Archive for the ‘ขอพรหลวงพ่อ วัดในภาคกลาง’ Category

เริ่มสถาปนาวัดเบญจมบพิตร

ในปีพุทธศักราช ๒๔๔๑ พระบาทสมเด็จพระจุลจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๕ มีพระราชประสงค์จะทรงสร้างพระราชอุทยาน เป็นที่ประทับแรมสำราญพระราชอิริยาบถในวันสุดสัปดาห์ จึงโปรดเกล้าฯให้จัดซื้อที่บริเวณด้านทิศเหนือของพระบรมมหาราชวัง ระหว่างคลองสามเสนกับคลองผดุงกรุงเกษม ซึ่งเป็นที่สวนและทุ่งนา ตามราคาจากราษฎร ด้วยพระราชทรัพย์สำหรับใช้จ่ายการในพระองค์ พระราชทานนามว่า “สวนดุสิต”

โปรดเกล้าฯให้เริ่มลงมือตัดไม้ ปรับพื้นที่เพื่อสร้างสวนดุสิต เมื่อวันที่ ๑๖ กุมภาพันธ์ พ.ศ.๒๔๔๑ และได้ทำการสืบมาจนกระทั่งถึงวันที่ ๑ มีนาคม พ.ศ.๒๔๔๒ จึงได้เสด็จเถลิงพลับพลาเป็นครั้งแรก

การสร้างสวนดุสิต ได้ใช้พื้นที่ของวัดดุสิต หรือวัดดุสิดาราม ที่อยู่ในสภาพชำรุดทรุดโทรม มีภิกษุอยู่เพียง ๑ รูป เป็นที่สร้างพลับพลา และที่วัดร้างอีกวัดหนึ่งตัดเป็นถนนภายในสวนดุสิตด้วย ประกอบกับมี “วัดเบญจบพิตร” ที่ชำรุดทรุดโทรมอยู่ใกล้เขตพระราชฐานด้านทิศใต้ด้วย จึงมีพระราชดำริที่จะทรงทำ “ผาติกรรม” สถาปนาวัดขึ้นใหม่ โดยมีพระราชประสงค์สำคัญคือ
Read more »

ประวัติเดิมวัดเบญจมบพิตร

watben3

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เดิมเป็นวัดโบราณ มีชื่อว่า “วัดแหลม” หรือ “วัดไทรทอง” ไม่ปรากฏหลักฐานว่าสร้างในสมัยใด จนถึงปี พ.ศ.๒๓๖๙ ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ ๓ จึงปรากฏชื่อขึ้นในประวัติศาสตร์ เมื่อเจ้าอนุวงศ์ผู้ครองนครเวียงจันทน์ ประเทศราชของไทย ได้ก่อการกบฎยกทัพมาตีไทย

พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว โปรดเกล้าฯให้ พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ (พระองค์เจ้าพนมวัน พระเจ้าลูกยาเธอ ในพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหน้านภาลัย กับเจ้าจอมศิลา ต้นราชสกุล พนมวัน) เป็นผู้บัญชาการกองทัพในส่วนการรักษาพระนคร โดยทรงตั้งกองบัญชาการอยู่ในบริเวณ “วัดแหลม” หรือ “วัดไทรทอง” นี้

เมื่อเสร็จสิ้นการปราบกบฏแล้ว พระเจ้าบรมวงศ์เธอ กรมพระพิพิธโภคภูเบนทร์ พร้อมด้วยพระเชษฐภคินี พระขนิษฐภคินี และพระกนิษฐภาดา ร่วมเจ้าจอมมารดาอีก ๔ พระองค์ ทรงบูรณะปฏิสังขรณ์ขึ้น ประมาณปี พ.ศ.๒๓๗๐-๒๓๗๑ แล้วทรงสร้างพระเจดีย์ ๕ องค์ รายด้านหน้าวัดเป็นอนุสรณ์

Read more »

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม ราชวรวิหาร พระอารามหลวงชั้นเอก ชนิด ราชวรวิหาร

benchamabophit

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นที่รู้จักของนักท่องเที่ยวทั่วโลกว่า “The Marble Temple” เพราะพระอุโบสถ พระระเบียง ประดับด้วยหินอ่อนที่ดีที่สุดจากประเทศอิตาลี ประกอบกับเป็นวัดที่มีความวิจิตรงดงามด้วยศิลปะสถาปัตยกรรมไทยโบราณ จึงมีนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างประเทศสนใจเข้าชมจำนวนมากทุกวัน

วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม เป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรวิหาร มีเนื้อที่ทั้งสิ้น ๑๐,๕๖๖ ตารางวา ๑๔ ตารางศอก ตั้งอยู่แขวงดุสิต เขตดุสิต กรุงเทพมหานคร ระหว่างถนนสายใหญ่คือ ถนนพระรามที่ ๕ ถนนศรีอยุธยา ถนนราชดำเนินนอก และถนนพิษณุโลก

Read more »

สถานที่สำคัญภายในวัด–วัดสุทัศนเทพวราราม

wat-suthat-03

พระวิหารหลวง
พระวิหารหลวง จำลองมาจากวัดมงคลบพิตรที่กรุงศรีอยุธยา เป็นอาคารเครื่องก่อขนาด 5 ห้อง กว้าง 23.84 เมตร ยาว 26.25 เมตร โครงสร้างหลังคาเป็นจั่วมีหลังคาประธาน 1 ตับ มีชั้นซ้อน(หลังคามุข) ทางด้านหน้าและด้านหลังข้างละ 1 ชั้น และมีหลังคาปีกนกลาดลงจากหลังคาประธานข้างละ 3 ตับ หลังคามุขทางด้านหน้าและด้านหลังมีหลังคาปีกนกลาดลงข้างละ 2 ตับ มีเสารับมุขเป็นเสาสี่เหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสอง จำนวน 12 ต้น ทั้งสองด้านรวม 24 ต้น และเสานาง เรียงด้านข้าง ด้านละ 6 ต้น รวมทั้งหมดจึงเป็นเสา 36 ต้น เสานางเรียงและเสารับมุขหัวเสาเป็นปูนปั้น

บานประตูพระวิหารหลวงเป็นบานไม้แกะสลักลายลึกเป็นรูปพฤกษามีกิ่งก้านใบและดอกตระหวัดเกาะเกี่ยวอ่อนช้อยงดงามมีสัตว์เกาะเหนี่ยวเหมือนธรรมชาติ ลวดลายเหล่านี้เป็นฝีพระหัตถ์ของพระบามสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ที่ทรงกำหนดลักษณะลายแบบวิธีการแกะและเริ่มแกะด้วยพระองค์ก่อน แล้วโปรดเกล้าฯ ให้ช่างฝีมือแกะต่อเป็นบานประตูที่งดงามหาที่เปรียบมิได้ น่าเสียดายที่ปัจจุบันโดนไฟไหม้บางส่วนและเก็บรักษาอยู่ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
รอบพระวิหารหลวงจะมีเจดีย์ศิลปะแบบจีนรายล้อมพระวิหารหลวง 28 องค์ เรียกว่า ถะรายพระวิหาร คำว่า “ถะ” เป็นเครื่องศิลาแบบจีนรูปแบบคล้ายอาคารหกเหลี่ยมซ้อนกันขึ้นไป 6 ชั้น แต่ะลชั้นเป็นช่องโปร่งซึ่งเป็นลักษณะของเรือนไฟใช้ตามประทีป ถะรายพระวิหารมี 28 ถะ หมายถึงพุทธ 28 พระองค์ ตั้งอยู่บนพนักฐานพระวิหารชั้นที่ 2
ภายในพระวิหารหลวงมี “พระศรีศากยมุนี” ประดิษฐานเป็นพระประธาน หล่อด้วยสำริด ขนาดหน้าตักกว้าง 6.25 เมตร เดิมเป็นพระประธานอยู่ในพระวิหารหลวง วัดมหาธาตุ สุโขทัย สร้างสมัยราชวงศ์พระร่วงแห่งกรุงสุโขทัย อายุกว่า 600 ปี

Read more »

ข้อมูลทั่วไป–วัดสุทัศนเทพวราราม

wat-suthat-01

วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นพระอารามหลวง ชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ริมถนนตีทอง 1 ถนนบำรุงเมือง หน้าวัดออกทางถนนอุณากรรณ แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพมหานคร วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่ติดกับถนน 3 ด้าน ได้แก่ ด้านทิศตะวันออก ติดถนนอุณากรรณ์ ด้านทิศเหนือติดถนนบำรุงเมือง (เสาชิงช้า) ด้านทิศตะวันติดถนนตีทอง ด้วยเหตุนี้วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร จึงเป็นวัดที่มีประตูเข้าออกหลายทาง ด้านตะวันตกและด้านตะวันออกจะเป็นด้านที่ประชาชนที่ขับรถมาเองเข้า-ออกเป็นประจำเพราะถนนบำรุงเมืองจอดรถไม่ได้ เกาะกลางถนนบำรุงเมืองเป็นที่ตั้งของเสาชิงช้า

ขอขอบคุณ http://www.teeteawthai.com/

วัดสุทัศนเทพวราราม ราชวรมหาวิหาร Wat Suthatthepwararam Rajaworamahavihara

วัดสุทัศนเทพวราราม เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) โปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ. 2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย ทรงมีพระราชประสงค์ที่จะสร้างพระวิหารให้มีขนาดใหญ่เท่ากับพระวิหารวัดพนัญเชิงเพื่อเป็นศรีสง่าแก่พระนคร แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือวัดเสาชิงช้าบ้าง
จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย (รัชกาลที่ 2) โปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ
การก่อสร้างวัด มาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ 3) ใน พ.ศ. 2390 และพระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม” ปรากฏในจดหมายเหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม”
Read more »

โลกสัญฐาน…พระวิหารหลวง วัดสุทัศน์ฯ

24257f3d

วัดสุทัศนเทพวรารามตั้งอยู่ ณ ตำแหน่งสำคัญ ที่ใจกลางพระนครพอดี ซึ่งตามคติโบราณควรเป็นที่ตั้งของพระปรางค์ศรีรัตนมหาธาตุ อันเป็นสัญลักษณ์ของเขาพระสุเมรุ ศูนย์กลางแห่งจักรวาล ทั้งนี้เพื่อจะสมมุติเมืองทั้งเมือง ให้เป็นรูปจำลองที่สมบูรณ์ของจักรวาล

พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงพระราชดำริจะสถาปนาพระอารามให้สูงใหญ่เท่ากับวัดพนัญเชิงที่กรุงเก่า ณ ตำแหน่งนี้ โดยได้ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้อัญเชิญพระพุทธรูปศรีศากยมุนี ซึ่งเป็นพระหล่อสัมฤทธิ์ขนาดใหญ่ของโบราณ ถูกทอดทิ้งกรำแดดกรำฝนอยู่ที่เมืองเก่าสุโขทัย ลงมาปฏิสังขรณ์สำหรับประดิษฐานเป็นพระประธาน

พระองค์ได้พระราชทานนามพระอารามไว้ตั้งแต่ครั้งแรกสร้างว่า “มหาสุทธาวาส” ซึ่งในทางจักรวาลวิทยา หมายถึงรูปาวจรพรหมโลกชั้นสูงสุด อันเป็นอริยภูมิที่สถิตของพรหม กล่าวกันว่า เมื่อนำพระพุทธรูปล่องแพลงมาถึงกรุงเทพมหานคร ในเวลาที่อัญเชิญพระขึ้นล้อเลื่อน เคลื่อนจากบริเวณท่าช้างไปสู่บริเวณวัด ซึ่งเป็นเวลาช่วงปลายรัชกาลแล้วนั้น

Read more »

เซียมซี วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร กรุงเทพมหานคร

วัดสุทัศน์เทพวรารามราชวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ตรงข้ามศาลาว่าการกรุงเทพ มหานคร ข้างเสาชิงช้า เขตพระนคร ถือเป็นพระอารามประจำรัชกาลที่ ๘ เนื่องจากเมื่อคราวที่ท่านเสด็จนิวัติพระนครเป็นครั้งแรก ได้เสด็จมาที่วัดนี้ และทรงปรารภว่าวัดสุทัศน์นี้ร่มเย็น น่าอยู่

ดังนั้นเมื่อรัชกาลที่ ๘ เสด็จสวรรคตแล้ว พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลปัจจุบันจึงทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้บรรจุพระบรมราชสรีรางคาร พระบรมเชษฐาธิราชเจ้าไว้ ณ ผ้าทิพย์ เบื้องหน้าฐานชุกชีพระศรีศากยมุนี ในวันที่ ๙ มิถุนายน ซึ่งเป็นวันคล้ายวันเสด็จสวรรคต

ขอขอบคุณ http://horoscope.sanook.com

เที่ยวชมวัดสุทัศน์เทพวราราม กรุงเทพฯ

10-2

วันนี้พาเยี่ยมชมวัดสุทัศน์เทพวราราม ใกล้ๆกับที่ว่าการกรุงเทพมหานคร ติดกับเสาชิงช้า
เป็นวัดที่นอกจากเก่าแก่และงดงามไปด้วยจิตรกรรมฝาผนัง และองค์พระประธานที่สวยงามซึ่งมีอายุมากกว่า 800ปี ยังเป็นวัดที่สะอาด พระสงฆ์ภายในวัตรยังมีกิจวัตรที่งดงามน่าเลื่อมใส

แสดงพระธรรมเทศนา สวดมนต์ไหว้ทุกๆวัน ให้อุบาสกอุบาสิกาได้ฟังเป็นประจำ ตั้งแต่ 12.00น. และ 1ทุ่ม(ประชาชนทั่วไปเข้าไปร่วมสวดมนต์ฟังธรรมได้ทุกวัน) พระสงฆ์ทุกรูปได้รับการศึกษาพระธรรมเป็นพระมหาเปรียญ เพราะฉะนั้นการสอนหรือการเผยแผ่จึงไม่ผิดเพี้ยนไปจากพระไตรปิฏก ซึ่งน่าเลื่อมใสยิ่งนัก

หากทุกวัดปฏิบัติได้ดังวัดนี้ทุกๆวัด คนไทยที่นับถือศาสนาพุทธก็คงจะเข้าใจพระธรรมคำสอนของพระพุทธเจ้าได้อย่างลึกซึ้งและนำไปใช้ในชีวิตประจำวันได้อย่างถูกต้องและผาสุข

ข้าพเจ้าเคยเห็นกิจวัตรของพระสงฆ์ในต่างจังหวัดเป็นเช่นไร วัดนี้ก็ยังคงเป็นเช่นนั้นน่าปลื้มใจยิ่งนัก ช่างงดงามทั้งวัด ทั้งพระสงฆ์

หากทุกวัดในทุกๆจังหวัดเป็นเช่นนี้ วัดสะอาด สงบ พระสงฆ์สำรวม ทั้งศึกษาพระธรรมและปฏิบัติธรรมพร้อมทั้งเผยแผ่พระธรรมควบคู่กันไป

ขอขอบคุณ http://mayaknight07.exteen.com

” ไหว้พระวัดสุทัศน์ฯ วิสัยทัศน์กว้างไกล มีเสน่ห์แก่บุคคลทั่วไป”

suthat1

วัดสุทัศนเทพวรารามวรมหาวิหาร เป็นอารามหลวงชั้นเอก ชนิดราชวรมหาวิหาร รัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นเป็นวัดกลางพระนคร และสร้างพระวิหารใหญ่เทียบเท่าวัดพนัญเชิง ของกรุงศรีอยุธยา จากนั้นทรงอัญเชิญพระพุทธรูปโลหะปางมารวิชัย ซึ่งหล่อขึ้นตั้งแต่สมัยกษัตริย์ราชวงศ์พระร่วง ที่เรียกกันว่าพระโตหรือพระใหญ่ จากพระวิหารวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัยมาประดิษฐานตั้งอยู่ท่ามกลางกรุงเทพมหานคร ในท้องที่ตำบลวัดราชบพิตร เลขที่ ๑๔๖ ริมถนนตีทอง ๑ ถนนบำรุงเมือง หน้าวัดออกทางถนนอุณากรรณ อำเภอพระนคร กรุงเทพมหานคร

วัดสุทัศนเทพวรารามวรมหาวิหาร ในสมัยรัชกาลที่ ๑ มีชื่อเดิมว่า “วัดมหาสุทธาวาส” โดยมีพระราชประสงค์ที่จะทรงสร้างให้เป็นวัดกลางเมืองเขตพระนคร มีวิหารสูงใหญ่เท่าวัดพนัญเชิงของกรุงศรีอยุธยา มีพระศรีศากยมุนีที่อัญเชิญมาจากวิหารหลวงของวัดมหาธาตุของกรุงสุโขทัยประดิษฐานอยู่ การสร้างวัดมหาสุทธาวาสเสร็จสมบูรณ์ในรัชกาลที่ ๓ เมื่อปี พ.ศ. ๒๓๙๐ และได้รับพระราชทานนามใหม่ว่า “วัดสุทัศน์เทพวราราม”

ขอขอบคุณ http://www.lib.ru.ac.th/

วัดสุทัศน์ฯ : แหล่งศิลปสถาปัตย์แห่งโลกพระธรรม

Image

เยือนเสาชิงช้าครั้งก่อน ยังไม่ทันได้ย่างเข้าไปในเขตพุทธาวาสวัดสุทัศน์ฯก็ค่ำมืดเสียแล้ว ครั้นจะเดินชมวัดเก่าแก่อายุเกือบ 200 ปีดึกๆดื่นๆก็คงจะไม่ไหว ด้วยเกรงใจพระสงฆ์องค์เจ้า (ไม่ได้กลัวว่าจะเจอะกับเปรตวัดสุทัศน์ฯสักกะนิ้ดเดียว) เลยได้แต่สัญญิงสัญญากับตัวเองว่าจะกลับมาเยี่ยมชมวัดนี้ใหม่ตอนหัววันกว่าเดิม

แล้วก็เพิ่งจะมีโอกาสเหมาะๆเข้าวัดเข้าวาเสียที…ไม่ใช่ว่าหนุ่มตจว.อย่างฉันกลายเป็นคนนอกรีต ไม่มีศาสนาในหัวใจ แต่ก็ยอมรับว่าห่างเหินวัดไปตั้งแต่เข้ามาอยู่กรุงเทพฯนั่นแหละ ส่วนหนึ่งคงเป็นเพราะรูปแบบการใช้ชีวิตที่เข้าใกล้วิถีคนเมืองเข้าไปทุกที วันๆมักจมอยู่กับการทำงานอย่างเร่งรีบแข่งกับเวลาที่ผ่านไป ส่วนมากจึงละเลยหน้าที่อันพึงปฏิบัติของพุทธศาสนิกชนที่ดีไปซะอย่างนั้น

ก่อนอื่นขอเท้าประวัติความเป็นมาของศิลปกรรมภายในวัดแบบคร่าวๆ ก่อน เผื่อจะเป็นการตอบปัญหาคาใจของหลายๆคนว่า เหตุใด“วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร”จึงถือเป็นหนึ่งในวัดที่สำคัญที่สุดของประเทศไทย

Read more »

เที่ยวเสาชิงช้า วัดสุทัศน์เทพวราราม

199_20130226165934.

เสาชิงช้า ตั้งอยู่หน้าวัดสุทัศน์เทพวราราม บนถนนบำรุงเมือง เขตพระนครโดยเสาชิงช้าถูกสร้างขึ้นครั้งแรกในปี 2327 และถือเป็นโบราณสถานของชาติตั้งแต่ปี พ.ศ.2492 ลักษณะเป็นเสาคู่ขนาดใหญ่ สูงประมาณ 21 เมตร ทาสีแดงชาด ถือเป็นงานสถาปัตยกรรมอันทรงคุณค่าที่เป็นสัญลักษณ์อย่างหนึ่งของกรุงเทพมหานคร

ความเป็นมาในสมัยรัชกาลที่ 1 เมื่อสร้างกรุงเทพฯ เสร็จแล้วได้โปรดให้มีการสร้างโบสถ์พราหมณ์ และเสาชิงช้า ตามความเชื่อแบบพราหมณ์ บริเวณริมถนนบำรุงเมือง ทางจะเลี้ยวไปถนนดินสอ ตั้งแต่ปี พ.ศ. 2327

ต่อมาในสมัยรัชกาลที่ 5 ได้ย้ายมาตั้งที่ถนนบำรุงเมืองในตำแหน่งนี้จนถึงปัจจุบัน และมีการเปลี่ยนเสาใหม่อีก 2 ครั้ง คือ ในสมัยรัชกาลที่ 6 โดยบริษัท หลุยส์ ที.เลียวโนแวนส์ ซึ่งเป็นบริษัทค้าไม้ ได้อุทิศซุงไม้สักเพื่อสร้างเสาชิงช้าใหม่ เมื่อ พ.ศ. 2463 และ มีการเปลี่ยนเสาใหม่อีกครั้งในปี พ.ศ. 2513 โดยยังคงลักษณะเดิมไว้ และเปลี่ยนเสาใหม่ครั้งล่าสุดในปี 2549 โดยใช้ไม้สักทอง จากจังหวัดแพร่

Read more »

พระประธานวัดสุทัศน์

view_resizing_images

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร เป็นวัดที่พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราชทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สถาปนาขึ้นใน พ.ศ.2350 เดิมพระราชทานนามว่า “วัดมหาสุทธาวาส” ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระวิหารขึ้นก่อนเพื่อประดิษฐานพระศรีศากยมุนี (พระโต) ซึ่งอัญเชิญมาจากพระวิหารหลวงวัดมหาธาตุ จังหวัดสุโขทัย แต่สิ้นรัชกาลก่อนที่จะประดิษฐานเป็นสังฆาราม จึงเรียกกันว่า วัดพระโต วัดพระใหญ่ หรือ วัดเสาชิงช้าบ้าง จนกระทั่งในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้สร้างต่อ และทรงจำหลักบานประตูพระวิหารด้วยพระองค์เอง แต่ก็สิ้นรัชกาลเสียก่อนที่การก่อสร้างจะแล้วเสร็จ

การก่อสร้างวัดมาเสร็จบริบูรณ์ในรัชสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว ในพ.ศ.2390 พระราชทานนามว่า “วัดสุทัศนเทพวราราม” ปรากฏในจดหมาย เหตุว่า “วัดสุทัศนเทพธาราม” และใน รัชสมัยพระบาทสมเด็จพระจอมเกล้าเจ้าอยู่หัว ทรง ผูกนามพระประธานในพระวิหาร พระอุโบสถ และศาลาการเปรียญให้คล้องกันว่า “พระศรีศากยมุนี พระพุทธตรีโลกเชษฐ์ พระพุทธเสรฏฐมุนี”

Read more »

วัดสุทัศน์

224-2476_IMG

การสร้างวัดสุทัศน์ฯ ให้มีสัญลักษณ์เปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ไม่ว่าจะเป็นหน้าบันรูปพระอินทร์ ชื่อวัดที่ตั้งตามชื่อเมือง ” สุทัสสนะนคร ” อันเป็นเมืองที่พระอินทร์ปกครอง รวมไปถึงทำเลที่ตั้งวัดสุทัศน์นี้ก็ถูกเลือกมาสร้างในตำแหน่งกึ่งกลางของอาณาบริเวณกรุงเทพในยุคนั้น ล้วนแต่จะสื่อให้เห็นความยิ่งใหญ่ของราชธานีแห่งนี้
ไม่ได้เกี่ยวอะไรกันกับที่้คนมาไหว้พระวัดนี้ แล้้วจะกลายเป็น “ผู้มีวิสัยทัศน์” ไปได้
ส่วนมุขเด็จหรือมุขที่ยื่นออกมา มีหน้าบันเป็นรูปพระนารายณ์ทรงสุบรรณ เป็นส่วนที่สร้างเพิ่มเติมขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 4 ซึ่งก็เป็นไปตามคติทั่วไปที่วัดของพระเจ้าแผ่นดินที่ถือเสมือนว่าเป็นองค์นารายณ์อวตาร มักจะมีหน้าบันลักษณะนี้

ภายในพระวิหารนั้นมี พระศรีศากยมุนี ประดิษฐานเป็นประธานอยู่
พระศรีศากยมุนีนี้นั้นรัชกาลที่ 1 โปรดให้เชิญลงมาจากวิหารหลวง วัดมหาธาตุ สุโขทัย ซึ่งได้สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยพระมหาธรรมราชาลิไทยหรือราวหกร้อยกว่าปีมาแล้ว ด้วยมีพระราชประสงค์จะให้มีวัดใหญ่เช่นวัดพนัญเชิงที่อยุธยาไว้ในพระนคร
เมื่อเชิญองค์พระลงมาถึงที่ริมท่าช้างวังหลวงแล้ว ไม่สามารถเชิญเข้าเมืองมาได้เพราะองค์พระใหญ่คับประตู รัชกาลที่ 1 ต้องโปรดให้รื้อประตูเมืองลง ท่าที่เชิญพระขึ้นมานี้ในสมัยนั้นเรียกว่าท่าพระ แต่ต่อมาก็เรียกเป็นท่าช้างวังหลวงอย่างเดิม เพราะผู้คนต่อ ๆ มาไม่เห็นองค์พระ เห็นแต่ช้างในวังหลวงลงมาอาบน้ำที่ท่านี้
บริเวณใต้ฐานของพระประธานประดิษฐานพระบรมสรีรางคารของรัชกาลที่ 8 อยู่ด้วย

Read more »

วัดสุทัศนเทพวรารามราชวรมหาวิหาร

วัดสุทัศนเทพวรารามตั้งอยู่ใจกลางของกรุงเทพมหานคร สร้างในสมัยพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช แต่เดิมพระราชทานนามว่า “ วัดมหาสุทธาวาส ” วัดนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระโตหรือพระใหญ่ที่อัญเชิญมาจากวัดในจังหวัดสุโขทัยซึ่งในปัจจุบัน
พระพุทธรูปองค์นี้ประดิษฐานอยู่ภายในพระวิหารของวัด

ต่อมาพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวโปรดให้สร้างพระอุโบสถและหล่อพระประธานใน
พระอุโบสถขึ้นใหม่ สร้างสาลา การเปรียญ พระระเบียงกุฏิเสนาสนะ สัตตมหาสถาน และพระราชทานนาม
วัดใหม่ว่า “ วัดสุทัศนเทพวราราม ” ภายในบริเวณวัดมีสิ่งสำคัญและสวยงามหลายอย่างด้วยกัน เรามาเดินชมไปพร้อม ๆ กันเลยดีกว่า

สิ่งสำคัญอย่างแรกของวัดสุทัศน์ ฯ ก็คือ พระวิหาร ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปขนาดใหญ่ปางมารวิชัย คือ พระศรีศากยมุนี พระพุทธรูปองค์นี้หล่อ
ด้วยโลหะบริเวณฐานชุกชีของพระพุทธรูปเป็นที่บรรจุพระบรมราชสรีรางคารของพระบาทสมเด็จ
พระปรเมนทรมหาอานันทมหิดล ผนังด้านในของพระวิหารเป็นภาพจิตรกรรมฝาผนังเรื่องในไตรภูมิกถา ทิศตะวันออกของพระวิหารเป็นที่ตั้งของ สัตตมหาสถาน ซึ่งหมายถึงสถานที่สำคัญ ๗ แห่งที่พระพุทธเจ้าประทับหลังคาจากตรัสรู้แล้ว ในสมัยรัชกาลที่ ๑ ถึงรัชกาลที่ ๕ ใช้บริเวณสัตตมหาสถานนี้เป็นที่เวียนเทียนในวันวิสาขบูชา
แต่ปัจจุบันนี้ได้เปลี่ยนไปจัดงานบริเวณรอบพระวิหารแทนเนื่องจากตรงบริเวณเดิมสถานที่คับแคบเกินไป

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .