แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนนทบุรี แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1. ย่านท่าน้ำนนท์ หรือ อ.เมือง
มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย เช่น พิพิธภัณฑ์เขาสัตว์ โจหลุยส์เธียเตอร์ พิพิธภัณฑ์บ้านดุริยางคศิลป์ (บ้านครูมนตรี ตราโมท) วัดเขมาภิรตาราม พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อาคารศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) เป็นต้น บริเวณท่าน้ำนนท์ เป็นศูนย์กลางของเรือโดยสาร นอกจากเรือด่วนเจ้าพระยาที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางนนทบุรี-กรุงเทพฯ แล้ว ยังเหมาเรือไปเที่ยวคลองออ้อมนนท์ และเกาะเกร็ดได้สะดวก
หากข้ามฝั่งไปยังท่าน้ำบางศรีเมือง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับท่าน้ำนนท์ ก็เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกหลายแห่ง เป็นต้นว่า อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร รวมถึงที่เที่ยวใน อ.บางกรวย
2. อ.ปากเกร็ด
ความโดดเด่นของอำเภอนี้อยู่ที่เกาะเกร็ด ซึ่งเป็นที่รู้จักมักคุ้นของนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนมอญที่มีชื่อเสียงในการทำเครื่องปั้นดินเผา มีวัดเก่าแก่ที่งดงามด้วยศิลปกรรมมอญ อุดมสมบูรณ์ด้วยสำรับกับข้าวแบบมอญ และขนมหวานนานาชนิด ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดนนทบุรี มีวัดปรมัยยิกาวาส วัดไผ่ล้อม วัดเสาธงทอง วัดฉิมพลี
ที่ปากเกร็ดยังมีสถานท่น่าเที่ยว คือ วัดเกาะพญาเจ่ง วัดกู้ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เมืองทองธานี
3. อ.บางกรวย
พื้นที่ของอำเภอนี้ เป็นที่ตั้งของบ้านสวนริมน้ำ และสวนผลไม้มาแต่อดีต โดยมีคลองแม่น้ำอ้อม เป็นเส้นทางสำคัญในการไปมาหาสู่กัน และเส้นทางค้าขายระหว่างชุมชน ตลอดฝั่งน้ำมีวัดเก่าและบ้านเรือนในอดีตให้ได้ชม ชมสวนพันธุ์ไม้สวยงามมากมาย
นอกจากนี้ ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ก็นับเป็นเส้นทางขับรถเที่ยวที่ดี เพราะระหว่างทางร่มรื่นไปด้วยเรือกสวนของชาวบ้าน และเป็นเส้นทางที่ผ่านไปยังวัดสำคัญหลายแห่ง เช่น วัดสวนแก้ว วัดอ้อยช้าง วัดปราสาท วัดชลอ วัดแก้วฟ้า วัดสัก ฯลฯ
ใกล้กับ อ.บางกรวย ยังมี อ.บางใหญ่ เป็นพื้นที่ทำไร่ ทำสวนและแหล่งเพาะพันธุ์ไม้ ถ้าขับรถมาในย่านนี้ จะมีร้านขายต้นไม้ให้เห็นตลอดทาง โดยเฉพาะ ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี หรือทางหลวงหมายเลข 9 จนเรียกกันว่า ถนนสายดอกไม้ นักท่องเที่ยวสามารถแวะซื้อต้นไม้ได้ในราคาถูก
อ.ไทรน้อย มีสวนกล้วยไม้ บอนสี อ.บางบัวทอง มีวัดบางไผ่ วัดจีนที่กำลังก่อสร้าง ชื่อ วัดเล่งเน่ยยี่
Read more »
Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category
แหล่งท่องเที่ยวนนทบุรี- วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร อยู่ที่ซอยเฉลิมพระเกียรติ 15 เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รัชกาลที่ 3ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2390 เพื่อถวายพระอัยกา พระอัยกีและสมเด็จพระราชชนนี มาสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในเขตพระอารามมีความสงบ สะอาด ร่มรื่น ศิลปะสถาปัตยกรรมอนุรักษ์รูปแบบเดิมไว้ แม้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็มีความกลมกลืนกับสถาปัตย์เดิม วัดนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2536 จากสมาคมสถาปนิกสยาม สถาปัตยกรรมในวัดที่น่าสนใจได้แก่ พระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 (คือ ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากจีนมาผสม) หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบเก๋งจีน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี สลับลวดลายใบดอกพุดตาน กระจังฐานพระ ช่อฟ้าใบระกา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสลับลายจากประเทศจีน
ผนังด้านในเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีช่อดอกพุดตานภายใน เพดานลายฉลุปิดทอง ซุ้ม ประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นรูปใบและดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก
ผนังภายในพระอุโบสถเขียนสีลายดอกไม้ร่วง บานประตูหน้าต่างเขียนลายทองรดน้ำ กรอบประตูหน้าต่างประดับปูนปั้นยกดอกพุดตาน พื้นประดับกระจกส่วนด้านในของบานประตูหน้าต่างเขียนรูปกอบัว ดอกบัว นก และสัตว์น้ำ
พระประธานในพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ มีตำนานเล่าว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจัณทึก จังหวัดนครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนาก่อน จึงโปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ 2 พระอาราม คือ วัดราชนัดดากับวัดเฉลิมพระเกียรติ และยังได้โปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปปางอื่นอีก 34 ปางด้วย พระประธานนี้หล่อเสร็จเรียบร้อยเมื่อพ.ศ.2389 เฉพาะที่อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดราชนัดดานั้น เวลาชักเคลื่อนองค์พระไปวัดเกิดอาเพศ ตะเฆ่ (เครื่องลากเข็นของหนัก รูปเตี้ยๆ มีล้อ) ประดิษฐานพระไปทับเอาเจ้าพระยายมราช (บุญนาค) กับทนายอีก 2 คน ตาย เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ถวายพระนามพระประธานว่า “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา”
Read more »
ตามรอยละครพื้นบ้านไทย ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร
วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตก (ฝั่งขวา) ในเขตพื้นที่ของ ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็น Landmark ในการถ่ายภาพยนตร์ และละครพื้นบ้านไทยจำนวนหลายเรื่อง
วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองมาร่วม 135 ปีแล้ว เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้ทำการสร้างขึ้น ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า บริเวณป้อมเก่า (ป้อมทับทิมสมัยกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ใต้วัดตลาดขวัญ นอกจากนี้แล้วภายในวัดยังประกอบไปด้วยโบราณสถานหลายๆแห่ง อาทิ
– องค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา) หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 6 ศอก สูงจรดพระเศียร 8 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว พระประทานองค์นี้มีตำนานเล่าว่า เมื่อรัชกาลที่ 3 โปรดให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึกในแขวงนครราชสีมาได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงลงมามาก
เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็นประโยชน์ เกื้อกูลแต่พระศาสนาก่อน จึงโปรด ให้หล่อพระพุทธรูป ซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ 2 พระอาราม คือ วัดราชนัดดา กับวัดเฉลิมพระเกียรติ และยังได้โปรดฯ
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร (นนทบุรี)
ที่ตั้ง: 86, หมู่ 3, ถนนท่าน้ำนนท์-วัดโบสถ์ดอนพรหม, ตำบล บางศรีเมือง, จังหวัด นนทบุรี, ประเทศไทย, 11000
โทรศัพท์: 0-2881-6323, 0-2446-4035
รายละเอียด : เป็น 1 ใน 3 วัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น สักการะ “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฎิมา” พระประธานในอุโบสถที่หล่อจากทองแดง เดินเที่ยวชมอุทยานเฉลิมพระเกียรติ และแวะให้อาหารปลาริมแม่น้ำ
การเดินทาง : จากถนนนครอินทร์มุ่งหน้าสะพานพระราม 5 เมื่อวิ่งผ่านสี่แยกบางสีทอง(ถนนบางกรวย-ไทรน้อย) แล้วให้ชิดซ้ายเพื่อเข้าสู่ถนนท่าน้ำนนท์-วัดโบสถ์ แล้ววิ่งตรงไปตามทางเรื่อยๆ จนเจอโรงพยาบาลวัดเฉลิมพระเกียรติทางซ้ายมือ จากนั้นให้เลี้ยวขวาเข้าซอยวัดเฉลิมพระเกียรติ วิ่งไปจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยาก็จะเจอวัด
ขอขอบคุณ http://www.zeekway.com/
ประวัติความเป็นมาวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
มูลเหตุแห่งการสร้างวัดเริ่มเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. ๒๓๖๗ นั้น พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีแห่งพระองค์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยด้วย ต่อมาทรงพระราชดำริว่าบริเวณป้อมปราการ (ชื่อว่าป้อมทับทิม) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี เป็นนิวาสถานเดิมแห่งพระอัยกา(ตา) พระอัยกี(ยาย) ของพระองค์ และยังเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระราชชนนีพันปีหลวง สมควรที่จะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงแห่งพระองค์ ด้วยเหตุนี้โปรดให้พระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ตำแหน่งที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น และโปรดให้สร้างป้อมปราการ ก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเป็นทำนองเดียวกันกับพระบรมมหาราชวังรอบวัดไว้เป็นอนุสรณ์ด้วยพระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า “วัดเฉลิมพระเกียรติ” เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๐ วัดเฉลิมพระเกียรติเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเป็นวัดสุดท้ายในรัชกาลก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคต ในปี พ.ศ. ๒๓๙๔ การสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติน่าจะยังไม่แล้วเสร็จในรัชกาลของพระองค์ เพราะเมื่อพระองค์ใกล้จะเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ยังตรัสถึงวัดต่างๆ ที่ยังสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ค้างไว้ว่า ” …ทุกวันนี้คิดสละห่วงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัด สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็ดี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทำนุบำรุง เงินในพระคลัง ที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดิน มีอยู่ ๔๐,๐๐๐ ชั่ง ขอสัก ๑,๐๐๐ ชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วให้ช่วยบอกแก่เขาขอเงินรายนี้ให้ช่วยทำนุบำรุงวัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้น เสียให้แล้วด้วย…” เมื่อเป็นเช่นนี้ วัดเฉลิมพระเกียรติที่ยังสร้างค้างอยู่น่าจะเป็นวัดหนึ่งที่พระองค์ทรงห่วงใยด้วย
วัดเฉลิมพระเกียรติ
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2390 เพื่อถวายพระอัยกา พระอัยกีและสมเด็จพระราชชนนี มาสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในเขตพระอารามมีความสงบ สะอาด ร่มรื่น ศิลปะสถาปัตยกรรมอนุรักษ์รูปแบบเดิมไว้ แม้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็มีความกลมกลืนกับสถาปัตย์เดิม วัดนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปีพ.ศ. 2536 จากสมาคมสถาปนิกสยาม ภายในวัดมีสิ่งน่าสนใจดังนี้
– พระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 (คือ ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากจีนมาผสม) หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบเก๋งจีน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี สลับลวดลายใบดอกพุดตาน กระจังฐานพระ ช่อฟ้าใบระกา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสลับลายจากประเทศจีน ผนังด้านในเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีช่อดอกพุดตานภายใน เพดานลายฉลุปิดทอง ซุ้ม ประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นรูปใบและดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก
– พระประธาน ในพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อ ด้วยทองแดงทั้งองค์ มีตำนานเล่าว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจัณทึก จังหวัดนครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็น ประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนาก่อน จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ 2 พระอาราม คือ วัดราชนัดดากับวัดเฉลิมพระเกียรติ สมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ถวายพระนามพระประธานว่า “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา”
สถาปัตยกรรมวิหารเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
ณ ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ จังหวัดนนทบุรี เป็นที่ตั้งของวัดเก่าแก่แห่งหนึ่งที่มีลักษณะผิดแผกแตกต่างจากวัดอื่น ๆ ด้วยมีป้อมปราการและกำแพงแก้วก่ออิฐถือปืน มีใบเสมาทำนองเดียวกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง และบริเวณหน้าวัดแห่งนี้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวและสมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถเคยทรงนำเจ้าหญิงอเล็กซานดราแห่งเคนต์ พระราชอาคันตุกะที่เสด็จมาเยือนไทย เสด็จพระราชดำเนินไปทรงลอยพระประทีปเมื่อวันที่ ๒๒ พฤศจิกายน พ.ศ. ๒๕๐๔ และในวโรกาสนี้ สมเด็จพระนางเจ้าฯ พระบรมราชินีนาถ ได้ทรงบริจาคเงินเป็นจำนวน ๘๔,๗๖๗ บาท เพื่อบูรณปฏิสังขรณ์ และพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวได้ทรงมีพระราชดำรัสกับท่านเจ้าอาวาสตอนหนึ่งว่า “ได้เคยผ่านมาหน้าวัดนี้ เห็นวัดร่มรื่นดี วันนี้ตั้งใจมาเยี่ยม นำแขกต่างประเทศมาด้วย วัดนี้เป็นวัดประวัติศาสตร์ สวยงามมาก ควรจะบูรณะให้รักษาแบบของเดิมไว้” วัดที่กล่าวถึงนี้คือ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ซึ่งพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างขึ้นเมื่อครั้งเสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติ และทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลย ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า บริเวณป้อมเก่าริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยาเมืองนนทบุรีแห่งนี้ เป็นนิวาสสถานเดิมแห่งพระอัยกา เจ้าเมืองนนทบุรี และพระอัยกี นอกจากนี้ ยังเป็นสถานที่ประสูติ ของสมเด็จพระศรีสุลาไลย พระราชชนนีพันปีหลวงด้วย ทั้งนี้ ได้เสด็จพระราชดำเนินไปทรงก่อพระฤกษ์พระอุโบสถด้วยพระองค์เอง แต่การก่อสร้างยังไม่ทันแล้วเสร็จก็ทรงประชวรเสียก่อน จึงทรงมอบพระราชภารกิจในราชการแผ่นดินไว้กับพระศรีสุริยวงศ์ โดยเฉพาะเกี่ยวกับเรื่องวัดต่าง ๆ ไว้ว่า
“ทุกวันนี้คิดสละห่วงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัด สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็มี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทนุบำรุงเงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดินมีอยู่ ๔๐,๐๐๐ ชั่ง ขอสัก ๑๐,๐๐๐ ชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้ว ให้ช่วยบอกแก่เขา ขอเงินรายนี้ให้ช่วยทนุบำรุงวัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้นเสียให้แล้วด้วย”
ปูชนียวัตถุ ของวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
1.พุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดง ขนาดหน้าตักกว้าง 6 ศอก สูง 8 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว พระนาม พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา ตาม ตำนานกล่าวว่า พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้ขุดแร่ทองแดง ที่อำเภอจันทึก จังหวัดนครราชสีมา ได้แร่ทองแดงจำนวนมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว มีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงเกื้อกูลพระศาสนา จึงโปรดให้หล่อพระพุทธรูปขนาดใหญ่เพื่อนำไปประดิษฐานเป็นพระประธานประจำพระ อุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติและวัดราชนัดดาราม จำนวน 2 องค์ พระองค์ได้โปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปปางต่างๆ จำนวน 34 องค์
2.พระพุทธรูปปางมารวิชัย ขนาดหน้าตักกว้าง 30 นิ้ว สูง 33 นิ้ว นามว่า พระศิลาขาว พระ บาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดให้อัญเชิญมาประดิษฐานในพระวิหารเมื่อปี พ.ศ.2401 พร้อมพระอัครสาวก 2 องค์ สูง 13 นิ้ว เป็นพระพุทธรูปศิลา
3.พระปฏิมาชัยวัฒน์ ประดิษฐานอยู่ในพระวิหารหลวงทางด้านทิศเหนือของพระอุโบสถ
4.พระเจดีย์ขาว เป็นเจดย์ทรงลังกา มีฐานแปดเหลี่ยมสองชั้น ความสูงขนาด 45 เมตร ประดิษฐานพระบรมธาตุไว้ภายใน
ขอขอบคุณ http://www.bangsrimuang.go.th/
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
เจ้าอาวาส
พระอารามหลวง พระธรรมกิตติมุนี(ฐานมงฺคโล สาย ศรีมงคล)
ภูมิลำเนา อำเภอเมือง จังหวัดนครนายก
วันเกิด 22 พฤศจิกายน พ.ศ. 2476 (ปีระกา)
อุปสมบท 19 เมษายน พ.ศ. 2497
วิทยฐานะ ป.ธ.7,น.ธ.เอก ป.,ดุษฎีบัณฑิตกิตติมศักดิ์
ตำแหน่ง เจ้าคณะจังหวัดนนทบุรี พ.ศ. 25828 เจ้าอาวาสพระอารามหลวง พ.ศ. 2528
โทรศัพท์ 0-2881-6323,02-447-4493,08-1721-6999,02-446-3355 โทรสาร 02-447-4849
สภาพฐานะและที่ตั้งวัด
วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่ 3 ถนนท่าน้ำนนท์ –วัดโบสถ์ดอนพรหม ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย นนทบุรี มีที่ดินทั้งหมด 24 ไร่ 3 งาน 22 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 156460 ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2390 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2390 อาณาเขตของวัดแบ่งออกเป็น 3 เขตคือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตนอกกำแพงใหญ่
Read more »
สถาปัตยกรรมในวัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารที่น่าสนใจ
พระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 (คือ ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากจีนมาผสม) หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบเก๋งจีน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี สลับลวดลายใบดอกพุดตาน กระจังฐานพระ ช่อฟ้าใบระกา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสลับลายจากประเทศจีน ผนังด้านในเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีช่อดอกพุดตานภายใน เพดานลายฉลุปิดทอง ซุ้ม ประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นรูปใบและดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก
ผนังภายในพระอุโบสถเขียนสีลายดอกไม้ร่วง บานประตูหน้าต่างเขียนลายทองรดน้ำ กรอบประตูหน้าต่างประดับปูนปั้นยกดอกพุดตาน พื้นประดับกระจกส่วนด้านในของบานประตูหน้าต่างเขียนรูปกอบัว ดอกบัว นก และสัตว์น้ำ
พระประธานในพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ มีตำนานเล่าว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจัณทึก จังหวัดนครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนาก่อน จึงโปรดเกล้าฯ ให้หล่อพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ 2 พระอาราม คือ วัดราชนัดดากับวัดเฉลิมพระเกียรติ และยังได้โปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปปางอื่นอีก 34 ปางด้วย พระประธานนี้หล่อเสร็จเรียบร้อยเมื่อ พ.ศ. 2389 เฉพาะที่อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดราชนัดดานั้น เวลาชักเคลื่อนองค์พระไปวัดเกิดอาเพศ ตะเฆ่ (เครื่องลากเข็นของหนัก รูปเตี้ยๆ มีล้อ) ประดิษฐานพระไปทับเอาเจ้าพระยายมราช (บุญนาค) กับทนายอีก 2 คน ตาย เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ถวายพระนามพระประธานว่า “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา” ภายในพระวิหารหลวง หรือเรียกกันว่า วิหารพระศิลาขาว อยู่ด้านทิศใต้ของพระอุโบสถประดิษฐานพระประธานศิลา พระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญมาเมื่อพ.ศ. 2401 เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พร้อมด้วยพระอัครสาวกซ้ายขวาเป็นพระศิลานั่งพับเพียบซึ่งปัจจุบันเหลืออยู่เพียงองค์เดียว
พระเจดีย์ อยู่ทางทิศตะวันตกของพระอุโบสถ เป็นเจดีย์ทรงกลมหรือทรงระฆัง มักเรียกกันว่า ทรงลังกา เนื่องจากได้รับแบบอย่างมาจากลังกา พร้อมกับการเผยแพร่เข้ามาของพุทธศาสนาลัทธิลังกาวงศ์ มีฐานแปดเหลี่ยมสองชั้นสูง 45 เมตร ภายในบรรจุพระบรมธาตุ ยังมีถาวรวัตถุอื่นที่สำคัญ เช่น การเปรียญหลวง อาคารแบบผสมระหว่างอาคารทรงไทยกับเครื่องบนหลังคาแบบจีน ลักษณะเป็นตึกทรงโรงมีเสาอยู่ข้างใน ภายในประดิษฐานพระชัยวัฒน์ ซึ่งหาชมได้ยาก นอกจากนี้ยังมี กุฏิทรงไทย อยู่ด้านเหนือเขตพุทธาวาสจำนวน 20 หลัง เป็นเรือนไทยภาคกลางใต้ถุนสูง กำแพงแก้วและป้อมปราการ เป็นกำแพงก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเหมือนกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง มีป้อมปราการทั้งสี่มุม มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ และพระศรีมหาโพธิ์ ต้นโพธิ์พันธุ์พุทธคยาที่ได้มาสมัยรัชกาลที่ 4
โครงงานสืบค้นวัฒนธรรมท้องถิ่น เรื่อง วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร จ. นนทบุรี
วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ 86 หมู่ 3 ถนนท่าน้ำนนท์ –วัดโบสถ์ดอนพรหม ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย นนทบุรี มีที่ดินทั้งหมด 24 ไร่ 3 งาน 22 ตารางวา โฉนดที่ดินเลขที่ 156460 ตั้งวัดเมื่อ พ.ศ.2390 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อ พ.ศ. 2390 อาณาเขตของวัดแบ่งออกเป็น 3 เขตคือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตนอกกำแพงใหญ่
อาณาเขต
ทิศเหนือ จดเขตคูวัดและที่ธรณีสงฆ์ ทิศใต้ จดเขตคูวัดและที่ธรณีสงฆ์ ทิศตะวันออก จดแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศตะวันตก จดเขตคูวัดและที่ธรณีสงฆ์
ประวัติความเป็นมา
มูลเหตุแห่งการสร้างวัดเริ่มเมื่อพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) เสด็จเถลิงถวายราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นั้น พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีแห่งพระองค์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยด้วย ต่อมาทรงพระราชดำริว่าบริเวณป้อมปราการ (ชื่อว่าป้อมทับทิม) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี เป็นนิวาสถานเดิมแห่งพระอัยกา(ตา) พระอัยกี(ยาย) ของพระองค์ และยังเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระราชชนนีพันปีหลวง สมควรที่จะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่ พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงแห่งพระองค์ ด้วยเหตุนี้โปรดให้พระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ตำแหน่งที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น และโปรดให้สร้างป้อมปราการ ก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเป็นทำนองเดียวกันกับพระบรมมหาราชวังรอบวัดไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดเฉลิมพระเกียรติ เมื่อปี พ.ศ. 2390 วัดเฉลิมพระเกียรติเป็นวัดที่พระบาทสมเด็จนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้นเป็นวัดสุดท้ายในรัชกาลก่อนที่พระองค์จะเสด็จสวรรคตในปี พ.ศ.2394 การสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติน่าจะยังไม่แล้วเสร็จในรัชกาลของพระองค์ เพราะเมื่อพระองค์ใกล้จะเสด็จสวรรคต พระองค์ก็ยังตรัสถึงวัดต่างๆ ที่ยังสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์ค้างไว้ว่า ” …ทุกวันนี้คิดสละห่วงใหญ่ให้หมด อาลัยอยู่แต่วัด สร้างไว้ใหญ่โตหลายวัด ที่ยังค้างอยู่ก็ดี ถ้าชำรุดทรุดโทรมไปจะไม่มีผู้ช่วยทะนุบำรุง เงินในพระคลังที่เหลือจับจ่ายใช้ราชการแผ่นดิน มีอยู่ 40,000 ชั่ง ขอสัก 1,000 ชั่งเถิด ถ้าผู้ใดเป็นเจ้าแผ่นดินแล้วให้ช่วยบอกแก่เขาขอเงินรายนี้ให้ช่วยทนุบำรุงวัดที่ชำรุดและการวัดที่ยังค้างอยู่นั้น เสียให้แล้วด้วย…” เมื่อเป็นเช่นนี้ วัดเฉลิมพระเกียรติที่ยังสร้างค้างอยู่น่าจะเป็นวัดหนึ่งที่พระองค์ทรงห่วงใยด้วย ต่อมาเมื่อพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่4) เสด็จเถลิงถวัลย์ราชสมบัติแล้ว พระองค์ก็ทรงรับเป็นพระราชภาระในการสร้างวัดเฉลิมพระเกียรติจนเสร็จเรียบร้อย โดยโปรดให้พระยาทิพากรวงศ์ (ขำ บุญนาค) เป็นแม่กองการบูรณะจนแล้วเสร็จเมื่อปี พ.ศ. 2401 วัดเฉลิมพระเกียรติได้รับการคัดเลือกเป็นวัดพัฒนาตัวอย่างของกรมการศาสนา ในปี พ.ศ.2531 เป็นวัดอุทยานการศึกษากรมการศาสนา ปี พ.ศ.2538
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นโทชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตก (ฝั่งขวา) ที่ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมืองนนทบุรี เยื้องศาลากลางจังหวัดไปทางทิศเหนือประมาณ 1 กิโลเมตรเศษ มีเนื้อที่ประมาณ 24 ไร่ 7 งาน 22 ตารางวา แบ่งออกเป็น 3 เขต คือ เขตพุทธาวาส เขตสังฆาวาส และเขตนอกกำแพงใหญ่
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร เป็นพระอารามหลวง ที่มีความสำคัญ คู่บ้านคู่เมือง มาร่วม 135 ปีแล้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้ทำการสร้างขึ้น ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า บริเวณป้อมเก่า (ป้อมทับทิมสมัยกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ใต้วัดตลาดขวัญ
เมืองนนทบุรีเคยเป็นที่ตั้งนิวาสสถานของพระอัยกา พระอัยกี และเป็นสถานที่ประสูติของ สมเด็จพระศรีสุลาลัย พระราชชนนีพันปี หลวงแห่งพระองค์ เนื่องจากพระอัยกา (นามเดิม บุญจัน เคยเป็นผู้ว่าราชการ จังหวัดนนทบุรีที่ พระยานนทบุรีศรีมหาอุทยาน สมควรที่จะสร้างพระอารามหลวง ขึ้นไว้เพื่อเป็นการ เฉลิมพระเกียรติพระอัยกา พระอัยกี และ สมเด็จพระราชชนนี จึงได้โปรดให้พระยาพระคลัง (ดิศ บุนนาค) สมุหพระกลาโหม เป็นแม่กอง สร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น โปรดให้สร้าง ป้อมปราการก่ออิฐถือปูน มีใบเสมา (ทำนองเดียวกับกำแพงพระบรมมหาราชวัง) เป็นรูป 4 เหลี่ยมไว้รอบวัดเพิ่อเป็น อนุสรณ์ด้วยแล้ว พระราชทานนามพระอารามแห่งนี้ว่า “วัดเฉลิมพระเกียรติ”
Read more »
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลิมพระเกียรติ 15 เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2390 เพื่อถวายพระอัยกา พระอัยกีและสมเด็จพระราชชนนี มาสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในเขตพระอารามมีความสงบ สะอาด ร่มรื่น ศิลปะสถาปัตยกรรมอนุรักษ์รูปแบบเดิมไว้ แม้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็มีความกลมกลืนกับสถาปัตย์เดิม วัดนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปีพ.ศ. 2536 จากสมาคมสถาปนิกสยาม
