วัดคีรีวงศ์ เดิมเป็นวัดร้าง สันนิษฐานจากซากปรักหักพัง อิฐเก่าและใบเสมา รวมทั้งพระพุทธรูป ว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย แล้วรกร้างเสื่อมโทรมจนกระทั่งราวปี พ.ศ. 2504 มีพระธุดงค์แสวงบุญมาพบอยู่ท่ามกลางป่าเขา จึงแจ้งให้กรมศาสนาและศิลปากรเข้ามาบูรณะ พบว่ามีเจดีย์เก่าแก่กว่า 600 ปี และพื้นที่ของวัดทั้งบนเขาและที่ราบ ประมาณ 280 ไร่ มีลักษณะเป็นภูเขา ด้านเหนือด้านตะวันออกและด้านตะวันตกเป็นภูเขา มีทางเข้าด้าน ทิศใต้ทางเดียว มีลักษณะคล้ายฮวงจุ้ย เดิมชื่อเขาใหญ่ ปัจจุบันชื่อ เขาดาวดึงส์ เพราะตั้งอยู่ ตรงถนน ดาวดึงส์และอยู่เมืองนครสวรรค์ เมื่อ พ.ศ.2504 พระธุดงค์ได้มาปักกลดอยู่บริเวณที่ตั้งวัดในปัจจุบัน ได้พบวัตถุโบราณ เช่น อิฐเก่า ใบเสมาเก่า พระพุทธรูปเก่าและฐานอุโบสถเก่า เป็นต้น สงสัยว่าจะเป็นวัดร้างจึงได้ แจ้งให้กรมการศาสนาทราบและได้ชักชวนประชาชน สร้างกุฎิเล็ก ๆ ที่เชิงเขา 4-5 หลังสมัยนั้นยังกันดารไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา พระธุดงค์ที่มาสร้างวัดถูกต่อต้านจากประชาชน ที่ครอบครอง ที่บริเวณตั้งวัดไม่สามารถสร้างวัดได้สำเร็จจึงได้จากไป เมื่อปี พ.ศ. 2507 กรมการศาสนา ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาสำรวจรังวัดจากหลักฐานวัตถุ โบราณและจากการบอกเล่า ของคนเก่าแก่ที่เคยทำไร่อยู่บริเวณวัดคีรีวงศ์ ยืนยันว่าบริเวณนี้เป็นวัดร้างจริงและพบบ่อกรุน้ำซึมด้วยกรมการศาสนา สมัย พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ เป็นอธิบดีกรมการ ศาสนา ได้สำรวจรังวัดและทำแผนที่ไว้ได้พื้นที่วัดทั้งบนเขาและที่ราบประมาณ 280 ไร่ วัดคีรีวงศ์ เป็นที่ตั้งศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนา จังหวัดนครสวรรค์ ในความอุปถัมภ์ของ กรมการศาสนา เป็นที่ตั้งอุทยานการศึกษา ของจังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2542 ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2544 มหาเถรสมาคม มีมติตั้งวัดคีรีวงศ์ เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด แห่งที่ 1
ขอขอบคุณ http://travel.edtguide.com