Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคเหนือ’ Category

วัดพระธาตุหริภุญชัย Wat Phrathat Haripunchai จ.ลำพูน

พระเจ้าอทิตยราช กษัตริย์แห่ง ราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โปรดเกล้าให้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1606 ณ บริเวณเดิมของพระราชวังของพระองค์ เนื่องจากพระราชวังได้สร้างซ้อนทับบนพระบรมธาตุโดยที่พระองค์ไม่ทรงทราบมาก่อน จึงได้พระราชทานอุทิศถวายสถานที่เป็นพุทธบูชา และให้สร้างเจดีย์พระธาตุหริภุญชัย เพื่ออัญเชิญพระบรมธาตุขึ้นบรรจุไว้ภายใน
ต่อมาได้มีการบูรณะหลายยุคสมัย ประกอบด้วยสมัย พญามังราย พระเจ้าแสนเมือง พระเจ้าติโลกราช และพระเมืองแก้ว
วัดพระธาตุหริภุญชัย ถือเป็น วัดประจำปีเกิดของคนเกิด ปีระกา
?
สถานที่ตั้งวัดพระธาตุหริภุญชัย ถ.ไชยมงคล? ต.เวียงยอง? อ.เมืองลำพูน? จ.ลำพูน
แผนที่วัดพระธาตุหริภุญชัย
?
สุวรรณเจดีย์ วัดพระธาตุหริภุญชัย
สุวรรณเจดีย์
สร้างโดย พระนางปทุมวดี พระมเหสีพระเจ้าอทิตยราช เป็นเจดีย์ทรงปราสาทแบบสี่เหลี่ยม ?ก่อด้วยอิฐ มีซุ้มจระนำทั้งสี่ด้าน ภายในซุ้มเดิมทีประดิษฐานด้วยพระพุทธรูปประทับยืน ปัจจุบันเหลือเพียงไม่กี่องค์แล้ว ลักษณะเจดีย์คล้ายกับ เจดีย์กู่กุด วัดจามเทวี
? Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฎฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีระกา ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยมีสิ่งที่น่าสนใจคือ

ซุ้มประตู ก่อนเข้าไปในบริเวณวัด จะผ่านซุ้มประตูฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆ หน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชเมื่อทรงถวายวังให้เป็นสังฆาราม

วิหารหลวง เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้ว จะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า “วิหารหลวง” เป็นวิหารหลังใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน มีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2458วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนกิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาใหญ่ 3 องค์ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองบนแท่นแก้วและมีพระพุทธปฏิมาโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้นและชั้นกลางอีกหลายองค์ Read more »

ตำนานย่อเมืองหริภุญชัย

มีตำนานเมืองเหนือเล่าว่า ก่อนสมัย ๑๒๐๐ ปี มีกษัตริย์องค์หนึ่งครองเมืองลำพูน มีนิสัยโลเล มิอยู่ใน ทศพิธราชธรรม เสวยแต่น้ำจันทร์มัวเมาด้วยอิสสตรี ไม่มีศีลธรรม ประชาชนถูกกดขี่ข่มเหง เสนาข้าราชการบริพาสล้วนแต่ประจบสอพลอ เทพยดารักษาเมืองก็พิโรธ ก็เกิดโรคภัยพลเมืองล้มตายและแล้วพระพิรุณก็กระหน่ำ จึงมีอุทกภัยเกิดขึ้น น้ำนองท่วมท้น มนุษย์และสัตว์หนีมิทันล้มตายไปกับแม่น้ำคงคา ครั้งเมื่อน้ำลดลงแล้วเมือง หริภุญชัยก็เป็นเมืองร้างไปเสียแล้ว สาเหตุที่ทำให้เมืองลำพูนร้าง น้ำท่วมตาย เพราะเจ้าเมืององค์นี้ได้มีแม่หม้ายไปร้องทุกข์กล่าวหาว่าลูกได้ตีแม่จึงนำความไปฟ้องเจ้าเมืองเพื่อให้ตัดสินคดีที่ลูกตีแม่ครั้งนี้ เจ้าเมืองฟังแล้วกลับตรัสตอบว่า เด็งดัง เพราะลูก “เพราะฉะนั้นการที่ลูกตีแม่จึงไม่มีความผิดใดๆ” ทำให้แม่หม้ายคนนั้นเสียอกเสียใจอย่างมาก จึงนั่งลงกราบแม่ธรณี อธิษฐานสาปแช่งเจ้าเมืองให้มีอันเป็นไป ในทันใดนั้นดินฟ้าอากาศก็เกิดวิปริตเกิดน้ำท่วมบ้านเมืองอย่างฉับพลัน ราษฎรจมน้ำตายเจ้าเมืองก็ตายตามไปด้วย คงเหลือแต่คนมีบุญมีศีลธรรม คนใจบาปหยาบช้าถูกน้ำพลัดจมน้ำตายหมด บ้านเมืองก็ว่างเปล่าไม่มีผู้นำมาเป็นเวลานานปี ต่อมาพระฤๅษีรำพึงแล้วก็คิดว่าเราจะปล่อยประละเลยไม่แก้ไขเห็นทีชาวเมืองลำพูนทั้งมวลจะระส่ำระส่าย จึงได้เชิญฤๅษีผู้น้องทั้งสาม อาทิเช่น พระฤๅษีสุกกทันต ผู้อยู่นครละโว้ และเชิญฤๅษีจากทิศต่างๆ รวมทั้งสิ้น ๑๐๐ ตน โดยท่านสุเทพ ฤๅษีเป็นประธาน ช่วยกันสร้างนครขึ้นใหม่เริ่มแต่เวลา ๙.๐๐ นาฬิกาของวันอาทิตย์ ขึ้น ๘ ค่ำ เดือน ๓ ปีขาล พุทธศักราช ๑๑๙๘ มวลประชาราษฎร์ที่หนีอุทกภัยก็ให้มาร่วมกันสร้างเมืองใหม่ จนเป็นที่เรียบร้อยแล้วเมื่อ ปีพุทธศักราช ๑๒๐๓ พระฤๅษีก็ให้นามเมืองใหม่นี้ว่า “นครหริภุญชัย” ในบรรดาพระฤๅษีก็ปรึกษากันว่าจะหาใครผู้ใดมาเป็นเจ้าเมืองเพื่อปกครองประชาราษฏร์ให้อยู่ดีมีสุขต่อไป Read more »

วัดหริภุญชัย จังหวัดลำพูน

เป็นวัดที่สำคัญที่สุดของจังหวัดลำพูน ตั้งอยู่ใจกลางเมือง แวดล้อมด้วยแหล่งที่กินที่เที่ยวทางวัฒนธรรมอื่น ๆ เป็นศูนย์กลางของการท่องเที่ยวในตัวเมืองลำพูน และเป็นจุดเริ่มเดินเที่ยวชมตัวเมืองลำพูนย่าน ถ.อินทยงยศ พิพิธภัณฑ์สถานแห่งชาติ หริภุญไชย ขัวมุงท่าสิงห์ ย่านทอผ้าเวียงยอง เป็นต้น
ภายในกำแพงแก้วของวัดมีพื้นที่ประมาณ 15 ไร่เศษ ประกอบด้วยสิ่งปลูกสร้างดั้งเดิมและวิหารที่สร้างในยุคหลังมากมาย รวมถึงพระพุทธรูปสำคัญ คือ พระเสตังคมณีศรีหริภุญไชย

สถานที่ตั้ง และการเดินทาง
ที่ตั้ง :
ต.ในเมือง อ.เมือง
รถยนต์ส่วนตัว :
จากศูนย์บริการนักท่องเที่ยวใช้ ถ.รอบเมือง ไปทางประตูท่านางประมาณ 100 ม. วัดพระธาตุฯ อยู่ทางซ้ายมือ
รถรับจ้าง :
ขึ้นสามล้อถีบจากตัวเมือง Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จ.ลำพูน

พระธาตุหริภุญชัย พระธาตุประจำปีเกิด วัดพระธาตุประจำคนเกิดปีระกา (คนเกิดปีไก่)

วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา ทิศเหนือ จรดถนนอัฏฐารส ทิศใต้ จรดถนนสุพรรณรังษี ทิศตะวันออก จรดประตูท่าสิงห์ ทิศตะวันตก จรดถนนอินทยงยศ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าวโบราณสถานที่สำคัญในวัดพระธาตุหริ ภุญชัยวรมหาวิหาร

1. พระธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่พญาอาทิตยราชเป็นผู้สถาปนาขึ้นใน ราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนาน พระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาท สี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ใน เมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่อง ทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่ และสูง พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่ เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาล ตราบเท่าทุกวันนี้ Read more »

ประวัติเมือง “หริภุญชัย” และตำนานเจดีย์พระบรมธาตุหริภุญชัย

พระธาตุหริภุญชัย

“ลำพูน” หรือ “หละปูน” หรือชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณกาลว่า “หริภุญชัย” เป็นเมืองที่สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1200 โดย “วาสุเทพฤาษี” ได้เกณฑ์พวก “เมงคบุตร” เชื้อสายมอญมาสร้างบนผืนแผ่นดินระหว่าง “แม่น้ำปิง” และ “แม่น้ำกวง”

เมื่อสร้างเมือง “หริภุญชัย” เสร็จ เนื่องจาก “วาสุเทพฤาษี” เป็นผู้บำเพ็ญสมาบัติ (การเข้าฌาน) จึงได้ไปเชิญหน่อกษัตริย์จากเมือง “ละโว้” มาปกครองเมืองแทน

“พระยาจักวัติ” ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเมืองละโว้ในขณะนั้นไม่ทรงมีราชโอรส จึงได้ส่งราชธิดา คือ “พระนางจามเทวี” มาแทน พระนางจึงเป็นกษัตริย์ครองเมือง “หริภุญชัย” เป็นองค์แรก ซึ่งบ้านเมืองได้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคง และมีกษัตริย์ปกครองเมืองสืบต่อมาอีกหลายราชวงศ์

จำเนียรกาลผ่านไป ล่วงมาถึงปีพุทธศักราช 1440 กษัตริย์ผู้ครองเมือง “หริภุญชัย” ลำดับที่ 33 คือ “พระยาอาทิตยราช” แห่งราชวงศ์รามัญ โดยมี “พระนางปทุมวดี” เป็นอัครมเหสี บ้านเมืองได้เกิดศึกสงครามหลายครั้งหลายครา แต่ด้วยพระบรมเดชานุภาพ จึงทำให้ศัตรูพ่ายแพ้ไปทุกคราว Read more »

งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย ประจำปี 2557

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย_1

จังหวัดลำพูน ขอเชิญเที่ยว “งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย ประจำปี 2557” ระหว่างวันที่ 6-13 พฤษภาคม 2557 ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน

พระบรมธาตุหริภุญชัย นับเป็นจอมเจดีย์องค์หนึ่งในจำนวนจอมเจดีย์ 8 องค์ของประเทศไทยที่มีอายุเกินหนึ่งพันปี ปัจจุบันองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยมีอายุ 1,115 ปี และเป็นพระราชประเพณีอันสืบมาแต่โบราณกาลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานน้ำสรงและผ้าห่มพร้อมด้วยเครื่องราชสักการะ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาประจำทุกปี Read more »

พระธาตุหริภุญไชย

pratadhariphunchai

วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานสำคัญในภาคเหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่เมืองลำพูนมาอย่างยาวนานตั้งอดีตนับเวลามากกว่าพันปี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฏฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทาง ทิศตะวันออก นอกจากนั้นยังเป็นองค์พระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปี ระกา อีกด้วย
พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน
ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญไชย ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ
พระบรมธาตุหริภุญไชย
เป็นเจดีย์แบบล้านนาไทยแท้ๆ ที่ลงตัวสวยงาม ภายในบรรจุพระเกศบรมธาตุบรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระเจดีย์ ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้ว ย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับ พระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ สูง 25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก 1 คืบ มีสัตติ- บัญชร (รั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น สำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ และทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป นั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป Read more »

ประวัติพระธาตุหริภุญชัย พระธาตุประจำปีระกา

original_พระธาตุปีระกา

พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน เป็นปูชยสถานที่สำคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่งของดินแดนล้านนาไทย มาแต่โบราณกาล ประมาณหนึ่งพันปีมาแล้ว บรรดาเจ้านครต่าง ๆ ในดินแดนส่วนนี้ได้มีความเคารพนับถือและศรัทธา ได้รับภาระในการปฏิสังขรณ์กันต่อมาจนถึงทุกวันนี้ องค์พระธาตุเป็นรูปทรงแบบลังกา ฝีมือประนีต และมีความคงทนถาวรมาก

ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๔๐ พระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์วงค์รามัญผู้ครองนครลำพูน เป็นลำดับที่ ๓๓ มีศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ได้ทรงรับเอาพระพุทธศาสนาจากเมืองมอญ มาประดิษฐานที่นครลำพูน และได้ทรงสร้างพระมณฑป เพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุ สูงสามวา มีซุ้มทั้งสี่ด้าน ครอบโกศสูงสามศอก แล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน ดังนั้นจึงเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า บรรดาบ้านเรือนในนครลำพูน จะต้องสร้างไม่ให้สูงเกินสามศอก เพื่อให้สูงกว่าองค์พระบรมธาตุ Read more »

พระธาตุหริภุญชัย : พระธาตุประจำปีเกิดปีระกา

DSCN0410

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฎฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น. ชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชม 20 บาท ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือ ซุ้มประตู ก่อนเข้าไปในบริเวณวัด จะผ่านซุ้มประตูฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆ เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชเมื่อทรงพระราชให้เป็นสังฆาราม
วิหารหลวง เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้ว จะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า “วิหารหลวง” เป็นวิหารหลังใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน และมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2458 วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนกิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาใหญ่ 3 องค์ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองบนแท่นแก้วและยังมีพระพุทธปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้นและชั้นกลางอีกหลายองค์ Read more »

เส้นทางวัดพระธาตุหริภุญชัย

the-trippacker-hariphunchai-temple-map-th

ที่อยู่ : ถนนอินทยงยศ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000
GPS : 18.576983, 99.008950
เบอร์ติดต่อ : 0 5351 1104
Fax : 0 5353 0753
Website : http://www.hariphunchaitemple.org
เวลาทำการ : 6.00-18.00 น.
ค่าธรรมเนียม : คนไทยฟรี ชาวต่างชาติ คนละ 50 บาท
ช่วงเวลาแนะนำ : ตลอดทั้งปี
ไฮไลท์ : องค์พระธาตุหริภุญชัยซึ่งถือว่าเป็นพระธาตุประจำของคนเกิดปีระกา นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานต่างๆ ภายในบริเวณวัดมากมาย ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี
กิจกรรม : สักการะขอพรจากพระธาตุประจำปีเกิด เดินชมความงดงามของสถาปัตยกรรม และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของวัด Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย สักการะพระธาตุประจำปีไก่ แห่งเมืองลำพูน

 

hariphunchai-temple05

ในแต่ละปีซึ่งหมุนเวียนไปตามปีนักษัตร เรามักจะได้ยินคำเชิญชวนให้ไปไหว้พระธาตุประจำปีนักษัตรนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล ยิ่งถ้าหากเป็นบุคคลที่เกิดในปีนักษัตรนั้นก็ยิ่งสมควรหาโอกาสไปสักการะให้ ได้ซักครั้ง ซึ่งความเชื่อเรื่องการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดนั้น เป็นคติความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนาที่สืบทอดกันมายาวนาน ด้วยมีความเชื่อแต่โบราณว่า ก่อนที่วิญญาณจะมาเกิดในครรภ์มารดานั้น ดวงวิญญาณจะมาพักอยู่ที่เจดีย์ โดยมี “ตัวเปิ้ง” หรือสัตว์ประจำนักษัตรพามาพักไว้ เมื่อได้เวลาดวงวิญญาณจึงเคลื่อนจากพระเจดีย์ไปสถิตอยู่บนกระหม่อมของบิดา แล้วจึงเคลื่อนสู่ครรภ์มารดา และเมื่อเราสิ้นอายุขัยลง ดวงวิญญาณจะกลับไปสถิตอยู่ที่พระธาตุเจดีย์ตามปีเกิดนั้นๆ ตามเดิม ดังนั้นในช่วงชีวิตหนึ่งเราควรหาโอกาสไปกราบไหว้พระธาตุประจำปีเกิดให้ได้ ซักครั้งในชีวิต ซึ่งครั้งนี้เราจะพาผู้ที่มีปีนักษัตรตรงกับ “ปีระกา” ไปเสริมสิริมงคลกันที่ “วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร” กัน Read more »

โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดพระธาตุหริภุญชัย

พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสัณฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ. 1951 โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ พ.ศ. 1990 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับพระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น 92 ศอก กว้างยาวขึ้น 52 ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมวัดพระธาตุหริภุญชัย

ฐานปัทม์แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้นรับฐานบัวซึ่งมีลักษณะคล้าย มาลัยเถาสามชั้นซึ่งตั้งรับองค์ระฆังกลม องค์ระฆังประดับด้วยลวดลายดอกไม้สี่กลีบระหว่างลายดอกไม้สี่กลีบนั้นมีการดุนนูนเป็นภาพพระพุทธรูป รอบองค์ระฆังซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ย่อมุม ส่วนบนเป็นปล้องไฉน ปลียอดเหนือสุดทำเป็นฉัตรเก้าชั้น นอกจากนี้พระเจ้าติโลกราช ได้โปรดให้ก่อกำแพงโดยรอบเขตพุทธาวาสเพื่อเป็นการป้องกันรักษาองค์พระธาตุอีกชั้นหนึ่ง ทั้งยังทรงให้ก่อสร้างซุ้มประตูโขงประดับด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงามทางประตูด้านทิศตะวันออกหน้าวิหารหลวงทางทิศเหนือและทางทิศใต้และ ทิศตะวันตก ปัจจุบันคงเหลือแต่ซุ้มประตูโขง ทางทิศตะวันออก และทางด้านทิศใต้ปี พ.ศ. 2054 พระเมืองแก้ว กษัตริย์นครเชียงใหม่โปรดให้หุ้มบุองค์พระธาตุ ด้วยแผ่นทองจังโกฐ ที่เป็นแผ่นทองแดง และทรงให้ปิดทองทั้งหมดพร้อมๆ กับโปรดให้สร้างระเบียงหอก ทำด้วยทองเหลืองซึ่งสั่งทำจากเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นรั้วล้อมโดยรอบขององค์พระธาตุด้วย โปรดให้สร้างวิหารหลวงทางด้านทิศตะวันออกขององค์พระธาตุหริภุญชัยเป็นศิลปะล้านนา นอกจากนี้ยังสร้างกำแพงเมือง และขุดคูโดยรอบกำแพงเมืองใหม่ขึ้น เป็นการย่นย่อตัวเมืองหริภุญชัยให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเป็นการสะดวกที่จะดูแลรักษาองค์พระธาตุให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งในการสร้างกำแพงเมืองในครั้งนี้ทำให้วัดสี่มุมเมืองที่สำคัญและสร้างขึ้นในสมัยของพระนางจามเทวีกลายเป็นวัดนอกเมืองลำพูนไป ในปี พ.ศ. 2329 ในสมัยของพระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้มีพระราชศรัธทาตั้งฉัตรหลวงสี่มุม และยกฉัตรยอดเป็นทองคำเนื้อเจ็ด ฐานฉัตรกว้าง 1 เมตร พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาลตราบเท่าทุกวันนี้ Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย–เจ้าอาวาสวัดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

รายนามเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย
ปี พ.ศ. เจ้าอาวาสยุคต้น ๆ ไม่ปรากฏชัดเจน ต่อไปนี้เป็นรายนามเจ้าอาวาสของวัดพระธาตุหริภุญชัยทั้งหมด ดังต่อไปนี้

1. พระมหาราชโมฬีสารีบุตร พ.ศ. –
2. พระราชโมฬี พ.ศ. –
3. พระคัมภีร์ คมฺภีโร พ.ศ. –
4. พระวิมิลญาณมุนี พ.ศ. 2476 – 2486
5. พระครูจักษุธรรมประจิตร พ.ศ. 2486 – 2489
6. พระธรรมโมลี พ.ศ. 2489 – 2533
7. พระเทพมหาเจติยาจารย์ (หลวงพ่อไพบูลย์ ภูริวิปโล) พ.ศ. 2533 – 2556
8. พระราชปัญญาโมลี (รักษาการณ์ เจ้าอาวาส) ปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://www.hariphunchaitemple.org

. . . . . . .
. . . . . . .