วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร

1175215_388124857976683_1012298853_n 1173650_388124981310004_1586565881_n

ที่ตั้ง 344 ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ

ประวัติความเป็นมา

วัดสระเกศ เดิมชื่อ “วัดสะแก” พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงรื้อสถาปนาใหม่ พระราชทานนามว่า วัดสระเกศ มาในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้ทรงปฏิสังขรณ์วัด และโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระปรางค์องค์ใหญ่ขึ้น แต่ไม่สำเร็จเพราะเกิดการทรุดทลายลง คงสร้างได้แต่เพียงพระวิหาร เพื่อเป็นที่ประดิษฐาน “พระอัฏฐารสศรีสุคตทสพลญาณบพิตร” ซึ่งได้มาจากวัดพิหารทอง เมืองพิษณุโลก

ต่อมาในรัชกาลที่ จึงโปรดเกล้าฯให้ซ่อมพระปรางค์ที่ทรุดทลายอยู่แปลงให้เป็นภูเขาขึ้น และก่อพระเจดีย์ไว้บนยอดมีพระระเบียงรอบ เรียกว่า “บรมบรรพต” ซึ่งเป็นนามที่นำมาจาก “บรมบรรพต” ที่พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างเป็นภูเขาสูงขึ้นที่ท้องสนามหลวง เมื่อ พ.ศ. 2407 นอกจากนั้น ในสมัยนี้ได้สร้างสิ่งต่าง ๆ ที่ค้างให้แล้วเสร็จ แต่สำหรับเจดีย์บนยอดภูเขาทองนั้นสร้างค้างอยู่ มาสำเร็จเอาในสมัยรัชกาลที่ 5

สถาปัตยกรรมที่สำคัญภายในวัด

1. หอไตร
เป็นหลักฐานศิลปสมัยอยุธยาชิ้นเดียวที่ยังเหลืออยู่ในวัด ที่แสดงให้เห็นว่าวัดนี้เป็นวัดโบราณสมัยอยุธยา หอไตรนี้ตั้งอยู่ในเขตสังฆาวาสริมถนนตรงข้ามกับภูเขาทอง ภายนอกได้รับการปฏิสังขรณ์หุ้มโครงในไว้ ส่วนศิลปสมัยอยุธยาที่คงเหลืออยู่ภายใน คือ จำหลักไม้ที่ประตูหน้าต่าง บัวที่ฐานมีภาพเขียนลายกำมะลอ รูปชีวิตความเป็นอยู่ของผู้คนสมัยอยุธยา ด้านหลังลายกำมะลอเป็นภาพเขียนแบบจีน ซึ่งมีฝีมืองดงามมาก บานหน้าต่างหอไตรเป็นภาพลายรดน้ำปิดทองรูปทหารเปอร์เซีย ทหารฝรั่งเศสสมัยพระเจ้าหลุยส์และทหารชาติต่าง ๆ

นอกจากศิลปสมัยอยุธยาที่คงเหลืออยู่ภายในหอไตรดังกล่าวแล้ว ยังมีตู้พระไตรปิฎกสมัยรัตนโกสินทร์ 2-3 ใบ ที่กุฏิสงฆ์ซึ่งเป็นตึกที่ตั้งหอไตรนี้ก็เข้าใจว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 มีเครื่องที่ตกแต่งมีค่าหลายชิ้น เช่น ฉากไม้โบราณและฝาห้องที่มีลายจำหลัก

2. พระเจดีย์บนยอดภูเขาทอง
สร้างในสมัยรัชกาลที่ 4 แต่มาสำเร็จเรียบร้อยในรัชกาลที่ 5 เป็นเจดีย์แบบกลมซึ่งเป็นพระราชนิยมประจำรัชกาลที่ 4 ที่หันมานิยมเจดีย์แบบกรุงเก่า เช่นเดียวกันกับที่วัดบวรฯ และวัดมกุฏกษัตริยารามในเจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งทำการบรรจุ 2 ครั้งในสมัยรัชกาลที่ 5 คือ ครั้งแรกอัญเชิญมาจากที่รักษาไว้ในพระบรมมหาราชวังมาประดิษฐานไว้เมื่อ พ.ศ.2420 ต่อมาใน พ.ศ.2411 อุปราชแห่งประเทศอินเดียได้ส่งพระบรมสารีริกธาตุซึ่งพบที่เมืองกบิลพัศดุ์มาทูลเกล้าฯถวาย ซึ่งก็ได้โปรดเกล้าฯให้สมโภชและอัญเชิญมาประดิษฐานไว้ในเจดีย์บนยอดภูเขาทอง

ขนาดของภูเขาทอง วัดได้โดยรอบ 8 เส้น 5 วา และสูง 1 เส้น 19 วา 2 ศอก มีบันไดเวียนขึ้น 2 ทาง ขึ้นทางทิศเหนือและลงทางทิศใต้ พระเจดีย์ได้รับการปฏิสังขรณ์ใน พ.ศ.2509 โดยได้บุกระเบื้องโมเสคสีทอง และสร้างพระเจดีย์ทิศขึ้น 4 มุม เมื่อเสร็จแล้วพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน ได้เสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในลูกแก้วพระเจดีย์

ขอขอบคุณ http://www.lib.su.ac.th/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .