คือชื่อในปัจจุบัน
วัดจีนประชาสโมสร หรือวัดเล่งฮกยี่ เป็นวัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ที่ขยายมาจากวัดเล่งเน่ยยี่(เยาวราช) ซึ่งตามหลักฮวงจุ้ยจีนกล่าวว่า ตำแหน่งหัวมังกรนั้นอยู่ที่วัดเล่งเน่ยยี่ ส่วนวัดนี้ถือเป็นตำแหน่งท้องมังกร หางมังกรอยู่ที่วัดเล่งฮัวยี่ จ.จันทบุรี ส่วนที่น่าสังเกตคือ ทั้งสามตำแหน่งของมังกรตัวใหญ่นี้ได้พาดผ่านดินแดนของความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ ทั้งเยาวราช ที่เป็นดินแดนแห่งการค้าขายอุดมด้วยเงิน ทองมากมาย เมืองแปดริ้วดินแดนอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ ธัญญาหาร และจังหวัดจันทบุรี เมืองพลอยที่ปลอดภัยที่สุดในโลก

ภายในวัดจีนประชาสโมสรนั้นมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เริ่มด้วย พระประธาน และองค์ 18 อรหันต์ ที่เป็นประติมากรรมโบราณ ทำจากกระดาษอายุกว่า 100 ปี (ลักษณะเปเปอร์มาเช่) ภูมิปัญญาชาวจีน จากเมืองเซี่ยงไฮ้ ประเทศจีน จากนั้นก็ขอพรเทพเจ้าไฉ้เซ่งเอี้ย (เทพเจ้าแห่งโชคลาภ) แล้วตีระฆังศักดิ์สิทธิ์ใบใหญ่ 1ใน3ใบในโลก และกราบสักการะพระสำเร็จ อธิษฐานจิตเพื่อความสำเร็จในทุกๆด้าน

ขอขอบคุณ http://www.oknation.net/

พิพิธภัณฑ์วัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่)

วัดจีนประชาสโมสรหรือวัดเล่งฮกยี่ เป็นวัดจีนในมหานิกาย มีประวัติความเป็นมายาวนาน ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ทรงมีความเลื่อมใสศรัทธาในคณาจารย์จีนวังส์สมาธิวัตร(สกเห็ง) ปฐมบูรพาจารย์แห่งนิกายมหายานในประเทศไทย ปฐมเจ้าอาวาสแห่งวัดมังกรกมลาวาสหรือวัดเล่งเน่ยยี่ กรุงเทพมหานคร และเป็นผู้สร้างวัดเล่งฮกยี่ในจังหวัดฉะเชิงเทรา

ในครั้งที่รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี เพื่อเปิดเส้นทางรถไฟสายตะวันออก กรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา ทรงเสด็จฯ เยี่ยมวัดเล่งฮกยี่ พระองค์ทรงพระราชทานเงินจำนวน 1 ชั่ง หรือ 80 บาท เพื่อบำรุงวัดพร้อมทั้งทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯพระราชทานชื่อ “วัดจีนประชาสโมสร”อันมีความหมายว่า วัดแห่งนี้เป็นที่ชุมนุมของคนจีน โดยแผ่นป้ายชื่อพระราชทานได้รับการเก็บรักษาอย่างดีภายในวัด

คำว่า “ฮก”ในภาษาจีนเป็นคำมงคล หมายถึงโชคลาภ วาสนา ความมั่งมีศรีสุข คำว่า “เล่ง”หรือ “เล้ง”ภาษาจีนหมายถึงมังกร รวมความหมายของคำว่า “เล่งฮกยี่”หมายถึง “มังกรวาสนา”หรือ “มังกรแห่งโชค”

Read more »

วัดจีนประชาสโมสร เล่งฮกยี่ จ.ฉะเชิงเทรา

tem_ple19_resize3

เพื่อนๆชาวเมืองไทย.คอม รู้ไหมค่ะว่ามีวัดจีนในพระพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่สำคัญแห่งหนึ่งและมีความเป็นมายาวนาน คือ วัดจีนประชาสโมสร หรือ วัดเล่งฮกยี่ อันเป็นที่เคารพศรัทธาของชาวไทยเชื้อสายจีนเป็นจำนวนมาก เนื่องจากเป็นที่ประดิษฐานสิ่งศักดิ์สิทธ์และเทพเจ้าที่เป็นมงคลซึ่งประชาชนต่างมากราบไหว้ขอพรให้เกิดความสุขและสิริมงคลของชีวิตในด้านต่างๆหรือขอพรให้มีโชคลาภ ความเจริญรุ่งเรืองในการค้าขาย หรือว่าสุขภาพแข็งแรงก็ดีตามประวัติของวัดนี้แล้วนะค่ะ วัดเล่งฮกยี่ แห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2449 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดยหลวงจีนชกเอ็งผู้เป็นศิลย์วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) ที่กรุงเทพฯ วัดแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนวัดที่ขยายมาจากวัดมังกรกมลาวาส โดยชื่อภาษาจีนของวัดเล่งฮกยี่นั้นแปลว่า มังกรแห่งวาสนาหรือมังกรแห่งโชค จึงมีผู้นิยมมาสักการะวัดนี้เพื่อขอให้โลคลาภวาสนา เมื่อครั้งที่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี เพื่อเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา นั้นได้พระราชทานจนให้ชื่อวัดนี้ว่าวัดจีนประชาสโมสร โดยยังมีป้ายชื่อพระราชทานติดอยู่เป็นมงคลอยู่ที่วัดจนทุกวันนี้

Read more »

วัดจีนประชาสโมสร

p17gcp5deg3sjvi513sgbhljkc

เนื่องจากชาวคณะสุมหัวปรึกษากันว่า จะให้เข้าไปที่ “วัดมังกรกมลาวาส” หรือวัดเล่งเน่ยยี่ วัดจีนที่ทั้งคนไทยและชาวไทยเชื้อสายจีน เคารพศรัทธาและนิยมไปไหว้ขอพรจนแทบจะนึกภาพได้ว่าช่วงปีใหม่นี้คงจะมองอะไรไม่เห็นนอกจาก คน คน คน และคน เห็นทีจะไม่ไหว สุดท้ายได้มติว่าเราจะไปวัดจีนอีกวัดที่ศักดิ์สิทธิ์ไม่แพ้กัน แต่เชื่อว่าคนน่าจะเบาบางกว่า เพราะอยู่ห่างจากกรุงเทพฯ มาหน่อยหนึ่ง คือที่ “วัดจีนประชาสโมสร” หรือที่คนรู้จักกันในนามของ “วัดเล่งฮกยี่” ที่จังหวัดฉะเชิงเทราครับ

วัดเล่งฮกยี่นี้อ ถ้าดูตามหลักฮวงจุ้ยของสถานที่ตั้ง เชื่อกันว่าเป็นจุดของ “ท้องมังกร” ในขณะที่ วัดเล่งเน่ยยี่ที่เยาวราช กรุงเทพฯ ถือเป็น “หัวมังกร” ส่วน “วัดเล่งฮัวยี่” ที่อยู่ในจังหวัดจันทบุรี ถือเป็น “หางมังกร” ครับ

วัดจีนประชาสโมสร หรือ วัดเล่งฮกยี่ ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร เป็นวัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานะ วัดเล่งฮกยี่ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2449 ตรงกับสมัยรัชกาลที่ 5 โดย “หลวงจีนชกเอ็ง” ผู้เป็นศิลย์วัดมังกรกมลาวาส (วัดเล่งเน่ยยี่) ที่กรุงเทพฯ วัดแห่งนี้จึงเปรียบเสมือนวัดที่ขยายมาจากวัดมังกรกมลาวาส โดยชื่อภาษาจีนของวัดเล่งฮกยี่นั้นแปลว่า มังกรแห่งวาสนาหรือมังกรแห่งโชค จึงมีผู้นิยมมาสักการะวัดนี้เพื่อขอให้โลคลาภวาสนา เมื่อครั้งที่สมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี เพื่อเปิดทางรถไฟกรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา นั้นได้พระราชทานจนให้ชื่อวัดนี้ว่าวัดจีนประชาสโมสร โดยยังมีป้ายชื่อพระราชทานติดอยู่เป็นมงคลอยู่ที่วัดจนทุกวันนี้

Read more »

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่), ฉะเชิงเทรา

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่)

chinese-temple
เป็นวัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ที่ขยายมาจากวัดเล่งเน่ยยี่ในกรุงเทพฯ ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจตำบลท่าใหม่ ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กม. สิ่งที่น่าสนใจในวัดได้แก่ รูปปั้นขนาดใหญ่ของจตุโลกบาล และเทวรูปจีนอ้วยโห้ซึ่งแต่งกายชุดนักรบ นอกจากนี้มีวิหารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่นวิหารบูรพาจารย์ วิหารเจ้าแม่กวนอิม วิหารว่องอ้วนตี่ วิหารตี่ซังอ๋อง และสระนทีสวรรค์ เป็นต้น

วัดจีนประชาสโมสร (เล่งฮกยี่) เป็นวัดเนื่องในพุทธศาสนาฝ่ายมหายาน ผู้สร้างคือหลวงจีนชกเฮ็ง ราว พ.ศ. 2449 ซึ่งเป็นศิษย์ของวัดมังกรกมลาวาสหรือวัดเล่งเน่ยยี่ใ นกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร

เมื่อครั้งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5)เสด็จประพาสมณฑลปราจีณบุรี เพื่อทรงเปิดทางรถไฟสาย กรุงเทพฯ – ฉะเชิงเทรา ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าพระราชทานนามวัดว่า “วัดจีนประชาสโมสร” ประดับเด่นเป็นสง่าในวัดจนกระทั่งทุกวันนี้

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่)

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่) ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร เป็นวัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ขยายมาจากวัดเล่งเน่ยยี่ในกรุงเทพฯ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2449 เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี เพื่อเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา ได้ทรงพระราชทานนามวัดว่า วัดจีนประชาสโมสร ส่วนชื่อภาษาจีนของวัด คำว่า ฮก แปลว่า วาสนา โชคลาภ ความมั่งมีศรีสุข เล้ง หรือ เล่ง หมายถึง มังกร จึงมีผู้เรียกวัดนี้ ว่า มังกรวาสนา หรือ มังกรแห่งโชค ตามหลักฮวงจุ้ยจีนกล่าวว่า

วัดนี้ถือเป็นตำแหน่งท้องมังกร ส่วนตำแหน่งหัวมังกรอยู่ที่วัดเล่งเน่ยยี่ จังหวัดกรุงเทพฯ และหางมังกรนั้นอยู่ที่วัดเล่งฮัวยี่ จังหวัดจันทบุรี ทั้งสามตำแหน่งของมังกรพาดผ่านดินแดนของความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ เยาวราชดินแดนแห่งการค้าขาย เมืองแปดริ้วดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและจังหวัดจันทบุรี เมืองแห่งอัญมณีพลอย

ภายในวัดจีนประชาสโมสรมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น ท้าวจัตุโลกบาลขนาดใหญ่ 4 องค์ทำจากกระดาษที่ประตูทางเข้า พระประธาน 3 องค์และองค์ 18 อรหันต์ ทำด้วยกระดาษนำมาจากเมืองจีน รูปหล่อเทพเจ้าแห่งโชคลาภ(ไฉ่เซ่งเอี้ย) ที่อยู่ด้านขวาขององค์พระประธานและยังมีเทพเจ้าอีกหลายองค์ตามคติจีน ระฆังใบใหญ่น้ำหนักกว่า 1 ตัน ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ใบในโลกที่รอบระฆังมีอักษรมหาปรัชญาปารมิตราสูตรถือกันว่าผู้ได้ใดตีระฆังก็เหมือนกับการสวดมนต์ซึ่งได้บุญกุศลนอกจากนี้ยังมีวิหารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น วิหารบูรพาจารย์ วิหารเจ้าแม่กวนอิม วิหารตี่จั๊งอ๊วงและสระนทีสวรรค์ เป็นต้น

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่)

วัดจีนประชาสโมสร

วัดจีนประชาสโมสร (วัดเล่งฮกยี่) ตั้งอยู่ที่ถนนศุภกิจ ตำบลบ้านใหม่ ห่างจากศาลากลางจังหวัด 1 กิโลเมตร เป็นวัดจีนในพุทธศาสนาฝ่ายมหายานที่ขยายมาจากวัดเล่งเน่ยยี่ในกรุงเทพฯ สร้างในสมัยรัชกาลที่ 5 พ.ศ. 2449 เมื่อครั้งเสด็จประพาสมณฑลปราจีนบุรี เพื่อเปิดทางรถไฟสายกรุงเทพฯ-ฉะเชิงเทรา ได้ทรงพระราชทานนามวัดว่า “วัดจีนประชาสโมสร” ส่วนชื่อภาษาจีนของวัด คำว่า “ฮก แปลว่า วาสนา โชคลาภ ความมั่งมีศรีสุข เล้ง หรือ เล่ง หมายถึง มังกร จึงมีผู้เรียกวัดนี้ ว่า มังกรวาสนา หรือ มังกรแห่งโชค” ตามหลักฮวงจุ้ยจีนกล่าวว่า วัดนี้ถือเป็นตำแหน่งท้องมังกร ส่วนตำแหน่งหัวมังกรอยู่ที่วัดเล่งเน่ยยี่ จังหวัดกรุงเทพฯ และหางมังกรนั้นอยู่ที่วัดเล่งฮัวยี่ จังหวัดจันทบุรี ทั้งสามตำแหน่งของมังกรพาดผ่านดินแดนของความมั่งคั่ง อุดมสมบูรณ์ เยาวราชดินแดนแห่งการค้าขาย เมืองแปดริ้วดินแดนแห่งความอุดมสมบูรณ์ด้วยพืชพันธุ์ธัญญาหารและจังหวัดจันทบุรี เมืองแห่งอัญมณีพลอย ภายในวัดจีนประชาสโมสรมีสิ่งที่น่าสนใจมากมาย เช่น ท้าวจัตุโลกบาลขนาดใหญ่ 4 องค์ทำจากกระดาษที่ประตูทางเข้า พระประธาน 3 องค์และองค์ 18 อรหันต์ ทำด้วยกระดาษนำมาจากเมืองจีน รูปหล่อเทพเจ้าแห่งโชคลาภ(ไฉ่เซ่งเอี้ย) ที่อยู่ด้านขวาขององค์พระประธานและยังมีเทพเจ้าอีกหลายองค์ตามคติจีน ระฆังใบใหญ่น้ำหนักกว่า 1 ตัน ซึ่งเป็น 1 ใน 3 ใบในโลกที่รอบระฆังมีอักษรมหาปรัชญาปารมิตราสูตรถือกันว่าผู้ได้ใดตีระฆังก็เหมือนกับการสวดมนต์ซึ่งได้บุญกุศล นอกจากนี้ยังมีวิหารศักดิ์สิทธิ์ต่างๆ เช่น วิหารบูรพาจารย์ วิหารเจ้าแม่กวนอิม วิหารตี่จั๊งอ๊วงและสระนทีสวรรค์ เป็นต้น

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)

ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ อ.เมืองฉะเชิงเทรา จ.ฉะเชิงเทรา
หรือเป็นที่รู้จักกันในชื่อของ “วัดซำปอกง” เป็นวัดญวนในนิกายมหายาน สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 5 ความโดดเด่นของศาสนสถานแห่งนี้อยู่ที่ พระวิหารที่มีลักษณะคล้ายศาลเจ้าอันภายในประดิษฐาน “หลวงพ่อโต” ซึ่งชาวจีนนิยมเรียกว่า “เจ้าพ่อซำปอกง” ที่มีอยู่เพียง 3 องค์เท่านั้นในประเทศไทย วัดแห่งนี้ได้รับการพระราชทานนามว่า “วัดอุภัยภาติการาม” ส่วนพระพุทธรูปรัชกาลที่ 5 พระราชทานนามว่า “พระพุทธไตรรัตนนายก” ครั้งเสด็จประพาสเมืองฉะเชิงเทราเมื่อ พ.ศ. 2450 ทำให้ชาวไทยทั่วประเทศต่างเลื่อมใสศรัทธามาโดยตลอด

การเดินทาง
จากกรุงเทพฯ ผ่านมีนบุรีไปตามทางหลวงหมายเลข 304 จากนั้นเลี้ยวเข้าสู่ทางหลวงหมายเลข 3200 เข้าสู่ถนนศุภกิจประมาณ 1.7 กิโลเมตรก็จะพบกับเส้นทางเข้าวัด

ขอขอบคุณ http://www.hotelsguidethailand.com/

ร่วมบูรณะโบสถ์ประดิษฐานหลวงพ่อโต วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)

วัด อุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา แจ้งว่า ทางวัดได้ดำเนินการบูรณะปิดทองคำแท้องค์หลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า เจ้าพ่อซำปอกงเสร็จแล้ว ขณะนี้ทางวัดกำลังเร่งดำเนินการบูรณะซ่อมแซมอุโบสถที่ประดิษฐานองค์หลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) โดยมุงกระเบื้องหลังคาใหม่ใกล้จะเสร็จเรียบร้อย กำลังซ่อมแซมผนังภายในอุโบสถ พร้อมทาสีใหม่ เพื่อให้เสร็จทันงานฉลองประจำปีของทางวัด ร่วมบูรณะโบสถ์ประดิษฐานหลวงพ่อโต วัดอุภัยภาติการามแต่ทางวัดยังขาดทุนทรัพย์ในการดำเนินการให้แล้วเสร็จ

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้บริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีน แต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า ซึ่งประดิษฐานหลวงพ่อโต หรือที่ชาวจีนเรียกว่า เจ้าพ่อซำปอกง ปัจจุบันในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์ คือ ประดิษฐานอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร (ฝั่งธนบุรี) กรุงเทพฯ ประดิษฐานอยู่ที่วัดพนัญเชิง จ.พระนครศรีอยุธยา และประดิษฐานอยู่ที่วัดอุภัยภาติการาม จ.ฉะเชิงเทรา ซึ่งชาวต่างประเทศให้ความเคารพนับถือมาก จึงขอเชิญผู้มีจิตศรัทราทุกท่านร่วมทำบุญการบูรณะซ่อมแซมอุโบสถที่ประดิษฐาน องค์หลวงพ่อโต ได้ตามกำลังศรัทรา ร่วมบูรณะโบสถ์ประดิษฐานหลวงพ่อโต วัดอุภัยภาติการามโดยแจ้งความประสงค์ได้ที่วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) อ.เมือง จ.ฉะเชิงเทรา โทร.0-3881-6904, 0-3851-1198

ขอขอบคุณ http://www.tumsrivichai.com/

ท่องเที่ยววัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง)

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เจ้าพ่อซำปอกง” ในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์เท่านั้น ประดิษฐานอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร (ฝั่งธนบุรี) จังหวัดกรุงเทพฯ วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน มานมัสการอยู่เป็นประจำ

ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) ฉะเชิงเทรา

9e4aa8

วัดอุภัยภาติการาม (วัดซำปอกง) ตั้งอยู่บนถนนศุภกิจ ใกล้กับบริเวณตลาดบ้านใหม่ เดิมเป็นวัดจีนแต่ปัจจุบันแปรสภาพเป็นวัดญวนในลัทธิมหายาน ภายในวัดมีวิหารลักษณะเหมือนศาลเจ้า เป็นที่ประดิษฐานของหลวงพ่อโต (พระไตรรัตนนายก) หรือที่ชาวจีนเรียกว่า “เจ้าพ่อซำปอกง” ในประเทศไทยมีเพียง 3 องค์เท่านั้น ประดิษฐานอยู่ที่วัดกัลยาณมิตร (ฝั่งธนบุรี) จังหวัดกรุงเทพฯ วัดพนัญเชิง จังหวัดพระนครศรีอยุธยา และวัดอุภัยภาติการาม จังหวัดฉะเชิงเทรา ทุกวันเสาร์-อาทิตย์ จะมีนักท่องเที่ยวจากฮ่องกง สิงคโปร์ และไต้หวัน มานมัสการอยู่เป็นประจำ

ขอขอบคุณ http://travel.amazingtourthailand.com/

วัดอุภัยภาติการาม

uphaipreiurramtemple2

วัดอุภัยภาติการาม เป็นวัดในจังหวัดฉะเชิงเทรา เดิมชื่อ “วัดซำปอกง” ได้ริเริ่มก่อสร้างด้วยความคิดของคนจีนคนหนึ่ง แซ่เตียว จึงระดมเรี่ยไรเงินของผู้มีจิตศรัทธาเพื่อสร้างวัดแห่งนี้ ต่อมาเปลี่ยนชื่อเป็น “วัดอุภัยภาติการาม” ซึ่งเป็นชื่อพระราชทานจากพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ครั้นเสด็จประพาสฉะเชิงเทรา วัดอุภัยภาติการาม หรือ วัดซำปอกงแห่งนี้เดิมเคยเป็นวัดจีน ภายหลังได้กลายมาเป็นวัดญวนไปในที่สุด

สิ่งสำคัญของวัดอุภัยภาติการามคือ หลวงพ่อซำปอกง ซึ่งมีเพียงสามองค์ในประเทศไทยเท่านั้น เป็นพระพุทธรูปองค์โตองค์ประธานของวัด ทุกปีของเทศกาลกินเจ จะมีการประกอบพิธีไหว้เจ้า

ขอขอบคุณ http://www.dooasia.com/

. . . . . . .
. . . . . . .