ประวัติภูเขาทอง พระบรมบรรพต (ภูเขาทอง) วัดสระเกศ

พระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง งานภูเขาทองพระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง ตั้งอยู่ในวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงมีดำริให้จัดสร้างพระเจดีย์ภูเขาทอง ใว้เป็นปูชนีย์สถานในพระนครเหมือนดั่งที่กรุงเก่า มีวัดภูเขาทอง ซึ่งตั้งอยู่ที่ชายทุ่ง มีองค์พระเจดีย์เป็นที่สำหรับชาวพระนครศรีอยุธยาลงไปประชุมเล่นเพลง และสักวาในเทศกาลประจำปี โดยรัชกาลที่ 3 ใด้ทรงเลือกเอาบริเวณวัดสระเกศเป็นที่ก่อสร้าง
เริ่มก่อสร้างโดยใช้โครงไม้ทำเป็นรูปปรางค์ใหญ่ ขุดฐานเอาไม้ซุงปูเป็นตาราง เอาศิลาแลงก่อขึ้นจนเสมอดินแล้วจึงก่อด้วยอิฐ ในองค์พระปรางค์เอาศิลาก้อนที่ราษฏรเก็บมาขายใส่ลงไป แต่ก่อสร้างใด้ไม่เท่าไรก็ทรุด ยุบตัวพังลงมาเนื่องจากพื้นที่ก่อสร้างอยู่ใกล้ชายคลอง พื้นดินไม่แข็งแรงพอจึงต้องปักเสารอบๆองค์พระปรางค์หลายๆชั้นไม่ให้ดินทลายออกไป จึงเริ่มก่อใหม่แต่ก็ยังทรุดอีกจึงยุติการก่อสร้างชั่วคราวจนสิ้นรัชการที่ 3

ครั้นพอถึงรัชกาลที่ 4 เมื่อ พ.ศ. 2406 พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว จึงโปรดเกล้าให้สร้างใหม่

เดือน 6 ปีฉลู พ.ศ. 2407 รัชกาลที่ 4 ได้เสด็จไปวางศิลาฤกษ์และให้เปลี่ยนชื่อใหม่ ตามพระเมรุบรมบรรพตที่ท้องสนามหลวง จากภูเขาทองเป็น “บรมบรรพต” การก่อสร้างครั้งนี้ได้แปลงพระเจดีย์องค์เดิม ให้เป็นภูเขามีพระเจดีย์อยู่ด้านบน บรรจุพระบรมสารีริกธาตุใว้บนยอด มีบันไดเวียนขึ้นลง2สาย เพื่อสะดวกในเวลาเทศกาล

Read more »

ประวัติพระบรมบรรพตภูเขาทอง วัดสระเกศ

10

“บรมบรรพต” นามพระราชทาน ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ เปลี่ยนชื่อเดิมคือ “พระเจดีย์ภูเขาทอง” แต่ชาวไทยนิยมเรียกง่ายๆ กันว่า เจดีย์ภูเขาทอง พระเจดีย์องค์นี้ นับเป็นพุทธสถานที่สำคัญของวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เหมือนกับพระปรางค์วัดอรุณราชวรารามราชวรมหาวิหาร นับเป็นสัญลักษณ์ของวัดที่คนทั่วโลกรู้จักกันมากกว่าพุทธสถานรอบวัด และมุ่งมั่นที่จะได้ชมมรดกทางพุทธศิลป์แห่งนี้

พระเจดีย์ภูเขาทององค์นี้สร้างขึ้นตามพระราชดำริของพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในวาระที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดสระเกศครั้งใหญ่นั้น ทรงมีพระราชประสงค์จะสร้างพระเจดีย์เหมือนอย่างวัดภูเขาทองที่กรุงศรีอยุธยา มีคลองมหานาคล้อมรอบวัด และเป็นคลองที่ชาวพระนครจัดเป็นที่ชุมนุมรื่นเริงลอยเรือเล่นสักวากันครั้งสมัยรัชกาลที่ ๑ เหมือนอย่างการละเล่นของชาวกรุงศรีอยุธยาจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สมเด็จเจ้าพระยาบรมมหาพิชัยญาติ (ทัด บุนนาค) ครั้งมีตำแหน่งเป็นพระยาศรีพิพัฒน์รัตนราชโกษาเป็นแม่กองในการสร้าง (ปัจจุบันน่าจะเป็นตำแหน่งประธานอำนวยการโครงการฯ ผู้เขียน)

Read more »

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร(วัดภูเขาทอง)

Wat  Sraket

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นวัดโบราณในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่1) โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2325 มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่5) เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ 11 ว่า “รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร” ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า “ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนคร” มีคำเล่าๆกันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า “วัดสระเกศ”

ขอขอบคุณ http://www.9templethailand.com/

วัดสระเกศ ภูเขาทอง อ. ป้อมปราบศัตรูพ่าย จ. กรุงเทพมหานคร

ประวัติความเป็นมา วัดสระเกศ ตั้งอยู่ริมคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อ “วัดสระแก” รัชกาลที่ 1 ทรงปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ และพระราชทานนามว่า “วัดสระเกศ” ส่วนพระบรมบรรพต ซึ่งเรียกกันทั่วไปว่า “ภูเขาทอง” นั้น เริ่มสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 โดยจำลองแบบมาจากพระเจดีย์ของวัดภูเขาทองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา แต่เนื่องจากพื้นดินในบริเวณนั้นลุ่ม ดินจึงอ่อน รับน้ำหนักพระเจดีย์ไม่ไหว จึงทรุดลงจำต้องหยุดสร้าง ต่อมาในรัชกาลที่ 4 ทรงโปรดเกล้าให้ทำการสร้างต่อ แต่ก็มีการซ่อมตลอดรัชกาลจนมาสำเร็จลงในสมัยรัชกาลที่ 5 ใช้เวลาการสร้างถึง 3 รัชกาลด้วยกัน เป็นเวลาประมาณ 50 ปี
พระบรมบรรพตภูเขาทองนี้มีความสูงประมาณ 100 เมตร บนยอดสุวรรณบรรพตเป็นที่ตั้งของพระเจดีย์ซึ่งบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ที่อัญเชิญมาจากเมืองกบิลพัสดุ์ ประเทศอินเดีย พระบรมบรรพตภูเขาทองจัดเป็นหนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญ ไม่เพียงแต่ในเมืองไทยเท่านั้น แต่ยังเป็นสถานที่ที่มีชื่อเสียงไปทั่วโลกอีกด้วย

ที่อยู่ : 344 ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทร.02-621-0576

Read more »

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

วัด สระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ในแขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่มีสร้อยว่าวรมหาวิหาร มีอีกวัดเดียวที่มีสถานภาพเช่นนี้ คือวัดชนะสงคราม เดิมวัดสระเกศไม่ได้มีชื่อเช่นนี้ แต่เดิมชื่อวัดสะแก สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา
ชื่อสามัญ วัดสะแก
ประเภท
พระอารามหลวงชั้นโท
ที่ตั้ง
แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร
( ที่อยู่ : แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร โทร. 0 2225 5873 )

พระประธาน

พระพุทธรูปสำคัญ   วัด สระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ตั้งอยู่ในแขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย แต่มีสร้อยว่าวรมหาวิหาร มีอีกวัดเดียวที่มีสถานภาพเช่นนี้ คือวัดชนะสงคราม เดิมวัดสระเกศไม่ได้มีชื่อเช่นนี้ แต่เดิมชื่อวัดสะแก สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา หน้าต่างและลวดลายที่หอไตรบ่งบอกว่าเป็นของที่สร้างตั้งแต่สมัยกรุง ศรีอยุธยาตอนปลาย ใน พ.ศ. ๒๓๒๕ เกิดจลาจลในกรุงธนบุรี สมเด็จเจ้าพระยามหากษัตริย์ศึกฯ เสด็จยกทัพกลับจากประเทศเขมรทรงกระทำพิธีเข้าโขลนทวารที่วัดนี้ซึ่งในขณะ นั้นเป็นวัดป่าประทับที่ริมสระใหญ่ ทรงให้พักไพร่พลและลงสรงในสระ ทรงสระพระเกศา แล้วนิมนต์พระสงฆ์มาทำพิธีมุรธาภิเษกได้ประทับอยู่ที่นี่สามวันเพื่อสืบสาว ราวเรื่อง อาจจะได้ทรงตั้งสัตยาธิษฐานที่วัดนี้ แล้วเคลื่อนพลไปยังวัดโพธิ์แล้วจึงข้ามน้ำไปปราบจลาจลที่กรุงธนบุรี ต่อมาทรงปราบดาภิเษก แล้วมีพระราชดำริให้ตั้งพระนครที่ฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งเป็นฝั่งที่กระแสน้ำไม่พุ่งเข้าหา ทำให้ตลิ่งพังเหมือนฝั่งกรุงธนบุรี

Read more »

ตำนานแร้งวัดสระเกศ

raeng

“แร้งวัดสระเกศ” เป็นเรื่องที่ร่ำลือระบือลั่นกันในสมัยก่อน เมื่อฝูงแร้งมากมาย ขนาดที่เรียกได้ว่า มืดฟ้ามัวดิน แห่ลงกินซากศพ ที่กองอยู่เป็นภูเขาเลากาข้างภูเขาทอง นับเป็นภาพที่อุจาดต่อสายตา และน่าสยดสยองอย่างมากต่อผู้พบเห็น

ฝูงแร้งลงทึ้งซากศพของมนุษย์ แะลจิกกินเนื้อจนเห็นกระดูกขาวโพลน แม้เจ้าหน้าที่ของวัด และบ้านเมืองจะทนดูภาพเหล่านี้ไม่ได้ แต่ก็จนปัญญาไม่รู้จะแก้ไขอย่างใด แรก ๆ ก็จัดคนถือไม้คอยไล่ตีแร้ง แต่ในที่สุด ก็สูไม่ไหว เพราะจำนวนแร้งเหลือคณานับ และศพที่เข้ามาสู่วัดแต่ละวัน ก็มากมายก่ายกอง ทั้งฝังทั้งเผาจนไม่มีฟืนจะเผา ต้องปล่อยให้กองทับถมกัน เป็นเหยื่อของหมาจรจัดที่หิวโชด้วย

ศพเหล่านี้ ล้วนแต่เป็นผู้เสียชีวิตจากอหิวาตกโรค หรือที่เรียกกันเป็นภาษาทางการ ขณะนั้นว่า “ไข้ป่วงใหญ่” แต่ชาวบ้านเรียกกันว่า “โรคห่า” และคนที่เป็นโรคนี้เรียกกันว่า “ห่ากิน” ซึ่งเป็นโรคเมืองร้อนระบาดในภูมิภาคย่านนี้เป็นประจำทุกปีในช่วงฤดูแล้ง ขณะนั้นความรู้ในเรื่องอหิวาตก์ยังไม่มี ไม่รู้ทั้งสาเหตุของการเกิดโรค และการรักษา อหิวาตก์จึงระบาดอย่างรวดเร็ว และคร่าชีวิตผู้คนปีละมาก ๆ (อหิวาตกโรค แปลตามศัพท์ ว่า โรคอันเกิดแต่ลม ซึ่งมีพิษร้ายแรงดั่งพิษงู = อหิ แปลว่า งู วาตก แปลว่า ลม โรค แปลว่า ธรรมชาติที่เสียดแทงชีวิต)

ขอขอบคุณ http://allknowledges.tripod.com/

ภูเขาทอง วัดสระเกศ

ที่อยู่ : 344 ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ 10100 โทร.02-621-0576

เว็บไซต์ : http://www.watsrakesa.com

เวลาเปิด-ปิด : เปิดทุกวัน 8.00 น. – 17.00 น.

การเดินทาง : รถประจำทาง: สาย 8, 15, 37, 47, 49 ปอ. 37, 49
เรือโดยสาร: ท่าผ่านฟ้าลีลาศ (คลองแสนแสบ), ท่าภูเขาทอง (คลองผดุงกรุงเกษม)
รถส่วนตัว : จอดภายในบริเวณวัดได้

ค่าใช้จ่าย : คนไทยไม่คิดเงิน, ชาวต่างชาติ 10 บาท

เทศกาล : งานนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ 7 วัน 7 คืน ในช่วงวันลอยกระทง มีการจัดงานวัดที่ถือเป็นงานวัดที่มีชื่อเสียงมากที่สุดในกรุงเทพฯ และทางวัดจะเปิดให้ประชาชนขึ้นไปกราบไหว้พระบรมสารีริกธาตุในตอนกลางคืนเป็นช่วงเวลาพิเศษ

สิ่งที่ไม่ควรพลาด : การขึ้นไปกราบนมัสการปิดทองพระบรมสารีริกธาตุ, ชมพระบรมบรรพต ภูเขาทองที่ชั้นบนสุด, การเข้าไปชมความงามของพระพุทธรูปและภาพเขียนจิตรกรรมฝาผนังในพระอุโบสถ

ข้อแนะนำอื่น ๆ : โปรดช่วยกันรักษาความสะอาดของสถานที่

Read more »

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (ภูเขาทอง) Wat Saket Rajavaramahavihara (The Golden Mount)

watsaket-01

วัดสระเกศ เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมชื่อว่า “วัดสระแก” และได้เปลี่ยนชื่อใหม่เป็นวัดสระเกศเมื่อรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก รัชกาลที่ 1 ครั้งที่ได้ทรงสร้างกรุงเทพมหานคร วัดสระเกศเป็นวัดสำคัญเกี่ยวกับประวัติศาสตร์ของชาติไทย และเกี่ยวกับพระบรมราชจักรีวงศ์มาแต่ต้น จึงเป็นอารามหลวงที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวตั้งแต่รัชกาลที่ 1 เป็นต้นมา ได้ทรงบริจาคพระราชทรัพย์เป็นจำนวนมากปฏิสังขรณ์ก่อสร้างถาวรวัตถุและ เสนาสนะสงฆ์สืบมาโดยลำดับ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร

วัดสระเกศ ตั้งอยู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหารภายในวัดแบ่งเป็น 2 เขต คือ ทางด้านเหนือของวัดเป็นที่ตั้งบรมบรรพต พระวิหารพระอัฏฐารส และบริเวณพระอุโบสถ จัดเป็นพุทธาวาส ส่วนทางด้านใต้ของเขตพุทธาวาสมีถนนคั่นเป็นเสนาสนะสงฆ์ที่อยู่ของพระภิกษุสามเณร จัดเป็นสังฆาวาส การเข้าชมวัดไม่เพียงแต่จะได้เห็นได้ชมพุทธสถาปัตยกรรมและพุทธศิลป์อันงามวิจิตร ที่บรรดาช่างฝีมือตั้งใจประดิษฐ์ขึ้นด้วยศรัทธา เพื่อน้อมถวายเป็นพุทธบูชาเท่านั้น ยังจะได้รับความรู้แนวคิด ความเชื่อและปรัชญาในพุทธธรรม เกิดปัญญาและประสบการณ์ในชีวิตของเราเพิ่มขึ้นอีกด้วย ภายในวัดสระเกศมีพุทธสถานในวัดแต่ละส่วนดังนี้

Read more »

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

1175215_388124857976683_1012298853_n 1173650_388124981310004_1586565881_n

ที่ตั้ง 344 ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ

ประวัติความเป็นมา

วัดสระเกศ เดิมชื่อ “วัดสะแก” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงรื้อสถาปนาใหม่ พระราชทานนามว่า วัดสระเกศ มาในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิสังขรณ์วัด และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระปรางค์องค์ใหญ่ขึ้น แต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดการทรุดทลายลง คงสร้างได้แต่เพียงพระวิหาร เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน “พระอัฏฐารสศรีสุคตทสพลญาณบพิตร” ซึ่งได้มาจากวัดพิหารทอง เมืองพิษณุโลก

ต่อมาในรัชกาลที่ จึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมพระปรางค์ที่ทรุดทลายอยู่แปลงให้เป็นภูเขาขึ้น และก่อพระเจดีย์ไว้บนยอดมีพระระเบียงรอบ เรียกว่า “บรมบรรพต” ซึ่งเป็นนามที่นำมาจาก “บรมบรรพต” ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเป็นภูเขาสูงขึ้นที่ท้องสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. 2407 นอกจากนั้น ในสมัยนี้ได้สร้างสิ่งต่าง ๆ ที่ค้างให้แล้วเสร็จ แต่สำหรับเจดีย์บนยอดภูเขาทองนั้นสร้างค้างอยู่ มาสำเร็จเอาในสมัยรัชกาลที่ 5

Read more »

เที่ยวภูเขาทอง วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร จ.กรุงเทพมหานคร

img_9558

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๒๕

ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้าง พระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง ทรงกำหนดให้เป็นพระปรางค์มีฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่สร้างไม่สำเร็จในรัชกาล เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงทรงให้เปลี่ยนแบบเป็นภูเขาก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕

Read more »

วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร พระอารามหลวง ชั้นโท

saket

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดสระเกศ) อยู่ริมคลองมหานาคและคลองรอบกรุง ใกล้สะพานผ่านฟ้าลีลาศ เป็นวัดโบราญในสมัยอยุธยา เดิมเรียกว่า วัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนานเมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. ๒๓๒๕

ต่อมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้างสิ่งต่าง ๆ เพิ่มเติมขึ้นมาอีก ที่สำคัญคือ พระบรมบรรพตหรือภูเขาทอง ซึ่งทรงกำหนดให้เป็นพระปรางค์มีฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่สร้างไม่สำเร็จในรัชกาล เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๔ จึงทรงให้เปลี่ยนแบบเป็นภูเขาก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ พระเจดีย์บนยอดพระบรมบรรพตเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุมาแต่ครั้งนั้น

Read more »

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

เมื่อเอ่ยถึงชื่อภูเขาทอง คนไทยส่วนใหญ่ไม่ว่าจะเป็นผู้ใหญ่หรือเด็กคงรู้จักกันเป็นอย่างดีเพราะเป็นปูชนียสถานที่สำคัญแห่งหนึ่งของกรุงเทพมหานคร แล้วทราบไหมว่าภูเขาทองอยู่ที่ไหน ภูเขาทองนี้ตั้งอยู่ในบริเวณวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร เรามาศึกษาถึงประวัติความเป็นมาของภูเขาทองและวัดสระเกศไปพร้อม ๆ กันดีกว่า
วัดสระเกศเป็นวัดโบราณที่สร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา มีชื่อเดิมว่า “ วัดสะแก ” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชได้โปรดให้สถาปนาวัดสะแกใหม่หมดทั้งพระอาราม และพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “ วัดสระเกศ ” แปลว่า ชำระ หรือทำความสะอาดพระเกสาเนื่องจากพระองค์เคยประทับทำพิธีพระกะยาสนาน (อาบน้ำ ) ที่วัดนี้เมื่อครั้งที่เสด็จกลับจากการรบทัพกับกัมพูชาเพื่อเข้ามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้โปรดให้บูรณปฏิสังขรณ์วัดใหม่และสร้างอาคารต่าง ๆ เพิ่มเติม รวมทั้งภูเขาทองหรือบรมบนนพตก็เริ่มสร้างในสมัยนี้ด้วย แต่การก่อสร้างมีอุปสรรคมากมาย จึงมาแล้วเสร็จในสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว
ทราบประวัติของวัดสระเกศและภูเขาทองกันดีแล้ว คราวนี้เรามาขึ้นภูเขาทองไปชมทัศนียภาพที่สวยงามของกรุงเทพ ฯ และสิ่งสำคัญต่าง ๆ ในบริเวณวัดสระเกศกันต่อ

Read more »

ประวัติวัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร

04

สมเด็จพระพุฒาจารย์ (เกี่ยว อุปเสโณ )

รวบรวมและเรียบเรียง

วัดสระเกศ ราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณ เดิมเรียกชื่อว่าวัดสะแก มามีตำนานเนื่องในพระราชพงศาวดาร เมื่อปีขาล จัตวาศก จุลศักราช ๑๑๔๔ พุทธศักราช ๒๓๒๕ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิด ราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพมหานคร

เขตด้านตะวันออก จดคลองซึ่งแยกจากคลองมหานาค ตอนเหนือสะพานโค้ง ผ่านไปทางวัดจักรวรรดิ ราชาวาส ปัจจุบันคลองนี้ถูกถมไปแล้ว

เขตวัดด้านตะวันตก จดคลองโอ่งอ่าง

เขตวัดด้านเหนือ จดคลองมหานาค

เขตวัดด้านใต้ มีคูวัดซึ่งขุดจากคลองโอ่งอ่าง เลียบเสนาสนะสงฆ์ไปจดกับคลลองด้านตะวันออก ปัจจุบันคูนี้ถูกถมไปแล้ว

วัดสระเกศเป็นวัดโบราณดังกล่าวข้างต้น มีข้อความปรากฏตามตำนานว่า เป็นวัดเก่าแก่สร้างมาแต่สมัยโบราณ สันนิษฐานว่าจะได้สร้างมาแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เดิมมีชื่อว่า “วัดสระแก” เพิ่งมาเปลี่ยนเป็นวัดสระเกศเมื่อสมัยรัชกาลที่ ๑ ตอนที่ได้สร้างกรุงเทพพระมหานครครั้งแรก มีปรากฏตามพระราชพงศาวดารว่า เมื่อจุลศักราช ๑๑๔๕ เบญจศก ตรงกับพุทธศักราช ๒๓๒๖ นั้น พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ได้โปรดให้ลงมือก่อสร้างพระนครรวมทั้งพระบรมมหาราชวัง และพระราชวังบวรสถานมงคล ได้รวมผู้คนให้ขุดคลองรอบเมืองตั้งแต่บางลำพูเรื่อยไปจนจดแม่น้ำด้านใต้ตอนเหนือวัดจักรวรรดิราชาวาส แล้วโปรดให้ขุดคลองหลอด และขุดคลองใหญ่เหนือวัดสระแกอีกคลองหนึ่ง พระราชทานนามว่าคลองมหานาค เพื่อเป็นที่สำหรับประชาชนชาวพระนคร ได้ลงประชุมเล่นเพลงและสักวาในเทศกาลฤดูน้ำเหมือนอย่างครั้งกรุงศรีอยุธยา และวัดสะแกนั้นเมื่อขุดคลองมหานาคแล้ว พระราชทานเปลี่ยนนามใหม่ว่า “วัดสระเกศ”และทรงปฏิสังขรณ์วัดสระเกศทั้งพระอาราม ตั้งต้นแต่พระอุโบสถตลอดถึงเสนาสนะสงฆ์ แลขุดคลองรอบวัดด้วย

Read more »

วัดสระเกศ

พระบรมบรรพต
ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะและสร้าง พระบรมบรรพต หรือ ภูเขาทอง ทรงกำหนดให้เป็นพระปรางค์มีฐานย่อมุมไม้สิบสอง แต่สร้างไม่สำเร็จในรัชกาล เมื่อถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 จึงทรงให้เปลี่ยนแบบเป็นภูเขาก่อพระเจดีย์ไว้บนยอด เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ การก่อสร้างแล้วเสร็จในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5

พระอุโบสถ
พระระเบียงรอบพระอุโบสถ มีพระเจดีย์รายรอบ ภายในพระระเบียงมีพระพุทธรูปประดิษฐานเรียงกันอยู่เต็มพระระเบียงทั้ง 4 ด้าน มีจำนวนทั้งหมด 163 องค์ ประดิษฐานมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 3 ภายในพระอุโบสถ เป็นที่ประดิษฐานพระประธานปางสมาธิ ซึ่งเป็นพระปั้นปิดทองปางสมาธิที่ใหญ่โต พร้อมด้วยความงามสมพุทธลักษณะองค์หนึ่งในกรุงเทพมหานคร เล่ากันมาว่าปั้นหุ้มพระประธานองค์เดิมของวัดซึ่งดูเล็กเกินไปไม่สมกับความใหญ่โตของพระอุโบสถ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่เขียนครั้งแรกในสมัยรัชกาลที่ 3 แล้วมาทำการปฏิสังขรณ์เขียนใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 7 ที่ฝาผนังด้านใน สองด้านเบื้องล่างเป็นภาพทศชาติ ด้านบนเป็นภาพเทวดาและท้าวจตุโลกบาล ด้านหน้าเป็นภาพมารวิชัย ส่วนด้านหลังพระประธานเป็นภาพไตรภูมิ คือสวรรค์ มนุษย์ และนรก

Read more »

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

200px-Golden_mount

วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมคลองมหานาค เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรมหาวิหาร เป็นวัดโบราณในสมัยอยุธยา เดิมชื่อ วัดสะแก พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์และขุดคลองรอบพระอาราม แล้วพระราชทานนามใหม่ว่า วัดสระเกศ ซึ่งแปลว่า ชำระพระเกศา เนื่องจากเคยประทับทำพิธีพระกระยาสนาน เมื่อเสด็จกรีธาทัพกลับจากกัมพูชามาปราบจลาจลในกรุงธนบุรี และเสด็จขึ้นเถลิงถวัลยราชสมบัติใน พ.ศ. 2325 มูลเหตุที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกพระราชทานเปลี่ยนชื่อวัดสะแก เป็นวัดสระเกศนี้ มีหลักฐานที่ควรอ้างถึงคือ พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จ พระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เรื่องจดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวีข้อ 11 ว่า”รับสั่งพระโองการ ตรัสวัดสะแกเรียกวัดสระเกศแล้วบูรณปฏิสังขรณ์ เห็นควร ที่ต้นทางเสด็จพระนคร”ทรงพระราชวิจารณ์ไว้ว่า”ปฏิสังขรณ์วัดสะแกและเปลี่ยน ชื่อเป็น วัดสระเกศเอามากล่าวปนกับวัดโพธิ์เพราะเป็นต้นทางที่เสด็จเข้ามาพระนครมีคำ เล่าๆกันว่า เสด็จเข้าโขลนทวารสรงพระมุธาภิเษกตามประเพณีกลับจากทางไกลที่ วัดสะแก จึงเปลี่ยนนามว่า ‘วัดสระเกศ

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

. . . . . . .
. . . . . . .