สืบเนื่องจากเมื่อช่วงเดือนธันวาคม พ.ศ.๒๕๔๕ คราวเตรียมงานฉลองเจดีย์ พิพิธภัณฑ์องค์หลวงปู่เสาร์ กนตฺสีโล ณ วัดดอนธาตุ ต.ดอนธาตุ อ.พิบูลมังสาหาร จ.อุบลราชธานี ท่านพระอาจารย์สาคร ได้รับมอบหมายจากคณะทำงาน คราวนั้นให้รับหน้าที่ติดต่อประสานงานทั้งระหว่างหน่วยงานต่างๆที่เกี่ยวข้อง และองค์พระเถรานุเถระที่เมตตารับนิมนต์ร่วมพิธีในคราวนั้น การนี้ท่านพระอาจารย์สาครต้องเดินทางระหว่าง จ.กาญจนบุรี กับ จ.อุบลราชธานี บ่อยครั้ง อีกทั้งยังต้องติดต่อประสานงานกับหน่วยงานต่างๆ ซึ่งส่วนใหญ่มีที่ทำการอยู่ในกรุงเทพฯ ท่านจึงต้องพักแรมในกรุงเทพฯบ่อยครั้ง โดยความจำเป็นในการที่ต้องพักแรมในกรุงเทพฯนี้เอง ท่านพิจารณาเห็นว่า สถานที่พักที่เหมาะสำหรับภิกษุสามเณรสังกัดธรรมยุติในกรุงเทพฯนั้นมีไม่เพียงพอกับจำนวนภิกษุสามเณรที่มีความจำเป็นต้องพักแรม รวมถึงเมื่อเวลาอาพาธต้องเข้ารับการรักษาพยาบาล หรือมีกิจนิมนต์ สถานที่พักส่วนใหญ่ไม่สะดวกในการรักษา ข้อวัตรปฏิบัติให้สมบูรณ์ ท่านจึงได้ปรารภเรื่องนี้ในหมู่ศิษย์ของท่าน เวลานั้นศิษย์ท่านพระอาจารย์สาครท่านหนึ่ง ทราบความประสงค์ อันกอปรด้วยกุศลเจตนาของท่านจึงนำความไปปรึกษากับกลุ่มญาติ ซึ่งมีที่ดินอยู่ ณ ต.ศาลากลาง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี
จำนวน ๙ ไร่เศษ กลุ่มญาติทั้งหมดอันประกอบด้วย ม.ร.ว.วรรณี มณีกาญจน์ นายสันติ มณีกาญจน์ (อดีตผู้ว่าราชการจังหวัดเลย และจังหวัดหนองคาย) นางสาวชูพักตร์ มณีกาญจน์ นางบุญล้อม มณีกาญจน์ และลูกๆของนายประสิทธิ์ มณีกาญจน์ มีความเห็นพ้องกันว่าสมควรถวายที่ดินผืนดังกล่าวเพื่อสร้างวัดในสังกัดธรรมยุติ เพื่อประกอบศาสนกิจในบวรพระพุทธศาสนาต่อไป โดยท่านพระอาจารย์สาคร ให้ชื่อวัดนี้เพื่อเป็นที่ระลึกแก่กุศลธรรมของญาติโยมที่มีจิตศรัทธาถวายที่ดินว่า
“วัดป่ามณีกาญจน์” การดำเนินการก่อสร้างจึงได้เริ่มขึ้นเมื่อวันที่ ๒๗ พฤศจิกายน พ.ศ.๒๕๔๖ เป็นต้นมา ต่อมาในปี พ.ศ.๒๕๔๘ คุณประมิตร วังพัฒนมงคล และคณะศิษย์เป็นผู้มีจิตศรัทธา ซื้อที่ดินถวายเพิ่มอีกจำนวน ๑๐ ไร่ ๒ งาน ๒๕ ตารางวา และภายหลังมีผู้มีจิตศรัทธาจำนวนมาก ได้ร่วมกันซื้อที่ดินถวายวัดเพิ่มเติมขึ้นโดยลำดับ
Read more »
ประวัติวัดป่ามณีกาญจน์
วัดบัวขวัญพระอารามหลวง ต.บางกระสอ อ.เมือง จ.นนทบุรี
วัดบัวขวัญ จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาในอดีตนั้นว่า มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งในสมัยนั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์กลางท้องนาเท่านั้น เมื่อมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ก็เริ่มพัฒนาเป็นวัดโดยสมัยแรก พระครูปรีชาเฉลิม หรือหลวงปู่แฉ่ง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ผู้ริเริ่มสร้างวัดขึ้น โดยมีผู้มีจิตศรัทธาหลายคนร่วมบริจาคที่ดิน
โดยได้รับอนุญาตให้สร้างขึ้น เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ต่อมาก็มีหลวงพ่อฉ่ำมาเป็นเจ้าอาวาส ปกครองวัด หลังจากหลวงปู่ฉ่ำมรณภาพลง วัดก็ว่างเว้นจากพระสงฆ์ ชาวบ้านในระแวกใกล้เคียงวัดกลัววัดจะร้าง จึงได้ไปนิมนต์พระอธิการพยุง จตฺตมโล จากวัดกำแพงมาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ และได้บูรณะปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ พัฒนาวัดเจริญเรื่อยมา จนมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินสร้างวัดเพิ่ม คือ นายบัว ฉุนเฉียว เป็นผู้บริจาคที่ดิน เดิมทีนั้นวัดชื่อว่าวัดสะแก ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อวัดบัวขวัญ เพื่อให้เป็นเกียรติแก่ นายบัว ฉุนเฉียว และวัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๖ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร พระอธิการพยุง จตฺตมโล เป็นเจ้าอาวาส จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๐ ต่อจากนั้น พระอธิการบุญช่วย ปุญฺญคุตฺโต ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๕ ต่อจากนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ พระมหาไสว สุขวโร (ป.ธ.๔) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางแพรกเหนือ ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระโสภณสุตาลังการ ซึ่งได้พัฒนาวัดทั้งด้านถาวรวัตถุ ทางด้านการศึกษา จนเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ ๑ เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน
ขอขอบคุณ http://somciay.blogspot.com/
ข้อมูลท่องเที่ยววัดบัวขวัญ เที่ยววัดบัวขวัญ
วัดบัวขวัญ เป็นวัดเก่าแก่ของอำเภอลาดหลุมแก้ว ที่วัดนี้มีพระพุทธรูปทองสำริด ปางบำเพ็ญทุกขกิริยา ซึ่งสร้างขึ้นสมัยรัชกาลที่ 5 พร้อมกับพระพุทธรูปตามระเบียงวัดเบญจมบพิตร นอกจากนี้ยังมีรอยพระพุทธบาทจำลอง ซึ่งจำลองมาจากวัดพระพุทธบาท จังหวัดสระบุรีและพลับพลาที่ประทับแรกนาขวัญ สมัยรัชกาลที่ 6 เดิมเรียกว่า “ศาลาแดง” ตั้งอยู่ที่วังพญาไท ในกรุงเทพฯ การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 341 (ปทุมธานี-ลาดหลุมแก้ว) เลี้ยวซ้ายที่หลักกิโลเมตรที่ 21-22 ไปอีก 5 กิโลเมตร วัดเจดีย์
ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/
วัดบัวขวัญ นนทบุรี
ทำบุญที่วัดบัวขวัญ
ประวัติวัดบัวขวัญ “วัดบัวขวัญ” มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้นมีเพียงสำนักสงฆ์กลางทุ่งนา เมื่อมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษามากขึ้น ก็เริ่มพัฒนามาเป็นวัด โดยในสมัยแรกพระครูปรีชาเฉลิม หรือ “หลวงปู่แฉ่ง” วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารเป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดขึ้น โดยมีผู้มีจิตศรัทธาหลายคนร่วมบริจาคที่ดิน และได้รับอนุญาตให้สร้างวัดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน 2435
ต่อมา “หลวงปู่ฉ่ำ” ได้เป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด …และหลังจากที่หลวงปู่ฉ่ำได้มรณภาพลง วัดก็ว่างเว้นจากพระสงฆ์ ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงกลัวว่าวัดจะร้าง จึงได้นิมนต์ “พระอธิการพยุง จัตตมโล” จากวัดกำแพงมาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ.2491 และได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ เสนาสนะต่างๆ เรื่อยมา จนมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินเพิ่มจาก “นายบัว ฉุนเฉียว” วัดบัวขวัญ เดิมชื่อวัดสะแก และได้เปลี่ยนชื่อมาเป็นวัดบัวขวัญ เพื่อเป็นเกียรติแก่ “นายบัว ฉุนเฉียว” ที่บริจาคที่ดินให้กับทางวัด ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 มกราคม 2506 “พระอธิการพยุง จัตตมโล” เป็นเจ้าอาวาสจนถึงปี พ.ศ.2520 ต่อจากนั้น “พระอธิการบุญช่วย ปุญญคุตโต” ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาจนถึงปี พ.ศ.2535
ปี พ.ศ.2537 “พระมหาไสว สุขวโร” (ป.ธ.4) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางแพรกเหนือ ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ “พระโสภณสุตาลังการ” ซึ่งได้พัฒนาวัดบัวขวัญ ทั้งด้านถาวรวัตถุ ทางด้านการศึกษา จนเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ 1 และเป็นสถานที่ตั้งของ สถานีวิทยุเพื่อพระพุทธศาสนา คลื่นธรรมะวัดบัวขวัญ FM 100.25 MHz.
วัดบัวขวัญ นนทบุรี
วันนี้มีโอกาสได้ไปทำบุญที่วัดบัวขวัญ นนทบุรี (ใกล้กับพันธ์ทิพย์ งามวงศ์วาน)
เลยถือโอกาสเก็บภาพบรรยากาศมาฝากกัน สำหรับใครที่กำลังคิดอยากจะไปนะคะ ^^
หากมาด้วยรถส่วนตัว เลี้ยวเข้าซอยวัดบัวขวัญมาแล้วก็ตรงอย่างเดียวเลยค่ะ
สุดทางตรงก่อนบังคับเลี้ยวซ้าย จะมีป้ายวัดบัวขวัญเด่นตระหง่าน ขับตรงเข้าไปในบริเวณวัด มีที่กว้างขวาง จอดรถได้หลายคันสบายๆ
หากมาด้วยรถโดยสาร หน้าปากซอยจะมีรถสองแถวสีครีมๆ ค่าโดยสาร 7 บาท
ถ้าไปถึงแล้วไม่เจอรถสองแถว ยืนรอนิดนึงนะคะ แปบเดียวเดี๋ยวก็มีมาจ้า
ขอขอบคุณ http://pantip.com/topic/
วัดบัวขวัญ
วัดบัวขวัญ ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 9 ซอยงามวงศ์วาน 23 (วัดบัวขวัญ) ถนนงามวงศ์วาน ตำบลบางกระสอ อำเภอเมืองนนทบุรี จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดที่มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยเป็นสำนักสงฆ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ
ประวัติ
วัดบัวขวัญเดิมเป็นเพียงสำนักสงฆ์ แต่ต่อมาเมื่อมีพระสงฆ์มาจำพรรษาและปฏิบัติสังฆกรรมมากขึ้น จึงได้รับการพัฒนาขึ้นมาเป็นวัดเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ. 2435 มีนามว่า “วัดสะแก” โดยมีพระครูปรีชาเฉลิมจากวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารเป็นผู้เริ่มสร้างวัด และเป็นเจ้าอาวาสในช่วงแรก
พ.ศ. 2491 พระอธิการพยุง จัตตมโล จากวัดกำแพง ได้รับนิมนต์จากชาวบ้านให้มาเป็นเจ้าอาวาส เนื่องจากการมรณภาพของอดีตเจ้าอาวาส จากนั้นจึงได้มีการบูรณปฏิสังขรณ์เรื่อยมา กระทั่งมีผู้มีจิตศรัทธานามว่า นายบัว ฉุนเฉียว บริจาคที่ดินให้กับวัด ซึ่งในเวลาต่อมาจึงได้เปลี่ยนนามมาเป็น วัดบัวขวัญ เพื่อเป็นเกียรติแก่ผู้บริจาคที่ดิน และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ. 2506 โดยมีพระอธิการพยุง จัตตมโล เป็นเจ้าอาวาสถึงปี พ.ศ. 2520 และพระอธิการบุญช่วย ปุญญคุตโต ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสถึงปี พ.ศ. 2535
วัดบัวขวัญ พระอารามหลวง จังหวัดนนทบุรี
วัดบัวขวัญ จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาในอดีตนั้น มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ 5 ซึ่งในสมัยนั้นเป็นเพียงสำนักสงฆ์กลางท้องนาเท่านั้น เมื่อมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ก็เริ่มพัฒนาเป็นวัด โดยสมัยแรก พระครูปรีชาเฉลิมหรือหลวงปู่แฉ่ง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารเป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดขึ้น โดยมีผู้มีจิตศรัทธาหลายคนร่วมบริจาคที่ดิน โดยได้รับอนุญาตให้สร้างขึ้นเมื่อวันที่ 24 มิถุนายน พ.ศ.2435 ต่อมาก็มีหลวงพ่อฉ่ำมาเป็นเจ้าอาวาสปกครองวัด หลังจากพ่อปู่ฉ่ำมรณภาพลง วัดก็ว่างเว้นจากพระสงฆ์ ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงกลัววัดจะร้าง จึงได้ไปนิมนต์พระอธิการพยุงจากวัดกำแพงมาเป็นเจ้าอาวาสตั้งแต่ปี พ.ศ.2491 และได้บูรณปฏิสังขรณ์ถาวรวัตถุ พัฒนาวัดเจริญเรื่อยมาจนมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินวัดเพิ่ม คือนายบัว ฉุนเฉียว เป็นผู้บริจาคที่ดิน เดิมทีนั้นวัดชื่อวัดสระแก ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อวัดบัวขวัญ เพื่อให้เป็นเกียรติแก่นายบัว ฉุนเฉียว และวัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 24 มกราคม พ.ศ.2506 พระอธิการพยุง เป็นเจ้าอาวาสจนถึงปี พ.ศ.2520
ต่อจากนั้นพระอธิการบุญช่วย ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาจนถึง พ.ศ.2530 ต่อจากนั้นในปี พ.ศ.2537 พระมหาไสว สุขวโร ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางแพรกเหนือ ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสจนถึงปัจจุบัน ซึ่งได้พัฒนาวัดด้านถาวรวัตถุ ทางด้านการศึกษา จนเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดนนทบุรีแห่งที่ 1 และได้รับพระหากรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัด ราษฏรขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรีชนิดสามัญ ในวันที่ 29 เดือนมิถุนายน พ.ศ.2551 เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน
ชวนไปทำบุญ วัดบัวขวัญ พระอารามหลวงใกล้กรุงเทพฯ
เชื่อว่าในวันสิ้นปีเก่า ต้อนรับปีใหม่ที่ผ่านมานี้ หลายท่านคงได้ไปทำกิจกรรมร่วมกับครอบครัว คนที่เรารักมามากมาย และกิจกรรมหนึ่งซึ่งเป็นที่นิยมทำกันทุกปี เพื่อให้เกิดความเป็นสิริมงคลต่อตนเองและครอบครัวนั่นก็คือ กิจกรรมสวดมนต์ข้ามปี ที่บรรดาวัดต่าง ๆ ได้จัดขึ้นเพื่อให้พุทธศาสนิกชนทั้งหลายได้มาร่วมกันทำกิจกรรมในครั้งนี้ และหนึ่งในวัดที่จัดงานและได้รับความนิยมสูงสุดวัดหนึ่งนั่นก็คือ วัดบัวขวัญ ตั้งอยู่ที่อำเภอบางกระสอ อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นพระอารามหลวงใกล้ ๆ กรุงเทพฯ นี่เอง
ทั้งนี้ วัดบัวขวัญ ก็ติดอันดับวัดที่มีคนไปสวดมนต์ข้ามปีกันมาก เนื่องจากทางวัดร่วมกับ อาจารย์ลักษณ์ เลขานิเทศ เจ้าของฉายา โหรฟันธง จัดพิธีเจริญพระพุทธมนต์ “สวดมนต์ข้ามปี” เริ่มต้นดี ชีวิตดี เป็นมงคลตลอดปี 2556 อีกทั้งยังมีพิธีทำบุญอุทิศแด่เทวดาประจำวันเกิด เทวดาประจำราศีทั้ง 9 องค์ อันได้แก่ เทวดาพระอาทิตย์ เทวดาพระจันทร์ เทวดาพระอังคาร เทวดาพระพุธ เทวดาพระพฤหัสบดี เทวดาพระศุกร์ เทวดาพระเสาร์ เทวดาพระราหู และเทวดาพระเกตุ เพื่อเสริมบุญราศี สร้างบุญเป็นกำลังให้เทวดาคุ้มครองรักษาดวงชะตาตลอดปีมะเส็ง
รวมถึงมีพิธีทำบุญสะเดาะเคราะห์ สืบชาตาแบบล้านนา พิธีพุทธาภิเษก เหรียญพระปฏิมาประจำราศี ประจำวันเกิด พิธีเททองหล่อยอดเกศทองคำพระเศรษฐีสามกษัตริย์ พิธีเททองพระประจำวันเกิด, เททองหล่อท้าวธตรฐ (เทพผู้ประทานชื่อเสียงความสำเร็จ ด้านดนตรี ศิลปะ การแสดง)
สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนนทบุรี-วัดบัวขวัญ
วัดบัวขวัญ พระอารามหลวง โดยการนำของ พระเดชพระคุณ พระโสภณสุตาลังการ ได้รับการแต่งตั้งจากมติ มหาเถรสมาคม ให้เป็น สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด เมื่อวันที่ ๓๐ เดือนมิถุนายน พ.ศ. ๒๕๔๙ โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้
๑. เพื่อเป็นการเผยแผ่ หลักธรรม ของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า โดยมุ่งเน้น การธรรมภาคปฏิบัติ
๒. เพื่อให้ อุบาสก อุบาสิกา และประชาชนทั่วไป ได้รู้จักหลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
๓. เพื่อมให้อุบาสก อุบาสิกา และประชาชนทั่วไป ได้นำหลักธรรมคำสอนของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้านั้น มาปฏิบัติ ให้เกิดประโยชน์อย่างสูงสุด
๔. เพื่อปฏิบัติธรรมถวายเป็นพระราชกุศล แด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวฯ สมเด็จพระนางเจ้าพระบรมราชินีนาถ และพระบรมวงศานุวงศ์
๕. เพื่อดำรงคงไว้ซึ่งพระพุทธศาสนา ให้มั่นคงเจริญรุ่งเรืองคู่กับประเทศชาติ สืบต่อไป
ดังนั้น พระเดชพระคุณ จึงได้มอบหมายให้ พระอาจารย์สมชาติ ธมฺมโชโต พระวิปัสสนาจารย์ ประจำสำนักปฏิบัติธรรม ของวัด ได้นำพา อุบาสก อุบาสิกา สาธุชนทั่วไป ได้ร่วมกันประพฤติปฏิบัติธรรม ทุกวันพระ ตลอดทั้งปีและวันสำคัญต่างๆ เช่น วันขึ้นปีใหม่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันเข้าพรรษา วันอาสาฬหบูชา วันเฉลิมพระชนม์พรรษา เป็นต้น
ประเพณีบุญวัดบัวขวัญ
วัดบัวขวัญ พระอารามหลวง ได้จัดให้คณะอุบาสก อุบาสิกา พุทธศาสนิกชนโดยทั่วไป ได้มีการทำบุญต่างๆ ตามประเพณีที่เคยทำสืบกันมา ดังมีรายละเอียดดังนี้
ปฏิทินงานวัด2557
การทำบุญตักบาตร ถวายภัตตาหารเช้า แก่พระภิกษุ สามเณร และฟังพระธรรมเทศนา ในทุกวันพระ ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง เวลาประมาณ ๐๙.๐๐ น.
การทำบุญถวายสังฆทาน ทำบุญโลงศพเพื่อผู้ยากไร้ ตั้งแต่ เวลา ๐๖.๐๐ น. ถึง เวลา ๑๖.๐๐ น. ของทุกๆ วัน ตลอดปี
การทำบุญไถ่ชีวิตโค-กระบือ ตั้งแต่เวลา ๐๖.๐๐ น. ถึงเวลา ๐๗.๐๐ น. ของทุกๆ วันตลอดปี เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล และมอบให้กับเกษตรกรผู้ยากไร้
Read more »
ประวัติวัดบัวขวัญ
จากคำบอกเล่าสืบต่อกันมาในอดีตนั้นว่า มีประวัติความเป็นมาตั้งแต่สมัยรัชกาลที่ ๕ ซึ่งในสมัยนั้นเป้นเพียงสำนักสงฆ์กลางท้องนาเท่านั้น เมื่อมีพระสงฆ์อยู่จำพรรษา ก็เริ่มพัฒนาเป็นวัด โดยสมัยแรก พระครูปรีชาเฉลิม หรือหลวงปู่แฉ่ง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารเป็นผู้ริเริ่มสร้างวัดชึ้น โดยมีผู้มีจิตศรัทธาหลายคนร่วมบริจาคที่ดิน โดยได้รับอนุญาตให้สร้างขึ้น เมื่อวันที่ ๒๔ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๓๕ ต่อมาก็มีหลวงปู่ฉ่ำมาเป็นเจ้าอาวาส ปกครองวัด หลังจากหลวงปู่ฉ่ำมรณภาพ วัดก็ว่างเว้นจากพระสงฆ์ ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงวัด กลัววัดจะร้าง จึงได้ไปนิมนต์พระอธิการพยุง จตฺตมโล จากวัดกำแพงมาเป็นเจ้าอาวาส ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๔๙๑ และได้บูรณะปฏิสังขนณ์ถาวรวัตถุ พัฒนาวัดเจริญเรื่อยมาจนมีผู้มีจิตศรัทธาบริจาคที่ดินสร้างวัดเพิ่ม คือ นายบัว ฉุนเฉียว เป็นผู้บริจาคที่ดิน
เดิมทีนั้นวัดชื่อว่า “วัดสะแก” ได้เปลี่ยนมาเป็นชื่อวัดบัวขวัญ เพื่อให้เป็นเกียรติแก่นายบัว ฉุนเฉียว และวัดนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ ๒๔ มกราคม ๒๕๐๖ เขตวิสุงคามสีมากว้าง ๒๐ เมตร ยาว ๖๐ เมตร พระอธิการพยุง จตฺตมโล เป็นเจ้าอาวาสจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๒๐
ต่อจากนั้นพระอธิการบุญช่วย ปุญฺญคุตฺโต ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสมาจนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๐ ต่อจากนั้น ในปี พ.ศ. ๒๕๓๗ พระมหาไสว สุขวโร (ป.ธ.๔) ผู้ช่วยเจ้าอาวาสวัดบางแพรก (เหนือ) ได้มาดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาส จนถึงปัจจุบัน เป็นพระราชาคณะชั้นสามัญ ที่ พระโสภณสุตาลังการ ซึ่งได้พัฒนาวัดทั้งด้านถาวรวัตถุ ทางด้านการศึกษาจนเป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมแผนกบาลีประจำจังหวัดนนทบุรี แห่งที่ ๑ และได้รับพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดราษฎร์ ขึ้นเป็นพระอารามหลวง ชั้นตรี ชนิดสามัญ ในวันที่ ๒๙ เดือน มิถุนายน พ.ศ. ๒๕๕๑ เจริญรุ่งเรืองมาจนถึงปัจจุบัน
ประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดเวตวันธรรมาวาส
วัดเวตวันธรรมาวาสเป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นไม่ปรากฏนามผู้สร้าง เดิมชื่อวัดเชิงหวาย วัดนี้มีพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัยคือ หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 7 นิ้ว เดิมองค์พระถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินด้านทิศเหนือของอุโบสถ เมื่อประมาณ 100 ปี มีตำนานเล่าว่าท่านได้เข้าฝันชาวบ้านและกล่าวว่าหากมีความประสงค์จะให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บให้นำ ท่านขึ้นบชู า จึงมีการค้นหาและนำองค์ท่านขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัดประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นงานประเพณีที่จัดมานานนับ 100 ปี เป็นการจัดร่วมกันระหว่างวัดเวตวันธรรมาวาสกับวัดโพธิ์ทองล่าง แต่ละปีจะจัดประมาณ 5 วัน การแห่พระมีเฉพาะวันแรม 4 ค่ำเดือน 12 ส่วนกิจกรรมภายในวัดทั้ง 5 วันเป็นการจัดงานมหรสพภายในวัด วันแห่เรือชักพระเริ่มต้นจากการอัญเชิญหลวงพ่อสัมฤทธิ์ออกจากวิหาร นำไปขึ้นรถที่ตกแต่งอย่างสวยงาม แห่ไปตามถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ลงเรือที่ท่าน้ำตรงข้ามศูนย์สาธารณสุข 3บางซื่อ แล้วแห่ไปตามท่าเรือต่าง ๆ ในคลองเปรมประชากร ท่าเรือที่จอด ได้แก่ ท่าโรงเรียนสามเสน 2 ท่าวัดเสมียนนารี ท่าวัดเทวสุนทร เข้าสู่คลองบางเขน จอดที่ท่าวัดโพธิ์ทองล่าง ท่าเรือวัดมัชฌันติการาม แล้วแห่กลับวัดเวตวันธรรมาวาสตามถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี เพื่อทำการปิดทองระหว่างทางจะมีประชาชนมาคอยสักการะและถวายเครื่องบูชาต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล
ที่อยู่ : วัดเวตวันธรรมาวาส ถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี แขวงบางซื่อ เขตบางซื่อ กรุงเทพมหานคร 10800 โทร. 0 2587 8567
รถโดยสารประจำทาง : สาย 16, 30, 32, 50, 51, 65, 97, ปอ.505
ขอขอบคุณ http://www.bmccculture.com/
วัดเวตวันธรรมาวาส
เดิมชื่อ “วัดเชิงหวาย”สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ.2326 โดยราษฎรที่อพยพหลบภัยสงครามมาจากกรุงศรีอยุธยา เพราะปรากฎว่า มีพระพุทธรูปศิลาทรายฝีมือช่างสมัยกรุงศรีอยุธยาอยู่ที่วัดหลายองค์ สภาพวัดเดิมเป็นแบบชนบทอยู่กลางสวน ต่อมาเมื่อมี ถนนตัดผ่าน จึงมีการพัฒนาเปลี่ยนแปลงไป และได้เปลี่ยนนามใหม่เป็น “วัดเวตวันธรรมาวาส” ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 8 ตุลาคม 2508 สังกัด คณะสงฆ์มหานิกาย
ขอขอบคุณ http://www.thaitambon.com/
แหล่งวัฒนธรรม ขนบธรรมเนียมประเพณี เขตบางซื่อ : ประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์ วัดเวตวันธรรมาวาส
วัดเวตวันธรรมาวาสเป็นวัดเก่าแก่สร้างในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้นไม่ปรากฏนามผู้สร้าง เดิมชื่อวัดเชิงหวาย วัดนี้มีพระพุทธรูปเก่าแก่สมัยสุโขทัยคือ หลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปทองสัมฤทธิ์ ปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 7 นิ้ว เดิมองค์พระถูกฝังอยู่ใต้พื้นดินด้านทิศเหนือของอุโบสถ เมื่อประมาณ 100 ปี มีตำนานเล่าว่าท่านได้เข้าฝันชาวบ้านและกล่าวว่าหากมีความประสงค์จะให้บ้านเมืองร่มเย็นเป็นสุข ปราศจากโรคภัยไข้เจ็บให้นำ ท่านขึ้นบชู า จึงมีการค้นหาและนำองค์ท่านขึ้นมาประดิษฐานไว้ที่วัดประเพณีแห่เรือชักพระหลวงพ่อสัมฤทธิ์ เป็นงานประเพณีที่จัดมานานนับ 100 ปี เป็นการจัดร่วมกันระหว่างวัดเวตวันธรรมาวาสกับวัดโพธิ์ทองล่าง แต่ละปีจะจัดประมาณ 5 วัน การแห่พระมีเฉพาะวันแรม 4 ค่ำเดือน 12 ส่วนกิจกรรมภายในวัดทั้ง 5 วันเป็นการจัดงานมหรสพภายในวัด วันแห่เรือชักพระเริ่มต้นจากการอัญเชิญหลวงพ่อสัมฤทธิ์ออกจากวิหาร นำไปขึ้นรถที่ตกแต่งอย่างสวยงาม แห่ไปตามถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี ลงเรือที่ท่าน้ำตรงข้ามศูนย์สาธารณสุข 3บางซื่อ แล้วแห่ไปตามท่าเรือต่าง ๆ ในคลองเปรมประชากร ท่าเรือที่จอด ได้แก่ ท่าโรงเรียนสามเสน 2 ท่าวัดเสมียนนารี ท่าวัดเทวสุนทร เข้าสู่คลองบางเขน จอดที่ท่าวัดโพธิ์ทองล่าง ท่าเรือวัดมัชฌันติการาม แล้วแห่กลับวัดเวตวันธรรมาวาสตามถนนกรุงเทพฯ-นนทบุรี เพื่อทำการปิดทองระหว่างทางจะมีประชาชนมาคอยสักการะและถวายเครื่องบูชาต่าง ๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล
ขอขอบคุณ http://livingculturalsites.com/