วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร(วัดกัลยา) พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ เจ้าพระยานิกรบดินทร์(โต กัลยาณมิตร) ได้อุทิศบ้านและซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มเติม สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ.๒๓๖๘ แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามว่า วัดกัลยาณมิตร และทรงสร้างพระราชทานทั้งพระวิหารหลวงและพระประธานสำหรับพระวิหารหลวง คือ หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นพระพุทธรูปใหญ่อยู่ริมแม่น้ำแบบเดียวกันกับที่วัดพนัญเชิง กรุงเก่า หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงโดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง ภายในพระอุโบสถซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพระวิหาร มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง พุทธประวัติที่แทรกเรื่องราวชีวิตชาวบ้านชาวเมืองสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งนอกจากจะมีคุณค่าทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สังคมอย่างยิ่งอีกด้วย
ไหว้พระวัดกัลยาณมิตร โชคดีมีมิตรที่ดี เดินทางปลอดภัย
วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร พระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร
วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร (วัดกัลยา) ตั้งอยู่ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ได้อุทิศบ้านและซื้อที่ดินข้างเคียงเพิ่มเติม สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ แล้วน้อมเกล้าฯ ถวายพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามว่า วัดกัลยาณมิตร และทรงสร้างพระราชทานทั้งพระวิหารหลวงและพระประธานสำหรับพระวิหารหลวง คือ หลวงพ่อโตหรือพระพุทธไตรรัตนนายก โดยทรงมีพระราชประสงค์ให้เป็นพระพุทธรูปใหญ่อยู่ริมแม่น้ำแบบเดียวกันกับที่วัดพนัญเชิง กรุงเก่า หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูงโดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง ภายในพระอุโบสถซึ่งมีขนาดเล็กกว่าพระวิหาร มีจิตรกรรมฝาผนังเรื่อง พุทธประวัติที่แทรกเรื่องราวชีวิตชาวบ้านชาวเมืองสมัยรัชกาลที่ ๓ ซึ่งนอกจากจะมีคุณค่าทางวัฒนธรรมแล้ว ยังมีคุณค่าทางประวัติศาสตร์สังคมอย่างยิ่งอีกด้วย
การศึกษาในวัดกัลยาณมิตร
การศึกษาในยุคแรกๆ ของวัดกัลยาณมิตรจะเป็นอย่างไรสืบไม่ได้ความชัด ทราบแต่ว่าในยุคพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (เปีย จนฺทสิริ) เป็นเจ้าอาวาส การศึกษามีทั้งคันถธุระและวิปัสสนาธุระ รวมทั้งภาษาไทย
ฝ่ายคันถธุระ เดิมพระอุบาลีคุณูปมาจารย์ (เปีย จนฺทสิริ) เป็นครูผู้สอน ต่อมา พระเจ้าบรมวงศ์เธอ พระองค์เจ้าเจริญศรีชนมายุทรงจ้างขุนอนุสาสน์วินิต (พุก) มาสอน โดยประทานเงินส่วนพระองค์ให้เป็นเงินเดือน เดือนละ ๑๕ บาท พระสุนทรสมาจาร (พรหม) เมื่อยังเป็นพระครูพินิตวิหารการ จ้างอาจารย์นวลมาสอนโดยออกเงินส่วนตัวเป็นเงินเดือน เดือนละ ๑๕ บาท และพระครูสุนทรกาษฐโกศล (ทับ) เมื่อยังเป็นพระครูปลัดนิพัทธ์โพธิพงศ์ จ้างอาจารย์เง็กมาสอนโดยออกเงินส่วนตัวบ้าง สัปปุรุษบริจาคบ้าง ให้เป็นเงินเดือน เดือนละ ๑๕ บาท เรื่องที่สอน เช่น มูลกัจจายน์ ธัมมะปทัฏฐกถา มงคลตถทีปนี เป็นต้น มีภิกษุสามเณรและกุลบุตรเล่าเรียนกันมากบ้างน้อยบ้าง ผู้ที่สอบได้เป็นเปรียญในยุคนั้นมีหลายท่าน เช่น พระมหาปลด กิตฺติโสภโณ (ภายหลังได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ สถาปนาขึ้นเป็นสมเด็จพระอริยวงศาคตญาณ สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปรินายก ซึ่งเป็นองค์ที่ ๑๔ แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) พระมหาวัน (พระอริยสีลาจารย์ อดีตเจ้าอาวาสวัดสังข์กระจาย) เป็นต้น
สถานะและที่ตั้ง วัดกัลยาณมิตร
วัดกัลยาณมิตร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร เป็นวัดขนาดใหญ่ตรงปากคลองบางกอกใหญ่ หน้าวัดอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา ตรงข้ามกับโรงเรียนราชินี ตั้งอยู่เลขที่ ๓๗๑ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๓ ไร่ ๑ งาน ๑๘ ๖/๑๐ ตารางวา
เขตวิสุงคามสีมา หรือบริเวณพระอุโบสถ ด้านกว้าง ๓๑.๗๕ เมตร ด้านยาว ๔๑.๕๓ เมตร ส่วนบริเวณของวัดโดยรอบ ทิศตะวันออกยาว ๒๖๒ เมตร มีคูข้างวัดเป็นเขต ติดต่อกับเนื้อที่บ้านราษฎร ทิศตะวันตกยาว ๒๖๖ เมตร มีเขื่อนข้างวัดเป็นเขต ติดต่อกับคลองบางกอกใหญ่ ทิศเหนือยาว ๒๐๖ เมตร มีเขื่อนหน้าวัดเป็นเขต ติดต่อกับแม่น้ำเจ้าพระยา ทิศใต้ยาว ๒๑๖ เมตร มีคูข้างวัดเป็นเขต ติดต่อกับเนื้อที่ราษฎรและที่ธรณีสงฆ์ของวัดบางส่วน
ผู้สร้างวัดและความสำคัญของวัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร
ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ เจ้าพระยานิกรบดินทร (เจ้าสัวโต ต้นสกุลกัลยาณมิตร) ว่าที่สมุหนายก ชื่อจีนว่า เต๋า แซ่อึ้ง เมื่อครั้งยังเป็นพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลาง (ชื่อกรมในสมัยโบราณ มีหน้าที่เกี่ยวข้องกับการทำบัญชีไพร่พล ตลอดจนการเกณฑ์ชายฉกรรจ์เข้ามาฝึกอาวุธและวิชาการรบ เพื่อเป็นกำลังสำรองเวลาบ้านเมืองมีศึกสงคราม) ได้อุทิศที่บ้านกับซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียงเพิ่มเติมเข้าด้วยกันสร้างพระอาราม ที่ดินบริเวณที่จะสร้างวัดกัลยาณมิตรนี้เดิมในสมัยกรุงศรีอยุธยาไม่มีดินเป็นแม่น้ำดอนขึ้น ครั้งกรุงธนบุรีเป็นที่จอดแพได้ ครั้นนานวันผันกลับดอนเป็นดิน กลายเป็นที่ตั้งบ้านเรือนของพ่อค้าชาวจีนฮกเกี้ยนที่ได้รับพระราชทานที่ดินจากพระมหากษัตริย์ไทย เช่น หลวงพิชัยวารี (เจ้าสัวมั่ง แซ่อึ้ง) บิดาของเจ้าพระยานิกรบดินทร ชุมชนย่านนี้นอกจากชาวจีนแล้วยังเป็นที่อยู่อาศัยของทั้งชาวโปรตุเกส ชาวมุสลิม ชาวไทย และยังมีพระภิกษุจีนพำนักอยู่ด้วย ชาวบ้านจึงเรียกย่านนี้ว่า ชุมชนกะดีจีน หรือ กุฎีจีน
การก่อสร้างพระอารามเริ่มลงมือเมื่อปีระกา พ.ศ. ๒๓๖๘ เป็นปีที่ ๒ในรัชกาลที่ ๓ แล้วถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวพระราชทานนาม วัดว่า วัดกัลยาณมิตร ในพระราชพงศาวดารกรุงรัตนโกสินทร์ รัชกาลที่ ๓ บันทึกไว้ว่า …เจ้าพระยานิกรบดินทรยกที่บ้านเดิมของท่าน แล้วซื้อที่บ้านข้าราชการและบ้านเจ้าสัว
ประวัติ วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร
วัดกัลยาณมิตร เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร เป็น
วัดขนาดใหญ่ตรงปากคลองบางกอกใหญ่ หน้าวัดอยู่ติดแม่น้ำเจ้าพระยา
ตรงข้ามกับโรงเรียนราชินี ตั้งอยู่เลขที่ ๓๗๑ แขวงวัดกัลยาณ์ เขตธนบุรี
กรุงเทพมหานคร มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๓๓ ไร่ ๑ งาน ๑๘ ตารางวา
เขตวิสุงคามสีมา หรือบริเวณพระอุโบสถ ด้านกว้าง ๓๑.๗๕ เมตร
ด้านยาว ๔๑.๕๓ เมตร ส่วนบริเวณของวัดโดยรอบ ทิศตะวันออกยาว
๒๖๒ เมตร มีคูข้างวัดเป็นเขต ติดต่อกับเนื้อที่บ้านราษฎร ทิศตะวันตก
ยาว ๒๖๖ เมตร มีเขื่อนข้างวัดเป็นเขต ติดต่อกับคลองบางกอกใหญ่
ทิศเหนือยาว ๒๐๖ เมตร มีเขื่อนหน้าวัดเป็นเขต ติดต่อกับแม่น้ำ
เจ้าพระยา ทิศใต้ยาว ๒๑๖ เมตร มีคูข้างวัดเป็นเขต ติดต่อกับเนื้อที่
ราษฎรและที่ธรณีสงฆ์ของวัดบางส่วน
Read more »
วัดกัลยาณมิตรฯ เที่ยวฝั่งธนฯ สักการะซำปอกงองค์ใหญ่
“พระพุทธไตรรัตนนายก” หรือที่คนจีนเรียกกันติดปากว่า “ซำปอกง” ส่วนคนไทยมักเรียกว่า “พระโต” หรือ “หลวงพ่อโต” เป็นพระพุทธรูปปูนปั้นปางมารวิชัยที่มีขนาดใหญ่ที่สุดในกรุงเทพฯ องค์พระมีสีเหลืองทองอร่ามทั้งองค์ หน้าตักกว้าง 11.75 เมตร สูง 15.46 เมตรด้วยขนาดขององค์พระทำให้เราดูตัวเล็กกระจิดริด ยิ่งเมื่อประกอบกับลวดลายอันวิจิตรบรรจงภายในวิหารซึ่งประดับประดาด้วยลวดลายดอกไม้บนผนังและเสา แถมบริเวณหน้าบันยังสลักลายดอกไม้ประดับกระจก ยิ่งขับให้หลวงพ่อโตดูศักดิ์สิทธิ์และเปี่ยมไปด้วยความน่าศรัทธายิ่งนัก พระวิหารหลวงหลังนี้เป็นรูปแบบสถาปัตยกรรมแบบไทยด้วยการก่ออิฐถือปูน หลังคามุงกระเบื้องเคลือบ ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ส่วนด้านหน้าพระวิหารหลวงมีซุ้มประตูหินเป็นศิลปะแบบจีนขนาดใหญ่สีทึมเรียกว่า “โขลนทวาร”ประดับด้วยตุ๊กตาหินศิลปะจีนตั้งเรียงรายอยู่มากมายซึ่งรัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร) ครั้งนั้นทรงมีความตั้งใจให้มีลักษณะคล้ายกรุงศรีอยุธยา คือ มีพระโตนอกกำแพงเมืองอย่างวัดพนัญเชิง วรวิหาร จังหวัดพระนครศรีอยุธยา โดยทรงเอาเคล็ดว่าท่านมีชื่อว่า “โต” เมื่อรวมความหมายกับเจ้าพระยานิกรบดินทร์มิตรที่ดีของรัชกาลที่ 3 วัดแห่งนี้จึงชื่อว่า “วัดกัลยาณมิตร” หรือมิตรที่ดี เมื่อเรามากราบไหว้ก็เหมือนท่านให้พรว่าจะมีมิตรที่ดีด้วย ซึ่งก็มีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ เข้ามาชื่นความงดงามและสักการะกันอย่างไม่ขาดสาย และมีควันธูปลอยฟุ้งให้เรารู้สึกเคืองตาอยู่ไม่น้อย ยิ่งช่วงหน้าเทศกาลอย่างวันขึ้นปีใหม่ วันสงกรานต์ หรือวันตรุษจีน เพื่อเป็นการเริ่มต้นสิ่งดีๆ ต้อนรับวันใหม่ เรามักจะเห็นชาวไทยและชาวไทยเชื้อสายจีนเข้ามาสักการะกันอย่างเนืองแน่นทั้งวัน แสดงให้เห็นว่าวัดแห่งนี้เปี่ยมไปด้วยพลังศรัทธาอย่างมหาศาล
วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร : สุขใจ ได้ไหว้หลวงพ่อโต (พระอมยิ้ม)
ณ ริมแม่น้ำเจ้าพระยา ฝั่งธนบุรี บริเวณปากคลองบางกอกใหญ่ฝั่งใต้ เป็นที่ตั้งของ “วัดกัลยาณมิตร วรมหาวิหาร” หรือที่นิยมเรียกสั้นๆกันว่า “วัดกัลยาณมิตร”หรือ”วัดกัลยาณ์” เป็นพระอารามหลวง ชั้นโท ชนิดวรมหาวิหาร วัดแห่งนี้สร้างขึ้นมาในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 โดยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต กัลยาณมิตร)
การเดินทางมาเยือนวัดแห่งนี้ที่นิยมและสะดวกมาก คือการเดินทางมาโดยทางเรือ … ด้านหน้าของวัดมี “ศาลาท่าน้ำ” ผู้คนที่มาทำบุญที่วัดมักจะนิยมมาให้อาหารปลาและนกพิราบที่มีอยู่มากมายบริเวณศาลาท่าน้ำ นอกจากนี้บริเวณนี้ยังสามารชมวิวทิวทัศน์สองฝั่งแม่น้ำเจ้าพระยาได้อย่างกว้างขวางสวยงามอีกด้วย
หลวงตา ผู้รู้ประวัติของวัดนี้เป็นอย่างดีเล่าว่า “แต่เดิม เจ้าพระยานิกรบดินทร์ เดิมชื่อ โต แซ่อึ่ง ต้นสกุลกัลยาณมิตร ครั้งยังป็นพระยาราชสุภาวดี เจ้ากรมพระสุรัสวดีกลาง เคยทำมาค้าขายกับรัชกาลที่ 3 อย่างซื่อสัตย์มานานจนสนิทเป็นมิตรกัน ในเวลาต่อมา เจ้าพระยานิกรบดินทร์จึงได้อุทิศบ้านและซื้อที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ มีกุฎิและศาลาเจ้าที่เรียกว่า เกียงอันเก๋ง ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกของวัด ดังปรากฏอยู่จนทุกวันนี้หมู่บ้านแห่งนี้ และเรียกกันต่อมาว่า “หมู่บ้านกุฎีจีน”
วัดกัลยาณมิตรวรมหาวิหาร
เจ้าพระยานิกรบดินทร์ (โต) ต้นสกุลกัลยาณมิตร ว่าที่สมุหนายก ได้อุทิศบ้านและที่ดินบริเวณใกล้เคียง ซึ่งแต่เดิมเป็นหมู่บ้านที่มีภิกษุจีนพำนักอยู่ และเรียกกันต่อมาว่า “หมู่บ้านกุฎีจีน” สร้างเป็นวัดขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๖๘ และน้อมเกล้าฯ ถวายเป็นพระอารามหลวง พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ พระราชทานนามว่า “วัดกัลยาณมิตร” และทรงสร้างพระวิหารหลวงและพระประธานพระราชทาน เป็นพระพุทธรูปองค์ใหญ่ ชื่อ พระพุทธไตรรัตนนายก หรือ หลวงพ่อโต ด้วยมีพระประสงค์จะให้เหมือนกรุงเก่า คือมีพระโตอยู่นอกกำแพงเมือง อย่างเช่นวัดพนัญเชิง
หลวงพ่อโตเป็นที่เคารพสักการะอย่างสูง โดยเฉพาะในหมู่ชาวจีน เรียกชื่อแบบจีนว่า ซำปอฮุดกง หรือ ซำปอกง เป็นพระพุทธรูปปูนปั้น ปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๕ วา ๓ ศอกคืบ สูง ๗ วา ๒ ศอกคืบ ๑๐ นิ้ว พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดเกล้าฯให้สร้างพระราชทานช่วยเจ้าพระยานิกรบดินทร์ เสด็จก่อพระฤกษ์เมื่อ ๑๘ พฤษภาคม พ.ศ. ๒๓๘๐ อยู่ภายในพระวิหารขนาดใหญ่อยู่กลางวัด ตรงกลางระหว่างวิหารเล็กและพระอุโบสถ
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) สถาปัตยกรรมที่สำคัญ–พระบรมบรรพตภูเขาทอง
พระบรมบรรพตภูเขาทอง มีประวัติความเป็นมาที่ยิ่งใหญ่ เพราะสร้างโดยพระมหากษัตริย์แห่งพระราชวงศ์จักรีถึง 3 พระองค์ด้วยกัน คือ รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ตามลำดับ ใช้เวลาในการก่อสร้างเป็นเวลาประมาณ 5 ทศวรรษ ปัจจุบันมีอายุร่วม 200 กว่าปี บนยอดมีเจดีย์สีทองเหลืองอร่ามประดิษฐานอยู่ ได้จำลองแบบมาจากพระเจดีย์ของวัดภูเขาทองในจังหวัดพระนครศรีอยุธยา
พระบรมบรรพตภูเขาทองนี้มีความสูงประมาณ 100 เมตร มีความกว้างโดยรอบเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ 500 เมตร ในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้เสด็จพระราชดำเนินประกอบพระราชพิธีอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุที่บูชาไว้ในพระบรมมหาราชวังประดิษฐานในพระเจดีย์ภูเขาทองเป็นครั้งแรกเมื่อ พ.ศ. 2440 ครั้งที่ 2 ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระบรมสารีริกธาตุที่อัญเชิญจากเมืองกบิลพัสดุ์ประเทศอินเดีย ครั้งที่ 3 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวรัชกาลปัจจุบัน เสด็จพระราชดำเนินทรงบรรจุพระบรมสารีริกธาตุในพระเจดีย์ยอดพระมณฑปเมื่อวันที่ 22 มกราคม พ.ศ. 2497 การขึ้นไปกราบนมัสการพระบรมสารีริกธาตุ ณ พระบรมบรรพตภูเขาทองข้างบน ให้เดินขึ้นไปตามบันไดเวียน ซึ่งมีอยู่ทั้งสองด้าน คือ ด้านทิศเหนือและด้านทิศใต้ ซึ่งบันไดแต่ละด้านมี 344 ขั้น ประเทศที่มีพระบรมสารีริกธาตุไว้ในครอบครองได้นั้นมีเพียงไม่กี่ประเทศ เช่น จีน อินเดีย และญี่ปุ่น
ขอขอบคุณ http://www.9templethailand.com/
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) สถาปัตยกรรมที่สำคัญ–พระระเบียง
พระระเบียง เป็นเครื่องกั้นล้อมรอบพุทธสถานสำคัญสร้างตามคตินิยมตามแบบขอม คติการสร้างพระระเบียงของไทยนั้นสมเด็จฯกรมพระยาดำรงราชานุภาพทรงวิเคราะห์ว่า แต่เดิมนั้นมีวัตถุประสงค์เพื่อเป็นที่พักของพุทธบริษัทที่เดินทางมาจากที่ไกลๆได้พักผ่อน ครั้นในสมัยรัตนโกสินทร์สร้างขึ้นเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปเรียงรายภายใน พระระเบียงสร้างรอบพระอุโบสถวัดนี้ รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้สร้างขึ้น พร้อมกับการปฏิสังขรณ์พระอุโบสถ ประกอบด้วยซุ้มประตู 4 ทิศ เหนือซุ้มประตูมีมุขยื่นหลังคาลดหลั่นกัน ที่หน้าบันสลักลายกระหนกลายก้านขดประดับกระจก ลายอ่อนช้อยรับกับใบระกา ช่อฟ้า หางหงส์ ที่ประดับบนหลังคา และสอดรับกลมกลืนกับหลังคาพระอุโบสถ เสมือนเป็นพุทธสถานในชุดเดียวกันยามที่แดดส่องลงบนหลังคา แสงสะท้อนกระจกประดับลายขับสีวาววับตัดสีทองดูอร่ามตายิ่งนัก เพดานพระวิหารคดทาสีแดง ประดับรูปดาวราย ภายในตั้งแท่นประดิษฐานพระพุทธรูปปูนปั้นประดับทองคำเปลวที่รัชกาลที่ 3 โปรดเกล้าฯให้อัญเชิญมาจากหัวเมือง พระพุทธรูปปางต่างๆ ที่ประดิษฐานรายรอบทั้งสี่ด้านนับรวมได้ 163 องค์
ขอขอบคุณ http://www.9templethailand.com/
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) สถาปัตยกรรมที่สำคัญ–หลวงพ่อดุสิต
หลวงพ่อดุสิต เป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัย พระพุทธศิลป์สมัยรัตนโกสินทร์ มีประวัติว่า เดิมเป็นพระประธานประจำพระอุโบสถวัดดุสิตมาก่อน เมื่อรัชกาลที่ 5 ทรงสร้างพระราชวังดุสิต และสวนดุสิตจำเป็นต้องขยายบริเวณเกินเนื้อที่วัดเบญจมบพิตรและวัดดุสิต จึงโปรดให้อัญเชิญพระประธานในพระอุโบสถวัดดุสิตไปประดิษฐานอยู่ในห้องด้านหลังพระวิหารพระอัฏฐารสซึ่งว่างอยู่ ภายหลังเรียกกันว่า “หลวงพ่อดุสิต” ประดิษฐานอยู่ตลอดมาจนทุกวันนี้
ขอขอบคุณ http://www.9templethailand.com/
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) สถาปัตยกรรมที่สำคัญ–พระอัฏฐารส
พระอัฏฐารส มีพระนามเต็มว่า พระอัฏฐารสศรีสุคตทศพลญาณบพิตร เป็นพระพุทธรูปปางห้ามญาติ เป็นศิลปะสมัยสุโขทัยตอนต้น อายุ 700 ปี รัชกาลที่ 3 โปรดให้อัญเชิญพระอัฏฐารส มาจากวัดวิหารทอง เมืองพิษณุโลก มาประดิษฐานไว้ ณ พระวิหารแห่งนี้เป็นประพุทธรูปยืนที่มีความสูงที่สุด ในกรุงเทพมหานคร มีความสูงถึง 5 วา 1 ศอก 10 นิ้ว (21 ศอก 1 นิ้ว) หล่อด้วยทองสัมฤทธิ์ทั้งองค์ โดยไม่มีการเชื่อมต่อ ประดิษฐานอยู่บนชุกชีในพระวิหาร เพื่อให้บ้านเมืองสงบสุขปราศจากสงคราม ป้องกันความแตกแยกของคนในชาติ ให้คนในชาติเกิดความรักความสามัคคี และให้ประเทศชาติสถิตสถาพรมั่นคงยั่งยืนนาน ประหนึ่งพระพุทธปฏิมากรประทับยืนสถิตสถาพรเป็นนิรันดร์
ขอขอบคุณ http://www.9templethailand.com/
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) สถาปัตยกรรมที่สำคัญ–พระวิหาร
พระวิหาร มีความสวยงามสูงเด่นเป็นสง่า มีหลังคามุงด้วยกระเบื้องเคลือบ มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันทั้งสองด้านประดับด้วยกระจกสี เป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปสำคัญ 2 องค์ คือ พระอัฏฐารส และหลวงพ่อดุสิต นอกจากนี้ยังใช้เป็นสถานที่ประกอบพิธีเจริญพระพุทธมนต์บทมหาสมัยสูตร เพื่อทำน้ำพระพุทธมนต์ ในช่วงเทศกาลสงกรานต์ สำหรับแจกจ่ายให้ประชาชน
ขอขอบคุณ http://www.9templethailand.com/
วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร (วัดภูเขาทอง) สถาปัตยกรรมที่สำคัญ–พระอุโบสถ
พระอุโบสถ ประดิษฐานบนลานกระเบื้องสีเหลืองนวลรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ตั้งอยู่ภายในกำแพงแก้ว มีพระระเบียงรอบพระอุโบสถ และมีพัทธสีมาตั้งรายรอบอยู่ 8 ทิศ ระหว่างกำแพงแก้วกับพระระเบียงนั้นมีพระเจดีย์รายรอบ พัทธสีมาที่ประดิษฐานในซุ้มทรงกูบช้างที่ประดับกระเบื้องลายวิจิตร เป็นฝีมือช่างจากเมืองจีน ใบสีมาแต่ละซุ้มนั้นสลักด้วยศิลาประดับกระจกสี ซุ้มละ 2 ใบ ซุ้มพัทธสีมาวัดสระเกศนี้มีชื่อเสียงในด้านความสวยงาม และแปลกเป็นพิเศษต่างจากวัดอื่นๆ จนสมเด็จพระมหาสมณเจ้ากรมพระยาวชิรญาณวโรรส (สมเด็จพระสังฆราชเจ้าองค์ที่ 10 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์) ทรงสรรเสริญว่า “ซุ้มพัทธสีมาวัดสระเกศ วิจิตสวยงามมาก ควรถือเป็นแบบอย่างได้”
หน้าบันพระอุโบสถทั้งด้านหน้าและด้านหลังสลักลายกระหนกลายก้านขดประดับกระจกสี ตรงกลางประดับรูปพระนารายณ์ทรงครุฑ อันเป็นสัญลักษณ์แห่งราชวงศ์จักรี กระหนกลายก้านขดทอดลายงดงามรับกับเครื่องหลังคาที่ประดับช่อฟ้า ใบระกา หางหงส์ ดูอ่อนช้อยกลมกลืนกัน ซุ้มประตูหน้าต่างแบบบันแถลง บานประตูเขียนรูปทวารบาลเป็นรูปชาวต่างประเทศ ส่วนหน้าต่างเขียนรูปลายรดน้ำสีสดตระการตา