ประวัติศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

250px-Jui_Ti_God

ครั้งสมัยหนึ่งประมาณการผ่านไปเจ็ดสิบกว่าปีแล้วมีงิ้วคณะหนึ่งได้นำคณะล่องใต้ไปแสดงตามสถานที่ต่าง ๆ คณะงิ้วจะต้องอัญเชิญ กิ้วอ๋อง ซึ่งเป็นสิ่งที่พวกเขานับถือ สักการบูชาอย่างสูงให้ท่านติดตามไปคุ้มครองปกปักรักษาให้พวกเขาอยู่เย็นเป็นสุขตลอดมา

ต่อมาคณะงิ้วดังกล่าวได้เดินทางมาถึงจังหวัดภูเก็ต ก็ได้เริ่มทำการแสดงที่ซอยรมณีย์ทางด้านวัดมงคลนิมิต (ซึ่งคนพื้นเมืองของจังหวัดภูเก็ตเรียกซอยรมณีย์ว่า อ่างอ่าหล่าย) คณะงิ้วได้มาอยู่ที่จังหวัดภูเก็ตนานพอประมาณ ระหว่างที่คณะงิ้วอยู่ภูเก็ตนั้นจัดได้ว่าให้มีพิธีกินผัก(กินเจ) กัน ซึ่งพวกงิ้วได้ถือปฏิบัติสืบอายุเป็นตอน ๆ มา พิธีการกินเจ คือ เริ่มขึ้นในเดือน 11 ขึ้น 1 ค่ำ (เก้าโง้ยโช่ยอีด) ก่อนถึงวันกินเจพวกงิ้วจะปัดกวาด ล้างชำระสถานที่เครื่องใช้ หม้อข้าว ถ้วยชาม และสิ่งของที่จะประกอบในพิธีให้สะอาด ผู้ที่จะเข้าร่วมในพิธีจะต้องแต่งตัว นุ่งขาว ในพิธีการกินเจมีทั้งหมด 9 วัน 9 คืน

ในสมัยนั้นก็มีพี่น้องชาวภูเก็ต ทั้งคนจีน และคนไทย ก็ได้เข้าร่วมในพิธีการถือศีลกินเจกับคณะงิ้วด้วย พี่น้องชาวภูเก็ตของเราก็ได้ศึกษา ปฏิบัติ พิธีการต่าง ๆ ตั้งแต่วันเริ่มงานกินเจจนเสร็จพิธี ในพิธีการกินเจนี้ เขาจะมีพิธีขึ้นเสาโกเต้ง มีตะเกียงน้ำมัน 9 ดวงซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของพิธีการกินเจได้เริ่มขึ้นแล้วในพิธีการกินเจก็มีการประทับทรงพระทำพิธี ลุยไฟ สะเดาะเคราะห์อาบน้ำมันซึ่งกำลังเดือด พิธีไหว้เทวดา มีการแห่ขบวนไปตามถนนสายต่าง ๆ พอครบกำหนด 9 วัน 9 คืน ก็เป็นอันเสร็จพิธีการกินเจ

Read more »

งานประเพณีถือศีลกินผัก (เจี่ยฉ่าย)–ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

250px-KoTang_of_Juitui

ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย หรือ จุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง เป็นศาลเจ้าจีนในจังหวัดภูเก็ต คนภูเก็ตเรียกศาลเจ้าว่า อ๊าม ตั้งอยู่ที่ ซอยภูธร ถนนระนอง อำเภอเมือง จังหวัดภูเก็ต โดยความหมาย ของคำว่า จุ้ยตุ่ย จุ้ยแปลว่า น้ำ ตุ่ย แปลว่า ครกตำข้าว สมัยก่อนนั้น หน้าบริเวณศาลเจ้า เป็นคลอง กว้าง มีน้ำมาก ชาวบ้านจึงสร้างกังหันขึ้น เพื่อใช้กำลังจากน้ำมาตำข้าวที่เก็บเกี่ยวแล้ว

ยี่ง่อ
วันทำความสะอาดศาลเจ้า หรือล้างอ้าม
ปังเอี๋ย เป็นพิธีกรปล่อยขุนทหารเพื่อดูแลอาณาบริเวณมณฑลการกินผัก
ยี่เก้า
ทำพิธียกเสาโกเต้งขึ้นและอัญเชิญตะเกียง 9 ดวง ซึ่งเป็นสัญลักษณ์ของการเริ่มต้นพิธีถือศีลกินผัก
ทำพิธีเชิญ ยกอ๋องซ่งเต่ (เง็กเซียนฮ่องเต้) และองค์ประธานงานถือศีลกินผัก กิวอ๋องไต่เต๋
โช่ยส่า
พิธี โข้กุ้น หรือ การเลี้ยงขุนทหาร และทำพิธีฉะเต็กเกี๋ยมหรือ ปักกระบี่ไม้ จะปักทั้งหมด 9 จุดโดยองค์พระจะเป็นผู้กระทำการพิธี
พิธีอัญเชิญ หล่ำเต๊า ปักเต๊า หรือ เทพผู้ถือบัญชีเกิดและตาย มาประดิษฐ์าน ณ ศาลเจ้า
Read more »

ศาลเจ้าปุดจ้อ ภูเก็ต

067c015-p001

ศาลเจ้าที่มีชื่อเสียงมากที่สุดแห่งหนึ่งและเป็นที่สักการะบูชาของชาวภูเก็ต ได้แก่ ศาลเจ้าปุดจ้อ ตั้งอยู่กลางเมืองบนถนนระนอง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่อยู่คู่กับเมืองภูเก็ตมาร่วมหนึ่งร้อยปี โดยมีประวัติความเป็นมาว่าได้ก่อสร้างขึ้นตั้งแต่สมัยรัชกาล 5

มีตำนานที่เล่าถึงการตั้งศาลเจ้าปุดจ้อไว้ว่า เดิมทีศาลแห่งนี้เป็นศาลเจ้าพ่อกวนอู ซึ่งเป็นเพียงศาลไม้หลังคามุงจากในบริเวณที่เรียกกันว่าหมู่บ้านจุ้ยตุ่ย วันหนึ่งมีพ่อค้าชาวเรือจากปีนังที่เดินทางมาเพื่อทำการค้าที่เมืองภูเก็ตนี้ ล่องเรือมาถึงหน้าศาลเจ้าซึ่งในสมัยก่อนเป็นท่าเรือ ในเรือลำดังกล่าวนั้นได้มีองค์รูปสลักไม้ขององค์กวนอิมปุดจ้ออยู่ด้วยซึ่งปกติแล้วเป็นที่สักการะบูชาไว้ในเรือเพื่อปกป้องคุ้มครองภัยอันตรายทั้งปวง แต่ด้วยสิ่งศักดิ์สิทธิ์ดลใจทำให้พ่อค้าเจ้าของเรือนั้นได้มอบองค์รูปแกะสลักของพระแม่กวนอิมปุดจ้อให้ประดิษฐานไว้ที่ศาลเจ้าเต้กุนนั้น และเป็นที่เลื่อมใสกราบไหว้ของชาวภูเก็ตอย่างมากตลอดมา ต่อมาภายหลังนั้นเมื่อศาลแห่งนี้ทรุดโทรมลง ชาวภูเก็ตและชาวปีนังได้ร่วมใจกันบูรณะ ก่อสร้างศาลแห่งนี้ขึ้นใหม่ โดยเปลี่ยนจากไม้เป็นก่ออิฐและหลังคาเปลี่ยนเป็นกระเบื้อง ภายตัวอาคารมีการแกะสลักลายไม้ต่างๆ อย่างประณีตสวยงาม

Read more »

ศาลเจ้าในจังหวัดภูเก็ต-ศาลเจ้าปุดจ้อ

ศาลเจ้าในจังหวัดภูเก็ต

1.ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ( มูลนิธิจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ) องค์เตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย (เล่าเอี๋ย) องค์ประธานศาลเจ้า
2.ศาลเจ้าปุดจ้อ ( มูลนิธิจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ) องค์ปุดจ้อ องค์ประธานศาลเจ้า
3.ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง ( มูลนิธิจุ้ยตุ่ยเต้าโบ้เก้ง ) องค์กิ้วเที้ยนเฮี่ยนลื้อ องค์ประธานศาลเจ้า
4.ศาลเจ้าบางเหนียว ( มูลนิธิเทพราศี ) สร้างเมื่อพ.ศ.2447 องค์ส่ามต่องอ๋อง องค์ประธานศาลเจ้า
5.ศาลเจ้าหล่อโรง ( ซุ่ยบุ่นต๋อง ) องค์จ้อซูก้ง องค์ประธานศาลเจ้า
6.ศาลเจ้าเชิงทะเล ( ส่ามอ๋องฮู้ ) องค์ส่ามฮู้อ๋องเอี๋ย องค์ประธานศาลเจ้า
7.ศาลเจ้ากะทู้ ( หล่ายถู่ ) สร้างเมื่อพ.ศ.2368 องค์เตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย (เล่าเอี๋ย) องค์ประธานศาลเจ้า
8.ศาลเจ้าบ้านท่าเรือ (โป้เส้งไต่เต่) องค์โป้เส้งไต่เต่ องค์ประธานศาลเจ้า
9.ศาลเจ้าสะปำ ( กวนเต้กุ้น ) องค์กวนอู องค์ประธานศาลเจ้า
10.ศาลเจ้าบางคู องค์ซำไป่ก้อง องค์ประธานศาลเจ้า
Read more »

ศาลเจ้าปุดจ้อ

219054

เป็นศาลเจ้าเก่าแก่กลางเมืองภูเก็ต ตั้งอยู่บนถนนระนอง ติดกับศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ย ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม หรือองค์พระกวนอิมปุดจ้อ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญในพระพุทธศาสนา เป็นศาลเจ้าเก่าแก่กลางเมืองภูเก็ต ตั้งอยู่บนถนนระนอง ติดกับศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ย ศาลเจ้าแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม หรือองค์พระกวนอิมปุดจ้อ ซึ่งเป็นพระโพธิสัตว์องค์สำคัญในพระพุทธศาสนานิกาย

ขอขอบคุณ http://www.m-culture.in.th/

ศาลเจ้าปุดจ้อ

PudJor_Shrine_10
ศาลเจ้าปุดจ้อ หรือ อ๊ามปุดจ้อ เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่สร้างมาเกินกว่า 100 ปี ตั้งอยู่บนถนนระนอง ติดกับศาลเจ้าจุ๊ยตุ่ย ศาลเจ้าปุดจ้อแห่งนี้เป็นที่ประดิษฐานองค์พระโพธิสัตว์กวนอิม หรือ องค์กวนอิมปุดจ้อ อันเป็นองค์สำคัญในพระพุทธศาสนานิกายมหายาน ที่ผู้คนกราบไหว้บูชามากที่สุด

แต่เดิมที่ดินบริเวณที่เป็นที่ตั้งของศาลเจ้าทุกวันนี้ เป็นคลองขนาดใหญ่เรือใหญ่สามารถแล่นเข้ามาได้ และแต่เดิมบริเวณนั้นได้มีท่าเรือและมีศาลเจ้าตั้งอยู่แล้ว โดยชาวบ้านทั่วไปในสมัยนั้นเรียกกันว่าศาลเจ้าเต้กุ้น หรือ กวนอู เมื่อมีพ่อค้านั่งเรือใบสามหลักมาจากปีนัง เข้ามาทำการค้ายังเมืองภูเก็ต ได้นำรูปแกะสลักไม้ขององค์พระโพธิสัตว์กวนอิมปุดจ้อติดตัวมาด้วย ครั้นมาเห็นสถานที่บริเวณนั้น คิดว่ามีความเหมาะสมจึงได้อัญเชิญพระโพธิสัตว์กวนอิมปุดจ้อขึ้นไปไว้ที่ศาลเจ้าเต้กู้น ต่อมามีชาวบ้านเกิดความเลื่อมใสศรัทธาเข้ามากราบไหว้สักการะบูชามากมาย จึงได้มีการเปลี่ยนชื่อจากศาลเจ้าเต้กู้น มาเป็นศาลเจ้าปุดจ้อจนถึงทุกวันนี้

ศาลเจ้าปุดจ้อแห่งนี้มีความเกี่ยวข้องกับวิถีชีวิตของคนบนเกาะภูเก็ตไม่น้อย ไม่ว่าจะเป็นการมากราบไหว้ขอพรให้กับชีวิต เช่นในวันแต่งงาน วันมงคลต่างๆ การนำลูกอายุ 1 เดือนมาขอพรจากปุดจ้อให้เด็กเติบโตเป็นเด็กฉลาด เลี้ยงง่าย แข็งแรง คู่แต่งงานที่ไม่มีลูกก็จะมากราบไหว้เพื่อขอลูกกับท่าน นอกจากนี้ในศาลเจ้าปุดจ้อยังมีเซียมซีถามเรื่อง ทั้งเรื่องทั่วไป และเรื่องยาสมุนไพรและการรักษาโรคต่างๆ ประการหลังนี้นับว่าเป็นที่นิยมของประชาชนทั่วไปมากเป็นพิเศษ เพราะมีการเล่ากันปากต่อปากถึงผลแห่งการรักษาโรคด้วยการถามจากใบเซียมซี แล้วหายจากโรคนั้นมานักต่อนักแล้ว และสุดท้าย แม้แต่เมื่อถึงเวลาที่คนในครอบครัวเสียชีวิต เมื่อเสร็จประเพณีพิธีศพเรียบร้อยแล้ว บรรดาญาติพี่น้องก็พากันมากราบไหว้ขอพรจากองค์ปุดจ้อให้เรื่องร้ายๆ ทั้งหมดจบสิ้นลง

Read more »

ศาลเจ้าบางเหนียว

01-21

ศาลเจ้าบางเหนียว บางเหนียวต่าวโบ้เก้ง หรือมูลนิธิเทพราศี เป็นอีกหนึ่งในศาลเจ้าเก่าแก่ของจังหวัดภูเก็ต ศาลเจ้าบางเหนียวแห่งนี้ก่อสร้างขึ้น เมื่อคริสตศักราช 1904 เล่ากันในสมัยก่อน ได้มีคณะแสดงงิ้วจากเมืองจีน ได้ดินทางมาเปิดการแสดงงิ้วที่อ่างอาหลาย (ซอยรมณีย์ในปัจจุบัน)คณะงิ้วกังฉ่ายฮี่จากเมืองจีนได้นำ องค์พระตี่ฮู้หง่วนโส่ย หรือองค์เหล่าเอี๋ย มาเพื่อบำเพ็ญกุศล พร้อมกับสร้างศาลเจ้าเพื่อทำพิธีถือศีลกินผัก ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์ไฟใหม้ขึ้นในศาลเจ้าโดยที่ไม่ทราบสาเหตุ ชาวบ้านที่นับถือและเลื่อมใสได้นำองค์พระตี่ฮู้หง่วนโส่ย ย้ายไปประดิษฐานที่ศาลเจ้าบางเหนียว
พร้อมกับช่วยกันปลูกสร้างเรือนไม้หลังคามุงจากขึ้นมาใหม่ แทนเรือนเก่าที่ชำรุด ต่อมาได้เกิดเหตุการณ์เพลิงไหม้อีกครั้งในศาลเจ้า บรรดาชาวบ้านผู้มีจิตศรัทธาจึงได้ตัดสินใจช่วยกัน ย้ายองค์พระตี่ฮู้หง่วนโส่ย ไปประดิษฐานยังบริเวณฝั่งตรงกันข้าม ซึ่งติดบริเวณศาลเจ้าในปัจจุบันและได้มีผู้ถือศีลกินผักที่ศาลเจ้ามากเหนียว เพิ่มมากขึ้นทุกๆปี จนทำให้เมื่อถึงเวลาประกอบพิธี ทางศาลเจ้าไม่สามารถที่จะรองรับผู้คนที่มีความต้องการที่จะเข้าร่วมพิธีกรรม ได้ ท่านขุนเลิศภาคารักษ์ผู้เป็นหัวแรงใหญ่ได้รวบรวมเงินเรี่ยไรเรี่ยจากชาวบ้าน เศรษฐีในจังหวัดเพื่อทำการซื้อที่ดิน 6แปลงบริเวณข้างศาลเจ้าในปี 1957 ศาลเจ้าบางเหนียวได้ตั้งเป็นมูลนิธิเทพราศีในปี 1958 พร้อมได้ปรับปรุงตัวศาลเจ้าเพื่ออำนวยความสะอวกแก่ ผู้มีจิตศรัทธาที่มาประกอบพิธีกับทางศาลเจ้าเรื่อยมา
ในช่วงทุกปีของเทศกาลถือศีลกินผักทุกปี ทางศาลเจ้าบางเหนียวจะมีการจัดงานอย่างยิ่งใหญ่ โดยมีบรรดานักท่องเที่ยวทั้งจากในและต่างประเทศเดินทางไปรวมงานประจำปีกันอย่างคับคั่ง

ขอขอบคุณ http://phuketroad.com/

ศาลเจ้าบางเหนียว

IMG-1
ศาลเจ้าบางเหนียว หรืออ๊ามบางเหนียวต้าวโบ้ก้อง หรือศาลเจ้ามูลนิธิเทพราศี เป็นศาลเจ้าเก่าแก ่อีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองภูเก็ต เป็นศาลเจ้าตั้งขึ้นตั้งแต่ปี พ.ศ. 2447 คำว่า ต้าวโบ้ หมายถึง ดาวเหนือ ก้อง หมายถึง พระราชวัง หมายถึง พระราชวังดาวเหนือ

ตามประวัติทราบว่า มีคณะงิ้วกังฉ่ายฮี่จากจีน เดินทางมาเปิดการแสดงที่ตรอกมาเก็า หรือซอยรมณีย์ในปัจจุบัน และยังได้นำ พระตี๋ฮู้หง่วนโส่ย หรือเหล่าเอี๋ยมาเพื่อเคราพบูชา และบำเพ็ญกุศลถือศิลกินผักเป็นประจำ โดยมีการสร้างศาลเจ้าในบริเวณเดียวกัน ต่อมาเกิดไฟไหม้ศาลเจ้าโดยไม่ทราบสาเหตุ แกนนำชาวบ้านแถบนั้น จึงได้พร้อมใจกันนำ พระตี๋ฮู้หง่วนโส่ยไปประดิษฐาน ณ. บ้านเลขที่ 384 – 386 บนถนนภูเก็ต ซึ่งตรงข้าม กับศาลเจ้าในปัจจุบัน และอีกประมาณ 4-5 ปีต่อมา เกิดเพลิงไหม้ศาลเจ้าโดยไม่ทราบสาเหตุอีก ชาวบ้านจึงได้นำพระตี๋ฮู้หง่วนโส่ย ไปประดิษฐานยังฝั่งตรงข้ามซึ่งติดกับสถานที่ปัจจุบัน จากนั้นแกนนำของศาลเจ้าได้ช่วยกันเรี่ยไรเงิน จากภาคเอกชนจัดซื้อที่ดินด้านข้าง เพื่อขยายพื้นที่ของศาลเจ้า และได้พัฒนาศาลเจ้าบางเหนียวจนเป็นดังที่เห็นปจจุบัน ภายในศาลเจ้า จะมีรูปวาดสีน้ำบอกเล่าเรื่องราวต่าง ๆ ของวรรณกรรมจีน มีสีสันสวยงาม มีรูปวาดด้วยสีน้ำ รูปสัตว์นำโชคของจีน ตามผนังของศาลเจ้าดูสวยงาม

ปัจจุบันนี้ศาลเจ้าบางเหนียว เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยเชื้อสายจีนในภูเก็ตที่มีความศรัธา และเชื่อมั่นในความดีของบรรพบุรุษที่เคย ได้สร้างไว้ และแต่ละปีในช่วงเวลาของประเพณีถือศิลกินผัก ทางศาลเจ้าจะมีการจัดงานเทศกาลอย่างยิ่งใหญ่ มีผู้มารวมงานเป็นจำนวนมาก ทั้งชาวไทยและต่างชาติ และเป็นศาลเจ้าที่มีอายุมากกว่า 100 ปี

ขอขอบคุณ http://www.phuketsabuytour.com/

นำเที่ยวศาลเจ้า ในจังหวัดภูเก็ต

เที่ยวภูเก็ต ศาลเจ้ากะทู้
ศาลเจ้ากะทู้เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ที่สำคัญอีกแห่งหนึ่งของภูเก็ต ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านกะทู้ อำเภอกะทู้ ศาลเจ้ากะทู้ถือเป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีถือศิลกินผักของภูเก็ต ที่สืบสานมาจนถึงปัจจุบัน ตามประวัติในสมัยที่มีชาวจีนเป็นจำนวนมาก เข้ามาเป็นกรรมกร เหมืองแร่ในภูก็ต ได้เกิดโรคระบาดขึ้น คณะงิ้วจากเมืองจีน ที่มาทำการแสดงที่บ้านกะทู้ เกรงว่าอาจเป็นเพราะพวกตนไม่ได้ถือศิลกินผักตามที่เคยปฏิบัติกันมาที่ประเทศจีน พวกเขาจึงได้จัดพิธีถือศิลกินผักขึ้น 9 วัน 9 คืน ตามความเชื่อที่ยึดถือมา ต่อมา หลวงอำนาจนรารักษ์ (ต้นตระกูลตัฒฑเวทย์) ซึ่งเป็นนายเหมืองใหญ่ และเป็นผู้นำ ชุมชนบ้านกะทู้ ได้ส่งคนไปนำเอา ” เหี่ยวเอี้ยน ” หรือขี้เถ้าธูปและกระถางธูปจากมณฑลกังไส ประเทศจีน มาไว้ที่ศาลเจ้ากะทู้ เพื่อให้พิธีถือศิลกินผักมีความถูกต้องสมบูรณ์ ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่า จุดกำหนิดของประเพณีถือศิลกินผักของเมืองภูเก็ต

ท่องเที่ยวภูเก็ต ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง
ศาลเจ้ากิ้วเที้ยนเก้ง สร้างขึ้นเมื่อปี 2539 แล้วเสร็จเมื่อปี 2540 ตั้งอยู่บริเวณปลาย แหลมสะพานหิน โดยด้านหน้าของศาลเจ้าจะหันออกท้องทะเล บริเวณโดยรอบ บรรยากาศร่มรื่น จากประวัติที่จารึกไว้ในแผ่นหินหน้าศาลเจ้า ปรากฎว่า พระนางกิ้วเที้ยนลื้อ ซึ่งเป็นเทพเจ้าชั้นผู้ใหญ่ฝ่ายศาสนาเต๋า ในสมัยของพระเจ้าเหลือง ได้บอกผ่านร่างทรง ของท่านว่า ต้องการที่จะให้มีการจัดตั้งศาลเจ้าประจำองค์ของท่าน เพื่อท่านจะได้ช่วย ปกปักรักษาคุ้มครองลูกหลานชาวภูเก็ต เพื่อพ้นภัยพิบัติทางธรรมชาติต่างๆ

Read more »

ศาลเจ้าบางเหนียว

20140318_55_1395111084_209373

อ๊ามบางเหนียว หรือ ศาลเจ้าต่าวบู้เก๊ง หรือ มูลนิธิเทพราศี เป็นศาลเจ้า เก่าแก่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2447 ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าต่าวโบ้เก๊ง หรือฉ้ายตึ๋ง เป็นที่ทราบกันว่า มีคณะงิ้วจีน คณะกังฉ๊ายฮี่ เดินทางมาจากเมืองจีน มาแสดงที่ตรอกเม่าเก้า (ซอยรมณีย์ปัจจุบัน) ขณะนั้นมีศาลเจ้า อยู่แห่งหนึ่ง จึงได้นำพระเตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย (เหล่าเอี๋ย) มาบำเพ็ญกุศล และเริ่มประเพณี ถือศีลกินผักเป็นประจำจนชาวบ้าน เกิดความเลื่อมใส และเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก อ๊ามบางเหนียว หรือ ศาลเจ้าต่าวบู้เก๊ง หรือ มูลนิธิเทพราศี เป็นศาลเจ้า เก่าแก่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2447 ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าต่าวโบ้เก๊ง หรือฉ้ายตึ๋ง เป็นที่ทราบกันว่า มีคณะงิ้วจีน คณะกังฉ๊ายฮี่ เดินทางมาจากเมืองจีน มาแสดงที่ตรอกเม่าเก้า (ซอยรมณีย์ปัจจุบัน) ขณะนั้นมีศาลเจ้า อยู่แห่งหนึ่ง จึงได้นำพระเตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย (เหล่าเอี๋ย) มาบำเพ็ญกุศล และเริ่มประเพณี ถือศีลกินผักเป็นประจำจนชาวบ้าน เกิดความเลื่อมใส และเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ขอขอบคุณ http://www.painaidii.com/

ศาลเจ้าบางเหนียว จ.ภูเก็ต

ศาลเจ้าบางเหนียว
อ๊ามบางเหนียว หรือ ศาลเจ้าต่าวบู้เก๊ง หรือ มูลนิธิเทพราศี เป็นศาลเจ้า เก่าแก่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2447 ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าต่าวโบ้เก๊ง หรือฉ้ายตึ๋ง เป็นที่ทราบกันว่า มีคณะงิ้วจีน คณะกังฉ๊ายฮี่ เดินทางมาจากเมืองจีน มาแสดงที่ตรอกเม่าเก้า (ซอยรมณีย์ปัจจุบัน) ขณะนั้นมีศาลเจ้า อยู่แห่งหนึ่ง จึงได้นำพระเตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย (เหล่าเอี๋ย) มาบำเพ็ญกุศล และเริ่มประเพณี ถือศีลกินผักเป็นประจำจนชาวบ้าน เกิดความเลื่อมใส และเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/

ศาลเจ้าบางเหนียว หรือ ศาลเจ้าบางเหนียวต้าวโบ้ก้อง

IMG-3
ศาลเจ้าบางเหนียวต้าวโบ้ก้อง หรือ ศาลเจ้ามูลนิธิเทพราศี ชาวภูเก็ตมักเรียกว่า ” อ๊ามบางเหนียว ” ถือเป็นศาลเจ้าเก่าแก่แห่งหนึ่งของภูเก็ต ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2447 มีอายุมากกว่า 100 ปี ตั้งอยู่ตัวเมืองภูเก็ต คำว่า ” ต้าวโบ้ ” หมายถึง ดาวเหนือ คำว่า ” ก้อง ” หมายถึง พระราชวัง เมื่อรวมกัน หมายถึง พระราชวังดาวเหนือ

ประวัติศาสตร์ที่ทราบ มีว่า คณะงิ้วกังฉ่ายฮี จากจีนได้เดินทางมาเปิดการแสดงที่ตรอกมาเก็า หรือ ซอยรมณีย์ ในปัจจุบัน และได้นำ พระตี๋ฮู้หง่วนโส่ย หรือ เหล่าเอี๋ย มาเพื่อเคราพบูชา และบำเพ็ญกุศล ถือศิลกินผักเป็นประจำ โดยมีการสร้างศาลเจ้า ในบริเวณเดียวกัน ต่อมาเกิดไฟไหม้ศาลเจ้าโดยไม่ทราบสาเหตุ แกนนำชาวบ้านแถบนั้น จึงได้พร้อมใจกันนำ พระตี๋ฮู้หง่วนโส่ย ไปประดิษฐาน ณ. บ้านเลขที่ 384 – 386 บริเวณถนนภูเก็ต ซึ่งตรงกันข้าม กับศาลเจ้าในปัจจุบัน และอีกประมาณ 4-5 ปีต่อมา เกิดเพลิงไหม้ศาลเจ้า โดยไม่ทราบสาเหตุอีกครั้ง ชาวบ้านจึงได้นำ พระตี๋ฮู้หง่วนโส่ย ไปประดิษฐานยังฝั่งตรงข้าม ซึ่งติดกับสถานที่ปัจจุบัน จากนั้นแกนนำของ ศาลเจ้าได้ช่วยกันเรี่ยไรเงิน จัดซื้อที่ดินด้านข้าง เพื่อขยายพื้นที่ของศาลเจ้า และได้มีการพัฒนาศาลเจ้าจนถึงปัจจุบัน ภายในศาลเจ้ามีรูปวาดสีน้ำบอกเรื่องราวต่าง ๆ ของวรรณกรรมจีน มีสีสันสวยงาม รูปวาดสีน้ำสัตว์นำโชคของจีน ตามผนังของศาลเจ้าอย่างสวยงาม

ปัจจุบันศาลเจ้าบางเหนียว เป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวไทยภูเก็ตเชื้อสายจีน ที่มีความศรัธาและเชื่อมันในความดี ของบรรพบุรุษ ที่ได้เคยสร้างไว้ และแต่ละปีในช่วงประเพณ๊ถือศิลกินผัก ทางศาลเจ้าจะมีการจัดงาน มีผู้ร่วมงานจำนวนมาก ทั้งชาวไทย และชาวต่างประเทศ

ขอขอบคุณ http://www.homemediatravel.com/

ศาลเจ้าบางเหนียว

อ๊ามบางเหนียว หรือ ศาลเจ้าต่าวบู้เก๊ง หรือ มูลนิธิเทพราศี เป็นศาลเจ้า เก่าแก่ตั้งแต่ปี พ.ศ.2447 ชาวบ้านเรียกว่า ศาลเจ้าต่าวโบ้เก๊ง หรือฉ้ายตึ๋ง เป็นที่ทราบกันว่า มีคณะงิ้วจีน คณะกังฉ๊ายฮี่ เดินทางมาจากเมืองจีน มาแสดงที่ตรอกเม่าเก้า (ซอยรมณีย์ปัจจุบัน) ขณะนั้นมีศาลเจ้า อยู่แห่งหนึ่ง จึงได้นำพระเตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย (เหล่าเอี๋ย) มาบำเพ็ญกุศล และเริ่มประเพณี ถือศีลกินผักเป็นประจำจนชาวบ้าน เกิดความเลื่อมใส และเข้าร่วมกิจกรรมเป็นจำนวนมาก

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

รวมภาพขบวนแห่พระศาลเจ้าบางเหนียว @ Phuket

ภาพขบวนแห่พระของศาลเจ้าบางเหนียว
พิธีอิ้วเก้ง หรือพิธีแห่้พระ ไปตามถนนสายต่าง ๆ ที่กำหนด เพื่ออวยพรให้แก่ประชาชนที่บูชา และทำพิธีอัญเชิญ เิฮี้ยวโห้ย กลับไปยังศาลเจ้า

โดยในระหว่างเส้นทางที่ขบวนผ่าน ก็จะมีประชาชนตั้งของไหว้ และพระก็จะเดินมาที่โต๊ะของไหว้ หรือไม่เราเป็นคนไปเชิญท่านมาทำพิธีที่โต๊ะ เมื่อทำพิํธีเสร็จ พระจะแจกของไหว้่แก่ผู้ที่ตั้งของไหว้ และประชาชที่อยู่บริเวณนั้น

SL370177

 

SL370183

SL370184

Read more »

ศาลเจ้าต่าวบู้เก้ง มูลนิธิเทพราศี (ศาลเจ้าบางเหนียว)

DSC_0082

ที่ตั้ง : ถ.ภูเก็ต บ.บางเหนียว ต.ตลาดใหญ่ อ.เมือง จ.ภูเก็ต

การเดินทาง : จากเมืองภูเก็ตไปทางสะพานหิน เมื่อผ่านสีแยกบางเหนียวศาลเจ้าจะอยู่ทางซ้ายมือ

เป็นศาลเจ้ายุคหลังจาก ศาลเจ้าในซอยอังอาหลายหรือซอยรมณีย์ในปัจจุบันได้ถูกไฟไหม้ โดยได้มีการเชิญกิมซิ้นหรือรูปแกะสลักองค์พระเหลาเอี๋ย หรือ เตี่ยนหู้หง่วยโซ่ย มาตั้งที่ชุมชนบางเหนียว ส่วนกระถางธูปและป้ายชื่อหยกอ๋องซ่งเต่ไปตั้งที่ศาลเจ้าจุ้ยตุ่ย

อ๊ามบางเหนียวแรกเริ่มเดิมทีมีองค์พระไต่ซ้องสามต่องอ๋องเป็นประธานอ๊าม ต่อมาได้มีการอัญเชิญองค์เหลาเอี๋ยมาเป็นประธานเพื่อประกอบพิธีถือศีลกินผักสืบมา โดยในศาลเจ้าจะมีการแบ่งเป็นช่องๆ แต่ละช่องก็จะมีองค์พระต่างกันไป เช่น สามต่องอ๋อง สามฮู้อ่องเอี๋ย ฮวบจูกง เป็นต้น ภายในศาลเจ้าจะมีรูปวาดลงสีอยู่บนกำแพงด้านบนศาลเจ้า

ขอขอบคุณ http://www.thisphuket.com/

. . . . . . .
. . . . . . .