พระธาตุช่อแฮ…แพะเมืองผี…และของดีเมืองแพร่…(Phrae, good things.)

284805e78

พระธาตุช่อแฮ ตั้งอยู่ ณ วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ต.ช่อแฮ อ.เมือง จ.แพร่ ค่ะ โดยอยู่ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022) เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1879 – 1881 ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) โดยขุนลัวะอ้ายก๊อม

พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง

สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอจากสิบสองปันนา และชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 9 ค่ำ – ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี Read more »

พระธาตุช่อแฮ จังหัดแพร

big_buddha2

อยู่ที่ตำบลช่อแฮ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร (เส้นทางหลวงหมายเลข 1022) เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1879 – 1881 ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) โดยขุนลัวะอ้ายก๊อม พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง

สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดีซึ่งทอจากสิบสองปันนา และชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 9 ค่ำ – ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี

ขอขอบคุณ http://www.thai-tour.com

วัดช่อแฮ

รายละเอียดสถานที่ท่องเที่ยว :
ตั้งอยู่ที่ตำบลช่อแฮ ห่างจากตัวเมืองแพร่ไปตามถนนช่อแฮ ประมาณ 9 กิโลเมตร บนทางหลวงหมายเลข 1022 เป็นปูชนียสถานอันศักดิ์สิทธิ์คู่บ้านคู่เมืองแพร่ ตามตำนานกล่าวว่าสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1879-1881 ในสมัยพระมหาธรรมราชาธิราช (ลิไท) โดยขุนลัวะอ้ายก๊อม พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ที่ประดิษฐานพระเกศาธาตุ และพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายของพระพุทธเจ้า เป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง ศิลปะเชียงแสน สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร สร้างด้วยอิฐโบกปูนหุ้มด้วยแผ่นทองเหลืองลงรักปิดทอง สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น บ้างว่าได้มาจากชื่อผ้าแพรชั้นดี ทอจากสิบสองปันนา และชาวบ้านนำมาผูกบูชาพระธาตุ บ้างก็ว่ามาจากผ้าแพรที่ขุนลัวะอ้ายก๊อมนำมาถวาย ทุกปีจะมีงานนมัสการพระธาตุในวันขึ้น 9 ค่ำ ขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 (ประมาณเดือนมีนาคม) ของทุกปี เป็นพระธาตุประจำปีเกิดปีขาล
ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org

งานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง ประจำปี 2557

ขอเชิญร่วมทำบุญ
งานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุุงหลวง ประจำปี 2557
(วันขึ้น 9 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ใต้ เดือน 6 เหนือ)
ณ วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ต. ช่อแฮ อ. เมืองแพร่ จ. แพร่

ด้วยองค์พระธาตุช่อแฮ ซึ่งเป็นปูชนียวัตถุอันศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองของชาวจังหวัดแพร่
เป็นโบราณสถานที่ครวแก่การศึกษา จังหวัดแพร่ ได้ส่งเสริมสนับสนุนการ จัดงานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ ให้เป็นงานประเพณีที่ยิ่งใหญ่ และเป็นการส่งเสริมการท่องเที่ยวของจังหวัด โดยคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ จังหวัดแพร่ หน่วยงานนราชการ เอกชน องค์การบริหารส่วนจังหวัดแพร่ เทศบาลตำบลช่อแฮ ประชาชนชาวจังหวัดแพร่ และวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง จึงได้ร่วมกันจัดงานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง ขึ้นเป็นประจำทุกปี ในระหว่างวันขึ้น 9 ค่ำ ถึง วันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 4 ใต้ เดือน 6 เหนือ ในปี พ.ศ. 2557 นี้ ซึ่งเป็นปีพิเศษ โดยเวลาจัทรคติ และเวลาสุริยคติ ตรงกันคือ ตรงกับวันที่ 9 – 15 มีนาคม พ.ศ. 2557 รวม 7 วัน 7 คืน เพื่อให้ศาสนิกชนได้ร่วมทำบุญ นมัสการองค์พระธาตุช่อแฮ พระธาตุจำลองอีก 11 ราศี ปิดทองพระเจดีย์พระธาตุช่อแฮจำลอง พระเจ้าทันใจ หลวงพ่อช่อแฮ พระพุทธเจดีย์โกไสย์ พระสิงห์ 1 ช่อแฮ พระนาคปรก พระเจ้านอน พระเสี่ยงทาย พระพุทธรัชมงคลอุบลบพิตร พระพุทธธรรมจักร ถวายจตุปัจจัยไทยธรรม ถวายสังฆทาน ตักบาตรประจำวันเกิด ปีเกิด บูชาเทียนวันเกิด รับโชค สะเดาะเคาระห์ บูชากัณฑ์เทศน์มหาชาติ รับการประพรมน้ำพระพุทธมนต์ และด้านมงคลผูกข้อมือ จากพระมหาเถราจารย์
โอกาสนี้ จึงขอเชิญชวนพุทธศาสนิกชนทุกท่าน ได้ไปร่วมทำบุญ สร้างมหากุศลอันยิ่งใหญ่ในงานประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่แห่ตุงหลวง ในครั้งนี้ด้วย และทางวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง ได้จัดพิธีทำบุญกตัญญูคุณบูรพาจารย์ที่มีอุปการคุณ ต่อวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารมหลวง และจังหวัดแพร่ เพื่อเป็นการสร้างบุญสร้างกุศลให้กับตนเองและครอบครัว Read more »

สักการะพระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีขาล

37_20091229142323_

พระธาตุช่อแฮ ปูชนียสถานศักดิ์สิทธิ์ คู่บ้านคู่เมืองแพร่ เป็นหนึ่งในพระธาตุประจำปีเกิด 12 นักษัตร คือ พระธาตุประจำปีขาล (ปีเสือ) สำหรับผู้ที่เกิดในปีขาลควรมีโอกาสสักครั้งหนึ่ง เดินทางมาไหว้พระธาตุช่อแฮเพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

สำหรับชื่อพระธาตุช่อแฮนั้น คำว่า “แฮ” สันนิษฐานว่าเพี้ยนมาจากคำว่า “แพร” หรือ “ผ้าแพร” ซึ่งเป็นความหมายเดียวกับชื่อของจังหวัดแพร่ ลักษณะขององค์พระธาตุเป็นเจดีย์ทรงแปดเหลี่ยม ย่อมุมไม้สิบสอง บุด้วยทองดอกบวบ สูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร

ศิลปะแบบเชียงแสน สร้างขึ้นในสมัยกรุงสุโขทัย ในราว พ.ศ.1879 – 1881 ในสมัยพระมหาธรรมราชา (ลิไท) ได้เสด็จมาบูรณปฏิสังขรณ์พระเจดีย์แห่งนี้และจากนั้นได้จัดงานสักการะ 7 วัน 7 คืน และในปี พ.ศ. 2467 ครูบาศรีวิชัย ได้มาเป็นประธานบูรณะปฏิสังขรณ์อีกครั้งหนึ่ง

ความเชื่อในเรื่องปีนักษัตรของชาวเหนือผูกพันกับคติการบูชาพระบรมธาตุ มีประเพณีชุธาตุหรือการไหว้พระประจำปีเกิด โดยเชื่อว่าครั้งหนึ่งในชีวิตควรมีโอกาสเดินทางไปไหว้พระธาตุประจำปีเกิดของตนเพื่อความเป็นสิริมงคล

ซึ่งครูบาศรีวิชัยได้เกิดในปีขาลนี้เช่นกัน ก็ได้ทำการบูรณะพระธาตุช่อแฮ เชื่อกันว่าได้กลายเป็นแบบอย่างให้คนล้านนานิยมทำบุญตามพระธาตุปีเกิดของตนเองอย่างแพร่หลาย Read more »

แหล่งท่องเที่ยวทางวัฒนธรรมและมรดกวัดพระธาตุช่อแฮ

-3

เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้าน คู่เมืองจังหวัดแพร่และเป็นวัดพระธาตุ
ประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง
ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่
จังหวัดแพร่ บนเนื้อที่ 175 ไร่ บุคคลใดที่มาเที่ยวจังหวัดแพร่แล้ว
จะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ เพื่อเป็นศิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่าถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มานมัสการ
พระธาตุช่อแฮเหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่ การเดินทางมาเที่ยว
วัดพระธาตุช่อแฮ ถนนสายหลัก คือ ถนนช่อแฮ เริ่มตั้งแต่สี่แยกบ้านทุ่ง
อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งเป็นสี่แยกใจกลางเมืองแพร่ เข้าสู่ถนนช่อแฮ และตรงไปตามถนนช่อแฮ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ สนามบินจังหวัดแพร
หมู่บ้านเหล่า หมู่บ้านนาจักร หมู่บ้านแตหมู่บ้านมุ้ง สถานที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง อยู่ในบริเวณเขตเทศบาล
ตำบลช่อแฮ ด้วยระยะทาง 9 กิโลเมตร จากตัวเมืองจังหวัดแพร่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ
ให้ยกวัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 123 ตอนที่ 96 ง วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้มวลสารจากพระธาตุช่อแฮ ทำพระสมเด็จจิตรลดา Read more »

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวงแห่งจังหวัดแพร่

1_2-8-56(500)

วัดพระธาตุช่อแฮ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดแพร่ และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้เกิดปีเสือ (ปีขาล) ตั้งอยู่บน
เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ 28 เมตร บนเนื้อที่ 175 ไร่ ณ เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ อยู่ห่างจากตัว
เมืองจังหวัดแพร่เป็นระยะทาง 9 กิโลเมตร
กรมศิลปากรได้ประกาศขึ้นทะเบียนพระธาตุช่อแฮเป็นโบราณสถานในราชกิจจานุเบกษา ลงวันที่ 8 มีนาคม พ.ศ. 2478 และได้
ประกาศกำหนดขอบเขตโบราณสถานลงวันที่ 14 ตุลาคม 2523
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯให้ยกวัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นพระอาราม
หลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2549 ในปี พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้มวลสารจากพระธาตุช่อแฮ
ทำพระสมเด็จจิตรลดา Read more »

สิ่งสำคัญภายในวัดช่อแฮ

พระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีขาล
พระธาตุช่อแฮ พระธาตุประจำปีเกิดปีเสือ (ปีขาล) พระธาตุช่อแฮ เป็นพระธาตุ1 ใน12 ราศี คือ เป็นพระธาตุประจำปีเกิดสำหรับคนที่เกิดปีเสือ (ปีขาล) หากนำผ้าแพรสามสีไปถวายจะทำให้ชีวิตมีพลังคุ้มครองป้องกันศัตรูได้ การสวดและไหว้ ให้เริ่มต้นนะโม 3 จบ แล้วสวดตามด้วยคาถาบูชาพระธาตุ 5 จบ พลังบารมีจะดลบันดาลให้มีชีวิตที่ดีขึ้น พระธาตุช่อแฮ หมายถึง เจดีย์บรรจุพระบรมสารีริกธาตุพระศอกซ้ายและพระเกศาธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าและประดับบูชาด้วยผ้าแพรอย่างดี

คำไหว้พระธาตุช่อแฮ
บทสวด
โกเสยยะธะชัคคะปัพพะเต สัตตะมะโนรัมเม พุทธะเกสาธาตุ ปะติฏฐิตา อะหัง วันทามิ สัมพะทา อะหัง วันทามิ ธาตุโย อะหัง วันทามิ สัพพะโส
คำแปล
ข้าพเจ้าขอไหว้พระเกศาธาตุแห่งองค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าซึ่งประดิษฐานอยู่บนธชัคคบรรพตแห่งเมืองโกศัย อันเป็นที่รื่นรมย์ใจของชนทั้งหลาย โดยประการทั้งปวงในกาลทุกเมื่อแล Read more »

ประวัติพระธาตุช่อแฮมีตำนานประวัติความเป็นมา

ตำนานพระธาตุช่อแฮในพระราชพงศาวดาร

ว่าด้วยกรุงสุโขทัย[แก้]พระราชพงศาวดารว่าด้วยกรุงสุโขทัย หอสมุดแห่งชาติ กล่าวถึงวัดพระธาตุช่อแฮว่า สร้างขึ้นระหว่าง พ.ศ. 1879-1881 ในสมัยที่พระมหาธรรมราชา (ลิไท) ยังเป็นพระมหาอุปราชซึ่งครองเมืองศรีสัชนาลัยอยู่ในครั้งนั้น พระองค์โปรดให้สร้างสถานที่สำคัญทางศาสนาตามที่ปรากฏในพุทธประวัติในที่ต่าง ๆ รวมทั้งที่เมืองแพร่ซึ่งอยู่ในขอบขัณฑสีมาของกรุงสุโขทัย พระมหาธรรมราชาลิไทพระราชทานพระบรมสารีริกธาตุแก่ขุนลัวะอ้ายก้อมให้นำมาบรรจุไว้ในฐานเจดีย์ เมื่อขุนลัวะอ้ายก้อมมาถึงบริเวณดอยโกสิยธชัคคะเห็นว่าทำเลดีจึงสร้างเจดีย์ขึ้น และนำผอบพระบรมสารีริกธาตุบรรจุบรรจุไว้ในสิงห์ทองคำ สร้างแท่นที่ตั้งผอบด้วยเงินและทอง แล้วตั้งสิงห์ทองคำไว้โดยโบกปูนทับอีกชั้นหนึ่ง หลังจากนั้นก็จัดงานบำเพ็ญกุศลเฉลิมฉลอง 7 วัน 7 คืน ภายหลังเมืองแพร่ถูกรวมเข้ากับอาณาจักรล้านนาไทยกษัตริย์ล้านนาก็ทรงได้ทะนุบำรุงพระธาตุช่อแฮตามลำดับ จนกระทั่งราชวงศ์นี้หมดอำนาจลง พระธาตุช่อแฮก็ทรุดโทรมเป็นอันมากจนล่วงมาถึง พ.ศ. 2467 พระครูบาศรีวิชัย (หรือตุ๊เจ้าวัดบ้านปาง จังหวัดลำพูน) ได้เป็นประธานบูรณปฏิสังขรณ์พระธาตุร่วมกับคณะสงฆ์จังหวัดแพร่ และมีพระมหาเมธังกร (พรหม พรหมเทโว) อดีตเจ้าคณะจังหวัดแพร่ เป็นประธานฝ่ายสงฆ์ในการบูรณปฏิสังขรณ์ จนทำให้พระธาตุช่อแฮกลับมามีความงดงาม และเป็นแหล่งเชิดหน้าชูตาของจังหวัดแพร่ และเป็นแหล่งเชิดหน้าชูตาของจังหวัดแพร่ Read more »

วัดพระธาตุช่อแฮ

200px-Phra_That_Cho_Hae

วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์เก่าแก่คู่บ้านคู่เมืองจังหวัดแพร่ และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล ตั้งอยู่เลขที่ 1 หมู่ที่ 11 ถนนช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมืองแพร่ จังหวัดแพร่ บนเนื้อที่ 175 ไร่ บุคคลใดที่มาเที่ยวจังหวัดแพร่แล้วจะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ เพื่อเป็นสิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่า ถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มานมัสการพระธาตุช่อแฮเหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่

การเดินทางมาเที่ยววัดพระธาตุช่อแฮ ถนนสายหลัก คือ ถนนช่อแฮ เริ่มตั้งแต่สี่แยกบ้านทุ่ง อำเภอเมืองแพร่ ซึ่งเป็นสี่แยกใจกลางเมืองแพร่ เข้าสู่ถนนช่อแฮ และตรงไปตามถนนช่อแฮ ผ่านโรงพยาบาลแพร่ สนามบินจังหวัดแพร่ หมู่บ้านเหล่า หมู่บ้านนาจักร หมู่บ้านแต (กวีรัตน์) หมู่บ้านมุ้ง สถานที่ตั้งของวัดพระธาตุช่อแฮอยู่ในบริเวณเขตเทศบาลตำบลช่อแฮ ด้วยระยะทาง 9 กิโลเมตร จากตัวเมืองจังหวัดแพร่

พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ ให้ยกวัดพระธาตุช่อแฮ ตำบลช่อแฮ อำเภอเมือง จังหวัดแพร่ เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดสามัญ ตั้งแต่วันที่ 23 มิถุนายน พ.ศ. 2549 โดยได้ประกาศในราชกิจจานุเบกษา ฉบับทั่วไป เล่ม 123 ตอนที่ 96 ง วันที่ 19 กันยายน พ.ศ. 2549 (พ.ศ. 2508 พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงใช้มวลสารจากพระธาตุช่อแฮ ทำพระสมเด็จจิตรลดา)

ขอขอบคุณ http://th.wikipedia.org/

วัดพระธาตุช่อแฮ

pratadchohea3

วัดพระธาตุช่อแฮ เป็นวัดศักดิ์สิทธิ์ เก่าแก่ คู่บ้าน คู่เมืองจังหวัดแพร่และเป็นวัดพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีขาล บุคคลใดที่ มาเที่ยวจังหวัดแพร่แล้วจะต้องมานมัสการพระธาตุช่อแฮ เพื่อเป็นศิริมงคลกับตนเอง จนมีคำกล่าวว่า ถ้ามาเที่ยวจังหวัดแพร่ แต่ไม่ได้มานมัสการพระธาตุช่อแฮเหมือนไม่ได้มาจังหวัดแพร่วัดพระธาตุช่อแฮ พระอารามหลวง เป็นวัดที่ตั้งอยู่เนินเขาเตี้ยสูงประมาณ 28 เมตร องค์พระธาตุช่อแฮเป็นเจดีย์ ศิลปะเชียงแสน แบบแปดเหลี่ยมย่อมุมไม้สิบสองบุด้วยทองดอกบวบหรือทองจังโก องค์พระธาตุสูง 33 เมตร ฐานสี่เหลี่ยมกว้างด้านละ 11 เมตร ลักษณะองค์พระธาตุตั้งอยู่บนฐานเขียงสี่เหลี่ยม 1 ชั้น ถัดขึ้นไปเป็นฐานหน้ากระดานแปดเหลี่ยม3 ชั้นรองรับ ถัดไปเป็นฐานบัวคว่ำ และชุดท้องไม้แปดเหลี่ยมซ้อนลดชั้นกันขึ้นไป 7 ชั้น จากนั้นเป็นบัวระฆัง 1 ชั้น และหน้ากระดานหนึ่งชั้นจนถึง องค์ระฆัง แปดเหลี่ยมถัดขึ้นไปเป็นบัลลังค์ย่อมุมไม้สิบสองและปล้องไฉนส่วนยอดฉัตรประดับ ตกแต่งด้วยเครื่อง บนแบบล้านนา มีรั้วเหล็ก รอบองค์พระธาตุ 4 ทิศ มีประตูเข้าออก 4 ประตู แต่ละประตูได้สร้างซุ้มแบบปราสาทล้านนาไว้อย่างสวยงาม ทุกปีจะมีประเพณีการไหว้พระธาตุช่อแฮเป็นประเพณีที่ปฏิบัติสืบต่อกันมาช้านาน เดิมจะจัด 5 วัน 5 คืน ได้เปลี่ยนแปลงเป็น 7 วัน 7 คืน วันแรกของงาน จะเริ่มขึ้นในวันขึ้น 9 ค่ำเดือน 6เหนือ เดือน 4 ไต้ของทุกปีซึ่งถือว่าการจัดงานไหว้พระธาตุช่อแฮ ยึดถือตาม จันทรคติเป็นหลัก ประเพณีไหว้พระธาตุช่อแฮ เมืองแพร่ แห่ตุงหลวง ในการจัดงานมีขบวนแห่อันยิ่งใหญ่ประกอบ ไปด้วยริ้ว ขบวนของทุกอำเภอ การฟ้อนรำ ขบวนช้างเจ้าหลวง และเครื่องบรรณาการ ขบวนแห่กังสดาลขบวนแห่หมากเป็ง ขบวนต้นผึ้ง ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศี ซึ่งประกอบด้วยขบวนตุง 12 ราศรี ขบวนข้าวตอกดอกไม้ ต้นหมาก ต้นผึ้ง ต้นดอก ขบวนแห่ผ้าห่มองค์พระธาตุ 12 ราศรี ขบวนกังสดาล ขบวนตุงขบวนฟ้อนรำีการเทศน์และมีการเทศน์และฟังเทศน์มหาชาติ มหาเวสสันดรชาดก ทั้งกลางวันและกลางคืน สำหรับกลางคืนมีมหรสพสมโภชตลอดงาน Read more »

ประวัติของวัดพระธาตุลำปางหลวง

wp_dsc53691

ตามตำนานกล่าวว่า ในสมัยพุทธกาล พระพุทธเจ้าพร้อมด้วยพระเถระสามองค์ได้เสด็จจาริกไปตามบ้านเมืองต่าง ๆ จนถึงบ้านลัมภะการีวัน (บ้านลำปางหลวง) พระพุทธเจ้าได้ประทับเหนือดอยม่อนน้อย มีชาวลัวะคนหนึ่งชื่อ ลัวะอ้ายกอน เกิดความเลื่อมใส ได้นำน้ำผึ้งบรรจุกระบอกไม้ป้างมะพร้าว และมะตูมมาถวายพระพุทธเจ้า พระพุทธองค์ได้ฉันน้ำผึ้งแล้วทิ้งกระบอกไม้ป้างไปทางทิศเหนือ แล้วทรงพยากรณ์ว่า สถานที่แห่งนี้ต่อไปจะมีชื่อว่า ลัมพกัปปะนคร แล้วได้ทรงลูบพระเศียรได้พระเกศามาหนึ่งเส้น มอบให้แก่ลัวะอ้ายกอนผู้นั้น ลัวะอ้ายกอนได้นำพระเกศานั้น บรรจุในผอบทองคำ และใส่ลงในอุโมงค์พร้อมกับถวาย แก้ว แหวน เงิน ทอง เป็นเครื่องบูชา แล้วแต่งยนต์ผัด (ยนต์หมุน) รักษาไว้ และถมดินให้เรียบเสมอกัน แล้วก่อเป็นพระเจดีย์สูงเจ็ดศอกเหนืออุโมงค์นั้น ในสมัยต่อมาก็ได้มีกษัตริย์เจ้าผู้ครองนครลำปางอีกหลายพระองค์ มาก่อสร้างและบูรณะซ่อมแซม จนกระทั่งเป็นวัดที่มีความงามอย่างที่เป็นอยู่ในปัจจุบัน Read more »

ไหว้พระธาตุปีฉลูดูเงาพระธาตุที่วัดพระธาตุลำปางหลวง

wp_dsc53171

นักท่องเที่ยวทุกคนที่มีโอกาสมาเยือนลำปาง สถานที่แรกที่มักจะนึกถึงก็คือวัดพระธาตุลำปางหลวง เนื่องจากวัดพระธาตุลำปางหลวงเป็นวัดที่เก่าแก่ มีประวัติความเป็นมายาวนาน มีรูปแบบสถาปัตยกรรมที่แสดงความเป็นล้านนาอย่างเด่นชัดที่สุดวัดหนึ่ง องค์พระธาตุ(ที่ชาวภาคกลางเรียกเจดีย์)ก็ยังเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนที่เกิดปีฉลู และนอกจากนั้น ยังมีเงาพระธาตุในซุ้มพระบาท เป็นหนึ่งใน Unseen Thailand ให้ได้ชมกันอีกด้วย

เมื่อมาถึงทางเข้าก็จะพบกับบันไดนาคที่มีรูปแบบทางศิลปะเป็นเอกลักษณ์โดดเด่นเฉพาะตัว ทอดยาวลงมาจากซุ้มโขงประตูที่อยู่สูงขึ้นไป เหมือนเป็นสัญลักษณ์บ่งบอกการขึ้นสู่แดนศักดิ์สิทธิ์ที่แยกตัวออกจากโลกมนุษย์

มกรคายนาค วัดพระธาตุลำปางหลวง
บันได “มกรคายนาค” เป็นรูปแบบศิลปะที่นิยมและพบเห็นมากในถิ่นล้านนา บันไดหรือทางเข้าวัดนิยมทำเป็นรูปนาคโดยมีมกรหรือเหรากำลังทำท่าคายนาคออกมาจากปาก แต่บางคนก็ตั้งข้อสังเกตุว่ากำลังจะกลืนนาคเข้าไป
สำหรับความหมายของมกรคายนาคนั้น เท่าที่ทราบมามีการตีความไปสองทาง Read more »

วัดพระธาตุลำปางหลวง จังหวัดลำปาง

ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา เป็นวัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัยพระนางจามเทวี ราวปลายพุทธศตวรรษที่ 20 เป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย งดงามด้วยสถาปัตยกรรมเก่าแก่มากมายได้แก่
– พระธาตุลำปางหลวง เป็นพระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน ฐานเป็นบัวลูกแก้ว ส่วนองค์เป็นทรงกลมแบบล้านนาภายนอกบุด้วยทองจังโก ยอดฉัตรทำด้วยทองคำ มีลายสลักดุนเป็นลวดลายประจำยามแบบต่าง ๆ ลักษณะเจดีย์แบบนี้ได้ส่งอิทธิพลต่อพระธาตุหริภุญไชย และพระบรมธาตุจอมทอง ภายในองค์พระเจดีย์บรรจุพระเกศา และพระอัฐิธาตุจากพระนลาฎข้างขวา พระศอด้านหน้าและด้านหลัง ที่รั้วทองเหลืองรอบองค์พระธาตุมีรูกระสุนปืนที่หนานทิพย์ช้างยิงท้าวมหายศปรากฏอยู่
– วิหารหลวง วิหารขนาดใหญ่ที่สร้างเมื่อ พ.ศ. 2019 โดยเจ้าหมื่นคำเป๊ก ภายในมีซุ้มปราสาททองเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าล้านทอง ด้านหลังเป็นที่ประดิษฐานพระเจ้าทันใจ บนแผงไม้คอสองมีภาพจิตรกรรมเก่าแก่งดงามเรื่องทศชาติและพรหมจักร
– วิหารพระพุทธ ไม่ปรากฏว่าสร้างเมื่อใด และใครเป็นผู้สร้าง แต่ประมาณอายุไม่ต่ำกว่า 700 ปี เดิมเป็นวิหารเปิดโล่งหน้าบันเป็นลายดอกไม้ติดกระจกสี ภายในประดิษฐานพระประธานเป็นพระพุทธรูปปางมารวิชัยขนาดใหญ่เต็มอาคารก่ออิฐถือปูน ศิลปะเชียงแสน และยังปรากฏเงาพระธาตุภายในวิหารอีกด้วย Read more »

พระธาตุลําปางหลวง มนต์เสน่ห์ความงามล้านนา

l7

ลำปาง…เรียกว่าเป็นอีกหนึ่งจังหวัดในประเทศไทย ที่ยังคงอารยธรรมล้านนาไทยไว้ไม่เสื่อมคลาย ทั้งวิถีชีวิต ขนบธรรมเนียม ประเพณี วัดวาอาราม และสถาปัตยกรรมท้องถิ่น ตลอดจนศิลปวัฒนธรรมที่สืบทอดมาแต่โบราณ รวมถึง “รถม้า” และ “ถ้วยชามตราไก่” อันเลื่องชื่อ เอกลักษณ์ที่สำคัญของจังหวัด

แต่สถานที่ท่องเที่ยวหนึ่งที่ไม่ควรพลาดเด็ดขาด! เมื่อไปเยือนเขลางค์นคร นั่นก็คือ “วัดพระธาตุลำปางหลวง” วัดคู่บ้านคู่เมืองลำปางมาแต่โบราณ และเป็นวัดไม้ที่สมบูรณ์ที่สุดแห่งหนึ่งของไทย อีกทั้ง พระธาตุลำปางหลวง ยังเป็น พระธาตุประจำปีเกิดของคนปีฉลู ด้วยเริ่มสร้างในปีฉลูและเสร็จในปีฉลูเช่นกัน

วัดพระธาตุลำปางหลวง ตั้งอยู่ที่ตำบลลำปางหลวง อำเภอเกาะคา ตามตำนานกล่าวว่ามีมาตั้งแต่สมัย พระนางจามเทวี ในราวพุทธศตวรรษที่ 20 ตอนปลาย มีความสวยงามและอลังการด้วยศิลปะสถาปัตยกรรม ที่สร้างขึ้นในแนวกำแพงใหญ่ ซึ่งทอดยาวกั้นทุกอย่างไว้ในบริเวณวัด ส่วนบันไดด้านหน้าเป็นนาคสองชั้น หัวนาคชั้นแรกเป็นมังกรคล้ายนาค ตามคตินิยมทางเหนือ ชั้นที่สองเป็นหัวนาคหัวเดียว Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .