Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคเหนือ’ Category

วัดอนาลโยทิพยาราม จ.พะเยา

พระอาจารย์ ไพบูลย์ สุมังคโล
ขณะนั้นท่านอยู่ที่วัดรัตนวนาราม ท่านได้มีปรากฎการณ์เห็น ทรายทองไหลลงมาสู่วัดเป็นสาย รังสี แสงของทรายทองที่ไหลพั่งพรูราวกับสายน้ำนั้นอาบวัดทั้งวัด
จนแทบจะกลายเป็นวัดทองคำ ท่านมองตามลำ แสงสีทองไปก็เห็นเขาที่อยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยานั่นเอง จากนั้นได้มีโยมมาอาราธนาให้ไปดูสถานที่สำคัญ
และแปลกประหลาด เพื่อจะได้สร้างสำนักสงฆ์ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของชาวบ้าน เป็นที่ ๆ ชาวบ้านมักจะเห็นแสง สว่างเป็นดวงกลมลอยไปมาอยู่บนดอยสูง
แสงนั้นดูสว่างเรืองรอง บางทีก็สว่างจ้าเป็นสีเหลืองสดอาบทั้งดอยราว กับกลายเป็นดอยทองคำ เหตุการณ์เหล่านี้มักจะปรากฏในวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา เช่น วันพระ 8 หรือ 15 ค่ำ
เป็นต้น หลังจากที่พิจารคณาดูสถานที่แล้ว เห็นว่าเป็นสถานที่สงบเหมาะสมแก่การเจริญเตตาภาวนาเป็นอย่างยิ่ง ควรที่จะสร้างเป็นสถานที่พักปฏิบัติธรรม
ดังนั้นที่นี่จึงเป็นจุดเริ่มต้นของวัดอนาลโยทิพยารามยังไงล่ะครับ

ส่วนที่มาของชื่อวัด อนาลโยทิพยาราม ก็มาจากเมื่อปี พ.ศ.2525ท่านพระอาจารย์ได้ตัดสินใจมาอยู่ที่ นี่และเริ่มสร้างวัด ท่านได้ นิมิตว่ามีคนรูปร่าง ดำ สูงใหญ่มาบอกว่า
Read more »

ชมวัดอนาลโยทิพยาราม วัดงามเมืองพะเยาบนดอยบุษราคัม

analayo1

เมื่อนึกถึงจังหวัดพะเยาผมคิดว่าหลายคนคงไม่ค่อยได้มาเที่ยวที่จังหวัดพะเยาซะเท่าไหร่ ส่วนมากจะเป็นทางผ่านไปเชียงรายซะมากกว่า พะเยาเป็นจังหวัดเงียบๆที่น่าอยู่ น่าไปเที่ยวอีกจังหวัดนึงเลยครับ ผมพูดแบบนี้คงพอจะเดาได้แล้วใช่ไหมครับว่าวันนี้ผมจะพาไปเที่ยวที่ไหน ผมจะพาไปเที่ยว วัดอนาลโยทิพยาราม หรือเรียกสั้นๆว่า วัดอนาลโย

วัดอนาลโยเป็นวัดที่อยู่บน ดอยบุษราคัม จังหวัดพะเยา การเดินทางก็สามารถขับรถเก๋งหรือมอเตอร์ไซด์ไปได้ครับ ถนนดี ทางขึ้นไม่ชัน ผมเองก็ไปด้วยเจ้า Vios วิ่งจากเชียงรายลงมา แต่จำทางไม่ค่อยได้เนื่องจากน้าคอยบอกทางให้

เมื่อถึงวัดจะมีลานให้จอดรถ จอดเสร็จมีเด็กหนุ่มมาเก็บเงินค่าจอดรถ 20 บาท ดูแล้วก็งงๆ จะว่าเจ้าหน้าที่ก็ไม่ใช่ ดูยังเด็กอยู่ แต่ถ้าเงินค่าจอดรถเป็นรายได้เข้าวัดผมก็ยินดีครับ แต่ถ้าจะเข้ากระเป๋าใครคนใดคนหนึ่งก็เสียดายเงิน ก็ว่าไปเรื่อยละครับถึงบ่นก็จ่าย

Read more »

วัดอนาลโยทิพยาราม (ดอยบุษราคัม) จังหวัดพะเยา

P1010501

วัดอนาลโย ดอยบุษราคัม ตั้งอยู่หมู่บ้านสันป่าบง หมู่ที่ 6 ตำบลสันป่าม่วง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีเนื้อที่ทั้งหมด 2,800 ไร่ เริ่มการก่อสร้างโดย พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมังคโล ขณะท่ารอยู่วัดรัตวนาราม ท่านมีปรากฎการณ์เห็นทรายทองไหลลงมาสู่วัดเป็นสายรังสี แสงของทรายทองที่ไหลพรั่งพรูราวกับสายน้ำนั้นอาบวัดทั้งวัดแทบจะกลายเป็นวัดทองคำ ท่านมองทวนลำแสงสีทองไป ก็เห็นเขาที่อยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยานั้นเอง จากนั้นได้มีโยมอาราธนาไปดู สถานที่สำคัญและแปลกประหลาดเพื่อจะได้สร้างสำนักสงฆ์ไว้เป็นที่บำเพ็ญกุศลของชาวบ้าน คือชาวบ้านมักจะเห็นแสงสว่างเป็นดวงกลมล่องลอยไปมาอยู่บนดอยสูง แสงนั้นดูสว่างเรื่องรองบางทีก็สว่างจ้าเป็นสีเหลืองสดอาบทั้งดอยราวกับเป็นดอยทองคำ เหตุการณ์เหล่านี้มักปรากฎในวันสำคัญทางพุทธศาสนา เช่นวันพระ 8 หรือ 15 ค่ำ เป็นต้น หลังจากที่พิจารณาดูสถานที่แล้วเห็นว่าเป็นสถานที่สวยเหมาะสมแก่การเจริญเมตตาภาวนาเป็นอย่างยิ่ง ควรที่จะสร้างให้เป็นสถานที่พักปฏิบัติธรรม
Read more »

วัดอนาลโยทิพยาราม

วัดอนาลโยทิพยาราม หรือ ดอยบุษราคัม ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัม บ้านสันป่าม่วง หมู่ที่ 6 ต.สันป่าม่วง จังหวัดพะเยา จากตัวเมืองไปเส้นทางพะเยา -เชียงราย ประมาณ 7 กม.แยกซ้ายไปตามทางหลวงหมายเลข 1127 ประมาณ 9 กิโลเมตร สร้างโดยพระปัญญาพิศาลเถร (พระอาจารย์ไพบูลย์ฯ)เป็นอุทยานพระพุทธศาสนา มีศาสนสถานที่สวยงามเช่น พระพุทธรูปศิลปสุโขทัย องค์ใหญ่ พระพุทธรูปปางต่างๆ พระพุทธลีลา พุทธคยา เก๋ง จีน ประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลองทำด้วยทองคำ ฯลฯ บรรยากาศร่มรื่น พื้นที่กว้างขวาง แวดล้อมไปด้วยทรัพยากรป่าไม้ จากยอดดอยสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยา และตัวเมืองของพะเยาได้อย่างสวยงามสามารถขึ้นวัดอนาลโยได้ 2 ทางคือ ทางรถยนต์และทางบันได มีที่พักแบบรีสอร์ทอยู่บนวัด

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

วัดอนาลโยทิพยาราม

วัดอนาลโยทิพยาราม ตั้งอยู่บนดอยบุษราคัมห่างจากตัวจังหวัด 20 กิโลเมตร ไปทางทิศเหนือตามทางหลวงหมายเลข 1 (พะเยา – เชียงราย) ประมาณ 7 กิโลเมตร แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 1127 – 1193 อีก 9 กิโลเมตร ทางลาดยางตลอดสาย บริเวณดอยบุษราคัม และม่อนพระนอน ประกอบด้วยพระพุทธรูปศิลปสุโขทัยลักษณะงดงามมาก และยังมีพระพุทธรูปปางต่างๆ อีกหลายองค์ อาทิ พระพุทธไสยาสน์ พระพุทธรูปปางลีลา พระพุทธรูปปางนาคปรก สร้างด้วยความประณีตสวยงามแบบศิลปไทย รัตนเจดีย์ เป็นศิลปะแบบอินเดียพุทธคยา เก๋งจีนประดิษฐานเจ้าแม่กวนอิม หอพระแก้วมรกตจำลอง จากยอดเขาสามารถชมทัศนียภาพของกว๊านพะเยาและเมืองพะเยาได้อย่างสวยงาม ขึ้นได้ 2 ทาง คือ ทางบันไดและทางรถยนต์ มีที่พักแบบรีสอร์ทบนวัด

ประวัติโดยสังเขป

พระเทพวิสุทธิญาณ (พระอาจารย์ไพบูลย์ สุมงฺคโล) ซึ่งเป็นพระผู้สร้างวัดรัตนวนาราม จังหวัดพะเยา โดยเริ่มจากศาลาหลังเดียว จากสภาพป่ารกร้าง และซากปรักหักพังของพระพุทธรูปที่ได้มีชาวบ้านที่ศรัทธาพระอาจารย์ไพบูลย์นำมาประกอบกันจนครบองค์พระที่สมบูรณ์ได้ 2 องค์ เรียกขานกันว่าหลวงพ่อเกษมและหลวงพ่อสุข ประดิษฐานในหลังคาเดียวกันเรียกรวมกันเป็นแฝดว่าหลวงพ่อเกษม-สุข ประมาณ ปีพุทธศักราช ๒๕๑๓ หลังจากนั้นท่านได้นิมิตเห็นสายทรายทองคำหลั่งไหลลงมายังวัดรัตนวนารามเหมือนแม่น้ำไหลมาจำนวนมากมากองอยู่ที่วัดรัตนวนารามเป็นกองมหึมา เมื่อท่านมองไปยังต้นสายจึงเห็นเป็นเขาลูกหนึ่งอยู่อีกฟากหนึ่งของกว๊านพะเยาซึ่งหลังจากนั้นอีก 2 ปี ได้มีญาติโยมอาราธนานิมนต์ท่านไปสร้างวัดบนเขาลูกนั้นที่ชาวบ้านเล่าว่าเคยเห็นแสงสีเหลืองเหมือนทองสุกสว่างอาบไปทั่วทั้งเขา ซึ่งมักจะได้เห็นกันในช่วงวันขึ้น ๑๕ ค่ำ ชาวบ้านจึงได้ขนานนามเขาลูกนั้นว่าดอยม่อนแก้ว ท่านมิได้รับปากสร้างวัดแต่อย่างใดเพราะเห็นว่าเวลานั้นการสร้างวัดรัตนวนารามก็เป็นภาระอย่างใหญ่หลวงแล้ว

Read more »

แหล่งท่องเที่ยวจังหวัดพะเยา–วัดศรีอุโมงค์คำ

001_10_c

ชาวบ้านเรียกว่าวัดสูง ที่ตั้งวัดตั้งอยู่บนเนินสูง โบสถ์และเจดีย์ก็ตั้งอยู่บนฐานสูง มองดูโดดเด่น เมื่อมองจากทุกทิศทางและมองจากริมกว๊านพะเยา มาถึงวัดศรีอุโมงค์คำ “มานมัสการพระเจ้าล้านตื้อและพระเจ้าแข้งคม”

พระเจ้าล้านตื้อ หรือพระเจ้าแสนแซ่ หรือหลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยผสมศิลปะพะเยา ปิดทองทั้งองค์ ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่งดงามแห่งล้านนา ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในโบสถ์คู่กับพระเจ้าแข้งคม คำว่า “ตื้อ” เป็นหน่วยการนับของล้านนาดังนี้ หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ ตื้อ

พระเจ้าแข้งคม เป็นพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑.๓ เมตร สูง ๑.๙ เมตร บริเวณหน้าแข้งมีลักษณะเป็นเหลี่ยม แตกต่างจากพระพุทธรูปโดยทั่วไป สัณนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระยายุทธิษฐิระ ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่ พระเจ้าติโลกราชโปรดให้สร้างพระเจ้าแข้งคมประดิษฐานในวัดศรีเกิด จ.เชียงใหม่ พระยายุทธิษฐิระจึงนำแบบอย่างมาสร้างประดิษฐานขึ้นที่พะเยา แตกต่างกันที่วัสดุที่พะเยาเป็นพระพุทธรูปหินทราย ส่วนทางเชียงใหม่เป็นพระพุทธรูปสำริด
Read more »

วัดศรีอุโมงค์คำ: จังหวัดพะเยา

วัดศรีอุโมงค์คำ ตั้งอยู่ที่ถนนท่ากว๊าน ในตัวเมือง ภายในวัดมีพระเจดีย์สมัยเชียงแสนที่มีสภาพสมบูรณ์ เป็นวัดที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองพะเยา นามว่า “หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์” ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจ้าล้านตื้อ” ถือกันว่าเป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุดองค์หนึ่งแห่งล้านนาไทย

ขอขอบคุณ http://www.teawtourthai.com/

วัดศรีอุโมงค์คำ จ.พะเยา

watsriomong2

ชาวบ้านเรียกว่าวัดสูง ที่ตั้งวัดตั้งอยู่บนเนินสูง โบสถ์และเจดีย์ก็ตั้งอยู่บนฐานสูง มองดูโดดเด่น เมื่อมองจากทุกทิศทางและมองจากริมกว๊านพะเยา มาถึงวัดศรีอุโมงค์คำ “มานมัสการพระเจ้าล้านตื้อและพระเจ้าแข้งคม” เจดีย์เป็นศิลปะเชียงแสนสีทองอร่าม อยู่ด้านหลังโบสถ์ มีฐานสี่เหลี่ยมซ้อนกัน ๓ ชั้น ต่อด้วยเรือนธาตุรูปแปดเหลี่ยมย่อมุม บนเรือนธาตุมีซุ้ม จระนำทั้งสี่ทิศ สูงขึ้นเป็นองค์ระฆังกลม บัลลังก์ ปล้องไฉนและปลียอด พระเจ้าทันใจ เป็นพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย หน้าตัก ๒ เมตร ประดิษฐานในวิหารหลังเสาที่ตั้งอยู่ติดกับอาคารเรียนของ ร.ร. พินิตประสาธน์ ชาวบ้านมีความเชื่อว่า ขอพรสิ่งใดก็ได้สิ่งนั้นอย่างรวดเร็วทันใจ ภายในศาลายังมีพระพุทธรูปอีกองค์หนึ่งคือ พระเจ้ากว๊าน เป็นพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑ เมตร ขุดพบในเจดีย์โบราณกลางกว๊านพะเยา

ขอขอบคุณ http://phayao.go.th/

วัดศรีอุโมงค์คำ

วัดศรีอุโมงค์คำ

3_190b70fd55fb79fe2b27714e2f507d25
ตั้งอยู่ที่ถนนท่ากว๊านในเขตเทศบาลเมืองพะเยา โทร.054-431371เป็นวัดที่เจดีย์สมัยเชียงแสน ที่มี สภาพสมบูรณ์มาก และเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปคู่เมืองพะเยาอีกองค์นามว่า”หลวงพ่องามเมืองเรือง ฤทธิ์” แต่ชาวบ้านเรียกว่า “พระเจ้าล้านตื้อ” ซึ่งเป็นเอกลักษณ์ทางศิลปะของภูกามยาวโดย เฉพาะถือกันว่า เป็นพระพุทธรูปที่มีลักษณะงดงามที่สุดแห่งล้านนาไทย

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.go.th/

ประวัติ หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์ วัดศรีอุโมงค์คำ จ.พะเยา

budd1600

วัดศรีอุโมงค์คำ หรือ วัดอุโมคำ ตั้งอยู่เลขที่ 3 บ้านท่ากว๊าน ต.เวียง อ.เมือง จ.พะเยา เนื้อที่ 6 ไร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตามประวัติวัดที่ปรากฏในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร กล่าวว่า วัดศรีอุโมงค์คำสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ.2389 เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดสูง ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 3 กุมภาพันธ์ 2498 มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง 12 เมตร ยาว 26 เมตร

อาคารเสนาสนะของวัดศรีอุโมงค์คำ ประกอบด้วย อุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหาร และกุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุ คือ เจดีย์ บรรจุพระบรมธาตุอันเป็นเจดีย์สมัยเชียง แสน ซึ่งสภาพยังสมบูรณ์อยู่ และพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองซึ่งชาวพะเยาเรียกกันว่า “พระเจ้าล้านตื้อ” มีชื่ออย่าง เป็นทางการของพระพุทธรูปองค์นี้ คือ “หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์”

แม้หลักฐานการสร้างจะไม่ปรากฏชัดเจน แต่ประมาณว่ามีอายุเก่าแก่ถึง 500 ปีมาแล้ว พระเจ้าล้านตื้อของ วัดศรีอุโมงค์คำ มีประวัติเล่าว่า แต่เดิมถูกทิ้งให้ปรักหักพังที่สนาม เวียงแก้ว ต่อมาเจ้าเมืองพะเยาได้บูรณะแล้วนำมาประดิษฐานที่วัดนี้ บ้างก็กล่าวว่าแต่เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วัดศรีจอมเรือง

Read more »

นมัสการพระเจ้าล้านตื้อที่ วัดศรีอุโมงค์คำ

37_20110514114607.

ชาวบ้านเรียกว่าวัดสูงที่ตั้งวัดตั้งอยู่บนเนินสูงโบสถ์และเจดีย์ก็ตั้งอยู่บนฐานสูงมองดูโดดเด่น เมื่อมองจากทุกทิศทางและมองจากริมกว๊านพะเยา มาถึงวัดศรีอุโมงค์คำ “มานมัสการพระเจ้าล้านตื้อและพระเจ้าแข้งคม”

พระเจ้าล้านตื้อ หรือ พระเจ้าแสนแซ่ หรือ หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์ เป็นพระพุทธรูปสำริดปางมารวิชัย ศิลปะสุโขทัยผสมศิลปะพะเยา ปิดทองทั้งองค์ ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปองค์หนึ่งที่งดงามแห่งล้านนา ประดิษฐานเป็นพระประธานภายในโบสถ์คู่กับพระเจ้าแข้งคม คำว่า “ตื้อ” เป็นหน่วยการนับของล้านนาดังนี้ หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ ตื้อ

พระเจ้าแข้งคมเป็นพระพุทธรูปหินทรายปางมารวิชัย หน้าตักกว้าง ๑.๓ เมตร สูง ๑.๙ เมตร บริเวณหน้าแข้งมีลักษณะเป็นเหลี่ยม แตกต่างจากพระพุทธรูปโดยทั่วไป สัณนิษฐานว่าสร้างในสมัยพระยายุทธิษฐิระ ซึ่งมีความสัมพันธ์อันดีกับพระเจ้าติโลกราชแห่งเชียงใหม่

Read more »

วัดศรีอุโมงค์คำ พะเยา

วัดศรีอุโมงค์คำ ตั้งอยู่เลขที่ ๓ ถนนท่ากว๊าน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา ชาวบ้านเรียกว่า วัดสูง เพราะตั้งอยู่ในที่ราบสูงทั้งเจดีย์และพระอุโบสถยังตั้งอยู่บนฐานสี่เหลี่ยมยกสูงอีก ดังนั้นจึงทำให้วัดนี้สูงสง่างาม ประตูทางเข้า เป็นซุ้มประตูไม้แกะสลักใช้แป้นเก็จเป็นแผ่นปูทำหลังคา กำแพงก่ออิฐทำเหมือนกำแพงเมืองเก่าไม่มีการฉาบปูน สีอิฐไหม้ทำให้นึกถึงกำแพงโบราณ เข้าไปด้านหน้าประตูจะต้องขึ้นบันไดสองชั้นเข้าไปสู่พระอุโบสถ หน้าบันเป็นลายไทยปูนปั้นติดกระจกพื้นสีเขียวทำให้แปลกตาไปอีกแบบหนึ่งใบระกามีชั้นเดียวแต่มีมุขซ้อนกันสามชั้น
ภายในพระอุโบสถเป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปที่มีชื่อเสียงมากในล้านนา คือพระเจ้าล้านตื้อหรือพระเจ้าแสนแซ่ พระเจ้าล้านตื้อเป็นชื่อที่ตั้งขึ้นจากการคำนวณน้ำหนักของพระพุทธรูปองค์นี้ว่า มีน้ำหนักเป็นล้าน ๆๆ ซึ่งคำว่า ตื้อ เป็นจำนวนนับทางล้านนาหรือทางเหนือ เช่น หน่วย สิบ ร้อย พัน หมื่น แสน ล้าน โกฏิ และ ตื้อ ส่วนที่เรียกพระประธานองค์นี้ว่า พระเจ้าแสนแซ่ เพราะการสร้างพระพุทธรูปองค์นี้เป็นพระพุทธรูปสัมฤทธิ์ที่มาประกอบเข้าด้วยกัน โดยมีสลัก ชาวเหนือเรียกว่า แซ่ เป็นตัวประสานเชื่อมกัน จึงเรียกว่า พระเจ้าแสนแซ่
Read more »

สิ่งที่สำคัญวัดศรีอุโมงค์คำ

Image (1)

วัดศรีอุโมงค์คำ ถือเป็นหนึ่งในวัดสำคัญของจังหวัดพะเยาที่มีของดีในระดับโดดเด่นเป็นเอกอุอยู่มากพอดู

เริ่มกันตั้งแต่สิ่งที่มองเห็นมาแต่ไกลเมื่อย่างก้าวเข้าวัดมานั่นก็คือ องค์พระธาตุเจดีย์บนเนินที่ตั้งเด่นเป็นสง่าอยู่ด้านหลังของโบสถ์ เจดีย์องค์นี้บางข้อมูลระบุว่าน่าจะสร้างขึ้นในสมัยเชียงแสน แต่จากเอกสารของวัดระบุว่าไม่ปรากฏหลักฐาน ปี พ.ศ.ที่สร้างชัดเจน แต่น่าจะมีอายุไม่ต่ำกว่า 400 ปี ลักษณะเจดีย์แม้เป็นทรงล้านนาทั่วไป แต่มีความโดดเด่นตรงที่มีฐานย่อมุมไม้ 12 และมีซุ้มพระประดับอยู่ทั้ง 4 ด้าน

ด้วยความที่เจดีย์องค์นี้ ในอดีตมักถูกฟ้าผ่าอยู่บ่อยครั้ง ทำให้คนโบราณหลายคนเชื่อว่าเป็นเจดีย์อาถรรพ์ แต่หากมองกันในข้อเท็จจริงของหลักวิทยาศาสตร์ ยุคนั้นยังไม่มีสายล่อฟ้าการที่เจดีย์องค์นี้ตั้งอยู่บนเนินที่สูงถือเป็นสื่อนำไฟฟ้าอย่างดี ดังนั้นเมื่อกาลเวลาผ่านไปมีการติดตั้งสายล่อฟ้าที่เจดีย์ขึ้นก็ทำให้ปัญหาเรื่องฟ้าเจดีย์หักพังเป็นอันหมดไป

Read more »

วัดศรีอุโมงค์คำ

Image

วัดศรีอุโมงค์คำ ตั้งอยู่ในเขตเทศบาลเมืองพะเยา ถ.ท่ากว๊าน ต.เวียง อ.เมือง วัดแห่งนี้สร้างขึ้นมาแต่หนใด ไม่มีใครรู้ เพราะไม่ปรากฏหลักฐานชัดเจน แต่ผู้รู้หลายๆท่านสันนิษฐานว่าน่าจะสร้างในสมัยอยุธยา ราวพุทธศตวรรษที่ 20-21 เพราะพบหลักฐานเป็นพระพุทธรูปหินทราย และงานแกะสลักหินทรายอื่นๆ อาทิ เทวรูป รูปสัตว์ต่างๆ ในยุคหินทรายเมืองพะเยาอยู่เป็นจำนวนมาก

ในส่วนของชื่อวัดแห่งนี้ มีเอกสารระบุว่า คำว่า “ศรี” หรือที่ล้านนาอ่านว่า “สะ-หรี” หมายถึง ต้นโพธิ์ หรือความเป็นมงคล เป็นสิ่งอันประเสริฐ ดังนั้นคนโบราณจึงใช้ชื่อศรีนำหน้าเพื่อความเป็นสิริมงคล

ส่วนคำว่า“อุโมงค์” นั้นชัดแจ้งว่าหมายถึงอุโมงค์ หรือถ้ำ ซึ่งเดิมทีชาวบ้านเชื่อกันว่าใต้ฐานโบสถ์ของวัดแห่งนี้ มีถ้ำหรืออุโมงค์อยู่ สามารถลอดไปโผล่ยังแม่น้ำอิงที่ไหลผ่านใจกลางกว๊านพะเยาได้

Read more »

วัดศรีอุโมงค์คำ หรือ วัดอุโมคำ

buddha

วัดวัดศรีอุโมงค์คำ หรือ วัดอุโมคำ  ตั้งอยู่เลขที่ ๓ บ้านท่ากว๊าน ตำบลเวียง อำเภอเมือง จังหวัดพะเยา มีที่ดินตั้งวัดเนื้อที่ ๖ ไร่ สังกัดคณะสงฆ์มหานิกาย ตามประวัติวัดที่ปรากฏในหนังสือประวัติวัดทั่วราชอาณาจักร กล่าวว่า วัดศรีอุโมงค์คำสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. ๒๓๘๙ เดิมชาวบ้านเรียกว่า วัดสูง ต่อมาได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมาเมื่อวันที่ ๓ กุมภาพันธ์ พ.ศ. ๒๔๙๘ มีเขตวิสุงคามสีมา กว้าง ๑๒ เมตร ยาว ๒๖ เมตร อาคารเสนาสนะของวัดศรีอุโมงค์คำ ประกอบด้วยอุโบสถ ศาลาการเปรียญ วิหาร และกุฏิสงฆ์ ปูชนียวัตถุ คือ เจดีย์บรรจุพระบรมธาตุอันเป็นเจดีย์สมัยเชียงแสนซึ่งสภาพยังสมบูรณ์อยู่ และพระพุทธรูปคู่บ้านคู่เมืองซึ่งขาวพะเยาเรียกกันว่า “ พระเจ้าล้านตื้อ ” ซึ่งชี่อทางการของพระพุทธรูปองค์นี้คือ “ หลวงพ่องามเมืองเรืองฤทธิ์ ” แม้หลักฐานการสร้างจะไม่ปรากฏชัดเจนแต่ประมาณว่ามีอายุเก่าแก่ถึง ๕๐๐ ปีมาแล้ว Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .