วัดพระธาตุผาแก้ว

phasornkaew07

วัดพระธาตุผาแก้ว เดิมชื่อว่า พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว ตั้งอยู่ ณ บริเวณเนินเขาในหมู่บ้านทางแดง ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ โดยคุณภาวิณี โชติกุลและคุณ อุไร โชติกุล ได้มีติตศรัททธาซื้อที่ดินถวาย เพื่อก่อสร้างเป็นสถานปฏิบัติธรรมแก่พระสงฆ์และพุทธศาสนิกชนทั่วไปซึ่งนอกจากจะเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรม แล้วยังเป็นสถานที่ท่องเที่ยวที่น่าสนใจอีกแห่งหนึ่งของจังหวัดเพชรบูรณ์ เมื่อได้เดินชมรอบๆวัดจะให้บรรยากาศ ดุจสรวงสวรรค์เนื่องจากตั้งอยู่ท่ามกลางธรรมชาติที่โอบล้อมไปด้วย­ภูเขาสูงใหญ่ซ้อนกันเป็นทิวเขา เรียงราย สูงตระหง่าน บนยอดเขานั้นมีถ้ำอยู่ปลายยอดเขาซึ่งมีชาวบ้านทางแดงหลายคนได้เห็นลูกแก้วลอนอยู่เหนือฟากฟ้าแล้วลับ หายเข้าไปในถ้าบนยอดผา ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุดเสด็จมาและต่างถือว่าเป็นสถานที่มงคลมีความ ศักดิ์สิทธิ์และเรียกตามๆกันว่า ผาซ่อนแก้ว และพุทธสถานที่มาตั้วในจุดโอบล้อมด้วยทิวเขาดังกล่าว จึงเรียกว่า พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว ซึ่งเป็นนิมิตมงคลแก่ชาวบ้านทางแดงและผู้มาปฏิบัติธรรม
สถานที่สำคัญภายในวัด
1.เจดียฺพระธาตุผาแก้ว
วัตถุประสงค์การสร้างเจดีย์ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศล ในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ทรงครอง ราชย์ครบ 60 ปี และเป็นที่สืบพระศาสนา ให้ดำรงอยู่คู่แผ่นดินไทย เพื่อประโยชน์แก่มนุษยชาติ และคนรุ่นหลัง ได้มีโอกาสเรียนรู้ต่อไปบนยอดเจดีย์จะบรรจุพระบรมสารีริกธาตุ ซึ่งได้รับประทานม จากสมเด็จพระญาณสังวร สมเด็จพระสังฆราชสกลมหาสังฆปริณายก และ บริเวณใต้ฐานพระเจดีย์จะใช้เป็นที่เก็บรวบรวมหลักธรรมคำสอน, ภาพปริศนาธรรม และเป็นที่เจริญสติภาวนา สำหรับพุทธศาสนิกชนทั่วไป เจดีย์วัดพระธาตุผาแก้วอันงดงาม

Read more »

วัดพระธาตุผาแก้ว จ เพชรบูรณ์

วัดพระธาตุผาแก้ว ศาสนสถานที่สร้างขึ้นท่ามกลางธรรมชาติและบรรยากาศที่เงียบสงบ เทือกเขาสลับซับซ้อนโดยรอบมีพระเจดีย์ที่งดงามโดดเด่นเป็นสง่าอยู่บนยอดเขา คือ เจดีย์พระธาตุผาซ่อนแก้ว สิริราชย์ธรรมนฤมิต เจดีย์ที่ตกแต่งอย่างสวยงามด้วยกระเบื้องหลากหลายสี เครื่องประดับ พลอย สร้อย กำไล ถ้วยชามเครื่องเบญจรงค์ เป็นต้น นำมาตกแต่งทีละชิ้นๆ จนทั่วองค์พระเจดีย์ รอบๆ องค์พระเจดีย์แบ่งเป็นสถานที่พักของนักปฏิบัติธรรม และเขตสังฆาวาส แยกเป็นสัดส่วน ที่สะดุดตากว่าสถานที่ปฏิบัติธรรมแห่งอื่นๆ อยู่ที่การสร้างกุฎิ อาคารที่พักของนักปฏิบัติธรรมอย่างสวยงาม กลมกลืนกับธรรมชาติ ด้วยยึดหลักที่ว่า หากได้อยู่ในสถานที่สงบสวยงาม จิดใจก็จะสงบได้โดยง่าย

ประวัติความเป็นมา

วัดพระธาตุผาแก้ว เดิมชื่อพุทธธรรมสถานพระธาตุผาซ่อนแก้ว เป็นสถานที่ปฎิบัติธรรมซึ่งมีทิวทัศน์สวยงามรอบด้านมองเห็นผาซ่อนแก้วและทิวเขาสลับซับซ้อน มีศาลาปฎิบัติธรรมประดิษฐานพระพุทธรูปหยกงดงามภายในตกแต่งด้วยภาพวาดศิลปะสวยงามแปลกตา ตั้งอยู่ ณ บริเวณเนินเขาในหมู่บ้านทางแดง ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ ซึ่งได้เริ่มก่อสร้างในราวปลายปี 2547 โดย คุณภาวิณี และ คุณอุไร โชติกูล ได้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินถวายเริ่มแรกจำนวน 25 ไร่ เพื่อก่อสร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมแก่พระสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ปัจจุบันมีผู้ร่วมถวายปัจจัยซื้อที่ดินเพิ่มรวมทั้งสิ้นมีที่ดินรวม 91 ไร่

สถานที่อันเป็นธรรมภูมิที่งดงาม ซึ่งเรียกว่าผาซ่อนแก้วนี้ มีธรรมชาติเป็นภูเขาที่สูงใหญ่ ซ้อนกันเป็นทิวเขาเรียงรายโอบรอบบริเวณศาลาปฏิบัติธรรม และบนยอดเขาสูงตระหง่านนั้น มีถ้ำอยู่บนปลายยอดเขา ซึ่งมีชาวบ้านทางแดงหลายคน ได้เห็นลูกแก้วลอยเหนือฟากฟ้า และลับหายเข้าไปในถ้ำบนยอดผา ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา และต่างถือว่าเป็นสถานที่มงคล มีความศักดิ์สิทธิ์และเรียกตามๆ กันว่า “ผาซ่อนแก้ว” และพุทธสถานที่มาตั้งในจุดที่โอบล้อมด้วยทิวเขาดังกล่าว จึงเรียกว่า “พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว” เพื่อเป็นนิมิตมงคลแก่ชาวบ้านทางแดง และผู้มาปฏิบัติธรรมสืบไป

Read more »

วัดพระธาตุผาแก้ว

phakaew09

วัดพระธาตุผาแก้ว หรือชื่อเดิมว่า วัดผาซ่อนแก้ว ตั้งอยู่บนยอดเนินเขาลูกหนึ่ง บนเชิงหน้าผาของภูเขาที่มีชื่อว่า “ผาซ่อนแก้ว” ที่มีภูมิทัศน์สวยงาม เงียบสงบ และโดดเด่นมากที่สุดบนถนนสาย 12 พิษณุโลก-หล่มสัก ความโดดเด่นสวยงามนี้ยังถูกเสริมเติมแต่งให้วิจิตรงดงามมากขึ้น ด้วยองค์พระเจดีย์สูงสง่า ที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุไว้ภายใน

พระ ธาตุเจดีย์ อยู่ระหว่างการก่อสร้าง ยังไม่แล้วเสร็จสมบูรณ์ แต่ก็ดึงดูดนักท่องเที่ยว ให้มาชมกันได้ไม่ขาดสาย ขณะที่ทางวัดเอง ก็ได้รับความสนใจจากญาติโยม เข้ามาพักเพื่อปฏิบัติธรรม วิปัสสนากันจำนวนมาก จึงกลายเป็นแหล่งศึกษาทั้งทางโลกและทางธรรม ที่มีจุดดึงดูดแรงกล้า น่าสนใจมากที่สุด

เจดีย์พระธาตุผาแก้ว มีรูปทรงวิจิตรงดงามด้วยการออกแบบ และการเอาใจใส่ในรายละเอียดทุกกระเบียดนิ้ว รูปร่างขององค์เจดีย์ สร้างเลียนแบบดอกบัวที่ซ้อนกัน 7 ชั้น เพื่อถวายแด่องค์พระพุทธเจ้า สีสันที่สดใสของเจดีย์ เกิดจากการนำกระเบื้องสี ถ้วยชามเบญจรงค์ มุก ลูกปัด แก้ว แหวน เงินทอง สิ่งมีค่าต่างๆ ตลอดจนเซรามิคหลากสีสัน มาประดับประดาตกแต่ง เป็นลวดลายที่สวยงาม

หาก ได้เดินเข้าไปชม ใกล้ๆ ก็จะพบสีสัน และลวดลาย ที่มีรายละเอียดน่าอัศจรรย์ใจ จากวัสดุที่นำมาประกอบกัน จนเป็นเจดีย์องค์ใหญ่ เราสามารถเรียนรู้สิ่งต่างๆ มากมาย จากลวดลายในที่ประกอบกัน อาจเป็นหลักธรรม คำสอน อนิจจัง ความเป็นไปของโลก หรืออะไรก็แล้วแต่ที่แอบแฝงอยู่ในงานศิลปกรรม ประติมากรรม ที่อยู่เบื้องหน้า สุดแท้แต่ว่าจะตีความกันอย่างไร เอกสิทธิ์มุมมองของแต่ละบุคคลเป็นอย่างไร

ถัดจากพระธาตุเจดีย์ ก็สามารถเดินชมบริเวณรอบๆ ทางด้านหลังเขาเงียบสงบ สวยงาม เป็นที่ตั้งของ บ้านพักผู้มาปฏิบัติธรรม และกำลังก่อสร้างพระอุโบสถหลังใหญ่ นอกจากนี้มี ศาลาปฏิบัติธรรมรูปทรงสี่เหลี่ยมจตุรัสโปร่ง มีชานระเบียงยื่นลงไปทางหุบเขาเบื้องล่าง ท่ามกลางทุ่งหญ้า และเนินเขา มองเห็นทัศนียภาพสวยงามกว้างไกล วันฟ้าใสๆ ก็เห็นไปไกลถึงภูทับเบิก แต่ในวันที่ฟ้ามีแต่หมอก แม้ระยะ 1 เมตรข้างหน้า ยังมองได้ไม่ชัดเจน เพราะขาวโพลนไปด้วยหมอก

Read more »

ระเบียบการใช้อาคารสถานที่–วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว

houses_72

•ห้องพักแยกหญิง ชาย ชัดเจนตามที่ได้รับแจ้ง ไม่ควรย้ายที่พักเองโดยไม่ได้รับอนุญาต
•ช่วยกันประหยัดน้ำและไฟเสมอ
•การใช้ห้องน้ำ กรุณาคว่ำขันน้ำ ปิดฝาชักโครก ปิดฝาถังน้ำเสมอ เพื่อป้องกันแมลงตกลงไป
•ไม่เสพสิ่งเสพติดทุกชนิด รวมทั้งบุหรี่ และสุรา ในวัด
•ก่อนออกจากที่พักทุกครั้ง ควรปิดไฟ เพื่อป้องกันแมลงมาเล่นไฟ รวมทั้งปิดหน้าต่าง และกระจกทุกบาน โดยเฉพาะในช่วงหน้าฝน พายุแรงกระจกอาจกระแทกกัน สร้างความเสียหายได้
•ไม่ควรเก็บของมีค่าในที่พัก
•ห้ามตากผ้าทุกชนิดนอกห้องพัก
•เพื่อป้องกันมด ห้ามนำอาหารไปรับประทานในห้องพัก
•การเบิกอุปกรณ์เครื่องนอนต่างๆ เช่น เสื่อ หมอน ผ้าห่ม ทุกครั้งให้ลงบันทึก และก่อนกลับต้องเก็บเครื่องนอนที่เบิกมาไปไว้ที่เดิม เพื่อไม่ให้เป็นภาระต่อทางวัดหรือ เป็นหนี้สงฆ์ต่อไป
•ก่อนกลับ กรุณาทำความสะอาดที่พัก ปัดกวาด เช็ดถู ล้างห้องน้ำ ปิดประตูหน้าต่างให้เรียบร้อย
•หากมีสิ่งใดชำรุด กรุณาแจ้งผู้ให้บริการ เพื่อประสานงานต่อไป
•เนื่องจากวัดเป็นสถานที่สำหรับปฏิบัติธรรม จึงของดเว้นการเลี้ยงอาหารตอนเย็น (สำหรับผู้มาถือศีลภาวนา)

ขอขอบคุณ http://www.phasornkaew.org

ข้อแนะนำในการเข้าพักปฏิบัติธรรมภาวนา–วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว

1.การแต่งกาย
เพื่อแสดงความเคารพต่อพระบรมสารีริกธาตุ สถานที่ และครูบาอาจารย์ โปรดแต่งกายสุภาพเรียบร้อย สีสันไม่ฉูดฉาดจนเกินไป ไม่ยั่วกิเลสของตนเองและผู้อื่น ผู้ชาย และผู้หญิงไม่ควรใส่กางเกงขาสั้น ผู้หญิงไม่ควรใส่กระโปรงเหนือเข่า ถ้าเป็นไปได้ ผู้ปฎิบัติธรรมควรใส่ชุดขาว – ดำ เพื่อการแยกแยะได้สะดวก
2.สิ่งของจำเป็นที่ควรมี นอกจากเสื้อผ้าและของใช้ส่วนตัวแล้ว ควรจัดเตรียมสิ่งของจำเป็นดังต่อไปนี้
2.1 ไฟฉาย สำหรับใช้ส่องทางเดินไปยังศาลาปฏิบัติธรรม เพื่อร่วมทำวัตรช่วงเช้ามืด และช่วงเย็น
2.2 รองเท้า ควรสวมรองเท้าที่สะดวกต่อการเดินขึ้น-ลง ในพื้นที่ลาดชัน ต่างระดับ สามารถเกาะพื้นผิวได้ดี โดยไม่ทำให้หกล้มหรือลื่นได้ ง่าย
2.3 ยาประจำตัว หากมีโรคประจำตัว ควรแจ้งญาติธรรมที่ไปด้วยกันให้รับทราบ ในกรณีฉุกเฉิน
2.4 สิ่งที่ควรเตรียมไปเฉพาะฤดูกาล เช่น ในช่วงหน้าร้อน แดดจัด ควรเตรียมหมวกกันแดด ในช่วงหน้าฝน ลมแรง ควรเตรียมร่มชนิดแข็งแรง หรือเสื้อกันฝน แว่นตากันลม กางเกงขาสี่ส่วน ในช่วงหน้าหนาว อากาศจะหนาวเย็น ควรเตรียมเสื้อกันหนาวและหนาพอควร และถุงนอนตามความจำเป็น
2.5 สำหรับผู้ที่แพ้แมลง ตวรเตรียมยาทากันแมลงไปด้วย
2.6 ของใช้ส่วนตัว เช่น สบู่ ยาสีฟัน แปรงสีฟัน ผ้าเช็ดตัว กระดาษทิชชู ขวดน้ำดื่ม ถุงผ้า (แทนถุงพลาสติกที่อาจเกิดเสียงรบกวนเพื่อนร่วมห้องได้)
3.งดใช้โทรศัพท์มือถือ ตลอดระยะเวลาที่มาบำเพ็ญภาวนาในวัดพระธาตุผาแก้ว
4.ไม่เข้าไปในพื้นที่หวงห้าม เช่น เขตสงฆ์ 5.หากมีธุระจำเป็น ระหว่างการภาวนาต้องออกไปทำกิจนอกวัดเป็นการชั่วคราว ควรขออนุญาตครูบาอาจารย์ และควรแจ้งแก่หัวหน้าคณะผู้นำทีมภาวนา
6.ควรมีอินทรียสังวร สำรวมระวัง ไม่สร้างความรบกวนแก่ผู้อื่น ด้วยการพูดคุยเสียงดัง โทรศัพท์มือถือรื่นเริงเฮฮา ร้องเพลง ผิวปาก ฟังวิทยุ
7.เจริญสติในชีวิตประจำวัน มี ความเพียรอย่างเต็มที่และต่อเนื่องทุกอิริยาบถ การเดิน ควรเดินอย่างมีสติทุกย่างก้าว ระวังการเหยียบสัตว์เล็กสัตว์น้อยร่วมโลก ซึ่งเป็นผู้มาอาศัยอยู่ก่อน

ขอขอบคุณ http://www.phasornkaew.org

ระเบียบของวัดสำหรับผู้มาเข้าปฏิบัติธรรม–วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว

exwhite5

•ผู้ปฏิบัติที่มากับหลักสูตรปฏิบัติของวัด จะสามารถเข้าพักที่วัดได้ตามกำหนดการของหลักสูตร
•ผู้ปฎิบัติธรรมและเหล่าอาสาสมัครที่ขอเข้าพักที่วัดเอง สามารถอยู่ในวัดได้ไม่เกิน 7 วัน
•ในกรณีพิเศษมีความประสงค์ที่จะอยู่ต่อ ต้องได้รับอนุญาตจากพระอาจารย์ และอยู่ได้ไม่เกิน 15 วันต่อเดือน
•ผู้ปฎิบัติธรรมหากมิได้รับการมอบหมายงาน ไม่อนุญาตให้ออกนอกวัดระหว่างการปฏิบัติธรรม และควรร่วมกิจกรรมตามเวลาที่กำหนดไว้อย่างเคร่งครัด
•ผู้ที่มาเข้าร่วมในหลักสูตร ต้องมาถึงวัดก่อนเวลา 14.00 น. เพื่อลงทะเบียนและจัดห้องพัก
•ผู้ที่ไม่ได้มาเข้าร่วมหลักสูตร กรุณามาถึงวัดก่อนเวลา 17.00 น. ซึ่งเป็นเวลาทำการของเจ้าหน้าที่วัด
•แต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย ทั้ง ผู้ชาย/ผู้หญิง สามารถใส่เสื้อขาว กางเกงสีดำ หรือสีขาว
กฏระเบียบของวัด ดำริขึ้นเพื่อความสัปปายะ ความมีระเบียบของสถานที่ และเพื่อความเกื้อกูลต่อผู้ปฏิบัติธรรม
จึงขอความเมตตาจากทุกท่าน งดเว้นการขยายความใดๆที่อาจจะส่งผลกระทบต่อสถานที่และผู้ปฏิบัติภาวนา

ขอขอบคุณ http://www.phasornkaew.org

ระเบียบการเข้าเยี่ยมสักการะ–วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว

rule

1.ควรแต่งกายให้สุภาพเรียบร้อย เพื่อเป็นการแสดงความเคารพต่อสถานที่
2.ควรถ่ายรูปในกิริยาที่เหมาะสม เช่น ไม่ควรกอดจูบหรือแสดงพฤติกรรมที่ก้าวร้าว เป็นต้น
3.ควรรักษาความสงบ ไม่ส่งเสียงดัง หรือแสดงพฤติกรรมที่อาจเป็นการรบกวนผู้อื่นได้ เช่น การคุยโทรศัพท์ การวิ่งเล่น
4.สาธุชนทั่วไปควรเดินชมในพื้นที่ที่กำหนดไว้เท่านั้น ไม่ควรเดินเข้าไปในพื้นที่ของผู้ปฏิบัติธรรม เช่น กุฏิพัก เขตสงฆ์
5.ช่วยกันรักษาความสะอาด เช่น ทิ้งขยะในบริเวณที่กำหนด รักษาความสะอาดในห้องน้ำ
6.ไม่ควรนำสัตว์เลี้ยงเข้ามาในวัด หรือนำสัตว์เลี้ยงมาปล่อยในพื้นที่บริเวณในวัด
7.ไม่ควรสูบบุหรี่ในพื้นที่บริเวณในวัด

ขอขอบคุณ http://www.phasornkaew.org

ประวัติความเป็นมา พระธาตุผาซ่อนแก้ว

home4-1024x353

สถานที่อันเป็นธรรมภูมิที่งดงาม ซึ่งเรียกว่าผาซ่อนแก้วนี้ มีธรรมชาติเป็นภูเขาที่สูงใหญ่ ซ้อนกันเป็นทิวเขาเรียงรายโอบรอบบริเวณศาลาปฏิบัติธรรม และบนยอดเขาสูงตระหง่านนั้น มีถ้ำอยู่บนปลายยอดเขา ซึ่งมีชาวบ้านทางแดงหลายคน ได้เห็นลูกแก้วลอยเหนือฟากฟ้า และลับหายเข้าไปในถ้ำบนยอดผา ชาวบ้านเชื่อว่าเป็นพระบรมสารีริกธาตุเสด็จมา และต่างถือว่าเป็นสถานที่มงคล มีความศักดิ์สิทธิ์และเรียกตาม ๆ กันว่า “ผาซ่อนแก้ว” และพุทธสถานที่มาตั้งในจุดที่โอบล้อมด้วยทิวเขาดังกล่าว จึงเรียกว่า “พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว” เพื่อเป็นนิมิตมงคลแก่ชาวบ้านทางแดง และผู้มาปฏิบัติธรรมสืบไป

วัดพระธาตุผาซ่อนแก้วก่อตั้งขึ้นเมื่อปี พ.ศ. ๒๕๔๗ ในนาม “พุทธธรรมสถานผาซ่อนแก้ว” ได้รับการอนุมัติจัดตั้งเป็นวัด ในมงคลนามว่า “วัดพระธาตุผาแก้ว” เมื่อวันที่ ๑ กรกฎาคม ๒๕๕๓ จากคณะกรรมการมหาเถรสมาคม โดยมีพระครูปลัด ปารมี สุรยุทโธ เป็นเจ้าอาวาส ซึ่งปัจจุบันได้เปลี่ยนชื่อวัดเป็น “วัดพระธาตุผาซ่อนแก้ว” เมื่อ ๓๐ พฤษภาคม ๒๕๕๖ เพื่อให้สอดคล้องกับบริเวณที่ตั้ง ซึ่งแต่เดิมชาวบ้านเรียกกันว่า “ผาซ่อนแก้ว”

วัดพระธาตุผาซ่อนแก้วตั้งอยู่ในชัยภูมิธรรม ณ บริเวณเนินเขาในหมู่บ้านทางแดง ต.แคมป์สน อ.เขาค้อ จ.เพชรบูรณ์ โดย คุณภาวิณี และ คุณอุไร โชติกูล ได้มีจิตศรัทธาซื้อที่ดินถวายเริ่มแรกจำนวน ๒๕ ไร่ เพื่อก่อสร้างเป็นสถานที่ปฏิบัติธรรมแก่พระสงฆ์ และพุทธศาสนิกชนทั่วไป ปัจจุบันมีผู้ร่วมถวายปัจจัยซื้อที่ดินเพิ่มรวมทั้งสิ้นมีที่ดินรวม ๙๑ ไร่

Read more »

เที่ยวเมืองนครฯ ชมวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

22

“เมืองประวัติศาสตร์ พระธาตุทองคำ ชื่นฉ่ำธรรมชาติ แร่ธาตุอุดม เครื่องถมสาม กษัตริย์ มากวัดมากศิลป์ ครบสิ้นกุ้งปู”

บางจาก ขอนำท่านสู่เมืองนครศรีธรรมราช ที่โด่งดังเรื่องประวัติศาสตร์ ศิลป์ และสถาปัตยกรรมมากมาย โดยเฉพาะวัดวาอารามที่มีเอกลักษณ์งดงาม มากมายให้เลือกสักการะ ซึ่งในโอกาสนี้บางจากขอแนะนำตัวอย่างวัดที่น่าสนใจให้ทุกท่านลองแวะกราบไว้เที่ยวชม…นั่นก็คือ “วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร” พร้อมแล้วไปกันเลย

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร หรือ ที่ชาวนครเรียกว่า วัดพระธาตุ โบราณสถานสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ และเป็น มิ่งขวัญชาวเมืองนครศรีธรรมราชตลอดจนพุทธศานิกชน ทั้งหลาย สัญลักษณ์ของจังหวัดนครศรีธรรมราชที่รู้จัก กันแพร่หลายก็คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่ภายในวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เนื่องจากเป็นที่บรรจุ พระบรมสารีริกธาตุของพระพุทธเจ้า ปัจจุบันกรมศิลปากรได้ประกาศจดทะเบียนวัดพระมหาธาตุเป็นโบราณสถาน นับเป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้

Read more »

ศรัทธาวัดพระมหาธาตุฯ ประวัติศาสตร์มรดกโลก

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จังหวัดนครศรีธรรมราช เข้าสู่บัญชีเบื้องต้นตามที่ประเทศไทยเสนอ เพื่อเข้าสู่กระบวนการพิจารณาเป็นมรดกโลก ซึ่งจะจัดประชุมอีกครั้งในปี 2558

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เข้ารอบพิจารณาเป็นมรดกโลกด้วยหลักเกณฑ์ 3 ข้อ…

หลักเกณฑ์ข้อที่ 1 เป็นตัวแทนผลงานที่เป็นเลิศของการสร้างจากอัจฉริยะของมนุษย์ เนื่องจากวัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นตัวแทนของระบบความเชื่อทางศาสนาพุทธ ผ่านทางแผนผังและการออกแบบสถาปัตยกรรม โดยการแบ่งขอบเขตพื้นที่ออกเป็น 2 ส่วน มีพระบรมธาตุเจดีย์เป็นประธานสถาปัตยกรรมและการประดับอาคารสื่อความหมายปรัชญาทางพุทธศาสนาและพุทธประวัติ

หลักเกณฑ์ข้อที่ 2 แสดงให้เห็นความสำคัญของการเปลี่ยนแปลงคุณค่าของมนุษย์ตามกาลเวลา หรือในวัฒนธรรมด้านใดด้านหนึ่งของโลกในการพัฒนาด้านสถาปัตยกรรมหรือทางเทคโนโลยี ศิลปะสถาปัตยกรรมโบราณ การออกแบบผังเมืองหรือการออกแบบภูมิทัศน์ โดยพระบรมธาตุเจดีย์ยังคงรักษาความครบถ้วนสมบูรณ์ของโครงสร้างทางสถาปัตยกรรมในสมัยแรกสร้างราวปลายพุทธศตวรรษที่ 18 รูปแบบทางสถาปัตยกรรมได้รับอิทธิพลจากศิลปะลังกา ตามแบบอย่างคติของพุทธศิลป์ในสมัยพระเจ้าอโศกมหาราช

หลักเกณฑ์ข้อที่ 3 มีความสัมพันธ์โดยตรงและแสดงเห็นได้ชัดเจนกับเหตุการณ์หรือประเพณีที่ยังคงอยู่หรือความคิด ความเชื่อ งานศิลปกรรมและวรรณกรรม ที่มีความโดดเด่นเป็นสากล ความเชื่อของผู้คนเกี่ยวกับความศักดิ์สิทธิ์ของพระบรมสารีริกธาตุของพุทธศาสนิกชน ที่จะสั่งสมสร้างบุญกุศลตามประเพณีในรูปแบบที่หลากหลาย ทั้งด้านวรรณกรรม คติกรรม และนาฏกรรม ตลอดจนการประกอบพิธีกรรมทางพุทธศาสนา อาทิ ประเพณีแห่ผ้าขึ้นธาตุ วันมาฆบูชาและวันวิสาขบูชา

Read more »

วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก

t5mahathat09

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวง มีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา นอกจากนั้นยังมี วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) วิหารทับเกษตร ส่วน วิหารเขียน และวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา

พระแม่เจ้าเหมชาลา เริ่มต้นการเดินทางเข้าสู่วัดพระมหาธาตุ จากตัวเมืองนครศรีธรรมราชใช้ถนนราชดำเนิน ตรงอย่างเดียว มาจอดรถที่หน้าวัดแล้วเดินเข้ามา สิ่งแรกๆ ที่จะได้เห็นนอกจากยอดพระธาตุแล้วก็มีรูปปั้น พระแม่เจ้าเหมชาลา พระทนทกุมาร ซึ่งเป็นพระราชธิดาและพระราชโอรสของพระเจ้าโคสีหราชและพระนางมหาเทวีแห่งเมืองทันทบุรี ประเทศอินเดียเป็นผู้อัญเชิญพระบรมสารีริธาตุมาฝังไว้ ณ หาดทรายแก้ว เมื่อปี พ.ศ. 854 จากนั้นพระเจ้าศรีธรรมโสกราช ได้สร้างพระมหาเจดีย์ และบรรจุพระบรมสารีริกธาตุดังได้ปรากฎอยู่จนทุกวันนี้

Read more »

วัดพระพระมหาธาตุวรมหาวิหาร จ นครศรีธรรมราช

p-pt1

พระมหาธาตุเจดีย์นครศรีธรรมราชศูนย์รวมแห่งศรัทธาของชาวพุทธทั้งคาบสมุทรภาคใต้
ตามตำนานกล่าวว่าเจดีย์พระบรมธาตสร้างโดย”พระเจ้าศรีธรรมโศกราช”พร้อมกับการสร้าง
เมืองนครศรีธรรมราชในพุทธศตวรรษที่๑๘นับแต่นั้นมาเมืองนครศรีธรรมราชเจริญรุ่งเรือง
ขึ้นเป็นลำดับ เป็นศูนย์กลางทางเศรษฐกิจ การเมือง ศิลปวัฒนธรรม ตราบจนทุกวันนี้

เป็นพระอารามหลวงชั้นเอกชนิดวรมหาวิหาร ตั้งอยู่ที่ ตำบลในเมือง อำเภอเมือง
จังหวัดนครศรีธรรมราช ซึ่งอยู่ภายในเขตกำแพงเมืองโบราณมีเนื้อที่ ทั้งหมดจำนวน
25 ไร่ 2 งาน
ประวัติความเป็นมา
วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร เป็นวัดเก่าแก่ของจังหวัดนครศรีธรรมราช สันนิษฐาน จากตำนาน
เมืองนครศรีธรรมราชว่า สร้างโดยพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ใน พ.ศ. 1098 เพื่อเป็นที่
ประดิษฐานองค์พระบรมธาตุเจดีย์ ในสมัยโบราณถือว่าเป็นเขตพุทธาวาสจึงไม่มีพระสงฆ์
จำ พรรษา ต่อมาได้มีการบูรณะและสร้างเสริมโบราณวัตถุ โบราณสถานภายในวัดอีกหลายครั้ง
ในสมัยสุโขทัย พ่อขุนรามคำแหงมหาราชโปรดเกล้าฯให้นำทองแดงหล่อปิดทอง ยอดพระบรม
ธาตุ และสร้างพระระเบียงโดยรอบทั้งหมด 165 ห้อง พระพุทธรูป 165 องค์ สร้าง กำแพง
4 ด้าน สร้างวิหารสามจอม และพระรูปพระเจ้าศรีธรรมาโศกราช
สมัยธนบุรี พระเจ้าตากสินมหาราชได้บูรณะวิหารทับเกษตร วิหารหลวง และศาลากุ ฎิ
ในพระอาราม ถมทรายเทปูนรอบพระบรมธาตุเจดีย์ ยกพื้นสูง 75 ซม. กว้าง 1 เมตร
เรียกกัน ว่า ทางเดินพระเจ้าตากสิน Read more »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็น พระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของ ภาคใต้และประเทศไทย ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวงมีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) วิหารทับเกษตร ส่วนวิหารเขียน และวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา Read more »

พระบรมธาตุนครศรีธรรมราช ณ วัดพระธาตุมหาวรวิหาร

6248520fa

ตามตำนานกล่าวว่า พระบรมธาตุเมืองนคร สร้างขึ้นครั้งแรกประมาณ ปี พ.ศ. 854
ภายในบรรจุพระทันตธาตุ (ส่วนฟันของพระพุทธเจ้า) ณ บริเวณหาดทรายแก้ว
ด้วยศิลปะการก่อสร้างแบบศรีวิชัย (หลายคนเชื่อว่ามีลักษณะคล้ายพระบรมธาตุไชยา จ.สุราษฎร์ธานี)

ต่อมาในปี พ.ศ. 1093 พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ได้ทำการสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้น
พร้อมกับสร้างเจดีย์องค์ใหม่ทรงศาญจิครอบพระบรมธาตุองค์เดิม จากนั้นในปี พ.ศ. 1770
ได้มีพระภิกษุจากลังกามาทำการบูรณะพระบรมธาตุเมืองนครให้เป็นไปตามรูปแบบสถาปัตยกรรมทรงลังกา
หรือทรงโอคว่ำ ดังที่เห็นในปัจจุบัน โดยหาดทรายแก้วสถานที่สร้างพระบรมธาตุนั้น
เป็นสันดอนทรายชายฝั่งที่เกิดจากการตกตะกอนสะสมในทะเลจนเกิดเป็นผืนแผ่นดินขึ้น
ซึ่งก็คือที่ตั้งของ “เมืองนครศรีธรรมราช” ในปัจจุบันนั่นเอง

Read more »

วัดพระมหาธาตุวรมหาวิหาร

DCF 1.0

ตั้งอยู่ริมถนนราชดำเนิน ตำบลในเมือง วัดพระมหาธาตุเป็นพระอารามหลวงชั้นเอก ชั้นวรมหาวิหาร เดิมชื่อวัดพระบรมธาตุ เป็นปูชนียสถานที่สำคัญที่สุดแห่งหนึ่งของภาคใต้และประเทศไทย เปรียบเสมือนศูนย์รวมใจของพุทธศาสนิกชนชาวใต้ มีพระบรมธาตุเจดีย์อันยิ่งใหญ่ที่มีส่วนยอดเจดีย์เป็นทองคำเป็นภาพสะท้อนแห่งความศรัทธาของชาวพุทธที่มีต่อการสร้างพระบรมธาตุเพื่อประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ (พระทันตธาตุหรือพระเขี้ยวแก้วเบื้องซ้าย) ตามตำนานพระบรมธาตุนครศรีธรรมราช กล่าวว่า เจ้าชายธนกุมารและพระนางเหมชาลา เป็นผู้นำเสด็จพระบรมธาตุมาประดิษฐาน ณ หาดทรายแก้วและสร้างเจดีย์องค์เล็ก ๆ เป็นที่หมายไว้ ต่อมาในปีมหาศักราช 1098 (พ.ศ.1719) พระเจ้าศรีธรรมาโศกราช ทรงสร้างเมืองนครศรีธรรมราชขึ้นพร้อมการก่อสร้างเจดีย์ขึ้นใหม่ พระบรมธาตุเจดีย์มีลักษณะรูปแบบศิลปกรรมเป็นเจดีย์ทรงลังกาสูง 55.78 เมตร (กรมศิลปากรวัดเมื่อการบูรณะปลียอดทองคำเมื่อ พ.ศ. 2538) จากฐานบัวคว่ำบัวหงายถึงปลียอด 6.80 เมตร ใช้ทองคำเนื้อสิบหุ้มโดยรอบ ภายในวัดพระมหาธาตุฯ มีวิหารที่มีความสำคัญหลายหลังประดิษฐานอยู่โดยเฉพาะอย่างยิ่ง พระวิหารหลวง มีความงามตามแบบสถาปัตยกรรมสมัยอยุธยา นอกจากนั้นยังมี วิหารสามจอม วิหารที่มีพระพุทธรูปทรงเครื่องอย่างกษัตริย์ชื่อว่า “พระศรีธรรมาโศกราช” ประดิษฐานอยู่ วิหารพระมหาภิเนษกรมน์ (วิหารพระทรงม้า) ส่วนวิหารเขียนและวิหารโพธิ์ลังกานั้นเป็นสถานที่จัดแสดงโบราณวัตถุที่พุทธศาสนิกชนถวายเป็นพุทธบูชา ส่วนฐานขององค์พระบรมธาตุเจดีย์ (วิหารทับเกษตร) มีซุ้มถึง 22 ซุ้ม แต่ละซุ้มมีหัวช้างยื่นออกมารองรับพระบรมธาตุเจดีย์ ประหนึ่งเป็นสัญลักษณ์แห่งการค้ำจุ้นพระพุทธศาสนาให้มั่นคง นอกจากนี้ยังมีปริศนาธรรมให้ค้นหา และสิ่งศักดิ์สิทธิ์อีกมากมาย ภายในวัดมีแหล่งจำหน่ายสินค้าที่ระลึกขึ้นชื่อของเมืองนคร อาทิเช่น เครื่องเงิน เครื่องถม ตัวหนังตะลุง เป็นต้น ผู้มาเยือนที่นี่นิยมนำผ้าขึ้นห่มองค์พระบรมธาตุเจดีย์เพื่อความเป็นสิริมงคลแก่ชีวิต

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .