วัดหนองหว้า ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา

001

สถานที่ตั้ง : เลขที่ ๑๓๓ หมู่ที่ ๕ ตำบลด่านคล้า อำเภอโนนสูง จังหวัดนครราชสีมา
ทิศเหนือ ติดถนนหมู่ ๖ บ้านหนองหว้า
ทิศใต้ ติดถนนหมู่ ๕ บ้านหนองสะแก
ทิศตะวันออก ติดถนน
ทิศตะวันตก ติดสระน้ำ

พื้นที่ : จำนวน ๓๖ ไร่ ๒ งาน

การสร้างวัด ยุคเริ่มต้น
วัดหนองหว้า เริ่มก่อตั้งเมื่อ พ.ศ.๒๔๔๐ โดย หลวงพ่อคง (ไม่ทราบฉายา) โดยครั้งแรกมีเพียงกุฎีที่สร้างด้วยไม้เพียง ๑ หลัง และมีเจ้าคณะอำเภอโนนสูงในสมัยนั้น (ไม่ปรากฏชื่อ) เป็นผู้ให้ความอุปถัมภ์ฝ่ายสงฆ์ ทางด้านฆราวาสมีผู้นำที่สำคัญ คือ
๑.นายแก้ว (ไม่ทราบนามสกุล)
๒.นายเกิด ไม้กลาง
๓.ขุนเดช ไพวรรณ์
๔.นายป้อม มั่นกลาง
ในปี พ.ศ. ๒๔๔๐ ทางราชการได้รวบรวมท้องที่ตำบลโนนสูง ตำบลใหม่ ตำบลบิง ตำบลจันอัด ตำบลด่านคล้า (เป็นที่ตั้งวัดหนองหว้า) ตำบลโตนด ตำบลขามเฒ่า ตำบลขามสะแกแสง (ปัจจุบันตั้งเป็นอำเภอขามสะแกแสง) ตำบลโนนวัด ตำบลเสลา ตำบลทองหลาง รวม ๑๑ ตำบล ตั้งเป็นอำเภอ เรียกว่า อำเภอกลาง
การที่เรียกชื่ออำเภอนี้ว่าอำเภอกลางนั้น เนื่อง จากตั้งอยู่ระหว่างอำเภอเมืองนครราชสีมา(อำเภอใน) กับอำเภอบัวใหญ่(อำเภอนอก) ส่วนอำเภอคงนั้นเดิมเป็นส่วนหนึ่งของอำเภอบัวใหญ่ ดังนั้น จะเห็นว่าชาวอำเภอโนนสูงหรืออำเภอกลางดั้งเดิมจะใช้ชื่อสกุลลงท้ายด้วย “กลาง” เป็นส่วนใหญ่ ซึ่งเป็นเอกลักษณ์อย่างหนึ่งของชาวโคราชที่ชื่อสกุลจะสามารถบ่งชี้ที่มาของอำเภอได้
เมื่อประมาณปีพ.ศ.๒๔๕๐- ๒๔๕๙ สมัยพระยากำธรพายัพทิศ (ดิษฐ์ โสฬส) เป็นนายอำเภอ ได้พิจารณาเห็นว่าอำเภอตั้งอยู่บริเวณวัดร้างมาก่อน จึงได้เปลี่ยนชื่อให้เหมาะสมกับสภาพของที่ตั้งและใช้ชื่อว่า อำเภอโนนวัด
Read more »

วัดบ้านหนองขอน จ.นครราชสีมา

บ้านหนองขอน มีตำนานเล่าขานว่า ในสมัยตาแนบ ชมจันทึก อพยพถิ่นฐานมาจากจังหวัดสุรินทร์ เข้ามาอาศัยทำมาหากินอยู่ข้าง ๆ บ่อน้ำแห่งนี้ จนมีคนหลายครอบครัวมาอาศัยบุกเบิกทำไร่อยู่ใกล้กัน บ่อน้ำที่ว่ามีขอนไม้ขนาดใหญ่อยู่กลางบ่อน้ำจนคนในละแวกนั้นพากันขนานนามว่า“หนองขอน”

บ้านหนองขอน หมู่ที่ 3 ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา เดิมเป็นตำบลลาดบัวขาว ต่อมาได้แยกการปกครองมาเป็นตำบลคลองไผ่เมื่อปีพ.ศ. 2538 ตามกระทรวงมหาดไทย ลงวันที่ 6 กันยายน 2538 แยกมาจากบ้านหนองบัว หมู่ที่ 3 ตำบลคลองไผ่ อำเภอสีคิ้ว จังหวัดนครราชสีมา ต่อมาในปี พ.ศ. 2512 ได้จัดตั้งเป็นบ้านหนองขอน มีผู้ใหญ่บ้านซึ่งเป็นผู้ก่อตั้งหมู่บ้านคนแรกชื่อนายแป๋ว ต้องกระโทก ผู้ใหญ่บ้านคนปัจจุบันชื่อนายคงคา แก้ววิเศษ

ชาวบ้านหนองขอน มีวิถีชีวิตความเป็นอยู่ที่เรียบง่าย ส่วนใหญ่ประกอบอาชีพด้านเกษตรกรรมและรับจ้าง ภาษาที่ใช้คือภาษากลาง ภาษาโคราช ภาษาอีสาน (ลาว)
ส่วนใหญ่นับถือศาสนาพุทธ มีวัดประจำหมู่บ้าน 1 แห่ง คือ วัดบ้านหนองขอน เป็นสถานที่ใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา ปฏิบัติธรรม และเป็นศูนย์รวมจิตใจของชาวบ้าน ชาวบ้าน
ได้ร่วมกันสืบสานประเพณีอันดีงามของไทย ได้แก่ ประเพณีสงกรานต์ ประเพณีทำบุญเข้าพรรษา ประเพณีทำบุญออกพรรษา ประเพณีลอยกระทง ประเพณีทอดกฐิน และ ตลอดจนวันสำคัญทางพระพุทธศาสนา ได้แก่ วันมาฆบูชา วันวิสาขบูชา วันอาสาฬหบูชา

Read more »

วัดจิราธิวัฒน์ จ.นครราชสีมา

ช่วยทำนุบำรุงพระพุทธศาสนามาให้เจริญรุ่งเรืองมาอย่างต่อเนื่อง เมื่อต้นเดือน เม.ย. ที่ผ่านมา สุทธิเกียรติ จิราธิวัฒน์ ประธานกรรมการโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา ชวนเพื่อน ๆ พี่ ๆ ลูกสาวและลูกชาย ประกอบด้วย จรูญ อินทจาร ตุลาการศาลรัฐธรรมนูญ, คุณหญิงสุจิตรา มงคลกิติ, นพ.ฟิลิปดา พลางกูร, มุกดา เมื้อวัฒนะสกุล, รัตนา นรพัลลภ, ธีระยุทธ จิราธิวัฒน์ ซีอีโอโรงแรมและรีสอร์ทในเครือเซ็นทารา, ธีระเกียรติ–ภาณุมาศ จิราธิวัฒน์, สมกมล เวชชาชีวะ และ ภัสสรกรณ์ จิราธิวัฒน์ พร้อมด้วยหลาน ๆ อติภา-อิทธิวัฒน์-สุพิชชา จิราธิวัฒน์ ทำบุญใหญ่ต้อนรับปีงูเล็กด้วยการวางศิลาฤกษ์พระอุโบสถวัดจิราธิวัฒน์ เขตเทศบาล ต.เมืองใหม่โคกกรวด อ.เมือง จ.นครราชสีมา

