ประัวัิติพระพุทธโสธร

watsothon6

พระพุทธโสธรหรือเรียกกันสามัญทั่วไปว่า”หลวงพ่อโสธร”เป็นพระทรงอานุภาพศักดิ์สิทธิ์เป็นมิ่งขวัญของ ชาวแปดริ้วและเป็นที่รู้จักเคารพบชูาของ ประชาชนทั่วประเทศ หลวงพ่อโสธร เป็นพระรูปปางสมาธิ หน้าตักกว้าง 3 ศอก5 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปพอกปูนลง รักปิดทองพระเนตรเนื้อแบบสมัยลานช้าง หรือเรียกกันสามัญว่า พระลาว พระพุทธรูปแบบนนิยมสร้างกันมากที่เมือง หลวงพระบางอินโดจีนและภาคอิสาน ของประเทศไทย ประดิษฐาน อยู่ใน พระอุโบสถ วัดโสธร อำเภอเมืองจังหวัดฉะเชิงเทราตำนาน หรือประวัติของหลวงพ่อโสธรนี้หาหลักฐาน ยืนยันแน่นอนไม่ได้เป็นเพียงคำบอกเล่าสืบๆกันมา ประวัติที่เกี่ยวกับวัดโสธรเท่านั้น หลวงพ่อโสธรมาประดิษฐาน อยู่ที่วัดโสธร นานเท่าใด พอจะมีีคำบอกเล่าอันเกี่ยวโยง ถึงหลวงพ่อวัดบ้านแหลม จังหวัดสมุทรสงคราม ตามประวัติหลวงพ่อพ่อวัดบ้านแหลมกับหลวงพ่อวัดโสธรลอยน้ำมาด้วยกัน และเป็นพี่น้องกันและชาวบ้านแหลม ได้อัญเชิญหลวงพ่อวัดบ้านแหลมขึ้นจากน้ำ เมื่อ พ.ศ. 2313 จึงคาดคะเนว่าหลวงพ่อ ก็มาประดิษฐานอยู่ที่ วัดโสธร ราว พ.ศ.2313 หรือก่อนนั้นก็ไม่นานนัก

ประวัติความเป็นมาของหลวงพ่อโสธรนี้มีผู้เล่าสืบๆ กันมาหลายกระแสว่า หลวงพ่อโสธรลอยน้ำมามีคำปรารถว่า ล่วงกาลนานมาแล้วยังมีพระพี่น้องชายสามองค์อยู่ทางเมืองเหนือ มีอิทธิปาฏิหาริย์แสดงฤทธิ์ได้ ได้อภินิหารล่อง ลอยตามแม่น้ำมาจากทิศเหนือเพื่อให้คนทางทิศใต้ได้เห็น ในที่สุดมาผุดขึ้นที่แม่น้ำบางปะกงที่ ตำบลสัมปทวน และแสดง ปาฏิหารย์ลอยน้ำและ ทวนน้ำได้ทั้งสามองค์ ประชาชนชาวสัมปทวนได้พบเห็นจึงช่วยกันเอาเชือกรวน มนิลาลงไปผูกมัดที่องค์พระพุทธรูปทั้งสามองค์นั้น แล้วช่วยกันฉุดลากขึ้นฝั่งด้วยจำนวนผู้คนประมาณ 500 คน ก็ฉุดขึ้นไม่ได้เชือกขาด ไม่สำเร็จตามความประสงค์ พากันเลิกไป ครั้นแล้วพระพุทธรูปหล่อทั้ง สามองค์ก็จมน้ำ หายไป สถานที่พระสามองค์ลอยน้ำและทวนน้ำได้นี้เลยให้ชื่อว่า”สามพระทวน” ต่อมา เรียกว่า “สัมปทวน” ได้แก่ แม่น้ำหน้าวัดสัมปทวน อ.เมืองแปดริ้ว ทุกวันนี้ ต่อจากนั้นพระทั้งสามองค์ก็ลอยตามแม่น้ำบางปะกง เลยผ่านหน้า
วัดโสธรไปถึงคุ้งน้ำใต้วัดโสธรแสดงฤทธิ์ผุดขึ้นให้ชาวบ้านบางนั้นเห็น ชาวบ้านได้ช่วยกันฉุดขึ้นฝั่งทำนองเดียวกับ ชาวสัมปทวนแต่ก็ไม่สำเร็จ จึงเรียกหมู่บ้านและคลองนั้นว่า ” บางพระ ” มาจนทุกวันนี้

จากนั้นพระพุทธรูปทั้งสามองค์ก็ได้แผลงฤทธิ์ ลอยทวนน้ำวนอยู่ที่หัวเลี้ยวตรง กองพันทหารช่างที่ 2 จังหวัดฉะเชิงเทรา และแสดงปาฏิหาริย์จะเข้าไปในคลองเล็กๆ ตรงข้ามกอง พันทหารช่างนั้นสถานที่พระลอยวน อยู่นั้นเรียกกันว่า ” แหลมหัววน” และคลองนั้น ก็ได้นามว่า คลองสองพี่น้อง (สองพี่สองน้อง) หลังจากนั้นองค์ พี่ใหญ่ได้แสดงอิทธิปาฏิหารย์ไปลอยอยู่ในแม่น้ำเจ้าพระยาตอนสามเสนประชาชนประมาณ สามแสนคนช่วยกัน ฉุดอา ราธนาขั้นฝั่งก็ไม่สำเร็จแล้วล่องเลยไปผุดขึ้นที่ลำน้ำแม่กลอง จ.สมุทรสงคราม ประชาชนชาวประมง อาราธนา ขึ้นประดิษฐานอยู่ที่วัดบ้านแหลม ทุกวันนี้เป็นที่บูชานับถือกันว่าเป็นพระศักดิสิทธิ์เท่าๆ กับหลวงพ่อโสธร ส่วนองค์สุดท้องล่องลอยไปผุดขึ้นที่วัดบางพลี จังหวัดสมุทรปราการและชาวบางพลีได้อัญเชิญประดิษฐาน อยู่ที่ี่ วัดบางพลีใหญ่ในอำเภอบางพลี ก็ปรากฏว่ามีผู้คนเคารพนับถือมาก พระพุทธรูปหล่อองค์กลาง นั้นคือ หลวงพ่อโสธร เมื่อลอยตามน้ำมาจากหัววนดังกล่าวแล้วมาผุดขึ้นที่ท่าหน้าวัดโสธร กล่าวกันว่า ประชาชนจำนวน มากทำการบวงสรวงแล้วเอาด้ายสายสิญน์คล้องกับพระหัตถ์หลวงพ่อโสธรอัญเชิญขึ้นมาบนฝั่งนำ ไปประดิษฐาน ในวิหารสำเร็จตามความประสงค์ แล้วก็จัดให้มีการฉลองสมโภชและให้นามหลวงพ่อว่า หลวงพ่อโสธร

องค์หลวงพ่อโสธรจริงในสมัยที่ได้มาเดิมนั้นเป็นพระพุทธรูปหล่อด้วยทอง สัมฤทธิ์ปางสมาธิเพ็ชรหน้าตักกว้าง ศอกเศษ ทรงสวยงาม ต่อมาพระสงฆ์ในวัดเห็นว่ากาลต่อไปภายภาคหน้า ฝูงชนที่มี ตัณหา และโลภะแรงกล้า มีอัธยาศัยเป็นบาปลามก หมดศรัทธาหาความเลื่อมใสมิได้ จักนำเอาไปเป็นประโยชน์ส่วนตัวเสียไม่เป็นการ ปลอดภัย จึงพอกปูนเสริมให้ใหญ่หุ้มองค์จริงไว้ภายในดังปรากฎ ในปัจจุบันนี้ สถานที่ตั้งวัดโสธรตั้งอยู่ในสมัย แรกนั้น ทางบกเป็นป่า หมู่บ้านมีน้อย คมนาคมไม่สะดวก เมื่อหลวงพ่อมาประดิษฐานอยู่ที่วัดโสธรแล้วประชาชน ชาวเรือ รู้จักนับถือกันมากเพราะการไป มาสะดวกกว่าทางบกมี เรือไปมาไม่ขาด ชาวเรือค้าขายนับถือว่าถ้าบอก ขอต่อหลวงพ่อโสธรแล้ว สินค้าก็จะซื้อง่าย ขาย คล่องเป็นเทน้ำเทท่า เรือแพที่ผ่านไปมา ในแม่น้ำพอถึงตรง โบสถ์ หลวงพ่อโสธรก็วักน้ำเอาน้ำในแม่น้ำซึ่งนับถือว่าเป็นน้ำมนต์หลวงพ่อดื่มบ้างลูบศีรษะ บ้างล้างหน้าและ ประพรม เรือและสินค้าในเรือ ดังได้เห็นกันอยู่ทุกวันนี้ส่วนทางบกประชาชนรู้จักนับถือยังไม่แพร่หลายเพราะ การคมนาคม ไม่ สะดวกผู้ใดเจ็บป่วย ก็มาขอความคุ้มครองจากหลวงพ่อโสธรและได้ผลสมความปรารถนาเป็น ส่วนมากกิตติศัพท์ความศักดิ์สิทธิ์ของหลวงพ่อโสธรได้แผ่ไพศาล ไปในถิ่นต่างๆ

ขอขอบคุณ http://www.paiduaykan.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .