สัมผัสความงดงามของ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร(วัดโพธิ์)

keys151_1292580456

วัดโพธิ์ หรือชื่อที่เป็นทางการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร หรือในสมัยก่อนเรียก วัดโพธาราม เป็นวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่บ้านคู่เมืิองมาตั้งแต่ รัชการที่ 1 สมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 ภายในวัดจะเป็นที่จารึกของวิชา ตำราแขนงต่างๆหลายแขนง เช่น ประวัติศาสตร์ วรรณกรรม การแพทย์ ซึ่งเปรียบเสมือนแหล่งให้ความรู้ เปรียบได้กับว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศ ปัจจุบันวัดโพธิ์ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกเมื่อ มีนาคม พ.ศ.2551

พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ 50 ไร่ 38 ตารางวาอยู่ ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำ แพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสชัดเจน

ครั้งหนึ่งในช่วงก่อนสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่งที่มีชื่อว่า “ท่าเตียน” ออกเผยแพร่ไปทั่วสารทิศ (ถ้าจะจัดประเภทในสมัยนี้ก็คงเป็นแนวแฟนตาซี แต่ในยุคนั้นต้องเรียกว่าแนว “อภินิหาร”) ผู้ที่ได้ชมต่างมีอาการตื่นเต้นเร้าใจ เพราะภาพในหนังนำเสนอยักษ์สองฝ่ายตัวสูงเทียมฟ้าโรมรันพันตูกันกลางกรุงเทพ! ฝ่ายหนึ่งนั้นมาจากฝั่งธนฯ ส่วนอีกฝ่ายมาจากพระนคร สังกัดวัดด้วยกันทั้งคู่ (เรียกว่าเด็กวัดก็เห็นจะไม่ผิด) สาเหตุของการวิวาทก็คงจะฝากให้ไปหามาดูกัน คนยุคดิจิตอลดูแล้วคงหัวเราะหน้าระรื่นกับสเปเชี่ยลเอฟเฟคในสมัยกว่าสามสิบปีที่ปรากฏ แต่ต้องขอบอกว่าในยุคนั้นเป็นหนังที่สร้างความฮือฮาตื่นเต้นจริงๆ เนื้อเรื่องดัดแปลงมาจากตำนานของยักษ์จากสองวัดที่ตีกันราวกับวัยรุ่น แต่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านร้านตลาดบริเวณนั้นอย่างสาหัส และลงท้ายด้วยการถูกลงโทษด้วยกันทั้งคู่ …หลายคนคงเคยได้ยินเรื่อง “ยักษ์วัดแจ้งกับยักษ์วัดโพธิ์” มาแล้ว ยักษ์จากสองวัดนั่นแลคือตำนานของ “ท่าเตียน” ท่าเรือที่อยู่ติดกับวัดโพธิ์แห่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ครั้งหนึ่งในช่วงก่อนสมโภชกรุงรัตนโกสินทร์ ได้มีภาพยนตร์ไทยเรื่องหนึ่งที่มีชื่อว่า “ท่าเตียน” ออกเผยแพร่ไปทั่วสารทิศ (ถ้าจะจัดประเภทในสมัยนี้ก็คงเป็นแนวแฟนตาซี แต่ในยุคนั้นต้องเรียกว่าแนว “อภินิหาร”) ผู้ที่ได้ชมต่างมีอาการตื่นเต้นเร้าใจ เพราะภาพในหนังนำเสนอยักษ์สองฝ่ายตัวสูงเทียมฟ้าโรมรันพันตูกันกลางกรุงเทพ! ฝ่ายหนึ่งนั้นมาจากฝั่งธนฯ ส่วนอีกฝ่ายมาจากพระนคร สังกัดวัดด้วยกันทั้งคู่ (เรียกว่าเด็กวัดก็เห็นจะไม่ผิด) สาเหตุของการวิวาทก็คงจะฝากให้ไปหามาดูกัน คนยุคดิจิตอลดูแล้วคงหัวเราะหน้าระรื่นกับสเปเชี่ยลเอฟเฟคในสมัยกว่าสามสิบปีที่ปรากฏ แต่ต้องขอบอกว่าในยุคนั้นเป็นหนังที่สร้างความฮือฮาตื่นเต้นจริงๆ เนื้อเรื่องดัดแปลงมาจากตำนานของยักษ์จากสองวัดที่ตีกันราวกับวัยรุ่น แต่สร้างความเดือดร้อนให้กับชาวบ้านร้านตลาดบริเวณนั้นอย่างสาหัส และลงท้ายด้วยการถูกลงโทษด้วยกันทั้งคู่ …หลายคนคงเคยได้ยินเรื่อง “ยักษ์วัดแจ้งกับยักษ์วัดโพธิ์” มาแล้ว ยักษ์จากสองวัดนั่นแลคือตำนานของ “ท่าเตียน” ท่าเรือที่อยู่ติดกับวัดโพธิ์แห่งนี้มาจนถึงปัจจุบัน

ชื่อเสียงที่ลือเลื่องในอีกด้านหนึ่งของวัดโพธิ์ก็คือ เรื่องของตำราและศาสตร์แห่งการนวดแผนโบราณที่สืบทอดภูมิ ปัญญาของบรรพบุรุษที่สั่งสมมายาวนานได้อย่างน่าอัศจรรย์ใจ ทุกอย่างที่ถูกจารึกไว้ตามส่วนต่างๆ ของวัดล้วนน่าทึ่ง ไม่ว่าจะเป็นวิธีการบันทึกหรือสรรพวิทยาที่ถ่ายทอดออกมาด้วยการใช้ภาพอธิบายร่วมกับตัวอักษร

ในอีกด้านหนึ่งนั้นก็คือเรื่องของสถาปัตยกรรมและสิ่งปลูกสร้างที่ยิ่งใหญ่อลังการไม่แพ้ที่ใดในโลก รวมไปถึงบรรดารูปเคารพบูชาทั้งพระพุทธรูปและตุ๊กตาหินขนาดใหญ่ต่างๆ ก็ล้วนแล้วแต่สร้างความประทับใจอย่างไม่มีที่ใดเสมอเหมือน ประวัติโดยละเอียดของวัดโพธิ์นั้นหาศึกษากันตามแหล่งข้อมูลต่างๆ เช่น วิกิพีเดียและเว็บไซต์ของทางวัดได้ไม่ยาก จึงจะนำมากล่าวโดยย่อว่า “วัดโพธิ์” เป็นชื่อเรียกขานที่ติดปากชาวพุทธพระนครมาช้านาน มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” (เหตุที่เรียกว่าวัดโพธิ์เป็นเพราะวัดเดิมชื่อ “วัดโพธาราม”) เป็นวัดประจำรัชกาลในรัชกาลที่ 1 จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอกพิเศษ จัดสร้างขึ้นมาตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยา (แต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าเมื่อใด) ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ได้ทรงโปรดเกล้าให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ในปี พ.ศ. 2331 โดยทรงสร้างพระอุโบสถพระระเบียงพระวิหาร รวมทั้งบูรณะของเดิมแล้วเสร็จในปี พ.ศ. 2344 วัดโพธิ์ได้รับการขึ้นทะเบียนเป็นมรดกโลกเมื่อ มีนาคม พ.ศ. 2551 วัดโพธิ์ในทุกวันนี้ยังเต็มไปด้วยคุณค่าแห่งประวัติศาสตร์ที่อธิบายและเล่าเรื่องด้วยตัวตนจริง ทุกสิ่งทุกอย่างยังคงมีมนต์ขลังและงดงามอย่างไม่น่าเชื่อ ซึ่งต้องขอบอกว่าน่าเสียดายถ้าหากว่าคุณไม่ได้ไปเยือนชม.. เที่ยวเมืองไทยใกล้ตัว…ไม่ไปไม่รู้จริงๆ

ขอขอบคุณ http://www.thaiticketmajor.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .