Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดเบญจมบพิตร

Benja_32

ศูนย์ ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ วัดเบญจมบพิตร ได้เปิดทำการสอนมาตั้งแต่วันที่ ๕ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๐๗ ตรงกับวันแรม ๑๑ ค่ำ เดือน ๘ เป็นโรงเรียนที่ ดำเนินการบริหารโดยคณะสงฆ์วัดเบญจมบพิตรซึ่งมีพระเดชพระคุณ พระพุทธิวงศ์มุนี เจ้าอาวาสเป็นผู้อำนวยการ ทั้งนี้โดยการริเริ่มประสานงานของพระเดชพระคุณพระเทพวิมลโมลีและพระเดชพระคุณพระ อุดรคณาธิการ(อาจารย์ชวินทร์ สระคำ) ปัจจุบันได้ดำเนินการสอนโดยคณะสงฆ์วัดเบญมบพิตร โดยมีวัตถุประสงค์ดังนี้

วัตถุประสงค์

๑. เพื่อปลูกฝังศีลธรรมแก่เยาชนของชาติ
๒.เพื่อให้เยาวชนได้ศึกษาและปฏิบัติตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนาควรแก่วัย
๓.เพื่อให้เยาวชนได้บำเพ็ญสาธารณประโยชน์
๔.เพื่อให้เยาวชนได้รู้ธรรมภาคอังกฤษ
๕.เพื่อให้เยาวชนปฏิบัติตนในหน้าที่ของพุทธศาสนิกชนให้ถูกต้อง
๖.เพื่อเผยแพร่พระพุทธศาสนา

Read more »

วัดเบญจมบพิตร…มีหลายสิ่งที่น่าสนใจและน่าภาคภูมิใจ

Benja_uposatha15

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า “The Marble Temple” เพราะพระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี ประกอบกับเป็นวัดที่มีความวิจิตรงดงามด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจเข้าชมจำนวนมากทุกวัน

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เดิมเป็นวัดโบราณ มีชื่อว่า “วัดแหลม”หรือ “วัดไทรทอง”ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดเบญจบพิตร” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย ๕ พระองค์ หรือวัดที่เจ้านาย ๕ พระองค์คือพระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินี พระขนิษฐภคินี และพระกนิษฐภาดา ร่วมเจ้าจอมมารดาอีก ๔ พระองค์ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้น

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตนารามราชวรวิหาร

6 2

เมื่อรัชกาลที่ ๕ ทรงสร้างพระราชวังสวนดุสิตได้ทรงใช้พื้นที่วัดดุสิตและวัดร้างอีกแห่งเป็นที่สร้างพลับพลาและตัดถนน ซึ่งตามประเพณีจะต้องสร้างวัดขึ้นทดแทน แต่ทรงมีพระราชดำริว่าการสร้างวัดใหม่หลายแห่งยากต่อการบำรุงรักษา แต่ถ้าทำวัดใหญ่เพียงแห่งเดียวด้วยฝีมือประเพณีนั้นจะดีกว่า จึงรงเลือกสถาปนาวัดเบญจบพิตรและโปรดเกล้าฯ ให้ “สมเด็จฯ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์” ออกแบบจากนั้นโปรดให้แก้ชื่อเป็น “วัดเบญจมบพิตร” ซึ่งแปลว่า “วัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕”
พระอุโบสถ ถือเป็น “สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย” สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี เป็นทรงจัตุรมุข หลังคาซ้อน ๔ ชั้น มีพระระเบียงรอบด้านหลัง
พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ใต้รัตนบัลลังก์บรรจุพระสรีรางคารรัชกาลที่ ๕

พระอุโบสถ ถือเป็น “สถาปัตยกรรมที่สมบูรณ์แบบของศิลปะไทย” สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี เป็นทรงจัตุรมุข หลังคาซ้อน ๔ ชั้น มีพระระเบียงรอบด้านหลัง

พระพุทธชินราชจำลอง ประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอุโบสถ ใต้รัตนบัลลังก์บรรจุพระสรีรางคารรัชกาลที่ ๕

ขอขอบคุณ http://www.tripsthailand.com/

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม–สถาปัตยกรรมที่สำคัญ

wat-ben3

พระอุโบสถ ประดับตกแต่งด้วยหินอ่อนทั้งหลัง อาคารทรงจัตุรมุข มีมุขเด็จยื่นออกมาทั้งด้านหน้าและด้านหลัง หลังคาซ้อนกัน 5 ชั้นมุงกระเบื้องกาบูสีเหลือง ลักษณะเป็นกาบโค้ง กระเบื้องเชิงชายเทพพนม มีระเบียงคดล้อมรอบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ลงรักปิดทอง หน้าบันแกะสลักด้วยไม้ลงรักปิดทองประดับกระจก หน้ามุขเด็จ ด้านหน้าเป็นรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ ส่วนมุขเด็จด้านหลังเป็นรูปอุณาโลมประดับกระจก หน้าบันด้านอื่นๆ เป็นรูปต่างๆไม่ซ้ำกัน ฝาผนังภายในเขียนภาพลายไทยเทพพนมทรงข้าวบิณฑ์สีเหลืองตลอดถึงเพดาน บนขื่อทั้งหมดมีภาพเขียนลายทองรดน้ำ เพดานประดับดาวกระจาย ซุ้มหน้าต่างเป็นเรือนแก้วฐานเท้าสิงห์ บานประตู 3 ด้าน จำหลักโลหะภาพนูน ด้านหน้าเป็นภาพมารผจญ ด้านเหนือเป็นภาพเจดีย์จุฬามณี ด้านใต้เป็นภาพพระพุทธเจ้าเสด็จจากดาวดึงส์ ที่ซุ้มมุขด้านตะวันตกประดิษฐานพระพุทธรูปยืนองค์ใหญ่ปิดทอง เป็นพระพุทธรูปที่หล่อจากเศษทองที่เหลือจากการหล่อพระพุทธชินราชจำลองเรียกกันทั่วไปว่า “หลวงพ่อธรรมจักร”

พระประธาน ในพระอุโบสถ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้หล่อเมื่อปี 2444 เป็นพระนั่งสมาธิราบ ปางมารวิชัย สมัยสุโขทัย จำลองจากองค์จริงที่จังหวัดพิษณุโลกคือ พระพุทธชินราช

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม

dsc_3763

ตั้งอยู่บริเวณถนนนครปฐมติดคลองเปรมประชากร ระหว่างสถานที่สำคัญๆ คือ พระราชวังดุสิต พระที่นั่งอนันตสมาคม พระตำหนักจิตลดารโหฐาน เขาดินวนา และทำเนียบรัฐบาล มีกำแพงล้อมรอบและซุ้มประตูเข้า-ออก เป็นเหล็กหล่อลวดลายโปร่งเหมือนกันหมดทั้ง 4 ด้าน

ทิศเหนือ : มี 3 ประตู
ทิศใต้ : มี 2 ประตู ทิศตะวันออก : มี 3 ประตู
ทิศตะวันตก : มี 2 ประตู

ประวัติ  เป็นอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดโบราณ ชื่อเดิมว่า “วัดแหลม” หรือ “วัดไทรทอง” สมัยรัชกาลที่ 5 กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในรัชกาลที่ 2 โปรดตั้งกองทัพรับขบถเจ้าอนุวงศ์ที่วัดนี้ หลังเสร็จจากการรบแล้วได้มีศรัทธาปฏิสังขรณ์วัดแหลม โดยร่วมกับพระเจ้าน้องยาเธอ รวม 4 พระองค์ คือ กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ พระองค์เจ้าหญิงอินทนิล และพระองค์เจ้าหญิงวงศ์ ในการปฏิสังขรณ์ครั้งนี้โปรดให้สร้างพระเจดีย์ไว้เป็นอนุสรณ์ 5 องค์ เรียงอยู่ด้านหน้าวัด สมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดพระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดเบญจมบพิตร” หมายถึง วัดของเจ้านาย 5 องค์ ต่อมารัชกาลที่ 5 ทรงขยายพระนคร ซื้อที่ดินบริเวณคลองสามเสนและคลองผดุงกรุงเกษมตอนเหนือของวัดเบญจมบพิตรที่ทรุดโทรมทรงทำผาติกรรมขึ้นเป็นวัดใหม่ให้งดงามสมกับเป็นพระอารามหลวง โปรดให้สมเด็จพระเจ้าบรมวงค์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัตติวงศ์ เป็นประธานในการก่อสร้างวัดใหม่ทั้งหมดแล้วพระองค์ทรงเป็นประธานในการผูกพัทธสีมาในปี 2442 ทรงพระราชทานนามเติมอักษร “ม” และเพิ่มสร้อยว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” หมายถึงวัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ 5 ทรงแสดงพระราชประสงค์ให้นำพระสรีรังคารมาบรรจุไว้ภายใต้รัตนบัลลังก์ พระ-

Read more »

พระภิกษุสามเณรวัดเบญจมบพิตรยืนรับอาหารบิณฑบาตด้านหน้าพระอุโบสถ

1383108398-5531492538-o

เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว สมเด็จพระปิยมหาราชเจ้า ทรงสถาปนาวัดเบญจมบพิตรขึ้นในปี พ.ศ.๒๔๔๒ หรือเมื่อ ๑๑๔ ปีที่ผ่านมา แล้วโปรดให้แห่พระภิกษุสามเณรจากวัดมหาธาตุ จำนวน ๓๓ องค์ ไปอยู่วัดเบญจมบพิตร ในวันที่ ๖ ธันวาคม ๒๔๔๓

วัดเบญจมบพิตรที่ทรงสถาปนาขึ้นใหม่ จากวัดเล็กๆ ที่มีพระภิกษุสามเณรไม่กี่องค์ เป็นวัดใหญ่ที่วิจิตรงดงาม มีพระภิกษุสามเณรถึง ๓๓ องค์ เท่าจำนวนปีที่ทรงครองราชย์ มีปัญหาเรื่องอาหารบิณฑบาต เนื่องจากวัดต้องอยู่ห่างไกลชุมชน เพราะเป็นที่สวนที่นาเป็นส่วนมาก จึงมีพระราชดำรัสที่จะทรงอุปถัมภ์บำรุง โดยโปรดเกล้าฯ ให้ออกใบแผ่พระราชกุศล หาผู้ศรัทธาที่จะปวารณาอุปถัมภ์ภิกษุสามเณร ตอนหนึ่งว่า “…ผู้ใดมีศรัทธารับจับสลากบำรุงพระภิกษุสามเณรรูปหนึ่ง ก็ให้นำความกราบบังคมทูลพระกรุณา จะได้พระราชทานสลากให้จับ แล้วจะได้บำรุงพระสงฆ์และสามเณรตามที่จับสลากได้…ถ้าผู้ใดรับบำรุงแต่ไม่ส่งสำรับเอง จะออกเงินช่วยในการโรงครัวเท่าใด ให้มอบหมาย พระนางเจ้าพระราชเทวี ซึ่งจะทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ทรงเป็นพระธุระ ในการที่จะทรงตั้งโรงครัวสำหรับเลี้ยงพระสงฆ์แลสามเณรในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม…”

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร

temple-07

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ซึ่งพระองค์ทรงสร้างให้เป็นวัดประจำพระราชวังดุสิต วัดนี้มิใช่วัดสร้างใหม่ สันนิษฐานว่า สร้างตั้งแต่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี และเมื่อถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว หลังจากที่พระองค์ทรงดำริให้สร้างพระราชวังสวนดุสิตขึ้น พระองค์จึงโปรดให้บูรณะวัดนี้ ซึ่งอยู่ใกล้เคียงกับวังที่สุดไว้เป็นวัดประจำวัง พร้อมทั้งรับสั่งให้สมเด็จกรมพระยานริศรานุวัติวงศ์ ได้ปรับแปลงวัดนี้เสียใหม่ให้ใหญ่โต และโอ่โถง โดยโปรดให้สั่งหินอ่อนจากประเทศอิตาลี มาสร้างเป็น
พระอุโบสถ จากนั้นก็พระราชทานนามเต็มว่า “วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม” พระประธานของวัดได้จำลองพระพุทธชินราช จากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกมาประดิษฐานไว้ พระอารามหลวงแห่งนี้ นอกจากจะวิจิตรงดงามตามหลักสถาปัตยกรรมแล้ว จิตรกรรมฝาผนังของวัดก็เป็นความแปลกใหม่ที่น่าสนใจ ที่มิใช่เขียนเรื่องราวตามพระไตรปิฏกเท่านั้น หากแต่เป็นจิตรกรรมที่เขียนถึงพระจริยวัตรของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ที่มีต่อพสกนิกรของพระองค์เองด้วย
Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เขตดุสิต จ.กรุงเทพฯ

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม10วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม36วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม17วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม27

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม หรือ บางท่านเรียกสั้น ๆ ว่า วัดเบญฯ ได้ถูกสร้างขึ้นจากพระราชประสงค์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 5) ที่เป็นเอกอัครศาสนูปถัมภก เพื่อให้เป็นการแสดงแบบอย่างของช่างฝีมือไทยโบราณ รวมถึงเป็นพิพิธภัณฑ์ที่รวบรวมพระพุทธรูปโบราณในสมัยต่าง ๆ กันมากมาย และเป็นที่พัฒนาการศึกษาของเหล่าภิกษุสงฆ์ เป็นต้น สิ่งที่น่าสนใจภายในวัดเบญจมบพิตรนั้น เริ่มตั้งแต่

พระอุโบสถ (ทำจากหินอ่อนอิตาลีที่เดียวในประเทศไทย) ที่สร้างเป็นแบบจตุรมุข ภายในเป็นที่ประดิษฐาน “พระพุทธชินราช” (พระประธานของพระอุโบสถ ที่จำลองมาจากพระพุทธชินราช ที่วัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดพิษณุโลก ได้ชื่อว่าเป็นพระพุทธรูปที่งดงามที่สุด) นอกจากนี้ด้านนอกพระอุโบสถมีพระระเบียงโอบรอบด้านหลัง ด้านหน้าพระอุโบสถเป็นกำแพงแก้ว เสามุมกำแพงเป็นรูปดอกบัวตูม ด้านหลังเป็นรูปเสมาธรรมจักร ภายในกำแพงแก้วพื้นปูด้วยหินแกรนิตสีชมพูอ่อน และสีเทา (กล่าวมาถึงตรงนี้ครั้งสมัยที่ยังเป็นเด็กได้เคยมาทัศนศึกษากับทางโรงเรียน มัคคุเทศก์ผู้นำทีมของเราบอกว่า หากใครเป็นคนดีเดินเท้าเปล่าบนพื้นหินอ่อนกลางแดดเปรี้ยงจะไม่ร้อนเท้า นักเรียนตอนนั้นลองกันใหญ่ แต่ไม่มีใครบอกว่าร้อนเท้าหรือเปล่า แต่ส่วนตัวคิดอยู่ในใจ ทำไมเราร้อนเท้า!!!) ส่วนองค์พระอุโบสถนั้นประดับด้วยแผ่นหินอ่อนสีขาวบริสุทธิ์ มีเสาและสิงห์เฝ้าอยู่ที่ประตู และบริเวณพระระเบียงนั้นเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสมัยและปางต่าง ๆ มากมายตลอดพระระเบียงทุกด้าน เช่น พระพุทธปางที่ทุกท่านรู้จักเป็นอย่างดี ปางลีลา (ที่มีพุทธลักษณะที่งดงาม) ปางทุกรกิริยา ปางสมาธิ ปางห้ามญาติ เป็นต้น ส่วนด้านนอกกำแพงแก้วบริเวณหน้าพระอุโบสถทุกท่านจะได้เห็นศาลาเล็ก ๆ มุงด้วยกระเบื้องเคลือบสี 2 หลัง บริเวณหน้าบันของทั้งสองหลังจากมีสัญลักษณ์ และคำจารึกปรากฏอยู่

Read more »

สถานที่ท่องเที่ยววัดเบญจมบพิตร

wat_benchamabophit11

วัดเบญจมบพิตร อยู่ที่ถนนศรีอยุธยา ด้านหน้าของวัดสุทัศน์ เดิมเป็นวัดร้าง ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้สร้างวัดเบญจมบพิตรขึ้นแทนวัดเก่า 2 วัด คือ วัดแหลม และวัดไทรทอง โดยมีสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์เป็นนายช่างออกแบบ และพระยาราชสงคราม (กร หงสกุล) เป็นนายช่างก่อสร้าง สิ่งที่น่าชมภายในวัดได้แก่ พระอุโบสถ สร้างด้วยหินอ่อนจากประเทศอิตาลี ซึ่งเหลือมาจากการสร้างพระที่นั่งอนันตสมาคม ที่ระเบียงวัดเบญจมบพิตรสมเด็จกรมพระยาดำรงราชานุภาพได้ทรงรวบรวมพระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ได้นำมาจากหัวเมือง 25 องค์ ไว้โดยรอบ นอกจากนี้พระประธานของวัดได้จำลองพระพุทธชินราชจากวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ เมืองพิษณุโลกมาประดิษฐานไว้ด้วย ติดต่อสอบถามรายละเอียดได้ที่ โทร.281-2501

ประวัติ
วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ วัดแหลม เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมที่สวนต่อกับทุ่งนา หรือ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดไทรทอง เนื่องจากอาจมีต้นไทรอยู่ภายในวัด ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด เมื่อ พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ขึ้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา ทรงเป็นแม่ทัพรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการทัพที่วัดแหลม หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

ben1

เมื่อกล่าวถึงพระอุโบสถหินอ่อนสีขวบริสุทธิ์สวยงามแห่งเดียวในประเทศไทย คงทราบกันแน่นอนว่าพระอุโบสถแห่งนี้อยู่ในวัดเบญจมบพิตร เพราะเป็นวัดที่มีชื่อเสียงเลื่องลือไปทั้งในหมู่ชาวไทยและชาวต่างประเทศ ถึงความงดงามทางด้านสถาปัตยกรรมของพระอุโบสถหินอ่อนนอกจากนี้ภายในวัดยังมีสิ่งสวยงาอีกมากมายที่ควรรู้จักอีกด้วย เรามาทราบประวัติความเป็นมาของวัดเบญจมบพิตร แต่เดิมเป็นเพียงวัดเล็ก ๆ มีชื่อว่า “ วัดแหลม ” หรืออีกชื่อหนึ่งว่า “ วัดไทรทอง ” ไม่มีหลักฐานปรากฏว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยใด วัดนี้ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ครั้งใหญ่ในสมัยพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

เนื่องจากพระองค์ทรงสร้างพระราชวังดุสิตขึ้นในบริเวณวัดดุสิต และได้ตัดถนนผ่านวัดร้างอีกวัดหนึ่งซึ่งตามประเพณีต้องมีการสร้างวัดขึ้นทดแทนแต่การสร้างวัดใหม่ขึ้นนั้นยากต่อการดแลรักษาพระองค์จึงโปรดให้รวบรวมเงินมาบูรณะวัดเดิมจะดีกว่า วัดแลมเป็นวัดที่โปรดให้สถาปนาขึ้นใหม่และพระราชทานนามว่า “ วัดเบญจมบพิตร ”
หมายถึงวัดของพระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๕ พร้อมกับทรงเพิ่มสร้อยนามว่า “ ดุสิตวนาราม ” เพื่อให้คล้องกับชื่อพระราชวังดุสิตที่สร้างขึ้น
ราบประวัติความเป็นมาของวัดแล้วคราวนี้เรามาเดินชมสถาปัตยกรรมที่สวยงามของวัดไปพร้อม ๆ กัน
พระอุโบสถ พระอุโบสถของวัดเบญจมบพิตรได้ชื่อว่าเป็นสถาปัตยกรรมที่สวยงามและสมบูรณ์แบบอย่างหาที่ติไม่ได้ตามลักษณะของศิลปะไทย ผู้ออกแบบการสร้างพระอุโบสถหลังนี้คือ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ตัวพระอุโบสถทั้งหลังสร้างด้วยหนอ่อนสีขาว ๔ ชั้น มีพระระเบียง ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ที่ออกแบบได้งดงามรับกันทุกชิ้น หลังคามุงด้วยกระเบื้องกาบูเคลือบสีเหลือง ภายในพระอุโบสถ บนเพดานประดับดาวกระจาย ๒๓๒ ดวง ดาวใหญ่ระย้า ๑๑ ดวง พระประธานคือ พระพุทะชินราชจำลอง เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย จัดว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามมากองค์หนึ่ง ซึ่งรัชกาลที่ ๕ โปรดให้จำลองมาจากพระพุทธชินราชองค์จริงที่จังหวัดพิษณุโลก

Read more »

วัดเบญจมบพิตร กรุงเทพฯ

Wat-Benchama2 Wat-Benchama1

วัดสำคัญแห่งหนึ่งของเขตดุสิต เดิมเป็นวัดโบราณ มีชื่อว่า “วัดแหลม” หรือ “วัดไทรทอง” ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด จนถึงปี พ.ศ.2369 สาเหตุที่ได้ชื่อว่า “วัดเบญจมบพิตร” นั้นเนื่องจากการปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 นั้นมีการตั้งกองบัญชาการอยู่ในบริเวณ “วัดแหลม” นี้ หลังจากปราบกบฏเสร็จสิ้น เมื่อเสร็จสิ้นการปราบกบฏแล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ ผู้บัญชาการกองทัพในส่วนการรักษาพระนครพร้อมด้วย พระเชษฐภคินี พระขนิษฐภคินี และพระกนิษฐภาดา ร่วมเจ้าจอมมารดาอีก 4 พระองค์ ทรงบูรณปฏิสังขรณ์ขึ้น ครั้นถึงสมัยรัชกาลที่ 4 ปรากฏในพระราชพงศาวดารว่า พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานนามวัดใหม่ว่า “วัดเบญจบพิตร” ซึ่งมีความหมายว่าเป็นวัดของเจ้านาย 5 พระองค์ ครั้นมาถึงในรัชกาลที่ 5 ทรงใช้พระราชทรัพย์ส่วนพระองค์ในการบูรณปฏิสังขรณ์วัดนี้อย่างเต็มที่ และสถาปนาขึ้นเป็น “วัดเบญจมบพิตร” เมื่อวันที่ 1 มีนาคม พ.ศ.2442 ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 5 นับแต่นั้นมา

ขอขอบคุณ http://office.bangkok.go.th/

สิ่งก่อสร้างสำคัญในวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

ศาลาสี่สมเด็จ
ศาลาสี่สมเด็จ เป็นศาลาจตุรมุขพื้นศิลา หลังคาประดับด้วยช่อฟ้าใบระกา สร้างขึ้นจากพระราชทรัพย์ของพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวร่วมกับสมเด็จพระเจ้าน้องนางเธอและสมเด็จพระเจ้าน้องยาเธอร่วมพระราชชนนีอีก 3 พระองค์ ได้แก่ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ สมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช โดยพระองค์พระราชทานนามศาลาแห่งนี้ว่า ศาลาสี่สมเด็จ ไว้เป็นที่พักผ่อนสำหรับพระสงฆ์และสามเณร ปัจจุบัน ศาลาสี่สมเด็จใช้เป็นหอกลอง

บริเวณหน้าบันทั้ง 4 ด้านของศาลาสี่สมเด็จได้จำหลักลายไทยเป็นตราประจำพระองค์ของแต่ละพระองค์ไว้ ได้แก่ ตราพระเกี้ยว พระราชลัญจกรในพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ตราจันทรมณฑล ตราประจำพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจันทรมณฑล กรมหลวงวิสุทธิกระษัตริย์ ตราจักร ตราประจำพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าจาตุรนต์รัศมี กรมพระจักรพรรดิพงศ์ และ ตราสุริโยทัย ตราประจำพระองค์ในสมเด็จพระเจ้าบรมวงศ์เธอ เจ้าฟ้าภาณุรังษีสว่างวงศ์ กรมพระยาภาณุพันธุวงศ์วรเดช

พระที่นั่งทรงธรรม
เป็นตึก ๒ ชั้น ก่ออิฐถือปูนตลอด พื้นชั้นล่างและบันไดปูหินอ่อน ชั้นบนปูไม้ หลังคา ๒ ชั้น มุงกระเบื้องเคลือบสี ช่อฟ้าใบระกาลงรักปิดทองทึบ หน้าบันทั้ง ๔ ด้าน จำหลักภาพต่าง ๆ ปิดทองประดับกระจก ภายในผนังเสมอกรอบหน้าต่าง ประกบแผ่นหินอ่อนสีขาว เสาเขียนลายรดน้ำเทพนม ตั้งธรรมาสน์กลางห้อง ด้านใต้กั้นพระฉากดีบุกฉลุลายไทยเทพนมและกุมภัณฑ์ เพื่อเป็นที่ประทับของฝ่ายใน พระที่นั่งทรงธรรมนี้ “สมเด็จพระศรีสวรินทิราบรมราชเทวี” ทรงสร้างอุทิศสมเด็จพระบรมโอรสาธิราช เจ้าฟ้ามหาวชิรุณหิศ สยามมกุฎราชกุมาร เมื่อ พ.ศ. ๒๔๔๕ ซึ่งพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์ใช้เป็นที่ประทับแรมเวลาทรงธรรมรักษาอุโบสถศีล ต่อมาได้เคยใช้เป็นที่ประชุมสังฆมนตรี, ที่ศึกษาพระปริยัติธรรม จัดงานประจำปีของวัด ตั้งพระศพและศพบุคคลสำคัญของชาติ ในเวลาตั้งพระศพศาลาแห่งนี้มีศักดิ์เป็นรองจากพระที่นั่งดุสิตมหาปราสาท เช่น พระศพของพระนางเจ้าสุวัทนา พระวรราชเทวี พระศพพระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเหมวดี พระศพพระเจ้าวรวงศ์เธอ พระองค์เจ้าวิภาวดีรังสิต พระศพสมเด็จพระสังฆราช กิตติโสภณมหาเถระ สฤษดิ์ ธนะรัชต์ นายกรัฐมนตรี เป็นต้น ปัจจุบันคงใช้ในกิจกรรมของวัด และตั้งพระศพหรือศพบุคคลสำคัญ

Read more »

ประวัติวัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร เดิมเป็นวัดราษฎร์ ชื่อ วัดแหลม เนื่องจากตั้งอยู่บริเวณปลายแหลมที่สวนต่อกับทุ่งนา หรือ มีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า วัดไทรทอง เนื่องจากอาจมีต้นไทรอยู่ภายในวัดไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างเมื่อใด เมื่อ พ.ศ. 2369 ซึ่งตรงกับรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้เกิดกบฏเจ้าอนุวงศ์แห่งเวียงจันทน์ขึ้น พระองค์จึงโปรดเกล้าฯ ให้พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าพนมวัน กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พระราชโอรสในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยที่ประสูติแต่เจ้าจอมมารดาศิลา ทรงเป็นแม่ทัพรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการทัพที่วัดแหลม หลังจากปราบกบฏเจ้าอนุวงศ์แล้ว กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมพระอนุชาและพระขนิษฐาร่วมเจ้าจอมมารดาเดียวกันอีก 4 พระองค์ คือ

พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้ากุญชร กรมพระพิทักษ์เทเวศร์ (ต้นราชสกุลกุญชร)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าทินกร กรมหลวงภูวเนตรนรินทรฤทธิ์ (ต้นราชสกุลทินกร)
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าอินทนิล และ
พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าหญิงวงศ์
มีพระประสงค์ที่จะร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแหลม พร้อมทั้งทรงสร้างพระเจดีย์เรียงรายไว้หน้าวัด 5 องค์ ต่อมา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร หมายความว่า วัดของเจ้านาย 5 พระองค์

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามราชวรวิหาร

200px-Wat_Benchamabophit

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างขึ้นเมื่อใด เดิมชื่อ วัดแหลม หรือ วัดไทรทอง ภายหลังได้รับพระราชทานนามจากพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวใหม่ว่า วัดเบญจบพิตร ซึ่งหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัดแห่งนี้ เมื่อพระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างสวนดุสิตขึ้นพระองค์ทรงทำผาติกรรมสถาปนาวัดขึ้นใหม่และพระราชทานามว่า วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม อันหมายถึง วัดของเจ้านาย 5 พระองค์ที่ทรงร่วมกันปฏิสังขรณ์วัด

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

พระอุโบสถวัดเบญจมบพิตร

watben1

ลักษณะทั่วไปของพระอุโบสถ เป็นแบบจตุรมุข มุขด้านตะวันออกขยายยาว ด้านเหนือและใต้มีมุขกระสันต่อกับพระระเบียง หลังคา ๔ ชั้น ด้านมุขกระสันทิศเหนือและทิศใต้ ๕ ชั้น มีพระระเบียงโอบรอบด้านหลัง

ด้านหน้าพระอุโบสถ มีกำแพงแก้ว บนมุมกำแพงแก้วซ้าย-ขวา มีเสาคอนกรีตหัวเสาเป็นศิลาสลักรูปดอกบัวตูม คือเครื่องหมาย “สีมา” สำหรับด้านหน้า ส่วนสีมาด้านหลังพระอุโบสถ สลักรูปเสมาธรรมจักรที่แผ่นหินแกรนิตปูพื้น ภายในกำแพงแก้ว ปูหินแกรนิตสีชมพูอ่อนและสีเทา

มุขตะวันออกมีเสากลมหินอ่อน ๔ ต้น ข้างบันไดหินอ่อนมีสิงห์สลักหินอ่อน ๒ ตัว ซึ่งโปรดเกล้าฯให้ ขุนสกลประดิษฐ์ ช่างในกรมช่างสิบหมู่ เป็นผู้ปั้นแบบ ตามภาพที่สมเด็จฯเจ้าฟ้ากรมพระยานริศรานุวัดติวงศ์ ทรงเขียน

ผนังรอบพระอุโบสถด้านนอกประดับด้วยแผ่นหินอ่อน ๔ เหลี่ยมสีขาวบริสุทธิ์ หนา ๓ เซนติเมตร

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .