วัดศรีโคมคำ พะเยา

DSC_4383

วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง” ภายวนประดิษฐานพระเจ้าตนหลวงซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนา ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร สูง ๑๘ เมตร สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๖๗ พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในวันวิสาขบูชาของทุกปี จะมีงานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงเดือนแปดเป็ง นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยาภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดยอาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ โทร. ๐ ๕๔๔๓ ๑๙๖๓

ขอขอบคุณhttp://thai.tourismthailand.org/

ประวัติตำนานพระเจ้าตนหลวง(วัดศรีโคมคำ)

ภาพวาดประวัติตำนานพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นภาพเก่าซึ่งวาดโดย จ ขันธะกิจ บิดาของสล่าแดง เป็นการเล่าเรื่องราวประวัติดพระพุทธเจ้ากับพญานาคในกว๊านพะเยา และภาพการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากประเทศอินเดียมาที่ดอยจอมทอง นายช่างทองได้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระพุทธองค์แต่มิได้ถวายน้ำฉัน พระพุทธองค์จึงให้พระอานนท์ถือบาตรจะมาตักน้ำสระหนองเอี้ยวข้างเชิงดอย ขณะนั้นมีพญานาคตนหนึ่งอาศัยอยู่ ในสระหนองนั้นเมื่อเห็นพระอานนท์ถือบาตรจะมาตักน้ำ พญานาคก็ไม่ให้ พ่นควันขึ้นที่หงอน แผ่พังพานเป็นประดุจหมอกควันปกคลุมสระหนองจนมองไม่เห็นน้ำ ท่านไม่สามารถตักน้ำในสระนั้นจึงไปกราบบังคมทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงทราบแล้วจึงเสด็จไปประทับยืนข้างสระหนองในทันใดนั้น พญานาคเห็นพระองค์ประทับทำทีจะพ่นควันแผ่พันพานแต่พอเห็นรูปกายของพระพุทธเจ้าเต็มไปด้วยรัศมีเปล่งปลั่ง พญานาคไม่เห็นมาก่อนจึงถามพระองค์ว่า ท่านเป็นใคร มาจาไหน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “เราคือ ตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า” มาจากศากยชนบทเพื่อประกาศสั่งสอนเวนัยสัตว์และประดิษฐานพระพุทธศาสนา เรามาที่นี่เพื่อต้องการน้ำดื่ม ท่านไม่ให้น้ำแก่เรา พระองค์ตรัสต่อไปว่า เมื่ออดีตกาล พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ เช่น พระเ้จ้า กะกุสันธะ ก็เสด็จมาฉันจังหัน และดื่มน้ำในหนองสระที่นี่ครั้นและพระพุทธองค์ก็แสดงอภินิหารเนรมิตพระวรกายของพระองค์ให้ใหญ่เท่ากับพระพุทธเจ้ากะกุสันธะพระองค์นั้น พญานาคเห็นพระวรกายใหญ่และสูง ๓๒ ศอก ครั้นเห็นแล้วจึงเกิดเลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาพร้อมกับได้ถวายน้ำแด่พระองค์พระพุทธองค์ตรัสกะพญานาคต่อไป ว่าเมื่อเราตถาคตปรินิพพานไปแล้ว ศาสนาของเราย่างเข้าจะถึงครึ่งค่อน ๕๐๐๐ พระวรรษา ท่านจงมาสร้าางรากฐานพระพุทธศาสนาลงในสระหนองที่นี่และสร้างพระพุทธรูปให้ใหญ่เท่าพระเจ้ากะกุสันธะสัมมาสัมพุทธะ สูง ๓๒ ศอก เป็นต้น ดังนี้พญานาครับเอาพระดำรัสนั้นแล้วก็กลับสู่นาคพิภพของตน

Read more »

วัดศรีโคมคำ (วัดพระเจ้าตนหลวง)

“พระเจ้าตนหลวง”วัดศรีโคมคำ อ.เมือง จ.พะเยา “วัดศรีโคมคำ” ตั้งอยู่เลขที่ ๖๙๒ ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ริมกว๊านพะเยา กว๊านพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ ๑ ในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นแหล่งน้ำที่มีธรรมชาติงดงาม อยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากบังข้างหลังสูงตระหง่านอย่างงดงามตา คำว่า “กว๊าน” ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง “บึง” มีเนื้อที่ ๑๒,๘๓๑ ไร่ มีความลึกเฉลี่ย ๑.๕ เมตร ลึกที่สุด ๔ เมตร เป็นแหล่งประมงน้ำจืด และเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ กว่า ๕๐ ชนิด เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลานิลปลาไน ฯลฯ ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด พะเยาสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึก จากพ่อพันธุ์ในบ่อเลี้ยงเป็นผลสำเร็จ เป็นแห่งแรกของโลกในปี พ.ศ.๒๕๔๔ สามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาบึกได้เป็นแสนตัว ส่วนหนึ่งได้ปล่อยลงสู่กว๊านพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบ กว๊านพะเยาเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ในยามเย็นชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊าน เป็นภาพที่สวยงามมาก ซึ่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็นและผู้มาเยือน จนอาจกล่าวได้ว่า หัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่ ‘กว๊านพะเยา

“วัดศรีโคมคำ” เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และวัดพัฒนาตัวอย่าง ชาวเมืองพะเยาทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง” ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “พระเจ้าตนหลวง” โดยสร้างขึ้นในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๐๓๔-๒๐๖๗ “พระเจ้าตนหลวง” เป็นพระประธานเก่าแก่ในพระวิหารหลวง ศิลปะเชียงแสนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร และสูง ๑๖ เมตร สร้างจากอิฐมอญผสมกับปูนขาว ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เดือนหกของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง ตามตำนาน พระเจ้าตนหลวงสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๓๔ โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาในสมัยนั้น เจ้าอาวาสรูปแรกที่ปรากฏในตำนาน คือ พระธรรมปาล ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่

มีสมุดข่อยบันทึกว่า วัดศรีโคมคำ เป็นวัดมาแต่โบราณกาล แต่ยุคหลัง บ้านเมืองตกอยู่ในสงคราม ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมือง ที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอาราม รกร้างว่างเปล่าไป ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองก็ดี วัดวาอารามก็ดี ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมืองคือ พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยจากจังหวัดลำพูน มาเป็นประธาน ในการสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ จนสำเร็จบริบูรณ์ กระทั่งเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง นอกจากนี้ ยังมี พระอุโบสถกลางน้ำ ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นโดยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งมวลจากทั่วประเทศ โดยมี “นิยม สิทธหาญ” มัณฑนากรจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และ “จินดา สหสมร” สถาปนิกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันออกแบบ ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติและวิถีชีวิตผู้คน ฝีมือของ “อังคาร กัลยาณพงศ์” ศิลปินแห่งชาติ และ “ภาพตะวัน สุวรรณกูฏ”

ชะตาพระเจ้าตนหลวงตามตำนาน กล่าวได้ว่า “พระโมลีใหญ่ ๒๐ กำมือ สูง ๓ ศอก พระเศียรกลม ๖ วา พระเกศามี ๑,๕๐๐ เส้น ขนาดใหญ่ ๔ กำมือ ขนาดกลาง ๓ กำมือ ขนาดเล็ก ๒ กำมือ ขนาดจิ๋ว ๑ กำมือ พระพักตร์หน้ายาว ๒ วา กว้าง ๒ วา พระขนง (คิ้ว) ๓ ศอก ระหว่างพระขนงกว้าง ๑ ศอก ยาว ๓ ศอก กว้าง ๑ คืบ ดั้งพระนาสิก ๓ ศอก ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ พระโอษฐ์ (ปาก) ยาว ๔ ศอก กว้าง ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ พระกรรณ (หู) ยาว ๖ ศอก กว้างศอกคืบ พระศอยาว ๒ ศอก กลม ๓ วา พระอังสา (บ่า) ยาว ๓ คืบ กระดูกด้ามมีดยาว ๔ วา ตั้งแต่พระอุระ (อก) ถึงพระชานุ (คาง) ๒ วา ตั้งแต่พระถัน (นม) ถึงพระอังสา (ไหล่) ๒ วา ตั้งแต่พระนาภี (สะดือ) ถึงพระอุระ (อก) ๒ วา ระหว่างพระอุระ (อก) กว้าง ๒ วา พระพาหา (แขน) ยาว ๔ วา กลม ๒๙ กำมือ นิ้วพระหัตถ์ใหญ่ ๙ กำมือ ยาว ๑ วา พระกฏิ (สะเอว) กลม ๗ วา ฝ่าพระบาทยาว ๒ วา กว้าง ๓ ศอก ระหว่างพระชานุกว้าง ๗ วา พระหทัยใหญ่ ๖ กำมือ ตั้งแต่ที่ประทับนั่งถึงพระโมลี สูง ๘ วา ๒ ศอก”

Read more »

แหล่งท่องเที่ยว จ.พะเยา วัดศรีโคมคำ(สิ่งที่น่าสนใจ)

พระพุทธบาทจำลอง
001_4_c
ภายในวัดศรีโคมคำ มี ๒ รอยประดิษฐานไว้ในเขตพุทธาวาส อยู่ทางขวามือของพระวิหารพระเจ้าตนหลวง ไม่ทราบแน่นอนว่าสร้างขึ้นในสมัยใด รอยข้างขวากว้าง ๐.๕๖ เมตร ยาว ๑.๓๒ เมตร รอยข้างซ้ายนั้นยาวเท่ากัน ในพื้นฝ่าพระพุทธบาททั้ง ๒ รอย มีลวดลายเกี่ยวกับมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ตามพุทธลักษณะโดยครบถ้วน ลวดลายลักษณะพระพุทธบาทนั้น คล้ายคลึงกับศิลปะสุโขทัย จึงมีความสวยงามมากเป็นพิเศษ อาจถูกจำลองมาจากสุโขทัยก็เป็นได้

Read more »

แหล่งท่องเที่ยว จ.พะเยา วัดศรีโคมคำ

001_3_c

ตราประจำจังหวัดพะเยา มีรูปพระเจ้าตนหลวงวัดศรีโคมคำ เป็นสัญลักษณ์ว่าเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองของชาวพะเยา และคำขวัญประจำจังหวัดยังมีตอนหนึ่งว่าศักดิ์สิทธิ์พระเจ้าตนหลวง จึงเป็นที่กล่าวขานกันว่า ถ้ามาพะเยาแล้วไม่ได้มากราบนมัสการพระเจ้าตนหลวงที่วัดศรีโคมคำแห่งนี้ ถือว่ามาไม่ถึงพะเยา ชาวบ้านเรียกกันว่าพระนั่งดิน เพราะประดิษฐานอยู่บนดินแทนฐานชุกชี เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวพะเยา ช่วงวิสาขบูชา มีประเพณีแปดเป็ง นมัสการพระเจ้าตนหลวง ถือเป็นงานบุญใหญ่ของชาวพะเยา

ประวัติความเป็นมา ตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้งพระพุทธเจ้าเสด็จโปรดเวไนยสัตว์ มาถึงล้านนา พระองค์ได้ประทับที่ดอยไกล้กับหนองเอี้ยงหรือกว๊านพะเยานั่นเอง ได้มีช่างทองมาถวายอาหารแต่ไม่ได้ถวายน้ำ, บินฑบาตร พระอานนท์จึงเดินไปตักน้ำที่หนองเอี้ยง พญานาคที่อาศัยอยู่ในหนองเอี้ยงทำทีพ่นควันแผ่พังพาน ไม่ยอมให้พระอานนท์ตักน้ำ หลังจากกราบทูลให้พระพุทธเจ้าทราบ พระองค์จึงเสด็จไปที่หนองเอี้ยง พญานาคเห็นพระพุทธเจ้ามีพระวรกายสูงใหญ่ เต็มไปด้วยฉับพรรณรังสี จึงเกิดเลื่อมใสศรัทธายอมถวายน้ำต่อพระพุทธเจ้า หลังจากนั้นพญานาคจึงนำทองคำมามอบให้กับตา ยาย ที่บ้านอยู่ริมหนองนกเอี้ยงเพื่อสร้างพระในปี พ.ศ. ๒๐๓๔ สมัยพระยาเมืองยี่ ครองเมืองพะเยา ต่อมาพระยาหัวเคียน และพระเมืองตู้ ใช้เวลาสร้างพระเจ้าตนหลวงนานถึง ๓๓ ปี เสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ. ๒๐๖๗ พระเจ้าตนหลวง เป็นพระพุทธรูปก่ออิฐถือปืนที่ใหญ่ที่สุดในภาคเหนือ สูง ๑๘.๕๐ เมตร หน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร ปางมารวิชัย ปิดทองทั่วทั้งองค์ ในสมัยนั้นเมืองพะเยาได้ขึ้นอยู่กับอาณาจักรล้านนาแล้ว ภายหลังจึงสร้างวิหารครอบองค์พระ

Read more »

วัดศรีโคมคำ จังหวัดพะเยา

watsrikomkam

วัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา อ.เมือง จ.พะเยา เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา สร้างราวพุทธศตวรรษที่ 20 ประดิษฐานพระเจ้าตนหลวง พระพุทธรูปใหญ่ที่สุด และเก่าแก่ที่สุดในแผ่นดินล้านนา”วัดศรีโคมคำ”เป็นชื่อทีใช้ ทางราชการแต่ชาวบ้านโดยทั่วไปยังคงเรียกตามชื่อเดิมว่า วัดพระเจ้าตนหลวง หรือวัดทุ่งเอี้ยงเนื่องจาก มีพระพุทธรูปขนาดใหญ่ เป็นประธานของวัด ที่มีประวัติความเป็นปรากฎ ตามตำนาน เกี่ยวข้องกับการเสด็จ มาของพระพุทธเจ้ารวมถึงการแสดง พุทธทำนายเกี่ยวกับการสร้างพระเจ้าตนหลวง ในบริเวณที่เป็นหนองเอี้ยง สันนิษฐานว่าวัดศรีโคมคำสร้างราว พ.ศ. 2067 ภายหลังจากที่มีการสร้างพระพุทธรูป ขนาดใหญ่ซึ่งปัจจุบัน เรียกติดปาก กันว่า “พระเจ้าตนหลวง” สำหรับพระเจ้าตนหลวงองค์นี้ เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัยหน้าตักกว้าง 14×16 เมตร ปัจจุบันประดิษฐานเป็น พระประธานในวิหารหลวง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นราวปีพ.ศ. 2034 ในสมัยพระยาเมืองยี่ครองเมืองพะเยา (สมัยพระยอดเชียงราย กษัตริย์ลำดับที่ 13 แห่งราชวงค์มังรายของเชียงใหม่ ) ต่อมาในสมัยพระยาอุปราชเจ้าบุรีย์รัตน์ได้ทำการก่อสร้างพระวิหาร ,เสนาสนะต่างๆและลำดับต่อมาก็ได้ตั้งเป็น วัดขึ้นในสมัยของพระยาตู้ ครองเมืองพะเยา ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เดือนหกของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง

ขอขอบคุณ http://www.paiduaykan.com/

วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา

วัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ถนนพหลโยธิน ห่างจากตัวเมืองไปทางเหนือประมาณ ๑,๐๐๐ เมตร ด้านทิศใต้ – ทิศตะวันตก ติดกับกว๊านพะเยา ทิศเหนือ – ตะวันออก ติดกับถนนพหลโยธิน เริ่มก่อสร้างองค์พระประธาน (พระเจ้าตนหลวง) เมื่อ พ.ศ. ๒๐๓๔ มาสำเร็จบริบูรณ์เมื่อ พ.ศ. ๒๐๖๗ ประมาณ ๓๓ ปี จัดเป็นวัดโดยสมบูรณ์ การก่อสร้างในสมัยนั้น พระเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาผู้ทรงอุปถัมภ์

ในกาลต่อมาหัวเมืองต่าง ๆ ของล้านนาไทยหลายหัวเมืองถูกข้าศึกพม่าเข้ารุกราน ทำให้ประชาชนสูญเสียทรัพย์สินแก่ข้าศึก แม้ทรัพย์สินของพระ ศาสนาก็ต้องทอดทิ้งปล่อยให้ปรักหักพัง บ้านเมืองรกร้างว่างเปล่าอยู่ประมาณ ๕๖ ปี ถึง พ.ศ. ๒๓๘๗ ทรงโปรดเกล้าแต่งตั้งนายพุทธวงศ์ เมืองลำปาง เป็นพระยาประเทศอุดรทิศ ขึ้นมาครองเมืองพะเยา ทรงตั้งนายมหายศ เป็นพระยาอุปราช ครั้นพระยาประเทศอุดรทิศถึงแก่อนิจกรรมไปทรง โปรดเกล้าฯ นายมหายศขึ้นครองเมืองพะเยาแทน ทรงตั้งเจ้าบุรีรัตน์ขั้นเป็นพระยาอุปราชแทน ท่านทั้งสองได้เริ่มบูรณะองค์พระประธาน และบูรณะวัด ศรีโคมคำขึ้นใหม่ เริ่มก่อสร้างพระวิหารและเสนาสนะขึ้นมีสภาพเป็นวัดสมบูรณ์ ต่อจากนั้นเจ้าผู้ครองเมืองพะเยาอีกพะเยาอีกหลายองค์ เช่น เจ้าหลวง อินทะชมพู เจ้าหลวงขัตติยะ เจ้าหลวงชัยวงศ์ จนถึงองค์สุดท้าย คือ พระยาประเทศอุดรทิศ (มหาชัย ศีติสาร) ครองเมืองพะเยา ทุกองค์ได้บูรณะปฏิสังขรณ์วัดศรีโคมคำ

Read more »

ประวัติวัดศรีโคมคำ

01

“พระเจ้าตนหลวง”วัดศรีโคมคำ อ.เมือง จ.พะเยา “วัดศรีโคมคำ” ตั้งอยู่เลขที่ ๖๙๒ ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ริมกว๊านพะเยา กว๊านพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ ๑ ในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นแหล่งน้ำที่มีธรรมชาติงดงาม อยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากบังข้างหลังสูงตระหง่านอย่างงดงามตา คำว่า “กว๊าน” ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง “บึง” มีเนื้อที่ ๑๒,๘๓๑ ไร่ มีความลึกเฉลี่ย ๑.๕ เมตร ลึกที่สุด ๔ เมตร เป็นแหล่งประมงน้ำจืด และเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ กว่า ๕๐ ชนิด เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลานิลปลาไน ฯลฯ ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด พะเยาสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึก จากพ่อพันธุ์ในบ่อเลี้ยงเป็นผลสำเร็จ เป็นแห่งแรกของโลกในปี พ.ศ.๒๕๔๔ สามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาบึกได้เป็นแสนตัว ส่วนหนึ่งได้ปล่อยลงสู่กว๊านพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบ กว๊านพะเยาเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ในยามเย็นชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊าน เป็นภาพที่สวยงามมาก ซึ่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็นและผู้มาเยือน จนอาจกล่าวได้ว่า หัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่ ‘กว๊านพะเยา

“วัดศรีโคมคำ” เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และวัดพัฒนาตัวอย่าง ชาวเมืองพะเยาทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง” ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “พระเจ้าตนหลวง” โดยสร้างขึ้นในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๐๓๔-๒๐๖๗ “พระเจ้าตนหลวง” เป็นพระประธานเก่าแก่ในพระวิหารหลวง ศิลปะเชียงแสนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร และสูง ๑๖ เมตร สร้างจากอิฐมอญผสมกับปูนขาว ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เดือนหกของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง ตามตำนาน พระเจ้าตนหลวงสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๓๔ โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาในสมัยนั้น เจ้าอาวาสรูปแรกที่ปรากฏในตำนาน คือ พระธรรมปาล ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่

Read more »

วัดศรีโคมคำ หรือ วัดพระเจ้าตนหลวง

พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ สังกัดมหานิกาย ภายในวิหารประดิษฐานพระเจ้าตนหลวงเป็นพระประธาน สร้างขึ้นในรัชสมัยของพญายอดเชียงราย กษัตริย์ลำดับที่ 10 แห่งราชวงศ์มังราย

วัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา เขตเทศบาลเมืองพะเยา เลขที่ 692 ถนนพหลโยธิน หมู่ที่ 1 ตำบลเวียง อำเภอเมืองพะเยา จังหวัดพะเยา เนื้อที่รวมทั้งสิ้น ประมาณ 74 ไร่

ประวัติ
วัดศรีโคมคำเป็นวัดที่สร้างขึ้นภายหลังจากการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง ตัววิหารหลังเดิม ไม่ปรากฏหลักฐานแน่ชัดว่าผู้ใดสร้าง เนื่องจากเมืองพะเยามีการอพยพผู้คนจากภัยสงคราม ทำให้ตัวเมืองถูกปล่อยร้าง จนกระทั่งมีการฟื้นฟูเมืองขึ้นมาใหม่ หลังยุคที่กรุงธนบุรีและรัตนโกสินทร์ ตีเอาล้านนามาจากพม่า มาจนถึงช่วงที่พระยาประเทศอุดรทิศ เป็นผู้ครองเมืองพะเยาคนสุดท้าย ก่อนที่จะมีการเปลี่ยนระบบการปกครองแบบหัวเมือง มาเป็นมณฑลเทศาภิบาลในสมัยรัชกาลที่ 5 ช่วงสมัยนี้ เริ่มมีการบูรณะวัดศรีโคมคำและพระเจ้าตนหลวงขึ้นมาอีกครั้ง หลังตัววัดและองค์พระมีสภาพทรุดโทรมมาเกือบ 60 ปี

Read more »

นมัสการพระพุทธรูปทองคำ และชมพิพิธภัณฑ์ ณ วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

wattraimitr-02

วัดไตรมิตรวิทยาราม ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร เป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ ประมาณปี พ.ศ. 2375 มีชื่อเดิมว่า “วัดสามจีน” เข้าใจกันว่า จีน 3 คนร่วมกันสร้างพระอารามเพื่อเป็นวิหารทานการบุญ และได้เปลี่ยนนามใหม่เป็น วัดไตรมิตรวิทยาราม เมื่อปี พ.ศ. 2482 ต่อมาได้รับพระราชทานยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เมื่อปี พ.ศ. 2499
วัดไตรมิตรวิทยารามได้มีการจัดสร้างพระมหามณฑปเฉลิมพระเกียรติ เนื่องในโอกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราช สมบัติครบ 60 ปี ในปี พ.ศ. 2549 และทรงเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษาในปี พ.ศ. 2550 โดยได้รับความร่วมมือจากประชาคมนักธุรกิจเขตสัมพันธวงศ์ ชุมชนชาวไทยเชื้อสายจีนและพุทธศาสนิกชน ปัจจุบันได้เปิดให้นักท่องเที่ยวกับพุทธศาสนิกชนได้เยี่ยมชมพระมหามณฑป และนมัสการพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากรอย่างเป็นทางการ เมื่อวันที่ 5 มกราคม พ.ศ. 2553
พระมหามณฑปฯ มีความสูงสี่ชั้น ชั้นล่างสุดเป็นพื้นที่จอดรถ ชั้นสองและสามเป็นพิพิธภัณฑ์ และชั้นสี่เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร (หลวงพ่อทองคำ) ซึ่งเป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดในโลก เรามาเดินชมสถานที่ต่างๆ ภายในพระมหามณฑปแต่ละชั้นกัน
Read more »

ขอพรหลวงพ่อทองคำ วัดไตรมิตรงามวิจิตร เที่ยวชมพิพิธภัณฑ์เยาวราช กรุงเทพ

วัดไตรมิตร10

ไม่ได้ไปเยือนแถวเยาวราชเสียนาน เมื่อโฉบเฉี่ยวไปก็ต้องตะลึงในความยิ่งใหญ่สวยงามของพระมหามณฑปของวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่บริเวณส่วนหัวของมังกรในความเชื่อเรื่องถนนสายมังกร โดยวัดนี้เดิมเป็นวัดโบราณชื่อว่า “วัดสามจีน” เนื่องจากเชื่อว่าผู้ที่สร้างวัดเป็นชาวจีนกลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย ในจำนวนนั้นมีชาวจีน 3 คนที่สร้างเนื้อสร้างตัวจนร่ำรวยเป็นเจ้าสัว มีจิตศรัทธาร่วมใจกันสร้างวัดแห่งนี้ขึ้น จึงเรียกว่าวัดสามจีน แต่ภายหลังจากที่มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร”

พระพุทธทศพลญาณ พระประธานของวัดไตรมิตร
แต่ก่อนที่จะขึ้นไปเยี่ยมชมพระมหามณฑปที่สวยเด่นเป็นสง่าหลังใหม่นี้ ก็ต้องไปยังพระอุโบสถที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2490 แทนพระอุโบสถเดิมที่เสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นพระอุโบสถทรงจัตุรมุข หลังคาสามชั้น มีชานรอบพระอุโบสถ บานประตู หน้าต่างเขียนลายรดน้ำสวยงาม ภายในประดิษฐาน “พระพุทธทศพลญาณ” พระประธานของวัดไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้นลงรักปิดทอง

Read more »

วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร Wat Traimitr Withayaram

3

วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นวัดโบราณสร้างเมื่อสมัยใดไม่ปรากฏหลักฐาน เดิมมีชื่อว่า วัดสามจีนใต้ มีคำเล่ากันว่าวัดสามจีน เดิมมีอยู่สามวัด คือ วัดสามจีนอยู่ในคลองบางอ้อด้านตรงข้ามกับเทเวศร์วัดหนึ่ง วัดสามจีนเหนือ บางท่านก็ว่าอยู่ที่บางขุนพรหม บางที่ก็ว่าอยู่ที่จังหวัดนนทบุรี สำหรับวัดที่อยู่บางขุนพรหม คือ วัดสังเวชวิศยาราม ส่วนที่อยู่จังหวัดนนทบุรี ได้แก่ วัดโชติการาม อำเภอเมืองนนทบุรี และวัดสามจีนใต้ ได้แก่ วัดไตรมิตรวิทยาราม เหตุที่เรียกว่าวัดสามจีน ก็เนื่องด้วยเหตุว่ามีชาวจีน3 คนได้ช่วยกันก่อสร้างขึ้นมาจึงได้นามว่า “วัดสามจีน”

วัดไตรมิตรวิทยารามเดิมมีพื้นที่ราบลุ่ม มีลักษณะน้ำขังได้ทั่วไป ปัจจุบันได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ของวัดทั้งหมดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วทั้งภายในบริเวณวัด และวัดมีเขตอุปจารวัดดังนี้
ทิศเหนือ จรดกับถนนพระราม 4
ทิศใต้ จรดกับถนนตรีมิตร
ทิศตะวันออก จรดกับซอยสุกร 1
ทิศตะวันตก จรดกับถนนเจริญกรุง

Read more »

วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร

8071f6659976e646b28951c2da688159

วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร หรือ วัดสามจีน วัดที่มีพระพุทธรูปทองคำใหญ่ที่สุดในโลก แต่ไม่เพียงเท่านั้น วัดไตรมิตรยังมีพิพิธภัณฑ์เยาวราช ซึ่งเป็นสถาานที่เล่าการเดินทางของชาวจีนในไทย ที่ข้ามทะเล เข้ามาตั้งรกราก ทำมาหากิน จนกลายเป็นเยาวราชในปัจจุบัน และ ให้ข้อมูลบุคคลสำคัญที่เป็นชาวจีน

เว็บไซต์
www.wattraimitr-withayaram.com

เบอร์โทรศัพท์
02-623-3329

Read more »

วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร

dsc_8162

เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อว่า “วัดสามจีน” เล่ากันว่าชาวจีน 3 คน เป็นมิตรที่สนิทสนมกันมาก ร่วมใจกันสร้างเพื่อถวายเป็นวิทยาทาน ต่อมาได้นามว่า “วัดไตรมิตรวิทยาราม” ทำพิธีเปิดป้ายวัด เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ปี 2482 ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี 2499

สถาปัตยกรรมที่สำคัญ

พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงจตุรมุข หลังคาลด 2 ชั้น มีมุขคล้ายมุขเด็จอีกขั้นหนึ่ง หน้าบันทั้ง 4 ด้าน ประดับปูนปั้นรูปพระนารายณ์ พระอิศวร และพระพรหม ปิดทอง ประดับกระจก ภายในเพดานประดับดวงดาวโลหะ ปิดทองประดับกระจก ผนังภายในระดับใต้ขอบหน้าต่างเป็นหินขัดสีเข้ม เขียนลายไทย ซุ้มประตูหน้าต่างประดับปูนปั้น ในวงกรอบทรงโค้งกลม ยอดแหลม ประดับลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำภาพทวารบาล ชานด้านหน้าพระอุโบสถมีซุ้มบุษบกทรงจตุรมุขมีใบเสมาที่มุมพระอุโบสถ ทั้ง 4 มุม สร้างขึ้นในปี 2489
พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทองปางมารวิชัย พระนามว่า “พระพุทธทศพลญาณ” ประชาชนนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อโตวัดสามจีน” หรือ “หลวงพ่อวัดสามจีน”

Read more »

วัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ จ.กรุงเทพฯ

วัดไตรมิตรวิทยาราม เดิมชื่อวัดสามจีนใต้ เนื่องจากเกิดจากชาวจีนสามคนร่วมกันสร้างขึ้น ต่อมาได้พัฒนาบูรณะปรับปรุงให้ดีขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม และบูรณะปฏิสังขรณ์จนสวยงามดังเช่นปัจจุบัน จากครั้งที่ทางทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.Thongteaw.com) ได้เดินทางมาที่เยาวราช (คลิ๊กที่หน้าท่องเที่ยวกรุงเทพฯ เลือกเยาวราช) ได้เดินผ่านวัดไตรมิตรฯแห่งนี้ได้พบกับอาคารสีขาวที่มีความสวยงามน่าชม ได้เข้าไปเพื่อขอชมปรากฏว่าปิดแล้ว ครั้งที่สองก็ยังเข้าชมไม่ได้เนื่องจากมีคณะท่องเที่ยวขนาดใหญ่มา และใกล้เวลาปิดทำการจึงอดอีก คราวนี้ทางทีมงานของเราจึงตั้งใจว่าไปให้เช้าขึ้นเพื่อที่จะได้เข้าชมจริง ๆ เสียที การเดินทางของเราก็เหมือนทุกครั้งที่มาแถวนี้คือจอดรถแล้วขึ้นรถเมล์(บางครั้งก็ไม่ได้ฟรี) จึงไม่ต้องมีปัญหาเรื่องการหาที่จอดรถมากนักเนื่องจากที่จอดรถของทางวัดมีจำกัด เมื่อมาถึงทีมงานของเราเริ่มไปไหว้พระในพระอุโบสถ “พระพุทธทศพลญาณ” หรือหลวงพ่อโตวัดสามจีน ทำบุญก่อน แล้วจึงเข้าเที่ยวชมพระมณฑป
พระมหามณฑป หรือพระมหามณฑปเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้นแบ่งเป็น 4 ชั้น โดยชั้นที่ 1 ที่ทางทีมงานเราเข้าไปเมียง ๆ มอง ๆ แอบดู มืดสนิทคล้ายห้องโถงกว้างสำหรับเก็บของ (เป็นการคาดเดาเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน) จึงเดินผ่านไป ขึ้นบันไดหลายขั้นแต่ท่านผู้สูงอายุที่เดินทางมาก็มิได้ย่อท้อแต่อย่างใด จนมาถึงชั้น 2 ทีมงานของเราก็ยังไม่ยอมแวะพัก เดินตรงต่อไปถึงชั้น 3 และชั้น 4 ดังนั้นจึงขอพาทุกท่านกระโดดข้ามมาที่ชั้นบนสุดของพระมหามณฑปองค์นี้ก่อนคือ
Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .