วัดพระธาตุลำปางหลวง นมัสการพระธาตุ อลังการความงามแห่งศิลปะล้านนา

มาถึงจังหวัดลำปางทั้งทีก็ต้องมากราบไว้วัดเก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองกันหน่อย “วัดพระธาตุลำปางหลวง”วัด สำคัญประจำจังหวัดลำปางจัดว่าเป็นวัดที่มีการวางผังไว้อย่างสวยงามและเป็น วัดที่มีส่วนประกอบต่างๆ สมบูรณ์แบบที่สุดวัดหนึ่งของไทย โดยวัดพระธาตุลำปางหลวงสร้างขึ้นโดยจำลองตามคติไตรภูมิจักรวาล โดยมีองค์พระธาตุเปรียบเสมือนเขาพระสุเมรุ ซึ่งเป็นแกนกลางของจักรวาล ส่วนวิหารทั้ง 4 แทนทวีปทั้ง 4 ทิศที่ตั้งอยู่รายล้อมเขาพระสุเมรุ และลานทรายในวัดก็แทนห้วงมหานทีศรีทันดรอันกว้างใหญ่ไพศาล


เมื่อเราเดินขึ้นบันไดนาคขึ้นไปถึงซุ้มประตูใหญ่ ที่เรียกว่า “ซุ้มประตูโขง” หรือ “มณฑป” แล้ว ผ่านกำแพงแก้วเข้าไป สิ่งแรกที่เราจะเห็นก็คือ “วิหารหลวง” เป็นวิหารโถงเครื่องไม้สักขนาดใหญ่ ภายในประดิษฐ์ฐาน “พระเจ้าล้านทอง” องค์พระประธานประจำวิหารหลวงซึ่งอยู่ภายใน “กู่ปราสาท” รอบวิหารจะมี “ไม้คอสอง” ไม้ที่อยู่ด้านบนของแต่ละช่วงเสาที่มีภาพเขียนพุทธประวัติอันเก่าแก่ ทั้ง 24 แผ่นซึ่งยังคงความสวยงามและสมบูรณ์อยู่มาก ถัดจากวิหารหลวงก็จะเป็น “องค์พระธาตุลำปางหลวง” ลักษณะเป็นเจดีย์ทรงระฆังคว่ำทรงกลมแบบล้านนา ภายนอกบุด้วยทองจังโก ที่บริเวณยอดฉัตรทำด้วยทองคำ ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศาและพระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ตามความเชื่อของการไหว้พระธาตุประจำปีเกิด พระธาตุลำปางหลวงถือเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนเกิดปีฉลู ด้วยเพราะเริ่มสร้างในปีฉลูและแล้วเสร็จในปีฉลูเช่นกัน Read more »

วัดพระธาตุลำปางหลวง

untitled

วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ในเขตตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปาง ไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร วัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลายเป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุด แห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมายพระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของ คนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลู เช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านนาภาย นอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่างๆ ลักษณะเจดีย์ แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลให้พระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศาและ พระอัฐิธาตุ จากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่ หนานทิพย์ ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่างๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อลัวะ อ้ายกอนเกิดความเลื่อมใส Read more »

พระธาตุประจำปีเกิด

นมัสการพระธาตุประจำปีชวด พระธาตุศรีจอมทอง เชียงใหม่
นมัสการพระธาตุประจำปีฉลู พระธาตุลำปางหลวง ลำปาง
นมัสการพระธาตุประจำปีขาล พระธาตุช่อแฮ แพร่
นมัสการพระธาตุประจำปีเถาะ พระธาตุแช่แห้ง น่าน
นมัสการพระธาตุประจำปีมะโรง พระพุทธสิหิงค์ เชียงใหม่
นมัสการพระธาตุประจำปีมะเส็ง พระศรีมหาโพธิหรือต้นโพธิ์ เชียงใหม่
นมัสการพระธาตุประจำปีมะเมีย พระธาตุชเวดากอง พม่า
นมัสการพระธาตุประจำปีมะแม พระธาตุดอยสุเทพ เชียงใหม่
นมัสการพระธาตุประจำปีวอก พระธาตุพนม นครพนม
นมัสการพระธาตุประจำปีระกา พระธาตุหริภุญชัย ลำพูน
นมัสการพระธาตุประจำปีจอ พระธาตุเกศแก้วจุฬามณี บนสวรรค์ชั้นดาวดึงส์ หรือพระเจดีย์วัดเกตการาม เชียงใหม่
นมัสการพระธาตุประจำปีกุน พระธาตุดอยตุง เชียงราย

ขอขอบคุณ http://www.lampang.go.th

สถาณการณ์สร้างวีรบุรุษ ที่วัดพระธาตุลำปางหลวง

วัดลำปางหลวงเป็นสถาปัตยกรรมล้านนาที่หาดูได้ยาก แตกต่างจากวัดทางภาคเหนือโดยทั่วไป พร้อมกับเรื่องราวทางประวัติศาสตร์ของวัด ที่มีความน่าสนใจอยู่ไม่น้อย เป็นจุดเริ่มต้นของตระกูล ทิพย์ช้าง หรือตระกูล “ เชื้อเจ็ดตน ” อันเป็นต้นตระกูลของเชื้อเจ้า่ปกครองภาคเหนือ

” เหตุการณ์สร้างวีระบุรุษ ” คำกล่าวที่มักใช้กันอยู่บ่อยๆในปัจจุบัน แต่ในอดีตนั้นเหตุการณ์ทางประวัติศาสตร์ที่ผ่านมาก็ได้ สร้างวีระบุรุษมากมายมาแล้วเช่นกัน

” เจ้าทิพย์ช้าง “ เจ้าผู้ครองเขลางค์นคร หรือนครลำปาง อดีตนั้นเป็นเพียงแค่พรานป่าหรือพรานหนุ่ม ผู้ถูกร้องขอจากขุนนางเมืองในสมัยนั้น ให้ช่วยกอบกู้เมืองลำปางที่ตกอยู่ในการครอบครองของพม่า และพรานป่าผู้กล้านี้ก็ได้ทำสำเร็จ เมื่อปี พ.ศ. 2275 โดยปลอมตัวเข้าไปในเขตชั้นในที่พม่าใช้วัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นที่ตั้งมั่น แล้วลอบฆ่าแม่ทัพพม่าจนเสียชีวิต ซึ่งรอยกระสุนจากการสู้รบ และร่องรอยการหลบหนี ยังปรากฏอยู่ที่วัดพระธาตุลำปางหลวงมาจนถึงทุกวันนี้ Read more »

วัดพระธาตุลำปางหลวง

ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน หรือ บ้านลำปางหลวงในปัจจุบัน พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวายแก้วแหวนเงินทองเป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด(ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน Read more »

วัดพระธาตุลำปางหลวง

ศิลปกรรม
บันไดทางขึ้นวัดวัดพระธาตุลำปางหลวง เป็นโบราณสถานสำคัญ ที่ตั้งอยู่ในบริเวณซากเมืองโบราณลัมพกัปปะนคร ตามประวัติพระนางจามเทวีเคยเสด็จมานมัสการ และทำการบูรณะซ่อมแซมอยู่เสมอ นับว่าเป็นวัดสำคัญคู่บ้านคู่เมืองมาแต่โบราณกาล มีความสวยงาม และมีความยอดเยี่ยมทั้งสถาปัตยกรรม ประติมากรรม และจิตรกรรม เป็นที่ประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า ซึ่งเป็นที่เคารพสักการะของชาวลำปาง และชาวพุทธทั่วไป

ประตูโขง
ประตูโขง เป็นฝีมือช่างหลวงโบราณที่สวยงามก่ออิฐถือปูนทำเป็นซุ้มยอดแหลมเป็นชั้น ๆ มีสี่ทิศ ประดับตกแต่งด้วยลวดลายปูนปั้น รูปดอกไม้ และสัตว์ในหิมพานต์ ประตูโขงแห่งนี้ใช้เป็นสัญลักษณ์เมืองลำปางในตราจังหวัดลำปาง

มณฑปพระเจ้าล้านทอง[แก้]วิหารหลวง เป็นวิหารประธานของวัด ตั้งอยู่บนแนวเดียวกับประตูโขง และองค์พระธาตุเจดีย์ เป็นวิหารจั่วรูปสี่เหลี่ยมผืนผ้า ทรงวิหารโล่งตามแบบล้านนายุคแรก หลังคาจั่วซ้อนกันเป็นชั้น ๆ ภายในวิหารบรรจุมณฑปพระเจ้าล้านทอง ด้านในของแนวคอสอง มีภาพเขียนสีโบราณเรื่องชาดก Read more »

ประวัติวัดพระธาตุลำปางหลวง

วัดตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวาย แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน Read more »

วัดพระธาตุลำปางหลวง

วัดพระธาตุลำปางหลวง (คำเมือง: ) ตั้งอยู่ในเขตตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา จังหวัดลำปาง อยู่ห่างจากตัวเมืองลำปางไปทางทิศตะวันตกเฉียงใต้ประมาณ 18 กิโลเมตร วัดตั้งอยู่บนเนินสูง มีการจัดวางผังและส่วนประกอบของวัดสมบูรณ์แบบที่สุด มีสิ่งก่อสร้าง และสถาปัตยกรรมต่าง ๆ บริเวณพุทธาวาสประกอบด้วย องค์พระธาตุลำปางหลวง เป็นประธาน มีบันไดนาคนำขึ้นไปสู่ซุ้มประตูโขง ถัดซุ้มประตูโขงขึ้นไปเป็น วิหารหลวง บริเวณทิศเหนือขององค์พระธาตุมีวิหารบริวารตั้งอยู่คือ วิหารน้ำแต้ม และ วิหารต้นแก้ว ด้านตะวันตกขององค์พระธาตุประกอบด้วย วิหารละโว้ และ หอพระพุทธบาท ด้านใต้มี วิหารพระพุทธ และอุโบสถ ทั้งหมดนี้จะแวดล้อมด้วยแนวกำแพงแก้วทั้งสี่ด้าน นอกกำแพงแก้วด้านใต้มีประตูที่จะนำไปสู่เขตสังฆาวาส ซึ่งประกอบด้วยอาคาร หอพระไตรปิฎก กุฏิประดิษฐาน พระแก้วดอนเต้า อาคารพิพิธภัณฑ์และกุฏิสงฆ์

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

วัดอัมพวา

1

พระอารามหลวงที่งดงามเก่าแก่คู่เมืองอัมพวา เชื่อว่าสร้างมาตั้งแต่สมัยสร้างกรุงรัตนโกสินทร์ ร.1 ส่วนที่สวยจนชวนตะลึงคือ ภาพจิตรกรรมฝาผนังที่งดงามในพระอุโบสถ นอกจากนี้ยังเป็นสถานที่สำคัญทางประวัติศาสตร์ เพราะเคยเป็นนิวาสสถานเก่าของพระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 สักการะพระรูปร.2 ไหว้พระทำบุญแล้ว จะเดินข้ามไปฝั่งตลาดนํ้ายามเย็นริมคลองอัมพวาก็อยู่ห่างกันแค่เอื้อมเท่านั้น

ที่ตั้ง อยู่ติดกับตลาดนํ้ายามเย็นอัมพวา
เปิด ทุกวัน 8.00-17.00 น.

ขอขอบคุณ http://www.chillpainai.com/

วัดอัมพวัน สิงห์บุรี ทุกปัญหาแก้ได้ด้วยวิปัสสนา

ด้วยความเมตตาอันสูงส่งและความมุ่งมั่นอย่างแรงกล้าของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธมฺโม พระภิกษุแห่งลุ่มน้ำเจ้าพระยา ผู้มีประสบการณ์ปฏิบัติธรรมอย่างยาวนานจากหลายสำนัก นำมาสู่การพัฒนาวัดอัมพวันให้กลายเป็นสำนักปฏิบัติธรรมยอดนิยม ที่ผู้คนทั่วไทยและต่างประเทศต่างศรัทธาและพร้อมใจพร้อมกายกันมาปฏิบัติธรรม ณ วัดอัมพวันแห่งนี้อย่างไม่ขาดสาย

วันนี้ แม้ว่าหลวงพ่อจรัญ จะอายุมากขึ้นตามวันเวลา สังขารท่านอาจไม่เหมือนเดิม แต่ท่านก็ยังคงสั่งสอนลูกศิษย์ลูกหาอย่างไม่รู้จักเหน็ดเหนื่อย เพราะท่านถือว่า การปฏิบัติธรรมคือสิ่งสำคัญที่สุด เป็นวิธีแก้ปัญหาที่ตรงที่สุดสำหรับทุกชีวิต ถ้าโรงพยาบาลคือสถานรักษากาย วัดอัมพวันก็คือสถานรักษาใจ เป็นที่ให้ธรรมโอสถกับทุกชีวิต Read more »

วัดอัมพวัน Wat Amphawan

วัดอัมพวัน เป็นสถานที่อบรมเจริญวิปัสสนากรรมฐานที่มีชื่อเสียงอีกแห่งหนึ่ง ภายในวัดมีสถานที่พัก โรงอาหาร ห้องน้ำ ตลอดจนบรรยากาศที่ร่มรื่นเหมาะแก่การปฏิบัติธรรม จนได้รับการยกย่องว่าเป็นวัดพัฒนาตัวอย่าง และมีผู้มาปฏิบัติธรรมเป็นจำนวนมาก
ข้อมูลน่าสนใจ

ช่วงเวลาที่เหมาะแก่การท่องเที่ยว
ตลอดปี

อาหารพื้นบ้าน
ปลาช่อนแม่ลา เป็นอาหารและของฝากที่ขึ้นชื่อของจังหวัดสิงห์บุรี

ของฝาก
ประเภทอาหารได้แก่ ซาลาเปาแม่สายใจ,ขนมเปี๊ยะ,กระยาสารท,ปลาช่อนแม่ลา, กุนเชียง,หมูหยอง,เนื้อทุบและหมูทุบ ประเภทสินค้าหัตถกรรมได้แก่ เครื่องจักสาน เช่น ผลิตภัณฑ์จากผักตบชวา ตะกร้า,ฝาชี,เครื่องประดับมุก เช่นตะลุ่มมุก กล่องใส่เครื่องประดับ เชี่ยนหมาก Read more »

วัดอัมพวัน

อยู่ติดกับอุทยาน ร. 2 เป็นวัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง สร้างขึ้นโดยสมเด็จพระรูป ศิริโสภาค มหานาคนารี พระชนนีของสมเด็จพระอมรินทรามาตย์ หลังวัดนี้ก็เคยเป็นนิวาสสถานเก่า ของหลวงยกกระบัตร และคุณนาค เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันฯ เดิมเป็นเรือนที่คุณนาค ใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็นพระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย ต่อมา วัดอัมพวันฯ ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันวัดอัมพวันเจติยารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท พระอุโบสถตลอดจนถาวรวัตถุ ในวัดอัมพวันฯ นี้ ส่วนใหญ่เป็นศิลปะ และสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งนับเป็น พระอุโบสถที่มีความงดงามอยู่มาก

ขอขอบคุณ http://www.อัมพวา.net/

 

วัดอัมพวันเจติยาราม

วันเปิดทำการ : ทุกวัน
เวลาเปิดทำการ: 08.00 – 16.00

อยู่ติดกับอุทยาน ร. 2 เป็นวัดของตระกูลราชินิกุลบางช้าง สันนิษฐานว่าสร้างในสมัยรัชกาลที่ 1

หลังวัดแห่งนี้เคยเป็นนิวาสสถานเก่าของหลวงยกกระบัตร (พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช) และ คุณนาค (สมเด็จพระอมรินทรามาตย์พระบรมราชินีในรัชกาลที่ 1) และเป็นสถานที่พระราชสมภพของรัชกาลที่ 2 เชื่อกันว่าบริเวณพระปรางค์ของวัดอัมพวันเจติยาราม เดิมเป็นเรือนที่คุณนาคใช้เป็นที่คลอดคุณฉิมบุตรชาย ซึ่งต่อมาได้เป็น พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย

วัดอัมพวันเจติยารามได้รับการบูรณะปฏิสังขรณ์ โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว รัชกาลที่ 3 รัชกาลที่ 4 และรัชกาลที่ 5 ปัจจุบันวัดอัมพวันเจติยารามเป็นพระอารามหลวงชั้นโท พระอุโบสถตลอดจนถาวรวัตถุในวัดนี้ ส่วนใหญ่เป็นศิลปะและสถาปัตยกรรมในสมัยกรุงรัตนโกสินทร์ตอนต้น ซึ่งนับเป็นพระอุโบสถที่มีความงดงาม นอกจากนี้ยังมีพระบรมราชานุสาวรีย์พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัยประดิษฐาน Read more »

เมื่อข้าพเจ้าเป็นศิษย์หลวงพ่อวัดอัมพวัน

ข้าพเจ้ารู้จักวัดอัมพวั นครั้งแรกเมื่อปี ๒๕๒๖ เนื่องจากวิทยาลัยส่งมาเข้าร่วมอบรมปฏิบัติธรรมในโครงการ “สัปดาห์แห่งการปฏิบัติธรรมสำหรับข้าราชการ” ระหว่างวันที่ ๑๙-๒๕ มิถุนายน ท่านเจ้าของโครงการคือ พระเดชพระคุณหลวงพ่อพระครูภาวนาวิสุทธิ์ (สมณศักดิ์ในปัจจุบันเป็นท่านเจ้าคุณพระภาวนาวิสุทธิคุณ)

นับเป็นโอกาสอันดีที่ข้าพเจ้าได้มาเรียนรู้วิธีปฏิบัติธรรมอย่างเป็นแบบแผน มีครูอาจารย์ควบคุม ซึ่งดีกว่าอ่านจากตำราแล้วปฏิบัติเองดังที่ข้าพเจ้าเคยทำ ผู้เข้าอบรมในเวลานั้นมีเพียง ๑๓ คน ทั้งที่หลวงพ่อท่านมีหนังสือเชิญชวนไปยังหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งในกรุงเทพมหานครและต่างจังหวัด ที่เป็นเช่นนี้อาจเป็นเพราะสมัยนั้นคนยังไม่เห็นคุณค่าของการปฏิบัติธรรม ตลอดเวลา ๗ วัน ที่พวกเราอยู่ที่วัด หลวงพ่อท่านเมตตาสอนด้วยตนเองทั้งกลางวันและกลางคืน โดยมีคุณแม่ยุพิน บำเรอจิต เป็นผู้ช่วย ข้าพเจ้าปฏิบัติได้พอสมควร ที่ไม่สามารถปฏิบัติได้อย่างเต็มที่เพราะมีความกังวลห่วงลูกชายซึ่งขณะนั้นอายุเพิ่งจะ ๔ เดือนเศษ แต่ข้าพเจ้าก็อยู่ปฏิบัติจนครบกำหนด และนั่นเป็นนิมิตอันดีสำหรับข้าพเจ้า เพราะหลังจากนั้นชีวิตก็เปลี่ยนแปลงไปในทางที่ดีขึ้นเรื่อย ๆ เพราะอำนาจแห่งรสพระธรรมและความเมตตาของพระเดชพระคุณหลวงพ่อนั่นเอง Read more »

เมื่อฉันไปปฏิบัติธรรมที่วัดอัมพวัน

1330950669

ถ้าไม่ได้บันทึกเรื่องนี้ไว้ ฉันคงมีสิ่งค้างคาใจอีกเรื่องหนึ่ง อย่ากระนั้นเลย มีคำกล่าวว่า “การผัดวันประกันพรุ่ง เป็นการขโมยเวลา” เพราะฉะนั้น ถ้าไม่อยากให้เวลาสูญหายไปโดยเปล่าประโยชน์ ต้องรีบเขียนเสียก่อนที่จะหมดไฟ เหมือนตอนไปปฏิบัติธรรมที่ธรรมาศรมธรรมมาตา ตอนแรกกะจะเขียนละเอียดยิบว่าระหว่างปฏิบัติธรรมเป็นอย่างไรบ้าง ฉันเขียนได้แค่การเดินทางแล้วก็สรุปจบ ไม่ได้รายละเอียดของบรรยากาศจริง ๆ ระหว่างถือศีลแปดอยู่ที่นั่นเลย

หนนี้ฉันไปวัดอัมพวัน (วัดอัมพวันเป็นที่รู้จักกันทั่วประเทศ ในชื่อวัดของหลวงพ่อจรัญ ฐิตธัมโม) ซึ่งเป็นวัดที่ฉันไม่นึกอยากจะไปมาก่อน เพราะทราบมาว่ามีผู้ไปปฏิบัติธรรมเยอะมาก ฉันไม่ชอบสถานที่ที่มีคนพลุกพล่านไม่ว่าจะเป็นที่ใด แต่ด้วยความอยากหลีกหนีจากบ้านที่อาศัยอยู่ชั่วคราว ฉันเลยต้องตัดสินใจอย่างกะทันหัน ดูจากเว็บไซต์ของวัดแล้ว แทบไม่ต้องเอาอะไรไปเลย นอกจากของใช้ส่วนตัวจริง ๆ เพราะมีชุดขาวให้ยืมใส่ปฏิบัติด้วย ทั้งยังไม่ต้องมีการแจ้งล่วงหน้าเหมือนสถานปฏิบัติธรรมส่วนใหญ่ ที่วัดอัมพวันแม้จะมีกำหนดว่าหากต้องการปฏิบัติธรรมแค่ 3 วัน ก็ไปวันศุกร์กลับวันอาทิตย์ หากต้องการปฏิบัติธรรม 7 วัน ให้ไปวันโกน แล้วลาศีลวันโกนถัดมา แต่เอาเข้าจริง ๆ ฉันเห็นไปวันไหนก็ได้ เพราะเวลาเข้าคอร์สปฏิบัติ ก็จะเหมือน ๆ กันอยู่แล้ว คือ เดินจงกรม กับนั่งสมาธิ

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .