Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร

8071f6659976e646b28951c2da688159

วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร หรือ วัดสามจีน วัดที่มีพระพุทธรูปทองคำใหญ่ที่สุดในโลก แต่ไม่เพียงเท่านั้น วัดไตรมิตรยังมีพิพิธภัณฑ์เยาวราช ซึ่งเป็นสถาานที่เล่าการเดินทางของชาวจีนในไทย ที่ข้ามทะเล เข้ามาตั้งรกราก ทำมาหากิน จนกลายเป็นเยาวราชในปัจจุบัน และ ให้ข้อมูลบุคคลสำคัญที่เป็นชาวจีน

เว็บไซต์
www.wattraimitr-withayaram.com

เบอร์โทรศัพท์
02-623-3329

Read more »

วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร

dsc_8162

เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร สร้างสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เดิมชื่อว่า “วัดสามจีน” เล่ากันว่าชาวจีน 3 คน เป็นมิตรที่สนิทสนมกันมาก ร่วมใจกันสร้างเพื่อถวายเป็นวิทยาทาน ต่อมาได้นามว่า “วัดไตรมิตรวิทยาราม” ทำพิธีเปิดป้ายวัด เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ ปี 2482 ได้รับยกฐานะเป็นพระอารามหลวงเมื่อปี 2499

สถาปัตยกรรมที่สำคัญ

พระอุโบสถ เป็นอาคารคอนกรีตเสริมเหล็กลักษณะทรงจตุรมุข หลังคาลด 2 ชั้น มีมุขคล้ายมุขเด็จอีกขั้นหนึ่ง หน้าบันทั้ง 4 ด้าน ประดับปูนปั้นรูปพระนารายณ์ พระอิศวร และพระพรหม ปิดทอง ประดับกระจก ภายในเพดานประดับดวงดาวโลหะ ปิดทองประดับกระจก ผนังภายในระดับใต้ขอบหน้าต่างเป็นหินขัดสีเข้ม เขียนลายไทย ซุ้มประตูหน้าต่างประดับปูนปั้น ในวงกรอบทรงโค้งกลม ยอดแหลม ประดับลายทรงพุ่มข้าวบิณฑ์ บานประตูหน้าต่างเขียนลายรดน้ำภาพทวารบาล ชานด้านหน้าพระอุโบสถมีซุ้มบุษบกทรงจตุรมุขมีใบเสมาที่มุมพระอุโบสถ ทั้ง 4 มุม สร้างขึ้นในปี 2489
พระประธาน ในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ลงรักปิดทองปางมารวิชัย พระนามว่า “พระพุทธทศพลญาณ” ประชาชนนิยมเรียกว่า “หลวงพ่อโตวัดสามจีน” หรือ “หลวงพ่อวัดสามจีน”

Read more »

วัดไตรมิตรวิทยาราม เขตสัมพันธวงศ์ จ.กรุงเทพฯ

วัดไตรมิตรวิทยาราม เดิมชื่อวัดสามจีนใต้ เนื่องจากเกิดจากชาวจีนสามคนร่วมกันสร้างขึ้น ต่อมาได้พัฒนาบูรณะปรับปรุงให้ดีขึ้นจึงเปลี่ยนชื่อเป็นวัดไตรมิตรวิทยาราม และบูรณะปฏิสังขรณ์จนสวยงามดังเช่นปัจจุบัน จากครั้งที่ทางทีมงานท่องเที่ยวดอทคอม (www.Thongteaw.com) ได้เดินทางมาที่เยาวราช (คลิ๊กที่หน้าท่องเที่ยวกรุงเทพฯ เลือกเยาวราช) ได้เดินผ่านวัดไตรมิตรฯแห่งนี้ได้พบกับอาคารสีขาวที่มีความสวยงามน่าชม ได้เข้าไปเพื่อขอชมปรากฏว่าปิดแล้ว ครั้งที่สองก็ยังเข้าชมไม่ได้เนื่องจากมีคณะท่องเที่ยวขนาดใหญ่มา และใกล้เวลาปิดทำการจึงอดอีก คราวนี้ทางทีมงานของเราจึงตั้งใจว่าไปให้เช้าขึ้นเพื่อที่จะได้เข้าชมจริง ๆ เสียที การเดินทางของเราก็เหมือนทุกครั้งที่มาแถวนี้คือจอดรถแล้วขึ้นรถเมล์(บางครั้งก็ไม่ได้ฟรี) จึงไม่ต้องมีปัญหาเรื่องการหาที่จอดรถมากนักเนื่องจากที่จอดรถของทางวัดมีจำกัด เมื่อมาถึงทีมงานของเราเริ่มไปไหว้พระในพระอุโบสถ “พระพุทธทศพลญาณ” หรือหลวงพ่อโตวัดสามจีน ทำบุญก่อน แล้วจึงเข้าเที่ยวชมพระมณฑป
พระมหามณฑป หรือพระมหามณฑปเฉลิมพระเกียรติ 80 พรรษา พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว นั้นแบ่งเป็น 4 ชั้น โดยชั้นที่ 1 ที่ทางทีมงานเราเข้าไปเมียง ๆ มอง ๆ แอบดู มืดสนิทคล้ายห้องโถงกว้างสำหรับเก็บของ (เป็นการคาดเดาเท่านั้น โปรดใช้วิจารณญาณในการอ่าน) จึงเดินผ่านไป ขึ้นบันไดหลายขั้นแต่ท่านผู้สูงอายุที่เดินทางมาก็มิได้ย่อท้อแต่อย่างใด จนมาถึงชั้น 2 ทีมงานของเราก็ยังไม่ยอมแวะพัก เดินตรงต่อไปถึงชั้น 3 และชั้น 4 ดังนั้นจึงขอพาทุกท่านกระโดดข้ามมาที่ชั้นบนสุดของพระมหามณฑปองค์นี้ก่อนคือ
Read more »

วัดไตรมิตร (ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช)

x1

นิทรรศน์รัตนโกสินทร์ นำเราย้อนสู่ ประวัติศาสตร์รัตนโกสินทร์ และ มิวเซียมสยาม ก็ได้นำเอาความเข้าใจในชาติพันธุ์แห่งสุวรรณภูมิมาสู่ใจเราอย่างถึงแก่น ดังนั้น เพื่อให้ครบครอบรอบด้านของการเดินทางท่องเที่ยว ฉบับพิพิธภัณฑ์ One Day Trip เราจึงขอนำชาว คู่หูเดินทาง มาปิดท้ายวันกันที่พิพิธภัณฑ์อีกแห่งที่ชื่อ พิพิธภัณฑ์วัดไตรมิตร หรือ ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช

รูปแบบและแนวคิดในการนำเสนอของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้อาจแตกต่างจาก พิพิธภัณฑ์วัดไตรมิตร แห่งอื่น ๆ ตรงที่พวกเขาตั้งใจบอกเล่าเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเล ที่ในอดีตเคยหอบเสื่อผืนหมอนใบมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และความรุ่งเรืองบนถนนสายทองคำบนผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้

โดยเฉพาะบริเวณชั้น ที่สองของพระมหามณฑป ได้ถูกจัดสร้างให้เป็นศูนย์ประวัติศาสตร์ในการศึกษาและเรียนรู้เกี่ยวกับความเป็นมา ความเจริญรุ่งเรืองที่มีมาอย่างยาวนานของชุมชนชาวจีนย่านเยาวราช โดยแบ่งห้องแสดงนิทรรศการออกเป็นหกส่วน คือ…

Read more »

วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร

temple-06

อยู่ที่ถนนเจริญกรุง (ใกล้หัวลำโพง) ภายในวัดมีพระพุทธรูปทองคำ ลักษณะองค์พระเป็นศิลปะสุโขทัย จึงได้ถวายพระนามว่า “พระสุโขทัยไตรมิตร” เป็นพระพุทธรูปทองคำที่มีส่วนผสมของทองคำสูงมาก เรียกว่า “ทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา” มีขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว สูง 7 ศอก 1 คืบ 9 นิ้ว

เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน เวลา : 08.00 น.- 17.00 น.
ค่าเข้าชม : คนไทยไม่เสียค่าเข้าชม ชาวต่างชาติ 40 บาท/ชมพิพิธภัณฑ์ 100 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : 0 2623 3329,0 2623 1227
วิธีเดินทาง : ลงสถานีสะพานตากสิน (S6) (สายสีลม) จากนั้นใช้ทางออกที่ 2 ไปยังท่าเรือด่วนเจ้าพระยา นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าน้ำราชวงศ์ (N.5) จากนั้นต่อรถแท็กซี่หรือรถตุ๊กตุ๊กไปยังวัดไตรมิตรฯ

ขอขอบคุณ http://www.bts.co.th/

พิพิธภัณฑ์วัดไตรมิตร ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช

24012012_230da47

ย้อนรอยสัมผัสวิถีชีวิตความเป็นมาของผู้คนในเยาวราช ซึ่งหยั่งรากฝั่งลึกบนผืนแผ่นดินไทยมาอย่างยาวนาน ผ่านการรวบรวมและเรียงร้อยเรื่องราวออกมาให้เราได้รับรู้กัน ณ ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราชภายในพระมหามณฑป และกราบไหว้ขอพรหลวงพ่อทองคำที่วัดไตรมิตร เยาวราช

พิพิธภัณฑ์วัดไตรมิตร เยาวราช หรือ ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช รูปแบบและแนวคิดในการนำเสนอของพิพิธภัณฑ์แห่งนี้ อาจแตกต่างจากพิพิธภัณฑ์แห่งอื่นๆ ตรงที่พวกเขาตั้งใจบอกเล่าเรื่องราวของชาวจีนโพ้นทะเล ที่ในอดีตเคยหอบเสื่อผืนหมอนใบมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร และความรุ่งเรืองบนถนนสายทองคำบนผืนแผ่นดินไทยแห่งนี้

ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราชแห่งนี้ ตั้งอยู่บนชั้น 2 ของ พระมหามณฑป วัดไตรมิตรวิทยาราม ซึ่งแสดงถึงการโยกย้ายถิ่นฐานของชนชาวจีนมาสู่ประเทศไทย จากครั้งอดีตจวบจนปัจจุบัน โดยห้องแสดงนิทรรศการต่าง ๆ จะมีทั้งหมด 6 ห้อง ซึ่งแบ่งออกตามช่วงเวลาและเหตุการณ์ที่เกิดขึ้นตามลำดับ คือ

Read more »

วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

gb_p02

วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร หนึ่งในสถานที่ท่องเที่ยวของกรุงเทพมหานคร ตั้งอยู่ที่ถนนเจริญกรุง (ใกล้หัวลำโพง) เดิมชื่อว่า “วัดสามจีน” ภายในวัดมีพระพุทธรูปปูนปั้นองค์หนึ่ง เมื่อคราวเปลี่ยนที่ตั้ง ปูนที่หุ้มอยู่ได้กะเทาะออก เห็นภายในเป็นพระพุทธรูปทองคำ ลักษณะองค์พระเป็นศิลปะสุโขทัยจึงได้ถวายพระนามว่า “พระสุโขทัยไตรมิตร” เป็นพระพุทธรูปทองคำที่มีส่วนผสมของทองคำสูงมาก เรียกว่า “ทองเนื้อเจ็ดน้ำสองขา” มีขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก 5 นิ้ว สูง 7 ศอก ๑ คืบ 9 นิ้ว ซึ่งนับเป็น “พระพุทธรูปทองคำบริสุทธิ์ขนาดใหญ่ที่สุดในโลก” มีมูลค่าเฉพาะเนื้อทองคำสูงถึง ๒๑.๑ ล้านปอนด์

ทางวัดได้จัดสร้างพระมหามณฑป 4 ชั้น เพื่อประดิษฐานหลวงพ่อทองคำที่ชั้นบนสุด ส่วนบริเวณชั้นที่ 3 จัดแสดงนิทรรศการหลวงพ่อทองคำ และบริเวณชั้น 2 จัดทำเป็นศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช จัดแสดงเรื่องราวของไชน่าทาวน์เยาวราชในรูปแบบนิทรรศการที่ทันสมัย มีโรงภาพยนตร์ฉายวีดีทัศน์เล่าเรื่องเยาวราชในอดีต แบบจำลอง 3 มิติของถนนเยาวราช หอเกียรติยศแสดงภาพบุคคลที่มีชื่อเสียงของชุมชนเยาวราช เป็นต้น
Read more »

วัดไตรมิตรงามวิจิตรพระทองคำ เลิศล้ำพิพิธภัณฑ์เยาวราช

Image

ไม่ได้ไปเยือนแถวเยาวราชเสียนาน เมื่อโฉบเฉี่ยวไปฉันก็ถึงกับตกตะลึงในความยิ่งใหญ่สวยงามของพระมหามณฑปของวัดหนึ่งที่ตั้งอยู่บริเวณส่วนหัวของมังกรในความเชื่อเรื่องถนนสายมังกร โดยวัดนี้เดิมเป็นวัดโบราณชื่อว่า “วัดสามจีน” เนื่องจากเชื่อว่าผู้ที่สร้างวัดเป็นชาวจีนกลุ่มแรกๆ ที่อพยพเข้ามาตั้งถิ่นฐานในเมืองไทย ในจำนวนนั้นมีชาวจีน 3 คนที่สร้างเนื้อสร้างตัวจนร่ำรวยเป็นเจ้าสัว มีจิตศรัทธาร่วมใจกันสร้างวัดแห่งนี้ขึ้น จึงเรียกว่าวัดสามจีน แต่ภายหลังจากที่มีการปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร”
แต่ก่อนที่ฉันจะขึ้นไปเยี่ยมชมพระมหามณฑปที่สวยเด่นเป็นสง่าหลังใหม่นี้ ฉันมุ่งหน้าไปยังพระอุโบสถที่ก่อสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2490 แทนพระอุโบสถเดิมที่เสียหายในสงครามโลกครั้งที่ 2 เป็นพระอุโบสถทรงจัตุรมุข หลังคาสามชั้น มีชานรอบพระอุโบสถ บานประตู หน้าต่างเขียนลายรดน้ำสวยงาม ภายในประดิษฐาน “พระพุทธทศพลญาณ” พระประธานของวัดไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้นลงรักปิดทอง

Read more »

วัดไตรมิตร วิทยาราม วรวิหาร

DPP-0018

“วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร” หรือ “วัดสามจีน” ตั้งอยู่ถนนเจริญกรุง เขตสัมพันธวงศ์ เป็นวัดโบราณแต่ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อสมัยใด เดิมชือ “วัดสามจีน” เพราะเล่ากันว่ามีชาวจีน 3 คน ช่วยกันก่อสร้างวัดนี้ขึ้นมา จุดเด่นอันเป็นเอกลักษณ์ คือ พุทธสถาปัตกรรมอันทรงคุณค่า “พระมหามณฑป” ถือเป็นสิ่งที่ดึงดูดใครต่อใครให้อยากไปเยือน “วัดไตรมิตร” สักครั้ง
ชั้น 2 “ศูนย์ประวัติศาสตร์เยาวราช” ทำความรู้จักกับชุมชนชาวจีนสำเพ็ง – เยาวราช อันเป็นย่านการค้าเก่าแก่ที่สำคัญของกรุงเทพฯ ซึ่งเติบโตขึ้นจากการก่อร่างสร้างตัวของชาวจีนที่เข้ามาทำมาหากินในเมืองไทย

ชั้น 3 “นิทรรศการพระพุทธรูปทองคำ” ภายในจะมีห้อง Multimedia Theatre ที่จัดแสดงสื่อผสม แสง เสียง และภาพ Animation ประกอบกับโมเดลวัดมหาธาตุกลางเมืองสุโขทัย เล่าเรื่องราวตั้งแต่เริ่มกำเนิดพระพุทธรูปขึ้นในโลก และพัฒนาการมาสู่พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร

Read more »

วัดไตรมิตร จากพระพุทธรูปปูนปั้นสู่หลวงพ่อทองคำหนึ่งเดียวของโลก

f1f4b0dd-34e5-8c9b-1d75-523ad184daea

วัดไตรมิตรวิทยาราม วรวิหาร วัดใหญ่ใจกลางเมืองหลวงอย่างกรุงเทพมหานคร นอกจากจะเป็นศาสนสถานศักดิ์สิทธิ์และมี “พระพุทธทศพลญาณ” หรือ “หลวงพ่อโต วัดสามจีน” ซึ่งมีผู้คนนิยมมากราบไหว้ขอพรกันทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศ รวมถึงสิ่งซึ่งเป็นที่สุดของโลกอย่าง “พระพุทธมหาสุวรรณปฏิมากร” หรือ “หลวงพ่อทองคำ” ให้ได้ชมอีกด้วย

วัดไตรมิตรวิทยารามแห่งนี้ ปัจจุบันเป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร มีที่ตั้งอยู่บนถนนเจริญกรุงใกล้ ๆ กับสถานีรถไฟหัวลำโพงที่เราคุ้นเคยกันดี แต่เดิมวัดแห่งนี้มีชื่อเรียกว่า “วัดสามจีนใต้” ซึ่งชาวบ้านในสมัยนั้น ได้ตั้งชื่อวัดตามจำนวนของผู้ก่อสร้างที่เป็นชาวจีน 3 คน แต่ทั้งนี้ก็ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยใด จวบจนเวลาล่วงเลยผ่านไปจนถึงปี พ.ศ.2482 จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจาก “วัดสามจีน” มาเป็น “วัดไตรมิตรวิทยาราม” ดังที่รู้จักกันอยู่ในปัจจุบันนั่นเอง

สำหรับการมาเที่ยวชมและนมัสการสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่วัดแห่งนี้เราขอแนะนำว่า ให้ใช้บริการรถเท็กซี่หรือรถเมล์จะสะดวกที่สุด เพราะถนนโดยรอบวัดมีขนาดไม่กว้างนัก เนื่องจากเป็นถนนสายเก่าที่สร้างขึ้นมาแต่อดีต ซึ่งในปัจจุบันเมื่อมียวดยานพาหนะมากขึ้น การจราจรจึงติดขัดเป็นเงาตามตัวอย่างหลีกเลี่ยงไม่ได้ นอกจากนี้พื้นที่ในบริเวณวัดที่จัดไว้สำหรับจอดรถก็มีพื้นที่จำกัด ดังนั้นผู้ที่จะนำรถยนต์มาเองจึงอาจจะไม่สะดวกเท่าที่ควร

Read more »

วัดไตรภูมิ กรุงเทพฯ

R0026208

วัดสำคัญแห่งหนึ่งในกรุงเทพคือ วัดไตรมิตร ที่ผู้คนนิยมไปสักการะพระพุทธรูปทองคำกัน ตอนนี้ทางวัดได้สร้างพระมหามณฑปหลังใหม่สวยงามโอ่อ่าสำหรับประดิษฐานองค์พระ ที่สำคัญด้านในยังมีพิพิธภัณฑ์ที่บอกเล่าความเป็นมาทั้งของพระทองคำและชุมชนชาวจีนที่เข้ามาตั้งรกรากในย่านเยาวราชนี้ มาไหว้พระชื่นใจแล้วยังได้มาชื่นชมกับพิพิธภัณฑ์ดี ๆ อีกแห่งของเมืองกรุง โดยเฉพาะใครที่มีเชื้อสายจีนต้องบอกว่าไม่ควรพลาดมาชมกัน
นี่ไงพระมหามณฑปหลังใหม่ของวัดไตรมิตรที่เพิ่งสร้างเสร็จและเปิดเมื่อต้นปี 2553 เพื่อเฉลิมพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวในโอกาสเจริญพระชนมพรรษา 80 พรรษา
เป็นฝีมือการออกแบบอีกชิ้นของ พล.อ.ต.อาวุธ เงินชูกลิ่น ศิลปินแห่งชาติและอดีตอธิบดีกรมศิลปากร หลายคนคงคุ้นหูกับชื่อท่านกันดี เพราะท่านเป็นผู้ออกแบบและควบคุมการก่อสร้างพระเมรุที่ใช้ถวายพระเพลิงพระบรมศพสมเด็จย่า และพระศพของสมเด็จ กรมหลวงฯ มาแล้วด้วย
มาถึงวัดต้องชวนไปกราบพระประธานที่อุโบสถก่อน
Read more »

ปูชนียวัตถุวัดไตรมิตร

Wat_Traimit_Temple_(8281490639)

พระพุทธทศพลญาณ
พระพุทธทศทลญาณ พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย ปูนปั้น ลงรักปิดทอง ประชาชนทั่วไปเรียกว่า “หลวงพ่อโต” บ้าง “หลวงพ่อวัดสามจีน” มีประชาชนมาบนบานกันเสมอ ๆ ด้วยพวงมาลัยดอกมะลิ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวได้เคยทรงเสด็จพระราชดำเนินมานมัสการ และได้ตรัสอกย่องว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีพระพุทธลักษณะงดงามยิ่งนัก “หลวงพ่อโม” อดีตเจ้าอาวาสวัดไตรมิตรวิทยาราม เคยได้ทำพระเครื่องแจกครั้งหนึ่ง ได้ทำเป็นรูปพระพุทธทศพลญาณสร้างด้วยเนื้อชิน เรียกชื่อว่า หลวงพ่อโตวัดสามจีน ปรากฏว่าเป็นที่นิยมนับถือของคนทั่งไปว่าศักดิ์สิทธินัก ปัจจุบันนี้หายากแล้ว

250px-Phra_Buddha_Maha_Suvarna_Patimakorn,_Wat_Trai_Mit,_Bangkok

พระสุโขทัยไตรมิตร
สิ่งสำคัญของวัด คือ พระสุโขทัยไตรมิตร เป็นพระพุทธรูปทองคำที่ใหญ่ที่สุดและได้รับการบันทึกในหนังสือบันทึกสถิติโลกกินเนสส์ พระพุทธรูปทองคำองค์นี้มีหน้าตั้งกว้าง 3.01 เมตร สูง 3.91 เมตร องค์พระสามารถถอดได้ 9 องค์ จากฐานองค์พระขึ้นไปเนื้อทองบริสุทธิ์ 40% พระพักตร์มีเนื้อทอง 80% ส่วนพระเกศมีน้ำหนัก 45 กิโลกรัม เป็นเนื้อทองบริสุทธิ์ 99.99%

Read more »

วัดไตรมิตรวิทยารามวรวิหาร

200px-Bakkwattraimit090505a

วัดไตรมิตรวิทยาราม ตั้งอยู่ที่ถนนมิตรภาพไทย-จีน แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ เป็นวัดโบราณอยู่ในที่ลุ่มพระอารามเป็นเรือนไม้ มีชื่อเดิมว่า “วัดสามจีน” เข้าใจกันว่า ชาวจีน 3 คนร่วมกันสร้างพระอารามเพื่อเป็นวิหารทานการบุญ [มีความตำนานใกล้เคียงกับวัดนางปลื้ม (วัดสามปลื้ม) หรือวัดจักรวรรดิฯ ทำนองเดียวกัน]

ในปีพุทธศักราช 2477 พระมหากิ๊ม สุวรรณชาต ผู้รักษาการในหน้าที่เจ้าอาวาสเป็นผู้ริเริ่มปรับปรุงวัด ต่อมาในปีพุทธศักราช 2480 ได้รับอนุมัติจากมหาเถรสมาคมให้ปรับปรุงสภาพวัดให้ดีขึ้น ปีพุทธศักราช 2482 พ่อค้าประชาชน คณะครูและนักเรียน ได้ร่วมกันปฏิสังขรณ์และเปลี่ยนนามใหม่ เป็นชื่อ วัดไตรมิตรวิทยาราม ซึ่งมีความหมายว่า เพื่อน 3 คนร่วมกันสร้างวัดนี้ ประกอบกับวัดเป็นที่ตั้งโรงเรียนปริยัติธรรมและโรงเรียนไตรมิตรวิทยาลัยของรัฐบาลอยู่ภายในบริเวณของวัด

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

สิ่งที่สำคัญภายในวัดไตรมิตร

wtraimit15

พระอุโบสถ พระอุโบสถหลังเดิมเป็นอาคารก่ออิฐถือปูน รูปทรงเป็นแบบไทยผสมศิลปะจีน หลังคาลดสามชั้นมีเสาหารโดยรอบ หลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีหน้าบัน ประดับด้วยเครื่องเบญจรงค์ เป็นรูปดอกพุดตาน ซุ้มประตูหน้าต่างประดับปูนปั้น ลายดอกพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางถวายเนตร พระพุทธรูปองค์นี้ มีศิลป์การครองจีวรเป็นแบบห่มหนีบ (มังกร) ภายในพระอุโบสถมีจิตรกรรมฝาผนังทั้ง ๔ ด้าน เป็นรูปภาพอดีตพระพุทธเจ้าโดยรอบ เหนือขอบหน้าต่างตอนบนระหว่างหน้าต่างและประตูเป็นรูปทศชาติ กล่าวกันว่าจิตรกรรมภายในพระอุโบสถวัดสามจีนใต้กับวัดดวงแขมีลักษณะเช่นเดียวกัน ในพระอุโบสถเป็นพระพุทธรูปปูนปั้นลงรักปิดทอง มีพระนามว่า “พระพุทธทศพลญาณ” มีพระพุทธลักษณะงดงามมาก พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ ทรงทราบว่าพระประธานวัดสามจีนใต้มีพุทธลักษณะงดงาม ได้เคยเสด็จมาทอดพระเนตร ให้ประจักษ์แก่พระเนตรว่างามสมคำเล่าลือกันหรือไม่ แม้สมเด็จเจ้าฟ้ากรมพระนริศรานุวัติวงศ์ ก็ยังได้มาชมพระประธานของวัดสามจีนเสมอเมื่อทรงว่างจากพระภารกิจ

ต่อมาเมื่อเกิดมหาสงครามโลกครั้งที่ ๒ ลูกระเบิดได้ลงในที่ไม่ไกลจากพระอุโบสถเท่าไรนัก แรงสั่นสะเทือนของอำนาจระเบิด ทำให้พระอุโบสถทั้งหลังยากต่อการบูรณปฏิสังขรณ์ ตกอยู่ในสภาพที่เป็นอันตรายได้ จึงได้ทำการรื้อลงเมื่อ พ.ศ. ๒๔๙๓ หลังจากที่ได้สร้างพระอุโบสถหลังใหม่แล้ว

Read more »

การก่อสร้างครั้งปรับปรุงวัดไตรมิตร

wtraimit06

หลังการก่อสร้างกุฏิสงฆ์ ในครั้งนั้นได้วางผังการก่อสร้างให้กุฏิอยู่เป็นแถวเป็นแนว ไม่สับสน ปนเป ให้มีจำนวนห้องที่อยู่อาศัยพอทั้งพระภิกษุสามเณรและศิษย์วัด ตลอดกระทั่งให้มีห้องน้ำห้องส้วมพร้อม และได้วางกุฏิให้เพียงพอต่อพระภิกษุประมาณ ๗๐ – ๘๐ รูปเท่านั้น ฉะนั้น ในปี พ.ศ. ๒๔๘๐ จึงได้สร้างกุฏิคอนกรีตเสริมเหล็ก ๒ ชั้น จำนวน ๑๔ หลัง ขึ้นแทนกุฏิที่ได้ทำการรื้อถอนไปนั้น ศาลาการเปรียญของวัดเป็นศาลาไม้มีสภาพที่ชำรุดทรุดโทรมลงอย่างมาก จวนจะพังมิพังแหล่ คณะกรรมการได้จัดการรื้อถอนแล้วได้สร้างศาลาการเปรียญเป็นศาลาคอนกรีต ๒ ชั้น ขึ้นแทนของเก่า ศาลารายที่ใช้เป็นโรงเรียนสอนบาลีและนักธรรมนั้น มีสภาพเก่าคร่ำคร่า ซวนเซ ก็ได้ทำการรื้อถอนออก แล้วสร้างเป็นตึกคอนกรีต ๒ ชั้นขึ้นแทน สำหรับใช้เป็นโรงเรียนพระปริยัติธรรมเพื่อเล่าเรียนบาลีและนักธรรม เตาเผาศพของเก่าได้รื้อออกแล้ว สร้างเตาเผาแบบทันสมัยขึ้น

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .