พระปางป่าเลไลยก์ วัดศาลาทอง

.pptl195

พระปางป่าเลไลยก์ วัดศาลาทอง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา
พระปางป่าเลไลยก์ เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นประทับนั่งห้อยพระบาท พระหัตถ์ซ้ายคว่ำ พระหัตถ์ขวาหงายขนาด หน้าตักกว้าง ๓.๑๐ เมตร สูง ๕.๑๐ เมตร ศิลปะสมัยอยุธยาตอนปลาย พุทธศตวรรษที่ ๒๒ – ๒๓ ประดิษฐาน เป็นพระ พุทธปฏิมาประธานในพระอุโบสถ เดิมประดิษฐาน อยู่กล้างแจ้ง

ต่อมาเมื่อได้สร้างอุโบสถครอบองค์พระด้านหลังอุโบสถมีพระสัมมาสัมพุทธเจดีย์ศรีสิงหนาทเป็นเจดีย์ที่สร้างครอบองค์เดิมไว้ ภายในประดิษ ฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้อัญเชิญมาจากเมืองเชียงตุง วัดศาลาทองเป็นวัดเก่าแก่โบราณ สร้างในสมัยขอมเรืองอำนาจ ตั้งอยู่บ้านหัวทะเล ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่เศษ เดิมเรียกว่า “วัดป่าเลไลยก์” ได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดป่าเลไลยก์ ทอง” เมื่อสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดฯให้สร้างเมือง “โฆราฆะปุระ” เป็นเมือง “นครราชสีมา” แล้ววัดนี้จึงได้เปลี่ยนชื่อเป็น “วัดศาลาทอง” สืบมาถึงปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://www.danpranipparn.com/

วัดศาลาทอง

207896

วัดศาลาทอง เป็นวัดธรรมยุต ตั้งอยู่ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา ตั้งแต่สมัยขอมยังเรืองอำนาจ ปกครองแผ่นดิน ปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ ๑๒ ถ.เบญจรงค์ ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา ๓๐๐๐๐ ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ ๕๐ ไร่เศษ ทิศตะวันออกติดกับโรงเรียนบ้านหัวทะเล ทิศตะวันตกดิดกับวัดศาลาเย็น ทิศเหนือติดกับสระน้ำ ทิศใต้ติดกับบ้านหนองโสน วัดแห่งนี้เมื่อสมัยขอมยังปกครองอยู่มีชื่อว่า “วัดป่าเลไลย์”ต่อมาเปลี่ยนมาเป็น”วัดป่าเลไลย์ทอง”และเมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงปกครองแผ่นดินสยาม ทรงโปรดให้สร้างเมือง”โคราฆปุระ”หรือเมืองโคราช จ.นครราชสีมาในปัจจุบัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น”วัดศาลาทอง”จวบจนปัจจุบัน สิ่งปลูกสร้างภายในวัด ๑.พระอุโบสถทรงจตุรมุขหรือมีหน้าบัน ๔ ด้าน อย่างพระปรางค์ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้งถ้าตัดมุขทั้ง ๔ ด้านออก ซึ่งจะไม่เหมือนรูปอุโบสถอย่างไทยนิยนในปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

วัดศาลาทอง

ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 1 กิโลเมตร เป็นวัดธรรมยุติ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางป่าเลไลยก์ ทำจากหินประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาจึงได้สร้างพระอุโบสถครอบไว้ ในวัดนี้มีเจดีย์ใหญ่สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงตุง ทุก ๆ ปีในเทศกาลตรุษสงกรานต์จะมีพิธีสักการะพระพุทธรูปเป็นประจำ

ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/

วัดศาลาทอง จ.นครราชสีมา

92c984af71905b0229403edf6b9eeb_178_196_fit

ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 1 กิโลเมตร เป็นวัดธรรมยุติ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางป่าเลไลยก์ ทำจากหินประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาจึงได้สร้างพระอุโบสถครอบไว้ ในวัดนี้มีเจดีย์ใหญ่สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงตุง ทุก ๆ ปีในเทศกาลตรุษสงกรานต์จะมีพิธีสักการะพระพุทธรูปเป็นประจำ

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

วัดศาลาทอง

2010_11_05_130058_lqifhbx3

เป็นที่ตั้งของวัดเก่าแก่ ตั้งอยู่ที่บ้านหัวทะเล ต.หัวทะเล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ประมาณ 1 กิโลเมตร วัดศาลาทอง เป็นวัดธรรมยุติเก่าแก่
ตั้งอยู่บนเนิน เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางเลไลย์ทำจากหิน ต่อมาจึงได้สร้างอุโบสถครอบไว้ในวัดนี้เดิมมีพระบรมสารีริกธาตุ
ซึ่งอันเชิญมาจากเชียงตุง 4 องค์ ต่อมาอีก 2 องค์ ถูกอันเชิญไปบรรจุเจดีย์ที่วัดพระศรีมหาธาตุ บางเขน กรุงเทพฯ เหลือเพียง 2 องค์
จึงได้สร้างพระเจดีย์องค์ใหญ่ครอบพระเจดีย์เดิมไว้ ในทุก ๆ ปี จะมีเทศกาลตรุษสงกรานต์ได้มีพิธีไหว้พระพุทธรูปเป็นประจำปี

ขอขอบคุณ http://www.rakkorat.com/

วัดศาลาทอง

วัดศาลาทอง ตั้งอยู่ต.ในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา เป็นวัดราษฎร์ วัดศาลาทองเป็นวัดธรรมยุติกนิกาย เก่าแก่ตั้งแต่สมัยขอมยังเรืองอำนาจ ปกครองแผ่นดิน ปัจจุบัน ตั้งอยู่เลขที่ 12 ถ.เบญจรงค์ ต.ในเมือง อ.เมืองนครราชสีมา จ.นครราชสีมา 30000 ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่เศษ ทิศตะวันออกติดกับโรงเรียนบ้านหัวทะเล ทิศตะวันตกตดิดกับวัดศาลาเย็น ทิศเหนือติดกับสระน้ำ ทิศใต้ติดกับบ้านหนองโสน วัดแห่งนี้ครั้นเมื่อสมัยขอมยังปกครองอยู่มีชื่อว่า “วัดป่าเลไลย์”ต่อมาเปลี่ยนมาเป็น”วัดป่าเลไลย์ทอง”และเมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงปกครองแผ่นดินสยาม โปรดให้สร้างเมือง”โคราฆปุระ”หรือเมืองโคราช จ.นครราชสีมาในปัจจุบัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น”วัดศาลาทอง”จวบจนปัจจุบัน สิ่งปลูกสร้างภายในวัด 1.พระอุโบสถทรงจตุรมุขหรือมีหน้าบัน 4 ด้าน อย่างพระปรางค์ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้งถ้าตัดมุขทั้ง 4 ด้านออก ซึ่งจะไม่เหมือนรูปอุโบสถอย่างไทยนิยนในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีหลังคาลาดชัน การบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อปีพุทธศักราช 2481 นางเลียบ ชิ้นในเมืองพร้อมด้วยผู้มีจิตศรัทธาทั้งหลาย ร่วมกันสละทุนทรัพย์สร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่เป็นไม้ มีความทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ตั้งแต่สัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นลักษณะเดิมแต่เป็นคอนกรีตทั้งหลัง เพื่อคงรักษาลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมอย่างขอมโบราณ ผู้ออกแบบพระอุโบสถคือ พระครูปลัดสัมพิพัฒน์วิริยาจารย์ (พระมหาสุทัศน์ สุทสสโน ป.ธ.6)ได้ป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง นำพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนร่วมกันก่อสร้างจนสำเร็จสมบูรณ์ เมื่อพุทธศักราช 2483 ต่อมาเมื่อพุทธศักราช 2535 ได้มีการบูรณะเปลี่ยนกระเบื้องหลังคาครั้งใหญ่แทสีใหม่ทั้งหลัง โดยการนำของพลตำรวจตรีชนัน ชานะมัย อดีตผู้บังคับการตำรวจภูธรภาค 3 อีกคราวหนึ่งเมื่อปีพุทธศักราช 2547 มีการบูรณะโครงหลังคาจากไม้เป็นโครงเหล็กทั้งหลัง รวมถึงบันไดทางขึ้นอุโบสถทั้ง 4 ด้านโดย พระครูสิริเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสองค์ปัจจุบัน 2.พระประธาน เป็นปางป่าเลไลย์ทรงนั่งห้อยพระบาททั้งสองเฉกเดียวกับปางปฐมเทศนา ซึ่งนิยมสร้างกันมากในสมัยทวาราวดี ผิดกันแต่พระกรขวาท่อนล่างพาดอยู่บนพระเพลา ทรงหงายพระหัตถ์ ส่วนปางปฐมเทศนานั้นพระหัตถ์ขวายกขึ้นจีบนิ้วเป็นรูปวงธรรมจักร แต่พระประธานวัดศาลาทองทรงประทับนั่งบนแท่นศิลาไม่พิงพนัก ทอดพระเนตรต่ำ สีพระวรกายเป็นสีทองอร่าม ริมพระโอษถ์สีแดงสด ความสูงจากพระบาทฐานถึงพระรัศมี 5.10เมตรวัดโดยรอบพระต้นพระกร รวมอุระ 3.10เมตรพระบาทสูงจากพื้น 0.50เมตรพื้นพระอุโบสถยกสูงจากพื้นดิน 1.80เมตรไม่มีดอกบัวรองรับพระบาท ครองผ้าเฉวียงอังสะ พาดสังฆาติคล้ายพระสงฆ์ลงโบสถ์ทำสังฆกรรม ผินพระพักต์ไปทางทิศตะวันออกพระกรทั้งสองพาดพระเพลา เป็นกิริยารับถวายน้ำเต้าและรวงผึ้งจากช้างและวานร

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

วัดบูรพ์ นครราชสีมา

10550848_733794423344771_1067951093256064291_n (1)

วัดบูรพ์ เป็นหนึ่งในวัดสี่มุมเมืองของ เมืองโคราช
ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน โดยพระยายมราช หรือ พระยาสังข์ เป็นผู้สร้าง โดยมีช่างชาวผรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง
เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว จึงโปรดเกล้าให้ประชาชน คฤหบดี และขุนนาง สร้างวัด 6 วัด ซึ่งตอนนี้ ในเขตกำแพงเมืองเก่าก็มีแค่ 6 วัดนี้ คือ
– วัดกลาง หรือกลางเมือง คือวัดพระนารายณ์มหาราช
– วัดพายัพ
– วัดอิสาน
– วัดสระแก้ว
– วัดบึง และ
– วัดที่อยู่ทางทิศตะวันออก ทิศบูรพา ได้แก่ วัดบูรพ์ (หรือบูรพา )

ปัจจุบัน วัดบูรพ์ ได้แบ่งพื้นที่บางส่วนด้านทิศตะวันออกของวัด จำนวน 4 ไร่ 2 งาน 71 ตารางวา เพื่อแบ่งเป็นโรงเรียนเทศบาลวัดบูรพ์ หรือ โรงเรียนเทศบาล ๑ (บูรพาวิทยากร)
เดิมเป็นโรงเรียนอนุบาลวัดบูรพ์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 โดยท่านเจ้าคุณอรรถจารีย์สีมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดบูรพ์ ได้รวมเด็กเล็กจากบริเวณรอบวัดบูรพ์เข้าเรียน เปิดเป็นสาขาหนึ่งของโรงเรียนประถมศึกษาวัดสระแก้ว

Read more »

ท่องเที่ยวไทย …วัดบูรพ์ … โคราช

DSCN5922

เมืองโคราช เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน

โดยพระยายมราช หรือ พระยาสังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวผรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว

จึงโปรดเกล้าให้ประชาชน คฤหบดี และขุนนาง สร้างวัด 6 วัด ซึ่งตอนนี้ในเขตกำแพงเมืองเก่าก็มีแค่หกวัดนี้ คือ

วัดกลาง หรือกลางเมือง คือวัดพระนารายณ์มหาราช

วัดพายัพ วัดอิสาน วัดบูรพ์ ( หรือบูรพา ) วัดสระแก้ว และ วัดบึง
วันนี้จะพาไปเที่ยว วัดที่อยู่ทางทิศตะวันออก … บูรพา

1288170527
Read more »

วัดบูรพ์ นครราชสีมา

0355784001346126403

วัดบูรพ์ เป็นหนึ่งในวัดสี่มุมเมืองของ เมืองโคราช ที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน โดยพระยายมราช หรือ พระยาสังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวผรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว จึงโปรดเกล้าให้ประชาชน คฤหบดี และขุนนาง สร้างวัด 6 วัด ซึ่งตอนนี้ในเขตกำแพงเมืองเก่าก็มีแค่หกวัดนี้ คือ วัดกลาง หรือกลางเมือง คือวัดพระนารายณ์มหาราช วัดพายัพ วัดอิสาน วัดสระแก้ว วัดบึง และ วัดที่อยู่ทางทิศตะวันออก … ทิศบูรพา ได้แก่ วัดบูรพ์ (หรือบูรพา )

ปัจจุบัน วัดบูรพ์ ได้แบ่งพื้นที่บางส่วนด้านทิศตะวันออกของวัด จำนวน 4 ไร่ 2 งาน 71 ตารางวา เพื่อแบ่งเป็นโรงเรียนเทศบาลวัดบูรพ์ หรือ โรงเรียนเทศบาล ๑ (บูรพาวิทยากร) เดิมเป็นโรงเรียนอนุบาลวัดบูรพ์ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2475 โดยท่านเจ้าคุณอรรถจารีย์สีมาจารย์ เจ้าอาวาสวัดบูรพ์ ได้รวมเด็กเล็กจากบริเวณรอบวัดบูรพ์เข้าเรียน เปิดเป็นสาขาหนึ่งของโรงเรียนประถมศึกษาวัดสระแก้ว

Read more »

วัดบึงพระอารามหลวง โคราช

1296196723

เมืองโคราช เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน

โดยพระยายมราช หรือ พระยาสังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวผรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว

จึงโปรดเกล้าให้ประชาชน คฤหบดี และขุนนาง สร้างวัด 6 วัด ซึ่งตอนนี้ในเขตกำแพงเมืองเก่าก็มีแค่หกวัดนี้ คือ

วัดกลาง หรือกลางเมือง คือวัดพระนารายณ์มหาราช

วัดพายัพ วัดอิสาน วัดบูรพ์ ( หรือบูรพา ) วัดสระแก้ว และวัดบึง

วัดกลาง วัดบึง วัดสระแก้ว นั้น กลุ่มขุนนางเป็นผู้สร้าง ซึ่งงานทางด้านสถาปัตยกรรมจะมีความประณีตอ่อนช้อยงดงามมาก

วัดอิสาน วัดบูรพ์ วัดพายัพ นั้นเป็นวัดที่ คฤหบดี และประชาชนเป็นผู้สร้าง โดยจะเห็นว่าความงดงามประณีตไม่ค่อยมี
มีใบเสมาคู่

มีข้อสันนิษฐานถึงนัยยะที่ซ่อนอยู่ก็คือ มีการผูกพัทธสีมาที่ต่างวาระ ต่างนิกายในที่เดียวกัน

ฝ่ายที่มาทีหลัง เมื่อต้องการใช้พื้นที่ในเขตสังฆกรรมแห่งนั้น ไม่มีความเชื่อมั่นในความบริสุทธิ์ในเขตสีมาอันก่อน จึงได้ทำการสวดผูกพัทธสีมาขึ้นมาใหม่อีกครั้ง

หรืออีกความหมายหนึ่งก็คือวัดในสมัยโบราณนั้นมีด้วยกัน 2 ฝ่ายคือฝ่ายอรัญวาสีและฝ่ายคามวาสี

เมื่อพระเจ้าแผ่นดินทรงสร้างพระอุโบสถหลังใหม่ขึ้น(วัดหลวง) เพื่อไม่ให้ถูกตั้งข้อสังเกตว่าเป็นการเลือกปฏิบัติ ก็จะอาราธนาพระสงฆ์ทั้ง 2 ฝ่าย ให้มาร่วมผูกพัทธสีมาพร้อมๆกัน วัดหลวงจึงมักเห็นมีสีมา 2 ใบแต่นั้นมา

Read more »

วัดบึง…นครราชสีมา

0435604001342427560

หากใครได้ศึกษาประวัติศาสตร์ของจังหวัดนครราชสีมามาก่อนแล้ว จะทราบว่าการสร้างเมืองนครราชสีมา ในสมัยสมเด็จพระนาราย์มหาราช ได้มีการขุดคูเมือง พร้อมด้วยการสร้างกำแพงเมืองล้อมรอบเขตพระนครไว้ ภายในกำแพงเมืองจะมีวัดประจำเมืองซึ่งอยู่ประจำทิศต่าง ๆ ภายในจำนวน 6 วัด ได้แก่
– วัดกลางนคร (วัดพระนารายณ์มหาราช)
– วัดบูรพ์
– วัดอิสาน
– วัดพายัพ
– วัดสระแก้ว และ
– วัดบึง วัดบึงเป็นวัดที่อยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่ชื่อวัดบึงเพราะมีบึงใหญ่อยู่ในวัด วัดบึง ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง ใกล้กับประตูชุมพล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมด 17 ไร่

ประตูทางเข้า

ลักษณะสำคัญของวัด ที่บ่งบอกว่าเป็นวัดที่สร้างสมัยอยุธยา คือ พระอุโบสถฐานแอ่นแบบเรือสำเภา ก่อสร้างด้วยการก่ออิฐถือปูน กว้าง 12.15 เมตร ยาว 22 เมตร สูง 30 เมตร หลังคาเครื่องบนเป็นไม้ 2 ซ้อน ซ้อนที่ 1 มี 3 ตับ ซ้อนที่ 2 มี 4 ตับ มุงด้วยกระเบื้องดินเผา เครื่องบนทรงเครื่องลำยอง มีช่อฟ้าใบระกา นาคสะดุ้ง หางหงษ์ ประดับกระจกสี ผนังก่อสร้างอิฐฉาบปูน ด้านนอกมีคันทวยแกะสลักทำด้วยไม้เป็นรูปนาค ยาวประมาณ 1.80 เมตร ประดับกระจก ข้างละ 6 ตัว รวม 12 ตัว ประตูด้านหน้ามี 3 ประตู ด้านหลังมี 2 ประตู ฐานลักษณะบัวโค้งเป็นฐานสำเภา เรียกตามภาษาช่างว่า “โค้งปากตะเภา” หน้าบันด้านทิศตะวันออก แกะสลักไม้รูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่ตรงกลาง รอบข้างเป็นลายก้านขดหางโต ทิศตะวันตกเป็นรูปพระวิษณุ ทรงครุฑ ประกอบด้วย ลายก้านขดเช่นเดียวกัน ภายในพระอุโบสถเสากลม หัวเสาบัวจงกล 6 คู่ รวม 12 ต้น

Read more »

วัดบึง หรือ วัดบึงวนาราม

วัดบึง หรือ วัดบึงวนาราม เป็นศาสนสถานในพุทธศาสนา[1] ที่มีประวัติความเป็นมาพร้อม ๆ กับชุมชนบ้านสวน และชุมชนอื่น ๆ ในบริเวณใกล้เคียงโดยดูลักษณะของการตั้งถิ่นฐาน ที่ใกล้กับแหล่งน้ำ การประกอบอาชีพทางการเกษตรที่ต้องใช้น้ำเป็นปัจจัยหลักในการประกอบอาชีพ เป็นต้น

ประวัติ
วัดบึงเกิดขึ้นมาพร้อมกับการเข้ามาตั้งถิ่นฐานของชาวชุมชนบ้านสวน บ้านไร่ ที่อยู่ฝั่งคลองบ้านสวนทางด้านทิศเหนือของชุมชนบ้านสวน(บริเวณวัดคุ้งยางใหญ่)ประวัติความเป็นมานั้น วัดบึงเมื่อครั้งก่อนเป็นวัดร้าง สันนิษฐานจากการขุด และพบพระพุทธรูปทองคำ พระพุทธรูปเงิน วัดบึงน่าจะก่อสร้างมาประมาณ 700 กว่าปี ตั้งแต่ครั้งสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย วัดบึงนั้นได้เริ่มการบูรณะเมื่อประมาณ 70 ปีก่อน ได้มีพระธุดงมา 2 รูปได้ทำการถากถางก่อไผ่ซึ่งเป็นซากวัดร้างเดิม พระธุดง 2 รูปนั้น รูปที่ 1 ชื่อพระฟัก และพระสุด หลังจากนั้นประมาณ 2 พรรษาท่านได้ลาสิกขา [2] วัดบึงได้การบูรณะมาจนถึงหลวงพ่อฟุ้ง วัดบึงก็เริ่มเป็นที่รู้จักของพุทธศาสนิกชนในวงกว้าง หลวงพ่อฟุ้งได้ส่งสามเณรมนตรี (ตี๋) มะลิหวน ไปเรียนที่สำนักเรียนวัดจิตตภาวัน จังหวัดชลบุรี จนสามเณรมนตรี(ตี๋) นั้นได้อุปสมบท และหลังจากที่หลวงพ่อฟุ้งมรณภาพ พระมนตรี ได้เป็นผู้ดูแลวัดมึง และท่านก็ได้เริ่มการบูรณะวิหารหลวงพ่อโตขึ้นเพื่อจะสร้างเป็นอุโบสถ จากการที่บูรณะนั้นได้ขุดพบพระทองคำพระเงินจำนวน 29 องค์พระพุทธรูปสำฤทธิ์ จีบจำปีทอง เงิน เต้าปูน ขันสำฤทธิ์ [3] สภาพที่มีน้ำล้อมรอบเพราะเป็นจุดทางเดือนของน้ำ และจากจุดบริเวณไม่ที่ตั้งวัดไปไม่ไกลจะเป็นบริเวณที่ลุ่มที่เรียกว่า “บึงใหญ่” (ปัจจุบันทางองค์การบริหารส่วนตำบลบ้านสวนและองค์การบริหารส่วนจังหวัดสุโขทัย ได้พัฒนาเป็นแหล่งเก็บน้ำ และแหล่งท่องเที่ยวในท้องถิ่น) อาจจะเป็นจุดที่คนในชุมชนเรียกว่าวัดที่ไปทาง “บึง” หรืออีกความหมายหนึ่งอาจตรงที่ตั้งวัดด้านทิศใต้ติดกับคลอง “บ้านสวน” แต่ตรงบริเวณดังกล่าวเป็นจุดน้ำลึกที่มีลักษณะคล้ายบึง จึงอาจเป็นที่มาของวัดบึง หรือในวัดที่ตรงอยู่ตรงบริเวณบึงก็เป็นได้ สำหรับวัดบึงแห่งนี้ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาและตั้งเป็นวัดใน พ.ศ. 2540 ด้านตะวันออกติดกับคลองสาธารณะที่เชื่อมระหว่างบึงใหญ่กับคลองบ้านสวน เชื่อมไปถึงแม่น้ำยม และถนนที่เป็นคั่นระหว่างชุมชนรอบวัดกับบริเวณวัด ทิศตะวันตกติดกับพื้นที่ทางการเกษตรของชาวบ้าน ทิศใต้ติดกับคลองบ้านสวน และทิศเหนือติดกับชุมชนที่อยู่บริเวณรอบวัด

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

วัดบึง พระอารามหลวง ชั้นตรี

วัดบึง ตั้งอยู่ในเขตกำแพงเมือง ใกล้กับประตูชุมพล ตำบลในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา

watbueng1

การสร้างเมืองนครราชสีมา ในสมัยสมเด็จพระนาราย์มหาราช ได้มีวัดประจำเมืองซึ่งอยู่ประจำทิศต่าง ๆ ภายในกำแพงเมือง หกวัด ได้แก่ วัดกลางนคร (วัดพระนารายณ์มหาราช) วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดพายัพ วัดสระแก้ว และวัดบึง วัดบึงเป็นวัดที่อยู่ทาง ทิศตะวันออกเฉียงใต้ ที่ชื่อวัดบึงเพราะมีบึงใหญ่อยู่ในวัด ปัจจุบันมีเนื้อที่ทั้งหมด ๑๗ ไร่

ลักษณะสำคัญของวัดที่บ่งบอกว่าเป็นวัดที่สร้างสมัยอยุธยา คือ พระอุโบสถฐานแอ่นแบบเรือสำเภา กว้าง ๓ ห้อง ยาว ๖ ห้อง หลังคาจั่ว ๒ ชั้น เชิงชาย ๓ ชั้น หน้าบันด้านทิศตะวันออกแกะสลักเป็นลาย กระหนกก้านขด มีรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณอยู่ตรงกลาง ส่วนหน้าบันด้านทิศตะวันตกแกะสลักลาย กระหนก ก้านขดมีรูปพระนารายณ์ทรงครุฑอยู่ตรงกลาง เสาของพระอุโบสถ เป็นเสากลมขนาด ใหญ่ ๑๔ ต้น มีหน้าต่างด้านละ ๕ ช่อง คันทวยไม้สวยงามมาก แกะสลักเป็นรูปพญานาคทั้งหมด ๑๒ อัน แต่ละอันยาว ประมาณ ๒ เมตร

ปัจจุบันวัดได้ดูแลรักษาพระอุโบสถหลังนี้ไว้เป็นอย่างดีจนได้รับประกาศเชิดชูเกียรติจากศูนย์วัฒนธรรม จังหวัดนครราชสีมา ในฐานะผู้อนุรักษ์มรดกโครราชในวัดอนุรักษ์มรดกไทย ๒ เมษายน พุทธศักราช ๒๕๓๔

Read more »

วัดศาลาลอย

300888ad1

วัดศาลาลอย เป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ที่ชาวโคราชเคารพนับถือเป็นอย่างมากเป็นเวลากว่า 200 ปี
เมื่อครั้งท้าวสุรนารี หรือ ย่าโม เสร็จศึกสงครามจากทุ่งสัมฤทธิ์ ภายหลังจากรบชนะกองทัพ
ของเจ้าอนุวงศ์ เมื่อปี พ.ศ. 2370 ขณะยกทัพกลับเมืองนครราชสีมา ได้แวะพักบริเวณท่าตะโก
และได้สั่งให้ทหารทำแพเป็นรูปศาลาเสี่ยงทายลอยไปตามลำตะคอง พร้อมตั้งจิตอธิฐาน
หากแพรูปศาลานี้ ลอยไปติดอยู่ ณ ที่แห่งใด จะสร้างวัดไว้เป็นอนุสรณ์
ซึ่งแพได้ลอยไปติดอยู่ริมฝั่งขวาของลำตะคอง ซึ่งเป็นวัดร้าง จึงได้สร้างพระอุโบสถ
เป็นวัดศาลาลอยในปัจจุบัน ท่านได้นมัสการพระประธาน และพระบรมสารีริกธาตุของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า
ณ อุโบสถหลังเก่า และได้มีการสร้างอนุสรณ์สถานเจดีย์บรรจุอัฐิท้าวสุรนารีขึ้นภายในวัด
ภายหลังที่ท่านได้ถึงแก่อสัญกรรมแล้ว

จุดเด่นของวัดนี้ อยู่ที่อุโบสถหลังใหม่เป็นศิลปะประยุกต์ เป็นอุโบสถเรือสำเภา
ที่ได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา จากสมาคมสถาปนิกสยามปี พ.ศ. 2516
และรางวัลจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ใช้วัสดุพื้นเมืองคือกระเบื้องดินเผาด่านเกวียน
นำมาประดับตกแต่ง เช่น ผนังด้านหน้าอุโบสถเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ
ผนังด้านหลังเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์
Read more »

วัดศาลาลอย

ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของตัวเมือง โดยแยกจากถนนรอบเมืองไปประมาณ 500 เมตร วัดนี้ตั้งอยู่ติดกับลำตะคองซึ่งไหลพาดผ่านตอนเหนือของตัวเมืองไปลงสู่แม่ น้ำมูล ท้าวสุรนารีกับท่านปลัดสามีสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2370

จุด เด่นของวัดอยู่ที่พระอุโบสถซึ่งได้รับรางวัลดีเด่นแนวบุกเบิกอาคารทางศาสนา จากสมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และรางวัลจากมูลนิธิเสฐียรโกเศศและนาคะประทีป ในปี พ.ศ. 2516

เป็น อุโบสถที่สร้างแบบศิลปไทยประยุกต์ เป็นรูปสำเภาโต้คลื่น ใช้วัสดุพื้นเมืองคือกระเบื้องดินเผาด่านเกวียนนำมาประดับตกแต่ง เช่น ผนังด้านหน้าอุโบสถเป็นภาพพุทธประวัติตอนมารผจญ ผนังด้านหลังเป็นภาพตอนพระพุทธเจ้าเสด็จลงมาจากดาวดึงส์ ส่วนบานประตูเป็นโลหะลายนูน ภาพเล่าเรื่องเวชสันดรชาดก (13 กัณฑ์) ภายในมีพระประธานปูนปั้นสีขาว ปางห้ามสมุทร เป็นพระพุทธรูปยืนประทับ ณ ประตูเมืองสังกัสนคร สมเด็จพระสังฆราชได้ทรงถวายพระนามว่า “พระพุทธประพัฒน์สุนทรธรรมพิศาล ศาลาลอยพิมาลวรสันติสุขมุนินทร์” หน้าประตูอุโบสถมีปูนปั้นรูปท้าวสุรนารีนั่งพนมมือกลางสระน้ำ ตัวอุโบสถล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วรูปเสมา สัญลักษณ์ของเมืองเสมาเดิม ด้านข้างมีสถูปขนาดเล็กซึ่งเคยใช้เป็นที่บรรจุอัฐิท้าวสุรนารี

ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/

. . . . . . .
. . . . . . .