สถาปัตยกรรมในวัดที่น่าสนใจได้แก่
พระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 (คือ ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากจีนมาผสม) หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบเก๋งจีน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี สลับลวดลายใบดอกพุดตาน กระจังฐานพระ ช่อฟ้าใบระกา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสลับลายจากประเทศจีน ผนังด้านในเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีช่อดอกพุดตานภายใน เพดานลายฉลุปิดทอง ซุ้ม ประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นรูปใบและดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก
ผนังภายในพระอุโบสถเขียนสีลายดอกไม้ร่วง บานประตูหน้าต่างเขียนลายทองรดน้ำ กรอบประตูหน้าต่างประดับปูนปั้นยกดอกพุดตาน พื้นประดับกระจกส่วนด้านในของบานประตูหน้าต่างเขียนรูปกอบัว ดอกบัว นก และสัตว์น้ำ
“วัดเฉลิมพระเกียรติ” เมืองนนท์ งดงามริมน้ำเจ้าพระยา
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 ทรงเป็นพระมหากษัตริย์ที่ไม่เพียงแต่จะมีพระปรีชาสามารถในเรื่องของการค้าขายจนได้รับพระฉายาว่า “เจ้าสัว” พระองค์ยังเป็นกษัตริย์ที่มีจิตใจฝักใฝ่ในพระพุทธศาสนา ในรัชกาลของพระองค์ได้ทรงสร้างและบูรณปฏิสังขรณ์วัดหลากหลายวัดด้วยกัน โดยวัดที่พระองค์ทรงสร้างหรือปฏิสังขรณ์นั้นก็จะมีเอกลักษณ์ตรงที่เป็นศิลปะแบบไทยผสมกับจีนซึ่งถือเป็นพระราชนิยมของพระองค์
วัดเฉลิมพระเกียรตินี้เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น ในพื้นที่ซึ่งเป็นนิวาสถานเดิมของพระอัยกา (ตา) พระอัยกี (ยาย) และพระราชมารดาของพระองค์ หรือเจ้าจอมมารดาเรียม ซึ่งภายหลังได้รับการสถาปนาเป็นสมเด็จพระศรีสุลาลัย โดยพระองค์ทรงเห็นว่าควรที่จะสถาปนาสถานที่แห่งนี้ขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่งเพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแก่บุคคลทั้งสามนั้น
แต่เดิมบริเวณนี้เคยเป็นป้อมปราการเก่า ชื่อว่าป้อมทับทิม ใช้ในการสอดส่องป้องกันข้าศึกที่อาจจะรุกล้ำเข้ามาทางแม่น้ำ และเมื่อพระองค์มีพระราชประสงค์ในการสร้างวัด จึงโปรดเกล้าฯให้พระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ตำแหน่งที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัดขึ้น และโปรดให้สร้างป้อมปราการก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเป็นทำนองเดียวกันกับพระบรมมหาราชวังรอบวัดไว้เป็นอนุสรณ์ พร้อมทั้งพระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่าวัดเฉลิมพระเกียรติ
วัดเฉลิมพระเกียรติ เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร
พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่3) เสด็จเถลิงถวัลยราชสมบัติในปี พ.ศ. 2367 นั้น พระองค์ทรงสถาปนาสมเด็จพระราชชนนีแห่งพระองค์ขึ้นเป็นกรมสมเด็จพระศรีสุลาไลยด้วย ต่อมาทรงพระราชดำริว่าบริเวณป้อมปราการ (ชื่อว่าป้อมทับทิม) ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาใต้ตลาดขวัญ เมืองนนทบุรี เป็นนิวาสถานเดิมแห่งพระอัยกา(ตา) พระอัยกี(ยาย) ของพระองค์ และยังเป็นสถานที่ประสูติของสมเด็จพระศรีสุลาไลยพระราชชนนีพันปีหลวง สมควรที่จะสถาปนาขึ้นเป็นพระอารามหลวงสักแห่งหนึ่ง เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติแด่ พระอัยกา พระอัยกี และสมเด็จพระราชชนนีพันปีหลวงแห่งพระองค์ ด้วยเหตุนี้โปรดให้พระยาคลัง (ดิศ บุนนาค) ตำแหน่งที่สมุหพระกลาโหมเป็นแม่กองสร้างวัดขึ้นในบริเวณนั้น และโปรดให้สร้างป้อมปราการ ก่ออิฐถือปูน มีใบเสมาเป็นทำนองเดียวกันกับพระบรมมหาราชวังรอบวัดไว้เป็นอนุสรณ์ด้วย พระราชทานนามวัดแห่งนี้ว่า วัดเฉลิมพระเกียรติ เมื่อปี พ.ศ. 2390
ขอขอบคุณ http://2g.pantip.com/