วัดโปรดเกศเชษฐาราม

อยู่ที่ถนนทรงธรรม ตำบลทรงคะนอง อยู่ถัดจากวัดไพชยนต์ฯ เล็กน้อย เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีเป็นวัดพุทธไทยเพียงวัดเดียวในย่านพระประแดง เพราะวัดอื่นๆ มักจะเป็นวัดพุทธรามัญ พระยาเพชรพิไชย(เกตุ) สร้างขึ้นในสมัยรัชกาลที่ 2 มีลักษณะสถาปัตยกรรมดีเด่นคือ พระอุโบสถไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีศิลปะปูนปั้นลายเครือเถาประดับเครื่องลายคราม ภายในมีพระประธานปางมารวิชัยหล่อด้วยโลหะ พระวิหารมีลักษณะสถาปัตยกรรมเช่นเดียวกับพระอุโบสถ ภายในมีพระพุทธไสยาสน์พระพักตร์งามมาก เหนือหน้าต่างมีภาพปริศนาธรรมเป็นศิลปะตะวันตกแปลกตาหาดูยาก นอกจากนี้ยังมีพระมณฑปหลังคามุงด้วยกระเบื้องรางรายรอบด้วยเก๋งจีน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่าง ๆ มีพระปรางค์ที่มุมทั้ง 4 ด้าน ภายในพระมณฑปมีพระพุทธรูปและรอยพระพุทธบาทจำลองประดับมุข
การเดินทาง จากวัดไพชยนต์ฯ เลี้ยวขวาไปตามถนนทรงธรรมประมาณ 200 เมตร ข้ามสะพานคลองลัดหลวงประมาณ 50 เมตร วัดโปรดเกศเชษฐารามจะอยู่ด้านซ้ายมือ

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org

วัดโปรดเกศเชษฐาราม

SANYO DIGITAL CAMERA

ลวัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2363 มีลักษณะเป็นโบราณสถานที่มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมของชาวต่างชาติ (ทั้งตะวันออกและตะวันตก)
พระอุโบสถมุงหลังคาด้วยกระเบื้องมอญเก่า ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีศิลปะปูนปั้นลายเครือเถา ประดับลายคราม

ประวัติความเป็นมา
วัดโปรดเกศเชษฐาราม เป็นวัดที่สร้างขึ้นในสมัย พระบาทสมเด็จพระพุทธเลิศหล้านภาลัย รัชกาลที่ 2 ในปี พ.ศ. 2363 โดยโปรดเกล้า ให้กรมหมื่นภักดิ์พลเสพ เป็นแม่กองสร้างเมืองและป้อมต่างๆ ของเมืองนครเขื่อนขันธ์ ซึ่งในคราวนั้น เมื่อได้สร้างเมืองและป้อมต่าง ๆ เรียบร้อย กรมหมื่นภักดิ์พลเสพ ได้สร้างวัดขึ้นวัดหนึ่งทางด้านตะวันตกของเมือง และขอพระราชทานนามว่า วัดไพรยนต์พลเสพ ขณะที่พระยาเพชรพิชัย (เทศ) นายงานสร้างเมืองในครั้งนี้ ได้ขออนุญาตสร้างวัดอีกวัดหนึ่งคนละฝากฝั่งคลอง เมื่อสร้างเสร็จได้พระราชทานนามว่า วัดโปรดเกศเชษฐาราม ซึ่งแต่เดิม ชาวบ้านมักเรียกว่า “วัดปากคลอง” เนื่องจากอยู่ทิศเหนือของคลอง

สิ่งที่น่าสนใจศึกษาและเรียนรู้
สถาปัตยกรรมต่าง ๆ มีลักษณะเป็นโบราณสถานที่มีการผสมผสานสถาปัตยกรรมของชาวต่างชาติ (ทั้งตะวันออกและตะวันตก) โบราณสถานที่สำคัญ ได้แก่ เจดีย์ทรงลังกา ภาพเขียนสีน้ำมัน พระอุโบสถมุงหลังคาด้วยกระเบื้องมอญเก่า ไม่มีช่อฟ้าใบระกา หน้าบันมีศิลปะปูนปั้นลายเครือเถา ประดับลายคราม ภายในพระอุโบสถประดิษฐานพระพุทธรูปปางไสยาสน์ พระพักตร์งามมาก พระมณฑปหลังคามุงด้วยกระเบื้องรางรายล้อมด้วยเก๋งจีน ประดิษฐานพระพุทธรูปปางต่างๆ มีพระปรางค์ที่มุมทั้งสี่ด้าน ภายในพระมณฑปมีรอยพระพุทธบาทจำลองประดับมุก

ขอขอบคุณ www.oknation.ne

ถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย-วัดโปรดเกตุเชษฐาราม

เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี อยู่ตรงข้ามกับวัดไพชยนต์พลเสพ ผู้สร้างวัดนี้คือพระยาเพ็ชรพิไชย (เกตุ) ผู้เป็นต้นสกุล “เกตุทัต” ซึ่งเป็นบุตรของพระยาเพชรพิไชย (หง) ผู้เป็นต้นสกุล “หงสกุล” สร้างเมื่อปีมะเมีย พ.ศ. 2365 ชาวบ้านเรียกชื่อวัดนี้ว่า “วัดปากคลอง” เพราะอยู่ใกล้กับปากคลองลัดหลวง
วัดนี้จะได้รับพระราชทานชื่อว่าอะไร เมื่อไร ไม่มีหลักฐานยืนยัน นอกจากจะสันนิษฐานว่าคงจะเป็นสมัยรัชกาลที่ ๓ เพราะสร้างวัดในสมัยนั้นเป็นพระราชนิยมอย่างยิ่ง จนมีคำกล่าวว่า “พระเจ้าแผ่นดินรัชกาลที่ ๑ ทรงโปรดคนเป็นนักรบ รัชกาลที่ ๒ ทรงโปรดคนเป็นกวี รัชกาลที่ ๓ ทรงโปรดคนสร้างวัด” สมัยนั้นจึงมีคนนิยมสร้างวัดกันเป็นจำนวนมาก วัดใดที่สร้างอยู่ในเกณฑ์ก็ทรงรับไว้เป็นพระอารามหลวง วัดโปรดเกศฯ ก็คงได้เป็นพระอารามหลวงในยุคนั้น ส่วนชื่อวัดคงยังหาหลักฐานไม่ได้ว่าได้รับพระราชทานเมื่อไร ชื่อวัดจึงมีการเขียนขึ้นหลายแบบ เช่น วัดโปรดเกตุเชษฐาราม

เรื่องการเขียนขื่อวัดนี้ คงจะเขียนขึ้นตามความเข้าใจโดยยึดความหมายที่ว่า ผู้สร้างวัดนี้เป็นพระพี่เลี้ยง คำว่า “เชฏฐ” เป็นชื่อของเดือน ๗ ตามจันทรคติและยังแปลว่า “พี่” หรือ “ผู้เจริญที่สุด” ตามภาษาบาลี ภาษาไทยเขียนว่า “เชษฐ” หรือ “เชษฐา”
ในการก่อสร้างวัดโปรดเกศฯ ครั้งแรกปรากฏว่ามีเพียงพระอุโบสถ พระวิหารการเปรียญ พระเจดีย์ใหญ่ 2 องค์ และหอระฆัง และเสนาสนะ ที่อยู่ของสงฆ์อีก 2 คณะ ภายในบริเวณพระอุโบสถและพระวิหารปูด้วยกระเบื้องหน้าวัว ในบริเวณระหว่างพระอุโบสถกับพระวิหารก็ปูด้วยกระเบื้องหน้าวัวทั้งสิ้น มีแท่นสำหรับนั่งเล่นสองแท่น ก่ออิฐถือปูน พื้นปูด้วยหินอ่อน ส่วนมณฑปนั้นทราบว่ายังสร้างไม่เสร็จ และคงจะสำเร็จในยุคต่อมา
ในสมัยนี้วัดเป็นที่นิยมในการศึกษาหาความรู้ของชาวบ้านและเป็นหลายๆ อย่างที่ชาวบ้านต้องการ เช่น โรงเรียน โรงพยาบาล ศาลสถิตยุติธรรม วัดโปรดเกศฯ ก็มีพร้อมทุกประการ พระสงฆ์มีหน้าที่ช่วยเหลือชาวบ้านในเรื่องต่างๆ กัน เช่น พระต้องเป็นหมดรักษาทางใจ คือสอนธรรมะ รักษาโรคทางกาย คือหมอยาแผนโบราณ นอกจากนี้ยังเป็นหมอดูรักษาศรัทธาและความสบายใจแก่ชาวบ้านเช่น เป็นผู้ให้ฤกษ์ยาม เป็นผู้พิพากษาคดีเล็กๆ น้อยๆ เป็นต้น
ในสมัยพระปัญญาพิศาลเถร (สุก) เป็นเจ้าอาวาส พระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัวได้พระราชทานพระราชทรัพย์ให้พระยาเพชรพิไชย (เกตุ) มาสร้างกุฏิอีกคณะหนึ่งแถบริมคลองลัดหลวง และได้สร้างหอสวดมนต์ 1 หลัง หอฉัน 1 หลัง กับกุฏิอีก 7 หลัง สร้างแบบฝากระดานไม้สัก มุงด้วยกระเบื้องไทยทั้งสิ้น
ในสมัยพระครูวินยาบูรณาจารย์ (คำ) เป็นเจ้าอาวาส พระยาเพชรพิไชย (หนู) บุตรพระยาเพชรพิไชย (เกตุ) ได้สร้างและปฏิสังขรณ์ผนังพระอุโบสถหลังใหม่และเขียนลายเพดาน เพราะเดิมไม่ได้เขียนไว้ กับได้ปฏิสังขรณ์พระพุทธไสยาสน์ในพระวิหาร สร้างเขื่อนรอบสระพระมณฑป เพราะของเดิมสร้างไว้เป็นเขื่อนไม้ และยังได้ปฏิสังขรณ์อย่างอื่นอีกมากมายทั่วทั้งพระอาราม
Read more »

วัดหงษ์ทอง หรือ วัดกลางน้ำที่ร่มเย็น

วัดหงษ์ทอง จังหวัดฉะเชิงเทรา

170802

วัดหงษ์ทอง จ.ฉะเชิงเทรา มีทัศนียภาพที่สวยงาม ถูกห้อมล้อมด้วยผืนน้ำทะเล มี พระธาตุคงคามหาเจดีย์ฯ บรรจุพระธาตุพระอรหันต์ในทะเลเป็นแห่งแรกของโลก เป็นที่กราบไหว้บูชารำลึกถึงพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ
และพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นการสืบสาน อายุพระพุทธ
ศาสนาให้ครบ 5,000ปี
การเดินทาง
รถยนต์ : อยู่จังหวัดฉะเชิงเทรา เดินทางจากกรุงเทพด้วยเส้นสุขุมวิทสายเก่าสุดเขต จ.สมทรปราการ รอยต่อ สมุทรปราการกับฉะเชิงเทรา ถ้าวิ่งจากเส้นถนน บางนา- ตราด ให้กลับรถที่ กม 38 เเล้วเลี้ยวเตัดเข้า ถนนสุชขุมวิท สายเก่า วิ่งไปเรื่อยๆ จะเจอ การเคหะบางพลีเมืองใหม่อยู่ทางด้านขวามือ ให้ขับตรงไปอีก จนเจอ สามแยกตัด ถนนสุขุมวิท สายเก่า ให้เลี้ยวซ้ายเเล้ววิ่งไปตามทางเรื่อยๆ ไม่นานจะเจอป้ายบอกทางเป็นระยะๆ อยู่ฝั่งขวามือ มีธรรมจักรเป็นจุดสังเกต

ขอขอบคุณ http://www.taangrod.com/

วัดหงษ์ทอง

paragraph_11_501

วัดหงษ์ทอง ตั้งอยู่ที่ ต.สองคลอง อ.บางประกง จ.ฉะเชิงเทรา คลองหงษ์ทองในพื้นที่นี้นับว่าเป็นคลองชายฝั่งทะเลที่ขุดเลียบแนวตะเข็บ ระหว่าง อ.บางประกงของฉะเชิงเทรา กับ อ.คลองด่านของสมุทรปราการ นั่นคือจากถนนสุขุมวิทสายเก่า หากไม่เลี้ยวซ้ายเข้าวัดหงษ์ทอง ตรงไปอีกนิดเดียวก็เข้าเขตจังหวัดสมุทรปราการ หรืออีกเพียง ๑๐ กิโลเมตรก็จะถึงสถานตากอากาศบางปูอันลือลั่นมาแต่อดีตนั่นเอง ความเป็นมาของวัดหงษ์ทอง พระครูปรีชาประภากร (ปราชญ์ ปภากโร ศรนิล) เจ้าอาวาสวัดหงษ์ทอง ย้อนอดีตให้ฟังถึงความเป็นมาที่สิ่งปลูกสร้างสำคัญของวัดล้วนปลูกสร้างอยู่ “ในทะเล” จนถือเป็น “UNSEEN ของแปดริ้ว” ว่า สมัยที่ตัวท่านเองยังเป็นฆราวาสชื่อนายปราชญ์ ศรนิล ประกอบอาชีพเกษตรกรรมอยู่ที่บ้านเกิดนี้ เมื่อถึงวันพระหรือวันสำคัญทางศาสนา ชาวบ้านหงษ์ทองต้องเดินลุยโคลนสูงท่วมเข่า ลุยป่าชายเลนไปทำบุญที่วัด ซึ่งอยู่ไกลออกไปหลายกิโลเมตร เมื่อปี พ.ศ. ๒๕๑๐ หลวงปู่ปานวัดคลองด่าน ได้ริเริ่มตั้งสำนักสงฆ์ขึ้น ณ ที่ตั้งวัดปัจจุบันนี้ โดย กำนันสนใจ ภิญโญ บอกยกที่ดินให้วัดด้วยปากเปล่าเพื่อชาวบ้านจะได้ประกอบศาสนกิจได้สะดวกขึ้น

ต่อมา มีบริษัทเอกชนแห่งหนึ่งมารวบรวมซื้อที่ดินละแวกคลองหงษ์ทองและคลองขุดจากชาวบ้าน ที่ดินตรงนี้ถูกขายไปด้วย จนกระทั่งในปี พ.ศ. ๒๕๒๒ นายปราชญ์ ได้รับเลือกเป็นผู้ใหญ่บ้านขณะนั้น พระอาจารย์โพธิ์ วรธรรมโม (แก้วขาว) เป็นหัวหน้าสำนักสงฆ์แห่งนี้อยู่ ผู้ใหญ่ปราชญ์ ศรนิล ได้เป็นกำลังสำคัญทำหน้าที่เป็นตัวแทนของชาวบ้านและสำนักสงฆ์ ไปเจรจาขอซื้อที่ดินบริเวณที่ตั้งสำนักสงฆ์ ๒๑ ไร่ ๒ งาน จากบริษัทเอกชนรายดังกล่าว จนบริษัทยอมขายให้ในราคา ๑๒๐,๐๐๐ บาท โดยขอเวลาผ่อนชำระ ๓ ปี ซึ่งกว่าจะชำระเงินได้ครบถ้วน ผู้ใหญ่ปราชญ์ ต้องวิ่งเต้นประสานงาน และประสานความร่วมแรงร่วมใจของชาวบ้านเป็นอย่างมาก ในช่วงปี พ.ศ. ๒๕๒๒-๒๕๒๗ นี่เอง ที่ได้พัฒนาสำนักสงฆ์จนเป็นวัด แต่แรกจะตั้งชื่อว่า วัดพระปฐมหลวงปู่ปานอุปถัมภ์ แต่ทางสำนักงานพระพุทธศาสนาแนะนำให้ใช้ชื่อ “หงษ์ทอง” ตามชื่อคลอง “คลองวัดหงษ์ทอง” จึงเป็นวัดโดยสมบูรณ์นับจากนั้นมา โดยกล่าวได้ว่า ผู้ใหญ่ปราชญ์ ศรนิล เป็นฆราวาสคนสำคัญในการฝ่าฟันอุปสรรค บุกเบิกสร้างวัดนี้มากับมือ

Read more »

UNSEEN ใกล้กรุง วัดหงษ์ทอง ฉะเชิงเทรา

วัดหงษ์ทอง ตั้งอยู่ที่ ต. คลองสอง อ.บางปะกง จ.ฉะเชิงเทรา

20130929103721-1985180858

แต่เดิมทีพื้นที่ของวัดหงษ์ทองเป็นพื้นดินมีจำนวนถึง 21 ไร่ 2 งาน แต่ได้ถูกน้ำทะเลกัดเซาะจนเหลือพื้นที่ดินให้เห็นประมาณ 8 ไร่ พระครูปรีชาประภากร พระอธิการปราชญ์ ปภากโร ซึ่งในขณะนั้นท่านได้ดำรงตำแหน่งเป็นท่านเจ้าอากาส ได้ทำการบูรณะวัด โดยจัดสร้างเขื่อนเพื่อยุติปัญหาน้ำทะเลกัดเซาะพื้นดิน ปรับปรุงเส้นทางคมนาคมโดยรอบทั้งทางวัดและหมู่บ้านเพื่อให้เดินทางสะดวก ออกกฎระเบียบภายในวัดห้ามจัดมหรสพ เล่นพนัน และเสพของมึนเมา ส่วนนอกวัดก็ได้เคร่งครัดปกครองสงฆ์โดยการมิให้ออกเรี่ยไรชาวบ้าน รวมถึงได้ก่อสร้างถาวรวัตถุของวัดในบริเวณเดิมที่ดินที่ถูกน้ำเซาะกัดกิน สิ่งปลูกสร้างต่างๆ เหล่านี้ จึงดูเสมือนปลูกอยู่ในทะเล แต่จริงๆแล้วทุกอย่างล้วนอยู่ในพิกัดของโฉนดวัดทั้งสิ้น

จากพื้นที่ในบริเวณวัด จะมีทางเดินเชื่อมไปยังพระธาตุคงคามหาเจดีย์ปรีชาประภากร ปราชญ์ ศรนิล อนุสรณ์ ซึ่งสร้างขึ้นเมื่อปี 2542 เจดีย์มีด้วยกัน 3 ชั้น แต่ละชั้นจะมีภาพวาดแสดงเรื่องราวเกี่ยวกับพระพุทธศาสนา รวมถึงประดิษฐานพระพุทธรูปต่าง ๆ ส่วนชั้นบนสุดเป็นเจดีย์สีทองอร่ามบรรจุพระอรหันต์ธาตุ สามารถมองเห็นทัศนียภาพท้องทะเลและแผ่นดินในมุมสูงได้อย่างสวยงามถึง 360 องศา ทางขวาของพระธาตุจะเป็นพระอุโบสถ บริเวณด้านหลังมีเรือรบจำลอง รูปหล่อของพลเรือเอกพระเจ้าบรมวงศ์เธอกรมหลวงชุมพรเขตอุดมศักดิ์ หันหน้าออกปากอ่าว

ในระหว่างทางเดินนั้น ช่วงแรกของสะพานจะประดับด้วยพญานาค จุดกึ่งกลางทางเดินมีรูปปั้นของตัวละครในเรื่องพระอภัยมณี เช่นพระอภัยมณี นางยักษ์ผีเสื้อสมุทร สุดสาคร นางเงือก โดยมีสะพานไม้รอบๆ ให้สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้เช่นกัน

สามารถมาที่วัดหงษ์ทองได้ทุกวัน
วัดเปิดตั้งแต่เวลา 06.00-20.00 น.
ช่วงต้นเดือนเมษายนของทุกปีจะเปิดโอกาส ให้พุทธศาสนิกชนมาบวชเนกขัมมะ (ชีพราหมณ์) ที่วัด หรือหากท่านใดสนใจบวชเนกขัมมะ สามารถติดต่อกับทางวัดได้โดยตรง ผู้สนใจสอบถามได้ที่หมายเลขโทรศัพท์ 038-528 367

Read more »

วัดหงษ์ทอง คลองสอง บางปะกง

2550

วัดหงษ์ทองเป็นวัดที่ตั้งอยู่ในทะเลอ่าวไทย อยู่ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา พี่เล็กได้ยินชื่อมานานแล้ว วันนี้มีโอกาสชวนแม่บ้านไปทำบุญจึงเดินทางทางบางบ่อ พอโผล่แยกสุขุมวิทสายเก่าก็เลี้ยวซ้ายไปทางบางปะกง ขับไปสักพักก็จะเจอป้ายชื่อวัดทางขวามือ (มีป้ายบอกทางอยู่ตลอดทาง)

ถ้านึกภาพไม่ออกก็ลองตั้งต้นสมุทรปราการ ขับผ่านบางปู เลยมาก็จะถึงคลองด่าน แยกบางบ่อ แล้วก็จะเข้าเขตฉะเชิงเทรา(บางปะกง) ก็จะถึงตำบลคลองสอง ซึ่งเป็นที่ตั้งของวัดหงษ์ทอง

ขอขอบคุณ http://thaimisc.pukpik.com/

เส้นทางการเดินทางวัดหงษ์ทอง

การเดินทางมาวัดหงษ์ทองนั้น ใช้เส้นทางถนนฉะเชิงเทรา – บางปะกง
ขับตรงมาเรื่อย ๆ ประมาณ ๒๖ กิโลเมตร จากฉะเชิงเทรา
จะลอดใต้สะพานลอยถนนบางนา – ตราด เข้าสู่ถนนสุขุมวิทสายเก่า
ขับไปอีก ๑๔.๕กิโลเมตร จะเห็นทางเข้าวัดหงษ์ทองอยู่ทางซ้ายมือที่ กม.๖๒ – ๖๓
สองข้างทางที่ผ่านมาจะผ่านนาเกลือ บ่อกุ้งและบ่อเลี้ยงหอยแครง
เมื่อขับตรงเข้าไปประมาณ ๑๐๐ เมตร จะพบร้านขายอาหารทะเลแห้งของชาวบ้าน ๒ – ๓ ร้าน
ของทะเลเหล่านี้มาจากชาวบ้านแถบนี้บ้าง รับมาบ้างขายในราคาย่อมเยา
มีทั้งปลากุเลา ปลาเข็มทะเล ปลากระบอก ปลากระตัก ปลาหมึกแห้ง กุ้งแห้ง
ผลิตภัณฑ์ของชาวบ้านที่นี่ตากแห้งแบบธรรมชาติไม่ฟอกสี
ไม่ปะปนสารอันตราย เปิดขายตั้งแต่ ๗ โมง ถึงทุ่มกว่า ๆ

หลังจากผ่านร้านขายของตรงเข้าไปอีกเล็กน้อยจะเห็นบ่อปลาข้างหน้าอยู่
สามารถขับรถอ้อมบ่อไปได้ทั้งทางซ้ายและทางขวา โดยจะไปบรรจบกัน
ที่ปากทางเข้าวัด ทางซ้ายซึ่งไกลกว่านั้นถนนเรียบกว่า

แต่หากจะชมวิถีชีวิตของชาวประมง ทั้งน้ำตื้นและน้ำลึก
ที่ปลูกบ้านอยู่ริมคลองหงษ์ทองแล้วละก็ ต้องเลี้ยวขวาแต่สภาพถนน
ซึ่งปริ่มน้ำยามน้ำทะเลขึ้น ออกจะเฉอะแฉะเป็นหลุมเป็นบ่อนิดหน่อย
ไม่เหมาะกับรถที่ใต้ท้องรถต่ำ และรถที่เจ้าของกลัวผุจากน้ำเค็ม
ระหว่างทางจะเห็นบ้านชาวเลยกพื้นสูงหนีน้ำยามน้ำทะเลขึ้นอยุ่ประปราย
เห็นเรือประมงของชาวบ้านป่าชายเลน และระบบนิเวศทางน้ำด้วย

Read more »

วัดหงษ์ทอง สักการะพระธาตุพระอรหันต์ ชื่นชมความงามโบสถ์กลางทะเล Unseen เมืองฉะเชิงเทรา

หลายๆคนอาจคิดว่า ฉะเชิงเทราหรือแปดริ้ว มีทะเลด้วยหรือ ?? คำถามนี้เราไม่ปล่อยให้ท่านสงสัยนานเกินไป เว็บไซต์สวัสดีแปดริ้วดอทคอม ขอเฉลยว่า มีค่ะ แต่ทะเลที่ว่านั้น ไม่ใช่ชายทะเลแบบชายหาดบางแสนหรือพัทยา ที่สามารถลงเล่นน้ำได้ แต่ทะเลของเราเป็นทะเลแบบป่าชายเลน ซึ่งมีอาณาบริเวณอยู่ที่ อ.บางปะกง นั่นเอง และสถานที่ที่ทางเว็บไซต์สวัสดีแปดริ้วดอทคอม ขอแนะนำให้เป็นแหล่งท่องเที่ยวอีกแห่ง ที่ไม่ควรพลาดคือ วัดหงษ์ทอง

วัดหงษ์ทองแห่งนี้ ตั้งอยู่ที่ ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง จังหวัดฉะเชิงเทรา ตามประวัติได้เริ่มสร้างเมื่อปี พ.ศ. 2533 และพระครูปรีชา ประภากร เข้ารับตำแหน่งเจ้าอาวาส ตั้งแต่ ปี 2534 จนถึงปัจจุบัน ได้ตั้งกฎระเบียบต่าง ๆ ในวัดไว้อย่างเข้มงวด เช่น ห้ามมิให้พระออกเรี่ยไร มิให้เสพสิ่งเสพติดทุกชนิด มิให้ดูโทรทัศน์ ฟังเพลง เล่นหวยล๊อตเตอรี่ มิให้จัดงานมหรสพ เป็นต้น

พระครูปรีชา ประภากร ได้เป็นผู้นำชาวพุทธปฏิบัติศาสนกิจอย่างสม่ำเสมอ ในช่วงวันสำคัญทางศาสนาต่างๆ และได้พัฒนาวัดหงษ์ทองแห่งนี้ให้เจริญและเป็นที่รู้จักแก่บุคคลทั่วไป รวมทั้งมีการก่อสร้างสิ่งต่างๆมากมาย ภายในวัดหงษ์ทอง อาทิเช่น ได้ก่อสร้าง “ศูนย์พัฒนาจิต ศาลาปฏิบัติธรรมกรรมฐาน ศรนิลอนุสรณ์” กว้าง 18วา ยาว 30วา ตั้งอยู่ในทะเล มูลค่า 10 ล้านบาท สร้างเมื่อปี 2527–2541

ซึ่งปัจจัยทั้งหมดที่นำมาใช้สร้างศูนย์พัฒนาจิตฯ ได้มาจากการบริจาคด้วยความศรัทธาของพสกนิกร ซึ่งเป็นพุทธศาสนิกชนร่วมสร้างถวายเป็นพระราชกุศล เทิดพระเกียรติพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว เนื่องในปีกาญจนภิเษก ฉลองศิริราชสมบัติครบ 50 ปี

ขอขอบคุณ http://www.sawasdee-padriew.com/

 

 

วัดหงษ์ทอง หรือ วัดกลางน้ำ

1368643923-00059-o

วัดหงษ์ทอง หรือ วัดกลางน้ำ ตั้งอยู่ที่ อำเภอบางปะกง ในบริเวณพื้นที่ชายทะเลที่เป็นป่าชายเลน มีทางเดินเชื่อมจากบริเวณวัดที่ ชายฝั่งไปยังพระธาตุคงคามหาเจดีย์ปรีชาประภากร ปราชญ์ ศรนิล อนุสรณ์ และอุโบสถซึ่งอยู่ในทะเล เจดีย์มี 5 ชั้นมีภาพวาดเกี่ยว กับพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ไทย และประดิษฐานพระพุทธรูปต่าง ๆ ส่วนชั้นบนสุดเป็นเจดีย์สีทองอร่ามบรรจุพระอรหันต์ธาตุ สามารถมองเห็นทัศนียภาพท้องทะเลและแผ่นดินในมุมสูงได้สวยงาม ทางเดินที่ทอดยาวไปในทะเลไปยัง “พระธาตุคงคามหาเจดีย์” ระหว่างทางเดินจะมีป้ายบอกทาง และมีข้อ ความและคติเตือนใจให้อ่านเล่นเพลินๆอีกด้วย จุดกึ่งกลางของทางเดินวัดหงษ์ทอง มีรูปปั้นพระอภัยมณี มีนางยักษ์ พระอภัย และตัวละครอีกหลายตัวตามวรรณคดี โดยมีสะพานไม้รอบๆ ให้สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้

ขอขอบคุณ http://pantip.com/

ถานที่ท่องเที่ยวทั่วไทย-วัดหงษ์ทอง

วัดหงษ์ทอง ตั้งอยู่หมู่ที่ 9 ตำบลสองคลอง อำเภอบางปะกง ในบริเวณพื้นที่ชายทะเลที่เป็นป่าชายเลน มีทางเดินเชื่อมจากบริเวณวัดที่ชายฝั่งไปยังพระธาตุคงคามหาเจดีย์ปรีชาประภากร ปราชญ์ ศรนิล อนุสรณ์ และอุโบสถซึ่งอยู่ในทะเล เจดีย์มี 5 ชั้นมีภาพวาดเกี่ยวกับพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ไทย และประดิษฐานพระพุทธรูปต่าง ๆ ส่วนชั้นบนสุดเป็นเจดีย์สีทองอร่ามบรรจุพระอรหันต์ธาตุ สามารถมองเห็นทัศนียภาพท้องทะเลและแผ่นดินในมุมสูงได้สวยงาม

การเดินทาง จากกรุงเทพฯ ใช้เส้นทางกรุงเทพฯ-สมุทรปราการ แยกเข้าถนนสุขุมวิทสายเก่า ไปจนถึง กม.ที่ 62 – 63 จะมีทางแยกขวาผ่านนาเกลือและบ่อกุ้งไปตามทางดินประมาณ 400 เมตรหรือเดินทางตามถนนบางนาตราด หรือทางด่วนบูรพาวิถี และแยกขวาเข้าบางบ่อ ไปบรรจบกับสุขุมวิทสายเก่าแล้วเลี้ยวซ้ายไปยังวัดก็ได้
หากเดินทางมาจากฉะเชิงเทรา ใช้เส้นทางฉะเชิงเทรา– บางปะกง ประมาณ 26 กิโลเมตร ลอดใต้สะพานลอยถนนบางนา – ตราด มาบรรจบกับถนนสุขุมวิทสายเก่า แยกขวาไปอีกประมาณ 14 กิโลเมตร จะเห็นทางเข้าวัดหงษ์ทองอยู่ทางซ้ายมือ

ขอขอบคุณ http://www.touronthai.com/

วัดหงษ์ทอง จังหวัดฉะเชิงเทรา

DSCN1510 (Medium) (1)

วัดหงษ์ทอง จ.ฉะเชิงเทรา มีทัศนียภาพที่สวยงาม ถูกห้อมล้อมด้วยผืนน้ำทะเล มี พระธาตุคงคามหาเจดีย์ฯ บรรจุพระธาตุพระอรหันต์ในทะเลเป็นแห่งแรกของโลก เป็นที่กราบไหว้บูชารำลึกถึงพระปัญญาคุณ พระบริสุทธิคุณ
และพระมหากรุณาธิคุณ ขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า และพระอรหันต์ทั้งหลาย เป็นการสืบสาน อายุพระพุทธ
ศาสนาให้ครบ 5,000ปี

การเดินทาง
รถยนต์ : อยู่จังหวัดฉะเชิงเทรา เดินทางจากกรุงเทพด้วยเส้นสุขุมวิทสายเก่าสุดเขต จ.สมทรปราการ รอยต่อ สมุทรปราการกับฉะเชิงเทรา ถ้าวิ่งจากเส้นถนน บางนา- ตราด ให้กลับรถที่ กม 38 เเล้วเลี้ยวเตัดเข้า ถนนสุชขุมวิท สายเก่า วิ่งไปเรื่อยๆ จะเจอ การเคหะบางพลีเมืองใหม่อยู่ทางด้านขวามือ ให้ขับตรงไปอีก จนเจอ สามแยกตัด ถนนสุขุมวิท สายเก่า ให้เลี้ยวซ้ายเเล้ววิ่งไปตามทางเรื่อยๆ ไม่นานจะเจอป้ายบอกทางเป็นระยะๆ อยู่ฝั่งขวามือ มีธรรมจักรเป็นจุดสังเกตุ

ขอขอบคุณ http://www.outsidethailand.com/

วัดหงษ์ทอง

wathongthong

วัดหงษ์ทอง หรือ วัดกลางน้ำ ตั้งอยู่ที่ อำเภอบางปะกง ในบริเวณพื้นที่ชายทะเลที่เป็นป่าชายเลน มีทางเดินเชื่อมจากบริเวณวัดที่ ชายฝั่งไปยังพระธาตุคงคามหาเจดีย์ปรีชาประภากร ปราชญ์ ศรนิล อนุสรณ์ และอุโบสถซึ่งอยู่ในทะเล เจดีย์มี 5 ชั้นมีภาพวาดเกี่ยว กับพุทธศาสนาและพระมหากษัตริย์ไทย และประดิษฐานพระพุทธรูปต่าง ๆ ส่วนชั้นบนสุดเป็นเจดีย์สีทองอร่ามบรรจุพระอรหันต์ธาตุ สามารถมองเห็นทัศนียภาพท้องทะเลและแผ่นดินในมุมสูงได้สวยงาม ทางเดินที่ทอดยาวไปในทะเลไปยัง “พระธาตุคงคามหาเจดีย์” ระหว่างทางเดินจะมีป้ายบอกทาง และมีข้อ ความและคติเตือนใจให้อ่านเล่นเพลินๆอีกด้วย จุดกึ่งกลางของทางเดินวัดหงษ์ทอง มีรูปปั้นพระอภัยมณี มีนางยักษ์ พระอภัย และตัวละครอีกหลายตัวตามวรรณคดี โดยมีสะพานไม้รอบๆ ให้สามารถชมวิวทิวทัศน์ได้
วัดหงษ์ทอง
ภายใน“พระธาตุคงคามหาเจดีย์” ชั้นล่างประดิษฐานหลวงพ่อพุทธโสธรจำลอง และพระพุทธรูปอื่นๆอีกมากมายไว้ให้ผู้มีจิตศรัทธา ได้สักการะ และทางวัดได้มีการจัดให้มีการตักบาตรพระร้อย คือการตักบาตรโดยใช้เงินเหรียญ (สามารถแลกเหรียญได้กับทางวัด) ซึ่งมีพระพุทธรูปเป็นร้อยๆรูปตั้งอยู่ สามารถเดินได้โดยรอบ เมื่อขึ้นไปที่บริเวณชั้น 2 ของอาคารจะพบกับ หุ่นขี้ผึ้งเหมือนรูปจริง ของหลวงปู่สด หรือ พระมงคลเทพมุนี (สด จนทฺสโร) วัดปากน้ำภาษีเจริญ และบริเวณใกล้เคียงกัน มีองค์พระแก้วมรกตจำลอง ประดิษฐานอยู่ บริเวณชั้น 2 นี้ ยังเป็นแหล่งจัดแสดงภาพวาดของพระมหากษัตริย์ ตั้งแต่อดีตจนถึงรัชกาลปัจจุบันและพระบรม วงศานุวงศ์ และยังมีจุดชมวิว ซึ่งเมื่อมองออกไปจะเห็นทะเลเมื่อถึงเวลาน้ำขึ้น จะดูเหมือนอาคารนี้ลอยอยู่ในน้ำเลยทีเดียวชั้นบน
สุดของ“พระธาตุคงคามหาเจดีย์” มีเจดีย์สีเหลืองทองตั้งเด่นอยู่ Read more »

ประวัติวัดอโศการาม

วัดอโศการาม มีที่ตั้ง ประมาณ ๕๓ ไร่ และเป็นที่ที่เมื่อประมาณปี พ.ศ. ๒๔๙๗ – พ.ศ. ๒๔๙๘ เป็นปีที่ท่านพ่อลี เริ่มก่อตั้งสำนักสงฆ์ขึ้นมา เพราะฉะนั้นภิกษุส่วนมากที่อยู่ตามป่าจะอยู่ในการดูแลของท่านพ่อลี และยึดแนววัตรปฏิบัติของท่านพ่อลี นาแม่ขาว เป็นชือตำบลเป็นที่ตั้งของวัดอโศการามปัจจุบัน ตามประวัติที่กล่าวไว้ในหนังสือชีวประวัติ พระสุทธธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลีธมฺมธโร) ความว่า” ที่ตั้งวัดอโศการามปัจจุบันนี้ เดิมเรียกว่า “นาแม่ขาว” เจ้าของที่ดินคือ นางกิมหงษ์ และนายสุเมธ ไกรกาญจน์ ได้ถวายที่ดินให้สร้างวัดเนื้อที่ประมาณ ๕๓ ไร่ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงได้เริ่มตั้งสำนักขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้พระลูกศิษย์ คือพระครูใบฎีกาทัศน์ มาเฝ้าสำนักแทน พร้อมกับลูกศิษย์อีก ๕ รูป รวมมีพระที่สำนักนี้ในครั้งเริ่มตั้ง จำนวน ๖ รูป” เมื่อออกพรรษาและได้จัดงานพระราชทานเพลิงศพสมเด็จฯ เรียบร้อยแล้ว เป็นปี พ.ศ. ๒๔๙๘ ท่านพ่อลี จึงได้ออกไปจำพรรษาที่วัดอโศการาม

ในระหว่างนี้ได้เริ่มคิดดำริจัดงานฉลองสมโภช ๒๕ พุทธศตวรรษ ในปีพ.ศ.๒๕๐๐ การดำริในเรื่องนี้ ท่านได้ดำริมานานปีแล้ว คือเริ่มดำริตั้งแต่ปีที่ได้เดินทาง ออกมาจากดงบ้านผาแด่นแสนกันดาร( เชียงใหม่) วัดอโศการาม ได้รับการพัฒนาสืบเนืองมาโดยลำดับ แม้หลังท่านพ่อลีได้มรณะภาพไปแล้ว ( ปี พ.ศ.๒๕๐๔)ได้มีการขยายพื้นที่ออกไป ทางด้านทิศตะวันออก ซึ่งเป็นสถานที่ตั้งของวิหารสุทธิธรรมรังสีในปัจจุบัน พร้อมกันนั้นก็ได้ทำการสร้างพระธุตังคเจดีย์ ที่ท่านพ่อได้วางแบบเอาไว้ให้สำเร็จลุล่วงไปด้วยดี Read more »

วัดอโศการาม วัดราษฎร์ ,พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร

watasokaram3

วัดอโศการาม ตั้งอยู่ในซอยสุขาภิบาล ๕๘ ถ. สุขุมวิท (กม.๓๑) ต.ท้ายบ้าน อ.เมือง จ. สมุทรปราการ เป็นวัดที่สร้างขึ้นโดย พระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) ศิษย์หลวงปู่มั่น ภูริทตฺโต

ที่ตั้งวัดอโศการามปัจจุบันนี้ เดิมเรียกว่า นาแม่ขาว เจ้าของที่ดินคือ นางกิมหงษ์ และนายสุเมธ ไกรกาญจน์ ได้ถวายที่ดินให้สร้างวัดเนื้อที่ประมาณ ๕๓ ไร่ เมื่อ ปี พ.ศ. ๒๔๙๗ จนกระทั่งปี พ.ศ. ๒๔๙๘ จึงได้เริ่มตั้งสำนักขึ้นเป็นครั้งแรก โดยให้พระลูกศิษย์ คือ พระครูใบฎีกาทัศน์ มาเฝ้าสำนักแทน พร้อมกับลูกศิษย์อีก ๕ รูป รวมมีพระที่สำนักนี้ในครั้งเริ่มตั้งจำนวน ๖ รูป

หมายเหตุ : จากหนังสือชีวประวัติพระสุทธิธรรมรังสีคัมภีรเมธาจารย์ (พระอาจารย์ลี ธมฺมธโร) วัดอโศการาม

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .