วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร จ.ลำพูน

พระธาตุหริภุญชัย พระธาตุประจำปีเกิด วัดพระธาตุประจำคนเกิดปีระกา (คนเกิดปีไก่)

วัดพระธาตุหริภุญชัย เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูนมีเนื้อที่ทั้งหมดประมาณ ๒๗ ไร่ ๓ งาน ๘๘ ตารางวา ทิศเหนือ จรดถนนอัฏฐารส ทิศใต้ จรดถนนสุพรรณรังษี ทิศตะวันออก จรดประตูท่าสิงห์ ทิศตะวันตก จรดถนนอินทยงยศ วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร สร้างขึ้นในพุทธศตวรรษที่ ๑๗ ในรัชสมัยของพญาอาทิตยราช กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โดยที่แห่งนี้ เคยเป็นพระราชฐานของพระองค์ซึ่งพระราชทานอุทิศถวายให้เป็นวัดพระธาตุฯ เพื่อเป็นพุทธบูชาหลังจากที่พระบรมสารีริกธาตุได้ปรากฏ ให้พระองค์ได้ทอดพระเนตรในบริเวณดังกล่าวโบราณสถานที่สำคัญในวัดพระธาตุหริ ภุญชัยวรมหาวิหาร

1. พระธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่พญาอาทิตยราชเป็นผู้สถาปนาขึ้นใน ราว พุทธศตวรรษที่ ๑๗ เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนาน พระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาท สี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ใน เมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ ทรงโปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่อง ทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสันฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่ และสูง พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่ เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาล ตราบเท่าทุกวันนี้ Read more »

ประวัติเมือง “หริภุญชัย” และตำนานเจดีย์พระบรมธาตุหริภุญชัย

พระธาตุหริภุญชัย

“ลำพูน” หรือ “หละปูน” หรือชื่อดั้งเดิมมาแต่โบราณกาลว่า “หริภุญชัย” เป็นเมืองที่สร้างเมื่อประมาณปีพุทธศักราช 1200 โดย “วาสุเทพฤาษี” ได้เกณฑ์พวก “เมงคบุตร” เชื้อสายมอญมาสร้างบนผืนแผ่นดินระหว่าง “แม่น้ำปิง” และ “แม่น้ำกวง”

เมื่อสร้างเมือง “หริภุญชัย” เสร็จ เนื่องจาก “วาสุเทพฤาษี” เป็นผู้บำเพ็ญสมาบัติ (การเข้าฌาน) จึงได้ไปเชิญหน่อกษัตริย์จากเมือง “ละโว้” มาปกครองเมืองแทน

“พระยาจักวัติ” ซึ่งเป็นพระมหากษัตริย์แห่งเมืองละโว้ในขณะนั้นไม่ทรงมีราชโอรส จึงได้ส่งราชธิดา คือ “พระนางจามเทวี” มาแทน พระนางจึงเป็นกษัตริย์ครองเมือง “หริภุญชัย” เป็นองค์แรก ซึ่งบ้านเมืองได้เจริญรุ่งเรืองเป็นปึกแผ่นมั่นคง และมีกษัตริย์ปกครองเมืองสืบต่อมาอีกหลายราชวงศ์

จำเนียรกาลผ่านไป ล่วงมาถึงปีพุทธศักราช 1440 กษัตริย์ผู้ครองเมือง “หริภุญชัย” ลำดับที่ 33 คือ “พระยาอาทิตยราช” แห่งราชวงศ์รามัญ โดยมี “พระนางปทุมวดี” เป็นอัครมเหสี บ้านเมืองได้เกิดศึกสงครามหลายครั้งหลายครา แต่ด้วยพระบรมเดชานุภาพ จึงทำให้ศัตรูพ่ายแพ้ไปทุกคราว Read more »

งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย ประจำปี 2557

ประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย_1

จังหวัดลำพูน ขอเชิญเที่ยว “งานประเพณีสรงน้ำพระบรมธาตุหริภุญชัย ประจำปี 2557” ระหว่างวันที่ 6-13 พฤษภาคม 2557 ณ วัดพระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน

พระบรมธาตุหริภุญชัย นับเป็นจอมเจดีย์องค์หนึ่งในจำนวนจอมเจดีย์ 8 องค์ของประเทศไทยที่มีอายุเกินหนึ่งพันปี ปัจจุบันองค์พระบรมธาตุหริภุญชัยมีอายุ 1,115 ปี และเป็นพระราชประเพณีอันสืบมาแต่โบราณกาลที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ได้พระราชทานน้ำสรงและผ้าห่มพร้อมด้วยเครื่องราชสักการะ เพื่อถวายเป็นพุทธบูชาประจำทุกปี Read more »

พระธาตุหริภุญไชย

pratadhariphunchai

วัดพระธาตุหริภุญไชยวรมหาวิหาร เป็นปูชนียสถานสำคัญในภาคเหนือสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่อยู่คู่เมืองลำพูนมาอย่างยาวนานตั้งอดีตนับเวลามากกว่าพันปี ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฏฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทาง ทิศตะวันออก นอกจากนั้นยังเป็นองค์พระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปี ระกา อีกด้วย
พระธาตุหริภุญไชย ลำพูน
ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญไชย ยังมีสิ่งที่น่าสนใจ คือ
พระบรมธาตุหริภุญไชย
เป็นเจดีย์แบบล้านนาไทยแท้ๆ ที่ลงตัวสวยงาม ภายในบรรจุพระเกศบรมธาตุบรรจุในโกศทองคำ ประดิษฐานในพระเจดีย์ ประกอบด้วยฐานปัทม์ แบบฐานบัวลูกแก้ว ย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้น ตั้งรับองค์ระฆังกลม บัลลังก์ย่อเหลี่ยม เจดีย์มีลักษณะใกล้เคียงกับ พระธาตุดอยสุเทพที่จังหวัดเชียงใหม่ สูง 25 วา 2 ศอก ฐานกว้าง 12 วา 2 ศอก 1 คืบ มีสัตติ- บัญชร (รั้วเหล็กและทองเหลือง) 2 ชั้น สำเภาทอง ประดิษฐานอยู่ประจำรั้วชั้นนอกทั้งทิศเหนือ และทิศใต้ มีซุ้มกุมภัณฑ์ และฉัตรประจำสี่มุม และหอคอยประจำทุกด้านรวม 4 หอ บรรจุพระพุทธรูป นั่งทุกหอ นอกจากนี้ยังมีโคมประทีป และแท่นบูชาก่อประจำไว้เพื่อเป็นที่สักการะบูชาของพุทธศาสนิกชนทั่วไป Read more »

ประวัติพระธาตุหริภุญชัย พระธาตุประจำปีระกา

original_พระธาตุปีระกา

พระธาตุหริภุญชัย จังหวัดลำพูน เป็นปูชยสถานที่สำคัญยิ่งอีกแห่งหนึ่งของดินแดนล้านนาไทย มาแต่โบราณกาล ประมาณหนึ่งพันปีมาแล้ว บรรดาเจ้านครต่าง ๆ ในดินแดนส่วนนี้ได้มีความเคารพนับถือและศรัทธา ได้รับภาระในการปฏิสังขรณ์กันต่อมาจนถึงทุกวันนี้ องค์พระธาตุเป็นรูปทรงแบบลังกา ฝีมือประนีต และมีความคงทนถาวรมาก

ตามประวัติกล่าวว่า เมื่อปี พ.ศ. ๑๔๔๐ พระเจ้าอาทิตยราช กษัตริย์วงค์รามัญผู้ครองนครลำพูน เป็นลำดับที่ ๓๓ มีศรัทธาเลื่อมใสในพุทธศาสนาอย่างยิ่ง ได้ทรงรับเอาพระพุทธศาสนาจากเมืองมอญ มาประดิษฐานที่นครลำพูน และได้ทรงสร้างพระมณฑป เพื่อประดิษฐานพระบรมธาตุ สูงสามวา มีซุ้มทั้งสี่ด้าน ครอบโกศสูงสามศอก แล้วบรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน ดังนั้นจึงเป็นที่รู้กันทั่วไปว่า บรรดาบ้านเรือนในนครลำพูน จะต้องสร้างไม่ให้สูงเกินสามศอก เพื่อให้สูงกว่าองค์พระบรมธาตุ Read more »

พระธาตุหริภุญชัย : พระธาตุประจำปีเกิดปีระกา

DSCN0410

วัดพระธาตุหริภุญชัยวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ใจกลางเมืองลำพูน มีถนนล้อมรอบสี่ด้าน คือ ถนนอัฎฐารสทางทิศเหนือ ถนนชัยมงคลทางทิศใต้ ถนนรอบเมืองทางทิศตะวันออก และถนนอินทยงยศทางทิศตะวันตก ห่างจากศาลากลางจังหวัดประมาณ 150 เมตร สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1651 ในสมัยพระเจ้าอาทิตยราช เปิดให้เข้าชมตั้งแต่เวลา 06.00 – 18.00 น. ชาวต่างชาติเสียค่าเข้าชม 20 บาท ภายในบริเวณวัดพระธาตุหริภุญชัยยังมีสิ่งที่น่าสนใจคือ ซุ้มประตู ก่อนเข้าไปในบริเวณวัด จะผ่านซุ้มประตูฝีมือโบราณสมัยศรีวิชัย ก่ออิฐถือปูนประดับลวดลายวิจิตรพิสดาร ประกอบด้วยซุ้มยอดเป็นชั้นๆ เบื้องหน้าซุ้มประตูมีสิงห์ใหญ่คู่หนึ่งยืนเป็นสง่าบนแท่นสูงประมาณ 1 เมตร สิงห์คู่นี้ปั้นขึ้นในสมัยพระเจ้าอาทิตยราชเมื่อทรงพระราชให้เป็นสังฆาราม
วิหารหลวง เมื่อผ่านซุ้มประตูเข้าไปแล้ว จะเห็นวิหารหลังใหญ่เรียกว่า “วิหารหลวง” เป็นวิหารหลังใหญ่มีพระระเบียงรอบด้าน และมีมุขออกทั้งด้านหน้าและด้านหลัง เป็นวิหารที่สร้างขึ้นใหม่แทนวิหารหลังเก่า ซึ่งถูกพายุพัดพังทลายไปเมื่อ พ.ศ. 2458 วิหารหลวงใช้เป็นที่บำเพ็ญกุศล และประกอบศาสนกิจทุกวันพระ ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธปฏิมาใหญ่ 3 องค์ก่ออิฐถือปูน ลงรักปิดทองบนแท่นแก้วและยังมีพระพุทธปฏิมาหล่อโลหะขนาดกลางสมัยเชียงแสนชั้นต้นและชั้นกลางอีกหลายองค์ Read more »

เส้นทางวัดพระธาตุหริภุญชัย

the-trippacker-hariphunchai-temple-map-th

ที่อยู่ : ถนนอินทยงยศ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดลำพูน 51000
GPS : 18.576983, 99.008950
เบอร์ติดต่อ : 0 5351 1104
Fax : 0 5353 0753
Website : http://www.hariphunchaitemple.org
เวลาทำการ : 6.00-18.00 น.
ค่าธรรมเนียม : คนไทยฟรี ชาวต่างชาติ คนละ 50 บาท
ช่วงเวลาแนะนำ : ตลอดทั้งปี
ไฮไลท์ : องค์พระธาตุหริภุญชัยซึ่งถือว่าเป็นพระธาตุประจำของคนเกิดปีระกา นอกจากนี้ยังมีโบราณสถานต่างๆ ภายในบริเวณวัดมากมาย ซึ่งมีอายุไม่ต่ำกว่าร้อยปี
กิจกรรม : สักการะขอพรจากพระธาตุประจำปีเกิด เดินชมความงดงามของสถาปัตยกรรม และเรียนรู้ประวัติศาสตร์ของวัด Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย สักการะพระธาตุประจำปีไก่ แห่งเมืองลำพูน

 

hariphunchai-temple05

ในแต่ละปีซึ่งหมุนเวียนไปตามปีนักษัตร เรามักจะได้ยินคำเชิญชวนให้ไปไหว้พระธาตุประจำปีนักษัตรนั้นๆ เพื่อความเป็นสิริมงคล ยิ่งถ้าหากเป็นบุคคลที่เกิดในปีนักษัตรนั้นก็ยิ่งสมควรหาโอกาสไปสักการะให้ ได้ซักครั้ง ซึ่งความเชื่อเรื่องการไหว้พระธาตุประจำปีเกิดนั้น เป็นคติความเชื่อดั้งเดิมของชาวล้านนาที่สืบทอดกันมายาวนาน ด้วยมีความเชื่อแต่โบราณว่า ก่อนที่วิญญาณจะมาเกิดในครรภ์มารดานั้น ดวงวิญญาณจะมาพักอยู่ที่เจดีย์ โดยมี “ตัวเปิ้ง” หรือสัตว์ประจำนักษัตรพามาพักไว้ เมื่อได้เวลาดวงวิญญาณจึงเคลื่อนจากพระเจดีย์ไปสถิตอยู่บนกระหม่อมของบิดา แล้วจึงเคลื่อนสู่ครรภ์มารดา และเมื่อเราสิ้นอายุขัยลง ดวงวิญญาณจะกลับไปสถิตอยู่ที่พระธาตุเจดีย์ตามปีเกิดนั้นๆ ตามเดิม ดังนั้นในช่วงชีวิตหนึ่งเราควรหาโอกาสไปกราบไหว้พระธาตุประจำปีเกิดให้ได้ ซักครั้งในชีวิต ซึ่งครั้งนี้เราจะพาผู้ที่มีปีนักษัตรตรงกับ “ปีระกา” ไปเสริมสิริมงคลกันที่ “วัดพระธาตุหริภุญชัย วรมหาวิหาร” กัน Read more »

โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดพระธาตุหริภุญชัย

พระบรมธาตุหริภุญชัย เป็นโบราณสถานอันสำคัญของนครหริภุญชัยที่ พระเจ้าอาทิตยราช เป็นผู้สถาปนาขึ้นในราว พุทธศตวรรษที่ 17 เพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ อันมี ธาตุกระหม่อม ธาตุกระดูกอก ธาตุกระดูกนิ้วมือ และธาตุย่อยอีกเต็มบาตรหนึ่ง ตามพุทธทำนายลักษณะทางสถาปัตยกรรมขององค์พระธาตุหริภุญชัย ตามที่ปรากฏในหนังสือตำนานพระธาตุหริภุญชัย กล่าวว่า มีลักษณะ เป็นสถูปสี่เหลี่ยมทรงปราสาท ที่มีซุ้มทวาร เข้า- ออกทะลุกันได้ทั้งสี่ด้าน มีปราสาทสี่เหลี่ยมอยู่ตรงมุมละองค์ก่อด้วยศิลาแลงซึ่งเป็นวัตถุดิบที่มีมากอยู่ในเมืองนี้ ภายในเป็นแท่น สำหรับประดิษฐาน พระโกศที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ในสมัยของพญาสรรพสิทธิ์ กษัตริย์แห่งราชวงศ์จามเทวีวงศ์ โปรดให้ปฏิสังขรณ์เจดีย์เดิมที่พญาอาทิตยราชทรงสร้างไว้และได้ขุดร่องทวารประตูเข้า-ออก ทั้งสี่เพื่อความปลอดภัย รูปทรงสัณฐานขององค์พระบรมธาตุยังคงเป็นลักษณะเดิม คือ เป็นทรงปราสาทสี่เหลี่ยมที่กว้างใหญ่และสูง เมื่อ พญามังราย ตีเมืองหริภุญชัยได้ โปรดให้ซ่อมแซมดัดแปลงองค์พระธาตุขึ้นใหม่ การปฏิสังขรณ์ครั้งนี้เป็นการเปลี่ยนแปลงทรวดทรง ขององค์พระธาตุฯ จากทรงปราสาทกลายเป็นทรงเจดีย์ฐานกลมแบบทรงลังกา ในสมัยของพระเจ้าแสนเมืองมาประมาณปี พ.ศ. 1951 โปรดให้มีการปิดทององค์พระธาตุ พ.ศ. 1990 พระเจ้าติโลกราชกษัตริย์องค์สำคัญแห่งเมืองเชียงใหม่ ทรงร่วมกับพระมหาเมธังกรเถระ ก่อพระมหาเจดีย์ให้สูงขึ้นเป็น 92 ศอก กว้างยาวขึ้น 52 ศอก เป็นรูปร่างที่เห็นเป็นอยู่ในปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org

ลักษณะทางสถาปัตยกรรมวัดพระธาตุหริภุญชัย

ฐานปัทม์แบบฐานบัวลูกแก้วย่อเก็จ ต่อจากฐานบัวลูกแก้วเป็นฐานเขียงกลมสามชั้นรับฐานบัวซึ่งมีลักษณะคล้าย มาลัยเถาสามชั้นซึ่งตั้งรับองค์ระฆังกลม องค์ระฆังประดับด้วยลวดลายดอกไม้สี่กลีบระหว่างลายดอกไม้สี่กลีบนั้นมีการดุนนูนเป็นภาพพระพุทธรูป รอบองค์ระฆังซึ่งมองเห็นได้อย่างชัดเจน เหนือขึ้นไปเป็นบัลลังก์ย่อมุม ส่วนบนเป็นปล้องไฉน ปลียอดเหนือสุดทำเป็นฉัตรเก้าชั้น นอกจากนี้พระเจ้าติโลกราช ได้โปรดให้ก่อกำแพงโดยรอบเขตพุทธาวาสเพื่อเป็นการป้องกันรักษาองค์พระธาตุอีกชั้นหนึ่ง ทั้งยังทรงให้ก่อสร้างซุ้มประตูโขงประดับด้วยลวดลายปูนปั้นอย่างงดงามทางประตูด้านทิศตะวันออกหน้าวิหารหลวงทางทิศเหนือและทางทิศใต้และ ทิศตะวันตก ปัจจุบันคงเหลือแต่ซุ้มประตูโขง ทางทิศตะวันออก และทางด้านทิศใต้ปี พ.ศ. 2054 พระเมืองแก้ว กษัตริย์นครเชียงใหม่โปรดให้หุ้มบุองค์พระธาตุ ด้วยแผ่นทองจังโกฐ ที่เป็นแผ่นทองแดง และทรงให้ปิดทองทั้งหมดพร้อมๆ กับโปรดให้สร้างระเบียงหอก ทำด้วยทองเหลืองซึ่งสั่งทำจากเมืองเชียงแสนขึ้นเป็นรั้วล้อมโดยรอบขององค์พระธาตุด้วย โปรดให้สร้างวิหารหลวงทางด้านทิศตะวันออกขององค์พระธาตุหริภุญชัยเป็นศิลปะล้านนา นอกจากนี้ยังสร้างกำแพงเมือง และขุดคูโดยรอบกำแพงเมืองใหม่ขึ้น เป็นการย่นย่อตัวเมืองหริภุญชัยให้มีขนาดเล็กลงเพื่อเป็นการสะดวกที่จะดูแลรักษาองค์พระธาตุให้ง่ายยิ่งขึ้น ซึ่งในการสร้างกำแพงเมืองในครั้งนี้ทำให้วัดสี่มุมเมืองที่สำคัญและสร้างขึ้นในสมัยของพระนางจามเทวีกลายเป็นวัดนอกเมืองลำพูนไป ในปี พ.ศ. 2329 ในสมัยของพระเจ้ากาวิละเจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ได้มีพระราชศรัธทาตั้งฉัตรหลวงสี่มุม และยกฉัตรยอดเป็นทองคำเนื้อเจ็ด ฐานฉัตรกว้าง 1 เมตร พระธาตุเจ้าหริภุญชัยเป็นที่เคารพสักการบูชาของชาวลำพูนและชาวเมืองเหนือมาแต่โบราณกาลตราบเท่าทุกวันนี้ Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย–เจ้าอาวาสวัดตั้งแต่อดีตถึงปัจจุบัน

รายนามเจ้าอาวาสวัดพระธาตุหริภุญชัย
ปี พ.ศ. เจ้าอาวาสยุคต้น ๆ ไม่ปรากฏชัดเจน ต่อไปนี้เป็นรายนามเจ้าอาวาสของวัดพระธาตุหริภุญชัยทั้งหมด ดังต่อไปนี้

1. พระมหาราชโมฬีสารีบุตร พ.ศ. –
2. พระราชโมฬี พ.ศ. –
3. พระคัมภีร์ คมฺภีโร พ.ศ. –
4. พระวิมิลญาณมุนี พ.ศ. 2476 – 2486
5. พระครูจักษุธรรมประจิตร พ.ศ. 2486 – 2489
6. พระธรรมโมลี พ.ศ. 2489 – 2533
7. พระเทพมหาเจติยาจารย์ (หลวงพ่อไพบูลย์ ภูริวิปโล) พ.ศ. 2533 – 2556
8. พระราชปัญญาโมลี (รักษาการณ์ เจ้าอาวาส) ปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://www.hariphunchaitemple.org

วัดพระธาตุหริภุญชัย–ยุครัตนโกสินทร์สู่ปัจจุบัน

ยุครัตนโกสินทร์
ในช่วงก่อนหน้านั้น วัดกลายเป็นวัดร้างไปชั่วระยะหนึ่งเนื่องจากกษัตริย์ในยุคนั้น ๆ มัวยุ่งอยู่กับการทำศึกกับพม่า และล้านนาไทยก็เคยตกอยู่ภายใต้อำนาจของพวกพม่าและมอญ ร่วม 200 กว่าปี

จวบจนกระทั่งปี พ.ศ. 2317 พระเจ้ากาวิละ ได้ยึดอาณาจักรล้านนาไทยกลับคืนมาจากพม่า และในปี พ.ศ. 2348 พระเจ้ากาวิละ ได้ทรงสถาปนา พระอนุชาของพระองค์ทั้ง 2 คือ คำฟั่นและบุญมา ขึ้นเป็นพระยาคำฟั่น ครองเมืองลำพูนเป็นองค์แรก ส่วนองค์เล็กเป็นเจ้าบุญมาทำหน้าที่เป็นพระอุปราช และเจ้าทั้งสองได้ช่วยกันบูรณะและพัฒนาวัดพระธาตุหริภุญชัยให้เจริญและมั่นคง

องค์พระบรมธาตุหริภุญชัยมีรั้วทองเหลืองล้อมรอบ ๒ ชั้นทั้งสี่ด้าน รั้วดั้งเดิมนั้น พระเมืองแก้วโปรดให้นำมาจากเมืองเชียงแสน ต่อมาในปี พ.ศ.๒๓๒๙ พระเจ้ากาวิละได้มา บูรณะใหม่พร้อมกับให้ สร้างฉัตรหลวงตั้งไว้ที่มุมทั้งสี่ของรั้วที่ล้อมองค์พระธาตุ

ในปี พ.ศ.๒๓๓๔ พระเจ้ากาวิละได้พร้อมใจกับน้องของท่านทุกคนได้ร่วมกันสร้าง หอยอประจำทิศทั้ง ๔ ด้าน และได้หล่อพระพุทธรูปองค์หนึ่งเพื่อประดิษฐานไว้ในวิหาร ด้านเหนือพระธาตุเป็นพระ พุทธรูปปางอุ้มบาตรให้ชื่อว่า พระละโว้

Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย–สมัยนครหริภุญชัย

จากเขตพระราชฐานเป็นเขตพุทธาวาส

กาลเวลาล่วงมาจนถึงปีจุลศักราช 238 พระพุทธศาสนาล่วงไปได้ 1,420 ปี ณ อาณาบริเวณที่เป็นวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ ในปัจจุบันนี้ เมื่อครั้งนั้น เป็นเขตพระราชฐานแห่งพระเจ้าอาทิตยราชองค์ที่ 30 กษัตริย์ผู้ครองเมืองหริภุญชัยในสมัยนั้น พระองค์โปรดให้สร้างปราสาทราชมณเฑียรเป็นที่ประทับ ครั้นเสร็จแล้วพระองค์ก็เข้าประทับอยู่ภายในปราสาทราชมณเฑียรแห่งนั้น วันหนึ่งพระองค์จะเสด็จไปสู่วสัญชนฐาน(ห้องน้ำ) ปรากฏมีกาตัวหนึ่งได้บินโฉบลงมาเป็นทำนองกันไม่ให้พระองค์เข้าไปถึงฐานนั้นได้ ด้วยความกริ้วพระองค์จึงต้องย้ายไปใช้ฐานอื่น และทรงมีกระแสรับสั่งให้จับกาตัวการนั้นมาฆ่าเสีย แต่เทวดาได้ดลใจให้อำมาตย์ ผู้หนึ่งทัดทานไว้เพราะสงสัยในพฤติการณ์ของกานั่นเอง คืนนั้นยามใกล้รุ่ง เทวดาผู้รักษาพระเกสธาตุได้สำแดงฤทธิ์มาในพระสุบินถวายคำแนะนำให้พระองค์นำทารกมาอยู่กับกา ๗ วัน และอยู่กับคน ๗ วัน เป็นเวลา ๗ ปี เมื่อถึงเวลานั้นเด็กก็จะสามารถแปลภาษากาให้คนได้รับทราบเหตุการณ์อันเป็นปริศนานั้นได้โดยชัดแจ้ง
พระเจ้าอาทิตยราชจึงทรงทราบเรื่องราวเกี่ยวกับพระเกสธาตุโดยละเอียด พระเจ้าอาทิตยราชจึงโปรดให้เชิญ พระยากาเผือกมาสู่ ปราสาทแห่งพระองค์ โดยพระองค์โปรดให้จัดสถานที่สำหรับต้อนรับพระยากาเผือกอย่างสมฐานะพระยาแห่งกาทั้งปวง พระยากาเผือกจึงเล่า ความเป็นมาถวายทุกประการ พระเจ้าอาทิตยราชทรงมีพระราชหฤทัยอภิรมย์ยินดีเป็นอย่างยิ่ง จึงตรัสสั่งให้รื้อ ราชมณเฑียรทั้งปวงออกไป จากสถานที่แห่งนั้นจนหมดสิ้น แล้วโปรดให้ปรับพื้นที่อันเป็นมงคลนั้นให้เรียบงามตา พระองค์โปรดให้ พระสงฆ์สวดพระปริตตมงคล เพื่ออาราธนาพระบรมธาตุให้ออกมาปรากฏ พระธาตุเจ้าจึงสำแดงฤทธาภินิหารโผล่ขึ้นมาพ้นแผ่นดิน ทั้งโกศแก้วลอยขึ้นไปในอากาศ สูงเท่าต้นตาล พระบรมธาตุได้เปล่งฉัพพัณรังสีเจิดจ้าไปทั่วนครหริภุญชัยเป็นเวลา ๗ เวลา ๗ คืน แล้วจึงลอยลงมาประดิษฐานบนแผ่นดิน ดังเดิม พระเจ้าอาทิตยราชโปรดให้ขุดเอาโกศบรรจุพระธาตุขึ้นมา แต่ทว่ายิ่งขุดโกศนั้นก็ยิ่งจมลงไป พระองค์จึงต้องบูชาอาราธนาพระธาตุ จึงได้ยอมลอยขึ้นมาสูงจากพื้นดินถึง ๓ ศอก พระองค์จึงให้สั่งรื้อถอนปราสาทราชมณเฑียรทั้งหมดออกไปตั้งราชสำนัก ณ ที่อื่น Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย–สมัยพระพุทธกาล

พระดำรัสพยากรณ์ของพระพุทธเจ้า

ในสมัยพุทธกาล สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าได้เคยเสด็จมาบิณฑบาตยังชัยภูมิแห่งหนึ่ง ซึ่งเป็นที่อยู่ของชาวเม็ง หรือ มอญ เมื่อรับบิณฑบาตแล้ว ก็ได้เสด็จ เลียบฝั่งแม่น้ำระมิงค์ขึ้นมาทางทิศเหนือจนถึงสถานที่แห่งหนึ่งพระพุทธเจ้าจึงทรงหยุดพัก ประทับอยู่บนหินก้อนหนึ่ง และทรงวางบาตรไว้ด้านข้าง ขณะนั้นมี พญาชมพูนาคราชและพญากาเผือก ได้มาปรนนิบัติและอุปฐากพระพุทธองค์อย่างใกล้ชิด และได้มีชาวลั๊วะผู้หนึ่งได้นำเอาลูกสมอมาถวายพระพุทธเจ้า เมื่อพระพุทธองค์ได้เสวยลูกสมอนั้นแล้ว จึงทรงทิ้งขว้างเมล็ดลูกสมอเหล่านั้นลงบนพื้นดินพร้อมกับตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “ สถานที่แห่งนี้ต่อไปภาคหน้า หลังจากเราตถาคตได้นิพพานไปแล้ว จะเป็นที่ตั้งของหริภุญชัยนคร และยังจะเป็นที่ประดิษฐานของพระสุวรรณเจดีย์อีกด้วย”
พระบรมธาตุของพระพุทธเจ้า

เมื่อพระพุทธเจ้าได้เสด็จ ดับขันธ์นิพพานไปได้ 218 ปี พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้พบพระบรมธาตุของพระพุทธเจ้าที่เมืองราชคฤห์ จึงเกิดศรัทธาเลื่อมใสอยากจะสร้างพระเจดีย์บรรจุพระบรมธาตุเหล่านั้นให้ได้ 84,000 แห่ง จึงมอบให้พระเถระทั้งหลายอัญเชิญพระบรมธาตุไปบรรจุในเจดีย์ยังเมืองต่าง ๆ ทั่วแคว้นชมพูทวีป สันนิษฐานว่าประเทศไทยเราก็คงได้รับส่วนแบ่งพระบรมธาตุในครั้งนั้นด้วยและตำนานท้องถิ่นบางแห่งยังบอกว่า พระกุมาระกัสสะปะเถระ และ พระเมฆิยะเถระ เป็นผู้อัญเชิญพระบรมธาตุจากพระยาศรีธรรมาโศกราช มาไว้ที่ลัมภะกัปปะนคร และหริภุญชัยนคร

*** ซี่งในกาลต่อมาพระเจ้าอาทิตยราชได้มาบูรณะพระธาตุหริภุญชัย และ พระเจ้าจันทะเทวะราช มาบูรณะพระธาตุลัมภะกัปปะนคร ปัจจุบันคือวัดพระธาตุลำปางหลวง Read more »

วัดพระธาตุหริภุญชัย–ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัยฯ

ชื่อของวัดพระธาตุหริภุญชัยมาจากชื่อของเมืองหริภุญชัย ตามที่พระพุทธองค์ได้ทรงพยากรณ์ไว้เมื่อครั้งเสด็จมาบิณฑบาตในสมัยพระพุทธกาลและได้แวะรับและฉันลูกสมอ ที่ชาวลั๊วะนำมาถวาย โดยได้ทรงพยากรณ์ไว้ตอนนั้นว่า สถานที่แห่งจะมีผู้มาสร้างเมืองและตั้งชื่อว่า “หริภุญชัยนคร” และในกาลต่อมาก็มี ฤาษี 2 องค์ ชื่อว่า วาสุเทพ และ สุกกทันตะ ได้ร่วมกันสร้างเมือง ณ สถานที่แห่งนี้ และให้ชื่อเมืองว่า หริภุญชัยนคร ในปี พ.ศ. 1204 สมจริงตามคำพยากรณ์ของพระพุทธองค์ทุกประการ

หริภุญชัยนคร แปลว่าเมืองที่พระพุทธเจ้าเคยเสวยลูกสมอ (หริ แปลว่า สมอ, ภุญชัย แปลว่า เสวย, นคร แปลว่า เมือง)
ส่วนพระบรมธาตุนั้น แต่เดิมเก็บรักษาไว้ในกระบอกไม้รวกและใส่ไว้ในโกศแก้วอีกชั้นหนึ่ง ต่อมากษัตริย์ผู้ครองนครลำพูนทุกพระองค์ก็ได้บูรณะและพัฒนาขึ้นตามลำดับ โดยเปลี่ยนจากโกศแก้วเป็นโกศทองและเปลี่ยนเป็นมณฑป ในที่สุดเป็นเจดีย์และมีการขยายขนาดของเจดีย์และมีการขยายขนาดเจดีย์ให้ใหญ่ขึ้นเรื่อย ๆ จนกระทั่งสูงถึง 25 วาครึ่ง กว้าง 12 วาครึ่ง ดังปรากฏให้เห็นอยู่ทุกวันนี้และเรียกชื่อว่า “วัดพระธาตุหริภุญชัย”

ขอขอบคุณ http://www.hariphunchaitemple.org

. . . . . . .
. . . . . . .