วัดจิราธิวัฒน์เดิมเป็นวัดร้างไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา มีชื่อว่า “วังโป่งแมลงวัน” เมื่อประมาณ 10 ปีที่ผ่านมา วันชัย จิราธิวัฒน์ ได้ไปพบวัดนี้และได้มีการบูรณะพร้อมกับโรงเรียน โดยมีการสร้างศาลาการเปรียญร่วมกับชาวบ้าน และในเวลาต่อมา เซ็นทรัล กรุ๊ป ได้เข้ามาบูรณะในส่วนอื่น ๆ อีก และได้เปลี่ยนชื่อเป็นวัดจิราธิวัฒน์ กระทั่งมีพระสงฆ์มาจำพรรษา แต่ยังขาดพระอุโบสถเพื่อประกอบพิธีทางพระพุทธศาสนา เจ้าสัวสุทธิเกียรติจึงเข้ามาดำเนินการต่อในการหาทุนสร้างพระอุโบสถ และเห็นว่าไม่จำเป็นต้องเป็นพระอุโบสถที่ใหญ่โตมาก จึงน้อมนำพระราชดำรัสในพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ในเรื่องความพอเพียง เป็นแนวทางสร้างพระอุโบสถและตกลงสร้างพระอุโบสถวัดจิราธิวัฒน์รูปแบบเดียวกับวัดพระราม 9 กาญจนาภิเษก ซึ่งได้มีการดำเนินการขอแบบจากมูลนิธิชัยพัฒนา

Read more »

วัดตะพานหิน

300px-Wat_Taphan_Hin

วัดตะพานหิน หรือ วัดสะพานหิน ตั้งอยู่นอกเขตกำแพงเมืองเก่าสุโขทัยทางทิศตะวันตก โดยอยู่ในเขตอรัญวาสี หรือวัดป่า วัดนี้ตั้งอยู่บนเนินเขาสูงประมาณ 200 เมตร บริเวณทางเดินขึ้นโบราณสถานมีทางเดินปูลาดด้วยหินชนวนจากตีนเขาขึ้นไปเป็นระยะทาง 300 เมตร สิ่งสำคัญภายในวัด ได้แก่ พระประธานเป็นพระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ เป็นที่ประดิษฐานพระปางประทานอภัย สูง 12.50 เมตร เรียกว่า พระอัฏฐารส

สถาปัตยกรรม
บนลานวัดมีเจดีย์ทรงยอดดอกบัวตูมขนาดไม่สูงมากนัก มีวิหารก่อด้วยอิฐ เสาก่อด้วยศิลาแลง ภายในเป็นที่ประดิษฐานพระพุทธรูปปางประทานอภัย ซึ่งมีความสูงสง่าเช่นเดียวกับพระพุทธรูปในเขตเมืองอย่างที่วัดมหาธาตุ โดยมีชื่อเรียกว่า พระอัฏฐารส โดยที่อาณาจักรสุโขทัยนั้น ได้รับแรงบันดาลใจในการสร้างสรรค์งานพุทธศิลป์จากความศรัทธาในพระพุทธศาสนาที่ได้รับมาจากประเทศศรีลังกา กล่าวคือในประเทศศรีลังกาตั้งแต่ช่วงปลายสมัยอนุราธปุระ และในสมัยโปลนนาลุวะ นั้น มีความนิยมในการสร้างวิหารเพื่อประดิษฐานพระพุทธรูปยืนที่มีความสูงเช่นนี้ด้วย ตัวอย่างที่กล่าวได้ว่าเป็นต้นแบบให้กับพระอัฏฐารสในสุโขทัย คือ พระอัฏฐารสในวิหารลังกาดิลก

สำหรับพระอัฏฐารสที่วัดสะพานหินเป็นพระพุทธรูปปางประทานอภัยสร้างตามคติของลังกาที่ว่า พระพุทธเจ้ามีความสูงเท่ากับ 18 ศอก โดยสร้างเป็นพระพุทธรูปยกพระหัตถ์ข้างใดข้างหนึ่งขึ้น หันฝ่าพระหัตถ์ออก ปลายนิ้วพระหัตถ์ตั้งขึ้นเรียกว่าการแสดงปางประทานอภัย

Read more »

คป.นครราชสีมา ร่วมกับวัดอิสาน จัดปัจฉิมโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ)

anigif27082013

คป.นครราชสีมา ร่วมกับวัดอิสาน จัดปัจฉิมโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ)
วันอังคารที่ ๒๗ สิงหาคม เวลา ๑๐.๐๐ นาฬิกา ว่าที่ ร.ต.นิรันดร์ ดุจจานุทัศน์ นายอำเภอเมืองนครราชสีมาได้ให้เกียรติเป็นประธานฝ่ายฆราวาส ในพิธีปัจฉิมโครงการฟื้นฟูสมรรถภาพผู้ติดยาเสพติดในระบบบังคับบำบัดโดยวัด (วิถีพุทธ) โดยมี พระครูศรีปริยัติกิจเจ้าอาวาสวัดอิสานเป็นประธานคณะสงฆ์ นางเสาวนีย์ สิมรีวงษ์ ผู้อำนวยการสำนักงานคุมประพฤติจังหวัดนครราชสีมาพร้อมด้วยพนักงานคุมประพฤติ นายปฏิญญา แกะกระโทก นายวิรัติ วัฒนพิทักษ์ นายโรจนัสถ์ เพ็ชรดี นางณภัทร สอนศีลพงษ์ ในงานมีผู้นำชุมชนประกอบด้วย นายเงี้ยว ดอนสันเที๊ยะ รองนายก อบต.หนองไทร ข้าราชการ พนักงาน อบต.มาบกราบ นายธีระศักดิ์ ศรีอภัย กำนันตำบลหนองไทร พร้อมกับ ผู้ใหญ่บ้านหมู่๘ ชาวบ้านตำบลหนองไทร และหมู่บ้านใกล้เคียงเข้าร่วม จำนวนมาก พิธีปัจฉิมนิเทศน์แด่ผู้เข้าร่วมโครงการฯซึ่งจะลาสึกขาเมื่อสิ้นกำหนดอีกสองวัน( ๒๙ สิงหาคม ) พิธีการหลังจากประธานฝ่ายสงฆ์รับมอบใบประกาศจากฝ่ายฆราวาสแล้ว มีการปลูกต้นไม้๑๐๐ ต้น การนำชมกิจกรรม”นวกรรม(ทำตัวหนอน) การร่วมกันตักบาตรถวายเพลแด่พระสงฆ์๒๗รูป ณ ศูนย์ปฏิบัติธรรมเทียนถวาย บ้านหนองแดง หมู่ ๓ ตำบลหนองไทร อำเภอด่านขุนทด จังหวัดนครราชสีมา

ขอขอบคุณhttp://202.143.165.166/

ประวัติวัดอิสาน

1index_r4_c1

วัดอิสาน สังกัดมหานิกาย พื้นที่ ๑๑ ไร่ ๔๔ ตาราง โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๘ ถนนกุดั่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2220 โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โดยพระยายมราช หรือ สังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างผังเมืองเสร็จ จึงโปรดเกล้าให้ประชาชน และคฤหบดีและขุนนาง สร้างวัด 6 วัด คือ วัดพระนารายณ์มหาราช(วัดกลาง) วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดพายัพ วัดบึง และวัดสระแก้ว

ภายในอุโบสถมีพระประธานมี นามว่า พระศรีรัตนปาติการส แปลว่า “พระแก้วมงคล ผู้ให้ความปรารถนาสำเร็จยิ่งกว่าปรารถนา” สภาพที่สมบูรณ์ คงเอกลักษณ์ศิลปะสมัยเชียงแสน สร้างในสมัยอยุธยา พระวรกายบอบบาง พระนลาฏกว้าง มีไรพระศก เส้นพระศกขมวดก้นหอยเล็กถี่ พระขนงเกือบเป็นเส้นตรง พระโอษฐ์กว้าง สังฆาฏิปลายตัด หรือแซงแซว พระหัตถ์และนิ้วพระหัตถ์ตรงไม่เรียว นั่งสมาธิราบบนพื้นฐานแอ่น

Read more »

“ผู้ว่าฯ พาเยี่ยมวัด” วันพระนี้ ที่วัด อิสาน อำเมืองนครราชสีมา

wat5

รองฯ ผวจ.นม. นำข้าราชการ ประชาชน เข้าวัดทำบุญตามโครงการ “ผู้ว่าฯ พาเยี่ยมวัด” วันพระนี้ ที่วัด อิสาน อำเมืองนครราชสีมา

ประชาสัมพันธ์จังหวัดนครราชสีมา รายงานว่า ตามที่ ดร.วินัย บัวประดิษฐ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดนครราชสีมา ให้ความสำคัญกับพระพุทธศาสนา ไม่ว่าจะเป็นการสวดมนต์เต็มรูปแบบในการประชุมหัวหน้าส่วนราชการ การสวดมนต์ข้ามเดือนทุกเดือนแล้ว ยังจัดทำโครงการ “ผู้ว่าฯ พาเยี่ยมวัด จังหวัดนครคราชสีมา” ในทุกวันพระ ด้วยนั้น

wat4

Read more »

วัดเก่าแก่โคราช … วัดอิสาน

DSCN4027

เมืองโคราช เป็นเมืองที่สร้างขึ้นในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เพื่อเป็นเมืองหน้าด่าน

โดยพระยายมราช หรือ พระยาสังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวผรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างเมืองเสร็จแล้ว

จึงโปรดเกล้าให้ประชาชน คฤหบดี และขุนนาง สร้างวัด 6 วัด ซึ่งตอนนี้ในเขตกำแพงเมืองเก่าก็มีแค่หกวัดนี้ คือ

วัดกลาง หรือกลางเมือง คือวัดพระนารายณ์มหาราช

วัดพายัพ วัดอิสาน วัดบูรพ์ ( หรือบูรพา ) วัดสระแก้ว และวัดบึง

วัดกลาง วัดบึง วัดสระแก้ว นั้น กลุ่มขุนนางเป็นผู้สร้าง ซึ่งงานทางด้านสถาปัตยกรรมจะมีความประณีตอ่อนช้อยงดงามมาก

วัดอิสาน วัดบูรพ์ วัดพายัพ นั้นเป็นวัดที่ คฤหบดี และประชาชนเป็นผู้สร้าง โดยจะเห็นว่าความงดงามประณีตไม่ค่อยมี

อุโบสถเป็นศิลปแบบอยุธยา คือแอ่นเป็นรูปเรือสำเภา เป็นอุโบสถเก่าแก่ที่ได้รับพระราชทานวิสุงคามสีมา ( … ถือว่าที่ดินของทั้งประเทศเป็นของพระเจ้าแผ่นดิน แล้วพระเจ้าแผ่นดินจะพระราชทานที่ดินให้เป็นวัด … ) เมื่อวันที่ 15 มีนาคม พ.ศ. 2240

Read more »

วัดอิสาน

ประวัติวัดอิสาน

วัดอิสาน ตั้งอยู่ที่ ถนนกุดั่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา สังกัดมหานิกาย พื้นที่ ๑๑ ไร่ ๔๔ ตาราง โฉนดที่ดินเลขที่ ๔๘

อาณาเขตทิศเหนือ ติดถนนพลแสน
อาณาเขตทิศใต้ ติดซอยสาธารณประโยชน์และที่เอกชน ประตูวัดติดถนนยมราช
อาณาเขตทิศตะวันออก ติดถนนกุดั่น
อาณาเขตทิศตะวันตก ติดทางสาธารณะ

วัดอิสาน ตั้งเมื่อ พ.ศ. ๒๒๒๐ โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช โปรดเกล้าให้สร้างหัวเมืองนครราชสีมา โดยพระยายมราช หรือ พระยาสังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวผรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างผังเมืองเสร็จแล้ว จึงโปรดเกล้าให้ประชาชน คฤหบดี และขุนนาง สร้างวัด ๖ วัด คือ
๑.วัดพระนารายณ์มหาราช (วัดกลาง)
๒.วัดบูรพ์
๓.วัดอิสาน
๔.วัดพายัพ
๕.วัดบึง
๖.วัดสระแก้ว

Read more »

วัดอิสาน…นครราชสีมา

0105290001342510115

วัดอิสาน เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดพระนารายณ์(วัดกลาง) ตั้งอยู่ที่ ถนนกุดั่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2220 โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
โดยพระยายมราช หรือ สังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างผังเมืองเสร็จ จึงโปรดเกล้าให้ประชาชน และคฤหบดีและขุนนาง สร้างวัด 6 วัด
คือ วัดพระนารายณ์มหาราช(วัดกลาง) วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดพายัพ วัดบึง และวัดสระแก้ว เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิดใจประชาชน เพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนา
ตามที่เล่าสู่กันมาว่า วัดพระนารายณ์มหาราช วัดบึง วัดสระแก้ว เป็นวัดที่ขุนนางเป็นผู้สร้าง โดยจากคำพูดของคนรุ่นเก่าว่า วัดบึง ขุนนาง หรือสถาปัตยกรรมไม้แกะสลักที่มีความประณีตอ่อนช้อย งดงามมาก
วัดอิสาน วัดบูรพ์ วัดพายัพ เป็นวัดที่คฤหบดี และประชาชนเป็นผู้สร้าง โดยเห็นความงดงามประณีตไม่ค่อยมี แต่ทางด้านจิตใจก็คงเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่สร้างความภาคภูมิใจแก่อนุชนคน รุ่นหลังเป็นอย่างมาก
ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูป ปูชนียวัตถุที่ชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันสร้าง นับว่าเป็นของล้ำค่า โดยเฉพาะ พระศรีรัตนปาติการส แปลว่า “พระแก้วมงคลผู้ให้ความปรารถนาสำเร็จยิ่งกว่าปรารถนา”
Read more »

วัดอิสาน

2010_11_05_125425_ceibqhu0

วัดอิสาน เป็นวัดที่ตั้งอยู่ทางทิศตะวันออกเฉียงเหนือของวัดพระนารายณ์(วัดกลาง) ตั้งอยู่ที่ ถนนกุดั่น ตำบลในเมือง อำเภอเมือง จังหวัดนครราชสีมา ตั้งขึ้นเมื่อ ปี พ.ศ. 2220 โดยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
โดยพระยายมราช หรือ สังข์ เป็นผู้สร้างโดยมีช่างชาวฝรั่งเศสเป็นผู้ช่วยออกแบบผังเมือง เมื่อสร้างผังเมืองเสร็จ จึงโปรดเกล้าให้ประชาชน และคฤหบดีและขุนนาง สร้างวัด 6 วัด
คือ วัดพระนารายณ์มหาราช(วัดกลาง) วัดบูรพ์ วัดอิสาน วัดพายัพ วัดบึง และวัดสระแก้ว เพื่อเป็นเครื่องยึดเหนี่ยวจิดใจประชาชน เพื่อเชิดชูพระพุทธศาสนา
ตามที่เล่าสู่กันมาว่า วัดพระนารายณ์มหาราช วัดบึง วัดสระแก้ว เป็นวัดที่ขุนนางเป็นผู้สร้าง โดยจากคำพูดของคนรุ่นเก่าว่า วัดบึง ขุนนาง หรือสถาปัตยกรรมไม้แกะสลักที่มีความประณีตอ่อนช้อย งดงามมาก
วัดอิสาน วัดบูรพ์ วัดพายัพ เป็นวัดที่คฤหบดี และประชาชนเป็นผู้สร้าง โดยเห็นความงดงามประณีตไม่ค่อยมี แต่ทางด้านจิตใจก็คงเป็นวัดประวัติศาสตร์ที่สร้างความภาคภูมิใจแก่อนุชนคน รุ่นหลังเป็นอย่างมาก
ภายในอุโบสถมีพระพุทธรูป ปูชนียวัตถุที่ชาวนครราชสีมาได้ร่วมกันสร้าง นับว่าเป็นของล้ำค่า โดยเฉพาะ พระศรีรัตนปาติการส แปลว่า “พระแก้วมงคลผู้ให้ความปรารถนาสำเร็จยิ่งกว่าปรารถนา”
Read more »

วัดศาลาทอง

20111120_3_1321766789_540108

ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 1 กิโลเมตร เป็นวัดธรรมยุติ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางป่าเลไลยก์ ทำจากหินประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาจึงได้สร้างพระอุโบสถครอบไว้ ในวัดนี้มีเจดีย์ใหญ่สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงตุง ทุก ๆ ปีในเทศกาลตรุษสงกรานต์จะมีพิธีสักการะพระพุทธรูปเป็นประจำ ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 1 กิโลเมตร เป็นวัดธรรมยุติ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางป่าเลไลยก์ ทำจากหินประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาจึงได้สร้างพระอุโบสถครอบไว้ ในวัดนี้มีเจดีย์ใหญ่สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงตุง ทุก ๆ ปีในเทศกาลตรุษสงกรานต์จะมีพิธีสักการะพระพุทธรูปเป็นประจำ

ขอขอบคุณhttp://www.painaidii.com/

วัดศาลาทอง อ. เมือง จ. นครราชสีมา

รายละเอียด
วัดศาลาทอง ตั้งอยู่ที่ตำบลหัวทะเล ห่างจากตัวเมืองไปทางทิศตะวันออกเฉียงใต้ราว 1 กิโลเมตร เป็นวัดธรรมยุติ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางป่าเลไลยก์ ทำจากหินประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาจึงได้สร้างพระอุโบสถครอบไว้ ในวัดนี้มีเจดีย์ใหญ่สร้างครอบเจดีย์องค์เดิมที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งอัญเชิญมาจากเชียงตุง

ขอขอบคุณ http://www.tour.co.th/

วัดศาลาทอง

sala

วัดศาลาทอง ตั้งอยู่เลขที่ 12 ถ.เบญจรงค์ ต.ในเมือง อำเภอเมืองนครราชสีมา จังหวัดนครราชสีมา ตั้งอยู่ทางทิศใต้ของตัวเมืองนครราชสีมา มีเนื้อที่ประมาณ 50 ไร่เศษ เดิมบริเวณวัดเป็นป่าทึบ และมีพระพุทธรูปนั่งองค์ใหญ่ ปางป่าเลไลยก์ ทำจากหินประดิษฐานอยู่กลางแจ้ง ต่อมาจึงได้สร้างพระอุโบสถครอบไว้ วัดศาลาทองเป็นวัดเก่าแก่ตั้งแต่สมัยขอมยังเรืองอำนาจ ปกครองแผ่นดิน วัดแห่งนี้ครั้นเมื่อสมัยขอมยังปกครองอยู่มีชื่อว่า “วัดป่าเลไลย์”ต่อมาเปลี่ยนมาเป็น”วัดป่าเลไลย์ทอง”และเมื่อครั้งแผ่นดินสมเด็จพระนารายณ์มหาราชทรงปกครองแผ่นดินสยาม โปรดให้สร้างเมือง”โคราฆปุระ”หรือเมืองโคราช จ.นครราชสีมาในปัจจุบัน จึงเปลี่ยนชื่อเป็น”วัดศาลาทอง”จวบจนปัจจุบัน

สิ่งที่น่าสนใจภายในวัด
1.พระอุโบสถทรงจตุรมุข หรือมีหน้าบัน 4 ด้าน อย่างพระปรางค์ปราสาทหินพิมาย ปราสาทหินพนมรุ้งถ้าตัดมุขทั้ง 4 ด้านออก ซึ่งจะไม่เหมือนรูปอุโบสถอย่างไทยนิยมในปัจจุบัน ซึ่งส่วนใหญ่สร้างเป็นรูปสี่เหลี่ยมมีหลังคาลาดชัน ได้รับการบูรณปฏิสังขรณ์ เมื่อปีพุทธศักราช 2481 และสร้างพระอุโบสถหลังใหม่แทนหลังเก่าที่เป็นไม้ ที่มีความทรุดโทรมไปตามกาลเวลา ตั้งแต่สมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช เป็นลักษณะเดิมแต่เป็นคอนกรีตทั้งหลัง เพื่อคงรักษาลักษณะเด่นทางสถาปัตยกรรมอย่างขอมโบราณ ผู้ออกแบบพระอุโบสถคือ พระครูปลัดสัมพิพัฒน์วิริยาจารย์ (พระมหาสุทัศน์ สุทสสโน ป.ธ.6)ได้ป็นผู้ควบคุมการก่อสร้าง นำพระภิกษุสามเณรและพุทธศาสนิกชนร่วมกันก่อสร้างจนสำเร็จสมบูรณ์ เมื่อพุทธศักราช 2483

Read more »

ทำพิธีสวดส่งวิยาณเด็กที่ตายจากการทำแท้ง วัดศาลาทอง จ.นครราชศรีมา

tt3

เมื่อวันที่ 24 ก.ย. ผู้สื่อข่าวรายงานว่าที่วัดศาลาทอง ต.ในเมือง อ.เมือง จ.นครราชสีมา ทางวัดโดยพระครูสิริเจติยาภิบาล เจ้าอาวาสวัดศาลาทอง ได้จัดให้มีการประกอบพิธีทำบุญทักษิณานุปทาน ให้เด็กที่เสียชีวิตจากการคลอดก่อนกำหนดหรือแท้งในทุกกรณีหรือทำบุญแท้ง

โดยพิธีเปิดโอกาสให้บรรดาผู้ที่เคยคลอดก่อนกำหนดหรือทำแท้ง ไม่ว่าจะด้วยกรณีใดๆก็ตาม รวมถึงหมอ พยาบาล สามี รวมถึงญาติพี่น้อง ได้ร่วมกับบำเพ็ญกุศล เพื่ออุทิศให้เด็กที่เสียชีวิตจากการแท้ง ไม่ว่าจะด้วยตั้งใจหรือไม่ก็ตาม โดยภายงานได้จัดให้มีพิธีถวายผ้าไตรจีวร ถวายมหาสังฆทานเด็ก สร้างพระพุทธรูป ไหว้พระสวดมนต์ นั่งสมาธิ แผ่เมตตา ให้กับเด็กที่เสียชีวิต

นอกจากนี้ยังมีการนมัสการพระสงฆ์จำนวน 9 รูป สวดมาติกา บังสุกุล ส่งดวงวิญญาณ และเปิดโอกาสให้ผู้ที่แท้งเด็กหรือผู้ที่มีส่วนเกี่ยวข้องเขียนใบขออโหสิกรรมลงในโลงศพก่อนจะทำการเผาตามพิธีกรรมทางพระพุทธศาสนา ซึ่งการจัดงานทำบุญแท้งในครั้งนี้ ถือเป็นการจัดงานครั้งแรกในจังหวัดนครราชสีมา โดยมีประชาชนจากทั่วทุกสารทิศทั้งในจังหวัดนครราชสีมาและจังหวัดใกล้เคียงเข้าร่วมงานกว่า 1,000 คน

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .