Archive for the ‘วัดในเชียงใหม่’ Category

พระวิหารหลวง–วัดสวนดอก

wat-suandok-03

 

สร้างเมื่อพ.ศ.2474-2475 โดยครูบาเจ้าศรีวิชัย และเจ้าแก้วนวรัฐเป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็ก มีขนาดความกว้าง 12 วา 2 ศอกยาว 33 วา และมีลักษณะพิเศษคือเป็นวิหารโถงไม่มีฝาผนังมีแต่ระเบียงโดยรอบหน้าบันทั้งสองด้านมีลายปูนปั้นแบบเครือเถาศิลปะล้านนาที่สวยงาม
ขอขอบคุณ http://www.teeteawthai.com/

พระบรมธาตุเจดีย์–วัดสวนดอก

wat-suandok-02

เป็นพระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1916 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนาธรรมิกราช เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระสุมนได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 พระเจดีย์เป็นศิลปะลังกาวงศ์ผสมล้านนา ลักษณะฐานสี่เหลี่ยมมีทางขึ้น 4 ด้าน ชั้นกลางลักษณะระฆังคว่ำแบบเจดีย์ลังกา พระเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478
ขอขอบคุณ http://www.teeteawthai.com/

ประวัติความเป็นมาของวัดสวนดอก

วัดสวนดอก ในอดีตนั้นป็นสวนดอกไม้ (ต้นพยอม) ของเจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชวงศ์เม็งราย ในปี พ.ศ. 1914 พระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่งราชวงศ์เม็งราย ของอาณาจักรล้านนา ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น “พระอารามหลวง” เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ “พระมหาเถระสุมน” ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” 1 ใน 2 องค์ ที่ “พระมหาเถระสุมน” อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ใน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)
พระเจ้ากือนาธรรมิกราช ได้พระราชทานนามวัดนี้ว่า “วัดบุปผาราม” ซึ่งหมายถึง วัดแห่งสวนดอกไม้ ต่อมานิยมเรียกสั้นๆ ว่า “วัดสวนดอก”
ในสมัยราชวงศ์เม็งราย วัดสวนดอก มีความเจริญรุ่งเรืองมาก แต่หลังจากสิ้น ราชวงศ์เม็งราย บ้านเมืองตกอยู่ในอำนาจพม่า ทั้งเกิดจลาจลวุ่นวาย วัดนี้จึงกลายสภาพเป็นวัดร้างไป วัดสวนดอก ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่อีกครั้ง ในรัชสมัยพระเจ้าบรมราชาธิบดีกาวิละ แห่งราชวงศ์ทิพย์จักราธิวงศ์ (เจ้าเจ็ดตน) และได้รับการทำนุบำรุงจาก เจ้านายฝ่ายเหนือ และประชาชนเชียงใหม่มาโดยตลอด
วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะครั้งสำคัญ 2 ครั้ง ครั้งแรกในปี พ.ศ. 2450 พระราชชายา เจ้าดารารัศมี ในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญรวบรวมพระอัฐิเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ และพระประยูรญาติ มาประดิษฐานรวมกัน และต่อมาอีกครั้งหนึ่งในปี พ.ศ. 2475 เป็นการบูรณปฏิสังขรณ์องค์พระวิหารโดย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา
วัดสวนดอกได้รับการสถาปนาเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ เมื่อวันที่ 10 กรกฎาคม พ.ศ. 2533

ขอขอบคุณ http://www.teeteawthai.com/

ปูชนียวัตถุของวัดสวนดอก

Suandok14

พระพุทธรูปพระเจ้าเก้าตื้อ ถือเป็นปูชนียวัตถุที่สำคัญยิ่งของชาวเชียงใหม่ หล่อด้วยทองสำริด ปางมารวิชัยหรือปางสะดุ้งมาร ฝีมือช่างเชียงแสนผสมสุโขทัย หน้าตักกว้าง ๑๒๐ นิ้ว สูงจากฐานถึงยอดพระเมาฬีประมาณ ๑๓๐ นิ้ว ปีชวด ฉศก หนัก ๙ ตื้อ (ตามน้ำหนักชั่งโบราณ)

และมีที่ต่อ ๘ แห่ง พระเมืองแก้วโปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อราว จ.ศ. ๘๖๖ (พ.ศ. ๒๐๔๘ ) ต่อมาเมื่อประมาณ จ.ศ. ๘๗๑ (พ.ศ. ๒๑๕๓) จึงได้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระอุโบสถแห่งวัดบุปผาราม หรือที่เรียกว่า วิหารพระเจ้าเก้าตื้อ
สำหรับสิ่งสำคัญของวัดสวนดอกที่กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนไว้แล้ว ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๕๒ ตอนที่ ๗๕ ลงวันที่ ๘ มีนาคม พ.ศ. ๒๔๗๘ และต่อมาได้รับการประกาศกำหนดขอบเขตในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ ๙๗ ตอนที่ ๔๑ ลงวันที่ ๑๔ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๒๓ ได้แก่ เจดีย์ประธาน พระเจ้าเก้าตื้อ พระประธานในพระวิหาร พระยืนในพระวิหารวัดสวนดอก ซุ้มประตูทางด้านทิศตะวันออก

ขอขอบคุณ http://www.oknation.net/

วัดสวนดอกวรมหาวิหาร

Suandok1

วัดสวนดอก หรือชื่อเดิมว่าวัดบุปผารามสวนดอกไม้ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ซึ่งมีความสำคัญมากวัดหนึ่งของเชียงใหม่ ตั้งอยู่บนถนนสุเทพ เลขที่ ๒๑/๑ หมู่ที่ ๓ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่

โดยตั้งอยู่นอกเขตกำแพงเมืองเชียงใหม่ทางด้านทิศตะวันตก มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๕ ไร่ ๒ งาน ๔๔ ตารางวา และมีที่ธรณีสงฆ์จำนวน ๕ แปลง เนื้อที่ ๓ ไร่ ๒ งาน ๔๔ ตารางวา ปัจจุบันผนวกเอาวัดพระเจ้าเก้าตื้อรวมไว้เป็นส่วนหนึ่งของวัดสวนดอกแล้ว

พระเจดีย์วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะใหม่และหุ้มแผ่นทองจังโก

ประวัติความเป็นมาของวัดสวนดอกที่ปรากฏใน ตำนานพื้นเมืองเชียงใหม่ และ พงศาวดารโยนก มีโดยย่อดังนี้ คือ พระญากือนา (ราชโอรสของพระยาผายู) ทรงเป็นกษัตริย์แห่งล้านนาองค์ที่ ๖ ในราชวงศ์มังราย ทรงเดชานุภาพทั้งในด้านยุทธศาสตร์ ศิลปศาสตร์ทั้งมวล อีกทั้งทรงมีความเลื่อมใสเป็นอย่างยิ่งต่อพระพุทธศาสนา ทรงครองราชย์ตั้งแต่ พ.ศ. ๑๘๙๘ – ๑๙๒๘

Read more »

วัดสวนดอกในเชียงใหม่

วัดสวนดอกตั้งอยู่บนถนนสุเทพ สร้างขึ้นโดยกษัตริย์ในปีพ.ศ. 1916 (ค.ศ. 1373) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระภิกษุสงฆ์ วัดแห่งนี้เป็นจุดถ่ายภาพยอดนิยมโดยเฉพาะช่วงเวลาพระอาทิตย์ตกดิน ภายในบริเวณมีกู่บรรจุอัฐิเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่และพระประยูรญาติหลายเจดีย์ และวิหารรองเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำริดองค์ใหญ่ที่สุดทางภาคเหนือของไทยสร้างด้วยโลหะอายุกว่า 500 ปี

ขอขอบคุณ http://www.hoteltravel.com/

ความจริงของพระเจ้าเก้าตื้อที่ไม่ได้ปรากฏในที่สาธารณะ วัดสวนดอก

ท่านเล่าว่าพระเจ้าเก้าตื้อที่เห็นนี้ได้มีการบูรณะขึ้นมาใหม่แทนของเก่า โดยมีคณะศรัทธาญาติโยมซึ่งมีหัวเรือใหญ่เป็นอาจารย์ จากมหาวิทยาลัยแห่งหนึ่งในจังหวัดเชียงใหม่ มีตำแหน่งเป็นรองศาสตราจารย์ ร่วมกับผู้มีฐานะร่ำรวยมั่งคั่ง ได้ไปปรึกษาหารือกับท่านเจ้าอาวาส เพื่อจะทำการลอกทองคำที่หุ้มพระเจ้าเก้าตื้อออก และปิดใหม่ให้ดูสวยงามขึ้นซึ่งในขณะนั้นเห็นว่าทองเก่าได้หลุดลอกออกบางส่วน และการปิดทองใหม่ก็ได้ให้กรมศิลปากรเป็นผู้ดำเนินการ โดยใช้ทองชนิดพิเศษเรียกว่าทองวิทยาศาสตร์ ์ซึ่งจะทำให้องค์พระมีสีทองสุกใสแวววาว

การบูรณะปฏิสังขรณ์ครั้งนี้ ชาวบ้านที่ศรัทธาวัด ต่างไม่เห็นด้วยที่ต้องลอกทองเก่าซึ่งเป็นทองบริสุทธิ์ออก และปิดทองใหม่ ซึ่งเป็นทองผสม ไม่ได้เป็นทองคำบริสุทธิ์เหมือนแต่แรก แต่ชาวบ้านใกล้เคียง คนเฒ่าคนแก่ และพระในวัดที่เป็นคนท้องถิ่นไม่สามารถทัดทานความตั้งใจนั้นได้ จึงต้องปล่อยให้บูรณะจนแล้วเสร็จ ท่ามกลางความเสียดายของชาวบ้าน ซึ่งการบูรณะ ครั้งนี้กระทำเมื่อปลายปี 2539 และมาเสร็จเมื่อต้นปี 2540

แต่หลังจากนั้นไม่นานก็เกิดเหตุกับอาจารย์มหาวิทยาลัยผู้นี้หลายเรื่อง เช่นมีญาติเสียชีวิตอย่างกระทันหัน และเจ้าตัวประสบเคราะห์กรรมต่างๆนานา นต้องลาออกจากหน่วยงานและได้มาบวชชีที่วัดนี้เพื่อเป็นการขอขมา (ปัจจุบันได้สึกแล้ว)

Read more »

ประวัติวัดสวนดอก

วัดสวนดอกสร้างในสมัยพระเจ้ากือนาธรรมิกราช กษัตริย์ผู้ครองนครเชียงใหม่ รัชการที่ ๖ แห่งราชวงศ์มังราย เมื่อปี พ.ศ. ๑๙๑๔ พระองค์ได้ทรงพระราชทานพระราชอุทยานสวนดอกไม้ของพระองค์ ซึ่งอยู่ทางด้านตะวันตกของนครเชียงใหม่ ห่างประมาณ ๑ กิโลเมตร สร้างเป็นพระอารามขึ้น และพระราชทานนามว่า “วัดบุปผาราม” ต่อมาชาวบ้านนิยมเรียกกันว่า “วัดสวนดอก” วัดนี้เป็นวันเก่าแก่ที่มีความสำคัญเป็นอย่างยิ่งต่อความเจริญรุ่งเรืองของพระพุทธศาสนามาตั้งแต่ในอดีตจนถึงปัจจุบัน ในสมัยอาณาจักรล้านนา วัดสวนดอกเป็นศูนย์กลางแห่งพระพุทธศาสนาลักธิลังกาวงศ์ เป็นที่สถิตของพระสังฆราชในอาณาจักรล้านนา เป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากกรุงสุโขทัย และนำมาบรรจุไว้ในพระบรมธาตุเจีย์ทีวัดสวนดอกแห่งนี้ ปัจจุบันวัดสวนดอกนับว่ามีความสำคัญต่อการส่งเสริมการศึกษาของคณะสงฆ์เป็นอย่างยิ่ง เพราะเหตุว่าเป็นที่ตั้งของมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย ในพระบรมราชูปถัมภ์ วิทยาเขตเชียงใหม่ เป็นสถานที่ให้ความรู้และอบรมทางวิชาการเป็นตัวอย่างของสถาปัตยกรรมและประติมากรรมที่สวยงาม วัดนี้จึงเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดเชียงใหม่

Read more »

วัดสวนดอก เวียงพระธาตุแห่งล้านนา

wat-suandok1

วัดสวนดอก จ.เชียงใหม่ หรือ วัดบุปผาราม เป็นวัดเก่าแก่ที่สำคัญวัดหนึ่งของเมืองเชียงใหม่ โดยเป็นศูนย์กลางในการเผยแผ่พระพุทธศาสนามาแต่โบราณ สร้างในสมัย พญากือนา เมื่อปี พ.ศ.1914 โดยได้ทรงถวายอุทยานสวนดอกไม้ส่วนพระองค์ เพื่อสร้างเป็นวัด ถวายแด่ พระสุมนเถระ พระเถระจากเมืองศรีสัชนาลัย ที่พระองค์ได้นิมนต์มาเพื่อเผยแผ่พระพุทธศาสนาในเมืองเชียงใหม่ โดยได้พระราชทานนามวัดว่า วัดบุปผาราม
ต่อมาหลังยุคใต้การปกครองของพม่า วัดสวนดอกได้ทรุดโทรมลง จึงมีการบูรณะวัดขึ้นในสมัย พระเจ้ากาวิละ และในสมัยเจ้าแก้วเนารัตน์โดยร่วมกับครูบาศรีวิชัย ทำการบูรณะศาสนสถาน และสร้างพระวิหารโถงหลังใหญ่ขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2472

Read more »

วัดสวนดอก เชียงใหม่

692

วัดสวนดอก หรือ วัดบุพผาราม ตั้งอยู่ถนนสุเทพ อำเภอเมือง วัดนี้พระเจ้ากือนาทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.1914 (ศักราชนี้ถือตาม หนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ ของพระรัตนปัญญาเกตุ) เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของพระมหาเถระสุมน ผู้ประดิษฐาน พระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินลานนาไทย วัดนี้แต่เดิมเป็นพระราชอุทยาน ของกษัตริย์ลานนาไทย สมัยแรกเริ่ม มีสถาปัตยกรรมสำคัญ คือ เจดีย์ประธานเป็นเจดีย์ทรงกลม กู่บรรจุอัฐิเจ้าตระกูล ณ เชียงใหม่และวิหารโถง นอกจากนี้ยังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าเก้าตื้อ ซึ่งพญาเมืองแก้วโปรดให้หล่อขึ้นเป็นพระพุทธรูปสำริดขนาดใหญ่ ศิลปะล้านนาผสมกับศิลปะสุโขทัย

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

ปูชนียสถาน-วัตถุ วัดสวนดอก

พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกา

พระเจดีย์วัดสวนดอก ได้รับการบูรณะใหม่และหุ้มแผ่นทองจังโก
พระเจดีย์ใหญ่ทรงลังกาบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 1914 ในรัชกาลของพระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้าง “พระอารามหลวง” โดยโปรดเกล้าให้สร้าง “พระเจดีย์ทรงลังกา” ขึ้นเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ที่พระมหาเถระสุมนได้อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 ซึ่งแต่เดิมมีเจดีย์แบบสุโขทัย (ทรงพุ่มข้าวบิณฑ์) อยู่ทางทิศตะวันตกขององค์พระเจดีย์ใหญ่ แต่ได้ปรักหักพังลง พระเจดีย์องค์ใหญ่สูง 24 วา ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติในราชกิจจานุเบกษาเล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

พระเจ้าเก้าตื้อ
เป็นพระพุทธรูปหล่อองค์ใหญ่ สร้างด้วยโลหะหนัก 9 โกฏิตำลึง (“ตื้อ” เป็นคำในภาษาไทยเหนือ แปลว่า หนักพันชั่ง) พระญาเมืองแก้ว กษัตริย์องค์ที่ 13 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2047 “พระเจ้าเก้าตื้อ” เป็นพระพุทธรูปแบบเชียงแสนฝีมือช่างล้านนาและสุโขทัย หน้าตักกว้าง 8 ศอก หรือ 3 เมตร สูง 4.70 เมตร เพื่อเป็นพระองค์ประธานใน วัดพระสิงห์ แต่เนื่องมีน้ำหนักมากไม่สามารถเคลื่อนย้ายได้ จึงได้ถวายเรือนหลวงของพระองค์เป็นพระวิหาร พระราชทานชื่อว่า “วัดเก้าตื้อ” แทน ซึ่งต่อมาภายหลังได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ในสมัย ครูบาเจ้าศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา ในปี พ.ศ. 2475 กรมศิลปากรได้ขึ้นทะเบียนเป็นโบราณสถานแห่งชาติ ในราชกิจจานุเบกษา เล่มที่ 52 ตอนที่ 75 ลงวันที่ 8 มีนาคม 2478

Read more »

วัดสวนดอก (พระอารามหลวง)

วัดสวนดอก (คำเมือง: LN-Wat Suan Dok.png) หรือ วัดบุปผาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ[1]สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ปัจจุบันตั้งอยู่บนถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมืองเชียงใหม่ จังหวัดเชียงใหม่
ที่ตั้งและอาณาเขต
วัดสวนดอกตั้งอยู่ในเขตเทศบาลนครเชียงใหม่ เลขที่ 139 ถนนสุเทพ ตำบลสุเทพ อำเภอเมือง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากประตูสวนดอกไปทางทิศตะวันตก 1 กิโลเมตร กินเนื้อที่ 35 ไร่ 2 งาน 44 ตารางวา ทิศเหนือยาว 183 เมตร ทิศใต้ยาว 193 เมตร ทิศตะวันออกยาว 176 เมตร และทิศตะวันตกยาว 176 เมตร
ประวัติ
วัดสวนดอกในอดีตนั้นป็นสวนดอกไม้ (ต้นพยอม) ของเจ้านายฝ่ายเหนือใน ราชวงศ์เม็งราย โดยในปี พ.ศ. 1914 (ศักราชนี้ถือตามหนังสือชินกาลมาลีปกรณ์ของพระรัตนปัญญาเกตุ) พระเจ้ากือนา กษัตริย์องค์ที่ 6 แห่ง ราชวงศ์เม็งราย ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างเป็น “พระอารามหลวง” เพื่อให้เป็นที่จำพรรษาของ “พระมหาเถระสุมน” ผู้ประดิษฐานพระพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ ในแผ่นดินล้านนา และสร้างองค์พระเจดีย์เพื่อประดิษฐาน “พระบรมสารีริกธาตุ” 1 ใน 2 องค์ ที่ “พระมหาเถระสุมน” อัญเชิญมาจากสุโขทัย ในปี พ.ศ. 1912 (องค์หนึ่งประดิษฐานอยู่ในพระเจดีย์ ใน วัดพระธาตุดอยสุเทพราชวรวิหาร)

Read more »

วัดท่าใหม่อิ

สถานที่ตั้งของวัด

วัดท่าใหม่อิ ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒๒ บ้านท่าใหม่อิ หมู่ที่ ๕ ตำบลป่าแดด อำเภอเมืองเชียงใหม่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ที่ดินตั้งวัดมีเนื้อที่ ๖ ไร่ ๙๖ ตารางวา

ประวัติความเป็นมาของวัด

วัดท่าใหม่อิ สร้างเมื่อ พ.ศ. ๒๔๖๐ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๒๐ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๔๖๗ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๓๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร การบริหารและการปกครองมีเจ้าอาวาสปัจจุบัน คือ พระมหาไพศาล ฐานวุฑฺโฒ ได้รับแต่งตั้งเป็นเจ้าอาวาสวัดท่าใหม่อิ เมื่อวันที่ ๒๒ กุมภาพันธ์ ๒๕๕๐ จนถึงปัจจุบัน

วัดท่าใหม่อิมีพระวิหารทรงล้านนาที่เก่าแก่ ซึ่งปัจจุบันมีอยู่หลังเดียวในตำบลป่าแดด ซึ่งสวยงามและมีคุณค่าทำให้ผู้มาเยี่ยมชมเป็นจำนวนมาก ในด้านการจัดสถานที่วัดนั้น ท่านพระมหาไพศาล ฐานวุฑฺโฒ เมื่อได้ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสแล้ว ท่านได้มีวิสัยทัศน์ที่จะจัดวัดให้เป็นสถานที่ร่มรื่น สะอาดตาสวยงามจน ณ ปัจจุบันเป็นที่กล่าวขานกันว่า วัดท่าใหม่อิแห่งนี้เป็นพืชสวนโลกแห่งที่สองของจังหวัดเชียงใหม่

Read more »

วัดท่าใหม่อิ จังหวัดเชียงใหม่

44

 

22 Read more »

วัดท่าใหม่อิ

1

1. มาแล้วมีความสุข สดชื่น

แต่กว่าวัดจะสวยงามได้ขนาดนี้ พระอาจารย์ต้องฝ่าฟัน โดยไม่ย่อท้อ และยังบอกว่า “ทุกอย่างไม่มีอะไรสบายก่อน จะต้องมีลำบากก่อน” บางคนถึงพูดว่า ต้องทุกข์ก่อนแล้วค่อยทุกข์ทีหลัง การพัฒนานั้นไม่ใช่งานที่ง่าย เป็นงานที่ต้องทุ่มเททั้งกำลังกายและกำลังใจ หากเราเป็นผู้นำ ต้องเป็นผู้นำที่เสียสละ ผู้นำต้องเป็นตัวอย่างก่อน ที่จริงแล้วเราทุกคนอยู่ในวัดต้องช่วยกันทำ เจ้าอาวาสก็ต้องทำ ถ้าไม่อย่างนั้น จะไม่เกิดการเป็นผู้นำ

2

2. มาแล้วต้องยิ้ม ต้องได้ยินเสียงหัวเราะ ต้องมีความสุขกับชีวิตกลับไป

รูปปั้น เณรยิ้ม เพราะคนเราทุกคนเวลาเข้ามาวัดเมื่อเห็นเณรยิ้มนี้ ก็จะยิ้มตามกับความน่ารักของเณรน้อย ทุกคนก็จะหัวเราะออกมา ลืมความทุกข์ นี่เป็นปริศนาธรรม สอนเราว่า คนเรามีชีวิตอยู่ทุกวันนี้ ต้องมีความสุข ต้องหัวเราะ ใครที่หัวเราะเยอะ ๆ คนนั้นจะอายุยืน หน้าตาเบิกบาน แจ่มใส และเมื่อยิ้มแล้วต้องสู้

“ทุกข์หนักอย่างไรก็ต้องยิ้มและสู้เข้าไว้”

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .