Posts Tagged ‘พระธาตุศรีจอมทอง ดอยจอมทอง แผนที่’

ความสำคัญ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ.2506 บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

ความสำคัญ
พระธาตุศรีจอมทอง อยู่ใน อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่ เป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร เป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักษิณโมลีธาตุ พระธาตุส่วนที่เป็น พระเศียรเบื้องขวาของ สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณ เมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง ตามประวัติเล่าว่า พระเจ้าอโศกมหาราช เป็นผู้อัญเชิญมาประดิษฐานไว้ที่ ดอยจอมทอง ตั้งแต่ปี พ.ศ.218 ปัจจุบัน พระธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ 5 ชั้น ซึ่งตั้งอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลี่ยมจตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร ตามประวัติว่าสร้างขึ้นโดย พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช หรือ พระเมืองแก้ว กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ.2060

– พ.ศ.1994 สร้างบนดอยจอมทอง ชื่อว่า วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ทางทิศตะวันตกมีทิวเขาอินทนนท์ และลำน้ำแม่กลาง
– พ.ศ.2470 ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา
– พ.ศ.2506 ได้รับพระราชทานยกฐานะวัดขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร
– พ.ศ.2524 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ของกรมการศาสนา
– พ.ศ.2538 เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ของ กรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

Read more »

สำนักวิปัสสนากรรมฐาน หนเหนือ วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เชียงใหม่

ตั้งอยู่ ที่ 157 บ้านหลวง ต. บ้านหลวง อ. จอมทอง จ. เชียงใหม่ มีพระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระเทพสิทธาจารย์ วิ. (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล) หัวน้าพระวิปัสสนาจารย์หนเหนือ กองการวิปัสสนาธุระ และเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นเจ้าสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ให้การสอน การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ในแนวสติปัฐฐาน 4 ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึงระดับสูง มีการจัดให้สอบอารมณ์ ทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)

ที่พัก: รองรับ ทั้ง แบบ เดี่ยว และแบบหมู่คณะ โดยมีกุฏิสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม กว่า 200 หลัง ลักษณะเป็นบ้านชั้นเดียวห้องน้ำในตัว มุ้งลวด เหล็กดัด อุปกรณ์ที่จำเป็นพร้อม มีเตียงไม้ พัดลม ส่วนเครื่องนอนทางวัดจะจัดให้เป็นชุด ๆ มีฟูกแบบบาง หมอน ซึ่งวัดจะส่งซักทุกครั้งหลังจากแต่ละท่านปฏิบัติจบแล้ว ไม่ต้องห่วงเรื่องความสะอาด หรือหากเราอยากจะเอาผ้าส่วนตัวไปปูรองนอนอีกชั้นก็ได้

อาหาร: ทางสำนักจะจัดอาหารไว้วันละ 2 มื้อคือ เช้าเวลา 06.00 น. และเพล เวลา 11.00 น. โดยมีให้เลือกแบบธรรมดาและมังสะวิรัติ

หลังเที่ยงไปแล้วงดอาหาร ตามการรักษาศีล 8 (สามารถดื่มนม ชา กาแฟ ได้ หรือจะไปซื้อน้ำเต้าหู้หน้าวัดก็ได้ มีแม่ค้ามาขาย)

ตอนเช้า หลังอาหารเช้า เราสามารถไปซื้อกับข้าวมาตักบาตรพระได้ที่หน้าวัด ทุก ๆ วันค่ะ

หลักการปฏิบัติ :

การเดินจงกรม ที่นี่มีการเดินจงกรม 6 ระยะแบบเดียวกับสายคุณแม่สิริ กรินชัย (ค่อย ๆ เพิ่มระยะไปทีละวัน ไม่ต้องกังวลเพราะพระอาจารย์ที่สอบอารมณ์จะให้คำแนะนำอย่างละเอียด)

การนั่งสมาธิ ที่นี่สอนแนวสติปัฏฐาน 4 ใช้คำบริกรรมว่า ยุบหนอ พองหนอ

การนั่งกรรมฐาน หลวงพ่อจะให้เพิ่มให้กำหนดจิตสติไปเพ่งพิจารณาถูกที่จุดต่างๆ ในร่างกาย เช่นวันแรกคือสะโพกขวา ซ้ายเหมือนเอาเหรียญบาทไปแตะถูกจุดนั้น โดยกำหนดคำบริกรรมว่า พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ (นึกจิตไปถูกสะโพกขวา) พองหนอ ยุบหนอ นั่งหนอ ถูกหนอ (สะโพกซ้าย)
ถ้าอยู่ครบคอร์ส 21 วัน จะสามารถกำหนดจุดต่างๆ ในร่างกายที่ต้องไปกำหนดถูกรวม 28 จุด (สำหรับของเราไปได้ 7 วัน กำหนดได้ 7-8 จุด ซึ่งเป็นไปตามหลักสูตรปกติ)

Read more »

ตำนานพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง

พระธาตุเจ้าศรีจอมทองมีประวัติอันยาวนานมาตั้งแต่สมัยพระพุทธกาลซึ่งพอะสรุปได้ดังที่จะกล่าวต่อไป

ตามตำนานที่กล่าวถึงความเป็นมาของพระบรมธาตุศรีจอมทอง สรุปใจความได้ว่าดอยจอมทอง หรือ ดอยศรีจอมทองนั้น ได้แก่ที่ตั้งของวัดพระธาตุศรีจอมทองในปัจจุบันนี้ ซึ่งมีลักษณะเป็นภูเขาดินสูงจากระดับที่พื้นราบอื่น ๆ ในบริเวณนั้น ที่ตั้งพระวิหารอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุเจ้าจอมทอง จะเป็นยอดของดอยลูกนี้ในสมัยพุทธกาล และ มีเมืองอยู่เมืองหนึ่งชื่อว่า “ เมืองอังครัฏฐะ ” มีเจ้าผู้ครองเมืองนั้นามว่า พระยาอังครัฎฐะ ซึ่งเมืองนี้ตั้งอยู่ใกล้ ๆ กับดอยจอมทองลูกนี้ ซึ่งพระยาอังครัฎฐะนั้นได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า “ บัดนี้พระพุทธเจ้าได้บังเกิดในโลกแล้ว เวลานี้ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ในประเทศอินเดีย ” จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้ว จึงเสด็จสู่เมืองอังครัฏฐะพร้อมด้วยภิกษุสาวกทางอากาศ ได้มารับอาหารบิณฑบาตจาก พระยาอังครัฏฐะ และ ทรงแสดงธรรมโปรดพร้อมทั้งได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “ เมื่อเรานิพพาน แล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวา( พระทักษิณโมลี ) ของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่ดอยจอมทองแห่งนี้ ” แล้วเสด็จกลับส่วน พระยาอังครัฏฐะเมื่อได้ทราบจากคำพยากรณ์นั้นแล้ว จึงได้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่พระพุทธเจ้าทรงพยากรณ์ไว้นั้น พระยาอังครัฎฐะอยู่ครองราชย์จนสิ้นพระชนม์มายุของพระองค์

ต่อมาภายหลังเมื่อพระพุทธเจ้าเสด็จปรินิพพานแล้ว โทณพราหมณ์ได้จัดแบ่งพระบรมสารีริกธาตุให้แก่กษัตริย์ทั้ง ๘ นคร ซึ่งในครั้งนั้น มัลลกษัตริย์แห่งเมืองกุสินาราทรงได้พระทักษิณโมลีธาตุไว้ พระมหากัสสปะเถระเจ้าประธานฝ่ายสงฆ์ จึงได้กราบทูลมัลลกษัตริย์ถึงพุทธพยากรณ์ที่พุทธองค์เคยตรัสไว้ มัลลกษัตริย์ทราบดังนั้นจึงถวายพระบรมธาตุแด่พระมหากัสสปะเถระ ซึ่งท่านก็ได้อัญเชิญพระบรมธาตุวางไว้บนฝ่ามือ แล้วอธิษฐานอาราธนาพระบรมธาตุให้เสด็จไปยังดอยจอมทอง เพื่อประทับอยู่ในโกศแก้วอินทนิลภายในเจดีย์ทองคำ ที่พญาอังครัฎฐะได้สร้างถวายไว้ อยู่ที่ยอดดอยจอมทอง ตามที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้.

Read more »

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

temple

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
อยู่บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด ผ่านอำเภอหางดงถึงอำเภอจอมทอง ประมาณ 58 กม. เป็นวัดเก่าแก่อายุประมาณ 500 ปีเศษ

อยู่บนเส้นทางสายเชียงใหม่-ฮอด ผ่านอำเภอหางดงถึงอำเภอจอมทอง ประมาณ 58 กม. เป็นวัดเก่าแก่อายุประมาณ 500 ปีเศษ

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ สร้างเมื่อพุทธศักราช ๑๙๙๔ โดยนายสร้อย นางเม็ง เป็นผู้สร้างขึ้นขนดอยจอมทอง จึงได้ชื่อว่า“ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ” สูงจากที่ราบ 10 เมตร อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากอำเภอเมือง เชียงใหม่ 58 กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาเรียกว่า “ดอยอินทนนท์”และลำน้ำแม่กลาง วัดนี้สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

– ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพุทธศักราช 2470
– ได้รับพระราชทานยกฐานะวัดขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร เมื่อวันที่ ๓๐ เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช 2506
– ได้รับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี 2524 ของกรมการศาสนา
– กระทรวงศึกษาธิการได้รับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี 2538 ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

วัดพระธาตุศรีจอมทอง จ.เชียงใหม่

800px-Chmaiwphrathatchomthong0107

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร (เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง) ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2506

บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรมในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

การอบรม
วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ในเขตหนเหนือ มีพระเดชพระคุณ พระเทพสิทธาจารย์ วิ. (ทอง สิริมงฺคโล) เจ้าอาวาส เป็นหัวหน้าพระวิปัสสนาจารย์หนเหนือ กองการวิปัสสนาธุระ เป็นเจ้าสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ให้การสอน การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ในแนวสติปัฏฐาน 4 ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึงระดับสูง สำหรับภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนผู้ที่สนใจ ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ และมีการจัดให้สอบอารมณ์ ทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)

ที่พัก ทั้งแบบเดี่ยว และแบบหมู่คณะ โดยมีกุฏิสำหรับผู้ปฏิบัติธรรม กว่า 200 หลัง

อาหาร วันละ 2 มื้อ (06.00 น. และ 11.00 น.) เลือกอาหารมังสวิรัติได้

การแต่งกาย ชุดขาว และสุภาพ

ถือศีล 8

Read more »

พระธาตุจอมทอง หรือ พระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

IMG_0948

พระธาตุจอมทอง ตั้งอยู่บนเนินสูงที่เรียกว่า “ดอยจอมทอง” อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จอมทองอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางใต้ประมาณ 58 กิโลเมตร พระบรมธาตุที่ประดิษฐานอยู่ที่นี่เป็น “พระทิกขิณโมฬีธาตุ” (คือกระดูกกระหม่อมด้านขวา) แม้จะมีประวัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลดังที่กล่าวแล้ว แต่สถาปัตยกรรมหลักของวัดนี้ก็มีอายุประมาณไม่เกิน 500 ปี คือสร้างในสมัย พระเมืองแก้ว หรือ พญาแก้วภูตาธิปติราชาเจ้า (พ.ศ. 2038 – 2068) กษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์มังราย ซึ่งยุคนี้อยู่ในช่วงยุคทองของล้านนา แต่พระเจดีย์วัดพระธาตุศรีจอมทองนั้นยังอายุต่ำลงมาอีก คือเป็นเจดีย์แบบหลังสุดของสถาปัตยกรรมล้านนาน เป็นรุ่นหลังสมัยของพระเมืองแก้วลงมาแล้ว
พระธาตุจอมทองนี้มีความพิเศษกว่าพระธาตุทุกองค์ คือ พระบรมธาตุเพียงแห่งเดียวที่สามารถสักการะและสรงน้ำได้โดยตรงและเห็นองค์พระบรมสารีริกธาตุได้ เพราะแม้จะมีเจดีย์อยู่ในวัดแต่พระบรมธาตุกลับประดิษฐานอยู่ภายในกู่ปราสาทปิดทอง ตั้งอยู่ในวิหารจัตุรมุข ซึ่งสร้างโดยพระเมืองแก้ว เมื่อถึง วันวิสาขบูชา และ วันมาฆะบูชา ของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมทอง โดยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกมาให้คนทั่วไปได้สักการะและสรงน้ำ

ขอขอบคุณ http://www.oceansmile.com/

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

1

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นทั้งพระอารามหลวง และเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งอยู่ที่ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง บริเวณที่ตั้งเป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า “ดอยจอมทอง” ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูล้านนา เมืองเชียงใหม่

วัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักขิณโมลีธาตุ พระบรมสาริกธาตุส่วนที่เป็นพระเศียรเบื้องขวาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณเมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง ปัจจุบัน พระบรมสารีริกธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ 5 ชั้นซึ่งประดิษฐานอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลียมจตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร ตามประวัติสร้างโดย “พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช” หรือ “พระเมืองแก้ว” กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2060

การเดินทาง วัดตั้งอยู่ติดกับ ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ที่ 2 ตําบลบ้านหลวง อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 58 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวนิยมไปกราบไหว้สักการะบูชาเป็นอย่างมาก เพราะอยู่ในอำเภอเดียวกับดอยอินทนนท์ นอกจากนี้ยังเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีชวด(หนู)อีกด้วย

ขอขอบคุณ http://www.chillpainai.com

เทศกาล-งานประจำปีพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

ประเพณีสรงน้ำพระธาตุศรีจอมทอง เป็นประเพณีที่จัดขึ้นเป็นประจำทุกปี ในช่วงวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 และวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 7
สำหรับพระบรมธาตุศรีจอมทองนั้นบรรจุอยู่ในพระโกศ มิได้บรรจุไว้ในองค์พระเจดีย์ จึงสามารถนำมาสักการะและสรงน้ำได้ โดยพระภิกษุจะอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกจากพระโกศ 5 ชั้น มาประดิษฐานในพระโกศแก้วใส แล้วแห่ไปทำพิธีที่โบสถ์ ในระหว่างทางชาวบ้านจะโยนข้าวตอกดอกไม้ไปยังพระโกศ เพื่อถวายเป็นสักการะ เมื่อทำพิธีเสร็จก็จะแห่จากโบสถ์ไปยังหอสรงข้างวิหาร หอสรงนี้จะมีรางน้ำเป็นรูปตัวนาคสำหรับใช้สรงน้ำ ตามธรรมเนียมเดิมจะใช้น้ำจากน้ำแม่กลาง เจือน้ำหอมหรือแก่นจันทร์มาใช้สรง หรือจะเป็นน้ำสะอาดเจือของหอมเป็นน้ำสำหรับสรง แต่ปัจจุบันใช้น้ำสะอาดธรรมดา เสร็จแล้วจึงอัญเชิญเข้าจำพรรษาในพระโกศ 5 ชั้น ตามเดิม และกลางคืนพระภิกษุจะสวดเจริญพระพุทธมนต์
ขอขอบคุณ http://www.teeteawthai.com/

สถานที่สำคัญภายในวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่ – ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร เป็นวัดสําคัญคู่เมืองจอมทองเป็นที่เคารพสักการะของชาวเหนือโดยทั่วไป

สถานที่สำคัญภายในวัด
พระอุโบสถ
ลักษณะทรงไทยหน้าบันลงปิดทองสวยงาม สร้างสมัยท่านเจ้าคุณสุวรรณโมลีฯ (สุวรรณบรมธาตุบริหาร) เดิมภายในพระอุโบสถมีประพุทธรูปสามองค์สร้างด้วยไม้แกะสลัก พระประธานในพระอุโบสถเป็นปางถวายเนตร ซึ่งแตกต่างจากพระอุโบสถในล้านนาทั่วไป บริเวณประตูทางเข้าพระอุโบสถได้ฝังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ตามประเพณีของล้านนา จึงไม่อนุญาตให้สุภาพสตรีขึ้นไปยังพระอุโบสถ ภายในมีรูปวาดฝาผนังแสดงตำนานพระธาตุศรีจอมทอง และรูปเทวดาในชั้นต่างๆ
หอพระไตรปิฎก
สร้างสมัยท่านเจ้าคุณสุวรรณโมลีฯ (สุวรรณบรมธาตุบริหาร) อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ สำหรับเก็บพระไตรปิฎก มาบรูณะใหม่ประมาณ พ.ศ. 2534 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2536 สมัยพระครูสุวิทยธรรม
พระเจดีย์บริวาล (พระธาตุน้อย)
ไม่มีระบุว่าได้สร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าอายุประมาณ 300 ปี ได้รับการบอกเล่าว่าสร้างโดยชาวพม่า เมื่อครั้งปกครองนครเชียงใหม่ ศิลปะเป็นแบบมอญ-พม่า สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นคู่กับพระเจดีย์องค์ใหญ่ ให้เกิดการสมดุลกัน ภายในบรรจุสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย แต่ไม่ได้บรรจุพระธาตุไว้ภายใน
พระธาตุศรีจอมทอง
ฐานรูปสี่เหลี่ยม หุ้มทองทั้งองค์ กว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร ศิลปกรรมแบบล้านนา
Read more »

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร Wat Phra That Si Chom Thong–ประวัติความเป็นมา

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร มีบริเวณที่ตั้งเป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่
ตำนานวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร และพระบรมธาตุเจ้าศรีจอมทอง
ดอยจอมทอง หรือ ดอยศรีจอมทองนั้น ในสมัยพุทธกาลมีเมืองตั้งอยู่ใกล้ๆ กับดอยลูกนี้ ชื่อ เมืองอังครัฏฐะมีเจ้าผู้ครองเมืองนามว่า พระยาอังครัฎฐะ พระยาอังครัฎฐะเมื่อได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าได้บังเกิดในโลกแล้ว เวลานี้ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ในประเทศอินเดีย จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด
เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้ว จึงเสด็จสู่เมืองอังครัฏฐะพร้อมด้วยภิกษุสาวกทางอากาศ ได้มารับอาหารบิณฑบาตจาก พระยาอังครัฏฐะ และทรงแสดงธรรมโปรดพร้อมทั้งได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “เมื่อเรานิพพาน แล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวา (พระทักษิณโมลี) ของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่ดอยจอมทองแห่งนี้ ” แล้วเสด็จกลับ พระยาอังครัฏฐะเมื่อได้ทราบจากคำพยากรณ์นั้นแล้ว จึงได้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่ทรงพยากรณ์ไว้นั้น แล้วอยู่ครองราชย์จนสิ้นพระชมมายุ
กาลล่วงมาจนถึงพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไป ณ เมืองกุสินารา และเมื่อได้จัดการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วจึงได้แบ่งพระบรมธาตุเจ้า โดยพระมหากัสสัปปะเถระ ผู้เป็นพระสังฆเถระในที่นั้นได้ขอเอาซึ่ง พระทักษิณโมลีธาตุ (พระบรมธาตุพระเศียรเบื้องขวา ) จากพระเจ้ามัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราได้แล้ว จึงอธิษฐานขอให้พระบรมธาตุเจ้าเสด็จไปประดิษฐานอยู่ที่ยอดดอยจอมทอง ตามที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้
Read more »

ไหว้พระวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

Jomthong

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อวัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทองตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวงอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่เป็นพระธาตุประจำปีชวด วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร บริเวณที่ตั้งเป็นเนินดินสูงประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่าดอยจอมทองตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรมในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

สถานที่สำคัญภายในวัด
พระอุโบสถ
ลักษณะทรงไทยหน้าบันลงปิดทองสวยงาม สร้างสมัยท่านเจ้าคุณสุวรรณโมลีฯ (สุวรรณบรมธาตุบริหาร) เดิมภายในพระอุโบสถมีประพุทธรูปสามองค์สร้างด้วยไม้แกะสลัก พระประธานในพระอุโบสถเป็นปางถวายเนตร ซึ่งแตกต่างจากพระอุโบสถในล้านนาทั่วไป บริเวณประตูทางเข้าพระอุโบสถได้ฝังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ตามประเพณีของล้านนา จึงไม่อนุญาตให้สุภาพสตรีขึ้นไปยังพระอุโบสถ ภายในมีรูปวาดฝาผนังแสดงตำนานพระธาตุศรีจอมทอง และรูปเทวดาในชั้นต่างๆ

หอพระไตรปิฎก
สร้างสมัยท่านเจ้าคุณสุวรรณโมลีฯ (สุวรรณบรมธาตุบริหาร) อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้สำหรับเก็บพระไตรปิฎกมาบรูณะใหม่ประมาณ พ.ศ. 2534 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2536 สมัยพระครูสุวิทยธรรม

Read more »

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

watprathatsrijomthong1

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อวัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทองตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวงอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่เป็นพระธาตุประจำปีชวด วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่าดอยจอมทองตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นใน ราวพุทธ ศตวรรษที่ 20แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

สิ่งสำคัญภายในวัด คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดดอยจอมทองอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุส่วนพระเศียรเบื้องขวา ซึ่งมีความพิเศษแตกต่างจากที่อื่น คือเป็นพระบรมธาตุที่มิได้ฝังใต้ดินแต่ประดิษฐานอยู่ในกู่ภาย ในพระวิหารสามารถอันเชิญ มาสรงน้ำได้ พระบรมธาตุแห่งนี้มีตำนานเล่าว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดอยนี้ และ ทรงพยากรณ์ว่าที่นี่จะเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมธาตุของพระองในภายหน้า ต่อมาราวปี พ.ศ.1995 นางเม็ง และ นานสอยได้พบพระบรมธาตุ จึงได้ก่อพระเจดีย์และสร้าง เสนาสนะที่ดอยดินทอง จึงได้ชื่อว่า วัดจอมทอง ต่อมาพระเมืองแก้วกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์มังรายได้สร้าง พระวิหารขึ้นมา

ประเพณีสำคัญ
– สรงน้ำพระบรมธาตุ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ
– แห่ไม้ค้ำโพธิ์ วันสงกรานต์
– คติของชาวล้านนามีความเชื่อว่าเป็นพระธาตุประจำปีเกิด (ปีชวด)
กิจกรรม
– พิธีทำบุญถวายภัตตาหาร,ฟังเทศน์ทุกวันพระ (วันธัมมัสสวนะ)
– ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฎฐาน ๔) ตลอดทั้งปี
– และกิจกรรมอื่นๆ ตามโอ

Read more »

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร จ.เชียงใหม่ พระอารามหลวง ชั้นตรี

chomthong3

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร ตั้งอยู่หมู่ที่ ๒ ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่

สร้างเมื่อพุทธศักราช ๑๙๙๔ โดยนายสร้อย นางเม็ง เป็นผู้สร้างขึ้นบนดอยจอมทอง จึงได้ชื่อว่า “ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง ” สูงจากที่ราบ ๑๐ เมตร อยู่ทางทิศใต้ของจังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากอำเภอเมือง เชียงใหม่ ๕๘ กิโลเมตร ทางทิศตะวันตกมีเทือกเขาเรียกว่า “ดอยอินทนนท์” และลำน้ำแม่กลาง วัดนี้สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย

– ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อพุทธศักราช ๒๔๗๐
– ได้รับพระราชทานยกฐานะวัดขึ้นเป็นวัดพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิด วรวิหาร เมื่อวันที่ ๓๐ เดือน พฤษภาคม พุทธศักราช ๒๕๐๖
– ได้รับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ประจำปี ๒๕๒๔ ของกรมการศาสนา
– กระทรวงศึกษาธิการได้รับเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ที่มีผลงานดีเด่น ประจำปี ๒๕๓๘ ของกรมการศาสนา กระทรวงศึกษาธิการ

ขอขอบคุณ http://www.dhammathai.org

ก่อนการปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐาน ผู้ปฏิบัติควรจะเตรียมตัวอย่างไร?–สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

___________________10

ก่อนที่จะเริ่มปฏิบัติผู้ปฏิบัติควรจะตัดหรือละไว้ชั่วคราว บ่วง ๑๐ บ่วง (ปลิโพธิ) ซึ่งหากไม่มีการละหรือวาง จะทำให้ไม่สามารถเจริญวิปัสสนาได้ บ่วงทั้ง ๑๐ คือ
o ที่อยู่อาศัย ความกังวลเรื่องที่อยู่อาศัยของตนเอง
o ตระกูล ความกังวล คือตระกูล คือ ตระกูลญาติหรือตระกูลอุปัฏฐาก
o ลาภ ความกังวลถึงผลประโยชน์ในปัจจัย ๔ ,ของรางวัล และรายได้ต่างๆ
o หมู่คณะ ความกังวลถึงบุคคลรอบข้าง
o การงาน ความกังวลถึงหน้าที่การงาน การกระทำ การก่อสร้างต่างๆ
o การเดินทาง ความกังวลถึงการเดินทาง
o ญาติ ความกังวลถึงญาติ คือ ญาติในวัดเช่น พระอาจารย์ และญาติในบ้าน คือ พ่อ แม่ พี่ น้อง
o อาพาธ ,พยาธิ ความกังวลถึงโรคภัยไข้เจ็บที่เกิดขึ้นกับตน
o การศึกษา ความกังวลถึงการศึกษาเล่าเรียน
o อิทธิฤทธิ์ ความกังวลถึงการบรรลุถึงอิทธิฤทธิ์

สิ่งของที่ผู้จะเข้าปฏิบัติต้องเตรียมมีอะไรบ้าง?

บัตรประจำตัวประชาชน หรือ หนังสือสุทธิ(สำหรับพระภิกษุ) ชาวต่างประเทศต้องมีหนังสือเดินทาง และวีซ่าที่สมบูรณ์และถูกต้อง ซึ่งทางสำนักจะเก็บรักษาไว้ตลอดที่ผู้ปฏิบัติเข้าอยู่ปฏิบัติ การแต่งกาย เสื้อ – ผ้า ชุดขาว (หาซื้อได้บริเวณหน้าวัด)
– นักปฏิบัติธรรมชาย เสื้อ – กางเกงขายาวสีขาว
– นักปฏิบัติธรรมหญิง ผ้าถุงหรือกางเกงขายาว – สไบ – เสื้อขาว เสื้อทับในขาว (สวมทับชั้นในให้ดูเรียบร้อย) กระโปรงซับในขาว (เมื่อนุ่งผ้าถุง) ตามแต่ความสะดวกและเหมาะสม
ห้ามเสื้อคอกว้าง – รัดรูป – แขนกุด – เอวลอย

Read more »

สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดพระธาตุศรีจอมทอง วรวิหาร

207

สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดเชียงใหม่ แห่งที่ 1

โดย พระเดชพระคุณ ท่านเจ้าคุณพระธรรมมังคลาจารย์ วิ. (พระอาจารย์ทอง สิริมงฺคโล)
หัวหน้าพระวิปัสสนาจารย์หนเหนือ กองการวิปัสสนาธุระ และเจ้าอาวาสวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร
เป็นเจ้าสำนักวิปัสสนากรรมฐาน ให้การสอน การเจริญวิปัสสนากรรมฐาน ในแนว สติปัฐฐาน ๔
ตั้งแต่ขั้นพื้นฐาน จนถึงระดับสูง สำหรับภิกษุ สามเณร อุบาสก อุบาสิกา ตลอดจนผู้ที่สนใจ ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ และมีการจัดให้สอบอารมณ์พระกรรมฐาน โดยพระวิปัสสนาจารย์ ผู้ผ่านการฝึกฝนการสอบอารมณ์พระกรรมฐาน ทุกวัน (ยกเว้นวันพระ)

สำนักวิปัสสนากรรมฐาน วัดพระธาตุศรีจอมทอง รองรับการฝึกฝน การปฏิบัติเจริญวิปัสสนากรรมฐาน โดยมีที่พัก รองรับ ทั้ง แบบ เดี่ยว และแบบหมู่คณะ โดยมีกุฏิสำกรับผู้ปฏิบัติธรรม มากกว่า ๒๐๐ หลัง

คำแนะนำสำหรับโยคีผู้ปฏิบัติธรรม

การปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานนั้น ผู้ปฏิบัติธรรมสามารถปฏิบัติได้ ภายในกุฏิของตนเอง หรือสถานที่อื่นตามแต่ผู้ปฏิบัติจะเลือก ในการเข้าปฏิบัติวิปัสสนากรรมฐานที่สำนักนี้ ผู้ปฏิบัติธรรมแต่ละท่านจะได้รับคำแนะนำการปฏิบัติจากพระอาจารย์ผู้สอน โดยจะเป็นไปตามแนวทางสติปัฏฐาน ๔ คือ กาย เวทนา จิต และธรรม ซึ่งการปฏิบัติจะประกอบด้วย การนั่งสมาธิ ซึ่งให้ความสำคัญที่การพอง และ ยุบของหน้าท้อง ขณะหายใจ และการเดินจงกรม ซึ่งให้ความสนใจที่การเคลื่อนไหวของเท้า ระหว่างการเดิน การปฏิบัติจะแบ่งออกเป็นชุด (บัลลังค์) โดยเริ่มจากการกราบ ตามด้วยการเดินจงกลม และการนั่งสมาธิ ผู้ที่เริ่มต้นฝึกอาจจะเริ่มที่การเดินจงกลม และการนั่งสมาธิอย่างละ ๑๐ นาที และค่อยๆเพิ่มระยะเวลาการเดิน และการนั่งต่อไป จนถึงการปฏิบัติ ทวนญาณ และ อธิษฐาน ดับสงบ

ชุดที่ใช้ใส่ระหว่างปฏิบัติเป็นสีขาว และสุภาพเรียบร้อย นอกจากนี้ ผู้ปฏิบัติะธรรม จะต้องอาราธนา ถือศีล ๘ คือ

ทางสำนักจะจัดอาหารให้กับผู้ปฏิบัติวันละ ๒ มื้อคือ เช้าเวลา ๐๖.๐๐ น. และเพล เวลา ๑๑.๐๐ น. โดยมีให้เลือกแบบธรรมดาและมังสะวิรัติ สำหรับช่วงเวลาหลังเที่ยงไปจนถึงเช้ามืดของวันรุ่งขึ้นนั้น ผู้ปฏิบัติไม่สามารถรับประทานอาหารอีก (สามารถดื่มนม ชา กาแฟ ได้) สำหรับผู้ที่มีความต้องการเรื่องอาหารเพิ่มเติม สามารถปรึกษากับเจ้าหน้าที่ของสำนักได้เมื่อมาถึง

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .