พระธาตุหริภุญไชย

pratadhariphunchai

วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานสำคัญในภาคเหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่เมืองลำพูนมาอย่างยาวนานตั้งอดีตนับเวลามากกว่าพันปี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฏฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทาง ทิศตะวันออก นอกจากนั้นยังเป็นองค์พระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปี ระกา อีกด้วย
พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน
ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญไชย ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ
พระบรมธาตุหริภุญไชย
เป็นเจดีย์แบบล้านนาไทยแท้ๆ ที่ลงตัวสวยงาม ภายในบรรจุพระเกศบรมธาตุบรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระเจดีย์ ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้ว ย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับ พระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ สูง 25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก 1 คืบ มีสัตติ- บัญชร (รั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น สำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ และทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป นั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป

ซุ้มประตู
ก่อนที่จะเข้าไปในบริเวณวัด ต้องผ่านซุ้มประตูก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร เป็นฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้น ๆ เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่า บนแท่น สูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นใน สมัยพระเจ้าอาทิตยราช เมื่อทรงถวายวังให้เป็นสังฆาราม

วิหารหลวง
เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้วจะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า “วิหารหลวง” เป็นวิหารหลัง ใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน และมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2466 วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนากิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระปฏิมาใหญ่ ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทอง บนแท่นแก้วรวม 3 องค์ และพระพุทธ ปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสน ชั้นต้น และชั้นกลางอีกหลายองค์

สุวรรณเจดีย์หรือปทุมวดีเจดีย์
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันตกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นเจดีย์ที่มีลักษณะการก่อสร้างแบบเดียว กับ เจดีย์สี่เหลี่ยมหรือเจดีย์กู่กุดที่วัดจามเทวี จังหวัดลำพูนองค์เจดีย์สร้างด้วยศิลาแลงและอิฐ เป็นเจดีย์ทรงปราสาทมีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนชึ้นไป ห้าชั้นแต่ละชั้นประดับซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน ด้านละสามซุ้ม ภายในซุ้มจะประดิษฐานพระพุทธรูปดินเผาประทับยืนประทับอยู่ ซึ่งมีร่องรอย ของการลงรักปิดทอง ปัจจุบันเหลือให้เห็นเพียงไม่กี่องค์ ส่วนบนสุดของเจดีย์เป็นกลีบบัวปูนปั้นหุ้มด้วยโลหะแผ่น ส่วนยอดปลายสุดทำเป็น กรวยแหลมเรียวยาวขึ้นไปสุวรรณเจดีย์องค์นี้มีพระพิมพ์ที่สำคัญและ มีชื่อเสียงของเมืองลำพูนบรรจุอยู่ภายใน คือ พระเปิม

หอระฆัง
ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือขององค์พระธาตุหริภุญชัย เป็นหอสำหรับแขวนระฆังและกังสดาลขนาดใหญ่ สร้างขึ้นโดย พระครูพิทักษ์เจติยานุกิจ (ครูบาคำฟู) เมื่อ พ.ศ. ๒๔๘๑ ด้านบนแขวนระฆังขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นในสมัยเจ้าหลวงดาราดิเรกรัตนไพโรจน์ เจ้าผู้ครองนครลำพูน องค์ที่ ๗ และชั้นล่างห้อยกังสดาลขนาดใหญ่ซึ่งหล่อขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๔๐๓ ฝีมือครูบาสูงเม่นโดยกัญจนมหาเถระ เจ้าอาวาส วัดป่าเมืองแพร่ และเจ้าหลวงเมือง เชียงใหม่ เป็นศรัทธาสร้างหล่อกังสดาลนี้ ในวัดพระสิงห์เมืองเชียงใหม่เพื่อไว้เป็นเครื่องบูชาพระธาตุหริภุญชัย

นอกจากนั้นภายในวัดยังจัดแสดงวัตถุโบราณที่อาคารพิพิธภัณฑ์ 50 ปี ทางด้านในจัดแสดงวัตถุโบราณและสิ่งของต่าง ๆ มากมาย นอจากเป็นสถานที่ พักผ่อนแล้วเรายังสามารถใช้เป็นแหล่งศึกษาหาความรู้ได้อีกทางหนึ่งอีกด้วย

พระธาตุหริภุญชัย มีงานนมัสการประจำปี ในวันเพ็ญเดือน 6 คือ วันวิสาขบูชา (งานประเพณีสรงน้ำพระธาตุหริภุญชัย น้ำที่สรงนำมาจากบ่อน้ำทิพย์บน ยอดดอยขะมัอ) นอกจากโบราณสถานที่กล่าวมาแล้วภายในวัดยังมีโบราณสถานที่สำคัญอีกหลายอย่าง ไห้เราได้กราบไหว้บูชา อาที วิหารพระเจ้าทันใจ,วิหารพระเจ้าองค์แดง,รอยพระพุทธบาทสี่ดวง,วิหารพระนอน
พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน
พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน
พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน
พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน
พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน
พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน
พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน
ประวัติพระธาตุหริภุญไชย

ครั้งหนึ่งพระเจ้าอาทิตยราช โปรดให้ช่างสร้างปราสาท แล้วปลูกหอจัณฑาคาร (ที่พระบังคน) ไว้ใกล้กับปราสาทนั้น โดยพระองค์มิได้ทรงทราบว่าที่นั้น มีพระบรมสารีริกธาตุ ของพระสัมมาสัมพุทธเจ้าประดิษฐานอยู่ เมื่อสร้างเสร็จแล้ว เวลาพระองค์เสด็จไปลงพระบังคนครั้งใด ก็จะมีกาตัวหนึ่งที่เฝ้าอยู่ นั้น บินมาถ่ายมูลต้องพระเศียร กระพือปีกบินโฉบพระเศียร ทำกิริยาขับไล่พระองค์ให้ไปพ้นจากที่นั้น พระเจ้าอาทิตยราช ทั้งทรงพิโรธ ทั้งอัศจรรย์ พระทัย จึงรับสั่งให้ข้าราชบริพาร ช่วยจับกาตัวนั้นมาให้ได้ แต่ทำอย่างไรก็จับกาตัวนั้นไม่ได้ จนพระเจ้าอาทิตยราช ต้องบนบานต่อเทวดาผู้รักษา พระนครให้จับกาตัวตั้น ในที่สุดก็จับได้ แล้วนำไปขังไว้ คืนนั้น ทรงพระสุบินว่า เทพยดามาแจ้งแก่พระองค์ว่า ให้เอาทารกเกิดได้ 7 วัน ไปขังรวมกับกา ทารกได้ฟังเสียงกาทุกวัน ก็จะฟังภาษากาออกครั้งบรรทมตื่นแล้ว พระเจ้าอาทิตยราช ก็โปรดให้ทำตามที่ทรงพระสุบินทุกประการ เมื่อทารกอายุได้ 9 ขวบ ก็สามารถรู้ภาษา และพูดกับกาได้ พระเจ้าอาทิตยราช ก็โปรดให้ถามสาเหตุที่กาประพฤติต่อพระองค์แต่หนหลัง ก็ทรงทราบว่า บริเวณหอจัณฑา คาร เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระบรมศาสดา และกาได้รับคำสั่งให้เฝ้ารักษาสถานที่นี้ จึงได้ทำอาการทักท้วง พระเจ้าอาทิตยราช ทรงเลื่อมใสศรัทธาในพระบรมศาสดาเป็นอันมาก จึงโปรดให้รื้อหอจัณฑาคาร และขุดดินไม่ดีออกไปทิ้งนอกพระนคร แล้วนำดินดีมาถมปราบพื้น ให้เรียบ แล้วโรยด้วยทราย ตั้งพิธีมณฑลปักราชวัตรฉัตรธง แต่งด้วยดอกไม้หอม และจุดเทียนทำการสักการะบูชาพระบรมสารีริกธาตุ ทั้งยังป่าว ประกาศชาวเมือง ให้มาสักการะบูชาด้วย เมื่อประกอบพิธีสักการะบูชาแล้ว ผอบแวขนาดเท่าปลีกล้วย ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ก็ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ให้เห็นเป็นปาฏิหาริย์ทั่วกัน ทุกคนที่อยู่ ณ ที่นั้น ต่างปีติยินดีอย่างยิ่ง พระเจ้าอาทิตยราช โปรดให้สร้างพระธาตุ สูง 3 วา เป็นแบบเจดีย์มอญ แล้วสร้าง พระวิหารการเปรียญ มีซุ้มทั้ง 4 ด้าน ครอบโกศทองคำสูง 3 ศอก ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ แล้วสร้างพระวิหารการเปรียญ ศาลาน้อยใหญ่ขึ้น ประกอบ จึงกลายเป็นวัดสำคัญประจำพระนคร เสร็จแล้ว โปรดให้จัดงานฉลองใหญ่ โดยเหตุนี้ จึงให้ถือกันในโบราณว่า หากผู้ใดจะปลูกบ้าน สร้างเรือน ในเมืองลำพูนนั้น จะต้องมีความสูง ไม่เกิน 3 วา เพราะเกรงว่า จะสูงกว่าพระธาตุ

ในรัชกาลพระเจ้าสัพพสิทธิ โปรดให้สร้างโกศทองเสริมต่ออีก 1 ศอก และสร้างมณฑปเสริมต่อพระธาตุขึ้นไปอีก 2 วา กษัตริย์ รัชกาลหลัง ๆ ทรงทะนุบำรุง จนกระทั่งเมืองหริภุญชัย ตกอยู่ในอำนาจของพ่อขันเม็งรายมหาราช พระองค์โปรดให้สร้างมณฑปเสริมต่อพระบรมธาตุขึ้นอีก 10 วา และเอาทองสักโก (ทองที่ตีเป็นแผ่น ๆ) หุ้มพระธาตุ ตั้งแต่ชานจนถึงยอดแลดูเหลืองอร่ามงดงาม ต่อมามีการบูรณะปฏิสังขรณ์พระบรมธาตุนี้อีกหลาย ครั้ง ในรัชกาลพระเจ้าติโลกราช เมื่อ พ.ศ. 1986 ได้โปรดให้เสริมพระธาตุเป็น 23 วา ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก ยอดมีฉัตร 7 ชั้น ต่อมาพระเมืองแก้ว ได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ และสร้างระเบียงหอก ซึ่งเป็นรั้วล้อมเมืองแก้ว 500 เล่ม แล้วทรงสร้างวิหารหลวง พ.ศ. 2329 ซึ่งพระเจ้ากาวิละทรงทำการ บูรณะพระบรมธาตุ และทรงสร้างฉัตรหลวงขึ้น 4 มุม พร้อมกับสร้างฉัตรยอดเจดีย์ด้วยทองคำเป็น 9 ชั้น ฐานพระธาตุเป็นรูปสี่เหลี่ยมจัตุรัส กว้างด้านละ 10 วา และสร้างรั้วทองเหลืองล้อมรอบองค์เจดีย์ ด้านในองค์พระธาตุเป็นสีทองอร่าม

การเดินทางไปพระธาตุหริภุญไชย
เดินทางมาบนถนนสายเอเชียมุ่งตรงมายังตัวจังหวัดลำพูนพอถึงตัวเมืองก็ใช้เส้นทาง ถนนเจริญราษฎร์ วัดตั้งอยู่ติดริมถนนหาง่ายหลังจากนั้น ก็เดินทางกลับมาไหว้พระนางจามเทวีโดยใช้ถนนเส้นเดียวกัน เดินทางโดยรถประจำทางมีรถประจำทางวิ่งจากกรุงเทพเข้าตัวเมืองลำพูนทุกวัน จากนั้นก็ใช้บริการรถท้องถิ่นเข้าไปยังตัววัด

ขอขอบคุณ http://www.paiduaykan.com

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .