วัดพระทอง (วัดพระผุด)

large-pic

อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 20 กม. จากตัวเมืองภูเก็ตเลย ที่ว่าการอำเภอถลาง ไปเล็กน้อยจะมีทางแยกขวามือเข้าวัดพระทอง วัดนี้มีพระพุทธรูปผุดขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ เมื่อคราวศึก พระเจ้าปะดุง ยกพลมาตีเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ทหารพม่าพยายาม ขุดพระผุด เพื่อนำกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปคราวใดก็มีฝูง แตนไล่ต่อยจนต้องละความพยายาม ต่อมาชาวบ้านได้นำทอง หุ้มพระพุทธรูป ที่ผุดจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ ดังปรากฎ อยู่จนถึงปัจจุบัน

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com

วัดพระทอง จ.ภูเก็ต

อุโบสถวัดพระทอง การเดินทางสู่วัดพระทองนั้นไม่ยากหากเดินทางเข้าภูเก็ตจะต้องผ่านอำเภอถลาง ทางแยกวัดพระทองอยู่ซ้ายมือก่อนเข้าตัวเมืองถลางไม่มาก หรือเข้าทางถนนนาในก็ได้ (เดือนตุลาคม 2553 จะต้องเข้าทางถนนนาในเนื่องจากทางหลักเข้าวัดพระทองปิดซ่อมอยู่ครับคาดว่าจะเสร็จสิ้นเดือนพฤศจิกายน) ถ้าเข้าทางถนนนาในก็จะเห็นสนามเด็กเล่นและลานจอดรถด้านหน้าพระอุโบสถ ปกติพระอุโบสถไม่ได้เปิดให้เข้าชม จะเปิดเฉพาะวิหารพระทองซึ่งอยู่ด้านทิศเหนือของอุโบสถ

อุโบสถวัดพระทอง วัดพระทอง ชาวบ้านเรียกว่าวัดพระผุดหรือวัดพระหล่อ เป็นที่ประดิษฐานของพระพุทธรูปทองคำครึ่งพระองค์ที่โผล่เพียงพระเกตุมาลาขึ้นมาจากพื้นดินประมาณ 1 ศอก โดยมีตำนานเล่าว่า เดิมบริเวณวัดเป็นที่เลี้ยงสัตว์ในเช้าวันหนึ่งมีเด็กชายได้นำควายไปเลี้ยงที่ทุ่งนา หาที่ผูกเชือกควายไม่ได้ก็เลยนำไปผูกกับหลักที่โผล่ขึ้นมาจากพื้นดินหลังจากกลับมาถึงบ้านเด็กชายก็มีอาการเจ็บป่วยและตายลงในที่สุด และเมื่อไปดูควายที่ทุ่งนาก็เห็นควายนอนตายอยู่ ตอนกลางคืนพ่อของเด็กชายฝันเห็นถึงสาเหตุที่เด็กตายเพราะได้นำเชือกไปผูกไว้กับพระเกตุมาลาของพระพุทธรูป จึงชักชวนชาวบ้านให้ไปขุดขึ้นมาบูชา แต่เกิดมหัศจรรย์มีตัวต่อแตนขึ้นมากับดินที่ขุดเป็นจำนวนมากอาละวาดไล่ต่อยผู้ที่มาขุด และไม่ทำร้ายคนที่ไม่ขุด เจ้าเมืองทราบจึงให้สร้างหลังคาบังพระเกตุมาลาทองคำไว้

Read more »

วัดพระทอง

watpratong01

วัดพระทอง (วัดพระผุด) อยู่ห่างจากตัวเมืองภูเก็ตประมาณ 21 กิโลเมตร ไปตามถนนเทพกษัตรีผ่านสี่แยกอำเภอถลาง ถึงที่ว่าการอำเภอถลางทางด้านขวาจะมีทาง แยกเข้าวัดพระทอง วัดนี้มีพระพุทธรูปผุดขึ้นจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ เมื่อคราวศึกพระเจ้าปะดุง ยกพลมาตีเมืองถลาง พ.ศ. 2328 ทหารพม่าพยายามขุดพระผุดเพื่อนำกลับไปพม่า แต่ขุดลงไปคราวใดก็มีฝูงแตนไล่ต่อยจนต้องละความพยายาม ต่อมาชาวบ้านได้นำทองหุ้มพระพุทธรูปที่ผุดจากพื้นดินเพียงครึ่งองค์ ดังปรากฏอยู่จนถึงปัจจุบัน นอกจากนี้ยังเป็นที่ตั้งของ พิพิธภัณฑสถานวัดพระทอง” เป็นที่เก็บรวบรวมโบราณวัตถุข้าวของเครื่องใช้ของชาวภูเก็ต เช่น จังซุ่ย เสื้อกันฝนชาวเหมืองแร่ดีบุก รองเท้าตีนตุกของสตรีเชื้อสายจีนที่ต้องมัดเท้าให้เล็กตามค่านิยมของสังคมสมัยนั้น

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดพระทอง ชื่อวัดตำนานเก่าแก่ของ จ.ภูเก็ต

เกาะภูเก็ตมีวัดพระทองหรือพระผุดที่ตั้งอยู่ ณ อำเภอถลางเป็นดินแดนประวัติศาสตร์ที่เล่าต่อ ๆ ถ่ายทอดต่อกันมาหลายชั่วอายุคน
เป็นเรื่องประวัติของ “พระที่ผุดขึ้น”หรือ “พระทอง” เอง โดยมิได้มีใครไปสร้างพระเลย แต่สำหรับคนในต่างจังหวัดนั้นตำนานอันศักดิ์สิทธิ์
เรื่องนี้ บางคนก็เคยได้ยิน แต่ส่วนมากแล้วก็ไม่มีใครเคยได้อ่านได้ฟังกันมา จึงขอนำมาเล่าขานเพื่อเปิดตำนานอันศักดิ์สิทธิ์ของพระพุทธรูป
องค์ขนาดใหญ่ ที่ผุดขึ้นมาจากพื้นดิน ณ วัดพระทอง ในอำเภอถลาง วัดเก่าเเก่ประจำจังหวัดภูเก็ต “พระผุด” เรื่องมีอยู่ว่ามีเด็กชายลูกชาวนา
คนหนึ่งจูงควายไปเลี้ยงกลางทุ่งนา แต่หากิ่งไม้ไม่เจอ เพราะอยากหาที่ผูกเชือกสำหรับเลี้ยงควาย กิ่งไม้เล็กขนาดเล็กมาก ที่เคยผูกเป็น
ประจำ ถูกน้ำฝนตกลงมาพัดหายไป พักหนึ่งเด็กคนนี้เห็นของประหลาดสิ่งหนึ่ง…มีโคลนตมพอกอยู่ มีลักษณะเหมือนตอไม้ขนาดใหญ่…
ผุดขึ้นมาเลยนำเชือกคล้องควายไปผูกไว้แล้วก็กลับมาบ้าน พอเด็กถึงบ้าน เด็กชายคนนั้นก็เกิดอาการเป็นลมเสียชีวิต พ่อแม่ก็จัดการกับ
ศพเด็กแล้วออกไปดูควายที่ผูกไว้ พอไปถึงที่ที่เด็กผูกควายไว้ สิ่งที่เห็นได้ชัดเจนมากทั้งสองตาเลย คือ เห็นควายนอนตายอยู่ ใกล้กับวัตถุ
อย่างหนึ่ง พวกเขาเกิดความรู้สึกกลัวรีบตัดเชือกผูกควายออกแล้วช่วยกันนำควายไปฝัง ตอนกลางคืนเมื่อสามีภรรยาง่วงและหลับไปนั้น..
พ่อของเด็กชายที่ตายก็ฝัน ว่ามีคนมาบอกว่า ที่เด็กและควายต้องตายนั้นเป็นเพราะเด็กได้นำเชือกควายไปผูกไว้กับเกศพระพุทธรูป รุ่งเช้า
พ่อกับแม่ของเด็กคนที่ตายไปนี้ก็ชวน เพื่อนบ้านให้ไปยังที่ริมคลองที่เด็กนำควายไปผูกไว้ เมื่อเห็นวัตถุแปลก ๆ ต่างคนต่างก็เอาน้ำมาล้าง
ก็จะ เห็นเป็นลักษณะเหมือนเกศพระพุทธรูปเหลืองอร่ามเป็นทองคำ ชาวบ้านจึงแตกตื่นพากันมา กราบไหว้บูชา แล้วได้ไปบอกกล่าวกับ
เจ้าเมืองถลาง

Read more »

วัดโพธิ์บางคล้า ที่ฉะเชิงเทรา

วัดโพธิ์บางคล้าฉะเชิงเทรา วัดโพธิ์ ในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ เป็นวัดที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังหวัดฉะเชิงเทรา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2310-2350 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศิลปะอยุธยากับรัตนโกสินทร์ พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องเกล็ดเต่าทำจากดินเผา ภายในวัดมีศาลาขนาดใหญ่ ซึ่งประดิษฐานรูปหล่อของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูป พระพุทธรูปที่สำคัญของเมืองไทย และพระเบญจภาคีทั้ง 5 อาทิ เช่น พระรอดเมืองลำพูน พระสมเด็จวัดระฆัง พระนางพญาพิษณุโลก พระซุ้มกอ พระผงสุพรรณ พระหลวงพ่อพุทธโสธร ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของ จังหวัดฉะเชิงเทรา บริเวณด้านหน้าวัด ยังมีวิหารโบราณในสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราชอายุหลายร้อยปีซึ่งด้านใน ประดิษฐาน องค์หลวงพ่อโต ศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ด้วย ซึ่งนิยมเรียกกันคือ หลวงพ่อโตวัดโพธิ์บางคล้า

บนต้นไม้ทั่วบริเวณวัดแห่งนี้ เต็มไปด้วยสิ่งมหัศจรรย์ก็คือ ฝูงค้างคาวแม่ไก่ ตัวใหญ่ จำนวนนับแสนตัว ที่ในเวลากลางวันจะมาเกาะห้อยหัวลงตามกิ่งไม้ อยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ทั่วทั้งบริเวณวัด ถึงยามพลบค่ำก็ออกไปหากินในถิ่นอื่น ค้างคาวเหล่านี้อาศัย อยู่ในวัดโพธิ์มาเป็นเวลานานแล้ว ไม่มีผู้บันทึกไว้ชัดเจน ตั้งแต่ในเมื่อสมัยพระครูสุตาลงกตเป็นเจ้าอาวาสระหว่างปี พ.ศ. 2473 – 2509 ซึ่งท่านเป็นพระที่มีเมตตาธรรมต่อสัตว์ทั้งหลาย ทำให้วัดโพธิ์มีค้างคาวนับแสนตัวมาอาศัยเกาะต้นไม้ในบริเวณวัด โดยไม่อพยพไปอยู่ที่ไหน และมีเรื่องที่แปลกมาก ๆ ก็คือค้างคาวพวกนี้ จะกินผลไม้ในวัดเป็นอาหาร และไม่เคยไปทำความเสียหายให้กับสวนผลไม้ ของชาวบ้านเลย

Read more »

วัดโพธิ์บางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา

วัดโพธิ์บางคล้า สร้างขึ้นเมื่อใดไม่ปรากฏหลักฐาน มีสิ่งที่น่าสนใจ คือ วิหารเป็นรูปศาลาจตุรมุข ฐานกว้าง ๒ วา ตัวอาคารกว้าง ๑ วา ๒ ศอก มีประตู ๑ บาน ทางด้านทิศตะวันออก ช่องหน้าต่างด้านข้าง ๒ ช่อง ฐานเป็นฐานบัว หน้าบันลายปูนปั้น เดิมมีชายคาครอบหลังคา แต่ปัจจุบันได้พังลงเหลือแต่เสาอยู่ ช่อฟ้าและหางหงส์เป็นปูนปั้นรูปหัวนาค ใบระกาเป็นรูปหางนาค ภายในวิหารประดิษฐานพระนอน พระพุทธรูปนั่งประกอบองค์พระนอนอยู่ทั้ง ๒ ข้าง และที่น่าสนใจอีกประการหนึ่ง คือ ค้างคาวแม่ไก่ที่มีปีกสีดำ หน้าตาคล้ายสุนัขป่า คือ มีจมูกและใบหูเล็ก ตาใหญ่ ขนสีน้ำตาลแกมแดง ในเวลากลางวันจะเกาะห้อยหัวลงตามกิ่งไม้ในบริเวณวัดนับแสนตัว

สิ่งอำนวยความสะดวกในวัดโพธิ์บางคล้า
นอกจากการเที่ยวชมสิ่งดึงดูดใจดังกล่าวแล้ววัดโพธิ์บางคล้า ซึ่งตั้งอยู่ติดอยู่ติดกับแม่น้ำบางปะกงยังมีภูมิทัศน์ทางน้ำที่สามารถสร้างความเพลิดเพลินและผ่อนคลายอารมณ์ไปกับสายน้ำให้หายเครียดจากภารกิจในชีวิตประจำวันได้อีกทางหนึ่ง

เส้นทางเข้าสู่วัดโพธิ์บางคล้า
จากตัวเมืองฉะเชิงเทราไปตามถนนสายฉะเชิงเทรา-บางคล้า แล้วเลี้ยวซ้ายเข้าถนนระเบียนกิจอนุสรณ์ รวมระยะทางประมาณ ๒๓ กิโลเมตร

ขอขอบคุณ http://www.prapayneethai.com/

วัดโพธิ์บางคล้า

วัดโพธิ์บางคล้า ถ.ประชานิมิต เขตเทศบาลต.บางคล้า อ.บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา ได้มีนักท่องเที่ยว ทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ หากันมาท่องเที่ยวที่วัดแห่งนี้ สร้างบรรยากาศให้เป็นไปอย่างคึกคัก หลังจากมีการนำเสนอข่าวของสื่อว่า มีชาวต่างชาติรายหนึ่ง (Richard Barrow) ได้ถ่ายภาพต้นไม้ใหญ่ที่

ขึ้นมาจากกลางห้องสุขา (ห้องส้วมชาย) ของทางวัด และนำไปแชร์เผยแพร่ภาพทางโลกออนไลน์ (ทวิตเตอร์) ถึงความแปลกประหลาดที่เกิดขึ้นภายในบริเวณวัดแห่งนี้

news_img_597971_2

ทำให้ได้รับความสนใจ ต่อผู้ที่ต้องการเข้ามาพิสูจน์ และอยากเห็นด้วยตาตนเองให้ถึงที่ โดยไกด์ทัวร์บางคณะยังได้นำพาลูกทัวร์ มาร่วมกันพิสูจน์ถึงความแปลกตาในสิ่งที่ปรากฏขึ้นดังกล่าว ด้านสถานภาพของทางวัดเองนั้นเดิมทีก็เป็นแหล่งท่องเที่ยวเชิงอนุรักษ์ ที่มีวิหารโบราณอายุนับร้อยปี เป็นที่ประดิษฐานหลวงพ่อโตองค์นอน (ปางไสยาสน์) และเป็นที่ศรัทธาของประชาชนที่ต่างพากันเข้ามาขอพรกราบไหว้

พระอธิการลำยวง เปมสีโล อายุ 71 ปี พรรษา 30 เจ้าอาวาสวัด กล่าวว่า

ย้อนหลังไป 20 ปี ในขณะที่กำลังจะก่อสร้างห้องน้ำ ขนาด 10 ห้อง แบ่งเป็นฝั่งชาย 5 ห้อง ฝั่งหญิง 5 ห้อง พร้อมระเบียงอ่างล้างหน้า ในพื้นที่ๆจะก่อสร้าง

Read more »

วัดโพธิ์บางคล้า

วัดโพธิ์บางคล้า อยู่ในสมัยอยุธยาตอนปลาย ตั้งอยู่ริมฝั่งแม่น้ำบางปะกง บริเวณวัดอยู่ทั้งสองฟากของถนน ในส่วนของการก่อสร้างไม่ปรากฎหลักฐานแน่ชัด แต่ที่พอจะปรากฎเป็นหลักฐานคือ อยู่ในเส้นทางเดินทัพของพระยาตากสิน หรือพระยากำแพงเพชร ที่ได้มาพักทัพอยู่ที่บริเวณวัดนี้ หลังจากสู้รบกับพม่า ที่ปากน้ำโจ้โล้ มาแล้ว เป็นการพักทัพก่อนเดินทัพต่อไป ยังบางปลาสร้อย (ชลบุรี) และเมื่อเสด็จขึ้นครองราชสมบัติแล้ว ได้กลับมาทำนุบำรุงวัดโพธิ์บางคล้า และประชาชนได้ร่วมใจกันสร้างพระสถูปเจดีย์ จึงสันนิษฐานว่า วัดโพธิ์บางคล้า น่าจะสร้างในตอนปลายสมัยกรุงศรีอยุธยา และมาบูรณะเป็นวัดสำคัญ ในรัชกาลสมเด็จ

ชมมหัศจรรย์ค้างคาวแม่ไก่เฝ้าวัดนับแสน ที่วัดโพธิ์บางคล้าฉะเชิงเทรา วัดโพธิ์ ในอำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา ตั้งอยู่บนเนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ เป็นวัดที่เก่าแก่อีกแห่งหนึ่งของจังกวัดฉะเชิงเทรา สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2310-2350 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศิลปะอยุธยากับรัตนโกสินทร์ พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องเกล็ดเต่าทำจากดินเผา ภายในวัดมีศาลาขนาดใหญ่ ซึ่งประดิษฐานรูปหล่อของพระเกจิอาจารย์ชื่อดังหลายรูป พระพุทธรูปที่สำคัญของเมืองไทย และพระเบญจภาคีทั้ง 5 อาทิ เช่น พระรอดเมืองลำพูน พระสมเด็จวัดระฆัง พระนางพญาพิษณุโลก พระซุ้มกอ พระผงสุพรรณ พระหลวงพ่อพุทธโสธร ซึ่งเป็นพระคู่บ้านคู่เมืองของ จังหวัดฉะเชิงเทรา บริเวณด้านหน้าวัด ยังมีวิหารโบราณในสมัยของพระเจ้าตากสินมหาราชอายุหลายร้อยปีซึ่งด้านใน ประดิษฐาน องค์หลวงพ่อโต ศักดิ์สิทธิ์เอาไว้ด้วย ซึ่งนิยมเรียกกันคือ หลวงพ่อโตวัดโพธิ์บางคล้า
ด้านหลังตลอดแนววัด ติดกับแม่น้ำบางประกงที่กว้างใหญ่ ซึ่งช่วยให้บรรยากาศในยามเช้าที่ช่างสดชื่นบรรยากาศยามเย็นแสนจะสงบ เหมาะสำหรับปฏิบัติธรรม เป็นอย่างยิ่ง บริเวณริมน้ำทำเป็นท่าเทียบเรือนักท่องเที่ยวสามารถเดินทางทางเรือมาที่วัด โพธิ์แห่งนี้ได้ และสามารถท่องเที่ยวบนพื้นน้ำบางปะกงได้อีกกิจกรรมหนึ่ง

Read more »

วัดโพธิ์บางคล้า

221190

วัดโพธิ์ตั้งเมื่อ พ.ศ. 2286 ตั้งอยู่เลขที่ 236 ถนนประชาเนรมิต ตำบลบางคล้า อำเภอบางคล้า จังหวัดฉะเชิงเทรา สังกัดคณะสงฆ์นิกาย ที่ดินที่ตั้งวัดมีเนื้อที่ 37 ไร่ 1 งาน 43 ตารางวา ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา เมื่อวันที่ 18 ก.พ. 2495 เขตวิสุงคามสีมากว้าง 40 เมตร ยาว 80 เมตร ตั้งอยู่ริมแม่น้ำบางประกง สันนิษฐานว่าเป็นเส้นทางเดินทับของสมเด็จพระเจ้าตากสิน อาณาเขต ทิศเหนือจดแม่น้ำบางประกง ทิศใต้จดถนนสาธารณะ ทิศตะวันออกจดถนนประชานิรมิต ทิศตะวันตกจดถนนประชานิรมิต มีศูนย์ศึกษาพระพุทธศาสนาวันอาทิตย์ เปิดสอนเมื่อ พ.ศ. 2540

วัดโพธิ์บางคล้า มีมณฑปทรงจตุรมุข ก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องเกล็ดเต่าทำจากดินเผา ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์เป็นศิลปะอยุธยากับรัตนโกสินทร์ และเป็นวัดที่มีค้างคาวแม่ไก่อาศัยอยู่เป็นจำนวนมาก ค้างคาวแม่ไก่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวที่บินได้ มีลักษณะหน้าตาคล้ายสุนัขจิ้งจอก จมูก ใบหูเล็ก ตาโต ขนสีน้ำตาลแกมแดง ปีกสีดำเป็นพังผืดบาง ๆ ซึ่งอยู่ระหว่างนิ้ว นิ้วของค้างคาวจะยาวเกือบเท่าความยาวของลำตัว มีนิ้วหัวแม่มือสั้นกว่านิ้วอื่น ๆ เล็บหัวแม่มือแหลมคม และโค้งได้อย่างเล็บเหยี่ยวมีไว้สำหรับจับหรือยึดกิ่งไม้ โตเต็มที่เวลากางปีกจะยาวประมาณ 3 ฟุต ออกลูกครั้งละ 1 ตัว เวลานอนจะห้อยหัวลง และจะนอนในเวลากลางวัน พอพลบค่ำจะออกหากินตามป่า ตามสวน อาหารที่ชอบมาก ได้แก่ ลูกและใบอ่อนของต้นไทร ต้นโพธิ์ ต้นนุ่น และผลมะม่วงแก่ ฝรั่งแก่ ฯลฯ โดยกัดเคี้ยวและกลืนเฉพาะน้ำ ส่วนกากจะคายทิ้ง จึงทำให้มีการถ่ายมูลเป็นของเหลว พอรุ่งสว่างจะบินกลับมาที่เดิม โดยอยู่เป็นกลุ่มเฉพาะบริเวณวัดโพธิ์ ไม่ว่าแดดจะร้อนจัด หรือฝนตกก็จะไม่หลบหนีไปไหน

Read more »

วัดโพธิ์บางคล้า

ตั้งอยู่ที่ตำบลบางคล้า อยู่ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา ๒๓ กิโลเมตร จะเห็นค้างคาวแม่ไก่เกาะอยู่ตามต้นไม้ เป็นค้างคาวที่มีปีกสีดำ หน้าตาเหมือนสุนัขจิ้งจอก จมูกและใบหูเล็ก ตาโต ขนสีน้ำตาลแกมแดง อยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่ ในเวลากลางวันจะเกาะกิ่งไม้ห้อยหัวลงมา ยามพลบค่ำก็บินไปหากิน หากล่องเรือชมทัศนียภาพตามลำน้ำบางปะกงก็จะผ่านวัดแห่งนี้ นักท่องเที่ยวสามารถแวะชมวัดได้จากท่าน้ำของวัด การเดินทางไปตามทางหลวงหมายเลข ๓๐๕ (สายฉะเชิงเทรา – กบินทร์บุรี) ปรัมาณ ๑๗ กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข ๓๑๒๑ เข้าตัวเมืองบางคล้าไปประมาณ ๖ กิโลเมตร ผ่านศาลสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช แล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ ๕๐๐ เมตร

This monastery is situated at Bang Khla Sub-district, 23 kilometers from Chachoengsao urban or downtown. Visitors can see Lale’s flying foxes hanging themselves at the branches of trees in the monastery. Lyle;s flying foxes are black wing bats, their face look like likes foxes, small nose and ears, big eyes, brownish red hair, they prefer to live together as a big flock. In day time, they hang themselves head downward with branches of trees and at nigh they fly out to eat insects. If visitors take a cruise in boat to see the riverbank scenery along Bang Pakong River, the boat normally passes this monastery and visitors can get off at the pier in front of the monastery or otherwise visitors can go there by car along Highway 304 (Chachoengsao – Kabinburi) approximately 17 kilometers, turn left to Highway 3121 to enter Bang Khla urban area about 6 kilometers via King Taksin the Great Shrine turn into the exit for 500 meters, the monastery is there.

ขอขอบคุณ http://www.chachoengsao.go.th/

วัดโพธิ์บางคล้า ฉะเชิงเทรา

wat-pho-bang-khla-chachoengsao-07

วัดโพธิ์บางคล้าไม่ปรากฏหลักฐานการสร้างแน่ชัด สันนิษฐานว่าเป็นช่วงอยุธยาตอนปลาย ในปี พ.ศ. 2309 คราวพระเจ้าตากสินได้นำกองกำลังตีฝ่าวงล้อมพม่าจากอยุธธยา มีความเป็นไปได้ว่ามาพักที่วัดโพธิ์บางคล้าแห่งนี้ จากคำบอกเล่าเดิมที่วัดโพธิ์บางคล้านี้มีกุฏิเก่าโบสถ์ลักษณะคล้ายเก๋งจีนและมีวิหารทรงจตุรมุขศิลปะแบบอยุธยาตอนปลาย ปัจจุบันหลงเหลือแต่วิหารเก่า

จุดที่น่าสนใจของวัดโพธิ์บางคล้านี้คือค้างคาวแม่ไก่นับหมื่นนับแสนตัวที่พึ่งใบบุญอยู่ภายในวัดโพธิ์บางคล้าแห่งนี้ เมื่อเข้ามาจะพบกับเหล่าค้างคาวแม่ไก่ตัวใหญ่ห้อยหัวอยู่ตามต้นไม้ในวัด หรือบินฉวัดเฉวียนไปมา ช่วงเวลาพลบค่ำจะบินออกไปหาของกินเต็มท้องฟ้า เป็นที่น่าตื่นตะลึงของนักท่องเที่ยวที่แวะเข้ามาชมที่วัดโพธิ์บางคล้านี้แห่งนี้

ขอขอบคุณhttp://www.zthailand.com/

วัดโพธิ์บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา

d2b9afccac3975f31bf5fa4177df46dd

วัดโพธิ์บางคล้า มีเนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2310-2325 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศิลปสมัยรัตนโกสินทร์กับอยุธยา รูปทรงจตุรมุ ก่ออิฐฉาบปูน หลังคาจั่วมุงด้วยกระเบื้องเกร็ดเต่าทำจากดินเผา มีหน้าต่างหนึ่งช่อง มีประตูสองช่องเหนือขอบประตูสองด้าน ประดับด้วยถ้วยชามสังคโลกเรียงกันเป็นรูปทรงกลม หน้าจั่วเป็นพื้นเรียบ กระเบื้องชายหลังคาเชื่อมด้วยปูน ตัววิหารมีกำแพงล้อมรอบพร้อมมุงหลังคา และมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยทำด้วยปูน ประดิษฐานไว้โดยรอบจำนวน 8 องค์ ส่วนภายในวิหารมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ ต่อมาหลังคาวิหารและกำแพงได้ชำรุดและพังลง
ในปี พ.ศ. 2485 มีผู้ใจบุญได้ซ่อมหลังคาใหม่ โดยมุงด้วยกระเบื้องเกล็ดเต่าเคลือบสี หน้าบันจั่วทิศตะวันตก เป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประดับด้วยลายเครือเถาหน้าบัน จั่วด้านประตูปั้นเป็นรูปดอกบัว 5 ดอก ประดับแจกัน หลังคาประดับด้วยช่อฟ้ารูปหัวพญานาค มีใบระกา และต่อมาหลังคาและนาคปั้นก็พัง เกิดความชำรุดเสียหายอีก ทางอำเภอบางคล้าได้ร่วมกับประชาชนบริจาคทรัพย์เพื่อช่วยซ่อมแซมขึ้นในปี พ.ศ. 2541 เพื่อเป็นการอนุรักษ์ของเดิมเอาไว้เป็นมรดกของชาติ โดยได้ทำการซ่อมหลังคาโครงสร้างใหม่หมด ตั้งเสาเสริมความเข้มแข็ง 4 ด้าน รวม 8 ด้าน ฉาบผนังภายในโดยก่ออิฐฉาบปูนทุกด้าน เปลี่ยนฝ้าเพดาน เปลี่ยนโคมไฟ ปูพื้นใหม่ด้วยหินอ่อน และปูศิลาแลงโดยรอบวิหารทั้ง 4 ด้าน และทางวัดได้ดำเนินการประดับตกแต่งเครื่องบนตัวนาคและลวดลายหน้าบัน เพื่อทรงคุณค่าทางศิลปกรรมและมรดกทางวัฒนธรรม
Read more »

วัดโพธิ์บางคล้า

อยู่ห่างจากตัวเมืองฉะเชิงเทรา 23 กิโลเมตร มีเนื้อที่ประมาณ 31 ไร่ ชื่อว่า “วัดโพธิ์” สันนิษฐานว่าสร้างขึ้นในราวปี พ.ศ. 2310-2325 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศิลปะอยุธยากับรัตนโกสินทร์ พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐฉาบปูน หลังคาทรงจั่วมุงกระเบื้องเกล็ดเต่าทำจากดินเผา ภายในวิหารประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ บริเวณวัดจะเห็นค้างคาวแม่ไก่เกาะอยู่ตามต้นไม้ ค้างคาวแม่ไก่เป็นค้างคาวสายพันธุ์ที่ใหญ่ที่สุดในโลก หน้าตาเหมือนสุนัขจิ้งจอกคือ มีดวงตาโต จมูกและใบหูเล็ก ขนสีน้ำตาลแกมแดง และมีเล็บที่แหลมคมสามารถเกาะกิ่งไม้ได้ มีปีกสีดำ บินได้เร็วและไกลเหมือนนก กางปีกกว้างประมาณ 3 ฟุต แม่ค้างคาวให้กำเนิดลูกได้ครั้งละ 1 ตัว ในเวลากลางวันจะอยู่กันเป็นกลุ่มใหญ่เกาะกิ่งไม้ห้อยหัวลงมา ยามพลบค่ำก็จะออกบินไปหากิน อาหารของค้างคาวจะเป็นพวกผลไม้และใบไม้อ่อนเช่น ใบโพธิ์ ใบมะม่วง ใบมะขาม เป็นต้น เคยมีผู้เฝ้าสังเกตการหากินของค้างคาวที่นี่พบว่าค้างคาวบินไปหากินตามเขต ชายแดนไทยหรือฝั่งประเทศกัมพูชา หากล่องเรือชมทัศนียภาพตามลำน้ำบางปะกงจะผ่านวัดนี้ นักท่องเที่ยวสามารถแวะขึ้นชมวัดได้จากท่าน้ำของวัด

การเดินทาง ไปตามทางหลวงหมายเลข 304 (สายฉะเชิงเทรา-กบินทร์บุรี) ประมาณ 17 กิโลเมตร แยกซ้ายเข้าทางหลวงหมายเลข 3121 เข้าตัวอำเภอบางคล้าไปประมาณ 6 กิโลเมตร ผ่านศาลและอนุสาวรีย์สมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราชแล้วเลี้ยวซ้ายประมาณ 500 เมตร
ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/

วัดโพธิ์บางคล้า จ.ฉะเชิงเทรา

watpho-bangkhla-1

วัดโพธิ์บางคล้า สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสินมหาราช มีค้างคาวแม่ไก่อยู่เป็นจำนวนมาก ค้างคาวแม่ไก่เป็นสัตว์เลี้ยงลูกด้วยนมชนิดเดียวที่บินได้ มีลักษณะหน้าตาคล้ายสุนัขจิ้งจอก จมูก ใบหูเล็ก ตาโต ขนสีน้ำตาบแก้มแดง ปีกสีดำเป็นพังพืดบางๆ ซึ่งอยู่ระหว่างนิ้ว ที่แปลกคือ ค้างคาวแม่ไก่จะอาศัยอยู่บนต้นไม้เฉพาะบริเวณเขตวัดโพธิ์เท่านั้น จะไม่ไปอาศัยที่อื่น แม้จะมีต้นไม้ของชาวบ้านที่อยู่ใกล้วัดก็ตาม ไม่ว่ากลางวันแดดแรงจัด หรือฝนตกก็จะยังเกาะนอนอยู่ จนพลบค่ำจึงออกไปหากิน ค้างคาววัดโพธิ์รู้หน้าที่ ไม่เคยรบกวนชาวสวนที่อยู่ในเขตอำเภอบางคล้า แต่จะไปหากินที่อำเภอบ้านสร้างจังหวัดปราจีนบุรี ”

วัดโพธิ์บางคล้ามากราบไหว้พระและก็ชมค้างคาวแม่ไก่ ที่เรียกแม่ไก่ สงสัยมาจากที่ขนาดตัวใหญ่หรือเปล่า ไม่แน่ใจเหมือนกัน เมื่อมาถึงบริเวณวัดแล้วมองขึ้นไปบนต้นไม้ มีค้างคาวเกาะห้อยหัวอยู่เป็นจำนวนมาก เห็นแล้วดำไปทั้งต้นเลย มันเกาะกันอยู่หลายต้นเลย

เราเข้าวัดไปกราบไหว้พระพุทธรูป ซึ่งมีชุดดอกไม้ ธูป เทียน ไว้บริการ โดยใครศรัทธาจะบริจาคเท่าไหร่ก็หยอดลงตู้บริจาค หลังจากไหว้พระแล้ว เราก็เดินชมบริเวณวัด บริเวณวัดมีป้ายเขียนติดอธิบายที่มาที่ไปของวัดโพธิ์บางคล้าไว้ว่า

Read more »

วัดโพธิ์บางคล้า

1345635854

สร้างขึ้นในระหว่างปี พ.ศ. 2310 – 2325 สมัยพระเจ้าตากสินมหาราช เป็นศิลป สมัยรัตนโกสินทร์กับอยุธยา รูปทรงจตุรมุก่ออิฐฉาบปูน หลังคาจั่วมุงด้วยกระเบื้องเกร็ดเต่าทำจากดินเผามีหน้าต่างหนึ่งช่อง มีประตูสองช่องเหนือขอบประตูสองด้านประดับด้วยถ้วยชามสังคโลกเรียงกันเป็น รูปทรงกลม หน้าจั่วเป็นพื้นเรียบกระเบื้องชายหลังคาเชื่อมด้วยปูน ตัววิหารมีกำแพงล้อมรอบพร้อมมุงหลังคาและมีพระพุทธรูปปางมารวิชัยทำด้วยปูน ประดิษฐานไว้โดยรอบจำนวน 8 องค์ส่วนภายในวิหารมีพระพุทธรูปปางไสยาสน์ 1 องค์ต่อมาหลังคมวิหารและกำแพงได้ชำรุดและพังลง

ในปี พ.ศ. 2485 มีผู้ใจบุญได้ซ่อมหลังคาใหม่โดยมุงด้วยกระเบื้องเกล็ดเต่าเคลือบสี หน้าบันจั่วทิศตะวันตกเป็นรูปพระอินทร์ทรงช้างเอราวัณ ประดับด้วยลายเครือเถาหน้าบันจั่วด้านประตูปั้นเป็นรูปดอกบัว 5ดอก ประดับแจกันหลังคาประดับด้วยช่อฟ้ารูปหัวพญานาค มีใบระกา และต่อมาหลังคาและนาคปั้นก็พังเกิดความชำรุดเสียหายอีกทางอำเภอบางคล้าได้ ร่วมกับประชาชนบริจาคทรัพย์เพื่อช่วยซ่อมแซมขึ้นในปี พ.ศ. 2541เป็นการอนุรักษ์ของเดิมเอาไว้เพื่อเป็นมรดกของชาติโดยได้ทำการซ่อมหลังคาโครงสร้างใหม่หมด ตั้งเสาเสริมความเข้มแข็ง 4 ด้าน รวม 8ด้าน ฉาบผนังภายในโดยก่ออิฐฉาบปูนทุกด้าน เปลี่ยนฝ้าเพดาน เปลี่ยนโคมไฟปูพื้นใหม่ด้วยหินอ่อน และปูศิลาแลงโดยรอบวิหารทั้ง 4ด้านและทางวัดได้ดำเนินการประดับตกแต่งเครื่องบนตัวนาคและลวดลายหน้าบันเพื่อทรงคุณค่าทางศิลปกรรมและมรดกทางวัฒนธรรม

ขอขอบคุณ http://www.painaidii.com/

. . . . . . .
. . . . . . .