พระธาตุ ณ วัดหนองแวง จังหวัดขอนแก่น

1

เนื่องจากในเดือนนี้มีวันสำคัญทางพระพุทธศาสนาคือ วันอาสาฬหบูชา ทางคู่หูเดินทางจึงอยากเชื้อเชิญให้เราชาวพุทธศาสนิกชนทั้งหลาย เข้าวัด ฟังธรรม รักษาศีล เพื่อเป็นการพักผ่อนจิตใจ หลังจากที่เราต้องใช้ชีวิตอย่างเหน็ดเหนื่อยกับโลกในยุคปัจจุบันนี้ ทุกครั้งที่ทางทีมงานได้ออกไปทำคอลัมน์ เก็บเกี่ยวเรื่องราวและประสบการณ์ดี ๆ มาฝากคุณผู้อ่านก็ไม่เคยพลาดที่จะต้องแวะวัด ทำบุญ กราบสักการะสิ่งศักดิ์สิทธิ์ของเมืองนั้น ๆ เช่นกัน

โอกาสนี้เราจึงอยากจะพาคุณผู้อ่าน ไปกราบนมัสการพระธาตุสิ่งศักดิ์สิทธิ์ อันเป็นตัวแทนของพระพุทธเจ้า ณ วัดหนองแวง ซึ่งมีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุ 9 ชั้นอันงดงามตั้งอยู่ที่นั่นกันค่ะ…

วัดหนองแวง (พระอารามหลวง) ซึ่งมีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้น เรือนยอดทรงเจดีย์ (จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น) จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน

Read more »

ประวัติวัดหนองแวงพระอารามหลวง

ประวัติวัดหนองแวงพระอารามหลวง

ประวัติสังเขป

วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2332 พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) พ.ศ.2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา

ปัจจุบัน่ตั้งอยู่เลขที่ 593 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ.2442 โดยพระยานครศรีบริรักษ์(อู๋) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มีเนื้อที่ดินที่ตั้งวัด 26 ไร่ 65 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์เป็นโฉนด 713 เลขที่ 28 หน้าสำรวจ 794 เล่มที่ 8 หน้า 13

Read more »

กราบไหว้นมัสการ พระมหาธาตุแก่นนคร (พระธาตุ 9 ชั้น) ณ วัดหนองแวง จ.ขอนแก่น

untitled

วัดหนองแวง (พระอารามหลวง)

ซึ่งมีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้น เรือนยอดทรงเจดีย์ (จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น) จัดสร้างขึ้นเนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราช สมบัติครบ 50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ด้วยความศรัทธาอย่างแรงกล้าของสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชองค์ที่ 19 และความร่วมมือร่วมใจของชาวท้องถิ่น แสดงให้เห็นว่าชาวขอนแก่นยังคงยึดมั่นในหลักแห่งพระพุทธศาสนาอันเป็นที่ยึด เหนี่ยวจิตใจอย่างเหนียวแน่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ในระหว่างการเดินขึ้นเราจะได้ยินเสียงอันไพเราะก้องกังวานของกระดิ่งที่แขวนไว้โดยรอบพระธาตุทั้ง 9 ชั้น ทำให้มีความสุขใจในขณะเดินขึ้นไปในแต่ละชั้น พร้อมยังสามารถเดินชมศิลปะและความงดงามของบานประตู ภาพวาด และหน้าต่างแกะสลัก บอกเล่าเรื่องราวเป็นภาพชาดก ภาพพุทธประวัติ ในชั้นบนสุดของพระธาตุเป็นสถานที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุกลางบุษบก อีกทั้งยังเป็นจุดชมวิวทัศนียภาพความสวยงามของเมืองขอนแก่นได้รอบทั้ง 4 ทิศ โดยเฉพาะทางด้านทิศตะวันออกสามารถมองเห็นทิวทัศน์ของบึงแก่นนครที่มีพื้นที่กว้างใหญ่ถึง 600 ไร่

Read more »

พระมหาธาตุแก่นนคร (พระธาตุ 9 ชั้น ,เจดีย์เก้าชั้น) วัดหนองแวง

img_9156

วัดหนองแวง (พระมหาธาตุแก่นนคร) ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร อำเภอเมือง ภายในวัดหนองแวงเมืองเก่าซึ่งเป็นพระอารามหลวง มีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้นฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 50 เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และมหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานตากแห

ประวัติวัดหนองแวง พระอารามหลวง

วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ.2332 พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) พ.ศ.2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา

Read more »

ภายในองค์พระธาตุ–พระมหาธาตุแก่นนคร

มีอยู่ 9 ชั้น คือ

ชั้นที่ 1 เมื่อเดินขึ้นภายในพระธาตุบริเวณชั้นแรก เป็นหอประชุมมีพระบรมสารีริกธาตุ ประดิษฐานอยู่บนบุษบกและพระประธาน 3 องค์อยู่ตรงกลาง ท่านจะพบกับที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ส่วนอุรังคธาตุ (ส่วนอก) และพระธาตุของพระสาวกประมาณ ๑๐๐ องค์ ที่บรรจุอยู่ในโถแก้ว จะอยู่ในตู้กระจกด้านซ้ายมือของที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุพระพุทธเจ้า ถัดจากโถงตรงกลางมาด้านซ้ายมือประมาณสองเมตร จะเป็นโต๊ะที่เตรียมไว้สำหรับตักบาตร ที่เรียกว่า “ ตักบาตร 108” โดยใช้เหรียญในการตักบาตรนั้น ทั้งนี้เชื่อว่าหากใครได้ตักบาตร ซึ่งสมมติว่าเป็นตัวแทนพระสาวกของพระพุทธเจ้า ทั้ง 108 องค์ และจะเกิดความเป็นศิริมงคลแก่ตนเองและครอบครัว เมื่อเดินตรงไปจะเห็นพระประจำวันเกิดมี่ทางวัดนำมาประดิษฐานไว้ เพื่อให้พุทธศาสนิกชนและนักท่องเที่ยวได้สักการะพระพุทธรูปประจำวันเกิดของตนเอง เพื่อความเป็น ศิริมงคลต่อตนเอง และเมื่อบูชาพระประจำวันเกิดเรียบร้อยแล้ว หากใครต้องการจะทำนายโชคชะตาด้วยตนเอง ก็สามารคเสี่ยงเซียมซีหรือยกช้างทองเหลือง เพื่อเสี่ยงทายว่าจะสมดังปรารถนาหรือไม่

ชั้นที่ 2 เป็นพิพิธภัณฑ์ของชาวอีสาน โดยเก็บรวบรวมข้าวของเครื่องใช้ในอดีตที่ค่อนข้างหาดูได้ยากในปัจจุบัน พร้อมทั้งทีการวาดลวดลายบนผนังที่เกี่ยวกับข้องห้ามของคนอีสาน ที่เรียกว่า “คะลำ” ซึ่งเป็นแนวประพฤติตนในการอยู่ร่วมกันของชาวอีสาน โดยแต่ละภาพก็หมายถึงข้อห้ามแต่ละข้อ ซึ่งมีทั้งหมด 35 ข้อ

Read more »

พระมหาธาตุแก่นนคร

ประวัติวัดหนองแวง (พระมหาธาตุแก่นนคร)
ตั้งอยู่ที่ถนนกลางเมือง ริมบึงแก่นนคร อำเภอเมือง ภายในวัดหนองแวงเมืองเก่าซึ่งเป็นพระอารามหลวง มีพระมหาธาตุแก่นนคร หรือ พระธาตุเก้าชั้นฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 50 เมตร เรือนยอดทรงเจดีย์จำลองแบบจากพระธาตุขามแก่น จัดสร้างขึ้น เนื่องในวโรกาสที่ พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงครองสิริราชสมบัติครบ 50 ปี และ มหามังคลานุสรณ์ 200 ปี เมืองขอนแก่น ความสูงขององค์พระธาตุฯ 80 เมตร มีพระจุลธาตุ 4 องค์ ตั้งอยู่ 4 มุมและมีกำแพงแก้วพญานาค 7 เศียรล้อมรอบ เป็นศิลปะสมัยทวาราวดี ผสมผสานศิลปะอินโดจีน ซึ่งเป็นลักษณะแบบชาวอีสานปากแห วัดหนองแวง เดิมชื่อวัดเหนือ ตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2332 พร้อมกับวัดกลาง และวัดธาตุ โดยท้าวเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนแรก ณ บ้านบึงบอน (บึงแก่นนคร) พ.ศ. 2354 ท้าวจามมุตร ท้ายเพียเมืองแพน เจ้าเมืองคนที่ 2 ได้ย้ายเมืองไปอยู่บ้านดอนพันชาติ เขตเมืองมหาสารคาม (บ้านโนนเมือง ตำบลแพง อำเภอโกสุมพิสัย จังหวัดมหาสารคาม) บ้านบึงบอนจึงกลายเป็นเมืองเก่าตั้งแต่นั้นมา ปัจจุบันตั้งอยู่ เลขที่ 593 ถนนกลางเมือง ตำบลในเมือง อำเภอเมืองขอนแก่น จังหวัดขอนแก่น ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งแรก เมื่อปี พ.ศ. 2442 โดยพระยานครศรีบริรักษ์(อู๋) และได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาครั้งสุดท้าย เมื่อวันที่ 27 สิงหาคม พ.ศ. 2527 เขตวิสุงคามสีมา กว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร มีเนื้อที่ดินที่ตั้งวัด 26 ไร่ 65 ตารางวา โดยมีหนังสือแสดงกรรมสิทธิ์เป็นโฉนด 713 เลขที่ 28 หน้าสำรวจ 794 เล่มที่ 8 หน้า 13 ลักษณะพื้นที่ตั้งวัดและบริเวณโดยรอบเป็นที่ราบเรียบ เป็นลักษณะ 6 เหลี่ยม มีหมู่บ้านล้อมรอบสามด้าน และมีบึงแก่นนครอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด เคยได้รับรางวัล เป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง ปี พ.ศ. 2524 เป็นวัดพัฒนาดีเด่น ปี พ.ศ. 2526 และทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ยกฐานะขึ้นเป็น พระอารามหลวง ปี พ.ศ. 2527

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

วัดคีรีวงศ์ อ.เมือง จ.นครสวรรค์

วัดคีรีวงศ์เป็นสถานที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญๆ ต่าง เพื่อให้ประชาชนได้กราบไหว้บูชา และสถานที่ชมเมืองนครสวรรค์
พื้นที่ของวัดคีรีวงศ์ มีขนาดประมาณ 280 ไร่ มีลักษณะเป็นภูเขา โดยด้านเหนือ ด้านตะวันออกและด้านตะวันตกเป็นภูเขา และมีทางเข้า จากด้านทิศใต้เพียงทางเดียว
เดิมทีชื่อ “เขาใหญ่” แต่ปัจจุบันเปลี่ยนชื่อเป็น “เขาดาวดึงส์” เนื่องจากตั้งอยู่ บนถนนดาวดึงส์และอยู่ในเมืองนครสวรรค์

เมื่อขึ้นไปถึงฐานพระเจดีย์ชั้น 4 จะมองเห็นภูมิทัศน์อันสวยงามของเมืองนครสวรรค์ในระยะไกล
– หากมองไปทางทิศตะวันออกจะมองเห็นเขากบ บึงบอระเพ็ด และตลาดปากน้ำโพ
– หากมองไปทางทิศใต้ จะเห็นอุทยานสวรรค์ ต้นแม่น้ำเจ้าพระยา ศาลากลางจังหวัดนครสวรรค์ และเขาจอมคีรีนาคพรต
– หากมองไปทางทิศตะวันตก จะเห็นภูเขาน้อยใหญ่ และยามพระอาทิตย์ตกดินจะเห็นภาพธรรมชาติที่งดงามยิ่ง

เมื่อเข้าไปภายในองค์พระเจดีย์ชั้น 4 จะพบพระพุทธรูปจำลองที่สำคัญของประเทศไทย ให้ท่านได้สักการะบูชา 4 องค์ ได้แก่ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พระพุทธชินราชจำลอง พระพุทธโสธรจำลอง และพระพุทธรูปหล่อพ่อวัดไร่ขิง และภายในโดมเจดีย์ ได้วาดภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติไว้ให้ชมด้วย

ขอขอบคุณ http://www.painaidii.com

วัดคีรีวงศ์ นครสวรรค์

วัดคีรีวงศ์ ตั้งอยู่บนเขาในเขตตัวเมือง นครสวรรค์ สร้างสมัยปลายกรุงสุโขทัย เดิมเป็นวัดร้างกลางป่าเขา มีพระธุดงค์แสวงบุญมาพบเมื่อปี 2504 ปัจจุบันเป็นสำนักปฏิบัติ
ธรรมประจำจังหวัดนครสวรรค์ มีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาปฏิบัติกิจกรรมทางพุทธศาสนาเป็นประจำ ภายในบริเวณวัดประกอบด้วย พระอุโบสถ สมเด็จพระพุทธโคดมจำลอง ศาลาพุทธานุภาพ วิหารหลวงพ่อโต และพระจุฬามณีเจดีย์ ซึ่งสร้างในสมัยศตวรรษที่ ๑๙ ปลายกรุงสุโขทัยประมาณ 600 ปีมาแล้ว โดยสมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาจ อาสโก) วัดมหาธาตุ กรุงเทพฯ เป็นผู้ตั้งชื่อให้ และแนะนำให้สร้างพระจุฬามหาเจดีย์ไว้บนยอดเขา

ภายในองค์พระเจดีย์ชั้น 4 มีพระพุทธรูปจำลองที่สำคัญของประเทศไทยไว้ให้สักการะบูชา 4 องค์ คือ พระพุทธมหามณีรัตนปฏิมากร (พระแก้วมรกต) พระพุทธชินราชจำลอง พระพุทธโสธรจำลอง และพระพุทธรูปหล่อพ่อวัดไร่ขิง และภายในโดมเจดีย์ ได้วาดภาพจิตรกรรมฝาผนังเกี่ยวกับพระพุทธประวัติไว้ให้ชมด้วย โทร. 0 5622 2009

การเดินทาง จากสะพานเดชาติวงศ์ ใช้ถนนสายนครสวรรค์-พิษณุโลก ถึงสี่แยกเลี้ยวขวา ประมาณ 800 เมตร อยู่ด้านซ้ายมือ

ขอขอบคุณ http://www.sadoodta.com

วัดคีรีวงศ์ Wat Kiriwong

วัดคีรีวงศ์ เดิมเป็นวัดร้าง สันนิษฐานจากซากปรักหักพัง อิฐเก่าและใบเสมา รวมทั้งพระพุทธรูป ว่าสร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัยตอนปลาย แล้วรกร้างเสื่อมโทรมจนกระทั่งราวปี พ.ศ. 2504 มีพระธุดงค์แสวงบุญมาพบอยู่ท่ามกลางป่าเขา จึงแจ้งให้กรมศาสนาและศิลปากรเข้ามาบูรณะ พบว่ามีเจดีย์เก่าแก่กว่า 600 ปี และพื้นที่ของวัดทั้งบนเขาและที่ราบ ประมาณ 280 ไร่ มีลักษณะเป็นภูเขา ด้านเหนือด้านตะวันออกและด้านตะวันตกเป็นภูเขา มีทางเข้าด้าน ทิศใต้ทางเดียว มีลักษณะคล้ายฮวงจุ้ย เดิมชื่อเขาใหญ่ ปัจจุบันชื่อ เขาดาวดึงส์ เพราะตั้งอยู่ ตรงถนน ดาวดึงส์และอยู่เมืองนครสวรรค์ เมื่อ พ.ศ.2504 พระธุดงค์ได้มาปักกลดอยู่บริเวณที่ตั้งวัดในปัจจุบัน ได้พบวัตถุโบราณ เช่น อิฐเก่า ใบเสมาเก่า พระพุทธรูปเก่าและฐานอุโบสถเก่า เป็นต้น สงสัยว่าจะเป็นวัดร้างจึงได้ แจ้งให้กรมการศาสนาทราบและได้ชักชวนประชาชน สร้างกุฎิเล็ก ๆ ที่เชิงเขา 4-5 หลังสมัยนั้นยังกันดารไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา พระธุดงค์ที่มาสร้างวัดถูกต่อต้านจากประชาชน ที่ครอบครอง ที่บริเวณตั้งวัดไม่สามารถสร้างวัดได้สำเร็จจึงได้จากไป เมื่อปี พ.ศ. 2507 กรมการศาสนา ได้จัดส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาสำรวจรังวัดจากหลักฐานวัตถุ โบราณและจากการบอกเล่า ของคนเก่าแก่ที่เคยทำไร่อยู่บริเวณวัดคีรีวงศ์ ยืนยันว่าบริเวณนี้เป็นวัดร้างจริงและพบบ่อกรุน้ำซึมด้วยกรมการศาสนา สมัย พ.อ.ปิ่น มุทุกันต์ เป็นอธิบดีกรมการ ศาสนา ได้สำรวจรังวัดและทำแผนที่ไว้ได้พื้นที่วัดทั้งบนเขาและที่ราบประมาณ 280 ไร่ วัดคีรีวงศ์ เป็นที่ตั้งศูนย์เผยแผ่พระพุทธศาสนา จังหวัดนครสวรรค์ ในความอุปถัมภ์ของ กรมการศาสนา เป็นที่ตั้งอุทยานการศึกษา ของจังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2542 ได้จัดตั้งศูนย์พัฒนาจิตเฉลิมพระเกียรติ จังหวัดนครสวรรค์ พ.ศ. 2544 มหาเถรสมาคม มีมติตั้งวัดคีรีวงศ์ เป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัด แห่งที่ 1

ขอขอบคุณ http://travel.edtguide.com

เที่ยววัดคีรีวงศ์ ชมนครสวรรค์ ได้ทั้งเมือง

big1

เจดีย์ในเมืองไทยนั้นมีมากมายและเขาเชื่อว่าเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ เพราะส่วนมากจะจัดสร้างไว้ในที่สูงหรือบนยอดเขา ศิลปะการสร้างสวยงามเหลือตา แล้วแต่วัฒนธรรมของแต่ละท้องถิ่นนั้น ทำให้ยอดเจดีย์ เป็นที่สถานประดิษฐานพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมือง และมีผู้เคารพนับถือขึ้นไปกราบไหว้มากมาย และบางที่ก็เป็นสัญญาลักษณ์ของจังหวัดนั้นไปเลย เช่น พระธาตุดอยสุเทพ,พระธาตุลำปางหลวง และอีกหลาย ๆที่ แต่ที่นี่ก็เป็นเจดีย์ ที่ ศักดิ์สิทธิ์ สวยงามด้วยศิลปะหลายแขนง เป็นสัญลักษณ์ ของจังหวัดนครสวรรค์ ที่ตั้งเด่นอยู่บนเยอดขาใจกลางเมือง เห็นแล้วสวยงามยิ่งนักมองลงมาเห็นเมืองนครสวรรค์ แถมไปที่เดียว

วัดคีรีวงศ์ตั้งอยู่บนเขาดาวดึงส์ อยู่ในเขตตัวเมืองนครสวรรค์ เป็นวัดเก่าแก่ที่อยู่คู่กับเมืองนครสวรรค์มานนับร้อยปี สร้างมาตั้งแต่สมัยปลายกรุงสุโขทัย เดิมเป็นวัดร้างกลางป่าเขา มีพระธุดงค์แสวงธรรมมาพบจึงทำเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม และมีผู้คนนิยมเดินทางมาปฏิบัติธรรมที่นี่ เป็นประจำ ที่องค์พระเจดีย์สวยมาก ๆ ทั้งเจดีย์เป็นทองเหลืองอร่ามไปทั้งเจดีย์ จัดสร้างขึ้นใหม่โดย หลวงพ่อมหาบุญรอด สร้างเสร็จเมื่อปี 2550 นี้เอง ก่อนทางขึ้นไปมหาเจดีย์ จะมีพระพุทธรูปศักดิ์สิทธิ์องค์ใหญ่ประดิษฐานอยู่คือพระพุทธชินสีห์ เป็นพระพุทธรูปปางนั่งที่สวยงามองค์หนึ่งของเมืองไทย, วิหารหลวงพ่อโต ,ศาลาพุธทานุภาพ,พระพุทธโคคมจำลอง กราบไว้ขอพรก่อนเข้าไปมหาเจดีย์ อันสวยงามและศักดิ์สิทธ์ พระจุฬามณีเจดีย์ เป็นเจดีย์เก่าแก่ สร้างมาประมาณ 600 ปีแล้ว เข้ามาทางด้านในเจดีย์ มีทั้งหมด สี่ชั้น Read more »

ประวัติการสร้างพระจุฬามณีเจดีย์ — วัดคีรีวงค์

เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๘ สมเด็จพระพุฒาจารย์ (อาสภมหาเถระ) วัดมหาธาตุฯ กรุงเทพฯ ได้พาพระสงฆ์ ประมาณ ๖๐๐ รูป มาปักกลดปฎิบัติกรรมฐาน ณ วัดคีรีวงศ์ เป็นเวลา ๖ วัน ได้พาท่านเดินขึ้นมาถึง กลางเขา ซึ่งสมัยนั้นยังไม่ได้ทำถนน มีแต่ทางเดินขึ้น เขาท่านมองไปทางตลาดปากน้ำโพ ท่านได้พูดว่าเขาลูกนี้ตั้งชื่อว่า เขาดาวดึงส์ก็ดีนะ เพราะอยู่ตรงถนนดาวดึงส์และอยู่เมืองนครสวรรค์ และสร้างพระจุฬามณีเจดีย์ไว้บนยอดเขาสักองค์หนึ่ง ต่อมาเมื่อปีพ.ศ.๒๕๒๓ มีนักปฎิบัติกรรมฐาน จากกรุงเทพฯ ๕ คน เป็นสุภาพสตรีมาพักที่ วัดคีรีวงศ์ และขอขึ้นมาปฎิบัติกรรมฐานบนยอดเขาดาวดึงส์ เมื่อกลับไปได้ ๒ เดือน มีผู้ปฎิบัติธรรมคน หนึ่งได้เขียนจดหมายมาถึงเจ้าอาวาสวัดคีรีวงศ์ บอก ว่า คิดอยู่ ๒ เดือนแล้ว จึงตัดสินใจเขียนจดหมายมา ถึงอาจารย์ ท่านอาจารย์จะเชื่อหรือไม่ก็สุดแล้วแต่จะ พิจารณา จะขอเล่าตามนิมิตที่ เห็นในสมาธิ บอกว่า วัดคีรีวงศ์ เป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินสมัยนั้น ได้สร้างไว้และได้สร้างพระเจดีย์ไว้บนยอดเขา ต่อมาพระเจดีย์ได้พังลงพระธาตุได้เสด็จไปอยู่ที่อื่นแล้ว หากอาจารย์อยากจะให้วัดคีรีวงศ์เจริญรุ่งเรือง ต่อไปมากๆแล้ว จะต้องสร้างพระเจดีย์ตรงฐานเจดีย์เก่าบนยอดเขาและให้สร้างแบบพระจุฬามณีเจดีย์ พระจุฬามณีเจดีย์ ที่เห็นในสมาธิบนสวรรค์ ชั้นดาวดึงส์ มีลักษณะเป็นฐาน ๔ เหลี่ยมและรอบฐานนั้นมีภาพพุทธประวัติ เป็นภาพนูน เมื่อสร้างเสร็จแล้ว ให้เอาพระธาตุบรรจุที่พระเจดีย์หรือจะอธิษฐานให้พระธาตุกลับมาอยู่ที่เดิม ก็ได้ วัดคีรีวงศ์จะเจริญรุ่งเรืองต่อไปอีกมาก เมื่อเดือนตุลาคม ๒๕๒๓ จึงได้สร้างถนนขึ้นเขาดาวดึงส์ โดยนายสำราญ นางบุญชู จงเศรษฐี ซึ่งมีรถสร้างถนนได้มาช่วยทำให้เสียค่าน้ำมัน เพียง ๓ หมื่นบาทเศษเท่านั้น เมื่อวันที่ ๒๕ มีนาคม ๒๕๒๔ ได้วางศิลาฤกษ์สร้างพระจุฬามณีเจดีย์สร้างได้ ๒ ปี หยุดพักเพื่อสร้างโรงเรียนพระปริยัติธรรม ข้างล่าง
พ.ศ. ๒๕๓๓ จึงสร้างต่อ องค์พระเจดีย์สำเร็จ ยังเหลือฐานพระเจดีย์และศาลาราย สร้างอยู่๓ ปีก็หยุดก่อสร้าง เพื่อลงไปสร้างหอประชุมธรรมานุภาพ ข้างล่าง พ.ศ. ๒๕๔๔ เริ่มสร้างต่อจนสำเร็จ
อนึ่งทางวัดได้ทำพิธีบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากประเทศศรีลังกา เมื่อ พ.ศ.๒๕๓๘ โดยเจ้าประคุณสมเด็จพระมหารัชชมังคลาจารย์ วัดปากน้ำ ภาษีเจริญ เจ้าคณะใหญ่หนเหนือ กรรมการมหาเถรสมาคม เมื่อวันที่ ๒๒ สิงหาคม ๒๕๕๐

Read more »

การเดินทางมาวัดคีรีวงศ์

ki331

1. มาลงที่สถานีรถไฟนครสวรรค์ ต่อรถสองแถวสีเขียว
มาลงที่หน้าวัดนครสวรรค์ ต่อรถสายดาวดึงส์ หรือ
เขาขาด-ตลาด ผ่านหน้าวัดคีรีวงศ์ มีป้ายชื่อวัดติด
ที่ข้างรถทุกคัน

2. มาลงที่สถานีขนส่งนครสวรรค์
ต่อรถสองแถว ศูนย์ฯ – ตลาด ผ่านหน้าวัดคีรีวงศ์
และมีป้ายชื่อวัดคีรีวงศ์ ติดข้างรถทุกคัน

3. เมื่อลงหน้าวัดคีรีวงศ์แล้ว หน้าวัดมีมอเตอร์ไซด์
รับจ้าง 10 บาท

Read more »

หอชมเมือง นมัสการพระบรมสารีริกธาตุ พระจุฬามณีเจดีย์ วัดคีรีวงศ์ พระพุทธศรีสวรรค์ วัดนครสวรรค์

1276449562

วัดคีรีวงศ์ ตำบลปากน้ำโพ อำเภอเมืองฯ จังหวัดนครสวรรค์
วัดคีรีวงศ์ ตั้งอยู่ถนนมาตุลีและถนนดาวดึงส์ ตรงข้ามวิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์และ บริษัทถาวรฟาร์ม ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ อำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ มีพื้นที่ของวัดทั้งบนเขาและที่ราบ ประมาณ ๒๘๐ ไร่ มีลักษณะเป็นภูเขา ด้านเหนือด้านตะวันออกและด้านตะวันตกเป็นภูเขา มีทางเข้าด้าน ทิศใต้ทางเดียว มีลักษณะคล้ายฮวงจุ้ย เดิมชื่อเขาใหญ่ ปัจจุบันชื่อ เขาดาวดึงส์ เพราะตั้งอยู่ ตรงถนน ดาวดึงส์และอยู่เมืองนครสวรรค์
เมื่อ พ.ศ. ๒๕๐๔ พระธุดงค์ได้มาปักกลดอยู่บริเวณที่ตั้งวัดในปัจจุบัน ได้พบวัตถุโบราณ เช่น อิฐเก่า ใบเสมาเก่า พระพุทธรูปเก่าและฐานอุโบสถเก่า เป็นต้น สงสัยว่าจะเป็นวัดร้างจึงได้ แจ้งให้กรมการศาสนาทราบและได้ชักชวนประชาชน สร้างกุฎิเล็ก ๆ ที่เชิงเขา ๔-๕ หลังสมัยนั้นยังกันดารไม่มีไฟฟ้า ไม่มีน้ำประปา
Read more »

ประวัติวัดคีรีวงศ์

วัดคีรีวงค์ เป็นวัดที่สร้างในสมัยกรุงสุโขทัย ซึ่งพระเจ้าแผ่นดินสมัยนั้น ได้สร้างไว้และได้สร้างพนะจเดีย์ไว้บนยอดเขา ต่อมาพระเจดีย์ได้พังลง พระธาตุได้เสด็จไปอยู่ที่อื่นแล้ว หากอาจารย์อยากจะให้วัดคีรีวงศ์เจริญรุ่งเรือง ต่อไปมากๆแล้ว จะต้องสร้างพระเจดีย์ตรงฐานเจดีย์เก่าบนยอดเขา และให้สร้างแบบพระจุฬามณีเจดีย์

ซึ่งมีเจ้าพระวิกรมมุนีรองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ เป็นเจ้าอาวาสเดิมเป็นวัดร้าง มีสภาพเป็นป่าเขา พระธุดงค์ได้มาพบซากวัตถุโบราณ เมื่อปี พ.ศ. 2504 สงสัยว่าจะวัดร้าง จึงได้แจ้งให้กรมศาสนา และ กรม ศิลปกรทราบ
ปี พ.ศ. 2507 ทางกรมศาสนาได้ส่งเจ้าหน้าที่ขึ้นมาสำรวจรังวัด เนื้อที่ทั้งบนเขาและที่ราบประมาณ 280 ไร่ และ ทางกรมศิลปากรได้มาพิสูจน์หลักฐานวัตถุ เช่น อิฐเก่า ใบเสมาเก่าและพระรูปเก่าเป็นต้น พิสูจน์ว่าเป็นวัดที่สร้างสมัยปลายกรุงสุโขทัยประมาณศตวรรษที่ 19 ประมาณ 600 ปี

พระธุดงค์และประชาชนที่มาพบครั้งแรกได้ร่วมสร้างกุฏิเล็กๆขึ้นที่เชิงเขา 4 – 5 หลัง แต่ไม่สามารถดำเนินการสร้างได้สำเร็จ จึงย้ายไปที่อื่น

เมื่อปี พ.ศ. 2508 คณะกรรมการผู้ริเริ่มสร้างวัดซึ่งมีนายเปงซ้ง แซ่ตั้ง เป็นหัวหน้าได้ไปขอพระมหาบุญรอด จากเจ้าคณะอำเภอเมืองนครสวรรค์ จังหวัดนครสวรรค์ เพื่อมาสร้างวัดคีรีวงศ์ ทางเจ้าคณะอำเภอเมืองนครสวรรค์โดยฌฉพาะพระเดชงพระคุณเทพญาณมุนีรองเจ้าคณะภาคที่ 4 ในสมัยพระมหาวิศิษฐ์ เลขานุการเจ้าคณะอำเภอเมือง พิจารณาเห็นว่าสถานที่วัดคีรีวงศ์นี้ มีเนื้อที่มากกำลังมีปัญหาเกี่ยวกับที่ดิน และสามารถจะพัฒนาให้เป้นวัดที่เจริญในอนาคตได้ จึงได้ส่งพระมหาบุญรอด ผัญญาวโร ป.ธ.5 หรือ เจ้าคุณพระวิกรมุนี ในปัจจุบันซึ่งจำพรรษาอยู่ที่วัดนครสวรรค์ ให้มาสร้างวัดคีรีวงศ์แห่งนี้ และการสร้างวัดคีรีวงศ์ต้องพบอุปสรรคและปัญหามากมาย เพราะปะชาชนที่ครอบครองที่ดินอยู่ต่อต้านจะไม่ให้สร้างวัด แต่ก็สำเร็จลุล่วงด้วยดี โดยอาศัยความร่วมมีจากคณะสงฆ์และประชาชนที่เห็นตวามสำคัญของพระพุทธศาสนา

Read more »

วัดคีรีวงศ์  สำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครสวรรค์ แห่งที่ 1

วัดคีรีวงศ์ เดิมเป็นวัดร้างกลางป่าเขา มีพระธุดงค์จาริกมาพบเมื่อปี 2504 ปัจจุบันเป็นสำนักปฏิบัติธรรมประจำจังหวัดนครสวรรค์ มีพุทธศาสนิกชนเดินทางมาปฏิบัติกิจกรรมทางพุทธศาสนาเป็นประจำ

ตั้งอยู่ถนนมาตุลีและถนนดาวดึงส์ ตรงข้ามวิทยาลัยอาชีวศึกษานครสวรรค์ และบริษัทถาวรฟาร์ม ในเขตเทศบาลนครนครสวรรค์ มีพื้นที่ของวัดทั้งบนเขาและที่ราบ ประมาณ 280 ไร่

ปัจจุบัน วัดคีรีวงศ์ มีพระราชพรหมาจารย์ (บุญรอด ป.ธ.5) เป็นเจ้าอาวาส และเป็นรองเจ้าคณะจังหวัดนครสวรรค์ รับผิดชอบงานเผยแผ่พระพุทธศาสนา

พระวิปัสสนาจารย์

■พระครูนิยมกิจจานุกิจ โทร.089 8591511
■พระครูสังฆรักษ์สมหวัง ปิยธมฺโม

วิทยากร

■พระครูใบฎีกาสุธัน อิสฺสโร โทร.086 6201356
■พระใบฎีกาธนาชัย ตนฺติปาโล โทร.083 6275333

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .