เผา “หลวงพ่อผล” วุ่น ศึกแย่งศพสนั่น “วัดเซิงหวาย”

ฮือแย่งศพ “หลวงพ่อผล” อดีตเจ้าอาวาสวัดเซิงหวาย บางซื่อกทม. ขวางไม่ให้สลายร่าง อ้างสังขารไม่เน่าเปื่อยจะนำไปใส่ไว้ในโลงแก้วเพื่อบูชา เผยมรณภาพมาครบ 2 ปี เจ้าอาวาสรูปปัจจุบันขอพระราชทานหีบทองทึบ-ไฟพระราชทาน พร้อมเชิญแขกผู้ใหญ่ร่วมงานเพียบ ถ้ายกเลิกเกรงว่าจะเป็นการมิบังควร ชาวบ้านบีบให้ลงชื่อขอยกเลิก ขณะที่สำนักพระราชวังระบุว่าสามารถขอเลื่อนได้ ด้านตร.เจรจาทั้งสองฝ่ายถ้าอีก 7 วัน คือวันที่ 3 ธ.ค. เก้าโมงเช้าจะเปิดดูศพอีกครั้งหนึ่ง ถ้าไม่เน่าเปื่อยก็จะยินยอมให้นำศพไว้ในโลงแก้ว แต่หากเน่าเปื่อยก็จะให้มีการเผาศพต่อไป

เมื่อเวลา 10.00 น.วันที่ 26 พ.ย. ที่วัดเวตวันธรรมาวาส หรือวัดเซิงหวาย ซอยกรุงเทพ-นนทบุรี 21 ถนนกรุงเทพ-นนทบุรี แขวงและเขตบางซื่อ กทม. มีพิธีพระราชทานเพลิงศพพระราชนันทาจารย์ หรือหลวงพ่อผล อดีตเจ้าอาวาสวัดเซิงหวาย ซึ่งมรณภาพเมื่อวันที่ 25 พ.ย.2547 ที่ผ่านมา แต่ปรากฏว่าในบริเวณวัดดังกล่าว ได้มีกลุ่มชาวบ้านประมาณ 200 คน พากันมาชุมนุมภายในวัดเพื่อคัดค้านการเผาศพของหลวงพ่อผล

ผู้สื่อข่าวรายงานว่า หลังจากหลวงพ่อผลมรณภาพ และมีการทำบุญครบรอบ 100 วัน จึงได้มีการประชุมร่วมกันระหว่างคณะกรรมการของวัดว่าจะเผาศพหลวงพ่อผล แต่ลูกศิษย์ที่เคารพนับถือและเลื่อมใสศรัทธาหลวงพ่อผลบางส่วน ขอให้เก็บไว้เป็นเวลา 2 ปี เพื่อให้ผู้เคารพนับถือเลื่อมใสได้สักการะ ทางคณะกรรมการจึงได้ตกลงเก็บศพไว้เป็นเวลา 2 ปี และเมื่อครบกำหนดทางคณะกรรมการได้ตกลงขอพระราชทานเพลิงศพหลวงพ่อผล ในวันที่ 26 พ.ย.2549 โดยมีพระครูปลัดแก้ว กิตติสาโร เจ้าอาวาส วัดเซิงหวายในปัจจุบัน เป็นผู้ดำเนินการ

Read more »

วัดปรางค์หลวง รวมสถานที่ท่องเที่ยวอำเภอบางใหญ่ นนทบุรี

วัดสวนแก้ว หมู่ ๑ ตำบลบางเลน เป็นสถานที่เผยแพร่ธรรมโดยพระพิศาล ธรรมพาที (พระพยอม กัลยาโณ) เป็นพระนักพัฒนา ท่านได้ริเริ่มโครงการต่างๆของมูลนิธิสวนแก้วเพื่อพัฒนาสังคม และคุณภาพชีวิตของผู้ด้อยโอกาสในสังคมจนประสบความสำเร็จ เช่น โครงการร่มโพธิ์แก้ว โครงการที่พักคนชรา โครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตผู้ยากไร้ โครงการสวนแก้วเนอร์สเซอรี่ และอีกหลายโครงการ โครงการซุปเปอร์มาร์เก็ตผู้ยากไร้จำหน่ายสินค้าที่มีผู้นำมาบริจาคให้และซ่อมแซม เปิดวันจันทร์-ศุกร์ ๑๐.๐๐-๑๖.๓๐ น. วันเสาร์-อาทิตย์เปิดเวลา ๐๙.๐๐-๑๖.๓๐ น. วันพุธปิด โทร. ๐ ๒๕๙๕ ๑๙๔๕-๗, ๐ ๒๕๙๕ ๑๔๔๔ โทรสาร ๐ ๒๕๙๕ ๑๒๒๒ หรือ www.suankaew.or.th

การเดินทาง จากสะพานพระนั่งเกล้า ตรงไปสี่แยกไฟแดงที่ ๒ เลี้ยวซ้ายเข้าบางกรวย ประมาณ ๒ กิโลเมตรจะถึงวัด หรือ จากท่าน้ำนนทบุรี ข้ามไปฝั่งท่าน้ำบางศรีเมือง แล้วต่อรถสองแถวไปถึงวัดสวนแก้ว ค่าโดยสาร คนละ ๘ บาท

วัดอัมพวัน สร้างสมัยอยุธยาตอนปลาย เดิมชื่อ วัดบางม่วง สิ่งที่น่าสนใจของวัดนี้คือ หอไตรกลางน้ำ เป็นสถาปัตยกรรมไทยที่สมบูรณ์ที่สุด ลักษณะเป็นเรือนไม้ยกใต้ถุนสูง ตัวหอมีขนาด ๒ ห้อง ช่วงล่างเป็นลูกฟักกระดานดุน ตอนบนเป็นซี่ลูกกรงไม้ กลึงเสา กรอบประตูเป็นเสาหัวเม็ด ประตูหูช้าง เครื่องลำยองเป็นไม้จำหลัก หลังคาซ้อน ๒ ชั้น มีปีกนก ๑ ชั้น มุงกระเบื้องดินเผาใต้เชิงชาย หน้าบันประดับไม้สลักลายรดน้ำหน้าบานประตูทางเข้าหอไตรเป็นบานไม้ลงรักปิดทอง ลายพุ่มข้าวบิณฑ์ อกเลาเป็นไม้จำหลักลายดอกพุดตาน ลูกฟัก เหนือประตูเป็นภาพนกข้างละตัว เหนือขึ้นไปเป็นภาพพระอาทิตย์ พระจันทร์ และในห้องสะกัดท้าย หอไตรเป็นที่เก็บพาน ตะลุ่มและฐานพระพุทธรูปไม้จำหลักจำนวนมาก

Read more »

วัดปรางค์หลวง เที่ยวชมโบราณสถาน พระปรางค์ 7 ชั้น สมัยอยุธยา

5165684379_8938f84635
วัดปรางค์หลวง มีพระปรางค์หลวงเป็นจุดน่าสนใจ และถือว่าเป้นสถานที่ท่องเที่ยวทางศาสนาที่สำคัญของชานเมืองนนทบุรี อิเฎลเคยเดินทางมาวัดปรางค์หลวงก่อนหน้านี้ และพบกับชาวต่างชาติที่ท่องเที่ยวทางน้ำ เยี่ยมชทวัด 9 วัด เพราะแทบทุกวัดในแถบนี้ติดคลองยกเว้นวัดดอนสะแก อิเฎลเดินทางไปชมวัดปรางค์หลวงในฤดูฝน และพบว่าวัดนี้ประสบปัญหาน้ำท่วม ถ้าใครใช้รถกระบะ หรือจักรยาน จะสามารถขับเข้าไปได้ หรือถ้าเป็นรถยนต์ และไม่ต้องการล้างรถ ให้จอดบริเวรหน้าวัดซึ่งเป็นถนนสูง และเดินเข้าไป

ด้วยความที่วัดปรางค์หลวงเป็นสถานที่ท่องเที่ยว อิเฎลพบป้ายเขียนเรื่องราวของวัด อิเฎลจึงคัดลอกข้อความส่วนนั้นมาเพื่อเป็นความรู้แก่สาธุชนที่ต้องการเดินทางมาวัดปรางค์หลวงแห่งนี้

“พระปรางค์หลวง เป็นโบราณสถานที่สำคัญของวัดปรางค์หลวง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับ วัดเป็นศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น องค์พระปรางค์ก่อด้วยอิฐสอดินยอดเจ็ดชั้น ย่อมุมไม้ยี่สิบ ประดับลวดลายปูนปั้น แนวฐานหน้ากระดาน เรือนธาตุ มีซุ้มจระนำทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้น ลงรักปิดทอง ผนังเรือนธาตุทึบไม่มีประตู”
Read more »

วัดปรางค์หลวง

16092008012521

วัดปรางค์หลวง ตั้งอยู่เลขที่ ๓๒ คลองบางกอกน้อย หมู่ ๑ ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณปี พ.ศ.๑๘๙๐(ประวัติจากวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี) เดิมชื่อ “วัดหลวง” ต่อมาในสมัย สมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชพระองค์ที่ ๑๐ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เห็นองค์พระปรางค์ที่ได้สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดนี้ว่า “วัดปรางค์หลวง” อันมีสัญลักษณ์ของพระปรางค์นั่นเอง ปัจจุบันองค์พระปรางค์ซึ่งมีสภาพเก่าแก่ผุพังมาก ฐานเป็นอิฐ ส่วนที่เป็นเรือนธาตุทั้งสี่ด้าน แต่ละด้านมีพระปูนปั้นนูนสูง นักโบราณคดีได้ค้นหาหลักฐานอันเป็นจุดเด่นของโครงสร้าง เป็นฝีมือของช่างในสมัยอยุธยาตอนต้น

ขอขอบคุณhttp://www.dhammajak.net/

วัดปรางค์หลวง จ.นนทบุรี

พระนิพนธ์บทพรรณนาในนิราศพระประธม ของ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมหลวงวงษาธิราชสนิท พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ต้นราชสกุล “สนิทวงศ์” พรรณนาถึง “วัดหลวง” หรือ “วัดปรางค์หลวง” ในปัจจุบัน

“วัดปรางค์หลวง” เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ตั้งอยู่เลขที่ 32 คลองบางกอกน้อย หมู่ 1 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ผู้สถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ในช่วงกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณ ปีพ.ศ.1890

เดิมชื่อ “วัดหลวง”

บางหลักฐานกล่าวว่า วัดปรางค์หลวง สร้างเมื่อปีพ.ศ.1904 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้อพยพผู้คนหนีโรคระบาดมาประทับอยู่ที่บริเวณนี้ ก่อนที่จะทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้น เดิมชื่อว่า วัดหลวง

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้า พระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เห็นองค์พระปรางค์ที่ได้สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดนี้ว่า “วัดปรางค์หลวง” อันมีสัญลักษณ์ของพระปรางค์นั่นเอง

Read more »

มรดกทางพระพุทธศาสนา- วัดปรางค์หลวง

mb54173_r_p0_8616273703-620x466

อยู่ที่บ้านบางใหญ่ ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๑๘๙๐ แต่บางหลักฐานกล่าวว่าสร้างเมื่อปี พ.ศ. ๑๙๐๔ สมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) ได้อพยพผู้คนหนีโรคระบาดมาประทับอยู่ที่บริเวณนี้ ก่อนที่จะทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้โปรดเกล้า ฯ ให้สร้างวัดขึ้น เดิมชื่อว่า วัดหลวง
พระปรางค์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวัด เป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ก่ออิฐสอดิน ยอดเจ็ดชั้นย่อมุมไม้ยี่สิบ ประดับลายปูนปั้น เรือนธาตุมีซุ้มจรนำทั้ง ๔ ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้นลงรักปิดทอง สภาพองค์ปรางค์ชำรุดมาก กลางเรือนธาตุมีกรุอยู่ภายในแต่ไม่มีช่องทางขึ้นสู่ยอดปรางค์ ผนังเรือนธาตุเป็นผนังทึบไม่มีประตู
หลวงพ่ออู่ทอง เป็นพระประธานในพระอุโบสถหลังเก่าที่ถูกทุบทำลายไปเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๓๖ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ศิลปกรรมแบบอู่ทอง พุทธลักษณะงดงาม เป็นที่เคารพสัการะของคนในชุมชนมาก มีการจัดงานนมัสการ และปิดทองประจำปี ในเดือนมิถุนายน
ใบเสมา ทำจากหินชนวนชาวบ้านเรียกหินกาบ มีขนาดใหญ่ไม่มีลวดลาย ปักลงบนดินรายรอบพระอุโบสถหลังเก่า เป็นใบเสมาสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ปัจจุบันเหลืออยู่เพียง ๑ ใบเท่านั้น
Read more »

วัดปรางค์หลวง ตำบลบางม่วง อำเภอบางใหญ่ จังหวัดนนทบุรี

14012014172626-49

วัดปรางค์หลวง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1890 (แต่หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2 ของกรมศาสนา ระบุว่าสร้างขึ้น พ.ศ. 1908) สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น โดยกษัตริย์หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ในสมัยนั้นสร้างขึ้น เดิมชื่อ “วัดหลวง” ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มาเห็นองค์พระปรางค์ ที่สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดปรางค์หลวง” มีโบราณสถานสำคัญเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ดังนี้ พระปรางค์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวัด รูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารน้อย ลักษณะองคก่ออิฐสอดินยอดเจ็ดชั้น ย่อมุมไม้สิบ ประดับลายปูนปั้น เรือนธาตุมีซุ้มจรนำทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองมีร่องรอยการบูรณะในสมัยหลัง สภาพองค์ปรางค์ชำรุดมาก มีการขุดเจาะกลางเรือนธาตุเห็นเป็นกรุอยู่ภายในแต่ไม่มีช่องทางขึ้นสู่ยอด ปรางค์ ผนังเรือนธาตุเป็นผนังทึบไม่มีประตู ส่วนฐานชำรุดลงเกือบทั้งหมดจนมองไม่เห็นลักษณะเดิม หลวงพ่ออู่ทอง พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถหลังเก่าที่ถูกทุบทำลายไปโดยไม่รู้จักคุณค่า เมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นนพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปกรรมแบบอู่ทอง พุทธลักษณะงดงามเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชนมาก มีการจัดงานนมัสการและปิดทองประจำปีในเดือนมิถุนายน Read more »

ชุมชนเก่าของบางกอก อยู่ในสวน จ. นนทบุรี-วัดปรางค์หลวง

ชุมชนเก่าแก่กว่า 500 ปีมาแล้ว ของกรุงเทพฯ กรุงธนฯ อยู่สองฝั่งคลองบางกอกน้อย ตั้งแต่เขต กทม. ต่อเนื่องลึกเข้าไปถึง จ. นนทบุรี

มีถนนเล็กๆผ่านเรือกสวนร่มรื่นและร่มเย็น นับเป็นเส้นทางท่องเที่ยวทางเลือก ไม่ต้องยื้อแย่งแข่งขันกับใครให้เหนื่อยและหนัก

วัดปรางค์หลวง อยู่ริมคลองบางกอกน้อย (ช่วงบางม่วง-บางใหญ่) ต. บางม่วง อ. บางใหญ่ จ. นนทบุรี

มีพระปรางค์ยุคต้นอยุธยาเป็นหลักฐานสำคัญ แล้วยังมีซากวิหารหน้าพระปรางค์กับใบเสมาหินชนวน เหลืออยู่แผ่นเดียว แต่ความเก่าแก่สอดคล้องกัน เท่ากับยืนยันว่ามีชุมชนและมีวัดมาแล้วตั้งแต่ ก่อน พ.ศ. 2000 ยุคเดียวกับชุมชนที่มีชื่ออยู่ในโคลงกำสรวลสมุทร (กำสรวลศรีปราชญ์)ว่าบางระมาดและบางเชือกหนัง ทางคลองบางกอกน้อย เข้าคลองชักพระ ย่านตลิ่งชัน

ผมเคยเข้าไปวัดปรางค์หลวงหลายครั้งตั้งแต่ 20 กว่าปีมาแล้ว ตามคำบอกเล่าชักชวนของนักสำรวจสมัครเล่น ครั้งนั้นยังเป็นทางลูกรัง และพระปรางค์ยังปรักหักพังอยู่ในสุมทุมพุ่มไม้ริมทาง ซึ่งคนต่างถิ่นไม่มีใครรู้จัก และไม่มีใครสนใจ นอกจากนักสำรวจสมัครเล่นไม่กี่คนที่ผมก็พึ่งพาอาศัยได้ความรู้จากพวกเขาเหล่านั้น

คนในท้องถิ่นรู้จักปรางค์หลวง แต่ไม่รู้ว่าจะมีประโยชน์อะไร นอกจากเป็นของเก่าศักดิ์สิทธิ์

ไม่กี่วันมานี้ผมเพิ่งผ่านเข้าไปดูพระปรางค์หลวง เห็นแล้วชื่นใจ เพราะกรมศิลปากรไปดูแลบูรณะไว้นานมาแล้วอย่างงดงามโดยไม่เสียหายหลักฐานประวัติศาสตร์โบราณคดี

Read more »

วัดปรางค์หลวง จ.นนทบุรี

วัดปรางค์หลวง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้นประมาณ พ.ศ. 1904 เดิมชื่อ “วัดหลวง” ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มาเห็นองค์พระปรางค์ ที่สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดปรางค์หลวง” สำหรับปูชนียวัตถุ มีประธานในอุโบสถ นามว่า หลวงพ่ออู่ทอง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตัก 9 คืบ มีความศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านมาสักระบูชา

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

บูรณะพระปรางค์เก่าแก่ วัดปรางค์หลวง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี

budd2430

“วัดปรางค์หลวง” เป็นวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งที่ตั้งอยู่ใกล้เมืองหลวง เลขที่ 32 คลองบางกอกน้อย หมู่ 1 ต.บางม่วง อ.บางใหญ่ จ.นนทบุรี

สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น ประมาณปีพ.ศ.1890 (ประวัติจากวัฒนธรรมจังหวัดนนทบุรี) เดิมชื่อ “วัดหลวง”

บางหลักฐานกล่าวว่า วัดปรางค์หลวง สร้างเมื่อปีพ.ศ.1904 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ได้อพยพผู้คนหนีโรคระบาดมาประทับอยู่ที่บริเวณนี้ ก่อนที่จะทรงสร้างกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดขึ้น เดิมชื่อว่า วัดหลวง

ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้า กรมพระยาวชิรญาณวโรรส สมเด็จพระสังฆราชเจ้าพระองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้เห็นองค์พระปรางค์ที่ได้สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดนี้ว่า “วัดปรางค์หลวง” อันมีสัญลักษณ์ของพระปรางค์นั่นเอง

ปัจจุบัน องค์พระปรางค์ มีสภาพเก่าแก่ผุพังมาก ฐานเป็นอิฐ ส่วนที่เป็นเรือนธาตุทั้งสี่ด้าน แต่ละด้านมีพระปูนปั้นนูนสูง นักโบราณคดีได้ค้นหาหลักฐานอันเป็นจุดเด่นของโครงสร้าง เป็นฝีมือของช่างในสมัยอยุธยาตอนต้น

วัดแห่งนี้ มีพระครูนนทเขมาราม (สายหยุด เขมาราโม) ดำรงตำแหน่งเจ้าอาวาสวัดปรางค์หลวงรูปปัจจุบัน

Read more »

วัดปรางค์หลวง

522488_485682844812274_68900719_n

วัดปรางค์หลวง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ ๑ (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้นประมาณ พ.ศ. ๑๙๐๔ เดิมชื่อ “วัดหลวง” ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มาเห็นองค์พระปรางค์ ที่สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดปรางค์หลวง” สำหรับปูชนียวัตถุ มีประธานในอุโบสถเดิม นามว่า “หลวงพ่ออู่ทอง” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปิดทอง ปางมารวิชัย หน้าตัก ๙ คืบ มีความศักดิ์สิทธิ์ชาวบ้านมาสักการะบูชา

พระปรางค์หลวง เป็นโบราณสถานที่สำคัญของวัดปรางค์หลวง สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับ วัดเป็นศิลปกรรมสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น องค์พระปรางค์ก่อด้วยอิฐสอดินยอดเจ็ดชั้น ย่อมุมไม้ยี่สิบ ประดับลวดลายปูนปั้น แนวฐานหน้ากระดาน เรือนธาตุ มีซุ้มจระนำทั้ง ๔ ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืนปูนปั้น ลงรักปิดทอง ผนังเรือนธาตุทึบไม่มีประตู

Read more »

วัดปรางค์หลวง

195764
วัดปรางค์หลวง สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1890 (แต่หนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร เล่ม 2 ของกรมศาสนา ระบุว่าสร้างขึ้น พ.ศ. 1908) สร้างในสมัยของพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนต้น โดยกษัตริย์หรือผู้มีบรรดาศักดิ์ในสมัยนั้นสร้างขึ้น เดิมชื่อ “วัดหลวง” ต่อมาในสมัยสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส ได้มาเห็นองค์พระปรางค์ ที่สร้างขึ้นไว้พร้อมกับการสร้างวัด จึงได้เปลี่ยนนามวัดเป็น “วัดปรางค์หลวง” มีโบราณสถานสำคัญเป็นศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ดังนี้ พระปรางค์ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นพร้อมกับวัด รูปแบบศิลปกรรมสมัยอยุธยาตอนต้น ตั้งอยู่ระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารน้อย ลักษณะองคก่ออิฐสอดินยอดเจ็ดชั้น ย่อมุมไม้สิบ ประดับลายปูนปั้น เรือนธาตุมีซุ้มจรนำทั้ง 4 ทิศ ประดิษฐานพระพุทธรูปยืน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทองมีร่องรอยการบูรณะในสมัยหลัง สภาพองค์ปรางค์ชำรุดมาก มีการขุดเจาะกลางเรือนธาตุเห็นเป็นกรุอยู่ภายในแต่ไม่มีช่องทางขึ้นสู่ยอดปรางค์ ผนังเรือนธาตุเป็นผนังทึบไม่มีประตู ส่วนฐานชำรุดลงเกือบทั้งหมดจนมองไม่เห็นลักษณะเดิม หลวงพ่ออู่ทอง พระพุทธรูปประธานในพระอุโบสถหลังเก่าที่ถูกทุบทำลายไปโดยไม่รู้จักคุณค่าเมื่อ พ.ศ. 2536 เป็นนพระพุทธรูปปูนปั้นศิลปกรรมแบบอู่ทอง พุทธลักษณะงดงามเป็นที่เคารพนับถือของคนในชุมชนมาก มีการจัดงานนมัสการและปิดทองประจำปีในเดือนมิถุนายน ใบเสมา มีขนาดใหญ่ทำจากหินชนวน (คนในชุมชนเรีบกว่า หินกาบ) ไม่มีลวดลาย ปักลงบนดินเป็นลักษณะใบเสมา สมัยกรุงศรีอยุธยาตอนต้น เดิมมีรายรอบพระอุโบสถหลังเก่าอยู่จำนวนหลายใบ แต่ถูกทุบทำลายไปพร้อมกับอุโบสถหลังเก่า ปัจจุบันเหลือเพียง 1 ใบเท่านั้น พระวิหารน้อย ตั้งอยู่ทางด้านหน้าพระปรางค์ Read more »

จิตรกรรมฝาผนัง วัดชมภูเวก

Y8517502-0

วัดชมภูเวกตั้งอยู่ใน ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี ชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาสร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ.๒๓๐๐ ภายในวัดมีเจดีย์ศิลปะมอญ หน้าบันซุ้มประตูหน้าต่างปิดทองปิดกระจก ภายในพระอุโบสถหลังเก่ามีภาพจิตรกรรมฝาผนังพุทธประวัติและทศชาติชาดก และมีภาพพระแม่ธรณีบีบมวยผมในซุ้มเรือนแก้วที่ได้รับการยกย่องว่างดงามที่สุดในโลก

ลักษณะเด่นเชิงรูปธรรม : จิตกรรมฝาผนังภาพแม่พระธรณีบิดมวยผมในซุ้มเรือนแก้ว เขียนขึ้นตามแบบศิลปะสกุลช่างนนทบุรีสมัยแรกซึ่งงามวิจิตร ได้รับการยกย่องให้เป็นภาพเขียนพระแม่ธรณีที่งดงามที่สุดในโลก

ลักษณะเด่นเชิงนามธรรม : บุคลิกภาพของภาพจิตรกรรมฝาผนังที่วัดภูเวกมีความอ่อนช้อย แสดงความอ่อนหวานและความงดงามของหญิงไทย

ขอขอบคุณ http://50.57.64.212/sme

วัดชมภูเวก

วัดชมภูเวก ทั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ บ.บางกระสอ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2300 บริเวณเนินอิฐอันเป็นซากโบราณสถาน ที่มีอยู่เดิม โดยชาวมอญที่อพยพหนีพม่ามาตั้งรกรากอยู่ตรง บริเวณนี้ในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เดิมมีชื่อว่า “วัดชมภูวิเวก” เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เงียบสงบ และมีเนินดิน ที่ตั้งโบราณสถานเดิม ต่อมาคำว่า “วิ” หายไป คงเหลือแต่เพียงชมภูเวกมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นวัดที่มีความสำคัญมากในสมัยก่อน เล่ากันว่าเป็นวัดศูนย์กลาง ของชาวไทยเชื้อสายมอญ เมื่อถึงฤดูเทศกาลต่างๆ จะมีชาวไทยเชื้อสายมอญจากหัวเมืองทั่วประเทศพากันรอนแรมมาทำบุญและสักการะพระมุเตา พระเจดีย์ทรงมอญ อันเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากเมืองมอญกันเป็นประจำ ในทางศิลปะ วัดชมภูเวกได้ชื่อว่าเป็นเพชรน้ำหนึ่งของชาวนนทบุรี และเป็นมรดกสำคัญอันน่าภาคภูมิใจของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุโบสถที่มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่สร้าง แบบมหาอุต คือ มีประตูเดียว ใช้ผนังรับน้ำหนัก ปลายผนังสอบเข้าหากันเล็กน้อย ไม่มีเสา มีแต่เสารับชายคาพาไล ซึ่งเป็นแบบที่หาดูได้ยากในสมัยนี้ ถือกันว่าอุโบสถแบบนี้ สามารถกระทำพิธีปลุกเสกของขลังได้ศักดิ์สิทธิ์ยิ่ง นอกจากนี้ หน้าบันและซุ้มประตูยังมีลวดลายปูนปั้นแบบโรโคโค เป็นลายพรรณพฤกษาประดับด้วยเครื่องลายคราม และเบญจรงค์ ส่วนลวดลายตกแต่งบางส่วนได้รับอิทธิพลจากงานจำหลักไม้ ของจีน

Read more »

วัดชมภูเวก จ.นนทบุรี

P3240215

จิตรกรรมฝาผนังตามโบสถ์ต่างๆ ส่วนใหญ่เป็นเรื้่องพุทธประวัติ นิทานชาดกและทศชาติเป็นหลัก ไฮไลท์สำคัญของเรื่อง คือ ภาพพิชิตมาร ตัวละครสำคัญ “พระแม่ธรณีบีบมวยผม” อันนี้ไม่เกี่ยวกับการเมืองนะครับ แต่เป็นการจับเหตุการณ์พญามารยกไพร่พลหมายทำร้ายพระพุทธเจ้า พระแม่ธรณี สักขีพยานสำคัญในการบำเพ็ญบุญบารมีของพระพุทธองค์ในแต่ละชาติภพ บีบน้ำจากมวยผมท่ี่รองรับน้ำที่พระพุทธองค์ทรงเคยกรวดไว้ กลายเป็นมหานทีพัดพาพญามารและเหล่าสมุนแตกพ่ายยอมสิโรราบ

วัดชมภูเวก นนทบุรี ก็มีภาพพิชิตมารรอยู่ที่ผนังหุ้มกลองด้านหน้าพระประธาน และพระแม่ธรณีที่นี่แหละครับ ที่ยกย่องกันว่างามที่สุดในประเทศไทย

วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ในซอยนนทบุรี 33 ถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ต.ท่าทราย อ.เมืองนนทบุรี หัวหน้ามอญ กลุ่มบ้านท่าทราย เรียกกันว่า “ท่านพ่อปู่” เป็นผู้สร้าง คาดว่าน่าจะสร้างมาในสมัยกรุงศรีอยุธยา แต่หลักฐานการขอตั้งวัดระบุว่าปี 2300 เพราะหลักฐานเก่าสูญหายไปหมดไม่สามารถกำหนดปีที่แน่ชัดได้

ที่ตั้งวัดคือจุดที่เนินอิฐโบราณสีแดงปรากฎขึ้น แสดงว่าน่าจะเป็นเมือง หรือสถานที่๋ศักดิ์สิทธิ์ในอดีต จึงสร้างพระมุเตา เจดีย์แบบมอญไว้สักการะบูชา พร้อมสร้างวัด สิ่งสำคัญที่แสดงถึงลักษณะเฉพาะของวัดมอญ นอกจากพระมุเตา ก็มีเสาหงส์

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .