Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

วัดชัยมงคล

82838

ที่อยู่ เลขที่ 321 บ้านวัดชัยมงคล
ถนนสุขุมวิท ตำบลท้ายบ้าน อำเภอเมืองฯ
จังหวัดสมุทรปราการ โทรศัพท์ 02-7025740
วัดชัยมงคล จัดเป็นวัดแห่งแรกในชุมชนคลองปากน้ำ
เดิมชาวเมืองเรียก “วัดมอญ” วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่มีอายุประมาณ
800 ปี สร้างในปี พ.ศ. 1893 สังเกตเป็นวัดมอญได้ที่โบสถ์
ซึ่งไม่ได้หันหน้าไปทางทิศตะวันออกอย่างวัดไทยทั่วไป
แต่จะหันโบสถ์ไปทางทิศเหนือ อันเป็นที่ตั้งของเมืองหงสาวดี
ซึ่งเป็นเมืองหลวงของชนชาวมอญในอดีต วัดแห่งนี้ในบางสมัย
เคยกลายเป็นวัดร้างเป็นเวลานาน จึงขาดการบันทึกประวัติ
ความเป็นมาที่ต่อเนื่อง

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

ความสำคัญของแหล่งศิลปกรรม :วัดชัยมงคล

วัดชัยมงคล ตั้งอยู่เลขที่ ๓๒๔ ถนนเทศบาล ๑๘ หมู่ที่ ๒ ตำบลปากน้ำ อำเภอเมืองสมุทรปราการ จังหวัดสมุทรปราการ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๒๔ ไร่ ๑ งาน ๒ ตารางวา
พื้นที่ตั้งวัด เป็นที่ราบลุ่มท่วมถึง ภายในวัดมีอาคารเสนาสนะต่าง ๆ ดังนี้ อุโบสถกว้าง ๗.๕๐ เมตร ยาว ๒๕.๑๕ เมตร ศาลาการเปรียญกว้าง ๑๕.๒๐ เมตร ยาว ๓๖.๕๐ เมตร กุฎีสงฆ์จำนวน ๓ หลัง เป็นอาคารไม้ มณฑป อาคารเรียนพระปริยัติธรรม หอระฆัง ฌาปนสถานสุสาน สำหรับปูชนียวัตถุพระประธานในอุโบสถ พระพุทธบาทจำลองประดิษฐานในมณฑปและเจดีย์ด้านหน้าอุโบสถมี ๓ องค์
วัดชัยมงคล สร้างขึ้นสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย ต่อกับสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นประมาณ พ.ศ. ๑๘๙๓ จากหลักฐานที่กรมศิลปากรสำรวจและขึ้นทะเบียนโบราณวัตถุของวัดไว้พระราชทานวิสุงคามสีมาถือว่าได้รับพระราชทานมาแต่เดิมประมาณ พ.ศ. ๑๘๙๓ ในด้านการศึกษาวัดชัยมงคลสนับสนุนให้พระภิกษุสามเณรได้ ศึกษาพระปริยัติธรรมมีอาคารเรียน ๑ หลัง

ขอขอบคุณ http://www.onep.go.th/

วัดทรงธรรมวรวิหาร อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ

800px-Wat_Song_Tham_Woraviharn_2

ตั้งอยู่ถนนทรงธรรม เลยจากวัดโปรดเกศเชษฐาราม ประมาณ 200 เมตร เป็นวัดเก่าแก่ในพุทธศาสนารามัญนิกาย สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีกุฏิและพระอุโบสถเป็นเครื่องไม้ฝากระดาน ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าวัดชำรุดทรุดโทรมมากจึงโปรดฯ ให้พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) รื้อกุฏิมาสร้างเป็นหมู่เดียวกัน ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท มีพระรามัญเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะรามัญ พระวิหารก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้สัก ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง

ขอขอบคุณ http://www.annaontour.com/

วัดทรงธรรมวรวิหาร

download

วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นวัดรามัญแห่งแรกของพระประแดง สร้างในสมัยรัชกาลที่ 2 และได้รับการบูรณะอย่างต่อเนื่อง เป็นวัดที่พระมหากษัตริย์ แห่งพระบรมราชจักรีวงศ์แทบทุกรัชกาลได้เสร็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐินด้วยพระองค์เอง

วัดแห่งนี้จัดเป็นวัดรามัญเก่าแก่ที่สร้างขึ้นพร้อมเมืองนครเขื่อนขันธ์ เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวมอญ นับแต่อดีตกระทั่งถึงปัจจุบัน ภายในวัดยังคงรูปแบบศิลปกรรมมอญอย่างชัดเจน โดยเฉพาะพระเจดีย์ รามัญเจดีย์องค์ใหญ่ ยอดฉัตรทอง ภายในบรรจุพระพุทธรูปปางสุโขทัย ฐานทั้งสี่มุมล้อมรอบด้วยเจดีย์องค์เล็กแบบรามัญ

พระวิหารประดับลวดลายปูนปั้น มีช่อฟ้า ใบระกา พระประจำวิหารคือพระพุทธทรงธรรมพระพุทธรูปสมันสุโขทัยทำจากไม้ ซึ่งทางวัดได้รับพระราชทานจากรัชกาลที่ 2 นอกจากนี้ ภายในยังประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง พัดรัตนาภรณ์ประจำ รัชกาลที่ 6 และรัชกาลที่ 7

พระอุโบสถสร้างในสมัยรัชกาลที่ 3 เป็นพระอุโบสถ ก่ออิฐถือปูด ช่อฟ้าและใบระกาทำด้วยไม่สัก ลักษณะเด่น คือ มีเสากลมคู่ขนาดใหญ่รอบพระอุโบสถ ถึง 56 ต้น หน้าบันประดับลายปูนปั้น ที่นี่เคยเป็นสถานที่ถือน้ำพิพัฒน์สัตยาของข้าราชการในพระประแดง พระประธานเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ซึ่งรัชกาลที่ 5 โปรดให้อัญเชิญจากกรุงเทพ ฯ มาประดิษฐานเมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินมาทอดผ้าพระกฐิน

Read more »

วัดทรงธรรมวรวิหาร

180

วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โดยกรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงสร้างพร้อมกับสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ระหว่าง พ.ศ. 2357-2358 พระอุโบสถเป็นเครื่องไม้ฝากระดาน และได้รับการปฏิสังขรณ์ในรัชกาลที่ 4

สถานที่ตั้งวัดเดิมอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ประมาณ 12 เส้น เมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดให้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิพลเสพ เป็นแม่กองมาสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์เพิ่มเติมใน พ.ศ. 2363 และได้สร้างป้อมขึ้นใหม่อีกป้อมหนึ่ง คือ “ป้อมเพชรหึง” ในที่ดินซึ่งเป็นอาณาเขตของวัดทรงธรรม และโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายวัดเข้ามาอยู่ด้านในกำแพงป้อม การย้ายครั้งนี้ได้สร้างศาลาการเปรียญและกุฏิขึ้น 3 คณะ กล่าวกันว่า ศาลาการเปรียญหลังนี้เคยเป็นศาลาทรงธรรม ของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ 2 และ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ในรัชกาลที่ 3 เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาถวายผ้าพระกฐินได้ทอดพระเนตรเห็นวัดชำรุดทรุดโทรมมาก จึงโปรดให้พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จั้ว คชเสนีย์) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในขณะนั้น จัดการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยรื้อกุฏิทั้ง 3 คณะ มาสร้างรวมกันเป็นหมู่เดียว

Read more »

วัดทรงธรรมวรวิหาร สมุทรปราการ

วัดทรงธรรมวรวิหาร สมุทรปราการ

1297316958

สถานที่ตั้งวัดเดิมอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ประมาณ ๑๒ เส้น เมื่อกรมพระราชวังบวรสถานมงคลสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้โปรดให้ พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิพลเสพ เป็นแม่กองมาสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์เพิ่มเติมใน พ.ศ. ๒๓๖๓ และได้สร้างป้อมขึ้นใหม่อีกป้อมหนึ่ง คือ “ป้อมเพชรหึง” ในที่ดินซึ่งเป็นอาณาเขตของวัดทรงธรรม และโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายวัดเข้ามาอยู่ด้านในกำแพงป้อม การย้ายครั้งนี้ได้สร้างศาลาการเปรียญและกุฏิขึ้น ๓ คณะ กล่าวกันว่า ศาลาการเปรียญหลังนี้เคยเป็นศาลาทรงธรรม ของพระบาทสมเด็จ
พระเจ้าอยู่หัวในรัชกาลที่ ๒ และ กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จมาถวายผ้าพระกฐินได้ทอดพระเนตรเห็นวัดชำรุดทรุดโทรมมาก จึงโปรดให้พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จั้ว คชเสนีย์) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในขณะนั้นจัดการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยรื้อกุฏิทั้ง ๓ คณะ มาสร้างรวมกันเป็นหมู่เดียว

Read more »

พระประแดง … เที่ยวชมวัดมอญ .. วัดทรงธรรมวรวิหาร

Soongtham01

วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชั้นวรวิหาร เป็นวัดรามัญมาตั้งแต่เดิม สร้างขึ้นในสมันรัชกาลที่ 2 โดยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์) ทรงสร้างพร้อมกับการสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ มีกุฎิ และพระอุโบสถเป็นเครื่องไม้ฝายกกระดาน เมื่อปี พ.ศ. 2357 – 2358 อยู่ห่างจากฝั่งเจ้าพระยาประมาณ 2 เส้น
หลังจากกรมพระยาบวรสถานมงคล เสด็จสวรรคต เมื่อปี พ.ศ. 2360 สมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย โปรดเกล้าให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ เป็นแม่กองสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์เพิ่มเติม ได้สร้างป้อมขึ้นใหม่ คือ “ป้อมเพชรหึงษ์” โดยใช้บริเวณวัดทรงธรรม จึงโปรดเกล้าให้ย้ายวัดทรงธรรมมมาอยู่ในกำแพงป้อม ทำให้ได้กุฎิเป็น 3 คณะ
ต่อมา ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าวัดชำรุดทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าให้พระยาดำรงด์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) รื้อกุฎิทั้ง 3 คณะ มาสร้างรวมเป็นหมู่เดียวกัน
ครั้นขึ้นปีมะเส็ง พ.ศ. 2400 (จ.ศ. 1217) เป็นปีที่ 7 ในรัชสมัยของพระบามสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนชื่อวัดทรงธรรม เมืองนครเขื่อนขันธ์ว่า “วัดดำรงด์ราชธรรม” ต่อมาภายหลังกลับมาใช้ชื่อ “วัดทรงธรรม” เมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน

เจดีย์ตามแบบรามัญ เป็นแบบ 3 ชั้น ชั้นบนห้าวงสตรีขึ้นไปศักการะ ไม่ได้ถามไถ่ถึงเหตุผล แต่เห็นได้ในหลายๆวัดที่เคร่งครัด
แต่ละชั้นมีพระพุทธรูบปางต่างๆประดับประดาอยู่ ไม่ทราบถึงความเชื่อว่าแต่ละชั้นมีความหมายอย่างไร
Read more »

วัดทรงธรรมวรวิหาร อ.พระปะแดง จ.สมุทรปราการ

viharn

ตั้งอยู่ที่อำเภอพระประแดง เป็นวัดเก่าแก่ในพุทธศาสนารามัญนิกาย สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท มีพระรามัญเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะรามัญ พระวิหารก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้สัก ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

วัดทรงธรรมวรวิหาร อำเภอพระประแดง

วัดทรงธรรมวรวิหาร_1410503292

ตั้งอยู่ถนนทรงธรรม เลยจากวัดโปรดเกศเชษฐาราม ประมาณ 500 เมตร เป็นวัดเก่าแก่ในพุทธศาสนารามัญนิกาย สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในสมัยรัชกาลที่ 2 มีกุฏิและพระอุโบสถเป็นเครื่องไม้ฝากระดาน ต่อมาในรัชกาลที่ 3 ทรงเห็นว่าวัดชำรุดทรุดโทรมมากจึงโปรดฯ ให้พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) รื้อกุฏิมาสร้างเป็นหมู่เดียวกัน ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท
มีพระรามัญเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะรามัญ พระวิหารก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้สัก ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลองประดับมุก

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

พิพิธภัณฑ์วัดทรงธรรมวรวิหาร | พระประแดง สมุทรปราการ

579270_434037203287672_1170595538_n

วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท และเป็นวัดเก่าแก่ ในพุทธศาสนานิกายรามัญ สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยทรงโปรดเกล้าให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคล

ประวัติความเป็นมา
วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท และเป็นวัดเก่าแก่ ในพุทธศาสนานิกายรามัญ สร้างขึ้นพร้อมกับเมืองนครเขื่อนขันธ์ ในรัชกาล พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 โดยทรงโปรดเกล้าให้กรมพระราชวังบวรสถานมงคล หรือวังหน้า เป็นแม่กองในการก่อสร้าง ราวปี พ.ศ. 2358 เพื่อเป็นศิริมงคลแก่บ้านเมืองตามโบราณราชประเพณี โดยอยู่ทางฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณโรงเรียนอำนวยวิทย์ในปัจจุบัน ซึ่งต่อมาเมื่อมีการบูรณะปฏิสังขรค่ายคูประตูเมือง ซึ่งได้มีการสร้างป้อมเพชรหึง ซึ่งปัจจุบันคือบริเวณหน้าบ้านแซ่ โรงเรียนอำนวยวิทย์ และสถานสังเคราะห์คนทุพพลภาพ เมื่อสร้างเสร็จจึงได้โปรดเกล้าให้รื้อวัดทรงธรรมที่สร้างไว้เดิม ไปปลูกสร้างไว้ภายในป้อม และได้ทำการก่อสร้างถาวรวัตถุต่าง ๆ เพิ่มเติม
สภาพปัจจุบันของวัดทรงธรรมวรวิหาร มีอาณาเขตค่อนข้างกว้างขวาง เนื่องจากในรัชกาลพระบาทสมเด็จพระมงกุฎเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 6 ทรงโปรดเกล้าให้ยุบวัดกลางนา ซึ่งอยู่ในบริเวณใกล้เคียงรวมเข้ากับวัดทรงธรรม

Read more »

วัดทรงธรรมวรวิหาร อำเภอพระประแดง จ.สมุทรปราการ

วัดทรงธรรมวรวิหาร อำเภอพระประแดง จ.สมุทรปราการตั้งอยู่ถนนทรงธรรม เลยจากวัดโปรดเกศเชษฐาราม ประมาณ 1 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรวิหาร วัดนี้สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ ๒ โดยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล ทรงสร้างพร้อมกับการสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ ทั้งนี้คงมีพระประสงค์ให้เป็นวัดรามัญ สำหรับชาวรามัญที่ได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายครอบครัวจากจังหวัดปทุมธานี มาอยู่ที่นี่ แต่เดิมที่ทรงสร้างขึ้นนั้น เป็นกุฏิสร้างด้วยไม้พระอุโบสถก็เป็นเครื่องไม้ฝากระดาน

สถานที่ตั้งวัดเดิมอยู่ห่างจากแม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตกประมาณ 2 เส้น (ปัจจุบันเป็นที่ตั้งโรงเรียนอำนวยวิทย์) หลังจากกรมพระราชวังบวรสถานมงคลเสด็จสวรรคตเมื่อ พ.ศ.2360 แล้วพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ได้ทรงโปรดให้พระเจ้าน้องยาเธอกรมหมื่นศักดิพลเสพเป็นแม่กองมาสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์เพิ่มเติม ในครั้งนั้นได้ทรงสร้างป้อมขึ้นใหม่อีกป้อมหนึ่งคือ “ป้อมเพชรหึง” โดยใช้อาณาบริเวณวัดทรงธรรมจากนั้นจึงโปรดให้ย้ายวัดทรงธรรมมาอยู่ในกำแพงป้อม บัดนี้กำแพงป้อมส่วนหนึ่งเป็นที่ตั้งของสถานสงเคราะห์คนทุพพลภาพและโรงเรียนอำนวยวิทย์ การย้ายวัดเข้ามาอยู่ในที่แห่งใหม่นี้ ทำให้ได้กุฏิเป็น 3 คณะ คือบริเวณวิหารปัจจุบัน 1 คณะ ข้างพระอุโบสถ 1 คณะ และต่อจากคณะที่ 2 อีก 1 คณะ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ ๓ พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เสด็จพระราชดำเนินมาทรงทอดพระกฐิน ทรงทอดพระเนตรเห็นวัดชำรุดทรุดโทรมมาก จึงรับสั่งให้พระยาดำรงราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) ซึ่งเป็นเจ้าเมืองในขณะนั้นเป็นหัวหน้าทำการปฏิสังขรณ์ การปฏิสังขรณ์ในครั้งนั้น ได้รื้อกุฏิทั้งสามคณะมาสร้างรวมกันเป็นหมู่เดียว

Read more »

วัดทรงธรรมวรวิหาร

800px-Wat_Song_Tham_Woraviharn_2

วัดทรงธรรมวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชั้นวรวิหาร ตั้งอยู่ที่อำเภอพระประแดง จังหวัดสมุทรปราการ เป็นวัดในพุทธศาสนารามัญนิกาย สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยสมเด็จพระอนุชาธิราช กรมพระราชวังบวรสถานมงคล (กรมพระราชวังบวรมหาเสนานุรักษ์) โปรดให้สร้างขึ้นพร้อมการสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์ พระอุโบสถเป็นเครื่องไม้ฝายกกระดาน มีพระรามัญเจดีย์องค์ใหญ่ ศิลปะรามัญ พระวิหารก่ออิฐถือปูน มีช่อฟ้าใบระกาทำด้วยไม้สัก ภายในประดิษฐานพระพุทธบาทจำลอง

ต่อมาในปี พ.ศ. 2360 รัชกาลที่ 2 โปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าน้องยาเธอ กรมหมื่นศักดิพลเสพย์ ซึ่งเป็นแม่กองสร้างเมืองนครเขื่อนขันธ์เพิ่มเติม สร้างป้อม “ป้อมเพชรหึงษ์” ในบริเวณวัดทรงธรรม จากนั้นโปรดเกล้าให้ย้ายวัดทรงธรรมมมาอยู่ในกำแพงป้อม มีกุฏิเป็น 3 คณะ ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯ ให้พระยาดำรงค์ราชพลขันธ์ (จุ้ย คชเสนี) รื้อกุฏิทั้ง 3 คณะ แล้วสร้างรวมเป็นหมู่เดียว ครั้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ทรงเปลี่ยนชื่อวัดทรงธรรม เป็น “วัดดำรงค์ราชธรรม” แต่ต่อมาเปลี่ยนชื่อกลับเป็น “วัดทรงธรรม” แต่ไม่ปรากฏว่าเมื่อใด

สถาปัตยกรรมและศิลปกรรม
ลักษณะสถาปัตยกรรม พระอุโบสถเป็นก่ออิฐ ฉาบปูน เสาพระอุโบสถเป็นเสากลมคู่ รับส่วนปีกของชานพระอุโบสถ มีเสา 56 ต้น พระเจดีย์องค์ใหญ่เป็นแบบรามัญอยู่ตรงกลาง และมีเจดีย์องค์เล็กอยู่ที่ฐาน 4 องค์ เจดีย์องค์ใหญ่กว้าง 10 วา 2 ศอก สูงถึงยอดฉัตร 11 วา 3 ศอก เจดีย์องค์เล็ก กว้าง 5 ศอกสูง 3 วา 1 ศอก บรรจุพระเครื่อง 25 พุทธศตวรรษไว้    พระประธานเป็นพระพุทธรูปสมัยสุโขทัย ปางมารวิชัย

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

ประวัติความเป็นมาวัดโปรดเกศเชษฐาราม

วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นอารามหลวงชั้นตรี อยู่ ตรงข้ามกับวัดไพชยนต์พลเสพ ผู้สร้างวัดนี้ คือพระยาเพชรพิไชย (เกตุ) ผู้ เป็นต้นสกุล “เกตุทัต” ซึ่งเป็นบุตรของพระ ยาเพชรพิไชย (หง) ผู้เป็นต้นสกุล ” หงสกุล” สร้างเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. ๒๓๖๕ ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดปาก คลอง” เพราะอยู่ใกล้กับปากคลองลัดหลวง

วัดนี้ได้รับพระราชทานชื่อว่าอะไร เมื่อ ไร ไม่มีหลักฐานยืนยัน นอกจากสันนิษฐานว่า คงจะเป็นในสมัยรัชกาลที่ ๓ เพราะการ สร้างวัดในสมัยนั้นเป็นพระราชนิยมอย่างยิ่ง จนมีคำกล่าวว่า “พระเจ้าแผ่นดินรัช กาลที่ ๑ ทรงโปรดคนเป็นนักรบ รัชกาล ที่ ๒ ทรงโปรดคนเป็นกวี รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดคนสร้างวัด” สมัยนั้นจึงมีคน นิยมสร้างวัดกันเป็นจำนวนมาก วัดใดที่สร้าง อยู่ในเกณฑ์ก็ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง วัดโปรดเกศฯก็คงเป็นพระอารามหลวงในยุค นั้น ส่วนชื่อวัดคงยังหาหลักฐานไม่ได้ ว่าได้รับพระราชทานเมื่อไร ชื่อวัดจึง มีการเขียนขึ้นหลายแบบ เช่น วัดโปรดเกตุเชษฐาราม

เรื่องการเขียนชื่อวัดนี้ คงจะเขียนขึ้นตาม ความเข้าใจโดยยึดในความหมายที่ว่า ผู้ สร้างวัดนี้เป็นพระพี่เลี้ยง คำว่า “เชฏฐ ” เป็นชื่อของเดือน ๗ ตามจันทรคติและยังแปล ว่า “พี่” หรือ “ผู้เจริญที่สุด” ตามภาษาบาลี ภาษาไทยเขียนว่า “เชษฐ” หรือ “เชษฐา”

ในการก่อสร้างวัดโปรดเกศฯครั้งแรก ปรากฏว่า มีเพียงพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ พระเจดีย์ใหญ่ ๒ องค์ และหอระฆัง และเสนาสนะ ที่อยู่ของ สงฆ์อีกสองคณะ ภายในบริเวณพระอุโบสถและพระ วิหารปูด้วยกระเบื้องหน้าวัว ในบริเวณระหว่างพระอุโบสถกับ พระวิหารก็ปูกระเบื้องหน้าวัวทั้งสิ้น มีแท่นสำหรับ นั่งเล่นสามแท่น ก่ออิฐ ถือปูน พื้นปูด้วย หินอ่อน ส่วนมณฑปนั้นทราบว่ายังสร้างไม่เสร็จ และคงจะสำเร็จในยุคต่อมา

Read more »

วัดโปรดเกศเชษฐารามสำนักปฏิบัติธรรมประจำ จ.สมุทรปราการ

e9i8hcbceghighaf8566i

สายน้ำเปลี่ยนใจปลา วิปัสสนาเปลี่ยนใจคน ใจว่างเป็นบุญ ใจวุ่นเป็นบาป พูดคำหยาบเป็นอันตราย”
ที่กล่าวมาข้าต้านเป็นคำขวัญของสำนักปฏิบัติธรรม ประจำจังหวัดสมุทรปราการ แห่งที่ ๙ วัดโปรดเกศเชษฐาราม ต.ทรงคนอง อ.พระประแดง จ.สมุทรปราการ จัดตั้งเมื่อวันที่ ๘ มิถุนายน ๒๕๔๙ โดยมีพระครูวิสิฐธรรมรส หรือ “หลวงลุงสม” (อายุ ๗๔ พรรษาที่ ๕๔) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดโปรดเกศเชษฐาราม และเจ้าสำนักปฏิบัติธรรม รวมทั้งรับหน้าที่ในการสอน ส่งเสริม และเผยแผ่พระพุทธศาสนา และกิจกรรมทางพระพุทธศาสนาของทางวัด

วัดโปรดเกศเชษฐารามเป็นอารามหลวงชั้นตรี อยู่ตรงข้ามกับวัดไพชยนต์พลเสพย์ ผู้สร้างวัดนี้ คือพระยาเพชรพิไชย (เกตุ) ผู้เป็นต้นสกุล “เกตุทัต” ซึ่งเป็นบุตรของพระยาเพชรพิไชย (หง) ผู้เป็นต้นสกุล “หงสกุล” สร้างเมื่อปีมะเมีย พ.ศ.๒๓๖๕ ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดปากคลอง” เพราะอยู่ใกล้กับปากคลองลัดหลวง

หลวงลุงสม บอกว่า ในสมัยนี้วัดเป็นที่นิยมในการศึกษาหาความรู้ของชาวบ้านและเป็นหลายๆ อย่างที่ชาวบ้านต้องการเช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ศาลสถิตยุติธรรม วัดโปรดเกศฯ ก็มีพร้อมทุกประการ พระสงฆ์มีหน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องต่างๆ กัน เช่น พระต้องเป็นหมอรักษาโรคทางใจ คือสอนธรรมะ รักษาโรคทางกาย คือหมอยาแผนโบราณ นอกจาก นี้ยังเป็นหมอดูรักษาศรัทธาและความสบายใจแก่ชาวบ้าน เช่น เป็นผู้ให้ฤกษ์ยาม เป็นผู้พิพากษาคดีเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น

สำนักปฏิบัติธรรมวัดโปรดเกศเชษฐาราม ได้ดำเนินการสอนธรรมปฏิบัติ ตามแนวมหาสติปัฏฐานสูตรมาโดยตลอด นับตั้งแต่ปี พ.ศ.๒๕๔๙ จนถึงปัจจุบัน มีผู้ปฏิบัติธรรมเพิ่มขึ้นเป็นจำนวนที่น่าพอใจทุกปี และในการปฏิบัติธรรมตามโครงการต่างๆ ที่ทางสำนักปฏิบัติธรรมวัดโปรดเกศเชษฐาราม จัดทำขึ้น ก็มีผู้สนใจเข้าร่วมโครงการ ที่มาจากนอกพื้นที่อารามเพิ่มขึ้นเป็นที่น่าพอใจทุกครั้งทุกโครงการเช่นปฏิทินการเข้าปฏิบัติธรรม

ทั้งนี้ หลวงลุงสมอธิบายให้ฟังว่า การกำหนดรู้ธรรมารมณ์ (ธมฺมานุปสฺสนาสติปฏฺฐาน) ธรรมารมณ์ หมายถึง สิ่งที่จิตรู้หรือสิ่งที่มาประกอบกับจิต ปรุงแต่งจิต เมื่อเรียกให้ตรงกับสภาวะของนักปฏิบัติก็ได้แก่สภาวธรรม ซึ่งนักปฏิบัติควรเอาใจใส่เฝ้าดูและกำหนดรู้ให้ทันปัจจุบัน โดยอาศัยความเพียรมีสติระลึกรู้อยู่ทุกขณะดังนี้
Read more »

วัดโปรดเกศเชษฐาราม Wat Prod Ket Chedtharam

 

watprotket

วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2363 มีลักษณะเป็นโบราณสถานที่มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมของชาวต่างชาติ (ทั้งตะวันออกและตะวันตก)

พระอุโบสถมุงหลังคาด้วยกระเบื้องมอญเก่า ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีศิลปะปูนปั้นลายเครือเถา ประดับลายคราม

ประวัติความเป็นมา
วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2363 โดยโปรดเกล้า ให้กรมหมื่นภักดิ์พลเสพ เป็นแม่กองสร้างเมืองและป้อมต่างๆ ของเมืองนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งในคราวนั้น เมื่อได้สร้างเมืองและป้อมต่าง ๆ เรียบร้อย กรมหมื่นภักดิ์พลเสพ ได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งทางด้านตะวันตกของเมือง และขอพระราชทานนามว่า วัดไพรยนต์พลเสพ ขณะที่พระยาเพชรพิชัย (เทศ) นายงานสร้างเมืองในครั้งนี้ ได้ขออนุญาตสร้างวัดอีกวัดหนึ่งคนละฝากฝั่งคลอง เมื่อสร้างเสร็จได้พระราชทานนามว่า วัดโปรดเกศเชษฐาราม ซึ่งแต่เดิม ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดปากคลอง” เนื่องจากอยู่ทิศ
เหนือของคลอง

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .