Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

ก่อนจะมาเป็น “วัดไตรมิตรวิทยาราม”

wtraimit10

สภาพวัดไตรมิตรวิทยาราม ครั้งมีนามว่า วัดสามจีนใต้ สภาพบริเวณทั่ว ๆ ไปในบริเวณวัดนั้น เต็มไปด้วยสิ่งสกปรกโสโครก ดังที่ได้ปรากฏในเอกสารรายงาน การประชุมคณะกรรมการปรับปรุงสุขลักษณะวัดสามจีนใต้ วันที่ ๓ มิถุนายน พ.ศ. ๒๔๗๘ ความตอนหนึ่งว่า

“เวลา ๑๐.๐๐ น. ผู้มาประชุมได้มาพร้อมกันแล้ว ท่านเจ้าอาวาสขอให้ นายสนิท เทวินทรภักติ พาคณะ กรรมการดูสถาน ที่วัดนี้ ตั้งอยู่ที่ตำบลสามแยก อำเภอสัมพันธวงศ ์จังหวัดพระนคร มีอาณาเขตติดต่อกัน ดังนี้

ทิศเหนือ จรดกำแพงหลังตึกแถวถนนพระราม๔ ทิศตะวันตก จรดที่ดินของพระวรวงศ์เธอ พระองเจ้าจุลจักรพงศ์ส่วนหนึ่งแล้วต่อมาติดกำแพงหลังตึกแถว ถนนกลันตันทิศไต้จรดกำแพงหลังตึกถนนเจริญกรุงทิศตะวันออกจรดแนวคลอง วัดสามจีนใต้ ซึ่งกรมโยธาเทศบาลกำลังจัดถมอยู่แล้วย่อหักมุมไปทางด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือ ตามแนวคูวัดซึ่งราษฎรที่เช่าตึกแถวทางถนนหน้าโรงฆ่าสุกรหัวลำโพง ได้ปลูกเพิงรุกล้ำเนื้อที่คูซึ่งเป็นที่สาธารณะนี้ออกมารกรุงรัง เพื่อเป็นที่พักสุกร
สำหรับส่งเข้าโรงฆ่า สิ่งปลูกสร้างอยู่ในพื้นที่นี้ด้านทิศเหนือ มีโรงเรียนเป็นตึก ๓ ชั้นกำลังปลูกอยู่ ถัดไปถึงประตูและถนนทางเข้าแล้วจึงถึงที่ดินผืนหนึ่ง ที่วัดให้ผู้เช่าตัดตอนไปปลูกเป็นห้องแถวชั้นเดียวเตี้ย ๆ หลายแถว ให้บุคคลเช่าอาศัยอยู่ ห้องแถวเหล่านี้มีหลังคาฝาและพื้นชำรุด ทรุดโทรม ปุปะ เบียดเสียดยัดเหยียดกัน มีซอกทางเดินแต่เพียงไม่เกิน ๑ เมตร แถมมีน้ำโสโครกขังเฉอะแฉะอยู่ที่ถนนและข้างถนน กับใต้ห้องแถวเหล่านี้ทั่วไป มีฝูงเป็ดและสุกรเที่ยวหาอาหารอยู่ระเกะระกะ มีอุจจาระและกลิ่นปัสสาวะตลบอบอวน ผู้เช่ามีอาชีพในการทำเส้นหมี่ก็มี ได้ตากเส้นหมี่ไว้ หน้าห้องแถวเลอะเทอะตลอดไป หาบของเร่ขาย ได้วางสินค้า ไว้เลเพลาดพาด ที่ทำขนมก็มีเศษอาหารทิ้งเกลื่อนกล่น แมลงวันตอมเป็นหมู่ใหญ่ หญิงที่เช่าห้องรวมกันอยู่หลาย ๆ คน มีท่าทางอันน่าสงสัยจะซ่อนเร้น กระทำการอันลับลี้ซึ่งผิดศีลธรรมก็มี สภาพของบริเวณนี้ นอกจากทำให้เกิดที่สกปรกโสมมเพาะเชื้อโรคแล้ว ยังเป็นสถานที่ ซึ่งมิบังควรจะอยู่ในที่ของลานวัดใกล้กุฏิพระภิกษุถึงเพียงนี้ อันจะเป็นเหตุนำความเสื่อมเสียแก่พุทธศาสนาเป็นอันมาก

Read more »

วัดไตรมิตรวิทยาราม

wtraimit18

วัดไตรมิตรวิทยาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นโท ชนิดวรวิหาร ตั้งอยู่เลขที่ ๖๖๑ ทางทิศตะวันตกของสถานีรถไฟหัวลำโพง ถนนเจริญกรุง แขวงตลาดน้อย เขตสัมพันธวงศ์ กรุงเทพมหานคร ๑๐๑๐๐

ตราประจำวัด คือ ภาพเทวดา ๓ องค์ นั่งประชุมกันบนบัลลังค์เมฆ พื้นหลังสีดำ ด้านนอกขอบทอง ด้านบนมีพุทธสุภาษิตประจำวัดคือ ” อติโรจติ ปญฺญาย สมฺมาสมฺพุทฺธสาวโก ” แปลว่า “สาวกของพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ย่อมเจริญรุ่งเรืองด้วยปัญญา” และด้านล่างคือชื่อวัด

เขตและอุปจารวัด

วัดไตรมิตรวิทยารามเดิมมีพื้นที่ราบลุ่ม มีลักษณะน้ำขังได้ทั่วไป ปัจจุบันได้ทำการปรับปรุงพื้นที่ของวัดทั้งหมดเป็นคอนกรีตเสริมเหล็กทั่วทั้งภายในบริเวณวัด และวัดมีเขตอุปจารวัดดังนี้

ทิศเหนือ จรดกับถนนพระราม ๔
ทิศใต้ จรดกับถนนตรีมิตร
ทิศตะวันออก จรดกับซอยสุกร ๑
ทิศตะวันตก จรดกับถนนเจริญกรุง

Read more »

พาเที่ยววัดโพธิ์ (วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม) จ.กรุงเทพ

aa2

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม(วัดโพธิ์) เมื่อพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 ทรงสร้างพระบรมมหาราชวัง แห่งกรุงเทพมหานครในปี พ.ศ.2325 นั้น ทรงพระราชดำริว่ามีวัดเก่าแก่ว่านับย้อนอายุไปได้ตั้งแต่ สมัยกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานีอยู่บริเวณใกล้กับพระบรมมหาราชวัง 2-3 วัด จึงโปรดให้มี การบูรณะปฏิสังขรณ์เพื่อเป็นพระราชกุศลแก่พระนคร ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง มีวัดโบราณ ตั้งอยู่ เรียกกันว่า วัดโพธาราม รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าให้บูรณะปฏิสังขรณ์ ตั้งแต่ปี พ.ศ.2331 ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 25 วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯให้มีการเฉลิมฉลองอย่างเอิกเกริกในปี พ.ศ. 2344 พระราชทานนามใหม่ว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส (ก่อนจะเปลี่ยนเป็น วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ในรัชกาลที่ 4) ในรัชกาลที่ 3 พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดฯให้บูรณะปฏิสังขรณ์ทั้งพระอารามเป็นการใหญ่อีกครั้ง โปรดฯให้สร้างถาวรวัตถุต่างๆมากมาย ที่สำคัญที่สุด โปรดให้สร้างแผ่นศิลาจารึกสรรพวิชาความรู้ต่างๆ ทั้งอักษรศาสตร์ ประวัติศาสตร์ ภูมิศาสตร์ แพทย์ศาสตร์ เภสัชศาสตร์ โหราศาสตร์ ประดับไว้ตามอาคารต่างๆ สลับกลมกลืนกับสถาปัตยกรรมอันงดงาม เพื่อให้ประชาชนที่สนใจ ได้เข้ามาเรียนรู้ได้โดยทั่วกัน จนได้รับการยกย่องว่า วัดพระเชตุพนฯ เป็นมหาวิทยาลัยเปิด แห่งแรกของประเทศไทย

Read more »

พระพุทธโลกนาถ พระวิหารทิศ วัดพระเชตุพน

4545
พระพุทธโลกนาถ ราชมหาสมมติวงศ์ องค์อนันตญาณสัพพัญญู สยัมภูพุทธบพิตร เป็นพระพุทธรูป ปางห้ามสมุทร พุทธศิลป์แบบอยุธยา หล่อด้วยสำริดปิดทอง ขนาดสูง ๒๐ ศอก เดิมประดิษฐานอยู่ ณ วิหารพระโลกนาถ วัดพระศรีสรรเพชญ์ พระนครศรีอยุธยา ต่อมา พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงอัญเชิญมาประดิษฐาน ณ พระวิหารด้านทิศตะวันออก มุขหลังชั้นใน วัดพระเชตุพนวิมลมังคลราราม ราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

พระพุทธโลกนาถประดิษฐานเป็นพระประธานในพระวิหารทิศตะวันออก (ด้านหลัง) วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม มุขหลังพระวิหารทิศตะวันออกนี้เป็นทิศเดียวที่ได้มีการต่อขึ้นในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (พระวิหารทิศอื่น ๆ ล้วนต่อขึ้นภายหลังคราวปฏิสังขรณ์ใหญ่ในรัชกาลที่ ๓ ทั้งสิ้น)

ประวัติพระพุทธโลกนาถฯ มีกล่าวไว้ในจารึกครั้งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ซึ่งบันทึกไว้ว่า “….. พระพุทธรูปยืนสูงญี่สิบศอก ทรงพระนามว่าพระโลกนาถสาศดาจารย์ ปรักหักพังเชิญมาแต่วัดศรีสรรเพชญ์ กรุงเก่า ปติสังขรณ์เสรจ์แล้วเชิญประดิษถานในพระวิหารทิศตะวันออกมุกหลัง บันจุพระบรมธาตุ์ด้วย ผนังเขียรพระโยคาวจรพิจาระณาอาศุภสิบ และอุประมาญาณสิบ …..”
Read more »

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

วัด พระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหารและเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี ตั้งอยู่เลขที่ ๒ แขวงพระบรมมหาราชวัง เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร เดิมเป็นวัดเก่าแก่ที่ราษฏรสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาในรัชกาลพระเพทราชา ระหว่าง พ.ศ. ๒๒๒๔
ชื่อสามัญ
วัดโพธิ์
ประเภท
กรุงเทพมหานคร เมืองหลวงของราชอาณาจักรไทย ที่มีความหมาย เป็นนครแห่งทวยเทพ มีหัวใจอยู่ที่เกาะกรุงรัตนโกสินทร์ อันเป็นพื้นที่แรกสร้างพระนคร นับเป็นพื้นที่ ที่สั่งสมมรดกทางวัฒนธรรม และภูมิปัญญาไทย ไว้ให้เราชนรุ่นหลัง ได้เห็นได้เรียนรู้ได้รับรู้บังเกิดความ ภาคภูมิใจและนำความรู้ทั้งหลายทั้งปวง มาปฏิบัติตาม ประกอบอาชีพกันด้วย สัมมาอาชีวะจนถึงทุกวันนี้

วัดโพธิ์ หรือนามทางราชการว่า วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (Wat Phra Chetuphon Wimonmangalaram or Wat Pho) เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกและ เป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระ บาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดโพธารามวัดเก่า ที่เมืองบางกอก ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐาน พระพุทธเทวปฏิมากร พระประ ธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุ พระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย

พระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ ๕๐ ไร่ ๓๘ ตารางวาอยู่ ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำ แพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสชัดเจน

Read more »

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

s2_sub1

ในบรรดาพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหารนั้นได้ถือวัดแห่งนี้เป็นอันดับ 1 เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างพระบรมมหาราชวัง ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นเพียงวัดโบราณ
สมัยกรุงศรีอยุธยาชื่อ “วัดโพธาราม” แต่คนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า “วัดโพธิ์” มาจนทุกวันนี้
เนื่องจากสมัยรัชกาลที่ 3 ยังไม่มีการพิมพ์หนังสือการศึกษาที่มีเรียนอยู่ตามวัดนั้นคนทั่วไปไม่มีโอกาสได้เรียนด้วยทรงมีพระราชประสงค์
จะให้มีแหล่งเล่าเรียนความรู้ จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมและเลือกสรรตำรับตำรามาจารึกที่แผ่นศิลาไว้โดยรอบวัดเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชน วัดพระเชตุพนฯ จึงได้ชื่อว่าเป็น “มหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย”
พระพุทธไสยาสน์ ( พระนอนวัดโพธิ์ )

เป็นฝีมือช่างสิบหมู่ของหลวง ก่ออิฐถือปูนที่รอยฝ่าพระบาทจำหลักภาพมงคล 108 ประการประดับมุก ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 3 ได้ลงรักปิดทองใหม่ทั้งองค์
พระเจดีย์อาจเรียกได้ว่าเป็นอาณาจักรแห่งเจดีย์ มี 99 องค์ เจดีย์ที่มีความพิเศษคือพระมหาเจดีย์ 4 องค์

Read more »

คุณค่าของจารึกวัดพระเชตุพน

aHR0cDovL3AzLmlzYW5vb2suY29tL2d1LzAvcGljZnJvbnQvbWFpbi8xNjc5amFydWsxXzIyXzAwMDEuanBn

๑. เป็นแหล่งรวมสรรพวิชาอันบ่งบอก ถึงภูมิปัญญาของชาวสยามประเทศ มิเพียงแต่จะต้องจำกัดว่าเป็นของชาวรัตนโกสินทร์เท่านั้น หากย้อนกลับไปถึงอยุธยา ซึ่งเป็นต้นเค้าที่บ่งบอกถึงมาตรฐานการศึกษาของคนไทยแต่โบราณ วิชาการนั้นอาจแบ่งได้ดังนี้
– สาขาวิชาอักษรศาสตร์ ได้แก่ การแต่งโคลง ฉันท์ กาพย์ กลอน ร่าย ซึ่งเป็นพื้นฐานของร้อยกรองที่คนไทยพึงรู้และแต่งได้ ส่วนร้อยกรองในระดับสูงก็คือ โคลงกลบท โคลงกลบทอักษร กลอนกลบท และกลอนกลอักษร ในด้านร้อยแก้วก็มีวรรณคดีที่มีคติสอนใจทั้งทางโลกและทางธรรม
– สาขาแพทยศาสตร์ ซึ่งในปัจจุบัน ถือว่าเป็นแพทยศาสตร์โบราณ ว่าด้วยตำรายาแก้โรคและตำราหมอนวด ความรู้เหล่านี้ได้ผ่านการเลือกสรร และตรวจสอบเป็นอย่างดี เพื่ออำนวยประโยชน์สูงสุดแก่ผู้ใช้ การใช้ภาพเขียนหรือสาธิตประกอบ รวมทั้งรูปหล่อของฤาษี ล้วนแต่เป็นการเสริมความเข้าใจของผู้ศึกษา กล่าวกันว่า แม้กระทั่งพันธุ์ไม้ต่างๆที่มีสรรพคุณในการรักษา โรคก็มีการนำมาปลูกไว้ในวัดพระเชตุพนฯ
– สาขาช่าง ภาพจิตรกรรมฝาผนัง รวมทั้งศิลปะช่างในแขนงอื่นๆ เช่น การหล่อ การปั้น การสลัก ล้วนแต่เป็นศิลปะชั้นครูทั้งสิ้น
Read more »

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เขตพระนคร จ.กรุงเทพฯ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม63 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม51 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม52 วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม55

วัดโพธิ์ หรือวัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามเป็นวัดที่ทุกท่านทราบว่ามีชื่อเสียงในเรื่องของการแพทย์แผนไทย ซึ่งนอกจากนี้แล้ววัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามแห่งนี้ยังมีสิ่งที่น่าสนใจและมีความสำคัญเป็นอย่างมากทีเดียว

วัดโพธิ์เป็นวันที่มีความเก่าแก่มาตั้งแต่ครั้งก่อนสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ เนื่องจากเมื่อพระปฐมบรมกษัตริย์แห่งราชจักรีวงศ์ทรงดำริให้สร้างพระบรมมหาราชวังและวัดพระศรีรัตนศาสดารามนั้น วัดโพธาราม(ชื่อเดิมของวัดโพธิ์) ก็มีความเสื่อมโทรมมากแล้ว รัชกาลที่ 1 จึงได้ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์และพระราชทานนามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ” และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 อีกด้วย จนในรัชสมัยรัชกาลที่ 4จึงได้เปลี่ยนเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม” จวบจนปัจจุบัน

Read more »

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร (วัดโพธิ์)

ในบรรดาพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดราชวรมหาวิหารนั้นได้ถือวัดแห่งนี้เป็นอันดับ 1 เนื่องจากพระมหากษัตริย์ทรงสร้างขึ้นพร้อมกับการสร้างพระบรมมหาราชวัง ซึ่งแต่เดิมนั้นเป็นเพียงวัดโบราณสมัยกรุงศรีอยุธยาชื่อ วัดโพธาราม แต่คนทั่วไปนิยมเรียกกันว่า”วัดโพธิ์” มาจนทุกวันนี้ เนื่องจากสมัยรัชกาลที่3 ยังไม่มีการพิมพ์หนังสือการศึกษาที่มีเรียนอยู่ตามวัดนั้นคนทั่วไปไม่มีโอกาสได้เรียน ด้วยทรงมีพระราชประสงค์ให้มีแหล่งเล่าเรียนความรู้จึงโปรดเกล้าฯ ให้รวบรวมและเลือกสรรตำรับตำรามาจารึกที่แผ่นศิลาไว้โดยรอบวัดเพื่อเผยแพร่แก่ประชาชน วัดพระเชตุพลจึงถือได้ว่าเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศไทย

เวลาเปิด-ปิด : ทุกวัน เวลา : 08.00 – 18.00 น.
ค่าเข้าชม : คนไทยไม่เสียค่าเข้าชม ชาวต่างชาติ 100 บาท
สอบถามรายละเอียดเพิ่มเติมได้ที่ : 0 2226 0335, 0 2226 0369
วิธีเดินทาง : ลงสถานีสะพานตากสิน (S6) (สายสีลม) จากนั้นใช้ทางออกที่ 2 ไปยังท่าเรือด่วนเจ้าพระยา นั่งเรือด่วนเจ้าพระยาไปลงที่ท่าเตียน (N.8) จากนั้นเดินตรงขึ้นไปยังวัดโพธิ์

ขอขอบคุณ http://www.bts.co.th/

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพฯ

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร /-เชดตุพนวิมนมังคฺลาราม-/ หรือ วัดโพธิ์ เป็นวัดสำคัญแห่งหนึ่งของประเทศไทย จัดเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร และเป็นวัดประจำรัชกาลในรัชกาลที่ ๑ ทั้งยังเปรียบเสมือนเป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของประเทศด้วย เนื่องจากเป็นที่รวมจารึกสรรพวิชาหลายแขนง และทางยูเนสโก ได้ขึ้นทะเบียนเป็นมรดกความทรงจำโลกเมื่อ มีนาคม พ.ศ. ๒๕๕๑

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ ๙๙ องค์[๒] พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

วัดพระเชตุพนในประวัติการสร้างตั้งแต่สมัยอยุธยา แต่ไม่ปรากฏหลักฐานเกี่ยวกับการสร้าง เดิมเรียกว่า “วัดโพธาราม” หรือ “วัดโพธิ์” ยกฐานะขึ้นเป็นพระอารามหลวงในสมัยกรุงธนบุรี ครั้งถึงรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาวัดนี้ใหม่ใน พ.ศ. ๒๓๓๑ โดยทรงสร้างพระอุโบสถ พระระเบียง พระวิหาร ตลอดจนบูรณะของเดิม เมื่อแล้วเสร็จใน พ.ศ. ๒๓๔๔ ได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานนามว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส” เป็นวัดประจำรัชกาลพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช

Read more »

วัดโพธิ์ หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม

cover-sadoodta_41

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม หรือที่เรียกว่า วัดโพธิ์ อยู่ที่ถนนมหาราช ข้างพระบรมมหาราชวัง เป็นวัดเก่าแก่ซึ่งพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช โปรดเกล้าฯ ให้สร้างขึ้นเพื่อให้พระภิกษุสงฆ์ได้เล่าเรียนพระปริยัติธรรม วัดนี้ถือเป็นวัดประจำรัชกาลที่ ๑ ครั้นถึงสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ได้โปรดเกล้าฯ ให้บูรณะวัดโพธิ์ใหม่ทั้งหมด และได้นำเอาตำราวิชาการด้านต่าง ๆ มาจารึกไว้โดยรอบ เพื่อเป็นการเผยแพร่ความรู้แก่ประชาชน ถือได้ว่าวัดโพธิ์เป็นมหาวิทยาลัยแห่งแรกของไทย

นอกจากนี้ที่วัดโพธิ์ยังมีพระพุทธไสยาสน์องค์ใหญ่ สร้างในสมัยรัชกาลที่ ๓ ก่ออิฐถือปูนปิดทองทั้งองค์ ยาว ๔๖ เมตร สูง ๑๕ เมตร ที่ฝ่าพระบาทแต่ละข้างมีลวดลายประดับมุกเป็นภาพมงคล ๑๐๘ ประการ อันเป็นลักษณะอย่างหนึ่งของมหาบุรุษตามคติของอินเดีย

Read more »

วัดพระเชตุพนวิมลมัคลารามราชวรมหาวิหาร

มีใครเคยเห็นยักษ์บ้างไหม ถ้าอยากเห็นยักษ์ว่ามีหน้าตาเป็นอย่างไร ก็ตามไปดูได้ที่วัดโพธิ์ “ ยักษ์วัดโพธิ์ ” เป็นยักษ์ที่แกะสลักมาจากหินตัวสูงใหญ่มาก รูปร่างหน้าตาเป็นยักษ์จีน รู้จักกับยักษ์วัดโพธิ์แล้วมาทราบเรื่องราวเกี่ยวกับความเป็นมาของวัดโพธิ์กันต่อเลยดีกว่า
วัดนี้เป็นวัดโบราณสร้างมาตั้งแต่ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เดิมชื่อ “ วัดโพธาราม ”แต่ชาวบ้านเรียกกันสั้น ๆ ว่า วัดโพธิ์ ซึ่งแต่เดิมเป็นเพียงวัดราษฎร์เล็ก ๆ เท่านั้น ต่อมาในสมัยกรุงธนบุรี วัดโพธิ์จึงได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์และยกฐานะเป็นพระอารามหลวง เมื่อถึงสมัยรัตนโกสินทร์ พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชโปรดให้สถาปนาวัดนี้ใหม่หมดทั้งพระอาราม และพระราชทานนามใหม่ว่า “ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาส ” วัดนี้จึงถือเป็นวัดประจำราชกาลที่ ๑ ต่อมาพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ( รัชกาลที่ ๔ ) ทรงเปลี่ยนสร้อยนามใหม่ว่า “ วัดพระเชตุพลวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร ” และได้ใช้นามนี้มาจนทุกวันนี้
ทราบเรื่องราวความเป็นมาของวัดแล้วมาดูกันต่อว่าในวัดโพธิ์นี้มีอะไรที่สำคัญและน่าสนใจอยู่บ้าง อยากทราบแล้วใช่ไหม

สิ่งสำคัญอย่างแรกในวัดโพธิ์ก็คือ โบสถ์หรือพระอุโบสถ ซึ่งสร้างในสมัยรัชกาลที่ ๑ เป็นโบสถ์ที่สวยงาม มีบานประตูด้านนอกประดับมุก บานหน้าต่างด้านนอกแกะสลักลวดลายปิดทองประดับกระจก ส่วนด้านในของบานประตูและหน้าต่างเขียนลายรดน้ำ เสาทุกต้นภายในโบสถ์มีลายเขียนสี บริเวณผนังเขียนภาพจิตรกรรม กำแพงระเบียงของโบสถ์ซึ่งเป็นหินอ่อนแกะสลักเป็นภาพรามเกียรติ์ไว้อย่างงดงามพระประธานในโบสถ์คือ พระพุทธเทวปฏิมากร เป็นพระพุทธรูปปางสมาธิ ที่ใต้ฐานชุกชีของพระพุทธรูปเป็นที่ประดิษฐานพระบรมอิฐ (บางส่วน ) ของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ( รัชกาลที่ ๑ )

Read more »

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร : พระมหาเจดีย์ 4 รัชกาล หอไตรจตุรมุข และอันซีนยักษ์วัดโพธิ์

49819184c

พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล
วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหารถือได้ว่าเป็นวัดที่มีพระเจดีย์มากที่สุดในประเทศไทย โดยมีจำนวนประมาณ 99 องค์ พระเจดีย์ที่สำคัญ คือ พระมหาเจดีย์สี่รัชกาล ซึ่งเป็นพระมหาเจดีย์ประจำพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว และพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว

มหาเจดีย์ขนาดใหญ่ 4 องค์ ตั้งอยู่ถัดจากพระอุโบสถ ล้อมรอบด้วยกำแพงแก้วสีขาว ซุ้มประตูทางเข้าเป็นสถาปัตยกรรมไทยประยุกต์แบบจีน ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ เครื่องถ้วยหลากสี มีตุ๊กตาหินจีนประดับอยู่ประตูละคู่ … ด้านในกำแพงแก้ว มีจารึกอยู่โดยรอบ เป็นจารึกทางการรักษาโรค
องค์พระมหาเจดีนั้นเป็นแบบเจดีย์ย่อไม้สิบสองทั้งหมด ประดับด้วยกระเบื้องเคลือบ
Read more »

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร

shutterstock_13580983

“วัดโพธิ์” หรือนามทางราชการว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม ราชวรมหาวิหาร” เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก และเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี เนื่องจากพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนา “วัดโพธาราม” วัดเก่า ที่เมืองบางกอก ครั้งกรุงศรีอยุธยาเป็นวัดหลวง ข้างพระบรมมหาราชวัง และที่ใต้พระแท่นประดิษฐาน พระพุทธเทวปฏิมากร พระประธานในพระอุโบสถเป็นที่บรรจุ พระบรมอัฐิของพระองค์ท่านไว้ด้วย โดยพระอารามหลวงแห่งนี้มีเนื้อที่ 50 ไร่ 38 ตารางวาอยู่ ด้านทิศใต้ของพระบรมมหาราชวัง ทิศเหนือจดถนนท้ายวัง ทิศตะวันออกจดถนนสนามไชย ทิศใต้จดถนนเศรษฐการ ทิศตะวันตกจดถนนมหาราช มีถนนเชตุพน ขนาบด้วยกำแพงสูงสีขาวแบ่งเขตพุทธาวาส และสังฆาวาสชัดเจน

มีหลักฐานปรากฏในศิลาจารึกไว้ว่า หลังจากที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช ทรงสถาปนาพระบรมมหาราชวังแล้ว ทรงพระราชดำริว่า มีวัดเก่าขนาบพระบรมมหาราชวัง 2 วัด ด้านเหนือ คือ วัดสลัก (วัดมหาธาตุฯ) ด้านใต้คือ วัดโพธาราม จึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ขุนนางเจ้าทรงกรม ช่างสิบหมู่อำนวยการบูรณะปฏิสังขรณ์ เริ่มเมื่อปี พ.ศ. 2331 ใช้เวลา 7 ปี 5 เดือน 28 วัน จึงแล้วเสร็จ และโปรดฯ ให้มีการฉลองเมื่อ 2344 พระราชทานนามใหม่ ว่า “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาวาศ” ต่อมารัชกาลที่ 4 ได้โปรดฯ ให้เปลี่ยนท้าย นามวัดเป็น “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม”

Read more »

วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร : โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์

4981992f7

หากจะกล่าวถึงความงามที่วิจิตรอลังการของวัดโพธิ์ ซึ่งเป็นวัดคู่พระนคร คงจะเป็นภาพที่ติดตา ตรึงใจอยู่ในความรู้สึกของผู้คนในสมัยต้นรัตนโกสินทร์เป็นอย่างยิ่ง อันสะท้อนให้เห็นจากบทกวีนิพนธ์ในสมัยนั้น ที่ล้วนชื่นชอบต่อความสวยงามของพระอารามแห่งนี้ว่าเปรียบประดุจเมืองสวรรค์ … ดังเช่น กวีนิพนธ์ เรื่อง นิราศพระแท่นดงรัง ของนายมี ที่กล่าวถึงวัดโพธิ์ อันมีความตอนหนึ่งว่า ..
“โอ้วัดโพธิ์เป็นวัดกษัตริย์สร้าง ไม่โรยร้างรุ่งเรืองดังเมืองสวรรค์”

วัดโพธิ์ หรือ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร … เดิมเป็นวัดโบราณ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในสมัยอยุธยาราวรัชกาลสมเด็จพระเพทราชา (พ.ศ.2231-2246) ในเวลานั้นยังเป็นวัดราษฎร์เล็กๆ ชื่อ “วัดโพธาราม” แต่คนทั่วไปเรียกขานกันติดปากว่า “วัดโพธิ์” ส่วนชื่ออย่างเป็นทางการในปัจจุบัน “วัดพระเชตุพนวิมลมังคลารามราชวรมหาวิหาร” นั้นเพิ่งถูกเปลี่ยนใช้เรียกในสมัยรัชกาลที่ 4

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .