Posts Tagged ‘ตักบาตรเมืองนครสวรรค์ แผนที่’

โรงเรียนพระปริยัติธรรมธรรมคุณาภรณ์ประสาธน์วัดโพธาราม

โรงเรียนพระปริยัติธรรมธรรมคุณาภรณ์ประสาธน์วัดโพธาราม นับเป็นหน่วยงานที่ใหญ่ที่สุดภายในวัด ทำหน้าที่จัดการศึกษาให้แก่พระภิกษุสามเณร ภายในวัด และในบริเวณใกล้เคียง เพื่อศึกษาพระปริยัติธรรม

เนื่องด้วยหลวงพ่อพระธรรมคุณาภรณ์ จัดการศึกษาได้ไม่นาน ท่านได้ถึงแก่มรณภาพเมื่อวันที่ ๑๐ ตุลาคม ๒๕๑๓ ซึ่งศิษยานุศิษย์ได้กำหนดให้เป็นวันกตัญญู บำเพ็ญกุศลอุทิศถวายแก่อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธารามทุกรูป คุณงามความดีของท่านยังติดตาตรึงใจศิษยานุศษย์วัดโพธารามเสมอมา

เมื่อสมัยพระมหาสายติ่ง ฐิตสจฺโจ ป.ธ. ๘ อาจารย์ใหญ่โรงเรียนพระปริยัติธรรม จึงได้มีดำริสร้างโรงเรียนขึ้น ๑ หลัง เป็นอาคารตรีมุข ทรงไทย สามชั้น ชั้นละ ๕ ห้องเรียน วางศิลาฤกษ์เมื่อวันที่ ๑๐ มกราคม ๒๕๑๕ เวลา ๑๐.๐๐ น. ได้ตั้งชื่อโรงเรียนเป็นอนุสรณ์ว่า “โรงเรียนพระปริยัติธรรมธรรมคุณาภรณ์ประสาธน์ วัดโพธาราม” เพื่อถวายเป็นเกียรติประวัติแก่หลวงพ่อพระธรรมคุณาภรณ์ ๓๐ ปี ที่โรงเรียนพระปริยัติธรรมหลังนี้ได้ให้การศึกษาแก่พระภิกษุสามเณร ได้เป็นมหาเปรียญมีอนาคตก้าวหน้า บางท่านก็ลาสิกขาไปประกอบสัมมาอาชีพ มีครอบครัวเป็นปรึกแผ่นจำนวนมาก

กำเนิดโรงเรียนพระปริยัติธรรม
ย้อนดูประวัติศาสตร์การเรียนนักธรรม บาลีแล้ว วัดโพธารามได้เริ่มจัดรูปแบบที่เป็นระบบของการศึกษาที่ได้มาตรฐานโดยค่อย ๆ วางหลักเกณฑ์ วิธีปฏิบัติ จนหยั่งรากลึกมั่นคง สามารถผลิตทรัพยากรมนุษย์ได้อย่างมีคุณภาพ
ในสมัยหลวงพ่อพระครูสวรรค์นคณาจารย์ อดีตเจ้าอาวาส ท่านได้ตั้งโรงเรียนนักธรรมขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๔๖๑ มีพระภิกษุสามเณรเรียนนักธรรมเป็นจำนวนมาก ซึ่งก่อให้เกิดแรงบันดาลใจในการที่จะจัดตั้งโรงเรียนบาลีอีกประเภทหนึ่งแต่ท่านไม่ได้เป็นมหาเปรียญจึงได้วางแผนระยะยาวโดยจะนิมนต์พระมหาเช้า ฐิตปญฺโญ ป.ธ. ๙ (พระธรรมคุณาภรณ์) จนท่านมรณภาพ พระมหาเช้าจึงได้มาเป็นเจ้าอาวาสแทน
พ.ศ.๒๔๙๕ ได้จัดตั้งโรงเรียนบาลีขึ้น มีนักเรียนมากอย่างรวดเร็วเพราะสมัยนั้นไม่มีโรงเรียนบาลีแพร่หลายอย่างปัจจุบัน ลุมาถึง พ.ศ. ๒๕๐๐ ก็มีนักเรียนเกือบ ๒๐๐ รูป ทำให้การเรียนนักธรรม-บาลี เจริญรุ่งเรืองอย่างมาก
Read more »

พระเกศีวิกรม (เจ้าอาวาสรูปปัจจุบัน) –วัดโพธาราม จ.นครสวรรค์

pp

สถานะเดิม
ชื่อ กอง นามสกุล ศิรินาค เกิดวัน ๗ฯ๘ ค่ำ ปีฉลู วันที่ ๑๐ เดือน มิถุนายน พ.ศ ๒๔๘๐
เป็นบุตรของนามบิดา นายกาบ นามสกุล ศิรินาค นามมารดา นางทา นามสกุล ศิรินาค บ้านเลขที่ ๘ หมู่ที่ ๒ ตำบลท่าไม้ อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร

อุปสมบท
วัน ๕ฯ๕ ค่ำ ปี วอก วันที่ ๖ เดือน เมษายน พ.ศ. ๒๕๐๐ ณ พัทธสีมา วัดมณีบรรพต ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
นามพระอุปัชฌาย์ พระวิสุทธิสมณาจารย์ เจ้าอาวาสวัดมณีบรรพต ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
นามพระกรรมวาจาจารย์พระครูรัตนวาสพิพัฒน์ วัดมณีบรรพต ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก
นามพระอนุสาวนาจารย์ พระปลัดทิน ทินฺนโก วัดมณีบรรพต ตำบลระแหง อำเภอเมืองตาก จังหวัดตาก

วิทยฐานะ
พ.ศ. ๒๔๙๔ สำเร็จการศึกษาชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔ โรงเรียนประชาบาลวัดสุวรรณาราม อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
พ.ศ. ๒๕๒๘ ได้รับใบเทียบความรู้มัธยมศึกษาปีที่ ๖ ของกระทรวงศึกษาธิการ
พ.ศ. ๒๕๐๐ สอบไล่ได้ น.ธ.ตรี สำนักเรียนวัดสุวรรณาราม สำนักเรียนคณะจังหวัดกำแพงเพชร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
พ.ศ. ๒๕๐๑ สอบไล่ได้ น.ธ.โท สำนักเรียนวัดสุวรรณาราม สำนักเรียนคณะจังหวัดกำแพงเพชร อำเภอพรานกระต่าย จังหวัดกำแพงเพชร
พ.ศ. ๒๕๐๓ สอบไล่ได้ น.ธ.เอก สำนักเรียนวัดโพธาราม อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
พ.ศ. ๒๕๐๘ สอบไล่ได้ประโยค ป.ธ. ๓ สำนักเรียนวัดโพธาราม พระอารามหลวง ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
Read more »

ปูชนียวัตถุ วัดโพธาราม

๑. หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร สร้างขึ้นสมัยใดไม่ชัดเจน เป็นพระประจำอยู่ในพระอุโบสถ สมัยเมื่อโบสถ์ยังตั้งอยู่ริมถนนโกสีย์ในปัจจุบัน เป็นอาคารไม้ล้วน ๆ ผู้สูงอายุได้เล่าให้ฟังว่า ประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ตลาดปากน้ำโพเกิดไฟไหม้รวมทั้งพระอุโบสถ กุฏิ ศาลา ของวัดโพธาราม ด้วย แม้พระพุทธรูปในอุโบสถถูกไฟไหม้ไม่มีเหลือ มีเหลือแต่เพียงหลวงพ่อเพชรเพียงองค์เดียว พระครูสวรรค์นคราจารย์ ได้นำมาประดิษฐานไว้หน้าพระอุโบสถหลังใหม่ มีอุบาสกอุบาสิกากราบไหว้สักการะทำวัตรสวดมนต์ต่อหน้าหลวงพ่อเพชรเป็นประจำ จนมาถึงสมัยพระธรรมคุณาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาส
ต่อมาเมื่อพระเทพคุณาภรณ์เป็นเจ้าอาวาสได้สร้างสภาบริหารสงฆ์ ฯ เสร็จ ใน พ.ศ.๒๕๒๔ จึงได้ย้ายหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ที่สภาบริหารคณะสงฆ์
เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ พระเทพคุณาภรณ์ ได้สร้างมณฑปเสร็จ จึงได้ย้ายหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้มณฑปจนถึงปัจจุบันนี้ และได้สร้างพระเกจิอาจารย์เป็นรูปหล่อเท่าองค์จริง เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี), หลวงพ่อเดิม, หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อพระเทพคุณาภรณ์ ประดิษฐานบนมณฑปให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาเป็นประจำทุกวันไม่มีวันหยุด

๒. พระโพธานุชินราช พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะประสม หน้าตัก ๔ ฟุต ๑๔ ซม. สูง ๖ ฟุต ๑๐ ซม. หล่อที่วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ สมัยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ผู้บัญชาการมณฑลนครสวรรค์ เมื่อเป็นพระพิมลธรรม เป็นผู้ดำเนินการหล่อ โดยให้ช่างแดงเป็นผู้ปั้นหุ่นรูปหล่อ คาดว่า คงเป็นพระประธานในพระอุโบสถหลังเดิมที่ถูกไฟไหม้ พร้อมกับหลวงพ่อเพ

ขอขอบคุณ http://student.nu.ac.th

สถานที่ตั้งวัดโพธาราม

-2_1_~1

วัดโพธาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๗๔ ถนนโกสีย์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ ๖๐๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๕๖๓๑ ๔๒๐๑ โทรสาร ๐ ๕๖๓๑ ๔๐๗๖

วัดโพธาราม   มีเนื้อที่เฉพาะที่เป็นเขตสังฆาวาส ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๖๗ วา  โฉนดเลขที่ ๒๑๘๑
อาณาเขต
ทิศเหนือ  จดถนนสวรรค์วิถี
ทิศใต้      จดถนนโกสีย์
ทิศตะวันออก จดถนนอรรกวี
ทิศตะวันตก จดถนนจุฬามณี   

ขอขอบคุณ http://student.nu.ac.th/

ตักบาตรเมืองนครสวรรค์ -วัดโพธาราม

boon1_6

อานิสงส์ของการตักบาตรพระ

1. เกิดในร่มเงาบวชพระพุทธศาสนาไปทุกภพทุกชาติ
2. ย่อมเจริญด้วยโภคทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก
3. ทรัพย์สมบัติคงทนถาวร ไม่วิบัติด้วยภัยใดๆ
4. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของคนหมูมาก
5. คนดีเป็นอันมาก ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
6. ชื่อเสียงอันดีงามของผู้ให้ ย่อมฟุ้งขจรไป
7. ผู้ให้ย่อมแกล้วกล้าอาจหาญ ไม่เก้อเขินในที่ประชุม
8. เมื่อสิ้นอายุขัย ย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์
9. บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย

ข้อปฏิบัติที่ดีงามในการตักบาตร

– แต่งการด้วยชุดขาว หรือเสื้อขาวเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
– อาหารใส่บาตรควารเป็นอาหารแห้ง
– ข้าวสารควรบรรจุถุงให้เรียบร้อย
– งดใส่ น้ำดื่มชนิดแก้วพลาสติก
– งดใส่ปัจจัยลงในบาตรท่านสามารถบริจาคได้ที่จุดรับบริจาค หรือต้นผ้าป่าที่มีเจ้าหน้าที่ดูแล
– รักษาใจให้ ผ่องใส น้อมถวายไทยธรรมเป็นสังฆทาน
– ใส่บาตรด้วยความเคารพ ด้วยการนั่งใส่บาตรโดยให้แถวหน้าใส่ให้เสร็จก่อน

Read more »

วัดโพธาราม (พระอารามหลวง)

003

วัดโพธาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ 474 ถนนโกสีย์ ตลาดปากน้ำโพ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 67 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับถนนสวรรค์วิถี ทิศใต้ติดต่อกับถนนโกสีย์ ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนอรรถกวี ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนจุฬามณี ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 3181 และมีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 10 แปลง เนื้อที่ 124 ไร่ 1 งาน 99 ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 3089, 3178, 3179, 3180, 3182, 3183, 1908, 19809, 7371 อยู่ท้องที่ตำบลปากน้ำโพ 8 แปลง ตำบลวัดไทร 1 แปลงและตำบลหนองกรด 1 แปลง

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ท่ามกลางตลาดปากน้ำโพ มีถนนคั่นบริเวณวัดไว้ทั้งสี่ด้าน ตรงข้ามฟากถนนเป็นอาคารพาณิชย์ ทิวทัศน์ห่างออกไปด้านหลังวัดเป็นเทือกเขากบด้านหน้าวัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นย่านการค้าทั้งทางบกและน้ำ การคมนาคมติดต่อกับทุกภาคของประเทศไทยได้สะดวก
อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีพระอุโบสถหลังใหม่ เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2475 โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 21 เมตร ยกพื้นสูง 3 เมตรเศษพื้นปูด้วยหินอ่อน ศาลาการเปรียญกว้าง 19 เมตร ยาว 27 เมตร เป็นตึกทรงไทย 2 ชั้น อาคารสภาบริหารคณะสงฆ์เป็นตึกทรงไทย 3 ชั้น อาคารเรียนปริยัติธรรมเป็นตึกทรงไทย 3 ชั้น กุฏิสงฆ์ จำนวน 9 หลัง เป็นตึก 5 ชั้น 1 หลัง, ตึก 2 ชั้น 3 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น 3 หลัง, ตึกชั้นเดียว 1 หลัง และตึก 3 ชั้น 1 หลัง

ปูชนียวัตถุ มีพระประธานในอุโบสถ ปางมารวิชัย สร้างด้วยทองเหลือง มีพระนามเรียกว่า “พระโพธานุชินราช” สร้างขึ้นที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2456 โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) พร้อมเจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์สมัยที่ดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรมเป็นผู้ดำเนินการหล่อขึ้นพร้อมกับพระอัครสาวก

Read more »

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพธาราม (ศพอ.พ.)

ระเบียบการ

โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพธารามครั้งเริ่มก่อตั้งเดิมชื่อว่า “โรงเรียนสัตตาหศึกษาวันอาทิตย์” ปัจจุบันเรียกว่า “ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพธาราม” (ศพอ.พ.) ได้เปิดอบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมตั้งแต่วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๐โดยความดำริของพระเดชพระคุณพระธรรมคุณาภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธารามเป็นผู้ให้กำเนิดทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสมัยที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ได้ไปดูงานการพระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา ได้เห็นการอบรมสั่งสอนของพระสงฆ์ชาวลังกาที่เปิดการเรียนการสอนเด็กได้วันหยุดราชการ จึงได้ทีแนวความคิดนี้มาจัดตั้งโรงเรียนแห่งนี้ และได้สอนสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันโดยไม่คิดมูลค่า

วัตถุประสงค์
๑.เพื่ออบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดา ซึ่งเป็นเยาวชนของชาติได้รู้จักพระพุทธศาสนาตามสมควรแก่วัยของตน
๒.เพื่อปลูกฝังศีลธรรม ธรรมจริยา วัฒนธรรมไทยแก่เยาวชนของชาติ ในแนวทางพระพุทธศาสนา เมื่อเติบโตจะได้เป็นผู้นำในทางที่ดีของสังคม
๓.เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ดำเนินตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา เป็นศาสนิกชนที่ดีของศาสนาต่อไป
๔.เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในวันหยุดเรียน
๕.เพื่อเผยแพร่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาในกลุ่มเยาวชนให้เป็นพุทธมามกะที่ดีต่อไป
๖เเพื่อลดช่องว่างระหว่างพระสงฆ์กับเยาวชน

การจัดการระบบศึกษา แบ่งออกเป็น ๖ ชั้นเรียน คือ
ชั้นต้น ประกอบด้วย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

ชั้นกลาง ประกอบด้วย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

ชั้นปลาย ประกอบด้วย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

 

Read more »

ลำดับเจ้าอาวาสจากอดีต-ปัจจุบัน วัดโพธาราม

รูปที่ ๑ พระสมุห์อิ่ม พ.ศ. ๒๔๓๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๖
รูปที่ ๒ พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขต (ตั้ว) .ศ. ๒๔๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๕
รูปที่ ๓ พระครูต่วน พ.ศ. ๒๔๕๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๗
รูปที่ ๔ พระครูสวรรค์นคราจารย์ (ช่วง ติสสเถระ) พ.ศ. ๒๔๕๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๘
รูปที่ ๕ พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ ป.ธ.๙) พ.ศ. ๒๔๙๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๓
รูปที่ ๖ พระเทพคุณาภรณ์ (พุฒ วุฑฒิทัตตเถระ) พ.ศ. ๒๕๑๔ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๖
รูปที่ ๗ พระสุนทรธรรมเวที (ประเทือง ธมฺมกาโม ป.ธ.๖) พ.ศ. ๒๕๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๑
รูปที่ ๘ พระเกศีวิกรม (กอง ติกฺขวีโร ป.ธ.๖) พ.ศ.๒๕๔๑ ถึง ปัจจุบัน

ประวัติย่อของเจ้าอาวาส

เจ้าอาวาสวัดโพธาราม ตั้งแต่องค์แรกเป็นต้นมา ไม่ทราบว่ามีท่านผู้ใดบ้าง เท่าที่ทราบแน่ชัด ๘ รูปคือ

๑. พระสมุห์อิ่ม ภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้สร้างพระอุโบสถหลังเดิม และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕

๒. พระครูธรรมฐิติวงศ์ (ตั้ว) ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านแสนตอ จังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดตั้งโรงเรียนภาษาไทยขึ้นที่ศาลาการเปรียญวัดโพธาราม เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ชื่อโรงเรียน “ธรรมฐิติวงศ์วิทยาคาร” โรงเรียนนี้ต่อมาเป็นโรงเรียนรัฐบาลมีชื่อในปัจจุบันว่า “โรงเรียนนครสวรรค์”

๓. พระครูต่วน ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านพันลาน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

ท่านได้ลาสิกขา พ.ศ. ๒๔๕๗

๔. พระครูสวรรค์นคราจารย์

Read more »

สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่วัดโพธาราม

untitled

๑. หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร สร้างขึ้นสมัยใดไม่ชัดเจน เป็นพระประจำอยู่ในพระอุโบสถ สมัยเมื่อโบสถ์ยังตั้งอยู่ริมถนนโกสีย์ในปัจจุบัน เป็นอาคารไม้ล้วน ๆ ผู้สูงอายุได้เล่าให้ฟังว่า ประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ตลาดปากน้ำโพเกิดไฟไหม้รวมทั้งพระอุโบสถ กุฏิ ศาลา ของวัดโพธาราม ด้วย แม้พระพุทธรูปในอุโบสถถูกไฟไหม้ไม่มีเหลือ มีเหลือแต่เพียงหลวงพ่อเพชรเพียงองค์เดียว พระครูสวรรค์นคราจารย์ ได้นำมาประดิษฐานไว้หน้าพระอุโบสถหลังใหม่ มีอุบาสกอุบาสิกากราบไหว้สักการะทำวัตรสวดมนต์ต่อหน้าหลวงพ่อเพชรเป็นประจำ จนมาถึงสมัยพระธรรมคุณาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาส
ต่อมาเมื่อพระเทพคุณาภรณ์เป็นเจ้าอาวาสได้สร้างสภาบริหารสงฆ์ ฯ เสร็จ ใน พ.ศ.๒๕๒๔ จึงได้ย้ายหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ที่สภาบริหารคณะสงฆ์
เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ พระเทพคุณาภรณ์ ได้สร้างมณฑปเสร็จ จึงได้ย้ายหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้มณฑปจนถึงปัจจุบันนี้ และได้สร้างพระเกจิอาจารย์เป็นรูปหล่อเท่าองค์จริง เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี), หลวงพ่อเดิม, หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อพระเทพคุณาภรณ์ ประดิษฐานบนมณฑปให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาเป็นประจำทุกวันไม่มีวันหยุด

Read more »

ประวัติความเป็นมาวัดโพธาราม

วัดโพธาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๗๔ ถนนโกสีย์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ ๖๐๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๕๖๓๑ ๔๒๐๑ โทรสาร ๐ ๕๖๓๑ ๔๐๗๖

บริเวณพื้นที่ตั้งวัด

เป็นพื้นที่ราบลุ่มท่ามกลางตลาดปากน้ำโพ โดยมีถนนคั่นบริเวณวัดไว้ทั้ง ๔ ด้าน ตรงข้ามฟากถนนเป็นอาคารพาณิชย์ของทางวัดบ้าง ของเอกชนบ้าง ทิวทัศน์ห่างออกด้านหลังวัดเป็นเทือกเขากบ ด้านหน้าวัดเป็นแม่น้ำ ๔ สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ไหลมาบรรจบเป็นต้นทางของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นย่านการค้าทั้งทางบกและทางน้ำ การคมนาคมติดต่อกับทุกภาคของประเทศไทยได้โดยสะดวก

วัดโพธาราม มีเนื้อที่เฉพาะที่เป็นเขตสังฆาวาส ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๖๗ วา โฉนดเลขที่ ๒๑๘๑
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดถนนสวรรค์วิถี
ทิศใต้ จดถนนโกสีย์
ทิศตะวันออก จดถนนอรรกวี
ทิศตะวันตก จดถนนจุฬามณี

ประวัติความเป็นมา

วัดนี้เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏนามท่านผู้สร้างและไม่ปรากฏปีที่สร้าง ที่ตั้งวัดเดิมอยู่ริมปากแม่น้ำปิง ฝั้งขวา มีต้นมะขาม ๒ ต้น ต้นตะกู ๑ ต้น ศาลาท่าน้ำ ๒ หลัง ทางด้านที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขปัจจุบันนี้ มีต้นมะเดื่อ ๑ ต้น ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งบริเวณกุฏิออกมาตั้งด้านหลังดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ ส่วนที่ธรณีสงฆ์แปลงหลังวัด เดิมเป็นป่าไผ่เป็นบริเวณเผาอัฐิของนางเอม เรียกกันว่า ยายเอม เผาอัฐิ
พระอุโบสถหลังเดิม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ สมัยพระสมุห์อิ่ม เป็นเจ้าอาวาส และหมื่นนรา เป็นทายก นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๕ ถึง พ.ศ.๒๔๘๑ เป็นเวลา ๔๖ ปี พระอุโบสถหลังใหม่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ และผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ สมัยพระครูสวรรค์นคราจารย์ (ช่วง ติสฺสเถโร) เป็นเจ้าอาวาส โดยมีสมเด็จพระวันรัต (เขมจารี) เจ้าคณะมลฑลอยุธยา วัดมหาธาตุ พระนคร
เป็นประธานผูกพัทธสีมา มีหลวงปู่สูข วัดปากคลองมขามเฒ่า เป็นประธาน นั่งอธิฐานจิตในงานด้วย

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .