ล่องเรือ..ไหว้พระ ๙ วัด เกาะเกร็ด แก้ปีชง

44480d1d8

กิจกรรม ล่องเรือไหว้พระ ๙ วัด รอบเกาะเกร็ด กับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดนนทบุรี โดยจุดลงเรือ และลงทะเบียนได้ที่ วัดใหญ่สว่างอารมณ์ ตาม เวลาที่ ท่านสะดวก แต่ละรอบ ใช้เวลาที่สิ้น ราว ๕ ชั่วโมง ในแต่ละรอบ ท่านที่มาเป็นหมู่คณะ ควรมาในรอบแรกๆ จะสะดวกที่สุด เพราะจะกลับมา ณ จุดเดิมไม่เย็นจนเกินไป ลองติดตามดูนะครับ ขอให้สนุกและได้บุญร่วมกันครับ

เข้าไปจอดรถในบริเวณวัดได้เลย..และติดต่อลงทะเบียน ที่ ศาลาทรงไทย มีป้ายบอกจุดลงทะเบียนไว้

ไปถึงจองเวลาที่ จะลงเรือ และรับบัตรลงเรือ พร้อมป้ายชื่นจากเจ้าหน้าที่ได้ ไม่ต้องเสียค่าใช้จ่ายใดใด

444803d01

ทางที่จะลงเรือ..จะมีเจ้าหน้าที่ ตรวจบัตร เพื่อนับจำนวนผู้โดยสาร

Read more »

ไหว้พระ 9 วัด นนทบุรี

วัดที่หนึ่ง คือ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลิมพระเกียรติ 15 ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2390 ที่มีความสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง มาร่วม 135 ปีแล้ว

และวัดที่สอง คือ วัดตะเคียน ตั้งอยู่ริมถนนนครอินทร์ (พระราม ๕) ต.บางคูเวียง อ.บางกรวย จ.นนทบุรี มาไหว้พระที่วัดนี้เสร็จก็พากันเดินเล่น ซื้อขนมนั่งทานเล่นกันสักพัก เพราะที่นี้มีตลาดน้ำ

วัดที่สาม คือ วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์(วัดเล่งเน่ยยี่2 ) ตั้งอยู่บนพื้นที่ 12 ไร่ ของตำบลโสนน้อย อำเภอบางบัวทอง จังหวัดนนทบุรี จากเดิมที่เป็นโรงเจขนาดเล็ก ปัจจุบันพื้นที่นี้ ได้กลายมาเป็นวัดขนาดใหญ่ ซึ่งคณะสงฆ์จีนนิกายได้สร้างเป็นวัดเฉลิมพระเกียรติ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช เนื่องในวโรกาสมหามงคลปีกาญจนาภิเษก ทรงครองราชย์ครบ 50 ปี

วัดที่สี่ คือ วัดสะพานสูง ตั้งอยู่ที่อำเภอปากเกร็ด มีชื่อเดิมว่า วัดสว่างอารมณ์ สาเหตุที่เปลี่ยนชื่อเพราะในคราวที่สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส
วัดบวรนิเวศวิหารเสด็จไปตรวจวัดสว่างอารมณ์ทอดพระเนตรเห็นสะพานสูงในวัด ชาวบ้านแถบนั้นเรียกกันว่า วัดสะพานสูง จนติดปาก จึงพระราชทานนามวัดใหม่ว่า วัดสะพานสูง มาจนทุกวันนี้

Read more »

ไหว้พระ 9 วัด นนทบุรี

พาไปไหว้พระเก้าวัดที่นนทบุรี อันที่จริงก็ยังไม่ได้คิดว่าจะไปไหว้พระกัน เพียงแต่ว่าวันนี้เราทุกคนที่บ้านจะออกไปแก้ชงและเสริมดวงกันที่วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ ที่บางบัวทอง แต่แล้วเมื่อไปถึงก็เลยตกลงว่าจะไปต่อโดยการไปไหว้พระกันต่อให้ครบเก้าวัด เราเริ่มต้นนับวัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ เป็นวัดแรกแล้วกัน มาถึงวัดก็ปาเข้าไปจะสิบโมงแล้ว กว่าสมาชิกทุกคนจะไหว้พระกันเสร็จก็ปาเข้าไปจะเที่ยง เหลือเวลาอีกครึ่งวัน แล้วจะไหว้พระกันทันไหม แต่แล้วก็ตกลงกันว่าไหว้ได้แค่ไหนก็แค่นั้น ไม่ถึง 9 วัดก็ไม่เป็นไร สมาชิกทุกคนเลยไปไหว้พระกันแบบไม่ต้องเร่งรีบมาก ไปกันเรื่อย ๆ สบาย ๆ

เริ่มต้นที่วัดแรก วัดบรมราชากาญจนาภิเษกอนุสรณ์ บางบัวทอง วันนี้เป็นวันอาทิตย์ คนเยอะมากมายเลย กว่าจะเบียดเสียดผู้คนไปไหว้พระกันเสร็จก็ปาเข้าไปสิบเอ็ดโมงกว่าแล้ว วัดนี้สำหรับสุภาพสตรีที่ไปไหว้พระควรใส่กางเกงที่ยาวเลยเขาลงมานะคะ ถ้าใครใส่ขาสั้นจะมีผ้าไว้ให้ใส่คุมอีกที

วัดที่สอง วัดบางไผ่ (พระอารามหลวง) วัดได้ก่อตั้งเมื่อประมาณ พ.ศ. ๒๓๐๙โดยมีเศรษฐีถวายที่ดินในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๓๑๕ เขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๐ เมตร ยาว ๑๗ เมตร ได้ผูกพัทธสีมา เมื่อพ.ศ.๒๓๑๕ ต่อมาชุมชนได้เจริญขึ้น มีหมู่บ้านล้อมวัดอยู่หลายหมู่บ้านทำให้ประชากรเพิ่มมากขึ้น จำนวนพระสงฆ์ที่จำพรรษาจึงเพิ่มขึ้นทำให้อุโบสถเก่าเล็กไปไม่พอเพียงต่อการรองรับพระภิกษุสงฆ์ในการทำสังฆกรรม ทางคณะกรรมการจึงได้ปรึกษาและมีมติเห็นชอบพร้อมเพรียงกันในการก่อสร้างอุโบสถหลังใหม่เพื่อรองรับสังฆกรรมของคณะสงฆ์ในเขตพัทธสีมาที่มีจำนวนเพิ่มขึ้น

Read more »

ทำบุญไหว้พระ 9 วัด

เป็นเพราะอยู่เมืองพุทธ และ นับถือศาสนาพุทธ ไม่มีอะไรให้ความสุขทางจิตใจ ไปมากกว่าการเข้าวัด ไม่ว่าจะสุข เศร้า เหงา อกหัก ศาสนาจึงเป็นที่พึ่งทางใจได้อย่างเหนียวแน่นไม่เสื่อมคลายและด้วยเหตุนี้เองกระมัง! จึงเป็นที่มาของการเริ่มต้นชักชวนเหล่าเพื่อนพ้องอีกครั้ง หลังจากที่เคยไหว้พระ 9 วัด

วัดสังฆทาน..เน้นปฏิบัติธรรม
สำหรับวัดแรกที่ได้เข้าไปกราบนมัสการ คือ วัดสังฆทาน วัดนี้เป็นวัดเก่าแก่ไม่ปรากฏว่าสร้างขึ้นมาตั้งแต่เมื่อไหร่ ปัจจุบันมีหลวงพ่อสนอง กตปุญโญ เป็นเจ้าอาวาส

สิ่งที่น่าสนใจในสถานที่แห่งนี้คือ ภายในพระอุโบสถทรงเจดีย์ สถานที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ 2 พระองค์ ที่อัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา พระบรมสารีริกธาตุองค์หนึ่งมีลักษณะพิเศษ ซึ่งเป็นลักษณะที่ไม่ค่อยได้พบเห็นง่ายนัก คือ องค์พระบรมธาตุเป็นรูพรุนขนาดเล็กทั่วทั้งองค์คล้ายฟองกระดูก ซึ่งทางวัดได้ถ่ายรูปและพิมพ์เป็นภาพขนาดใหญ่แสดงไว้บริเวณสถานที่ประดิษฐาน ทั้ง 2 พระองค์ และในบริเวณเดียวกันมีการจัดสถานที่ประดิษฐานพระอรหันตสาวกธาตุสมัยพุทธกาล และพระธาตุ-อัฐิ ครูบาอาจารย์สายหลวงปู่มั่นไว้อีกหลายองค์

เมื่อหลวงพ่อสนอง กตปุญโญได้มาพบวัดสังฆทานครั้งแรก ในปี พ.ศ.2511 ท่านได้พิจารณาสถานที่ว่าเหมาะสมแก่การเผยแผ่พระพุทธศาสนาและปฏิบัติธรรม ท่านได้กลับมาอีกครั้งในปี พ.ศ. 2517 ในปีต่อมาจึงได้ร่วมกับพระเณรและชาวบ้าน ช่วยกันบูรณะองค์หลวงพ่อโต ในปี พ.ศ. 2536 หลวงพ่อสนองจึงดำริให้รื้อศาลาหลังเดิมที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตออกเพื่อสร้างพระอุโบสถขึ้นแทน และหลวงพ่อสังวาลย์ เขมโก ได้วางศิลาฤกษ์สร้างพระอุโบสถในวันมาฆบูชา ปี พ.ศ. 2537

Read more »

ตะลอนไหว้พระ 9 วัด จ.นนทบุรี

พุทธศาสนิกชนต้องการที่จะทำบุญไหว้พระในจังหวัดนนทบุรี ซึ่งเป็นจังหวัดที่ได้รับความนิยมไม่แพ้ที่ไหน ด้วยประวัติศาสตร์และความสวยงามของวัดต่างๆ ที่หยิบยกมาเสนอนั้น อาจจะใกล้ไกล สามารถนั่งรถ ลงเรือ พาครอบครัว เพื่อน หรือคนรักทำบุญ พร้อมกับเที่ยวชมความงามของวัดทั้ง 9 ด้วยจิตใจที่สดใสเบิกบานกับ 9 วัดในจังหวัดนนทบุรีได้แล้ว

วัดเสาธงทอง

อยู่ ใกล้กับวัดไผ่ล้อม สร้างโดยชาวมอญในสมัยธนบุรี เดิมชื่อวัดสวนหมาก คนมอญเรียกกว่า เพียะอาล้าต |ภายในวัดมีเจดีย์ย่อมุมไม้สิบสองอยู่ใกล้อุโบสถ เป็นเจดีย์ขนาดใหญ่ได้ชื่อว่าสูงที่สุดในปากเกร็ด สร้างขึ้นในสมัยอยุธยา มีเจดีย์บริวารอีก 12 องค์ ด้านข้างอุโบสถยังมีเจดีย์อีกสององค์ องค์หนึ่งเป็นเจดีย์ทรงระฆังอีกองค์มีรูปทรงคล้ายผลมะเฟือง ดูแปลกตา สิ่งที่ควรชมคือตึกขุนเทพภักดี คหบดีชาวมอญ บริจาคเงินสร้างขึ้นเมื่อ พศ.2451

วัดสังฆทาน

เดิมชื่อ วัดศาริโข สร้างขึ้นในสมัยอยุธยาตอนปลาย เป็นวัดที่มีหลวงพ่อโต พระพุทธรูปปางมารวิชัยเป็นพระประธาน ต่อมาได้กลายเป็นวัดร้าง ชาวบ้านในละแวกใกล้เคียงและที่อื่นก็ยังเคารพสักการะบูชาไม่เสื่อมคลาย เพราะถือว่าเป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ ภายหลังชาวบ้านจึงต้อง นิมนต์พระจากละแวกใกล้เคียงมาเพื่อถวายสังฆทานจนถูก เรียกติดปากว่า “วัดสังฆทาน” มีปูชนียวัตถุ คือ พระประธานนามว่า “หลวงพ่อโต”

Read more »

ไหว้พระ 9 วัด จ.นนทบุรี

ล่องเรือไหว้พระ 9 วัดรอบเกาะเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นกิจกรรมท่องเที่ยวที่จัดขึ้นมาเมื่อประมาณ ปี 2551 เราเคยมากิจกรรมนี้ครั้งหนึ่งในปี 2552 จัดขึ้นในช่วงเทศกาลทุเรียนนนท์ ระหว่างวันที่ 22-31 พฤษภาคม 2552 ซึ่งได้รับการตอบรับเป็นอย่างดีจากนักท่องเที่ยว มีคนมาเที่ยวทั้งงานทุเรียนและไหว้พระ 9 วัด กันแน่นไปหมด ตอนนั้นมีเรือบริการฟรีตลอดวันด้วย ขึ้นจากท่าเรือไหนก็ได้ที่เป็นวัดในโครงการ ประกอบไปด้วย วัดใหญ่สว่างอารมณ์ ซึ่งเป็นสถานที่จัดงานทุเรียนนนท์นั่นเอง วัดเสาธงทอง วัดปรมัยยิกาวาส วัดฉิมพลีสุทธาวาส วัดกลางเกร็ด วัดเชิงเลน วัดท่าอิฐ แล้วบังเอิญว่าปีนั้นฝนตกลงมาอย่างหนักเราก็เลยไม่ได้ไปครบ 9 วัด

มาวันนี้ 5 ปี ผ่านไปแล้ว (เร็วจัง) เราก็ได้กลับไปที่วัดใหญ่สว่างอารมณ์เพื่อร่วมเดินทางล่องเรือไหว้พระ 9 วัดกันอีกครั้ง ดูว่ามีอะไรเปลี่ยนแปลงไปบ้าง ดูเหมือนว่ากิจกรรมนี้จะได้รับความนิยมอย่างต่อเนื่อง เรือบริการฟรีจัดให้ทุกเสาร์ – อาทิตย์ วันละ 2 รอบ เวลา 10.30 น. กับ 12.00 น. ไปจนถึงเดือนกันยายน 2557 เลย โดยไปขึ้นจากวัดใหญ่สว่างอารมณ์ รับเฉพาะคนที่ลงทะเบียนมีบัตรขึ้นเรือฟรีเท่านั้น เส้นทางล่องเรือรอบเกาะเกร็ดประกอบด้วยวัดต่างๆ ดังนี้

1.วัดใหญ่สว่างอารมณ์ 2.วัดบางจาก 3.วัดเสาธงทอง 4.วัดไผ่ล้อม 5.วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร 6.วัดฉิมพลี 7.วัดกลางเกร็ด 8.วัดเชิงเลน 9.วัดท่าอิฐ 10.วัดแสงสิริธรรม

Read more »

ประวัติวัดปรมัยยิกาวาส

วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหารเป็นพระอารามหลวงชั้นโท เดิมชื่อ วัดปากอ่าว เป็นวัดโบราณสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา ถูกปล่อยให้เป็นวัดร้าง หลังจากการเสียกรุงศรีอยุธยา ครั้งที่ 2 จนถึง พ.ศ. 2317 พระเจ้าตากสินมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญมาตั้งบ้านเรือนที่เกาะเกร็ด พระสุเมธาจารย์ (เถ้า) พระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายรามัญได้รวบรวมผู้มีจิตศรัทธาสร้างขึ้น ได้สร้างเจดีย์ทรงรามัญ ชื่อ เจดีย์ร่างกุ้ง

วันเสาร์ขึ้น 6 ค่ำ เดือน 12 พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุมจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวเสด็จพระราชดำเนินทอดกฐิน ณ วัดปากอ่าวและวัดใกล้เคียง ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณวัดซึ่งปรักหักพังและทรุดโทรม ทรงคำนึงถึงพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตน์ราชประยูร ซึ่งอภิบาลบำรุงพระองค์มาแต่ยังทรงพระเยาว์ ทรงมีรับสั่งอยู่เนืองๆ ว่าถ้าทรงพระเจริญขึ้นแล้ว ขอให้ทรงช่วยให้ได้สร้างพระอารามหนึ่ง จึงทรงกำหนดจะปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าว และทรงมีพระราชดำรัสต่อพระคุณวงศ์ (สน) เจ้าอาวาสให้ทราบพระราชประสงค์ และ ทรงนำพระราชดำริกราบทูลแด่พระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตน์ราชประยูร ซึ่งทรงพระปิติปราโมทย์เมื่อได้ทรงทราบเช่นนั้น

การปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าว มีพระยาอัศนีศาภัยจางวางกรมพระแสงปืนต้น เป็นแม่กองปฏิสังขรณ์ เริ่มทำกุฏิสงฆ์และหอไตรแบบมอญเมื่อวันอาทิตย์ขึ้น 2 ค่ำ เดือนยี่ ปีจอ พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินมาก่อฤกษ์พระอุโบสถใหม่ โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร (ต้นราชสกุลกฤดากร) เป็นนายกอง พระราชสงคราม (ทัด) เป็นช่างทำพระอารามที่สร้างใหม่ทั้งหมด คงรูปแบบมอญไว้เนื่องจากเป็นวัดมอญ

Read more »

วัดปรมัยยิกาวาส ตำบลเกาะเกร็ด, อำเภอเมืองนนทบุรี, จังหวัดนนทบุรี

e0de3b9288ff04177b58b5438243ad49

วัดปรมัยยิกาวาส(วัดปากอ่าว) ในวัดนี้มีสิ่งที่น่าชมอยู่หลายอย่าง ที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม(โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตระหง่านอยู่ ส่วนพระอุโบสถมีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้นพระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริ่มการสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบันที่นี่เป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐานวรการ ผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ 5 ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้งามด้วยฝีพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง เอกลักษณ์ของมอญอีกอย่างหนึ่งในวัดนี้คือ เจดีย์ทรงรามัญที่จำลองแบบมาจากพระธาตุเจดีย์มุเตา เมืองหงสาวดี ตั้งอยู่ด้านเหนือของวัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งคนมอญนับถือมาก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ พระวิหาร ประดิษฐานพระพุทธไสยาสน์สมัยอยุธยาตอนปลาย ขนาดยาว 9.50 เมตร ภาพจิตรกรรมที่เพดานนั้นแปลกตากว่าที่อื่น เป็นภาพลายปฐมจุลจอมเกล้า หน้าพระวิหารประดับตราพระเกี้ยว เป็นตราประจำพระองค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ด้านหลังพระวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี “พระนนทมุนินท์” เป็นพระพุทธรูปสมัยอยุธยาตอนปลาย ปางขัดสมาธิเพชร ประดิษฐานอยู่ในบุษบกแบบมอญ(จองพารา) สลักโดยฝีมือช่างที่นี่ ที่มุขเด็จหน้าวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปหินอ่อน ซึ่ง ซาง ซิว ซูน ชาวพม่าถวายให้กับรัชกาลที่ 5 พระวิหาร Read more »

พิพิธภัณฑ์วัดปรมัยยิกาวาส

exh5

วัดปรมัยยิกาวาสวรวิหาร เดิมชื่อวัดปากอ่าว เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยอยุธยา ถูกทิ้งร้างหลังจากคราวเสียกรุงครั้งที่ 2 จนถึงพ.ศ. 2317 สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯให้ชาวมอญมาตั้งบ้านเรือนที่เกาะเกร็ด พระสุเมธาจารย์(เถ้า) พระเถระผู้ใหญ่ฝ่ายรามัญได้รวบรวมผู้มีจิตศรัทธาสร้างเจดีย์ทรงรามัญ ชื่อเจดีย์ร่างกุ้ง รวมทั้งพระพุทธไสยาสน์ขึ้น ต่อมาท่านได้เป็นเจ้าอาวาสองค์แรกของวัดนี้
พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐิน ณ วัดปากอ่าวและวัดใกล้เคียง ได้เสด็จทอดพระเนตรบริเวณวัดซึ่งเสนาสนะต่างปรักหักพังทรุดโทรม ทรงคำนึงถึงพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมเสด็จพระสุดารัตน์ราชประยูรณ์ ซึ่งอภิบาลบำรุงพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ ทรงรับสั่งอยู่เนือง ๆ ว่า ถ้าทรงพระเจริญขึ้นแล้วขอให้ทรงช่วยให้ได้สร้างพระอารามหนึ่ง จึงทรงปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าว

การปฏิสังขรณ์วัดปากอ่าว มีพระยาอัศนีศาภัยจางวาง กรมพระแสงปืนต้นเป็นแม่กองปฏิสังขรณ์ โดยมีพระเจ้าน้องยาเธอพระองค์เจ้ากฤษฎาภินิหาร(ต้นราชสกุลกฤดากร)เป็นนายกอง พระราชสงคราม(ทัค) เป็นช่างทำพระอารามที่สร้างใหม่ทั้งหมด คงรูปแบบมอญไว้เนื่องจากเป็นวัดมอญ ทรงโปรดให้สร้างพระไตรปิฎกเป็นภาษามอญให้พระยาศรีสุนทรโวหารเจ้ากรมพระยาลักษณ์จารึกเรื่องพระอารามนี้ลงในเสาศิลาเป็นอักษรไทยเสาหนึ่ง และพระสุเมธาจารย์แปลงเป็นภาษามอญอีกเสาหนึ่ง จารึกทั้งอักษรไทยและมอญอยู่ที่หน้าพระอุโบสถ และโปรดเกล้าฯ พระราชทานพระอารามนี้ใหม่ว่า “วัดปรมัยยิกาวาส” (ปรมัยยิกาวาส คือ บรม+อัยยิกา+อาวาส)
Read more »

วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร

วัดปรมัยยิกาวาส วรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิด วรวิหาร ตั้งอยู่ที่ตำบลเกาะเกร็ด อำเภอปากเกร็ด จังหวัดนนทบุรี เป็นวัดมอญ เดิมเรียกว่า วัดปากอ่าว

วัดปากอ่าวยุคแรก
วัดปากอ่าว หรือ วัดปรมัยย์ เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา เนื่องจากที่ตั้งของวัดอยู่ตรงคุ้งน้ำ บริเวณทางแยกคลองลัดเกร็ด กับแม่น้ำเจ้าพระยา บริเวณหัวมุมเกาะเกร็ด ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ จึงเรียกวัดนี้ว่า วัดปากอ่าว มอญ เรียกวัดนี้ว่า เพี่ยะมุ๊ฮะเติ่ง แปลว่า วัดหัว(มุม)แหลม

คนมอญจำนวนมากที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ในพระราชอาณาจักรไทย เพราะถูกพม่ากดขี่ข่มเหง และปฏิบัตต่อคนมอญอย่างไม่ชอบธรรม พระมหากษัตริย์ไทยโปรดเกล้าฯ ให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ในพระราชอาณาจักรไทยตั้งแต่สมัยอยุธยา ตลอดมาจนถึงสมัยธนบุรี และต้นรัตนโกสินทร์

บริเวณปากเกร็ด จึงเป็นชุมชนมอญมาตั้งแต่สมัยอยุธยา การอพยพมาแต่ละครั้งมีพระภิกษุสามเณรมอญร่วมด้วย ดังนั้น จึงปรากฏมีวัดมอญจำนวนมากในประเทศไทย

วัดปากอ่าวต้องกลายเป็นวัดร้าง เมื่อพม่ายกทัพเข้ามาตีกรุงศรีอยุธยา ชุมชนเกาะเกร็ดถูกพม่าเข้ายึดครองปล้นสะดมทรัพย์สิน กวาดต้อนไปเป็นเชลยหมด วัดปากอ่าวถูกทิ้งรกร้าง จนถึง พ.ศ. 2317 พระเจ้าตากสินมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้ชาวมอญที่เข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร ซึ่งนำโดย พญาเจ่ง (เจ้าพระยามหาโยธา ต้นสกุลคชเสนี) มาตั้งบ้านเรือนที่บริเวณปากเกร็ดแห่งนี้

Read more »

ประวัติความเป็นมาวัดปรมัยยิกาวาส

paramai

วัดปรมัยยิกาวาส เดิมเป็นวัดราษฎร์ของชาวรามัญซึ่งอพยพเข้ามาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร แต่สมัยก่อนสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ เรียกตามภาษารามัญว่า (เกี่ยวมุ๊เกี๊ยะเติ้ง) ปัจจุบันเพี้ยนเป็น(เกี่ยเมิ้งฮะเติ้ง) แปลว่า วัดหัวแหลม ไทยเรียกวัดปากอ่าว

วัดปากอ่าว เป็นวัดรามัญมาแต่โบราณ มีอายุกว่า ๒๐๐ ปี ก่อนจะได้รับการปฏิสังขรณ์ ใน พ.ศ.๒๔๑๗ นั้น วัดปากอ่าวมีเสนาสนะที่น่าศึกษาคือ

๑.ศาลาเปรียญทรงมอญ ยกพื้นสูงจากดิน ๒ ศอก ไม้สักทั้งหลัง หลังคามุงกระเบื้องดินเผาขนาดกว้างยาวเท่าไรหาหลักฐานไม่พบ สูงจากพื้นถึงเพดานเท่ากับความสูงของบุษบกปัจจุบัน ปลูกไว้บริเวณลานดินตรงต้นหว้าหน้าพระอุโบสถในปัจจุบัน

๒.พระอุโบสถ ตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน ขื่อกว้าง ๓ วา ยาว ๗ วา ๓ ห้อง ผนังก่ออิฐถือปูน หลังคาชั้นเดียว มุงกระเบื้องดินเผา มีพะหน้าหลัง เช่นเดียวกับวัดรามัญทั่วไป ภายในมีพระประธานและพระอัครสาวกนั่งคุกเข่าอย่างรามัญทั่วไป เป็นปูนปั้นทั้ง ๓ องค์

๓.วิหารพระพุทธไสยาสน์ ตั้งอยู่ที่ปัจจุบัน ขื่อกว้าง ๔ วา ๒ ศอก ยาว ๕ วา ๓ ศอก สูง ๓ วา เครื่องบนไม้สัก มุงกระเบื้องดินเผา ภายในมีพระพุทธไสยาสน์ขนาดยาว ๔ วา ๓ ศอก มีพะหน้าหลัง

Read more »

วัดปรมัยยิกาวาส

cover-sadoodta_752

วัดปรมัยยิกาวาส เดิมชื่อ “วัดปากอ่าว ” มีชื่อในภาษามอญว่า ” เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง ” หมายความว่า วัดหัวแหลม เป็นวัดเก่าแก่ ตั้งแต่สมัยอยุธยาตอนปลาย ดังปรากฎพระเจดีย์มุเตาซึ่งเป็นเจดีย์ทรงมอญ ปัจจุบันอยู่ติดริมแม่น้ำกระแสน้ำกัดเซาะฐานราก ทำให้เจดีย์มีลักษณะเอียง อันเป้นสัญลักษณ์ของวัดมาแต่โบราณ ต่อมาสมัยธนบุรี และต้นกรุงรัตนโกสินทร์ได้มีชาวมอญ ที่อพยพเข้ามาตั้งบ้าน เรือนที่เกาะมากขึ้น วัดแห่งนี้จึงเป็นศูนย์กลางของชุมชน และสถานที่จัดงานประเพณีพิธีกรรมของชาว มอญบนเกาะเกร็ด และที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตระหง่านอยู่ ภายในวัดมีสถานที่ท่องเที่ยวได้แก่

พระอุโบสถ มีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากประเทศอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ 5 แต่กระนั้พระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริมการสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบันที่นี่เป็นวัดเดียว ที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์พระองค์เจ้าประดิษฐว รการ ผู้สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ 5 ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้ งามด้วยพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง เอกลักษณ์ของมอญอีกอย่างหนึ่งในวัดนี้คือ เจดีย์ทรงรามัญที่จำลองแบบมาจากพระธาตุเจดีย์มุเตา เมืองหงสาวดี ตั้งอยู่ทางด้านเหนือของวัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งคนมอญนับถือมาก ภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ

Read more »

ประวัติวัดปรมัยยิกาวาส

15220a33b

วัดปรมัยยิกาวาส เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เป็นวัดโบราณ น่าจะสร้างหลังจากพระเจ้าท้ายสระโปรดให้ขุดคลอง เมื่อ พ.ศ. 2264 ชาวเรือเรียก วัดปากอ่าว จนปี พ.ศ. 2307 พม่าบุกยึดเมืองนนทบุรี กลายเป็นวัดร้างเมื่อปี พ.ศ. 2317 ชาวมอญที่อพยพมาในรัชสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณปฏิสังขรณ์ใหม่ คนมอญเรียกว่า “เภี่ยมู้เกี้ยเติ้ง”

ในปี พ.ศ. 2417 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว เสด็จพระราชดำเนินทอดกฐินวัดมอญ 4 วัด ได้แก่ วัดปากอ่าว วัดรามัญ (วัดเกาะพระยาเจ่ง) วัดบางพัง และวัดสนาม (สนามเหนือ) ต่อมาทรงเห็นว่าวัดปากอ่าวทรุดโทรมมาก จึงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์วัดใหม่ทั้งวัดโดยรักษารูปแบบมอญไว้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล สนองพระคุณพระเจ้าบรมมหัยยิกาเธอ กรมสมเด็จพระสุดารัตนราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และได้พระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส ซึ่งมีความหมายว่า “วัดของพระบรมอัยยิกา”

Read more »

วัดปรมัยยิกาวาส จ.นนทบุรี

วัดปรมัยยิกาวาส ชาวบ้านมักเรียกว่าวัดปากอ่าว เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงเพียงวัดเดียวบนเกาะเกร็ด มีชื่อในภาษามอญว่า “เภี่ยมุเกี๊ยะเติ้ง” แปลว่า วัดหัวแหลม ซึ่งเป็นชื่อเดิมของวัด ในวัดนี้มีสิ่งที่น่าชมอยู่หลายอย่าง ที่ท่าเรือหน้าวัดจะพบปราสาทไม้ห้ายอดซึ่งเคยเป็นที่ตั้งเหม (โลงศพมอญ) ของอดีตเจ้าอาวาสตั้งตระหง่านอยู่ ส่วนพระอุโบสถในรัชสมัยรัชกาลที่ ๕ โปรดให้มีการบูรณะปฏิสังขรณ์ใหม่ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลสนองพระคุณสมเด็จพระเจ้าบรมอัยยิกาเธอ กรมพระยาสุดารัตน์ราชประยูร ผู้ทรงอภิบาลพระองค์มาแต่ทรงพระเยาว์ และพระราชทานนามวัดว่า วัดปรมัยยิกาวาส มีการตกแต่งด้วยวัสดุนำเข้าจากอิตาลี ศิลปะยุโรปแบบพระราชนิยมในสมัยรัชกาลที่ ๕ แต่กระนั้นพระองค์ยังรักษาธรรมเนียมเดิม โดยรับสั่งให้ที่นี่ริเริ่มการสวดเป็นภาษามอญ และปัจจุบันนี้ ที่นี่เป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฏกภาษามอญไว้ พระประธานในพระอุโบสถนั้นเป็นพระปางมารวิชัย ฝีพระหัตถ์ของพระองค์เจ้าประดิษฐานวรการ ผู้ที่สร้างพระสยามเทวาธิราช รัชกาลที่ ๕ ทรงยกย่องว่าพระประธานองค์นี้งามด้วยฝีพระพักตร์ดูมีชีวิตชีวาเหมือนคนจริง ด้านหลังพระอุโบสถ มีพระมหารามัญเจดีย์ จำลองแบบมาจากเจดีย์ชเวดากอง ของพม่า

ความสำคัญอีกอย่างหนึ่งของวัดปรมัยยิกาวาสสำหรับชาวนนทบุรีก็คือ เป็นที่ประดิษฐาน พระนนทมุนินท์ พระพุทธรูปประจำจังหวัดนนทบุรี

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดปรมัยยิกาวาส ราชวรวิหาร พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิด ราชวรวิหาร

watporamai

วัดปรมัยยิกาวาส ตั้งอยู่ที่ตำลบลเกาะเกร็ด เยื้องท่าเรือสุขาภิบาลปากเกร็ดไปทางใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร และอยู่ตรงข้ามกับท่าเรือวัดสนามเหนือ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดราชวรวิหาร สร้างแบบรามัญ เดิมวัดนี้เป็นวัดเก่า ชื่อวัดปากอ่าว

ในสมัยรัชกาลที่ 5 ทรงโปรดเกล้าฯ ให้ปฏิสังขรณ์ใหม่ทั้งวัด และโปรดให้สร้างพระเจดีย์รามัญ บรรจุพระบรมสารีริกธาตุและพระราชทานนาม “วัดปรมัยยิกาวาส” เนื่องจาก ศิลปะการสร้างมีลักษณะแบบมอญ พระเจดีย์ทุกองค์สร้างแบบมอญ และพระพุทธรูปพระประธาน ในโบสถ์ สลักด้วยหินอ่อนแบบมอญด้วย จึงเรียกกันว่า “วัดมอญ” ภายในวัดมีภาพจิตรกรรมฝาผนัง และบานประตู หน้าต่างโบสถ์ประดับลายปูนปั้นสวยงาม

วัดปรมัยยิกาวาสเป็นวัดเดียวที่ยังเก็บรักษาพระไตรปิฎกภาษามอญไว้ ถือเป็นวัดศูนย์กลางของชุมชนชาวมอญ และมีโบราณวัตถุสมัยอยุธยาตอนปลาย

ขอขอบคุณ http://www.dhammathai.org/

. . . . . . .
. . . . . . .