Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคเหนือ’ Category

วัดศรีโคมคำ

wat-srikhomkam1

วัดศรีโคมคำ ตั้งอยู่ในเขตตัวเมืองริมกว๊านพะเยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง” ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034-2067

พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในวันวิสาขบูชาของทุกปี จะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงเรียกว่า “งานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง” นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยาภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดยอาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ

ขอขอบคุณ http://www.emagtravel.com/

งานประเพณีแปดเป็ง วัดศรีโคมคำ จ.พะเยา

วัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง ระยะทางกว่า 1 กิโลเมตร ได้มีขบวนแห่ครัวตานจากลานอนุสาวรีย์พ่อขุนงำเมือง ริมกว๊าน ไปยังวัดศรีโคมคำ พระอารามหลวง โดยขบวนแห่ครัวตานของแต่ละตำบล ที่มาจากอำเภอต่างๆ ในจังหวัด กว่า 40 ขบวน ที่เน้นในเรื่องของวัฒนธรรมท้องถิ่น และการใช้เครื่องเสียงที่เป็นเครื่องดีดสีตีเป่าตามวิถีชีวิตของชาวบ้าน สร้างบรรยากาศในความเป็นอารยธรรมล้านนา สวยงามยิ่ง ขณะที่ในวิหารพระเจ้าตนหลวง ได้มีผู้สูงอายุแต่งชุดขาวมาถือศีลบำเพ็ญภาวนาตามความเชื่อและศรัทธามาแต่ครั้งอดีตกาล โดยมีพระสุนทรกิตติคุณ รองเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ เป็นประธานสงฆ์เจริญพรแก่พุทธศาสนิกชนที่เข้าไปร่วมทำบุญ ละในเวลา 13.00 น.วันนี้จะมีพระธรรมเทศนา 1 กัณฑ์ ในวิหารพระเจ้าตนหลวง

ทั้งนี้ การแห่ครัวตานดังกล่าว เป็นการรื้อฟื้นวัฒนธรรมประเพณีที่จางหายไปนับสิบปี เนื่องจากการกระจายอำนาจไปยังท้องถิ่น ส่งผลให้แต่ละท้องต่างจัดกิจกรรมของตน ขาดความร่วมมือของประชาชนเช่นที่เคย เพื่อให้วัฒนธรรมประเพณีอันดีงามได้ฟื้นคนกลับมาอีครั้ง จังหวัดพะเยา จึงได้ร่วมกับ องค์การบริหารส่วนจังหวัดพะเยา องค์กรปกครองส่วนท้องถิ่น วัฒนธรรมจังหวัดพะเยา ประสานความร่วมมือกับหมู่บ้าน ชุมชนในแต่ละอำเภอของจังหวัดพะเยา รื้อฟื้นประเพณีการแห่ครัวตานงานแปดเป็งขึ้นมาใหม่

Read more »

วัดศรีโคมคำ พระพุทธรูปศิลปเชียงแสน องค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย

cover-sadoodta_930

วัดศรีโคมคำ เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034 – 2067 พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย

ในวันวิสาขบูชามีงานนมัสการพระเจ้าตนหลว งเป็นประจำทุกปีเรียกว่างานประเพณี นมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง บริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดย อาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ

ขอขอบคุณ http://sadoodta.com

หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ

หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ เกิดขึ้นด้วยดำริของพระธรรมวิมลโมลีเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำรองเจ้าคณะภาค ๖ (ตำแหน่งในขณะนั้น) ที่ต้องการจะสนองพระราชดำริ ในสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาฯสยามบรมราชกุมารี เมื่อครั้งเสด็จพระราชดำเนินทรงนำนักเรียนนายร้อยพระจุลจอมเกล้ามายังวัดศรีโคมคำจังหวัดพะเยา เมื่อวันที่ ๒๑ พฤศจิกายน ๒๕๓๒ ที่จะให้จังหวัดพะเยามีสถานที่จัดแสดงศิลปวัตถุที่พระธรรมวิมลโมลีรวบรวมไว้ ซึ่งมีคุณค่าในเชิงประวัติศาสตร์และโบราณคดี รวมทั้งให้เป็นสถานที่ที่จะให้ความรู้เรื่องเมืองพะเยาในเชิงชาติพันธุ์วิทยา มานุษยวิทยาและธรรมชาติวิทยา สำหรับเป็นแหล่งในการศึกษาค้นคว้าสำหรับนักเรียน นักศึกษาและผู้สนใจทั่วไป หอวัฒนธรรมนิทัศน์มีเนื้อที่ในการจัดแสดงประมาณ ๒,๐๐๐ ตารางเมตร ประกอบด้วยส่วนจัดการแสดง ๖ ส่วนคือ
๑. ห้องกว๊านพะเยา จัดแสดงประวัติความเป็นมาก่อนจะเป็นกว๊านพะเยา จุดที่ตั้ง สถานที่สำคัญของพะเยา จัดแสดงพันธุ์ปลา พืช และเครื่องมือจับปลา
๒. ห้องประวัติเมืองพะเยา จัดแสดงเรื่องต่าง ๆ ได้แก่ ก่อนจะเป็นอาณาจักร ขุนเจือง พญางำเมืองพะเยายุครุ่งเรือง เครื่องปั้นดินเผา พะเยายุคเสื่อม พะเยายุคฟื้นฟู กบฎเงี้ยว และประวัติพระเจ้าตนหลวง
๓. ห้องวิถีชีวิตและภูมิปัญญาชาวบ้านจัดแสดงวิถีชีวิตที่ผูกพันกับกว๊านพะเยา และปราชญ์ท้องถิ่น
๔. ห้องพะเยากับความหวัง จัดแสดงการพัฒนาเมืองพะเยาและกิจกรรมต่าง ๆ ที่นำความสำเร็จความภาคภูมิใจมาสู่ชาวพะเยา
๕. ห้องคนกับช้าง จัดแสดงความผูกพันระหว่างคนพะเยากับช้าง
๖. ห้องเอกสารท้องถิ่น จัดแสดงเอกสารสิ่งพิมพ์ตั้งแต่อดีตจนถึงปัจจุบัน

Read more »

วัดศรีโคมคำ

วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าองค์หลวง” หรือ “วัดพระเจ้าตนหลวง” ครับ มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุด ในลานนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตร มีประวัติกล่าวถึงอย่าง พิสดารว่า มีพญานาคนำทองคำมาให้ตายายคู่หนึ่ง ที่ตั้งบ้านอยู่ริมกว๊านพะเยา เพื่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งตายายคู่นี้ใช้เวลา สร้างถึง 33 ปี (พ.ศ. 2034 – 2067) และกาลต่อมาเรียกว่า “พระเจ้าองค์หลวง” ในปัจจุบันพระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรลานนาไทยด้วย ในเดือนพฤษภาคม จะมีงานนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเป็นประจำปี เรียกว่า “งานประเพณีนมัสการ พระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง”

ขอขอบคุณ http://www.mots.go.th/

ข้อมูลท่องเที่ยววัดศรีโคมคำ-กว๊านพะเยา

กว๊าน แปลตามภาษาพื้นเมืองล้านนา แปลว่า บึง เมื่อนำมารวมกับคำว่าพะเยาก็น่าจะหมายถึงบึงในจังหวัดพะเยา กว๊านพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดที่ใหญ่เป็นอันดับ 1 ในภาคเหนือ เป็นแหล่งน้ำธรรมชาติอยู่ในอำเภอเมือง เกิดจากการยุบตัวของเปลือกโลก และเป็นจุดรวมของน้ำที่ไหลมาจากห้วย 18 สาย ปัจจุบันกว๊านพะเยาเป็นแหล่งเพาะพันธุ์ปลาน้ำจืด บริเวณริมกว๊านมี่ร้านอาหารและเป็นสวนสาธารณะ สามารถชมพระอาทิตย์ตกดินที่กว๊านพะเยาได้

ที่อยู่ติดกับกว๊านพะเยาจะเป็น วัดศรีโคมคำ(คนท้องถิ่นเรียกวัดพระเจ้าตนหลวง) เป็นวัดที่มีประวัติศาสตร์อันยาวนาน โดยเริ่มก่อสร้างเมื่อ พ.ศ. 2500 ต่อมาเมืองล้านนาถูกพม่ารุกรานเข้ามา และเป็นเมืองขึ้นของพม่า ประชาชนหนีเข้าไปในป่า บ้านเมืองก็รกร้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเ้จ้าอยู่หัว (ร.3) ได้มีการบูรณะขึ้นใหม่ และได้บูรณะเรื่อยๆมา ได้อาราธนา พระคุณเจ้าครูบาศรีวิชัย นักบุญแห่งล้านนา มาเป็นประธานในการก่อสร้างพระวิหารหลวงใหม่ และได้ก่อสร้างเสร็จสิ้นในปี พ.ศ. 2466

Read more »

วัดศรีโคมคำ เมืองพะเยา

IF

วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 16 เมตร สูง 18 เมตร สร้างขึ้นระหว่างปี พ.ศ. 2034 – 2067 พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในวันวิสาขบูชามีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงเป็นประจำทุกปีเรียกว่างานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง บริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดย อาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดศรีโคมคำ พระอารามหลวงชั้นตรี

วัดศรีโคมคำ

วัดศรีโคมคำ เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และวัดพัฒนาตัวอย่าง ชาวเมืองพะเยาทั่วไปนิยมเรียกว่า วัดพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน พระเจ้าตนหลวง โดยสร้างขึ้นในระหว่างปีพุทธศักราช 2034-2067 พระเจ้าตนหลวงเป็นพระประธานเก่าแก่ในพระวิหารหลวง ศิลปะเชียงแสนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา มีขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร และสูง 16 เมตร สร้างจากอิฐมอญผสมกับปูนขาว ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เดือนหกของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวงตามตำนาน พระเจ้าตนหลวงสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.2034 โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาในสมัยนั้น เจ้าอาวาสรูปแรกที่ปรากฏในตำนาน คือ พระธรรมปาล ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่

มีสมุดข่อยบันทึกว่า วัดศรีโคมคำ เป็นวัดมาแต่โบราณกาล แต่ยุคหลัง บ้านเมืองตกอยู่ในสงคราม ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมือง ที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอารามจึงรกร้างว่างเปล่าไป ต่อมาภายหลังได้มีการสถาปนาเมืองพะเยาขึ้น ทั้งบ้านเมืองและวัดวาอารามต่างก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ จนถึงปีพุทธศักราช 2465 พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ และมีพระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา เป็นฝ่ายบ้านเมือง ได้ร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยจากจังหวัดลำพูน มาเป็นประธาน ในการสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ จนสำเร็จบริบูรณ์ กระทั่งเมื่อวันที่ 17 เมษายน พุทธศักราช 2523 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง นอกจากนี้ ยังมี พระอุโบสถกลางน้ำ ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นโดยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งมวลจากทั่วประเทศ

Read more »

หอวัฒนธรรมนิทัศน์ วัดศรีโคมคำ

หอวัฒนธรรมนิทัศน์-วัดศรีโคมคำ3

สถานที่จัดแสดงวัตถุโบราณ รวมถึงเอกสารข้อมูลสำคัญทางประวัติศาสตร์ ทั้งด้านวรรณกรรม ภูมิปัญญาท้องถิ่น วัฒนธรรมประเพณี และวิถีความเป็นอยู่ของชาวบ้านในจังหวัดพะเยา เป็นเวลากว่า 43 ปี ที่หลวงพ่อพระธรรมวิมลโมลีได้พบซากปรักหักพังและประติมากรรมในยุคหินทรายของเมืองพะเยา (พุทธศตวรรษที่ 20-21) อันเป็นที่มาที่ทำให้หลวงพ่อได้เริ่มเก็บรักษาสมบัติของชาติเหล่านี้ไว้ ณ วัดศรีอุโมงค์คำ จนย้ายมาเป็นเจ้าอาวาสวัดศรีโคมคำ

ในปีพ.ศ.2512 จึงย้ายโบราณวัตถุทั้งหมดมาเก็บรักษาต่อ ณ วัดแห่งนี้ นับตั้งแต่การเริ่มต้นเก็บรวบรวมวัตถุโบราณ ตลอดจนการกลั่นกลองจนกลายเป็นหอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำ ต้องใช้ระยะเวลากว่า 32 ปี จึงแล้วเสร็จสมบูรณ์ในปี พ.ศ.2539 หอวัฒนธรรมนิทัศน์วัดศรีโคมคำได้รับการออกแบบด้วยศิลปะล้านนาประยุกต์ ด้านหลังตัวอาคารติดกับกว๊านพะเยาจึงมีภูมิทัศน์ที่สวยงามตามธรรมชาติ ภายในอาคาร 2 ชั้น ประกอบด้วยห้องจัดแสดง 5 ห้อง แต่ละห้องแบ่งเป็นส่วนๆ รวมทั้งหมดเป็น 13 ส่วน ได้แก่

Read more »

วัดศรีโคมคำ

วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และวัดพัฒนาตัวอย่าง ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าองค์หลวง” หรือ “วัดพระเจ้าตนหลวง” ครับ มีพระพุทธรูปองค์ใหญ่ที่สุด ในลานนาไทย ขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตร มีประวัติกล่าวถึงอย่าง พิสดารว่า มีพญานาคนำทองคำมาให้ตายายคู่หนึ่ง ที่ตั้งบ้านอยู่ริมกว๊านพะเยา เพื่อสร้างพระพุทธรูปองค์นี้ ซึ่งตายายคู่นี้ใช้เวลา สร้างถึง 33 ปี (พ.ศ. 2034 – 2067) และกาลต่อมาเรียกว่า “พระเจ้าองค์หลวง” ในปัจจุบันพระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรลานนาไทยด้วย ในเดือนพฤษภาคม จะมีงานนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเป็นประจำปี เรียกว่า “งานประเพณีนมัสการ พระเจ้าองค์หลวงเดือนแปดเป็ง” จะมีประชาชนในจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก และ สำหรับคนต่างถิ่นจะถือเป็นประเพณี เมื่อไปถึงเมืองพะเยาแล้ว สิ่งแรกนั้นก็คือ การไปนมัสการพระเจ้าองค์หลวงของเมืองพะเยาเสียก่อน มิฉะนั้น จะถือว่าไม่ได้ไปถึงเมืองพะเยาเลย นอกจากนั้นยังมีศิลาจารึกเก่าแก่โบราณอีกมากมายที่น่าไปเที่ยวชม

ขอขอบคุณ http://travel.sanook.com/

วัดศรีโคมคำ ( วัดพระเจ้าตนหลวง )

1

ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา โทร.054-431053 ประชาชนทั่วไปนิยมเรียกว่า”วัดพระเจ้าตนหลวง” เป็นพระพุทธรูปศิลปเชียงแสนองค์ใหญ่ทสุดี่ในล้านนาไทยขนาดหน้าตักกว้าง 14 เมตร สูง 16 เมตi ใช้เวลาก่อสร้างถึง 33 ปี (พ.ศ.2034-2067) และต่อมาเรียกว่า”พระเจ้าองค์หลวง”ซึ่งถือว่าพระเจ้าองค์หลวงเป็นพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาและคู่เมืองอาณาจักรล้านนาด้วยในเดือนหก(ประมาณเดือนพฤษภาคม) จะมีงานนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเป็นประจำทุกปี เรียกว่า”งานประเพณีนมัสการพระเจ้าองค์หลวงเดือน แปดเป็ง”มีประชาชนจังหวัดพะเยาและจังหวัดใกล้เคียงมาร่วมงานเป็นจำนวนมาก นอกจากนี้ภายใน บริเวณวัดยังมี พระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยา ภายในมีจิตรกรรมฝาผนังลาย วิจิตรสวยงาม วาดโดยอาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.go.th/

วัดศรีโคมคำ พะเยา

DSC_4383

วัดศรีโคมคำ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี และเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง” ภายวนประดิษฐานพระเจ้าตนหลวงซึ่งเป็นพระพุทธรูปศิลปะเชียงแสนองค์ใหญ่ที่สุดในล้านนา ขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร สูง ๑๘ เมตร สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. ๒๐๓๔-๒๐๖๗ พระเจ้าตนหลวง หรือ พระเจ้าองค์หลวง มิใช่เป็นแต่เพียงพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาเท่านั้น แต่ถือเป็นพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองอาณาจักรล้านนาไทยด้วย ในวันวิสาขบูชาของทุกปี จะมีงานประเพณีนมัสการพระเจ้าตนหลวงเดือนแปดเป็ง นอกจากนี้ภายในบริเวณวัดยังมีพระอุโบสถกลางน้ำตั้งอยู่ริมกว๊านพะเยาภายในมีจิตรกรรมฝาผนัง ลวดลายวิจิตรสวยงาม วาดโดยอาจารย์อังคาร กัลยาณพงศ์ ศิลปินแห่งชาติ โทร. ๐ ๕๔๔๓ ๑๙๖๓

ขอขอบคุณhttp://thai.tourismthailand.org/

ประวัติตำนานพระเจ้าตนหลวง(วัดศรีโคมคำ)

ภาพวาดประวัติตำนานพระเจ้าตนหลวง ซึ่งเป็นภาพเก่าซึ่งวาดโดย จ ขันธะกิจ บิดาของสล่าแดง เป็นการเล่าเรื่องราวประวัติดพระพุทธเจ้ากับพญานาคในกว๊านพะเยา และภาพการก่อสร้างพระเจ้าตนหลวง ซึ่งตามตำนานกล่าวว่า เมื่อครั้งที่พระพุทธเจ้าเสด็จจากประเทศอินเดียมาที่ดอยจอมทอง นายช่างทองได้ถวายอาหารบิณฑบาตแด่พระพุทธองค์แต่มิได้ถวายน้ำฉัน พระพุทธองค์จึงให้พระอานนท์ถือบาตรจะมาตักน้ำสระหนองเอี้ยวข้างเชิงดอย ขณะนั้นมีพญานาคตนหนึ่งอาศัยอยู่ ในสระหนองนั้นเมื่อเห็นพระอานนท์ถือบาตรจะมาตักน้ำ พญานาคก็ไม่ให้ พ่นควันขึ้นที่หงอน แผ่พังพานเป็นประดุจหมอกควันปกคลุมสระหนองจนมองไม่เห็นน้ำ ท่านไม่สามารถตักน้ำในสระนั้นจึงไปกราบบังคมทูลพระพุทธเจ้า พระองค์ทรงทราบแล้วจึงเสด็จไปประทับยืนข้างสระหนองในทันใดนั้น พญานาคเห็นพระองค์ประทับทำทีจะพ่นควันแผ่พันพานแต่พอเห็นรูปกายของพระพุทธเจ้าเต็มไปด้วยรัศมีเปล่งปลั่ง พญานาคไม่เห็นมาก่อนจึงถามพระองค์ว่า ท่านเป็นใคร มาจาไหน พระพุทธองค์ทรงตรัสว่า “เราคือ ตถาคตสัมมาสัมพุทธเจ้า” มาจากศากยชนบทเพื่อประกาศสั่งสอนเวนัยสัตว์และประดิษฐานพระพุทธศาสนา เรามาที่นี่เพื่อต้องการน้ำดื่ม ท่านไม่ให้น้ำแก่เรา พระองค์ตรัสต่อไปว่า เมื่ออดีตกาล พระพุทธเจ้าทุกๆ พระองค์ เช่น พระเ้จ้า กะกุสันธะ ก็เสด็จมาฉันจังหัน และดื่มน้ำในหนองสระที่นี่ครั้นและพระพุทธองค์ก็แสดงอภินิหารเนรมิตพระวรกายของพระองค์ให้ใหญ่เท่ากับพระพุทธเจ้ากะกุสันธะพระองค์นั้น พญานาคเห็นพระวรกายใหญ่และสูง ๓๒ ศอก ครั้นเห็นแล้วจึงเกิดเลื่อมใสศรัทธาเป็นอันมาพร้อมกับได้ถวายน้ำแด่พระองค์พระพุทธองค์ตรัสกะพญานาคต่อไป ว่าเมื่อเราตถาคตปรินิพพานไปแล้ว ศาสนาของเราย่างเข้าจะถึงครึ่งค่อน ๕๐๐๐ พระวรรษา ท่านจงมาสร้าางรากฐานพระพุทธศาสนาลงในสระหนองที่นี่และสร้างพระพุทธรูปให้ใหญ่เท่าพระเจ้ากะกุสันธะสัมมาสัมพุทธะ สูง ๓๒ ศอก เป็นต้น ดังนี้พญานาครับเอาพระดำรัสนั้นแล้วก็กลับสู่นาคพิภพของตน

Read more »

วัดศรีโคมคำ (วัดพระเจ้าตนหลวง)

“พระเจ้าตนหลวง”วัดศรีโคมคำ อ.เมือง จ.พะเยา “วัดศรีโคมคำ” ตั้งอยู่เลขที่ ๖๙๒ ถนนพหลโยธิน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ริมกว๊านพะเยา กว๊านพะเยา เป็นทะเลสาบน้ำจืดใหญ่เป็นอันดับ ๑ ในภาคเหนือของประเทศไทย เป็นแหล่งน้ำที่มีธรรมชาติงดงาม อยู่ใจกลางเมืองพะเยา มีทิวเขาเป็นฉากบังข้างหลังสูงตระหง่านอย่างงดงามตา คำว่า “กว๊าน” ตามภาษาพื้นเมืองหมายถึง “บึง” มีเนื้อที่ ๑๒,๘๓๑ ไร่ มีความลึกเฉลี่ย ๑.๕ เมตร ลึกที่สุด ๔ เมตร เป็นแหล่งประมงน้ำจืด และเพาะพันธุ์ปลาชนิดต่างๆ กว่า ๕๐ ชนิด เช่น ปลากราย ปลาสวาย ปลาเทโพ ปลาจีน ปลานิลปลาไน ฯลฯ ปัจจุบันศูนย์วิจัยและพัฒนาประมงน้ำจืด พะเยาสามารถเพาะพันธุ์ปลาบึก จากพ่อพันธุ์ในบ่อเลี้ยงเป็นผลสำเร็จ เป็นแห่งแรกของโลกในปี พ.ศ.๒๕๔๔ สามารถเพาะพันธุ์ลูกปลาบึกได้เป็นแสนตัว ส่วนหนึ่งได้ปล่อยลงสู่กว๊านพะเยา ทัศนียภาพโดยรอบ กว๊านพะเยาเหมาะสำหรับพักผ่อนหย่อนใจ ในยามเย็นชมพระอาทิตย์ตกริมกว๊าน เป็นภาพที่สวยงามมาก ซึ่งเป็นที่ประทับใจแก่ผู้พบเห็นและผู้มาเยือน จนอาจกล่าวได้ว่า หัวใจของเมืองพะเยาอยู่ที่ ‘กว๊านพะเยา

“วัดศรีโคมคำ” เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองพะเยา เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ และวัดพัฒนาตัวอย่าง ชาวเมืองพะเยาทั่วไปนิยมเรียกว่า “วัดพระเจ้าตนหลวง” ซึ่งเป็นที่ประดิษฐาน “พระเจ้าตนหลวง” โดยสร้างขึ้นในระหว่างปีพุทธศักราช ๒๐๓๔-๒๐๖๗ “พระเจ้าตนหลวง” เป็นพระประธานเก่าแก่ในพระวิหารหลวง ศิลปะเชียงแสนที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในล้านนา มีขนาดหน้าตักกว้าง ๑๔ เมตร และสูง ๑๖ เมตร สร้างจากอิฐมอญผสมกับปูนขาว ชาวพะเยาถือเป็นพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง เดือนหกของทุกปีจะมีงานนมัสการพระเจ้าตนหลวง ตามตำนาน พระเจ้าตนหลวงสร้างขึ้นเมื่อประมาณปี พ.ศ.๒๐๓๔ โดยอยู่ในความอุปถัมภ์ของพระเมืองแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองเชียงใหม่ และพระยาเมืองตู้ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยาในสมัยนั้น เจ้าอาวาสรูปแรกที่ปรากฏในตำนาน คือ พระธรรมปาล ได้เขียนตำนานพระเจ้าตนหลวงออกเผยแพร่

มีสมุดข่อยบันทึกว่า วัดศรีโคมคำ เป็นวัดมาแต่โบราณกาล แต่ยุคหลัง บ้านเมืองตกอยู่ในสงคราม ต้องอพยพโยกย้ายไปอยู่ตามหัวเมือง ที่ปลอดภัยจากข้าศึก ทำให้บ้านเมือง วัดวาอาราม รกร้างว่างเปล่าไป ต่อมาภายหลังได้สถาปนาเมืองพะเยาขึ้น บ้านเมืองก็ดี วัดวาอารามก็ดี ก็ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้นใหม่ตามลำดับ ถึงปีพุทธศักราช ๒๔๖๕ พระครูศรีวิราชวชิรปัญญา เจ้าคณะแขวงเมืองพะเยา เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ ทางฝ่ายบ้านเมืองคือ พระยาประเทศอุดรทิศ เจ้าผู้ครองเมืองพะเยา ร่วมกันไปอาราธนาท่านครูบาศรีวิชัยจากจังหวัดลำพูน มาเป็นประธาน ในการสร้างพระวิหารหลวงและเสนาสนะต่างๆ จนสำเร็จบริบูรณ์ กระทั่งเมื่อวันที่ ๑๗ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๒๓ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบัน โปรดเกล้าฯ พระราชทานยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง นอกจากนี้ ยังมี พระอุโบสถกลางน้ำ ซึ่งเป็นศิลปะแบบล้านนาประยุกต์ สร้างขึ้นโดยแรงศรัทธาของพุทธศาสนิกชนทั้งมวลจากทั่วประเทศ โดยมี “นิยม สิทธหาญ” มัณฑนากรจากมหาวิทยาลัยศิลปากร และ “จินดา สหสมร” สถาปนิกจากจุฬาลงกรณ์มหาวิทยาลัย ร่วมกันออกแบบ ภายในพระอุโบสถมีภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติและวิถีชีวิตผู้คน ฝีมือของ “อังคาร กัลยาณพงศ์” ศิลปินแห่งชาติ และ “ภาพตะวัน สุวรรณกูฏ”

ชะตาพระเจ้าตนหลวงตามตำนาน กล่าวได้ว่า “พระโมลีใหญ่ ๒๐ กำมือ สูง ๓ ศอก พระเศียรกลม ๖ วา พระเกศามี ๑,๕๐๐ เส้น ขนาดใหญ่ ๔ กำมือ ขนาดกลาง ๓ กำมือ ขนาดเล็ก ๒ กำมือ ขนาดจิ๋ว ๑ กำมือ พระพักตร์หน้ายาว ๒ วา กว้าง ๒ วา พระขนง (คิ้ว) ๓ ศอก ระหว่างพระขนงกว้าง ๑ ศอก ยาว ๓ ศอก กว้าง ๑ คืบ ดั้งพระนาสิก ๓ ศอก ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ พระโอษฐ์ (ปาก) ยาว ๔ ศอก กว้าง ๑ คืบ ใหญ่ ๖ กำมือ พระกรรณ (หู) ยาว ๖ ศอก กว้างศอกคืบ พระศอยาว ๒ ศอก กลม ๓ วา พระอังสา (บ่า) ยาว ๓ คืบ กระดูกด้ามมีดยาว ๔ วา ตั้งแต่พระอุระ (อก) ถึงพระชานุ (คาง) ๒ วา ตั้งแต่พระถัน (นม) ถึงพระอังสา (ไหล่) ๒ วา ตั้งแต่พระนาภี (สะดือ) ถึงพระอุระ (อก) ๒ วา ระหว่างพระอุระ (อก) กว้าง ๒ วา พระพาหา (แขน) ยาว ๔ วา กลม ๒๙ กำมือ นิ้วพระหัตถ์ใหญ่ ๙ กำมือ ยาว ๑ วา พระกฏิ (สะเอว) กลม ๗ วา ฝ่าพระบาทยาว ๒ วา กว้าง ๓ ศอก ระหว่างพระชานุกว้าง ๗ วา พระหทัยใหญ่ ๖ กำมือ ตั้งแต่ที่ประทับนั่งถึงพระโมลี สูง ๘ วา ๒ ศอก”

Read more »

แหล่งท่องเที่ยว จ.พะเยา วัดศรีโคมคำ(สิ่งที่น่าสนใจ)

พระพุทธบาทจำลอง
001_4_c
ภายในวัดศรีโคมคำ มี ๒ รอยประดิษฐานไว้ในเขตพุทธาวาส อยู่ทางขวามือของพระวิหารพระเจ้าตนหลวง ไม่ทราบแน่นอนว่าสร้างขึ้นในสมัยใด รอยข้างขวากว้าง ๐.๕๖ เมตร ยาว ๑.๓๒ เมตร รอยข้างซ้ายนั้นยาวเท่ากัน ในพื้นฝ่าพระพุทธบาททั้ง ๒ รอย มีลวดลายเกี่ยวกับมหาบุรุษลักษณะ ๓๒ และอนุพยัญชนะ ๘๐ ตามพุทธลักษณะโดยครบถ้วน ลวดลายลักษณะพระพุทธบาทนั้น คล้ายคลึงกับศิลปะสุโขทัย จึงมีความสวยงามมากเป็นพิเศษ อาจถูกจำลองมาจากสุโขทัยก็เป็นได้

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .