พุทธศาสนิกชนต้องการที่จะทำบุญไหว้พระในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้รับความนิยมไม่แพ้ที่ไหน ด้วยประวัติศาสตร์และความสวยงามของวัดต่างๆ ที่หยิบยกมาเสนอนั้น อาจจะใกล้ไกล สามารถนั่งรถ ลงเรือ พาครอบครัว เพื่อน หรือคนรักทำบุญ พร้อมกับเที่ยวชมความงามของวัดทั้ง 9 ด้วยจิตใจที่สดใสเบิกบานกับ 9 วัดในจังหวัดนนทบุรีได้แล้ว
วัดเสาธงทอง
อยู่ ใกล้กับวัดไผ่ล้อม สร้างโดยชาวมอญในสมัยธนบุรี เดิมชื่อวัดสวนหมาก คนมอญเรียกกว่า เพียะอาล้าต |ภายในวัดมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอยู่ใกล้อุโบสถ เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ได้ชื่อว่าสูงที่สุดในปากเกร็ด สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา มีเจดีย์บริวารอีก 12 องค์ ด้านข้างอุโบสถยังมีเจดีย์อีกสององค์ องค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังอีกองค์มีรูปทรงคล้ายผลมะเฟือง ดูแปลกตา สิ่งที่ควรชมคือตึกขุนเทพภักดี คหบดีชาวมอญ บริจาคเงินสร้างขึ้นเมื่อ พศ.2451
วัดสังฆทาน
เดิมชื่อ วัดศาริโข สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นวัดที่มีหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงและที่อื่นก็ยังเคารพสักการะบูชาไม่เสื่อมคลาย เพราะถือว่าเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ ภายหลังชาวบ้านจึงต้อง นิมนต์พระจากละแวกใกล้เคียงมาเพื่อถวายสังฆทานจนถูก เรียกติดปากว่า “วัดสังฆทาน” มีปูชนียวัตถุ คือ พระประธานนามว่า “หลวงพ่อโต”
วัดค้างคาว
วัดค้าง คาว ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ตรงข้ามกับวัดเขมาภิรตาราม ในพื้นที่ ตำบลบางไผ่ อำเภอเมือง ฯ เนื่องจากบริเวณนี้มีค้างคาวอยู่มาก ชาวบ้านจึงเรียกว่าวัดค้างคาว จากโบราณสถานในวัด สันนิษฐานว่าสร้างสมัยอยุธยาตอนกลาง ในรัชสมัยสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และได้รับการบูรณะครั้งใหญ่ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
วัดเขียน
วัดเขียน สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2323 ตามที่เล่าสืบกันมาว่าวัดเขียนในอดีตคือท่าเทียบเรือได้มีศาลของชาวจีน (ศาลเจ้าปึงเถ้ากง) เป็นที่สักการะของผู้ที่สัญจรไปมา ต่อมามีพระสงฆ์รูปหนึ่งไม่ปรากฎนาม ธุดงค์มาจากกรุงศรีอยุธยามาปักกลดบริเวณท่าเทียบเรือ มีความประสงค์จะสร้างวัด ณ บริเวณท่าเทียบเรือ จึงได้บอกบุญผู้มีจิตศรัทธารวมถึงพ่อค้าชาวจีนท่านหนึ่งคือ “นายเคี้ยง” ซึ่งได้ถวายปัจจัยจำนวนหนึ่งและร่วมกันสร้างวัดนามเดิมสันนิษฐานว่าชื่อ “วัดเคี้ยง” ต่อมาราษฎรเรียกกันจนเสียงเพี้ยนกลายเป็น “วัดเขียน”
วัดปรมัยยิกาวาส (เกาะเกร็ด)
อุโบสถ ตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 เอกลักษณ์มอญอีกอย่างหนึ่งของที่วัดนี้คือ เจดีย์ทรงรามัญที่จำลองแบบมาจากพระธาตุเจดีย์ มุเตา เมืองหงสาวดี ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
วัดทองนาปรัง
วัดทอง นาปรัง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2325 ที่ตั้งวัดเป็นที่ลุ่มอยู่ติดกับคลอง พ.ศ. 2527 ได้ซื้อที่ดินเพื่อขยายเขตวัด จำนวน 3 ไร่เศษ และได้สร้างกุฏิสงฆ์ พ.ศ. 2539 ได้สร้างเขื่อนกำแพงรอบวัดป้องกันน้ำท่วม พ.ศ. 2549 ได้รับรางวัลการบริหารการจัดการสภาพแวดล้อมภายในวัดดีเด่น
วัดบางอ้อยช้าง
วัด นี้มีรอยพระพุทธบาท ลักษณะหล่อด้วยทองสำริด ขนาด 54 นิ้ว กว้าง 19 นิ้วครึ่ง เป็นโบราณวัตถุทางศาสนาที่มีอายุเก่าแก่กว่า 200 ปี เป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์สำคัญเป็นที่เคารพสักการะของชาวบ้านบางอ้อยช้าง รอยพระพุทธบาทวัดนี้สันนิษฐานว่าพระอธิธรรมทองอยู่ อดีตเจ้าอาวาสองค์แรกท่านได้ธุดงค์ขึ้นไปทางภาคเหนือ จังหวัดพิษณุโลกเพื่อไปหาไม้มาสร้างวัดบางอ้อยช้าง และได้ไปพบรอยพระพุทธบาทและพระศรีรัตนศาสดาพร้อมกัน ท่านเห็นว่าโบราณวัตถุทั้ง 2 อย่าง นี้เป็นสิ่งล้ำค่าและสวยงามมากมาย
วัดกระโจมทอง
วัด กระโจมทอง อยู่ที่ตำบลวัดชลอ ริมคลองบางกรวย วัดกระโจมทองสร้างขึ้นประมาณ พ.ศ .๑๙๑๐ สมัยอยุธยาตอนต้น สิ่งที่น่าสนใจ คือ พระวิหารหลวงพ่ออู่ทอง วัดนี้เป็นวัดที่ร่วมสมัยกับวัดปรางค์หลวงที่อำเภอบางใหญ่ มีตำนานเกี่ยวข้องกับสมเด็จพระเจ้าอู่ทองเช่นเดียวกันเดิมเคยเป็นที่ตั้ง กระโจมที่ประทับของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ลักษณะพระวิหารหลวงพ่ออู่ทอง คล้ายพระอุโบสถขนาดเล็กบรรจุพระสงฆ์ได้ประมาณ ๒๑ รูป
ขอขอบคุณ http://campaign.edtguide.com/