Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

ปูชนียวัตถุ วัดโพธาราม

๑. หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร สร้างขึ้นสมัยใดไม่ชัดเจน เป็นพระประจำอยู่ในพระอุโบสถ สมัยเมื่อโบสถ์ยังตั้งอยู่ริมถนนโกสีย์ในปัจจุบัน เป็นอาคารไม้ล้วน ๆ ผู้สูงอายุได้เล่าให้ฟังว่า ประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ตลาดปากน้ำโพเกิดไฟไหม้รวมทั้งพระอุโบสถ กุฏิ ศาลา ของวัดโพธาราม ด้วย แม้พระพุทธรูปในอุโบสถถูกไฟไหม้ไม่มีเหลือ มีเหลือแต่เพียงหลวงพ่อเพชรเพียงองค์เดียว พระครูสวรรค์นคราจารย์ ได้นำมาประดิษฐานไว้หน้าพระอุโบสถหลังใหม่ มีอุบาสกอุบาสิกากราบไหว้สักการะทำวัตรสวดมนต์ต่อหน้าหลวงพ่อเพชรเป็นประจำ จนมาถึงสมัยพระธรรมคุณาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาส
ต่อมาเมื่อพระเทพคุณาภรณ์เป็นเจ้าอาวาสได้สร้างสภาบริหารสงฆ์ ฯ เสร็จ ใน พ.ศ.๒๕๒๔ จึงได้ย้ายหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ที่สภาบริหารคณะสงฆ์
เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ พระเทพคุณาภรณ์ ได้สร้างมณฑปเสร็จ จึงได้ย้ายหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้มณฑปจนถึงปัจจุบันนี้ และได้สร้างพระเกจิอาจารย์เป็นรูปหล่อเท่าองค์จริง เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี), หลวงพ่อเดิม, หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อพระเทพคุณาภรณ์ ประดิษฐานบนมณฑปให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาเป็นประจำทุกวันไม่มีวันหยุด

๒. พระโพธานุชินราช พระประธานในพระอุโบสถ เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยโลหะประสม หน้าตัก ๔ ฟุต ๑๔ ซม. สูง ๖ ฟุต ๑๐ ซม. หล่อที่วัดระฆังโฆสิตาราม จังหวัดธนบุรี เมื่อปี พ.ศ.๒๔๕๖ สมัยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) ผู้บัญชาการมณฑลนครสวรรค์ เมื่อเป็นพระพิมลธรรม เป็นผู้ดำเนินการหล่อ โดยให้ช่างแดงเป็นผู้ปั้นหุ่นรูปหล่อ คาดว่า คงเป็นพระประธานในพระอุโบสถหลังเดิมที่ถูกไฟไหม้ พร้อมกับหลวงพ่อเพ

ขอขอบคุณ http://student.nu.ac.th

สถานที่ตั้งวัดโพธาราม

-2_1_~1

วัดโพธาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๗๔ ถนนโกสีย์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ ๖๐๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๕๖๓๑ ๔๒๐๑ โทรสาร ๐ ๕๖๓๑ ๔๐๗๖

วัดโพธาราม   มีเนื้อที่เฉพาะที่เป็นเขตสังฆาวาส ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๖๗ วา  โฉนดเลขที่ ๒๑๘๑
อาณาเขต
ทิศเหนือ  จดถนนสวรรค์วิถี
ทิศใต้      จดถนนโกสีย์
ทิศตะวันออก จดถนนอรรกวี
ทิศตะวันตก จดถนนจุฬามณี   

ขอขอบคุณ http://student.nu.ac.th/

ตักบาตรเมืองนครสวรรค์ -วัดโพธาราม

boon1_6

อานิสงส์ของการตักบาตรพระ

1. เกิดในร่มเงาบวชพระพุทธศาสนาไปทุกภพทุกชาติ
2. ย่อมเจริญด้วยโภคทรัพย์สมบัติเป็นอันมาก
3. ทรัพย์สมบัติคงทนถาวร ไม่วิบัติด้วยภัยใดๆ
4. ผู้ให้ย่อมเป็นที่รัก ที่ชอบใจของคนหมูมาก
5. คนดีเป็นอันมาก ย่อมคบหาผู้ให้ทาน
6. ชื่อเสียงอันดีงามของผู้ให้ ย่อมฟุ้งขจรไป
7. ผู้ให้ย่อมแกล้วกล้าอาจหาญ ไม่เก้อเขินในที่ประชุม
8. เมื่อสิ้นอายุขัย ย่อมเกิดในสุคติโลกสวรรค์
9. บรรลุมรรคผลนิพพานได้โดยง่าย

ข้อปฏิบัติที่ดีงามในการตักบาตร

– แต่งการด้วยชุดขาว หรือเสื้อขาวเพื่อถวายเป็นพุทธบูชา
– อาหารใส่บาตรควารเป็นอาหารแห้ง
– ข้าวสารควรบรรจุถุงให้เรียบร้อย
– งดใส่ น้ำดื่มชนิดแก้วพลาสติก
– งดใส่ปัจจัยลงในบาตรท่านสามารถบริจาคได้ที่จุดรับบริจาค หรือต้นผ้าป่าที่มีเจ้าหน้าที่ดูแล
– รักษาใจให้ ผ่องใส น้อมถวายไทยธรรมเป็นสังฆทาน
– ใส่บาตรด้วยความเคารพ ด้วยการนั่งใส่บาตรโดยให้แถวหน้าใส่ให้เสร็จก่อน

Read more »

วัดโพธาราม (พระอารามหลวง)

003

วัดโพธาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ 474 ถนนโกสีย์ ตลาดปากน้ำโพ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ 15 ไร่ 2 งาน 67 ตารางวา อาณาเขต ทิศเหนือติดต่อกับถนนสวรรค์วิถี ทิศใต้ติดต่อกับถนนโกสีย์ ทิศตะวันออกติดต่อกับถนนอรรถกวี ทิศตะวันตกติดต่อกับถนนจุฬามณี ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 3181 และมีที่ธรณีสงฆ์ จำนวน 10 แปลง เนื้อที่ 124 ไร่ 1 งาน 99 ตารางวา ตามโฉนดที่ดินเลขที่ 3089, 3178, 3179, 3180, 3182, 3183, 1908, 19809, 7371 อยู่ท้องที่ตำบลปากน้ำโพ 8 แปลง ตำบลวัดไทร 1 แปลงและตำบลหนองกรด 1 แปลง

พื้นที่ตั้งวัดเป็นที่ราบลุ่มอยู่ท่ามกลางตลาดปากน้ำโพ มีถนนคั่นบริเวณวัดไว้ทั้งสี่ด้าน ตรงข้ามฟากถนนเป็นอาคารพาณิชย์ ทิวทัศน์ห่างออกไปด้านหลังวัดเป็นเทือกเขากบด้านหน้าวัดติดกับแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นย่านการค้าทั้งทางบกและน้ำ การคมนาคมติดต่อกับทุกภาคของประเทศไทยได้สะดวก
อาคารเสนาสนะต่าง ๆ มีพระอุโบสถหลังใหม่ เริ่มสร้างเมื่อ พ.ศ. 2475 โครงสร้างคอนกรีตเสริมเหล็ก ขนาดกว้าง 12 เมตร ยาว 21 เมตร ยกพื้นสูง 3 เมตรเศษพื้นปูด้วยหินอ่อน ศาลาการเปรียญกว้าง 19 เมตร ยาว 27 เมตร เป็นตึกทรงไทย 2 ชั้น อาคารสภาบริหารคณะสงฆ์เป็นตึกทรงไทย 3 ชั้น อาคารเรียนปริยัติธรรมเป็นตึกทรงไทย 3 ชั้น กุฏิสงฆ์ จำนวน 9 หลัง เป็นตึก 5 ชั้น 1 หลัง, ตึก 2 ชั้น 3 หลัง ครึ่งตึกครึ่งไม้ 2 ชั้น 3 หลัง, ตึกชั้นเดียว 1 หลัง และตึก 3 ชั้น 1 หลัง

ปูชนียวัตถุ มีพระประธานในอุโบสถ ปางมารวิชัย สร้างด้วยทองเหลือง มีพระนามเรียกว่า “พระโพธานุชินราช” สร้างขึ้นที่วัดระฆังโฆสิตาราม กรุงเทพมหานคร เมื่อ พ.ศ. 2456 โดยสมเด็จพระพุทธโฆษาจารย์ (ม.ร.ว.เจริญ อิศรางกูร) พร้อมเจ้าคณะมณฑลนครสวรรค์สมัยที่ดำรงสมณศักดิ์ที่พระพิมลธรรมเป็นผู้ดำเนินการหล่อขึ้นพร้อมกับพระอัครสาวก

Read more »

ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพธาราม (ศพอ.พ.)

ระเบียบการ

โรงเรียนพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพธารามครั้งเริ่มก่อตั้งเดิมชื่อว่า “โรงเรียนสัตตาหศึกษาวันอาทิตย์” ปัจจุบันเรียกว่า “ศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์วัดโพธาราม” (ศพอ.พ.) ได้เปิดอบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดาให้ตั้งมั่นอยู่ในศีลธรรมตั้งแต่วันที่ ๒๗ กรกฎาคม พ.ศ.๒๕๑๐โดยความดำริของพระเดชพระคุณพระธรรมคุณาภรณ์ อดีตเจ้าอาวาสวัดโพธารามเป็นผู้ให้กำเนิดทั้งนี้สืบเนื่องมาจากสมัยที่ท่านเจ้าคุณพระธรรมคุณาภรณ์ได้ไปดูงานการพระพุทธศาสนาที่ประเทศศรีลังกา ได้เห็นการอบรมสั่งสอนของพระสงฆ์ชาวลังกาที่เปิดการเรียนการสอนเด็กได้วันหยุดราชการ จึงได้ทีแนวความคิดนี้มาจัดตั้งโรงเรียนแห่งนี้ และได้สอนสืบต่อมาจนถึงปัจจุบันโดยไม่คิดมูลค่า

วัตถุประสงค์
๑.เพื่ออบรมสั่งสอนกุลบุตรกุลธิดา ซึ่งเป็นเยาวชนของชาติได้รู้จักพระพุทธศาสนาตามสมควรแก่วัยของตน
๒.เพื่อปลูกฝังศีลธรรม ธรรมจริยา วัฒนธรรมไทยแก่เยาวชนของชาติ ในแนวทางพระพุทธศาสนา เมื่อเติบโตจะได้เป็นผู้นำในทางที่ดีของสังคม
๓.เพื่อให้เด็กและเยาวชนได้ดำเนินตามหลักธรรมของพระพุทธศาสนา เป็นศาสนิกชนที่ดีของศาสนาต่อไป
๔.เพื่อให้เด็กได้ใช้เวลาว่างให้เป็นประโยชน์ ในวันหยุดเรียน
๕.เพื่อเผยแพร่หลักธรรมคำสอนของพระพุทธศาสนาในกลุ่มเยาวชนให้เป็นพุทธมามกะที่ดีต่อไป
๖เเพื่อลดช่องว่างระหว่างพระสงฆ์กับเยาวชน

การจัดการระบบศึกษา แบ่งออกเป็น ๖ ชั้นเรียน คือ
ชั้นต้น ประกอบด้วย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๓

ชั้นกลาง ประกอบด้วย
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๔
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๕
ชั้นประถมศึกษาปีที่ ๖

ชั้นปลาย ประกอบด้วย
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๑
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๒
ชั้นมัธยมศึกษาปีที่ ๓

 

Read more »

ลำดับเจ้าอาวาสจากอดีต-ปัจจุบัน วัดโพธาราม

รูปที่ ๑ พระสมุห์อิ่ม พ.ศ. ๒๔๓๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๓๖
รูปที่ ๒ พระครูธรรมฐิติวงศ์คีรีเขต (ตั้ว) .ศ. ๒๔๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๕
รูปที่ ๓ พระครูต่วน พ.ศ. ๒๔๕๕ ถึง พ.ศ. ๒๔๕๗
รูปที่ ๔ พระครูสวรรค์นคราจารย์ (ช่วง ติสสเถระ) พ.ศ. ๒๔๕๗ ถึง พ.ศ. ๒๔๙๘
รูปที่ ๕ พระธรรมคุณาภรณ์ (เช้า ฐิตปญฺโญ ป.ธ.๙) พ.ศ. ๒๔๙๘ ถึง พ.ศ. ๒๕๑๓
รูปที่ ๖ พระเทพคุณาภรณ์ (พุฒ วุฑฒิทัตตเถระ) พ.ศ. ๒๕๑๔ ถึง พ.ศ. ๒๕๓๖
รูปที่ ๗ พระสุนทรธรรมเวที (ประเทือง ธมฺมกาโม ป.ธ.๖) พ.ศ. ๒๕๓๖ ถึง พ.ศ. ๒๕๔๑
รูปที่ ๘ พระเกศีวิกรม (กอง ติกฺขวีโร ป.ธ.๖) พ.ศ.๒๕๔๑ ถึง ปัจจุบัน

ประวัติย่อของเจ้าอาวาส

เจ้าอาวาสวัดโพธาราม ตั้งแต่องค์แรกเป็นต้นมา ไม่ทราบว่ามีท่านผู้ใดบ้าง เท่าที่ทราบแน่ชัด ๘ รูปคือ

๑. พระสมุห์อิ่ม ภูมิลำเนาเดิมอยู่จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เป็นผู้สร้างพระอุโบสถหลังเดิม และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. ๒๔๗๕

๒. พระครูธรรมฐิติวงศ์ (ตั้ว) ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านแสนตอ จังหวัดกำแพงเพชร ได้จัดตั้งโรงเรียนภาษาไทยขึ้นที่ศาลาการเปรียญวัดโพธาราม เมื่อ พ.ศ.๒๔๔๘ ชื่อโรงเรียน “ธรรมฐิติวงศ์วิทยาคาร” โรงเรียนนี้ต่อมาเป็นโรงเรียนรัฐบาลมีชื่อในปัจจุบันว่า “โรงเรียนนครสวรรค์”

๓. พระครูต่วน ภูมิลำเนาเดิมอยู่บ้านพันลาน อำเภอชุมแสง จังหวัดนครสวรรค์

ท่านได้ลาสิกขา พ.ศ. ๒๔๕๗

๔. พระครูสวรรค์นคราจารย์

Read more »

สิ่งศักดิ์สิทธิ์คู่วัดโพธาราม

untitled

๑. หลวงพ่อเพชรเป็นพระพุทธรูปปางขัดสมาธิเพชร สร้างขึ้นสมัยใดไม่ชัดเจน เป็นพระประจำอยู่ในพระอุโบสถ สมัยเมื่อโบสถ์ยังตั้งอยู่ริมถนนโกสีย์ในปัจจุบัน เป็นอาคารไม้ล้วน ๆ ผู้สูงอายุได้เล่าให้ฟังว่า ประมาณ ๑๐๐ ปีมาแล้ว ตลาดปากน้ำโพเกิดไฟไหม้รวมทั้งพระอุโบสถ กุฏิ ศาลา ของวัดโพธาราม ด้วย แม้พระพุทธรูปในอุโบสถถูกไฟไหม้ไม่มีเหลือ มีเหลือแต่เพียงหลวงพ่อเพชรเพียงองค์เดียว พระครูสวรรค์นคราจารย์ ได้นำมาประดิษฐานไว้หน้าพระอุโบสถหลังใหม่ มีอุบาสกอุบาสิกากราบไหว้สักการะทำวัตรสวดมนต์ต่อหน้าหลวงพ่อเพชรเป็นประจำ จนมาถึงสมัยพระธรรมคุณาภรณ์ เป็นเจ้าอาวาส
ต่อมาเมื่อพระเทพคุณาภรณ์เป็นเจ้าอาวาสได้สร้างสภาบริหารสงฆ์ ฯ เสร็จ ใน พ.ศ.๒๕๒๔ จึงได้ย้ายหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้ที่สภาบริหารคณะสงฆ์
เมื่อ พ.ศ.๒๕๔๐ พระเทพคุณาภรณ์ ได้สร้างมณฑปเสร็จ จึงได้ย้ายหลวงพ่อเพชรมาประดิษฐานไว้มณฑปจนถึงปัจจุบันนี้ และได้สร้างพระเกจิอาจารย์เป็นรูปหล่อเท่าองค์จริง เช่น สมเด็จพระพุฒาจารย์ (โต พฺรหฺมรํสี), หลวงพ่อเดิม, หลวงพ่อเงิน และหลวงพ่อพระเทพคุณาภรณ์ ประดิษฐานบนมณฑปให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชาเป็นประจำทุกวันไม่มีวันหยุด

Read more »

ประวัติความเป็นมาวัดโพธาราม

วัดโพธาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งอยู่เลขที่ ๔๗๔ ถนนโกสีย์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมือง จังหวัดนครสวรรค์ รหัสไปรษณีย์ ๖๐๐๐๐ โทรศัพท์ ๐ ๕๖๓๑ ๔๒๐๑ โทรสาร ๐ ๕๖๓๑ ๔๐๗๖

บริเวณพื้นที่ตั้งวัด

เป็นพื้นที่ราบลุ่มท่ามกลางตลาดปากน้ำโพ โดยมีถนนคั่นบริเวณวัดไว้ทั้ง ๔ ด้าน ตรงข้ามฟากถนนเป็นอาคารพาณิชย์ของทางวัดบ้าง ของเอกชนบ้าง ทิวทัศน์ห่างออกด้านหลังวัดเป็นเทือกเขากบ ด้านหน้าวัดเป็นแม่น้ำ ๔ สาย คือ ปิง วัง ยม น่าน ไหลมาบรรจบเป็นต้นทางของแม่น้ำเจ้าพระยา เป็นย่านการค้าทั้งทางบกและทางน้ำ การคมนาคมติดต่อกับทุกภาคของประเทศไทยได้โดยสะดวก

วัดโพธาราม มีเนื้อที่เฉพาะที่เป็นเขตสังฆาวาส ๑๕ ไร่ ๒ งาน ๖๗ วา โฉนดเลขที่ ๒๑๘๑
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดถนนสวรรค์วิถี
ทิศใต้ จดถนนโกสีย์
ทิศตะวันออก จดถนนอรรกวี
ทิศตะวันตก จดถนนจุฬามณี

ประวัติความเป็นมา

วัดนี้เป็นวัดโบราณ ไม่ปรากฏนามท่านผู้สร้างและไม่ปรากฏปีที่สร้าง ที่ตั้งวัดเดิมอยู่ริมปากแม่น้ำปิง ฝั้งขวา มีต้นมะขาม ๒ ต้น ต้นตะกู ๑ ต้น ศาลาท่าน้ำ ๒ หลัง ทางด้านที่ทำการไปรษณีย์โทรเลขปัจจุบันนี้ มีต้นมะเดื่อ ๑ ต้น ต่อมาได้ย้ายที่ตั้งบริเวณกุฏิออกมาตั้งด้านหลังดังที่ปรากฏในปัจจุบันนี้ ส่วนที่ธรณีสงฆ์แปลงหลังวัด เดิมเป็นป่าไผ่เป็นบริเวณเผาอัฐิของนางเอม เรียกกันว่า ยายเอม เผาอัฐิ
พระอุโบสถหลังเดิม ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ. ๒๔๓๕ สมัยพระสมุห์อิ่ม เป็นเจ้าอาวาส และหมื่นนรา เป็นทายก นับตั้งแต่ พ.ศ.๒๔๓๕ ถึง พ.ศ.๒๔๘๑ เป็นเวลา ๔๖ ปี พระอุโบสถหลังใหม่ ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๑ และผูกพัทธสีมาเมื่อ พ.ศ.๒๔๘๒ สมัยพระครูสวรรค์นคราจารย์ (ช่วง ติสฺสเถโร) เป็นเจ้าอาวาส โดยมีสมเด็จพระวันรัต (เขมจารี) เจ้าคณะมลฑลอยุธยา วัดมหาธาตุ พระนคร
เป็นประธานผูกพัทธสีมา มีหลวงปู่สูข วัดปากคลองมขามเฒ่า เป็นประธาน นั่งอธิฐานจิตในงานด้วย

Read more »

วัดอัมพวา

1

พระอารามหลวงที่งดงามเก่าแก่คู่เมืองอัมพวา เชื่อว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ร.1 ส่วนที่สวยจนชวนตะลึงคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามในพระอุโบสถ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเคยเป็นนิวาสสถานเก่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 สักการะพระรูปร.2 ไหว้พระทำบุญแล้ว จะเดินข้ามไปฝั่งตลาดนํ้ายามเย็นริมคลองอัมพวาก็อยู่ห่างกันแค่เอื้อมเท่านั้น

ที่ตั้ง อยู่ติดกับตลาดนํ้ายามเย็นอัมพวา
เปิด ทุกวัน 8.00-17.00 น.

ขอขอบคุณ http://www.chillpainai.com/

วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ทุกปัญหาแก้ได้ด้วยวิปัสสนา

ด้วยความเมตตาอันสูงส่งและความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม พระภิกษุแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผู้มีประสบการณ์ปฏิบัติธรรมอย่างยาวนานจากหลายสำนัก นำมาสู่การพัฒนาวัดอัมพวันให้กลายเป็นสำนักปฏิบัติธรรมยอดนิยม ที่ผู้คนทั่วไทยและต่างประเทศต่างศรัทธาและพร้อมใจพร้อมกายกันมาปฏิบัติธรรม ณ วัดอัมพวันแห่งนี้อย่างไม่ขาดสาย

วันนี้ แม้ว่าหลวงพ่อจรัญ จะอายุมากขึ้นตามวันเวลา สังขารท่านอาจไม่เหมือนเดิม แต่ท่านก็ยังคงสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพราะท่านถือว่า การปฏิบัติธรรมคือสิ่งสำคัญที่สุด เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตรงที่สุดสำหรับทุกชีวิต ถ้าโรงพยาบาลคือสถานรักษากาย วัดอัมพวันก็คือสถานรักษาใจ เป็นที่ให้ธรรมโอสถกับทุกชีวิต Read more »

วัดอัมพวัน Wat Amphawan

วัดอัมพวัน เป็นสถานที่อบรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่ง ภายในวัดมีสถานที่พัก โรงอาหาร ห้องน้ำ ตลอดจนบรรยากาศที่ร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จนได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง และมีผู้มาปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก
ข้อมูลน่าสนใจ

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว
ตลอดปี

อาหารพื้นบ้าน
ปลาช่อนแม่ลา เป็นอาหารและของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสิงห์บุรี

ของฝาก
ประเภทอาหารได้แก่ ซาลาเปาแม่สายใจ,ขนมเปี๊ยะ,กระยาสารท,ปลาช่อนแม่ลา, กุนเชียง,หมูหยอง,เนื้อทุบและหมูทุบ ประเภทสินค้าหัตถกรรมได้แก่ เครื่องจักสาน เช่น ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ตะกร้า,ฝาชี,เครื่องประดับมุก เช่นตะลุ่มมุก กล่องใส่เครื่องประดับ เชี่ยนหมาก Read more »

วัดอัมพวัน

อยู่ติดกับอุทยาน ร. 2 เป็นวัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระรูป ศิริโสภาค มหานาคนารี พระชนนีของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ หลังวัดนี้ก็เคยเป็นนิวาสสถานเก่า ของหลวงยกกระบัตร และคุณนาค เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันฯ เดิมเป็นเรือนที่คุณนาค ใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมา วัดอัมพวันฯ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันวัดอัมพวันเจติยารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท พระอุโบสถตลอดจนถาวรวัตถุ ในวัดอัมพวันฯ นี้ ส่วนใหญ่เป็นศิลปะ และสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งนับเป็น พระอุโบสถที่มีความงดงามอยู่มาก

ขอขอบคุณ http://www.อัมพวา.net/

 

วัดอัมพวันเจติยาราม

วันเปิดทำการ : ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 – 16.00

อยู่ติดกับอุทยาน ร. 2 เป็นวัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1

หลังวัดแห่งนี้เคยเป็นนิวาสสถานเก่าของหลวงยกกระบัตร (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และ คุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันเจติยาราม เดิมเป็นเรือนที่คุณนาคใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

วัดอัมพวันเจติยารามได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันวัดอัมพวันเจติยารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท พระอุโบสถตลอดจนถาวรวัตถุในวัดนี้ ส่วนใหญ่เป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งนับเป็นพระอุโบสถที่มีความงดงาม นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประดิษฐาน Read more »

เมื่อข้าพเจ้าเป็นศิษย์หลวงพ่อวัดอัมพวัน

ข้าพเจ้ารู้จักวัดอัมพวั นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๖ เนื่องจากวิทยาลัยส่งมาเข้าร่วมอบรมปฏิบัติธรรมในโครงการ “สัปดาห์แห่งการปฏิบัติธรรมสำหรับข้าราชการ” ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๕ มิถุนายน ท่านเจ้าของโครงการคือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูภาวนาวิสุทธิ์ (สมณศักดิ์ในปัจจุบันเป็นท่านเจ้าคุณพระภาวนาวิสุทธิคุณ)

นับเป็นโอกาสอันดีที่ข้าพเจ้าได้มาเรียนรู้วิธีปฏิบัติธรรมอย่างเป็นแบบแผน มีครูอาจารย์ควบคุม ซึ่งดีกว่าอ่านจากตำราแล้วปฏิบัติเองดังที่ข้าพเจ้าเคยทำ ผู้เข้าอบรมในเวลานั้นมีเพียง ๑๓ คน ทั้งที่หลวงพ่อท่านมีหนังสือเชิญชวนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะสมัยนั้นคนยังไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติธรรม ตลอดเวลา ๗ วัน ที่พวกเราอยู่ที่วัด หลวงพ่อท่านเมตตาสอนด้วยตนเองทั้งกลางวันและกลางคืน โดยมีคุณแม่ยุพิน บำเรอจิต เป็นผู้ช่วย ข้าพเจ้าปฏิบัติได้พอสมควร ที่ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างเต็มที่เพราะมีความกังวลห่วงลูกชายซึ่งขณะนั้นอายุเพิ่งจะ ๔ เดือนเศษ แต่ข้าพเจ้าก็อยู่ปฏิบัติจนครบกำหนด และนั่นเป็นนิมิตอันดีสำหรับข้าพเจ้า เพราะหลังจากนั้นชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะอำนาจแห่งรสพระธรรมและความเมตตาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อนั่นเอง Read more »

เมื่อฉันไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน

1330950669

ถ้าไม่ได้บันทึกเรื่องนี้ไว้ ฉันคงมีสิ่งค้างคาใจอีกเรื่องหนึ่ง อย่ากระนั้นเลย มีคำกล่าวว่า “การผัดวันประกันพรุ่ง เป็นการขโมยเวลา” เพราะฉะนั้น ถ้าไม่อยากให้เวลาสูญหายไปโดยเปล่าประโยชน์ ต้องรีบเขียนเสียก่อนที่จะหมดไฟ เหมือนตอนไปปฏิบัติธรรมที่ธรรมาศรมธรรมมาตา ตอนแรกกะจะเขียนละเอียดยิบว่าระหว่างปฏิบัติธรรมเป็นอย่างไรบ้าง ฉันเขียนได้แค่การเดินทางแล้วก็สรุปจบ ไม่ได้รายละเอียดของบรรยากาศจริง ๆ ระหว่างถือศีลแปดอยู่ที่นั่นเลย

หนนี้ฉันไปวัดอัมพวัน (วัดอัมพวันเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในชื่อวัดของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) ซึ่งเป็นวัดที่ฉันไม่นึกอยากจะไปมาก่อน เพราะทราบมาว่ามีผู้ไปปฏิบัติธรรมเยอะมาก ฉันไม่ชอบสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านไม่ว่าจะเป็นที่ใด แต่ด้วยความอยากหลีกหนีจากบ้านที่อาศัยอยู่ชั่วคราว ฉันเลยต้องตัดสินใจอย่างกะทันหัน ดูจากเว็บไซต์ของวัดแล้ว แทบไม่ต้องเอาอะไรไปเลย นอกจากของใช้ส่วนตัวจริง ๆ เพราะมีชุดขาวให้ยืมใส่ปฏิบัติด้วย ทั้งยังไม่ต้องมีการแจ้งล่วงหน้าเหมือนสถานปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ ที่วัดอัมพวันแม้จะมีกำหนดว่าหากต้องการปฏิบัติธรรมแค่ 3 วัน ก็ไปวันศุกร์กลับวันอาทิตย์ หากต้องการปฏิบัติธรรม 7 วัน ให้ไปวันโกน แล้วลาศีลวันโกนถัดมา แต่เอาเข้าจริง ๆ ฉันเห็นไปวันไหนก็ได้ เพราะเวลาเข้าคอร์สปฏิบัติ ก็จะเหมือน ๆ กันอยู่แล้ว คือ เดินจงกรม กับนั่งสมาธิ

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .