ศาลเจ้าแสงธรรม ” ศาลเจ้าเต่งก้องต๋อง “

IMG-9

ศาลเจ้าแสงธรรม ในภาษีจีนฮกเกี้ยน เรียกว่า ” ศาลเจ้าเต่งก้องต๋อง ” หรือ ศาลเจ้าชิงเจียกอง เป็นศาลเจ้าภูเก็ต ที่เก่าแก่แห่งหนึ่ง มีอายุนับร้อยปี ตั้งอยู่ตัวเมืองภูเก็ต บริเวณซอยเล็ก ๆ ถนนพังงา

ศาลเจ้าแสงธรรม ตามประวัติได้สร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2434 โดย หลวงอำนาจนรารักษ์ ( ตันค้วด ) เพื่อประดิษฐาน เทพเจ้าจีนที่สายตระกูลนับถือมาแต่เดิม โดยใช้เป็นสถานที่เคราพสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งเพื่อเป็นศูนย์รวมพบปะระหว่างญาติมิตร

ศาลเจ้าแสงธรรมนอกจากจะตั้งอยู่สันโดษ และเงียบสงบอยู่กลางเมืองภูเก็ตแล้ว ยังมีสถาปัตยกรรมในรูปแบบ จีนประเพณี ที่สวยงาม โดยตัวอาคารเป็นรูปแบบเก๋งจีนขนาดเล็ก ส่วนบนหลังคามีปูนปั้นรูปมังกร และ ตุ๊กตาจีน ซึ่งนิยมกันมากใน มณฑลฮกเกี้ยน ประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ภายในศาลเจ้ามีภาพเขียนลายเส้นสีดำ ในตารางสี่เหลี่ยมเต็มฝาด้านข้าง ทั้งสองด้าน ดำเนินเรื่อง ซิยินกุ้ย แห่งราชวงศ์กุ้ง อันเป็นตำนานแห่งอดีต ของเทพเจ้าอ๋องซุนต่ายสาย เมื่อครั้นสวยชาติเป็นมนุษย์

ศาลเจ้าแสงธรรม ในปี พ.ศ. 2540 ได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี โดยผ่านการคัดเลือกของ สมาคมสถาปนิกสยาม ในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้มีการบูรณะศาลเจ้าครั้งใหญ่ เมื่อปี พ.ศ. 2542 เพื่อฉลองครบรอบ 109 ปี ในปี พ.ศ. 2543 ศาลเจ้าแสงธรรมแห่งนี้ เป็นอีกแห่งหนึ่งของการท่องเที่ยวภูเก็ต เชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรม

ขอขอบคุณ http://www.homemediatravel.com/

ศาลเจ้าแสงธรรม ภูเก็ต

คำว่า อ๊าม ที่คนภูเก็ตใช้เรียกกันก็คือ ศาลเจ้าจีน นั่นเอง ประชากรในภูเก็ตส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน ประเพณีวัฒนธรรมชีวิตความเป็นอยู่ แม้แต่สถาปัตยกรรมก็ยังเป็นแบบจีน ผมคนภูเก็ตคนหนึ่งก็มีเชื้อสายจีนอยู่บ้างนิดหน่อย อิอิ เกือบทั่วจังหวัดภูเก็ตจะมีศาลเจ้าจีนกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ในภูเก็ต มีคนเคยนับศาลเจ้าจีนในภูเก็ตไม่ว่าเล็กใหญ่นับคราวๆรวมๆแล้วเกือบ 50 ศาลเจ้า

สำหรับจังหวัดภูเก็ตแล้ว นักท่องเที่ยวทั่วไปจะมาท่องเที่ยวตามชายหาดกันเป็นส่วนใหญ่ ผมอยากจะให้ลองมาไหว้พระขอพรตามศาลเจ้าต่างๆในภูเก็ตกันบ้าง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่จะเที่ยวภูเก็ต ต่อไปผมจะพยายามนำข้อมูลของศาลเจ้าต่างๆในภูเก็ตมานำเสนอใน blog ของผมค่อยติดตามกันดูน่ะครับ ส่วนวันนี้ผมขอแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ ศาลเจ้าแสงธรรม หรือ อ๊ามเต่งกองต๋อง ศาลเจ้าแสงธรรมนี้ นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองภูเก็ตที่ไม่ควรพลาด

ศาลเจ้าแสงธรรมหรืออ๊ามเตงก่องต๋อง

ศาลเจ้าแสงธรรม หรือในภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่าศาลเจ้าเต่งก้องต๋อง หรือศาลเจ้าซิงเจียกอง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของภูเก็ต ซึ่งมีอายุนับร้อยปี ตั้งอยู่ในซอยเล็กๆ บนถนนพังงา ตามประวัตินั้น ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2434 โดยหลวงอำนาจนรารักษ์ (ตันค้วด) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าจีนที่สายตระกูลนับถือมาแต่เดิม โดยใช้เป็นสถานที่เคารพสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งเพื่อใช้เป็นศูนย์รวมพบปะระหว่างญาติมิตร

Read more »

งานแซยิดองค์พระอ๋องสุ้นต่ายส่าย ศาลเจ้าแสงธรรม

I1 (1)

ศาลเจ้าแสงธรรม หรือศาลเจ้าเต่งก่องต๋อง แปลว่า ศาลแห่งดวงประทีปสว่างไสวไม่มีวันแตกดับ แต่เดิมมีชื่อว่า ศาลเจ้าซินเจียเก้ง เป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ ยังคงมีสภาพสมบูรณ์ และมีเอกลักษณ์ที่โดดเด่นทั้งด้านสถาปัตยกรรม และศิลปกรรม โดยบรรพบุรุษชาวจีนที่อพยพเข้ามาตั้งหลักแหล่งในจังหวัดภูเก็ตในยุคบุกเบิกได้ร่วมกันสร้างขึ้น ประมาณปี พ.ศ.2434 และได้รับการดูแลสืบต่อกันมาถึงปัจจุบัน ภายในศาลเจ้าสามารถแบ่งออกเป็น 3 ส่วน ได้แก่ ส่วนด้านหน้า ชาวฮกเกี้ยน เรียกว่า ทีก้งตั๋ว เป็นสถานที่สำหรับบูชาทีก้งหรือเทพยดา ส่วนที่สอง เรียกว่า ฮับตั๋ว จะประกอบด้วยโต๊ะบูชา และมีรูปองค์พระต่างๆ เช่น องค์พระตันเส้งอ๋อง โก๊ยเส้งอ๋อง ฮัวโต๋เซียนสื้อ ท่านโส่ยเอี๋ย เป็นต้น เพื่อให้ผู้มีจิตศรัทธาได้กราบไหว้บูชา

ส่วนผนังทั้งสองห้องนั้น ประกอบด้วยภาพวาดรูปเทพนิยายของจีนเรื่องซิยิ่นกุ้ย ซึ่งเป็นเรื่องในราชวงศ์ถังของจีน และภาพของ ส่าจับลักเทียนก้ง หรือสามสิบหกเทพสวรรค์ ส่วนที่สาม เรียกว่า ล่ายตั๋ว ประกอบด้วย ตั๋วกลาง มีรูปองค์พระอ๋องสุ้นต่ายส่าย ง้อสุ้น หยกสุ้น เกี่ยมต๋อง และอินต๋อง ส่วนทางขวามือ ประกอบด้วย องค์เจ้าแม่กวนอิม จู้แส้เนียวเนียว และป้ายบูชาเทียนเต่ก้งจ้อ ซ้ายมือประกอบด้วย องค์พระตันเส้งอ๋อง กวนอู หงอจินหยิน ส่ามต๋องอ๋อง และปุนเถ้าก้ง ในปี พ.ศ.2540 ศาลเจ้าแสงธรรม เคยได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์สถาบันดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี โดยการคัดเลือกของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ ปี พ.ศ.2542 ได้รับการบูรณะศาลเจ้าครั้งใหญ่ โดยให้ยังคงสภาพเดิมไว้ทุกประการ ปี พ.ศ.2543 ได้ทำการเฉลิมฉลองศาลเจ้าที่มีอายุครบ 109 ปี ต่อมาในปี พ.ศ.2545 ได้นำช่างประเทศจีนมาทำการบูรณะตกแต่งประดับหลังคาศาลเจ้า โดยยังคงรูปแบบเดิมไว้ พร้อมทั้งซ่อมผนัง ประตูศาลเจ้า ให้มีสภาพสวยงามดังเดิม

Read more »

ศาลเจ้าแสงธรรม ภูเก็ต

phuket-shrine-sang-tham04

 

คำว่า อ๊าม ที่คนภูเก็ตใช้เรียกกันก็คือ ศาลเจ้าจีน นั่นเอง ประชากรในภูเก็ตส่วนใหญ่แล้วจะเป็นเชื้อสายจีนฮกเกี้ยน ประเพณีวัฒนธรรมชีวิตความเป็นอยู่ แม้แต่สถาปัตยกรรมก็ยังเป็นแบบจีน ผมคนภูเก็ตคนหนึ่งก็มีเชื้อสายจีนอยู่บ้างนิดหน่อย อิอิ เกือบทั่วจังหวัดภูเก็ตจะมีศาลเจ้าจีนกระจายอยู่ทั่วทุกพื้นที่ในภูเก็ต มีคนเคยนับศาลเจ้าจีนในภูเก็ตไม่ว่าเล็กใหญ่นับคราวๆรวมๆแล้วเกือบ 50 ศาลเจ้า

สำหรับจังหวัดภูเก็ตแล้ว นักท่องเที่ยวทั่วไปจะมาท่องเที่ยวตามชายหาดกันเป็นส่วนใหญ่ ผมอยากจะให้ลองมาไหว้พระขอพรตามศาลเจ้าต่างๆในภูเก็ตกันบ้าง เป็นอีกทางเลือกหนึ่งของคนที่จะเที่ยวภูเก็ต ต่อไปผมจะพยายามนำข้อมูลของศาลเจ้าต่างๆในภูเก็ตมานำเสนอใน blog ของผมค่อยติดตามกันดูน่ะครับ ส่วนวันนี้ผมขอแนะนำให้ทุกท่านได้รู้จักกับ ศาลเจ้าแสงธรรม หรือ อ๊ามเต่งกองต๋อง ศาลเจ้าแสงธรรมนี้ นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์ วัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองภูเก็ตที่ไม่ควรพลาด

ศาลเจ้าแสงธรรมหรืออ๊ามเตงก่องต๋อง

ศาลเจ้าแสงธรรม หรือในภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่าศาลเจ้าเต่งก้องต๋อง หรือศาลเจ้าซิงเจียกอง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของภูเก็ต ซึ่งมีอายุนับร้อยปี ตั้งอยู่ในซอยเล็กๆ บนถนนพังงา ตามประวัตินั้น ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2434 โดยหลวงอำนาจนรารักษ์ (ตันค้วด) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าจีนที่สายตระกูลนับถือมาแต่เดิม โดยใช้เป็นสถานที่เคารพสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งเพื่อใช้เป็นศูนย์รวมพบปะระหว่างญาติมิตร

Read more »

ศาลเจ้าแสงธรรม (ศาลเจ้าเต่งก้องต๋อง)

DSC_0123
การเดินทาง : จากวงเวียนสุริยะเดช (วงเวียนตลาดสด) มาทางถนนเยาวราช เลี้ยวขวาแยกแรกเข้าถนนพังงา ประมาณ 100 เมตรจากแยก ทางเข้าศาลเจ้าอยู่ทางซ้ายมือ

ศาลเจ้าแสงธรรม หรือที่คนภูเก็ตเรียกว่าศาลเจ้าเต่งก้องต๋อง ตั้งอยู่ถนนพังงา ซ้ายมือ เดิมที่เป็นศาลเจ้าเก่าแก่แต่โบราณมา สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ2434 โดยหลวงอำนาจนรารักษ์ก่อนหน้าที่ทางเข้าเป็นตรอกเล็กๆ หลังจากมีการบูรณะ จิตศรัทธราที่มีต่อศาลเจ้าก็ได้ขยับขยายทางเข้า หรือแม้แต่กระทั่งบริเวณภายในศาลเจ้าก็กว้างขึ้นตามลำดับ ภายในหลังคา ซุ้มประตู จะเป็นขอใหม่ที่เพิ่งถูกสร้างขึ้นปี 2011 ส่วนของเก่าโบราณนั้นทางศาลเจ้าได้เก็บใส่ตู้โชว์เพื่อให้ลูกหลานได้ ชมต่อไปในอนาคต ส่วนตัวศาลเจ้าด้านใน จิตกรรมฝาผนังยังคงเป็นของเดิมที่ได้รับการซ่อมแซ่มมา

องค์เทพที่เป็นพระประธานศาลเจ้าคือ องค์เทพอ๋องซุ้นไต่ซ่าย และรองลงมาคือ องค์เทพตันเซ่งอ๋อง

ขอขอบคุณ http://www.thisphuket.com/

ศาลเจ้าแสงธรรม

ศาลเจ้าแสงธรรม หรือในภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่าศาลเจ้าเต่งก้องต๋อง หรือศาลเจ้าชิงเจียกอง มีอายุเก่าแก่นับร้อยปี ตั้งอยู่ในซอยเล็กๆ บนถนนพังงา ตามประวัตินั้น ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อพ.ศ. 2434 โดย หลวงอำนาจนรารักษ์ (ตันค้วด) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าจีนที่สายตระกูลนับถือมาแต่เดิม โดยใช้เป็นสถานที่เคารพสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งเพื่อใช้เป็นศูนย์รวมพบปะระหว่างญาติมิตร

ความน่าสนใจของศาลเจ้าแสงธรรม นอกจาสถานที่ตั้งอันสันโดษและเงียบสงบอยู่ในใจกลางเมืองแล้ว ความสำคัญคือความสวยงามของสถาปัตยกรรมในรูปแบบจีนประเพณีแล้ว โดยตัวอาคารเป็นรูปแบบเก๋งจีนขนาดเล็ก กะทัดรัด ส่วนบนหลังคามีปูนปั้นรูปมังกรและตุ๊กตาจีนซึ่งเป็นที่นิยมในมณฑลฮกเกี้ยนประดับตกแต่งอย่างสวยงาม นอกจานี้ภายในศาลเจ้ายังมีภาพเขียนลายเส้นสีดำในตารางสี่เหลี่ยมเต็มฝาด้านข้างทั้งสองด้านดำเนินเรื่อง ซิยิ่นกุ้ย แห่งราชวงศ์กุ้ง อันเป็นตำนานแห่งอดีตของเทพอ๋องซุนต่ายสาย เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นมนุษย์มาก่อน

ในปีพ.ศ.2540 ศาลเจ้าแสงธรรม ได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี โดยผ่านการคัดเลือกของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์และได้มีการบูรณะศาลเจ้าครั้งใหญ่ไปเมื่อ พ.ศ.2542 เพื่อฉลองศาลเจ้าครบรอบ 109 ปี ในปีพ.ศ.2543

ศาลเจ้าแสงธรรมนี้ นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองภูเก็ตที่ไม่ควรพลาดไปเยี่ยมชม

Read more »

ศาลเจ้าแสงธรรมหรืออ๊ามเตงก่องต๋อง

20110130_htyobkdb

ศาลเจ้าแสงธรรม หรือในภาษาจีนฮกเกี้ยนเรียกว่าศาลเจ้าเต่งก้องต๋อง หรือศาลเจ้าซิงเจียกอง เป็นศาลเจ้าเก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของภูเก็ต ซึ่งมีอายุนับร้อยปี ตั้งอยู่ในซอยเล็กๆ บนถนนพังงา ตามประวัตินั้น ศาลเจ้าแห่งนี้สร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 2434 โดยหลวงอำนาจนรารักษ์ (ตันค้วด) เพื่อเป็นที่ประดิษฐานเทพเจ้าจีนที่สายตระกูลนับถือมาแต่เดิม โดยใช้เป็นสถานที่เคารพสักการบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ รวมทั้งเพื่อใช้เป็นศูนย์รวมพบปะระหว่างญาติมิตร

ความน่าสนใจของศาลเจ้าแสงธรรม นอกจากสถานที่ตั้งอันสันโดษและเงียบสงบอยู่ในใจกลางเมืองแล้ว ความสำคัญคือความสวยงามของสถาปัตยกรรมในรูปแบบจีนประเพณี โดยตัวอาคารเป็นรูปแบบเก๋งจีนขนาดเล็ก กะทัดรัด ส่วนบนหลังคามีปูนปั้นรูปมังกรและตุ๊กตาจีน ซึ่งเป็นที่นิยมในมณฑลฮกเกี้ยนประดับตกแต่งอย่างสวยงาม นอกจากนี้ภายในศาลเจ้ายังมีภาพเขียนลายเส้นสีดำในตารางสี่เหลี่ยมเต็มฝาด้านข้างทั้งสองด้าน ดำเนินเรื่อง ซิยินกุ้ย แห่งราชวงศ์กุ้ง อันเป็นตำนานแห่งอดีตของ เทพอ๋องซุนต่ายสาย เมื่อครั้งเสวยชาติเป็นมนุษย์มาก่อน

ในปี พ.ศ. 2540 ศาลเจ้าแสงธรรม ได้รับพระราชทานรางวัลอนุรักษ์ดีเด่น จากสมเด็จพระเทพรัตนราชสุดาสยามบรมราชกุมารี โดยผ่านการคัดเลือกของสมาคมสถาปนิกสยามในพระบรมราชูปถัมภ์ และได้มีการบูรณะศาลเจ้าครั้งใหญ่เมื่อ พ.ศ. 2542 เพื่อฉลองศาลเจ้าครบรอบ 109 ปี ในปี พ.ศ. 2543

ที่ตั้ง ตั้งอยู่ ถ. พังงา หากไปจากแยก ถ. ภูเก็ต จะเห็นซอยเล็ก ๆ ข้างธนาคารกรุงไทย ศาลเจ้าแสงธรรมตั้งอยู่ในซอยนี้

ขอขอบคุณhttp://www.phuketcity.go.th//

ศาลเจ้าแสงธรรม, ภูเก็ต

gp50122d80a7192

ศาลเจ้าในตัวเมือง จ.ภุเก็ต มีอายุเก่าแก่นับร้อยปี ตั้งอยู่ในซอยเล็กๆ บนถนนพังงา โดยใช้เป็นสถานที่เคารพสักการะบูชาสิ่งศักดิ์สิทธิ์ โดยตัวอาคารเป็นรูปแบบเก๋งจีนขนาดเล็ก กะทัดรัด ส่วนบนหลังคามีปูนปั้นรูปมังกรและตุ๊กตาจีนซึ่งเป็นที่นิยมในมณฑลฮกเกี้ยนประดับตกแต่งอย่างสวยงาม ศาลเจ้าแสงธรรมนี้ นับเป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงประวัติศาสตร์วัฒนธรรมที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งในตัวเมืองภูเก็ตที่ไม่ควรพลาดไปเยี่ยมชม

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com/

ศาลเจ้ากะทู้ เผยกำหนดการพิธีกรรมถือศีลกินผัก ครั้งที่ 2

1141

เชื่อว่าชั่วโมงนี้ชาวภูเก็ตส่วนใหญ่ทราบข่าวแล้วว่าปีนี้ (2557) จะมีการจัดประเพณีถือศีลกินผัก (กินเจ) จำนวน 2 ครั้ง โดยในครั้งที่ 1 ตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน – 2 ตุลาคม 2557 และครั้งที่ 2 คือวันที่ 24 ตุลาคม – 1 พฤศจิกายน 2557 แต่หลายๆ คน คงจะสับสนว่าทุกศาลเจ้าในภูเก็ตจะจัดพิธีกรรมเต็มรูปแบบทั้งสองครั้งหรือไม่ คำตอบคือไม่ใช่…

เพราะการจัดในครั้งที่ 1 จะเป็นรอบปกติ (ทุกศาลเจ้า) คือจะมีพิธีกรรมต่างๆ ครบเหมือนทุกปี และสำหรับในครั้งที่ 2 จะมีเพียง ศาลเจ้ากะทู้ และศาลเจ้าเชิงทะเล ที่เข้าร่วม โดยพิธีกรรมจะเป็นรูปแบบเดียวกับครั้งที่ 1 เว้นแต่ในวันสุดท้าย จะงดพิธีกรรมโก้ยโห้ย (ลุยไฟ) และงดพิธีโก้ยห่าน (สะเดาะเคราะห์)

เนื่องจากในปี 2557 นี้ ตามปฏิทินฝ่ายจีน (จันทรคติ) ได้กำหนดมีเดือน 9 สองครั้ง โดยเดือน 9 ครั้งแรก เป็นเดือนใหญ่ มี 30 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน ถึงวันที่ 23 ตุลาคม 2557 ส่วนเดือน 9 ครั้งหลัง เป็นเดือนเล็ก มี 29 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม ถึงวันที่ 21 พฤศจิกายน 2557 จึงถือได้ว่า ในปี 2557 นี้ มีวันเก้าโหง้ยโชยอีดถึงโชยเก้า ถึงสองครั้งในปีนี้

“คณะกรรมการฯ เห็นว่า เมื่อปฏิทินฝ่ายจีน (จันทรคติ) กำหนดมาเป็นเช่นนี้ ประกอบกับพระเล่าเอี๋ย ซึ่งเป็นที่เคารพนับถือของคณะกรรมการฯ และพี่น้องชาวกะทู้ ได้มีดำริให้มีการจัดกินผักสองครั้ง และในอดีตบรรพชนแห่งพี่น้องชาวกะทู้ ก็ได้มีการจัดการกินผักสองครั้งมาแล้วเช่นกัน ด้วยความศรัทธาในองค์พระกิ้วฮ๋องไต่เต่ และพระเตี๋ยนฮู้หง่วนโส่ย รวมถึงพระองค์อื่นๆ และเมื่อโอกาสดีอันหายากยิ่งเช่นนี้เกิดขึ้น เมื่อพิจารณาถึงความพร้อมของกำลังคน กำลังทรัพย์ และความร่วมมือจากภาคต่างๆ แล้ว ทางคณะกรรมการที่ปรึกษา คณะกรรมการบริหาร คณะกรรมการจัดงาน ผู้ประทับทรง และพี่น้องชาวกะทู้ ต่างมีความยินดีที่จะร่วมกันจัดงานกินผักในปี 2557 นี้ ให้ลุล่วงไปด้วยดีทั้งสองครั้ง”

Read more »

ประวัติศาลเจ้ากะทู้

ศาลเจ้ากะูทู้ หรือ เรียกว่า ศาลเจ้าในทู เป็นศาลเจ้าแห่งแรกที่เริ่มประเพณีถือศีลกินผักของภูเก็ต เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ และ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือของพี่น้องชาวภูเก็ต

หลังจากที่ได้มีคณะงิ้วเดินทางมาจากเมืองจีน มาเปิดการแสดงที่บ้านกะทู้ แต่แล้วผู้แสดง ในคณะงิ้วเกิดเจ็บป่วยขึ้น ทำให้คณะงิ้วคิดไว้ว่า พวกตนละเลย ไม่ได้ประกอบพิธีกินผัก ซึ่งเคยกระทำเป็นประจำทุกปีที่เมืองจีน จึงตกลงกัน ประกอบพิธีกินผักขึ้นที่โรงงิ้วนั้นเอง ภายหลังการประกอบ พิธีกินผักที่โรงงิ้วเสร็จแล้ว โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็หายไป จนหมดสิ้น ทำความประหลาดใจให้ชาวกะทู้ ชาวกะทู้ได้เข้าร่วมพิธีกินผัก กับคณะงิ้วด้วย แต่ไม่มีใครทราบ และเป็นผู้รู้เกี่ยวกับพิธีนี้ดี ชาวบ้านทำได้เพียง เคารพบูชา และขอขมา แด่ศาลเจ้า

จนกระทั่ง ท่านผู้รู้ เดินทางไปถึงมณฑลกังไซ้ และเห็นชาวบ้าน ประกอบพิธีถือศีลกินผัก แต่เขาแนะนำว่าการประกอบพิธีนั้น ไม่ถูกต้อง ตามประเพณีเดิมของฉ้ายตึ่ง (ศาลเจ้า ที่มณฑลกังไซ้) และอาสากลับไป เพื่ออัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือควันธูป มาจากมณฑลกังไซ้ ในตอนกลางคืน ท่านผู้รู้ได้ล่องเรือกลับจากประเทศจีนมาถึงที่บางเหลียว (บางเหนียว ในปัจจุบัน) และส่งข่าวไปยังชาวกะทู้ว่าท่านผู้รู้ได้มาถึงแล้ว ดังนั้นจึงบอกให้ คณะกรรมการ ในพิธีนี้มารับท่านผู้รู้ในวันถัดไป (ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9) นอกจากนี้ ท่านผู้รู้ ได้นำบทสวดมนต์ จากตำรา และคัมภีร์ต่างๆ กับเต้าบูเก็ง มาไว้ที่ศาลเจ้าฉ้ายตึ่ง เช่นกัน

Read more »

ศาลเจ้ากะทู้ ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต

ประวัติความเป็นมา
ศาลเจ้ากะทู้ ตั้งอยู่เลขที่ 37/1 หมู่ 4 ต .กะทู้ อำเภอกะทู้ ตามประวัติในสมัยที่ชาวจีนเข้ามาเป็นกรรมกรเหมืองแร่ในภูเก็ต ได้เกิดโรคระบาดขึ้น คณะงิ้วจากเมืองจีนที่มาทำการแสดงที่บ้านกะทู้เกรงว่าอาจเป็น เพราะพวกตนไม่ได้ถือศีลกินผักตามที่เคยปฏิบัติกันมาที่ประเทศจีน พวกเขาจึงได้จัดพิธีถือศีลกินผักขึ้น 9 วัน 9 คืน รวมทั้งช่วยกันสร้างศาลเจ้าขึ้น หลังจากนั้นโรคระบาดก็หายไป ชาวบ้านกะทู้เกิดความเลื่อมใส จึงจัดให้มีพิธีถือศีลกินผักต่อเนื่องกันมา จากนั้นประเพณีถือศีลกินผักก็แพร่หลายมากขึ้นเรื่อย ๆ จนเป็นประเพณีที่สำคัญของจังหวัดภูเก็ตในปัจจุบัน

ต่อมาหลวงอำนาจนรารักษ์ (ต้นตระกูลตัณฑเวทย์) ซึ่งเป็นผู้นำชุมชนบ้านกะทู้ได้ส่งคนไปนำเอา “เหี่ยวเอี้ยน” หรือขี้เถ้าธูปและกระถางธูปจากมณฑลกังไส ประเทศจีน มาไว้ที่ศาลเจ้า เพื่อให้พิธีถือศีลกินผักมีความถูกต้องสมบูรณ์ ศาลเจ้ากะทู้ จึงได้ชื่อว่าเป็นจุดกำเนิดของประเพณีถือศีลกินผักบนเกาะภูเก็ตในปัจจุบัน
ที่ศาลเจ้ากะทู้ นอกจากจะมีรูปปั้นเทพเจ้าจีนต่าง ๆ แล้ว ยังมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม ทรงชุดสีขาวพระพักตร์เอิบอิ่ม มีแต้มจุดแดงที่พระนลาฎ พระหัตถ์ขวาทรงขวดน้ำมนตร์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าประทานพร ทรงยืนบนฐานมังกร ซึ่งนับเป็นประติมากรรมเทพเจ้าจีนที่สวยงามมากรูปหนึ่ง ซึ่งผู้คนให้ความศรัทธาสูงยิ่ง

ขอขอบคุณ http://www.annaontour.com/

ศาลเจ้ากะทู้ จ.ภูเก็ต ประกอบพิธีซงเก้งสวดมนต์ถวายพระพรในหลวงหายจากประชวร

ศาลเจ้ากะทู้ ประกอบพิธีซงเก้งสวดมนต์ถวายพระพร ให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากพระอาการประชวร มีพระพลานามัยที่แข็งแรง ในงานประเพณีถือศีลกินผักครั้งที่ 2
557000012753303
เมื่อเวลา 09.00 น.วันนี้ (27 ต.ค.) ที่บริเวณหน้าศาลกะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต ได้ประกอบพิธีซงเก้งสวดมนต์ ในงานประเพณีถือศีลกินผักครั้งที่ 2 ภายใต้ชื่องาน “ถวาย ร.9 กินผักเดือน 9 เมืองกะทู้ ภูเก็ต” ซึ่งทางเทศบาลเมืองกะทู้ ร่วมกับศาลเจ้ากะทู้ จัดขึ้น ระหว่างวันที่ 24 ต.ค.-1 พ.ย.57 โดยเป็นการสวดมนต์ถวายพระพรให้พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงหายจากพระอาการประชวร มีพระพลานามัยที่แข็งแรง โดยมี นายสมเกียรติ สังข์สุทธิรักษ์ รองผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต นายไพบูลย์ อุปัติศฤงค์ นายกองค์การบริหารส่วนจังหวัดภูเก็ต นายชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ น.ส.สมใจ สุวรรณศุภพนา นายกเทศมนตรีนครภูเก็ต นายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล ประธานศาลเจ้ากะทู้ ประชาชน และนักท่องเที่ยวเข้าร่วม

นอกจากนี้ ตลอดการจัดงานทางเทศบาลเมืองกะทู้ ได้จัดโต๊ะลงลงนามถวายพระพรพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เพื่อให้ประชาชน และผู้ที่เข้าร่วมงานได้ร่วมลงนามถวายพระพร โดยตั้งเป้าให้ได้ 99,999 รายชื่อ หลังจากนั้น จะนำรายชื่อทั้งหมดเสนอต่อสำนักพระราชวัง ในวันที่ 5 ธันวาคม 2557

Read more »

ยิ่งใหญ่!ศาลเจ้ากะทู้แห่พระรอบเมืองภูเก็ต

Image

ศาลเจ้ากะทู้อายุกว่า 200 ปีและเป็นศาลเจ้าแห่งแรกที่เริ่มต้นงานประเพณีถือศีลกินผัก ประกอบพิธีแห่พระรอบเมือง มีชาวภูเก็ต นักท่องเที่ยวนับหมื่นคนแห่ชมความสวยงามและยิ่งใหญ่ของขบวน

เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (12 ต.ค.) บรรยากาศการประกอบพิธีแห่พระรอบเมืองภูเก็ต งานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต มีประชาชนชาวภูเก็ต และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวนหลายพันคน ออกมารอรับขบวนแห่พระของศาลเจ้าหล่ายถู่ต่าวโบเก้งหรือศาลเจ้ากะทู้ เพื่อขอพรจากองค์พระ และชมการแสดงอิทธิฤทธิ์ของม้าทรง โดยการใช้ของแหลม ของมีคมต่างๆ ทั้งใน และนอกตำนาน ทิ่มแทงตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้น ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการรับเคราะห์แทนผู้ถือศีลกินผัก

โดยขบวนพระได้เคลื่อนออกจากศาลเจ้ากะทู้ มุ่งหน้าเข้าตัวเมืองภูเก็ต เพื่อไปประกอบพิธีอัญเชิญกระถางธูปศักดิ์สิทธิ์ ที่บริเวณปลายแหลมสะพานหิน กลับศาลเจ้า ทั้งนี้ เมื่อขบวนแห่พระผ่านมาถึงจุดที่มีประชาชนชาวภูเก็ต และนักท่องเที่ยว ที่ตั้งโต๊ะบูชาพระ ได้มีการนำประทัดแพ จำนวนมากจุดใส่ขบวนพระเพื่อเป็นการต้อนรับ ในโอกาสเสด็จออกประพาสเพื่อโปรดสัตว์ หรือทำนองออกเยี่ยมราษฎรของพระมหากษัตริย์โดยมีขบวนธง และป้ายชื่อแห่นำหน้า จากนั้นเป็นเกี้ยวหามรูปพระ เรียกว่า ไท่เปี๋ย หรือเสลี่ยงเล็ก โดยหามรูปพระบูชาต่างๆ ออกนั่งเกี้ยวไป ซึ่งจัดตามชั้นและยศของเทพ จากนั้นเป็นขบวนของนิ่วสิ่ว หรือฉัตรจีน ตามด้วยพระเกี้ยวใหญ่ หรือเสลี่ยงใหญ่ ซึ่งมักใช้คน 8 คนหาม ซึ่งเป็นที่ประทับองค์กิ้วฮ๋องไต่เต่ ทำให้พื้นที่ตัวเมืองภูเก็ตในเส้นทางที่ใช้ประกอบพิธีแห่พระถูกปกคลุมไปด้วยเสียงและควันจากประทัด

Read more »

ศาลเจ้ากะทู้ จัดงาน “ถวาย ร.9 กินผักเดือน 9 เมืองกะทู้ภูเก็ต” เชิญชวนชาวภูเก็ตร่วมถือศีลกินผักรอบ 2 วันที่ 24 ต.ค.-1 พ.ย.นี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงหายจากพระอาการประชวร

557000012247004
เมื่อเวลา 17.30 น. วานนี้ (14 ต.ค.) ที่ศาลเจ้ากะทู้ ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ประธานแถลงข่าวการจัดงานประเพณีถือศีลกินผัก ครั้งที่ 2 ประจำปี 2557 ซึ่งศาลเจ้ากะทู้ จัดขึ้นภายใต้ชื่องาน “ถวาย ร.9 กินผักเดือน 9 เมืองกะทู้ภูเก็ต” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 24 ต.ค.-1 พ.ย.57 มี นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต น.ส.อโนมา วงษ์ใหญ่ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต นายชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ นายประเสริฐ ฟักทองผล ประธานชมรมอ๊ามภูเก็ต และนายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล ประธานศาลเจ้ากะทู้ ร่วมแถลง และมีแขกผู้มีเกียรติ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป รวมถึงสื่อมวลชนร่วมรับฟังการแถลงข่าว ทั้งนี้ หลังจบการแถลงข่าว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และผู้ร่วมแถลงข่าวทั้งหมด ร่วมกันผัดหมี่เจ แจกให้แก่ผู้มาร่วมงานด้วย

สำหรับการจัดงานประเพณีถือศีลกินผัก ครั้งที่ 2 นั้น สืบเนื่องจากปีนี้ ตามปฏิทินฝ่ายจีน (จันทรคติ) ได้กำหนดมีเดือน 9 สองครั้ง โดยเดือน 9 ครั้งแรก เป็นเดือนใหญ่ มี 30 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน ถึงวันที่ 23 ตุลาคม 2557 ส่วนเดือน 9 ครั้งหลัง เป็นเดือนเล็ก มี 29 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 จึงถือได้ว่าในปี 2557 นี้ มีวันเก้าโหง้ยโชยอีดถึงโชยเก้า ถึง 2 ครั้ง

โดยการกินผักรอบ 2 นั้น จะมีเฉพาะศาลเจ้ากะทู้ กับศาลเจ้าเชิงทะเลเท่านั้นที่มีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นปกติเหมือนกับครั้งแรก แต่จะไม่มีในส่วนของการประกอบพิธีลุยไฟ และการประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์ จะมีการประกอบพิธีแห่พระในเส้นทางตัวเมืองภูเก็ต ในวันที่ 29 ต.ค.ของศาลเจ้าเชิงทะเล และวันที่ 31 ต.ค.ของศาลเจ้ากะทู้ ซึ่งจะเป็นไปอย่างยิ่งใหญ่ จะมีขบวนสนับสนุนของศาลเจ้าต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ตร่วมมาในขบวนด้วย

Read more »

ประเพณีถือศีลกินผัก : ศาลเจ้ากะทู้ (ไล่ทู่เต้าบูเก้ง)

Katoo6

ห่างหายไปจากบล็อก ๓ – ๔ วันที่ผ่านมา เนื่องจากผมมีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานและเยี่ยมชมวิถีชีวิตชุมชนของคนภาคใต้ที่ จ.ภูเก็ต ในหลาย ๆ ชุมชนเชียวครับ เช่น ชุมชนที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขระหว่างชาวไทยพุทธกับไทยมุสลิม หรือจะเป็นหมู่บ้านทางวัฒนธรรม เป็นต้น สำหรับวันนี้ก็ขอนำเสนอเรื่องราวของชุมชนไทย – จีน ณ ชุมชนกะทู้ ก่อนครับ เพราะว่าตรงกับช่วงเทศกาลพอดี

ย้อนอดีตไป ในปี พ.ศ. ๒๓๕๓ พม่ายกทัพมาตีเมืองภูเก็ต (เมืองถลาง) พม่าล้อมอยู่ได้ ๒๗ วัน เมืองถลางจึงเสียแก่พม่า พลเมืองถลางจึงอพยพหลบหนีไปเมืองพังงา อีกส่วนหนึ่งหนีไปทางตอนใต้ คือ บ้านกะทู้

โดยจดหมายเหตุของชาวฝรั่งเศสซึ่งปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ชาติไทย เขียนไว้ว่า ในสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เขตแดนเมืองภูเก็ตกับเมืองถลาง ซึ่งคงแบ่งปันกันไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ปรากฏว่าอยู่ในพงศาวดารเมืองถลาง ดังนี้

เขตแดนเมืองภูเก็ตกับเมืองถลางเอาบางคูคด ซึ่งตามคลองเป็นแดน ตามแนวเขตแดนที่แบ่งกั้นนี้ เมืองถลาง อยู่ทางเหนือของเกาะ และเมืองภูเก็ตอยู่ทางใต้ ฉะนั้น ในปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ชุมชนแห่งแรกที่เติบโตเป็นตัวเมืองภูเก็ต ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) คือ บ้านกะทู้ อำเภอกะทู้

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .