วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

วัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหารและเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ตั้งอยู่เลขที่ ๒ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นวัดเก่าแก่ที่ราษฏรสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาในรัชกาลพระเพทราชา ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๒๔
ชื่อสามัญ
วัดโพธิ์
ประเภท
กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของราชอาณาจักรไทย ที่มีความหมาย เป็นนครแห่งทวยเทพ มีหัวใจอยู่ที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นพื้นที่แรกสร้างพระนคร นับเป็นพื้นที่ ที่สั่งสมมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย ไว้ให้เราชนรุ่นหลัง ได้เห็นได้เรียนรู้ได้รับรู้บังเกิดความ ภาคภูมิใจและนำความรู้ทั้งหลายทั้งปวง มาปฏิบัติตาม ประกอบอาชีพกันด้วย สัมมาอาชีวะจนถึงทุกวันนี้

วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (Wat Phra Chetuphon Wimonmangalaram or Wat Pho) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระ บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่า ที่เมืองบางกอก ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐาน พระพุทธเทวปฏิมากร พระประ ธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุ พระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย

พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวาอยู่ ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำ แพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสชัดเจน

มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระ บรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง ๒ วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๓๑

ใช้เวลา ๗ ปี ๕ เดือน ๒๘ วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อ ๒๓๔๔ พระราชทานนามใหม่ ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ” ต่อมารัชกาลที่ ๔ ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้าย นามวัดเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม”

พระพุทธไสยาสน์
พระพุทธไสยาสน์

ครั้นรัชสมัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ นานถึง ๑๖ ปี ๗ เดือน ขยายเขตพระอารามด้านใต้และตะวันตก คือ ส่วนที่เป็นพระ วิหารพระพุทธไสยาสน์สวน มิสกวัน สถาปนาขึ้นใหม่พระมณฑป ศาลาการเปรียญ และสระจระเข้บูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ เป็นโบราณสถาน ในพระอารามหลวง ที่ปรากฏอยู่ทุกวันนี้ แม้การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งล่าสุดเมื่อฉลองกรุงเทพฯ ๒๐๐ ปี พ.ศ. ๒๕๒๕ เป็นเพียงซ่อมสร้างของเก่าให้ดีขึ้น มิได้สร้างเสริมสิ่งใดๆ

เกร็ดประวัติศาสตร์ ของการสถาปนาและการบูรณะปฏิสังขรณ์วัดโพธิ์แห่งนี้ บันทึกไว้ว่า รัชกาลที่ ๑ และที่ ๓ ขุนนาง เจ้าทรงกรมช่างสิบหมู่ ได้ระดมช่างในราชสำนักช่างวังหลวง ช่างวังหน้า และช่างพระสงฆ์ที่อยู่ในวัดต่างๆ ผู้เชี่ยวชาญงานศิลปกรรมสาขาต่างๆ ได้ทุ่มเทผลงานสร้าง สรรค์พุทธสถานและสรรพสิ่งที่ประดับอยู่ในวัดพระอารามหลวงด้วยพลังศรัทธาตามพ ระราชประสงค์ของพระองค์ท่านที่ให้เป็นแหล่งรวมสรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ เปรียบเป็นมหาวิทยาลัยแห่งสรรพวิชาไทย (มหาวิทยาลัยเปิดแห่งแรก) ที่รวมเอาภูมิปัญญาไทย ไว้เป็นมรดกให้ลูกหลานไทยได้เรียนรู้กับอย่างไม่รู้จบสิ้น

สถานที่น่าสนใจ

สรรพศิลป์ สรรพศาสตร์ ในวัดโพธิ์พระอารามหลวงซึ่งบุรพมหากษัตริย์ แห่งราชวงศ์จักรี รัชสมัยรัชกาลที่ ๑ และรัชกาลที่ ๓ ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์รวมกาลสมัยของ ๒ พระองค์ นานถึง ๒๕ ปี ดังนั้นการเข้าไปเที่ยวชมแต่ละครั้งที่เรามีเวลาอย่างน้อยครั้งละ ๒ – ๓ ชั่งโมงนั้นนับเป็นการชมอย่างกวาดตา หากจะพินิจพิเคราะห์หยั่งลึกลงไปถึงแก่นแท้แห่งภูมิปัญญาช่างศิลป์ไทยกัน แล้วนับว่าชั่วชีวิตกันทีเดียว

พระอุโบสถ ตามคติความเชื่อของพุทธศาสนิกชน เขตวิสุงคามสีมาหรือพระอุโบสถ เป็นพุทธศาสนสถานที่สำคัญที่สุด ถ้าวัดใดไม่มีอุโบสถหรือมีอุโบสถแต่ยังไม่ได้ผูกพัทธสีมาจะเป็นวัดที่สำคัญ ยังไม่ได

พระอุโบสถ สร้างสมัยรัชกาลที่ ๑ ตามแบบศิลปะอยุธยาตอนปลายและขยายใหญ่ขึ้นเท่าที่เห็นในสมัยรัชกาลที่ ๓ ซุ้มจรณัมประจำประตูหน้าต่างฉลัก (สลัก) ด้วย ไม้แก่นยอดเป็นทรงมงกุฎลงรักปิดทองประดับกระจกบานประตูพระอุโบสถด้านนอกลาย ประดับมุกเป็นลายภาพเรื่องรามเกียรติ์ ด้านในเขียนลายรดน้ำรูปพัดยศพระราชาคณะพระครูสัญญาบัตรฐานานุกรมเปรียญทั้ง ฝ่ายคามวาสีและอรัญวาสีในกรุงและหัวเมือง

พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ นามว่า พระพุทธเทวปฏิมากรที่ฐานชุกชี ก่อไว้ ๓ ชั้น ชั้นที่ ๑ บรรจุพระบรมอัฐิและพระราชสรีรังคารรัชกาลที่ ๑ ไว้ ชั้นที่ ๒ ประดิษฐานรูปพระอัครสาวกทั้งสององค์ฐานชุกชี ชั้นล่างสุดประดิษฐานพระมหาสาวก ๘ องค์ (พระอรหันต์ ๘ ทิศ) จิตรกรรมประดับผนังพระอุโบสถเหนือต่างขึ้นไปเขียนเรื่องมโหสถบัณฑิต (มหาบัณฑิตแห่งมิถิลานคร) คอสองในประธานทั้งสองข้างเขียนเรื่องเมืองสวรรค์ชั้นจาตุมหาราช ผนังประตูหน้าต่างเขียนเรื่องพระสาวกเอตทัคคะ ๔๑ องค์บานหน้าต่างด้านในเขียนลายรดน้ำเป็นรูปตราประจำตำแหน่งเจ้าคณะสงฆ์ใน กรุงและหัวเมือง สมัยรัชกาลที่ ๓ ด้านนอกแกะสลักเป็นลายแก้วชิงดวง

ซุ้มประตูทางเข้าวัดหากท่านเงยหน้ามองจะเห็นซุ้มประตูทรงมงกุฎประดับ กระเบื้องที่ตัดเป็น รูปกลีบดอกไม้เรียงกันลดหลั่นสีสันสดสวย งานกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายสีสันต่างๆ นำมาตัดด้วยคีมเหล็กและเล็มจนมนเป็นกลีบดอกไม้แล้วนำมาเรียงเป็นลวดลาย ดอกไม้ ประดับอยู่ตามพุทธสถานต่างๆ ในวัดนี้นับเป็นประณีตศิลป์ที่เป็นอยู่ทั่วไปซุ้มประตูเข้าเขตพุทธาวาสมี ทั้งหมด ๑๖ ประตู เกร็ดประวัติศาสตร์บันทึกไว้ว่างานสถาปัตยกรรมเครื่องยอดทรงมงกุฎนี้เป็นรูป แบบที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้า เจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ ทรงพอพระราชหฤทัยเป็นพิเศษ

เมื่อลอดซุ้มประตูทรงมงกุฎเข้าไปทุกประตู เมื่อท่านหันหลังกลับจะเห็นตุ๊กตารูปสลักศิลาหน้าตา เป็นจีน มือถือศาสตราวุธ ยืนเฝ้าด้านซ้ายขวาเรียกว่า “ลั่นถัน นายทวารบาล” ขอให้ยืนชมและถ่ายรูปก่อน รูปตุ๊กตาศิลปะจีนนั้นท่านจะเห็นตั้งประดับอยู่มากมายหลายแห่ง

พระมหาสถูปหรือพระปรางค์ประดิษฐานอยู่มุมลานพระอุโบสถชั้นนอกทั้ง ๔ ด้าน ๔ องค์พระปรางค์แบบนี้มีชื่อเรียกเฉพาะว่า “พระอัคฆีย์เจดีย์” บุด้วยหินอ่อนมีเทวรูปท้าวจตุโลกบาลทั้งสี่ หล่อด้วยดีบุกลงรักปิดทองประดับกระจกประจำทั้งสี่ทิศขององค์พระปรางค์

องค์ที่ประดิษฐานด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ด้านหน้าพระอุโบสถนามว่า “พระพุทธมังคละกายพันธนามหาสถูป” ด้านทิศตะวันออกเฉียงใต้ นามว่า “พระพุทธธรรมจักปวัตะนะปาทุกามหาสถูป” ด้านทิศตะวันตกเฉียงใต้หลังพระอุโบสถนามว่า “พระพุทธวิไนยปิฏกะสูจิฆรามหาสถูป”และด้านทิศตะวันตกเฉียงเหนือนามว่า “พระพุทธอภิธรรมธระวาสีปริกขาระมหาสถูป”

กำแพงแก้ว ล้อมลานพระอุโบสถ มีซุ้มประตู ๘ ซุ้มและซุ้มพัทธสีมา ๘ ซุ้ม ทำแปลกจากของเดิม กำแพงแก้วด้านนอกประดับศิลาลายฉลัก(สลัก) เป็นรูปภูเขาต้นไม้และรูปสัตว์ต่างๆ ซุ้มประตูทางเข้า ๘ ซุ้ม (ประตูทรงมงคล) สร้างด้วยหินแกรนิตแกะสลัก มีรูปหล่อสางแปลงเนื้อสำริดประตูละหนึ่งคู่

พนัก ระหว่างเสาเฉลียงพระอุโบสถด้านนอกประดับศิลาจำหลักภาพเรื่องรามเกียรติ์ ๑๕๒ ภาพมีโคลงจารึกบอกเนื้อเรื่องติดไว้ ภาพสลักศิลาเหล่านี้ มาจากภาพหนังใหญ่ รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชปรารภว่า “หนังใหญ่เป็นการเล่นมหรสพของไทยมาแต่อยุธยาตอนต้นถึงสมัยรัตนโกสินทร์ การเล่นหนังใหญ่ต้องใช้ศิลปะชั้นสูงหลายด้าน เพราะเหตุนี้ การเล่นหนังใหญ่จึงเป็นของเล่นให้ดีได้ยาก นับวันแต่จะโทรมลงไป เพื่อให้อนุชนได้ชมภาพตัวหนังดังกล่าวจึงให้เอาตัวหนังใหญ่มาแกะลงบนแผ่น ศิลาให้เหมือนหนังฉลุทุกส่วนติดไว้ให้ชม” ท่านจะเห็นฝีมือลวดลายจำหลักเหล่านี้ละเอียดประณีตวิจิตรงดงามยิ่งนักมีผู้ สนใจงานศิลปะมาของลอกภาพกันมาก ภาพรามเกียรติ์เหล่านี้เคยเป็นสินค้าของที่ระลึกสัญลักษณ์ของวัดโพธิ์ ต่อมาแรงกดลอกลายภาพซ้ำๆ นับแรมปี ทำให้ลวดลายจางลง จึงมีประกาศห้ามลอกลายภาพกัน

พระระเบียง สร้างรอบพระอุโบสถอยู่สองชั้น ทั้งสองชั้นเชื่อมต่อด้วยพระวิหารทิศ อยู่รอบพระอุโบสถทั้งสี่ทิศ พระระเบียงชั้นในประดิษฐานพระพุทธรูป ๑๕๐ องค์ พระระเบียงชั้นนอกประดิษฐานพระพุทธรูป ๒๔๔ องค์ เป็นพระพุทธรูปที่รัชกาลที่ ๑ โปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาจากหัวเมืองฝ่ายเหนือ

ปัจจุบัน ทางวัดได้บูรณะปฏิสังขรณ์ปิดทองพระพุทธรูปทุกองค์ล้วนแต่เป็นเนื้อสำริดทั้ง นั้น งดงามอร่ามตาแล้วติดกระจกล้อมไว้หมด เพื่อรักษาความสะอาดและป้องกันนกค้างคาว ไปเกาะจับทำสกปรกตามเสาพระระเบียง รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้จารึกเพลงยาวกลอักษร เพลงยาวกลบท และตำราฉันท์ต่างๆ อยู่ในกรอบศิลารวม ๑๐๐ แผ่น

พระพุทธโลกนาถพระพุทธชินศรีพระพุทธมารวิชัย
พระวิหารทิศตะวันออก ประดิษฐานพระ พุทธรูปปางมารวิชัย นามว่า “พระเจ้าตรัสในควงไม้พระมหาโพธิ์” (พระพุทธเจ้าตรัสรู้ประทับใต้ต้นโพธิ์) ต่อมารัชกาลที่ ๔ ถวายพระนามใหม่ว่า “พระพุทธมารวิชัยอภัยปรปักษ์อัครพฤกษ์โพธิภิรมย์อภิสมพุทธบพิตร” มุขหลังประดิษฐานพระพุทธรูปยืนสูง ๑๐ เมตร หล่อด้วยสำริดอัญเชิญมาจากวัดพระศรีสรรเพชญ์กรุงเก่ามานามว่า “พระพุทธโลกนาถศาสดาจารย์” และมีแผ่นศิลาจารึกการสถาปนาวัดโพธิ์ที่ผนังด้านตะวันตกซุ้มประตูหิน (แบบจีน) หน้าพระพุทธโลกนาถบางท่านเรียกว่า “โขลนทวาร” (ประตูป่าหรือประตูสวรรค์) เข้าใจว่านำมาจากประเทศจีน

พระวิหารทิศใต้ ประดิษฐานพระพุทธรูปปางปฐมเทศนา อัญเชิญมาจากกรุงเก่านามว่า “พระพุทธชินราช วโรวาทธรรมจักร อัครปฐมเทศนา นราศภบพิตร”

พระวิหารทิศตะวันตก ประดิษฐานพระพุทธรูปปางนาคปรก อัญเชิญมาจากลพบุรีนามว่า “พระพุทธชินศรีมุนีนาถ อุรคอาสนบัลลังก์ อุทธังทิศภาคนาคปรกดิลกภพบพิตร”

พระวิหารทิศเหนือ ประดิษฐานพระปางป่าเลไลยก์ นามว่า “ พระพุทธปาลิไลย ภิรัติไตรวิเวก เอกจาริกสมาจาร วิมุติญาณบพิตร “ เป็นพระพุทธรูปที่หล่อขึ้นใหม่ในรัชกาลที่ ๑ เพียงองค์เดียวเท่านั้น

สำหรับ ผู้ที่สนใจพุทธศิลป์เกี่ยวกับพระพุทธรูปที่พระระเบียงแล้วเป็นส่วนที่เข้าไป เดินพินิจพุทธลักษณะ และศิลปะการสร้างสมัยต่างๆ ได้ เช่นเดียวกันกับผู้ที่สนใจโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน อาจใช้เวลาไปเดินอ่านรอบพระระเบียงนี้ เมื่อได้ไปเดินอ่านและชมย่อมได้รับความรู้ทั้งด้านพุทธศิลป์ และภาษาไทยชั้นยอดกว่าในตำราทีเดียว

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล พระมหาเจดีย์ทั้งสี่องค์อยู่ในบริเวณกำแพงสีขาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์แบบจีน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี มีตุ๊กตาหินจีนประตูละคู่ พระมหาเจดีย์แต่ละองค์เป็นเจดีย์ย่อไม้สิบสองเพิ่มมุมสูง ๔๒ เมตร ประดับกระเบื้องเคลือบและกระเบื้องเครื่องถ้วยลวดลายต่างๆ สังเกตได้ง่าย

องค์ประกอบด้วยกระเบื้องเคลือบสีเขียว นามว่า พระมหาเจดีย์ศรีสรรเพชดาญาณ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เพื่อครอบพระศรีสรรเพชญ์ ซึ่งเป็นพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่สูง ๑๖ เมตร ได้ชะลอมาจากพระราชวังที่กรุงศรีอยุธยา ภายในบรรจุพระบรมธาตุ นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำรัชกาลที่ ๑

พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาว นามว่า พระมหาเจดีย์ดิลกธรรมกรกนิทาน สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชอุทิศถวายแด่พระบรมราชชนก คือรัชกาลที่ ๒ นับเป็นพระมหารัชกาลที่ ๒

พระมหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง นามว่า พระมหาเจดีย์มุนีบัตบริขาร สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ทรงพระราชถวายอุทิศถวายเป็นพุทธบูชา นับเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระองค์

พระ มหาเจดีย์องค์ที่ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีขาบหรือน้ำเงินเข้ม เป็นพระมหาเจดีย์ที่รัชกาลที่ ๔ ทรงสร้างขึ้นตามแบบพระเจดีย์ศรีสุริโยทัย กรุงศรีอยุธยา นามว่า พระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัย เพื่อถวายเป็นพุทธบูชา

สมัย รัชกาลที่ ๔ นั้นได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระมหาเจดีย์ทรงพระศรีสุริโยทัยไว้ ๑ องค์ แต่ยังไม่แล้วเสร็จ ครั้นใกล้จะเสด็จสวรรคตได้มีพระราชดำรัสเฉพาะกับรัชกาลที่ ๕ ว่า “พระเจดีย์วัดพระเชตุพนฯ นั้นกลายเป็นใส่คะแนนพระเจ้าแผ่นดินไป ถ้าจะใส่คะแนนอยู่เสมอจะไม่มีที่สร้าง ควรจะถือว่าพระเจ้าแผ่นดินทั้งสี่พระองค์นั้นท่านได้เคยเห็นกันทั้งสี่ พระองค์จึงควรมีพระเจดีย์อยู่ด้วยกัน ต่อไปอย่าให้ต้องสร้างทุกแผ่นดินเลย” (พระราชวิจารณ์ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวรัชกาลที่ ๕ เรื่อง จดหมายเหตุความทรงจำของกรมหลวงนรินทรเทวี)

พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียว ประดิษฐานอยู่ตรงมุมพระวิหารคดทั้งสี่ด้าน ประกอบด้วยพระเจดีย์ใหญ่ ตรงกลางล้อมรอบด้วยพระเจดีย์เล็กสี่องค์ รวมห้าองค์อยู่บนฐานเดียวกัน เป็นสถาปัตยกรรมเจดีย์ย่อไม้สิบสองและเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม (มุมเจดีย์มีย่อสามมุมสี่ด้านโดยรอบ นับได้สิบสองเรียกย่อไม้สิบสอง ถ้ามากกว่าสิบสองก็เรียกว่าเจดีย์แบบไม้สิบสองเพิ่มมุม) ประดับกระเบื้องเครื่องถ้วยตัดประดิษฐ์ ลวดลายดอกไม้งามวิจิตร ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุทุกองค์ พระเจดีย์หมู่ห้าฐานเดียวนี้ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑

พระเจดีย์ราย ประดิษฐานอยู่รายรอบพระระเบียงชั้นนอก เป็นสถาปัตยกรรมคล้ายเจดีย์หมู่ เจดีย์ย่อไม้สิบสอง มีทั้งหมด ๗๑ องค์ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ เดิมนั้น รัชกาลที่ ๓ ทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นที่บรรจุอัฐิของเจ้านายเชื้อพระวงศ์

หรือ สวนหย่อม เป็นสวนหินปลูกไม้ประดับที่รัชกาลที่ ๓ โปรดเกล้าฯ ให้รื้อขนก้อนศิลาใหญ่ และเล็กซึ่งก่อเป็นภูเขาในสวนขวาในพระบรมมหาราชวัง แต่ครั้งรัชกาลที่ ๒ มาก่อนเป็นภูเขาเป็นสวนประดับรอบวัด ปลูกต้นไม้ไว้ตามเชิงเขาและบนเขา มีทั้งสถูปและเสาโคมแบบจีน รูปตุ๊กตาจีนและรูปสัตว์จัตุบาท (สัตว์สี่เท้า) ต่างๆ เรียงรายอยู่ทั่วไปทั้งบนเขา และเชิงเขา เขามอมีทั้งหมด ๒๔ ลูก เช่น เขาประดู่ เขาสะเดา เขาอโศก เขาสมอ เขาฤษีดัดตน เขาศิวลึงค์ เป็นต้น พรรณไม้ที่ปลูกประดับส่วนใหญ่ตายลงทางวัดได้ปรับปรุงเป็นสวนหิน ประดับด้วยไม้ดอกไม้ใบนับเป็นมุมนั่งพักผ่อนที่เพลิดเพลินตาเย็นกายสบายใจ

คือ สวนสุขภาพแห่งหนึ่งอยู่ใกล้กับพระวิหารทิศใต้ เป็นพระราชประสงค์ของรัชกาลที่ ๑ ที่ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมการแพทย์แผนโบราณและศิลปวิทยาการครั้งกรุงศรีอยุธยาไว้ ทรงพระราชดำริเอาท่าดัดตนอันเป็นการพักผ่อนอิริยาบถ แก้ปวดเมื่อยตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย ประยุกต์รวมกับคติไทยที่ยกย่องฤษีเป็นครูผู้ประสิทธิ์ประสาทศิลปวิทยาการ ต่างๆ เป็นรูปปั้นฤษีดัดตนท่าต่างๆ สมัยแรกสร้างนั้นปั้นด้วยดิน ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ หล่อเป็นเนื้อชินอยู่จนถึงปัจจุบันเดิมมีทั้งหมด ๘๐ ท่า แต่ปัจจุบันคงเหลืออยู่ ๒๔ ท่า

ปั้นฤษีดัดตน
เป็น ท่าตรงตามหลักโยคะของโยคีอินเดียเป็นการออกกำลังกายที่ใช้ศิลปะ เพื่อการมีสุขภาพที่แข็งแรง นอกจากนั้นยังมีโคลงสี่สุภาพ ซึ่งจารึกไว้ในแผ่นศิลาประดับอยู่ตามศาลาราย ปัจจุบันได้รวบรวมไว้ที่ศาลาราย เช่น ศาลาเปลื้องเครื่อง (โรงเรียนแพทย์แผนโบราณ) เป็นต้น โคลงภาพฤษีดัดตน เป็นตำรากายภาพบำบัดของแพทย์ไทย แผนโบราณอันเป็นพระราชประสงค์ ขององค์พระพุทธบุรพมหากษัตริย์ที่ทรงพระราชดำริให้วัดนี้เป็นแหล่งรวม วิชาการ

ศาลาราย
ศาลารายล้อมลานวัดทั้งข้างใน (รอบพระอุโบสถ ) และข้างนอก (แต่กำแพงสกัดออกไป) ของเดิมไม่มีเฉลียงลด ก่อล้อมเป็นช่องกุฎ (ช่องที่ทำเป็นเขาจำลอง) รื้อก่อใหม่ในรัชกาลที่ ๓ ต่อเฉลียงออกไปรอบตัวลดพื้นที่เป็นสองชั้นแต่สามด้าน (คือด้านหน้าและด้านสกัดทั้งสองด้าน) ศาลารายคู่หน้าพระมหาเจดีย์ ศาลาคู่นี้อยู่ระหว่างพระมหาเจดีย์และพระอุโบสถ ศาลารายหลังเหนือจารึกตำรานวดแผนโบราณ มีจิตรกรรมรายเส้นบอกตำแหน่งนวด จารึกอยู่ที่คอสองเฉลียงลดมีจำนวน ๓๒ แผ่น ด้านหลังจารึกสุภาษิตพระร่วง (ปฐมสุภาษิตของไทย) กฤษณาสองน้องคำฉันท์ และภาพเขียนขบวนแห่กฐินพยุหยาตราสถลมารค ศาลารายรอบวัด มีจำนวน ๑๖ หลัง คอสองเฉลียงและคอสองในประธาน มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่องเอกนิบาตชาดก (พระเจ้าห้าร้อยห้าสิบชาติ) เขียนศาลาละ ๓๖ เรื่อง ศาลาทศชาติอยู่ด้านทิศใต้ของศาลาการเปรียญ ในศาลารายแต่ละหลัง นอกจากมีจิตรกรรมแล้วก็ยังมีภาพสลักไม้ในวรรณคดีพระอภัยมณี และชีวิตพื้นบ้านทั่วไป ส่วนฤษีดัดตนนั้นเคยอยู่ในช่องกุฎของศาลา ปัจจุบันนี้ยังอยู่ดูวิธีการจัดหินสวนเขาแบบย่อได้ที่ศาลาหมอนวดคู่หน้าวัด และที่โรงเรียนวัดพระเชตุพนตามช่องกุฎเล็กท้ายศาลา และหัวศาลา มีรูปปั้นคนต่างภาษา ๓๒ รูป ปัจจุบันเหลือ ๒ ภาษา คือ ญี่ปุ่นชาวโอกินาวาและชาวจีนซัวเถา

ขอขอบคุณ http://www.phuttha.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .