Archive for the ‘วัดในลำพูน’ Category

วัดพระธาตุหริภุญชัย สักการะพระธาตุประจำปีไก่ แห่งเมืองลำพูน

 

hariphunchai-temple05

ในแต่ละปีซึ่งหมุนเวียนไปตามปีนักษัตร เรามักจะได้ยินคำเชิญชวนให้ไปไหว้พระธาตุประจำปีนักษัตรนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล ยิ่งถ้าหากเป็นบุคคลที่เกิดในปีนักษัตรนั้นก็ยิ่งสมควรหาโอกาสไปสักการะให้ ได้ซักครั้ง ซึ่งความเชื่อเรื่องการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดนั้น เป็นคติความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนาที่สืบทอดกันมายาวนาน ด้วยมีความเชื่อแต่โบราณว่า ก่อนที่วิญญาณจะมาเกิดในครรภ์มารดานั้น ดวงวิญญาณจะมาพักอยู่ที่เจดีย์ โดยมี “ตัวเปิ้ง” หรือสัตว์ประจำนักษัตรพามาพักไว้ เมื่อได้เวลาดวงวิญญาณจึงเคลื่อนจากพระเจดีย์ไปสถิตอยู่บนกระหม่อมของบิดา แล้วจึงเคลื่อนสู่ครรภ์มารดา และเมื่อเราสิ้นอายุขัยลง ดวงวิญญาณจะกลับไปสถิตอยู่ที่พระธาตุเจดีย์ตามปีเกิดนั้นๆ ตามเดิม ดังนั้นในช่วงชีวิตหนึ่งเราควรหาโอกาสไปกราบไหว้พระธาตุประจำปีเกิดให้ได้ ซักครั้งในชีวิต ซึ่งครั้งนี้เราจะพาผู้ที่มีปีนักษัตรตรงกับ “ปีระกา” ไปเสริมสิริมงคลกันที่ “วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร” กัน Read more »

โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดพระธาตุหริภุญชัย

พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสัณฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ. 1951 โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ พ.ศ. 1990 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับพระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น 92 ศอก กว้างยาวขึ้น 52 ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมวัดพระธาตุหริภุญชัย

ฐานปัทม์แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้นรับฐานบัวซึ่งมีลักษณะคล้าย มาลัยเถาสามชั้นซึ่งตั้งรับองค์ระฆังกลม องค์ระฆังประดับด้วยลวดลายดอกไม้สี่กลีบระหว่างลายดอกไม้สี่กลีบนั้นมีการดุนนูนเป็นภาพพระพุทธรูป รอบองค์ระฆังซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ย่อมุม ส่วนบนเป็นปล้องไฉน ปลียอดเหนือสุดทำเป็นฉัตรเก้าชั้น นอกจากนี้พระเจ้าติโลกราช ได้โปรดให้ก่อกำแพงโดยรอบเขตพุทธาวาสเพื่อเป็นการป้องกันรักษาองค์พระธาตุอีกชั้นหนึ่ง ทั้งยังทรงให้ก่อสร้างซุ้มประตูโขงประดับด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงามทางประตูด้านทิศตะวันออกหน้าวิหารหลวงทางทิศเหนือและทางทิศใต้และ ทิศตะวันตก ปัจจุบันคงเหลือแต่ซุ้มประตูโขง ทางทิศตะวันออก และทางด้านทิศใต้ปี พ.ศ. 2054 พระเมืองแก้ว กษัตริย์นครเชียงใหม่โปรดให้หุ้มบุองค์พระธาตุ ด้วยแผ่นทองจังโกฐ ที่เป็นแผ่นทองแดง และทรงให้ปิดทองทั้งหมดพร้อมๆ กับโปรดให้สร้างระเบียงหอก ทำด้วยทองเหลืองซึ่งสั่งทำจากเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นรั้วล้อมโดยรอบขององค์พระธาตุด้วย โปรดให้สร้างวิหารหลวงทางด้านทิศตะวันออกขององค์พระธาตุหริภุญชัยเป็นศิลปะล้านนา นอกจากนี้ยังสร้างกำแพงเมือง และขุดคูโดยรอบกำแพงเมืองใหม่ขึ้น เป็นการย่นย่อตัวเมืองหริภุญชัยให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเป็นการสะดวกที่จะดูแลรักษาองค์พระธาตุให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งในการสร้างกำแพงเมืองในครั้งนี้ทำให้วัดสี่มุมเมืองที่สำคัญและสร้างขึ้นในสมัยของพระนางจามเทวีกลายเป็นวัดนอกเมืองลำพูนไป ในปี พ.ศ. 2329 ในสมัยของพระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้มีพระราชศรัธทาตั้งฉัตรหลวงสี่มุม และยกฉัตรยอดเป็นทองคำเนื้อเจ็ด ฐานฉัตรกว้าง 1 เมตร พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาลตราบเท่าทุกวันนี้ Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย–เจ้าอาวาสวัดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

รายนามเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย
ปี พ.ศ. เจ้าอาวาสยุคต้น ๆ ไม่ปรากฏชัดเจน ต่อไปนี้เป็นรายนามเจ้าอาวาสของวัดพระธาตุหริภุญชัยทั้งหมด ดังต่อไปนี้

1. พระมหาราชโมฬีสารีบุตร พ.ศ. –
2. พระราชโมฬี พ.ศ. –
3. พระคัมภีร์ คมฺภีโร พ.ศ. –
4. พระวิมิลญาณมุนี พ.ศ. 2476 – 2486
5. พระครูจักษุธรรมประจิตร พ.ศ. 2486 – 2489
6. พระธรรมโมลี พ.ศ. 2489 – 2533
7. พระเทพมหาเจติยาจารย์ (หลวงพ่อไพบูลย์ ภูริวิปโล) พ.ศ. 2533 – 2556
8. พระราชปัญญาโมลี (รักษาการณ์ เจ้าอาวาส) ปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://www.hariphunchaitemple.org

วัดพระธาตุหริภุญชัย–ยุครัตนโกสินทร์สู่ปัจจุบัน

ยุครัตนโกสินทร์
ในช่วงก่อนหน้านั้น วัดกลายเป็นวัดร้างไปชั่วระยะหนึ่งเนื่องจากกษัตริย์ในยุคนั้น ๆ มัวยุ่งอยู่กับการทำศึกกับพม่า และล้านนาไทยก็เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกพม่าและมอญ ร่วม 200 กว่าปี

จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. 2317 พระเจ้ากาวิละ ได้ยึดอาณาจักรล้านนาไทยกลับคืนมาจากพม่า และในปี พ.ศ. 2348 พระเจ้ากาวิละ ได้ทรงสถาปนา พระอนุชาของพระองค์ทั้ง 2 คือ คำฟั่นและบุญมา ขึ้นเป็นพระยาคำฟั่น ครองเมืองลำพูนเป็นองค์แรก ส่วนองค์เล็กเป็นเจ้าบุญมาทำหน้าที่เป็นพระอุปราช และเจ้าทั้งสองได้ช่วยกันบูรณะและพัฒนาวัดพระธาตุหริภุญชัยให้เจริญและมั่นคง

องค์พระบรมธาตุหริภุญชัยมีรั้วทองเหลืองล้อมรอบ ๒ ชั้นทั้งสี่ด้าน รั้วดั้งเดิมนั้น พระเมืองแก้วโปรดให้นำมาจากเมืองเชียงแสน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๙ พระเจ้ากาวิละได้มา บูรณะใหม่พร้อมกับให้ สร้างฉัตรหลวงตั้งไว้ที่มุมทั้งสี่ของรั้วที่ล้อมองค์พระธาตุ

ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ พระเจ้ากาวิละได้พร้อมใจกับน้องของท่านทุกคนได้ร่วมกันสร้าง หอยอประจำทิศทั้ง ๔ ด้าน และได้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งเพื่อประดิษฐานไว้ในวิหาร ด้านเหนือพระธาตุเป็นพระ พุทธรูปปางอุ้มบาตรให้ชื่อว่า พระละโว้

Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย–สมัยนครหริภุญชัย

จากเขตพระราชฐานเป็นเขตพุทธาวาส

กาลเวลาล่วงมาจนถึงปีจุลศักราช 238 พระพุทธศาสนาล่วงไปได้ 1,420 ปี ณ อาณาบริเวณที่เป็นวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ในปัจจุบันนี้ เมื่อครั้งนั้น เป็นเขตพระราชฐานแห่งพระเจ้าอาทิตยราชองค์ที่ 30 กษัตริย์ผู้ครองเมืองหริภุญชัยในสมัยนั้น พระองค์โปรดให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรเป็นที่ประทับ ครั้นเสร็จแล้วพระองค์ก็เข้าประทับอยู่ภายในปราสาทราชมณเฑียรแห่งนั้น วันหนึ่งพระองค์จะเสด็จไปสู่วสัญชนฐาน(ห้องน้ำ) ปรากฏมีกาตัวหนึ่งได้บินโฉบลงมาเป็นทำนองกันไม่ให้พระองค์เข้าไปถึงฐานนั้นได้ ด้วยความกริ้วพระองค์จึงต้องย้ายไปใช้ฐานอื่น และทรงมีกระแสรับสั่งให้จับกาตัวการนั้นมาฆ่าเสีย แต่เทวดาได้ดลใจให้อำมาตย์ ผู้หนึ่งทัดทานไว้เพราะสงสัยในพฤติการณ์ของกานั่นเอง คืนนั้นยามใกล้รุ่ง เทวดาผู้รักษาพระเกสธาตุได้สำแดงฤทธิ์มาในพระสุบินถวายคำแนะนำให้พระองค์นำทารกมาอยู่กับกา ๗ วัน และอยู่กับคน ๗ วัน เป็นเวลา ๗ ปี เมื่อถึงเวลานั้นเด็กก็จะสามารถแปลภาษากาให้คนได้รับทราบเหตุการณ์อันเป็นปริศนานั้นได้โดยชัดแจ้ง
พระเจ้าอาทิตยราชจึงทรงทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระเกสธาตุโดยละเอียด พระเจ้าอาทิตยราชจึงโปรดให้เชิญ พระยากาเผือกมาสู่ ปราสาทแห่งพระองค์ โดยพระองค์โปรดให้จัดสถานที่สำหรับต้อนรับพระยากาเผือกอย่างสมฐานะพระยาแห่งกาทั้งปวง พระยากาเผือกจึงเล่า ความเป็นมาถวายทุกประการ พระเจ้าอาทิตยราชทรงมีพระราชหฤทัยอภิรมย์ยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้รื้อ ราชมณเฑียรทั้งปวงออกไป จากสถานที่แห่งนั้นจนหมดสิ้น แล้วโปรดให้ปรับพื้นที่อันเป็นมงคลนั้นให้เรียบงามตา พระองค์โปรดให้ พระสงฆ์สวดพระปริตตมงคล เพื่ออาราธนาพระบรมธาตุให้ออกมาปรากฏ พระธาตุเจ้าจึงสำแดงฤทธาภินิหารโผล่ขึ้นมาพ้นแผ่นดิน ทั้งโกศแก้วลอยขึ้นไปในอากาศ สูงเท่าต้นตาล พระบรมธาตุได้เปล่งฉัพพัณรังสีเจิดจ้าไปทั่วนครหริภุญชัยเป็นเวลา ๗ เวลา ๗ คืน แล้วจึงลอยลงมาประดิษฐานบนแผ่นดิน ดังเดิม พระเจ้าอาทิตยราชโปรดให้ขุดเอาโกศบรรจุพระธาตุขึ้นมา แต่ทว่ายิ่งขุดโกศนั้นก็ยิ่งจมลงไป พระองค์จึงต้องบูชาอาราธนาพระธาตุ จึงได้ยอมลอยขึ้นมาสูงจากพื้นดินถึง ๓ ศอก พระองค์จึงให้สั่งรื้อถอนปราสาทราชมณเฑียรทั้งหมดออกไปตั้งราชสำนัก ณ ที่อื่น Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย–สมัยพระพุทธกาล

พระดำรัสพยากรณ์ของพระพุทธเจ้า

ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมาบิณฑบาตยังชัยภูมิแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวเม็ง หรือ มอญ เมื่อรับบิณฑบาตแล้ว ก็ได้เสด็จ เลียบฝั่งแม่น้ำระมิงค์ขึ้นมาทางทิศเหนือจนถึงสถานที่แห่งหนึ่งพระพุทธเจ้าจึงทรงหยุดพัก ประทับอยู่บนหินก้อนหนึ่ง และทรงวางบาตรไว้ด้านข้าง ขณะนั้นมี พญาชมพูนาคราชและพญากาเผือก ได้มาปรนนิบัติและอุปฐากพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด และได้มีชาวลั๊วะผู้หนึ่งได้นำเอาลูกสมอมาถวายพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ได้เสวยลูกสมอนั้นแล้ว จึงทรงทิ้งขว้างเมล็ดลูกสมอเหล่านั้นลงบนพื้นดินพร้อมกับตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “ สถานที่แห่งนี้ต่อไปภาคหน้า หลังจากเราตถาคตได้นิพพานไปแล้ว จะเป็นที่ตั้งของหริภุญชัยนคร และยังจะเป็นที่ประดิษฐานของพระสุวรรณเจดีย์อีกด้วย”
พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า

เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จ ดับขันธ์นิพพานไปได้ 218 ปี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้พบพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสอยากจะสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุเหล่านั้นให้ได้ 84,000 แห่ง จึงมอบให้พระเถระทั้งหลายอัญเชิญพระบรมธาตุไปบรรจุในเจดีย์ยังเมืองต่าง ๆ ทั่วแคว้นชมพูทวีป สันนิษฐานว่าประเทศไทยเราก็คงได้รับส่วนแบ่งพระบรมธาตุในครั้งนั้นด้วยและตำนานท้องถิ่นบางแห่งยังบอกว่า พระกุมาระกัสสะปะเถระ และ พระเมฆิยะเถระ เป็นผู้อัญเชิญพระบรมธาตุจากพระยาศรีธรรมาโศกราช มาไว้ที่ลัมภะกัปปะนคร และหริภุญชัยนคร

*** ซี่งในกาลต่อมาพระเจ้าอาทิตยราชได้มาบูรณะพระธาตุหริภุญชัย และ พระเจ้าจันทะเทวะราช มาบูรณะพระธาตุลัมภะกัปปะนคร ปัจจุบันคือวัดพระธาตุลำปางหลวง Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย–ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ

ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัยมาจากชื่อของเมืองหริภุญชัย ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้เมื่อครั้งเสด็จมาบิณฑบาตในสมัยพระพุทธกาลและได้แวะรับและฉันลูกสมอ ที่ชาวลั๊วะนำมาถวาย โดยได้ทรงพยากรณ์ไว้ตอนนั้นว่า สถานที่แห่งจะมีผู้มาสร้างเมืองและตั้งชื่อว่า “หริภุญชัยนคร” และในกาลต่อมาก็มี ฤาษี 2 องค์ ชื่อว่า วาสุเทพ และ สุกกทันตะ ได้ร่วมกันสร้างเมือง ณ สถานที่แห่งนี้ และให้ชื่อเมืองว่า หริภุญชัยนคร ในปี พ.ศ. 1204 สมจริงตามคำพยากรณ์ของพระพุทธองค์ทุกประการ

หริภุญชัยนคร แปลว่าเมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยลูกสมอ (หริ แปลว่า สมอ, ภุญชัย แปลว่า เสวย, นคร แปลว่า เมือง)
ส่วนพระบรมธาตุนั้น แต่เดิมเก็บรักษาไว้ในกระบอกไม้รวกและใส่ไว้ในโกศแก้วอีกชั้นหนึ่ง ต่อมากษัตริย์ผู้ครองนครลำพูนทุกพระองค์ก็ได้บูรณะและพัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยเปลี่ยนจากโกศแก้วเป็นโกศทองและเปลี่ยนเป็นมณฑป ในที่สุดเป็นเจดีย์และมีการขยายขนาดของเจดีย์และมีการขยายขนาดเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสูงถึง 25 วาครึ่ง กว้าง 12 วาครึ่ง ดังปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้และเรียกชื่อว่า “วัดพระธาตุหริภุญชัย”

ขอขอบคุณ http://www.hariphunchaitemple.org

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร จ.ลำพูน พระธาตุหริภุญชัย ไหว้พระธาตุประจำปีเกิด

วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จ.ลำพูน
พระธาตุหริภุญชัย พระธาตุประจำปีเกิด วัดพระธาตุประจำคนเกิดปีระกา (คนเกิดปีไก่)

วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา ทิศเหนือ จรดถนนอัฏฐารส ทิศใต้ จรดถนนสุพรรณรังษี ทิศตะวันออก จรดประตูท่าสิงห์ ทิศตะวันตก จรดถนนอินทยงยศ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าวโบราณสถานที่สำคัญในวัดพระธาตุหริ ภุญชัยวรมหาวิหาร Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .