ประวัติความเป็นมาวัดมงคลโคธาวาส

002

บรรพบุรุษของหลวงพ่อปานอพยพมาจากกรุงศรีอยุธยา เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยาแตกเสียแก่พม่าครั้งที่ 2 ( พ.ศ. 2310 ) มาตั้งรกรากที่บ้านสามเรือนหรือที่เรียกว่า “หมู่บ้านโคกเศรษฐี”
เพราะพวกที่อพยพมาในครั้งนั้น ล้วนแต่เป็นเศรษฐีทั้งสิ้น แต่เดิมในบริเวณนี้ยังเป็นป่ารก มีแม่น้ำสายหนึ่งไหลผ่านป่าดงพงพี มาออกที่ทะเลบางเหี้ย และในทุกครั้งที่มีน้ำทะเลขึ้น น้ำเค็มจะทะลักเข้าไปตามแม่น้ำลำคลองต่าง ๆ จนเป็นเหตุให้ชาวบ้านที่อาศัยปลูกบ้านเรือนอยู่ในแถบนี้ ต้องได้รับความเดือนร้อนอยู่เป็นนิจ และเขตที่น้ำทะเลและน้ำจืดมาพบกันนี้
ต่อมาชาวบ้านได้ช่วยกันทำประตูระบายน้ำ เพื่อกั้นระหว่างน้ำเค็มและน้ำจืด และป้องกันสัตว์เลื้อยคลานคือตัวเหี้ย ที่ชอบขโมยสัตว์เลี้ยง ปู ปลา กินเป็นอาหาร ไม่ให้แพร่หลายไปตามลำคลองต่าง ๆ อีกด้วย
ด้วยเหตุนี้ชาวบ้านจึงตั้งชื่อหมู่บ้านนี้ว่า “บ้านบางเหี้ย” และตั้งชื่อแม่น้ำนี้ว่า แม่น้ำ “บางเหี้ย” ตลอดจนการตั้งชื่อวัด ก็ตั้งว่าวัดบางเหี้ย เพื่อให้สอดคล้องกับความเป็นจริงของสถานที่ดังกล่าว และยังมีเรื่องเล่าสืบต่อกันมาว่า ในบรรดาเศรษฐีที่อพยพมาในครั้งนั้น มีเศรษฐีครอบครัวหนึ่ง มีบุตรอันเป็นที่รักสุดสวาท เขารักและตามใจลูกมาก และได้คิดเอาทองคำมาทำเป็นตัวเหี้ยขนาดเด็กขึ้นไปนั่งขี่ได้ขึ้นมา เพื่อให้ลูกลากเล่นอย่าง
สนุกสนานข่าวนี้ได้เล่าลือกันต่อ ๆ กันไปถึงตัวเหี้ยทองคำ ที่ลูกเศรษฐีลากเล่นตำบลนี้เลยเรียกกันติดปากว่า “ตำบลบางเหี้ย”
ต่อมาเมื่อต้นปี พ.ศ.2452 พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 5 ได้เสด็จมาทอดพระเนตรประตูกั้นและระบายน้ำในแม่น้ำบางเหี้ย จึงได้พระราชทานชื่อเพื่อเป็นมงคลแก่ชาวบางเหี้ยว่า “คลองด่าน” และพระองค์ยังได้พระราชทานนามวัดบางเหี้ยใหม่ว่า “วัดมงคลโคธาวาส”
หากพิจารณาจากประวัติศาสตร์ความเป็นมาของท้องถิ่น ถึงสาเหตุของการเปลี่ยนชื่อตำบลบางเหี้ย เป็นตำบลคลองด่าน สันนิษฐานได้ว่าที่มาของชื่อ “คลองด่าน” น่าจะสัมพันธ์กับการที่พื้นที่บริเวณนี้ มีด่านอยู่ตรงประตูน้ำบางเหี้ย หรือประตูน้ำชลหาญพิจิตรไว้คอยเก็บภาษีเรือที่ผ่านเข้าออกแม่น้ำบางเหี้ย ซึ่งเป็นแม่น้ำสายหลักของตำบลที่ไหลจากทิศเหนือของตำบลลงสู่อ่าวไทย การตั้งชื่อคลองที่ขุดขึ้น เพื่อเป็นเส้นทางการขนส่งสินค้าและการคมนาคม และมีด่านเก็บภาษีเรือที่ผ่านเข้าออกว่า “คลองด่าน ” มีมาตั้งแต่ก่อนสมัยรัชกาลของสมเด็จพระเจ้าเสือ
ก่อนที่ตำบลคลองด่านจะปรากฏชื่อเป็นทางการในปี 2483 ความเป็นมาของตำบลคลองด่าน ผูกโยงกับประวัติศาสตร์ของบางเหี้ยอย่างแยกไม่ออก
จากการสืบค้น ก่อนปี 2483 ชื่อ “บางเหี้ย ” ที่ปรากฏเป็นทางการเก่าที่สุด อยู่ในนิราศเมืองแกลง ของสุนทรภู่ ซึ่งแต่งขึ้นในปี 2349 ในสมัยรัชกาลที่ 2 โดยในนิราศกล่าวถึงเส้นทางที่สุนทรภู่ ใช้ในการเดินทางไปเมืองแกลง จังหวัดระยอง ตามคลองสำโรง ผ่านบางพลี ทับนาง บางโฉลง บ้านไร่ บางกระเทียม หัวตะเข้ คลองบางเหี้ย บางบ่อ ซึ่งในช่วงที่ผ่านคลองบางเหี้ย มีเนื้อความว่า

ถึงชะวากปากคลองเป็นสองแพร่ง
ข้างซ้ายมือนั้นแลคือปากตะครอง
ประทับทอดนาวาอยู่ท่าน้ำ
เขาหุงหาอาหารให้ตามจน
จะกลืนข้าวคราวโศกในทรวงเสียว
ต้องเจือน้ำกล้ำกลืนพอกลั้วคอ
พอฟ้าคล้ำค่ำพลบลงหรบรู่
ได้รับรองป้องกันเพียงควันไฟ
น้ำก็แห้งสุริยนก็หม่นหมอง
ข้างขวาคลองบางเหี้ยทะเลวน
ดูเรียงลำเรือรายริมไพรสณฑ์
โอ้ยามยลโภชนาน้ำตาคลอ
เหมือนขืนเคี้ยวกรวดแกลบให้แสบศอ
กินแต่พอดับลมด้วยตรมใจ
ยุงออกฉู่ชิงพลบตบไม่ไหว
แต่หายใจมิใคร่ออกด้วยอบอาย

ขอขอบคุณ http://www.luangporpan.com/

Both comments and pings are currently closed.

Comments are closed.

. . . . . . .
. . . . . . .