ชื่อจารึก จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก
ชื่อจารึกแบบอื่นๆ –
อักษรที่มีในจารึก ขอมอยุธยา
ศักราช พุทธศตวรรษ ๒๐
ภาษา บาลี
ด้าน/บรรทัด จำนวนด้าน ๑ ด้าน มี ๔๒ บรรทัด (มีอักษรจารึกอยู่ที่ดุม กำ ระหว่างกำ กง ปลาย และข้างพระพุทธบาท)
วัตถุจารึก ศิลา ประเภทหินชนวน
ลักษณะวัตถุ รูปรอยพระพุทธบาท
ขนาดวัตถุ กว้าง ๕๒ ซม. ยาว ๑๓๐ ซม. หนา ๒๓ ซม.
บัญชี/ทะเบียนวัตถุ ๑) กองหอสมุดแห่งชาติ กำหนดเป็น “นบ. ๑”
๒) ในวารสาร ศิลปากร ปีที่ ๖ ฉบับที่ ๕ (มกราคม ๒๕๐๖) กำหนดเป็น “ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาท อักษรขอมโบราณ ประมาณ พ.ศ. ๑๘๐๐ ที่วัดชมภูเวก ต. ท่าทราย อ. เมือง จ. นนทบุรี”
๓) ในหนังสือ ประชุมศิลาจารึก ภาคที่ ๔ กำหนดเป็น “หลักที่ ๘๕ ศิลาจารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก”
๔) ในหนังสือ จารึกในประเทศไทย เล่ม ๕ กำหนดเป็น “จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก”
ปีที่พบจารึก วันที่ ๒๕ มกราคม พ.ศ. ๒๕๐๕
สถานที่พบ วัดชมภูเวก ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
ผู้พบ นายจำปา เยื้องเจริญ และนายประสาร บุญประคอง
ปัจจุบันอยู่ที่ วัดชมภูเวก ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี
Read more »
จารึกรอยพระพุทธบาทวัดชมภูเวก
ประวัติวัดชมภูเวก
ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่ บ.บางกระสอ ต.ท่าทราย อ.เมือง จ.นนทบุรี สร้างขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ.2300 เดิมมีชื่อว่า “วัดชมภูวิเวก” เนื่องจากเป็นสถานที่ที่เงียบสงบ และมีเนินดิน ที่ตั้งโบราณสถานเดิม ต่อมาคำว่า “วิ” หายไป คงเหลือแต่เพียงชมภูเวกมาจนถึงทุกวันนี้ เป็นวัดที่มีความสำคัญมากในสมัยก่อน ในทางศิลปะวัดชมภูเวกได้ชื่อว่าเป็นเพชรน้ำหนึ่งของชาวนนทบุรี และเป็นมรดกสำคัญอันน่าภาคภูมิใจของชาติ โดยเฉพาะอย่างยิ่งอุโบสถที่มีขนาดไม่ใหญ่โตนัก แต่สร้าง แบบมหาอุต คือ มีประตูเดียว ใช้ผนังรับน้ำหนัก ปลายผนังสอบเข้าหากันเล็กน้อย ไม่มีเสา มีแต่เสารับชายคาพาไล ซึ่งเป็นแบบที่หาดูได้ยากในสมัยนี้
สิ่งที่สำคัญที่สุดในอุโบสถหลังเก่า คือ ภาพจิตรกรรมฝาผนัง โบราณสถานที่สำคัญภายในวัดที่น่าชมยังมีอีกหลายแห่ง เช่น พระมุเตา พระเจดีย์ทรงมอญ และยังมีมีวิหาร ด้านหลังอุโบสถอีกด้วยสัญลักษณ์ที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่ง คือ เสาหงส์
ขอขอบคุณ http://bopit565.blogspot.com/
ออกพรรษา พาชมศิลปกรรมสกุลช่างนนทบุรี วัดชมภูเวก
กลับมาอีกครั้งกับงานจิตรกรรมฝาผนัง สำหรับผู้ที่ชื่นชอบจิตรกรรมไทยประเพณี มีหลายท่านที่ให้ความสนใจและตั้งคำถามมามากมาย ซึ่งผู้เขียนเองยังไม่ได้ตอบและอาจตอบได้ไม่ทุกคำถาม
และขอออกตัวก่อนว่า ไม่ได้เป็นผู้เชี่ยวชาญด้านงานจิตกรรมฝาผนัง ทว่ามีความสนใจใคร่รู้ด้วยตระหนักถึง มรดกของชาติที่กำลังถูกลบเลือนหายไปทีละน้อย ด้วยความยากจนทางเศรษฐกิจของประเทศนี้ หรืออับจนทางความคิดเรื่องการจัดสรรงบประมาณเพื่อการอนุรักษ์ก็สุดจะรู้
วันนี้ จึงใคร่ขอแนะนำให้ท่านรู้จักกับจิตรกรรมฝาผนังวัดชมภูเวก จังหวัดนนทบุรี เป็นเบื้องต้นเท่านั้น หากท่านใดสนใจจะเข้าชมในช่วงวันหยุดออกพรรษา ที่ทางวัดแจ้งกับผู้เขียนว่าทางวัดได้จัดงานออกพรรษด้วย
วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ ณ ต.ท่าทราย อ.เมือง ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี จ.นนทบุรี สร้างขึ้นประมาณปี พ.ศ. 2300 โดยชาวมอญที่อาศัยอยู่แขวงเมืองนนทบุรีสมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นผู้สร้าง ภายในวัด มีเจดีย์ที่เป็นศิลปะแบบมอญ อุโบสถและวิหารหลังเก่า ลักษณะสถาปัตยกรรมแบบสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย หน้าบันซุ้มประตูหน้าต่างปิดทองปิดกระจก ในอุโบสถและวิหารมีจิตรกรรมฝาผนัง สกุลช่างนนทบุรี โครงร่างต้นแบบแต่ซ่อมสีเพิ่ม จิตรกรรมฝาผนังเขียนเรื่องพุทธประวัติและทศชาติชาดก
ขอขอบคุณ http://www.oknation.net/
ข้อมูลท่องเที่ยว จังหวัด นนทบุรี วัดชมภูเวก อำเภอเมือง
วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ซอยนนทบุรี 33 ตำบลท่าทราย ชื่อวัดมาจากที่ตั้งที่อยู่บนเนินสูง มีความเงียบสงบ จึงเรียกว่า วัดชมภูวิเวก ต่อมาเหลือเพียงวัดชมภูเวก ชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นผู้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ.2300 หรืออาจจะก่อนจากนั้น เนื่องจากการอพยพของชาวมอญเข้ามาอาศัยอยู่ในบริเวณนี้เกิดขึ้นในสมัยสมสมเด็จพระนารายณ์มหาราช และจากหลักฐานทางประวัติศาสตร์อื่น ๆ ที่ปรากฏคาดว่าวัดชมภูเวกน่าจะสร้างในช่วงสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราชหรือสมัยสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวบรมโกษฐ์
สถานที่น่าสนใจภายในวัดชมภูเวก นนทบุรี
พระธาตุมุเตา วัดชมภูเวก
พระธาตุมุเตาองค์ที่เห็นในปัจจุบันนี้ ได้มีการบูรณะใหม่ในปี พ.ศ.2535 – 2539 เนื่องจากองค์พระธาตุเดิมที่บูรณะเมื่อปี พ.ศ.2460 มีการชำรุดทรุดโทรมลงเป็นอันมาก ตรงเอวเหนือปลองไฉนหัก ยอดและฉัตรชำรุดเสียหาย ผิวปูนเดิมกะเทาะหลุดร่อนเกือบหมด จนปี พ.ศ.2535 มีคณะศรัทธา คือ คุณพรชัย สิริวัฒนรัชต์ เจ้าของบริษัทพรชัย 1991 พร้อมครอบครัว เพื่อนสนิทมิตรสหาย นำผ้าป่าสามัคคีมาทอดร่วมกับคณะผู้ศรัทธาชาวท่าทราย ได้เงินทั้งหมดจำนวน 5 แสนเศษ จึงได้ทำการบูรณะครั้งใหญ่ ปรากฏเห็นสวยงามดั่งปัจจุบัน
สถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย วัดชมภูเวก
วัดชมภูเวก ตั้งอยู่ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ซอยนนทบุรี 33 ตำบลท่าทราย ชื่อวัดมาจากที่ตั้งที่อยู่บนเนินสูง มีความเงียบสงบ จึงเรียกว่า วัดชมภูวิเวก ต่อมาเหลือเพียงวัดชมภูเวก ชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นผู้สร้างขึ้นประมาณ พ.ศ. 2300 จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์หลังเก่าเป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติ ประดิษฐานพระประธานสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปยืน 2 องค์ นอกจากนี้บริเวณวัด ยังมีพระเจดีย์รามัญ เรียกว่า”พระมุเตา”สร้างโดยพระสงฆ์จากเมืองมอญเมื่อ พ.ศ. 2460 สันนิษฐานว่าภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
การเดินทาง
รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย 69 สอบถามเข้อมูลเพิ่มเติม โทร. 184
เรือโดยสารรถสองแถวเล็กจากท่าสะพานพระนั่งเกล้า
ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/
ชมพระแม่ธรณีฯงามที่สุดในโลกที่ “วัดชมภูเวก”
เคยได้ยินเกจิภาพจิตรกรรมไทยท่านหนึ่งบอกว่า มีภาพจิตกรรมฝาผนังรูปพระแม่ธรณีบีบมวยผมที่สวยงามมากอยู่ที่วัดมอญ เมืองนนท์ ดังนั้นเมื่อมีเวลาและโอกาสได้ไปแถวๆนั้น ฉันจึงไม่พลาดที่จะแวะเวียนไปชื่นชมให้เห็นเป็นบุญตาที่ “วัดชมภูเวก” จังหวัดนนทบุรี
แน่นอนว่าก่อนที่จะได้ชมภาพจิตกรรมฝาผนังอันเลื่องชื่อ เราต้องทำความรู้จักกับวัดแห่งนี้กันเสียก่อน โดย “วัดชมภูเวก” นี้ เป็นวัดมอญ สร้างสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายระยะต้น ในสมัยพระนารายณ์มหาราช ราว พ.ศ. 2225
ในสมัยนั้นเกิดสงครามระหว่างพม่ากับจีนฮ่อ ชาวมอญจึงได้อพยพหนีเข้าเมืองไทยมาพึ่งพระบรมโพธิสมภาร สมเด็จพระนารายณ์ทรงทราบก็ทรงรับไว้ โปรดให้แม่ทัพนายกองอยู่ในกรุงศรีฯ ส่วนไพร่พลและครอบครัวโปรดให้ตั้งบ้านเรือนอยู่ตามหัวเมือง ได้แก่ บ้านสามโคก เมืองปทุมธานี บ้านปากเกร็ด บ้านบางตลาด บ้านตะนาวศรี เมืองนนทบุรี ที่บ้านท่าทราย(วัดชมภูเวก) มีท่านพ่อปู่(ฮาโหนก) เป็นหัวหน้ามอญอพยพ
เมื่อปักหลักอาศัยอยู่นานเข้าสัตว์เลี้ยงได้คุ้ยเขี่ยเหยียบย่ำพื้นดิน เมื่อฝนตกน้ำท่วม น้ำได้ไหลหลากพัดพาดินไปจึงทำให้อิฐก้อนใหญ่สีแดงโผล่ขึ้นมาเป็นบริเวณกว้าง ท่านพ่อปู่เห็นดังนั้นจึงถือเป็นนิมิตรหมายที่ดี สันนิษฐานว่าที่ตรงนี้คงเป็นที่ศักดิ์สิทธิ์และเคยสร้างโบราณสถานมาก่อน
วัดชมภูเวก
ตั้งอยู่ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ซอยนนทบุรี 33 ตำบลท่าทราย ชื่อวัดมาจากที่ตั้งที่อยู่บนเนินสูง มีความเงียบสงบ จึงเรียกว่า วัดชมภูวิเวก ต่อมาเหลือเพียงวัดชมภูเวก ชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นผู้สร้างขึ้นประมาณพ.ศ. 2300 จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์หลังเก่าเป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติ ประดิษฐานพระประธานสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปยืน 2 องค์ นอกจากนี้บริเวณวัด ยังมีพระเจดีย์รามัญ เรียกว่า “พระมุเตา” สร้างโดยพระสงฆ์จากเมืองมอญเมื่อ พ.ศ.2460 สันนิษฐานว่าภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ การเดินทาง รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย 69 สอบถามเพิ่มเติมโทร. 184 หรือโดยสารรถสองแถวเล็กจากท่าสะพานพระนั่งเกล้า
ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/
วัดชมภูเวก นนทบุรี
วัดชมภูเวกตั้งอยู่ในตำบลท่าทราย บริเวณเขตเชื่อมต่อระหว่างอำเภอเมืองฯกับ อำเภอปากเกร็ด วัดนี้สร้างขึ้นโดยชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย เมื่อปี พ.ศ. 2300 แต่เดิม เงียบสงบมาก ชาวบ้านจึงพากันเรียกว่า “วัดชมภูวิเวก” ภายหลังเหลือเพียง “วัดชมภูเวก” เท่านั้น
ภายในวัดมีศาสนสถานที่สำคัญ คือ เจดีย์แบบมอญ เรียกว่า “พระมุเตา” สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2460 โดยพระสงฆ์จากเมืองมอญ สันนิษฐานว่าภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
พระอุโบสถหลังใหม่ที่สร้างเมื่อปี พ.ศ. 2520 เป็นลักษณะทรงไทยใต้ถุนสูง 2 ชั้น หลังคาลด 3 ชั้น ช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ หน้าบัน ซุ้มหน้าต่าง และประตูประดับด้วยกระจก ส่วนพระอุโบสถหลังเก่าและพระวิหาร มีภาพจิตรกรรมฝาผนังเป็นเรื่องพุทธประวัติและทศชาติ ซึ่งพระอุโบสถเก่ากับพระวิหารนี้หันหน้าไปปสู่ลำคลอง ท่าทราย ทางทิศตะวันตก คลองนี้ในสมัยก่อนเป็นคลองใหญ่ แยกจากแม่น้ำเจ้าพระยา ซึ่งมีความลึกและยาวมาก แต่ในปัจจุบันได้ตื้นเขินกลายเป็นคูน้ำเล็กๆให้เห็นอยู่ตรงหน้าวัดเท่านั้น ส่วนทางด้านทิศใต้ของวัดก็เคยมีคลองเล็กๆ แต่ถูกถมไปหมดแล้ว ทางด้านหลังวัดมี “ศาลท่านพ่อปู่ศรีชมภู” ผู้เป็นที่เคารพนับถือของชาวบ้านแถบนั้นอีกด้วย
ขอขอบคุณ http://topicstock.pantip.com/
วัดชมภูเวก
ตั้งอยู่ริมถนนสายสนามบินน้ำ-นนทบุรี ซอยนนทบุรี 33 ตำบลท่าทราย ชื่อวัดมาจากที่ตั้งที่อยู่บนเนินสูง มีความเงียบสงบ จึงเรียกว่า วัดชมภูวิเวก ต่อมาเหลือเพียงวัดชมภูเวก ชาวมอญในสมัยกรุงศรีอยุธยาตอนปลายเป็นผู้สร้างขึ้นประมาณพ.ศ. 2300 จิตรกรรมฝาผนังในโบสถ์หลังเก่าเป็นภาพพุทธประวัติและทศชาติ ประดิษฐานพระประธานสมัยสุโขทัยและพระพุทธรูปยืน 2 องค์ นอกจากนี้บริเวณวัด ยังมีพระเจดีย์รามัญ เรียกว่า “พระมุเตา” สร้างโดยพระสงฆ์จากเมืองมอญเมื่อ พ.ศ.2460 สันนิษฐานว่าภายในบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ
การเดินทาง รถโดยสารประจำทางที่ผ่าน ได้แก่ สาย 69 สอบถามเพิ่มเติมโทร. 184 หรือโดยสารรถสองแถวเล็กจากท่าสะพานพระนั่งเกล้า
ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/
วัดชมภูเวก,นนทบุรี
ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันออกของแม่น้ำเจ้าพระยา ที่บ้านบางกะสอ ตำบลท่าทราย อำเภอเมือง ฯ สร้างเมื่อปี พ.ศ. ๒๓๐๐ ครั้งชาวมอญ อพยพหนีพม่ามาอยู่ในบริเวณนี้ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ได้พบซากโบราณสถานที่มีมาอยู่ก่อน จึงได้ร่วมกันสร้าง พระมุเตา คือพระเจดีย์ ภายในประดิษฐานพระพุทธรูปที่นำมาจากเมืองมอญ เป็นที่สักการบูชา ต่อมาจึงได้สร้างวัดชื่อ วัดชมภูเวก ซึ่งมีความหมายว่าขอสรรเสริญเนินสูงที่มีความวิเวก ต่อมาได้กร่อนเป็นวัดชมภูเวก
พระมุเตา (เจดีย์) ตั้งอยู่ตรงประตูทางเข้าวัดด้านหน้า รูปทรงของเจดีย์เป็นแบบเจดีย์ที่เมืองหงสาวดี สร้างขึ้นก่อนสร้างวัดบนเนินอิฐเก่า สันนิษฐานว่า อาจมีพระบรมสารีริกธาตุบรรจุอยู่ด้วย
สถานที่ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว ท่องเที่ยว
ท่องเที่ยว
พระอุโบสถหลังเก่า ตั้งอยู่ด้านหลังพระมุเตา มีขนาดสามห้องไม่ยกพื้น รูปทรงแบบมหาอุด ใช้ผนังรับน้ำหนัก ปลายผนังสอบเข้าเล็กน้อยไม่มีเสา มีแต่เสารับชายคาพาไล ด้านหน้ามีพาไล หน้าบันปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษาดอกพุดตาน ประดับกลางดอกด้วยเครื่องถ้วยลายคราม และเบญจรงค์ มีประตูเข้าด้านหน้าเพียงประตูเดียวอยู่ตรงกลาง มีหน้าต่างด้านละสามบาน ซุ้มประตูหน้าต่างปูนปั้นลายพันธุ์พฤกษา ผนังด้านหลังทึบ ฝาผนังด้านในทั้งสี่ด้าน มีภาพจิตรกรรมฝาผนังฝีมือช่างสกุลนนทบุรี เขียนด้วยสีฝุ่นผสมกาว ตามแบบอยุธยาตอนกลาง ผนังด้านหน้าพระประธานเป็นภาพมารผจญ มีรูปพระแม่ธรณีประทับนั่งบีบมวยผมอยู่ในซุ้มเรือนแก้วยอดแหลม ลวดลายอ่อนช้อยเหมือนลอยตัว เป็นที่ยกย่องกันว่าเป็นภาพแม่พระธรณีที่งามที่สุดในประเทศไทย ผนังด้านหลังเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าสองพระองค์ ประทับนั่งสมาธิ ผนังด้านข้างทั้งสองด้าน ตอนบนเป็นภาพอดีตพระพุทธเจ้าประทับบนแท่นบัลลังก์ มีสาวกเฝ้าอยู่สองข้าง ผนังระหว่างช่องประตูกับหน้าต่างเป็นภาพทศชาติ พระประธาน เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น
นกเค้าจุดคู่รัก ณ วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร จ.นนทบุรี ตั้งอยู่ที่ซอยเฉลิมพระเกียรติ 15 เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รัชกาลที่ 3 ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2390 เพื่อถวายพระอัยกา พระอัยกีและสมเด็จพระราชชนนี มาสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในเขตพระอารามมีความสงบ สะอาด ร่มรื่น ศิลปะสถาปัตยกรรมอนุรักษ์รูปแบบเดิม ๆ
เหมาะสำหรับไปพักผ่อน ไหว้พระ ชมสถาปัตยกรรมสมัยโบราณ หรือจะไปชมนก ดูนก ก็ได้ มีนกมากมายหลายชนิดที่พบที่วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหารนี้
แต่วันนีั้เราจะมาเล่าถึงแต่เรื่องของ นกเค้าจุด กันว่า เป็นนกแบบไหนกันนะค่ะ
นกเค้าจุด (Spotted Owlet, Athene brama) เป็นนกจำพวกนกเค้าแมวชนิดหนึ่ง เป็นสัตว์ป่าคุ้มครอง ที่สามารถพบได้ในประเทศไทย มีลักษณะส่วนหัวกลม มีจุดสังเกตอยู่ที่ขนคิ้วสีขาวที่เห็นได้เด่นชัด หัวค่อนข้างแบน บริเวณหัวจนถึงท้ายทอยสีน้ำตาลมีจุดเล็ก ๆ สีขาวประทั่วไป บริเวณตัวด้านบนซึ่งเป็นสีน้ำตาลก็มีจุด แต่จะมีขนาดใหญ่และกระจายมากกว่าบริเวณหัว บางทีใหญ่และเรียงตัวกันดูคล้ายบั้งมากกว่าจุด โดยเฉพาะด้านหลังคอที่จะเรียงตัวต่อกันคล้ายปลอกคอ ด้านล่างของลำตัวสีขาว แต่มีลายจุดสีน้ำตาลเช่นเดียวกัน นกตัวผู้และตัวเมียคล้ายคลึงกัน แต่ตัวเมียมักตัวใหญ่กว่าตัวผู้ ขนาดตัวโตเต็มที่ 20 เซนติเมตร ออกหากินเวลากลางคืน จับแมลง หนู และนกขนาดเล็ก เป็นอาหาร จะผสมพันธ์ในช่วงเดือนกุมภาพันธ์ ถึงเมษายน (ช่วงเวลานี้จึงมักพบเป็นคู่อยู่ตามโพรงบนต้นไม้ใหญ่) ออกไข่ครั้งละ 3 – 4ฟอง เลี้ยงลูกนานถึง 35 – 40 วัน จึงปล่อยออกจากรังได้ (อยากเห็นลูกนก ให้มาดูช่วงเดือน พฤษภาคม – กรกฏาคม) โดยทั้งพ่อนก และแม่นกจะช่วยกันเลี้ยงลูก
แหล่งท่องเที่ยวนนทบุรี- วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
แหล่งท่องเที่ยวที่สำคัญของจังหวัดนนทบุรี แบ่งออกได้เป็น 3 กลุ่มใหญ่ ดังนี้
1. ย่านท่าน้ำนนท์ หรือ อ.เมือง
มีแหล่งท่องเที่ยวหลากหลาย เช่น พิพิธภัณฑ์เขาสัตว์ โจหลุยส์เธียเตอร์ พิพิธภัณฑ์บ้านดุริยางคศิลป์ (บ้านครูมนตรี ตราโมท) วัดเขมาภิรตาราม พิพิธภัณฑ์ธรรมชาติวิทยา อาคารศาลากลางจังหวัด (หลังเก่า) เป็นต้น บริเวณท่าน้ำนนท์ เป็นศูนย์กลางของเรือโดยสาร นอกจากเรือด่วนเจ้าพระยาที่วิ่งรับส่งผู้โดยสารในเส้นทางนนทบุรี-กรุงเทพฯ แล้ว ยังเหมาเรือไปเที่ยวคลองออ้อมนนท์ และเกาะเกร็ดได้สะดวก
หากข้ามฝั่งไปยังท่าน้ำบางศรีเมือง ซึ่งอยู่ตรงข้ามกับท่าน้ำนนท์ ก็เป็นจุดเชื่อมต่อไปยังแหล่งท่องเที่ยวสำคัญอีกหลายแห่ง เป็นต้นว่า อุทยานเฉลิมกาญจนาภิเษก วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร รวมถึงที่เที่ยวใน อ.บางกรวย
2. อ.ปากเกร็ด
ความโดดเด่นของอำเภอนี้อยู่ที่เกาะเกร็ด ซึ่งเป็นที่รู้จักมักคุ้นของนักท่องเที่ยว เนื่องจากเป็นแหล่งชุมชนมอญที่มีชื่อเสียงในการทำเครื่องปั้นดินเผา มีวัดเก่าแก่ที่งดงามด้วยศิลปกรรมมอญ อุดมสมบูรณ์ด้วยสำรับกับข้าวแบบมอญ และขนมหวานนานาชนิด ปัจจุบันเป็นแหล่งท่องเที่ยวสำคัญของจังหวัดนนทบุรี มีวัดปรมัยยิกาวาส วัดไผ่ล้อม วัดเสาธงทอง วัดฉิมพลี
ที่ปากเกร็ดยังมีสถานท่น่าเที่ยว คือ วัดเกาะพญาเจ่ง วัดกู้ วัดชลประทานรังสฤษฎ์ สวนสมเด็จพระศรีนครินทร์ เมืองทองธานี
3. อ.บางกรวย
พื้นที่ของอำเภอนี้ เป็นที่ตั้งของบ้านสวนริมน้ำ และสวนผลไม้มาแต่อดีต โดยมีคลองแม่น้ำอ้อม เป็นเส้นทางสำคัญในการไปมาหาสู่กัน และเส้นทางค้าขายระหว่างชุมชน ตลอดฝั่งน้ำมีวัดเก่าและบ้านเรือนในอดีตให้ได้ชม ชมสวนพันธุ์ไม้สวยงามมากมาย
นอกจากนี้ ถนนบางกรวย-ไทรน้อย ก็นับเป็นเส้นทางขับรถเที่ยวที่ดี เพราะระหว่างทางร่มรื่นไปด้วยเรือกสวนของชาวบ้าน และเป็นเส้นทางที่ผ่านไปยังวัดสำคัญหลายแห่ง เช่น วัดสวนแก้ว วัดอ้อยช้าง วัดปราสาท วัดชลอ วัดแก้วฟ้า วัดสัก ฯลฯ
ใกล้กับ อ.บางกรวย ยังมี อ.บางใหญ่ เป็นพื้นที่ทำไร่ ทำสวนและแหล่งเพาะพันธุ์ไม้ ถ้าขับรถมาในย่านนี้ จะมีร้านขายต้นไม้ให้เห็นตลอดทาง โดยเฉพาะ ถ.ตลิ่งชัน-สุพรรณบุรี หรือทางหลวงหมายเลข 9 จนเรียกกันว่า ถนนสายดอกไม้ นักท่องเที่ยวสามารถแวะซื้อต้นไม้ได้ในราคาถูก
อ.ไทรน้อย มีสวนกล้วยไม้ บอนสี อ.บางบัวทอง มีวัดบางไผ่ วัดจีนที่กำลังก่อสร้าง ชื่อ วัดเล่งเน่ยยี่
Read more »
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร อยู่ที่ซอยเฉลิมพระเกียรติ 15 เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่ริมฝั่งตะวันตกของแม่น้ำเจ้าพระยา รัชกาลที่ 3ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2390 เพื่อถวายพระอัยกา พระอัยกีและสมเด็จพระราชชนนี มาสร้างแล้วเสร็จในสมัยรัชกาลที่ 4 ภายในเขตพระอารามมีความสงบ สะอาด ร่มรื่น ศิลปะสถาปัตยกรรมอนุรักษ์รูปแบบเดิมไว้ แม้สิ่งก่อสร้างต่างๆ ก็มีความกลมกลืนกับสถาปัตย์เดิม วัดนี้ได้รับรางวัลอาคารอนุรักษ์ดีเด่นประจำปี พ.ศ. 2536 จากสมาคมสถาปนิกสยาม สถาปัตยกรรมในวัดที่น่าสนใจได้แก่ พระอุโบสถ เป็นศิลปะแบบพระราชนิยมในรัชกาลที่ 3 (คือ ศิลปะที่ได้รับอิทธิพลจากจีนมาผสม) หลังคามุงด้วยกระเบื้องรางดินเผาชนิดกาบกล้วยไม่เคลือบสี ถือปูนทับแนวทำเป็นลอนลูกฟูกแบบเก๋งจีน หน้าบันประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสี สลับลวดลายใบดอกพุดตาน กระจังฐานพระ ช่อฟ้าใบระกา ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบสีสลับลายจากประเทศจีน
ผนังด้านในเขียนสีลายพุ่มข้าวบิณฑ์ก้านแย่ง มีช่อดอกพุดตานภายใน เพดานลายฉลุปิดทอง ซุ้ม ประตูหน้าต่างประดับลายปูนปั้นรูปใบและดอกพุดตาน พื้นประดับกระจก
ผนังภายในพระอุโบสถเขียนสีลายดอกไม้ร่วง บานประตูหน้าต่างเขียนลายทองรดน้ำ กรอบประตูหน้าต่างประดับปูนปั้นยกดอกพุดตาน พื้นประดับกระจกส่วนด้านในของบานประตูหน้าต่างเขียนรูปกอบัว ดอกบัว นก และสัตว์น้ำ
พระประธานในพระอุโบสถวัดเฉลิมพระเกียรติเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ มีตำนานเล่าว่า ในสมัยรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจัณทึก จังหวัดนครราชสีมา ได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงมาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็นประโยชน์เกื้อกูลแก่พระพุทธศาสนาก่อน จึงโปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ 2 พระอาราม คือ วัดราชนัดดากับวัดเฉลิมพระเกียรติ และยังได้โปรดเกล้าฯให้หล่อพระพุทธรูปปางอื่นอีก 34 ปางด้วย พระประธานนี้หล่อเสร็จเรียบร้อยเมื่อพ.ศ.2389 เฉพาะที่อัญเชิญไปประดิษฐานที่วัดราชนัดดานั้น เวลาชักเคลื่อนองค์พระไปวัดเกิดอาเพศ ตะเฆ่ (เครื่องลากเข็นของหนัก รูปเตี้ยๆ มีล้อ) ประดิษฐานพระไปทับเอาเจ้าพระยายมราช (บุญนาค) กับทนายอีก 2 คน ตาย เมื่อถึงสมัยรัชกาลที่ 4 พระองค์ถวายพระนามพระประธานว่า “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา”
Read more »
ตามรอยละครพื้นบ้านไทย ณ วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร
วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร อีกหนึ่งสถานที่ท่องเที่ยวที่ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาด้านทิศตะวันตก (ฝั่งขวา) ในเขตพื้นที่ของ ตำบลบางศรีเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนนทบุรี เป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่ถือว่าเป็น Landmark ในการถ่ายภาพยนตร์ และละครพื้นบ้านไทยจำนวนหลายเรื่อง
วัดเฉลิมพระเกียรติ วรวิหาร เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองมาร่วม 135 ปีแล้ว เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โปรดให้ทำการสร้างขึ้น ด้วยทรงมีพระราชดำริว่า บริเวณป้อมเก่า (ป้อมทับทิมสมัยกรุงศรีอยุธยา) ซึ่งตั้งอยู่ริมฝั่ง แม่น้ำเจ้าพระยาฝั่งตะวันตก ใต้วัดตลาดขวัญ นอกจากนี้แล้วภายในวัดยังประกอบไปด้วยโบราณสถานหลายๆแห่ง อาทิ
– องค์พระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย (พระพุทธมหาโลกาภินันทปฏิมา) หล่อด้วยทองแดงทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 6 ศอก สูงจรดพระเศียร 8 ศอก 1 คืบ 4 นิ้ว พระประทานองค์นี้มีตำนานเล่าว่า เมื่อรัชกาลที่ 3 โปรดให้ขุดแร่ทองแดงที่อำเภอจันทึกในแขวงนครราชสีมาได้แร่ถลุงเป็นเนื้อทองแดงลงมามาก
เนื่องจาก พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวมีพระราชประสงค์จะใช้ทองแดงนั้นให้เป็นประโยชน์ เกื้อกูลแต่พระศาสนาก่อน จึงโปรด ให้หล่อพระพุทธรูป ซึ่งประดิษฐานเป็นพระประธานในพระอาราม ซึ่งทรงสร้างใหม่ 2 พระอาราม คือ วัดราชนัดดา กับวัดเฉลิมพระเกียรติ และยังได้โปรดฯ
วัดเฉลิมพระเกียรติวรวิหาร (นนทบุรี)
ที่ตั้ง: 86, หมู่ 3, ถนนท่าน้ำนนท์-วัดโบสถ์ดอนพรหม, ตำบล บางศรีเมือง, จังหวัด นนทบุรี, ประเทศไทย, 11000
โทรศัพท์: 0-2881-6323, 0-2446-4035
รายละเอียด : เป็น 1 ใน 3 วัดที่พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวทรงสร้างขึ้น สักการะ “พระพุทธมหาโลกาภินันทปฎิมา” พระประธานในอุโบสถที่หล่อจากทองแดง เดินเที่ยวชมอุทยานเฉลิมพระเกียรติ และแวะให้อาหารปลาริมแม่น้ำ
การเดินทาง : จากถนนนครอินทร์มุ่งหน้าสะพานพระราม 5 เมื่อวิ่งผ่านสี่แยกบางสีทอง(ถนนบางกรวย-ไทรน้อย) แล้วให้ชิดซ้ายเพื่อเข้าสู่ถนนท่าน้ำนนท์-วัดโบสถ์ แล้ววิ่งตรงไปตามทางเรื่อยๆ จนเจอโรงพยาบาลวัดเฉลิมพระเกียรติทางซ้ายมือ จากนั้นให้เลี้ยวขวาเข้าซอยวัดเฉลิมพระเกียรติ วิ่งไปจนถึงแม่น้ำเจ้าพระยาก็จะเจอวัด
ขอขอบคุณ http://www.zeekway.com/