วัดเสาธงหิน เป็นวัดเก่าแก่วัดหนึ่ง มีมาแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี แต่เดิมเรียกว่า”วัดสัก” อาจเนื่องมาจากสถานที่ตั้งของวัดเดิมมีต้นสักและต้นยางอยู่มากในสมัยก่อน หลักฐานรายละเอียดของ “วัดสัก” ยังหาไม่พบ เพียงแต่สันนิษฐานและคาดคะเนจากวัสดุก่อสร้างที่ยังพอมีเหลืออยู่ในขณะนี้และคำบอกเล่าจากผู้สูงอายุ เช่น พระประธานในพระอุโบสถหลังเก่าที่หล่อด้วยเนื้อชินเงินหมดทั้งองค์ พร้อมด้วยพระโมคคัลลานะ และพระสารีบุตรก็หล่อแบบอย่างสมัยกรุงศรีอยุธยาส่วนอุโบสถหลังเก่าก็เป็นครื่องยืนยันอีกอย่างหนึ่งว่าเป็นวัดเก่าแก่จริง ๆ วัสดุต่าง ๆ ที่ใช้ในการก่อสร้าง เช่นอิฐก่อผนัง และชุกชี (ฐานพระประธาน) ก็ทำมาจากอิฐก้อนใหญ่ ๆ เหมือนกันกับอิฐที่ใช้สร้างวัดวาอารามในสมัยกรุงศรีอยุธยา ส่วนผสมปูนที่ก่อสร้างหรือปูนที่ใช้ฉาบนั้นก็คงใช้ส่วนผสมต่าง ๆ ตามแบบช่างในสมัยกรุงศรีอยุธยา เครื่องประดับตกแต่งอุโบสถก็ใช้เครื่องใช้ถ้วยชามสมัยเก่าเป็นเครื่องประดับทั้งหน้าบรรณด้านหน้าและด้านหลัง
“วัดสัก”หรือ”วัดเสาธงหิน”ในปัจจุบัน ตามคำบอกเล่าจากผู้เฒ่าผู้แก่ที่สูงอายุ สืบต่อกันมาจนกระทั่งถึง คุณยายยวง พินรอด อายุ ๘๐ ปีเศษ ตั้งบ้านเรือนอยู่ข้างวัดฯ ได้มาทำบุญเป็นประจำ และผู้ใหญ่นวล บุญมี อายุ ๘๐ ปีเศษ ชาวบ้านคลองศรีราษฏร์ อีกคนหนึ่งได้เล่าประวัติของวัดเสาธงหินว่า