Archive for the ‘พระเจดีย์ พระธาตุเจดีย์ พระบรมธาตุ พระบรมสารีริกธาตุ พระปรางค์ การไหว้พระธาตุ’ Category

วัดพระธาตุดอยจอมทอง

pic-120

ตั้งอยู่ถนนอาจอำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก ตามตำนานเล่าว่าเป็นพระธาตุเก่าแก่ที่มีก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะทรงสร้างเมืองเชียงราย โดยเล่าว่าพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ทรงสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 1483 สันนิษฐานว่า เมื่อพ่อขุนเม็งรายทรงพบชัยภูมิที่สร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทองนั้น คงจะมีการบูรณะองค์พระธาตุใหม่พร้อมๆ กับการสร้างเมืองเชียงราย

นอกจากนั้นตรงข้ามพระธาตุดอยทอง เป็นที่ตั้งของเสาสะดือเมือง 108 หลัก ซึ่งสร้างตามคติโบราณล้านนา คือจะใหญ่เท่าห้ากำมือ และสูงเท่าความสูงของพระเจ้าแผ่นดิน เสาสะดือเมืองเรียงเป็นวงกลมซ้อนกันหลายวง แทนสมมติจักรวาล อันมีเขาพระสุเมรุเป็นแกนกลาง ล้อมรอบด้วยน้ำห้าร่องแทนปัญจมหานที ขั้นบนสุดเปรียบได้กับนิพพาน เสาสะดือเมืองชาวเชียงรายได้ร่วมใจสร้างขึ้นเมืองปี พ.ศ 1531 เพื่อรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญาเม็งราย และได้มีการบูรณะในวโรกาสมหามงคลเฉลิมพระชนมพรรษาครบห้ารอบของพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว

ขอขอบคุณ http://www.chiangraiekkachai.com/

ตำนานพระธาตุ 9 จอม –วัดพระธาตุจอมทอง เชียงราย

พระธาตุเป็นสถานที่ศักดิ์สิทธิ์ของชาวพุทธ ที่เป็นสถานที่เก็บพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า อันเปรียบเสมือนเป็นองค์แทนพระองค์ไว้ให้พุทธศาสนิกชนได้กราบไหว้บูชา ระลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณที่ทรงบำเพ็ญเพียรเผยแพร่หลักธรรมแห่งพุทธศาสนา เพื่อการหลุดพ้นจากบ่วงกรรมความทุกข์ทั้งปวง อันจะนำพาความเป็นสิริมงคลมาสู่ชีวิตของผู้ที่เคารพและศรัทธา
ตามคติความเชื่อของชาวล้านนามาตั้งแต่โบราณกาล เชื่อกันว่าการได้ทำบุญวัดประจำปีเกิด หรือการได้ไปทำบุญวัดที่เป็นมงคลนามทั้งเก้า รวมถึงการได้ไปนมัสการสักการะพระธาตุเก้าจอม จะทำให้เกิดความเป็นสิริมงคล อยู่เย็นเป็นสุข หรือ ตามคติล้านนาว่า อยู่ดีกินหวาน ประสบความสำเร็จทั้งการงาน การเงิน การดำเนินชีวิตได้สมดังปรารถนา

พระธาตุถือเป็นสิ่งศักดิ์สิทธิ์ที่มีอัศจรรย์ปาฏิหาริย์มาก จากคำบอกเล่าของบรรพชนมักได้ยินได้ฟังอยู่เสมอว่า ทุกวันเพ็ญขึ้น 15 ค่ำ ของบางเดือน จะเกิดปรากฏการณ์พิเศษเกิดขึ้นอยู่เสมอๆ เช่น การปรากฏลำแสงพวยพุ่ง สุขสว่างสดใสเป็นรัศมีสีแดง สีเหลือง สีขาว ขึ้นรอบองค์พระธาตุ หรือ พาดผ่านขึ้นสู่ท้องฟ้าบ้าง หรือการปรากฏความร่มเย็นเป็นสุขมีฝนฟ้าตกต้องตามฤดูกาลที่แห้งแล้วบ้าง หรือปรากฏกลิ่นหอมโรยรื่นอบอวลชวนให้จิตใจสดชื่นแจ่มใสบ้าง ซึ่งปรากฏการณ์เหล่านี้สำแดงออกมาโดยอัศจรรย์ด้วยพุทธานุภาพเป็นที่เลื่อมใสศรัทธาแก่ผองชนที่เคารพเลื่อมใสเป็นอันมาก
พระธาตุเก้าจอม เป็นที่บรรจุพระบรมสารีริกธาตุขององค์สมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้าในส่วนต่างๆ ของพระวรกายโดยแท้ มีประวัติตำนานกล่าวขานที่เป็นพุทธมงคลรวมทั้งนามที่ตั้งก็เป็นมงคลนาม ผู้ที่ได้สักการะพระธาตุครบทั้งเก้าจอมจะถือว่าน้อมรับมงคลอันยิ่งใหญ่และสิ่งงดงามมาสู่ชีวิตของตนเองและบริวาร

Read more »

นมัสการพระธาตุเก่าแก่ และเสาสะดือเมือง 108 หลักที่วัดพระธาตุดอยจอมทอง

450px-Jt01.jpg

วัดพระธาตุดอยจอมทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง (หรือวัดพระธาตุดอยตอง ตามสำเนียงคนเชียงราย) เป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอม ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นวัดเก่าแก่ และถือเป็นปูชนียสถานแห่งหนึ่งใน “เก้าจอม” ของสถานที่อันเป็นมงคลนามของจังหวัดเชียงราย โดยวัดพระธาตุดอยจอมทองนี้

วัดพระธาตุดอยจอมทอง เป็นปูชนียสถานสำคัญของเชียงราย ตั้งอยู่บนดอยจอมทองที่สามารถมองเห็นตัวเมืองเชียงรายได้อย่างชัดเจน ตามตำนานระบุว่าเป็นวัดเก่าแก่ก่อนที่พญามังรายจะมาตั้งเมืองเชียงรายเมื่อ พ.ศ.1805 โดยพญามังรายทรงกำหนดให้ดอยจอมทองเป็นสะดือเมืองหรือใจกลางเมือง

ที่ตั้งและการเดินทาง ตั้งอยู่บนดอยทอง ต.เวียง

รถยนต์ส่วนตัว จากหอวัฒนธรรม ใช้ ถ.สิงหไคล ผ่าน รพ.โอเวอร์บรู๊ค เลี้ยวขวาเข้า ถ.ไกรสรสิทธิ์ ทางเดียวกับทางไปสะพานแม่ฟ้าหลวง ประมาณ 1 กม. จากนั้นมีแยกซ้ายมือ มีป้ายบอกทางไปวัดดอยจอมทองตาม ถ.อาจอำนวย ซึ่งเป็นถนนแคบๆ ผ่านทางขึ้นวัดดอยจอมทองด้านขวามือ

Read more »

วัดพระธาตุดอยจอมทอง สถานที่เที่ยวที่น่าสนใจจังหวัดเชียงราย

wat-prathat-doi-jomthong

ตั้งอยู่ วัดดอยทอง หรือวัดพระธาตุดอยจอมทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย มีครูวินัยธรสุรัตน์เป็นเจ้าอาวาส ประวัติพระธาตุ เป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่ สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. 1805 ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว 956 พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น 8 ค่ำเดือน 6 ปีชวด มหาศักราชได้ 335 (พ.ศ. 1843) นำพระบรมสารีริกธาตุ 3 ขนาดรวม 16 องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่งขนาด กลางสอง รวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น 15 ค่ำ เดือน 3 (เดือน 5 เหนือ)

Read more »

พระธาตุจอมทอง เชียงราย

jom-thong-x

ที่ตั้ง วัดดอยทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โทร o-๕๓๗๑ – ๖o๕๕ มีครูวินัยธรสุรัตน์เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ พระธาตุจอมทองเป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสองรวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)

Read more »

วัดพระธาตุดอยจอมทอง

DSC_4812วัดพระธาตุดอยจอมทอง_1406110609

ถนนอาจอำนวย หลังศาลากลางจังหวัด บนดอยจอมทองริมฝั่งแม่น้ำกก ตำนานกล่าวว่าพระยาเรือนแก้วผู้ครองนครไชยนารายณ์ทรงสร้างขึ้นเมื่อ พ.ศ. 1483 ต่อมาเกิดแผ่นดินไหว ทำให้พระธาตุเจดีย์องค์เดิมพังทลายลงมา เมื่อพ่อขุนเม็งรายทรงพบชัยภูมิที่สร้างเมืองเชียงรายจากดอยจอมทอง จึงได้สร้างพระธาตุเจดีย์องค์ใหม่ขึ้นพร้อมกับการสร้างเมืองและในบริเวณเดียวกันยังมีเสาหลักเมืองอีกด้วย เจดีย์องค์ปัจจุบันที่เห็นได้ถูกสร้างใหม่อีกครั้ง โทร. 0 5371 6055

ขอขอบคุณhttp://thai.tourismthailand.org/

ตามไปดูสะดือเมืองเชียงราย แล้วแวะไปไหว้พระที่วัดดอยจอมทอง

ChiangRai_Navel05

เสาสะดือเมืองเชียงราย (เสาหลักเมือง) เป็นเครื่องหมายหรือสัญลักษณ์ของการก่อตั้งชุมชนและเมือง สำหรับจังหวัดเชียงรายจะเรียกเสาหลักเมืองว่าเสาสะดือเมือง จากหลักฐานทางประวัติศาสตร์ระบุว่า เมื่อครั้งการสร้างเมืองครั้งแรกใช้คำว่า “เสาสะดือเมือง” ไม่ใช้คำว่าเสาหลักเมือง

เสาสะดือเมืองเชียงรายแห่งนี้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2530 เนื่องในวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชมหาราช ทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ 60 พรรษา หรือ 5 รอบ และเป็นการรำลึกถึงพระมหากรุณาธิคุณของพญามังรายมหาราช ผู้ทรงสร้างเมืองเชียงรายเนื่องในวโรกาสการเฉลิมฉลองการสร้างเมืองเชียงรายครบ 725 ปี โดยนายอร่าม เอี่ยมอรุณ ผู้ว่าราชการจังหวัดในขณะนั้นได้เป็นแม่งานร่วมกับหน่วยงานราชการ เช่น สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัยเชียงใหม่ องค์กรภาคประชาชน ภาคเอกชน และรัฐบาลเยอรมัน

Read more »

วัดพระธาตุดอยจอมทอง, เชียงราย

phrathat-doijomthong

ตั้งอยู่ วัดดอยทอง หรือวัดพระธาตุดอยจอมทอง ตำบลเวียง อำเภอเมืองเชียงราย จังหวัดเชียงราย โทร o ๕๓๗๑ – ๖๖o๕ มีครูวินัยธรสุรัตน์เป็นเจ้าอาวาส

ประวัติพระธาตุ เป็นมงคลนามแห่งเมืองเชียงราย เดิมเป็นวัดเก่าแก่สันนิษฐานว่ามีมาก่อนที่พ่อขุนเม็งรายจะมาพบพื้นที่และสร้างเป็นเมืองเชียงราย ในปี พ.ศ. ๑๘o๕ ตามหลักฐานปรากฏในหนังสือพงศวดารโยนกของพระยาประชากรจักรกล่าวว่า เมื่อพระพุทธศาสนาล่วงแล้ว ๙๕๖ พรรษามีพระเถระเจ้ารูปหนึ่งนามพระพุทะโฆษา เป็นชาวโกศลเมื่อสุธรรมวดี (สะเทิ้ม) ในสามัญประเทศได้ออกไปสู่เมืองลังกาทวีปนำคัมภีร์พระไตรปิฏก แห่งลังกาทวีปมาสู่สามัญทวีปและพุกามประเทศ และเข้ามาสู่โยนกนครไชยบุรีศรีเชียงแสน ในวันจันทร์ขึ้น ๘ ค่ำเดือน ๖ ปีชวด มหาศักราชได้ ๓๓๕ (พ.ศ. ๑๔๘๓) นำพระบรมสารีริกธาตุ ๓ ขนาดรวม ๑๖ องค์ ถวายแก่พระเจ้าพังคราช เจ้าเมืองโยนกนาคพันธ์ พระองค์ได้แบ่งได้แบ่งเป็นพระธาตุขนาดใหญ่หนึ่ง ขนาดกลางสองรวมสามองค์ส่งให้พญาเรือนแก้ว เจ้าเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยในปัจจุบัน) ส่วนหนึ่งบรรจุลงมหาสถูปบนดอยทอง ขนานนามว่าพระธาตุดอยจอมทอง เพื่อเป็นมงคลนามของเมืองมีพิธีสงน้ำพระธาตุทุกวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๓ (เดือน ๕ เหนือ)

Read more »

วัดพระธาตุดอยจอมทอง

200px-Jt01

วัดพระธาตุดอยจอมทอง หรือวัดพระธาตุดอยทอง (หรือวัดพระธาตุดอยตอง ตามสำเนียงคนเชียงราย) เป็นหนึ่งในพระธาตุ 9 จอม ตั้งอยู่ใน อำเภอเมือง จังหวัดเชียงราย เป็นวัดเก่าแก่ และถือเป็นปูชนียสถานแห่งหนึ่งใน “เก้าจอม” ของสถานที่อันเป็นมงคลนามของจังหวัดเชียงราย โดยวัดพระธาตุดอยจอมทองนี้ สันนิษฐานว่าสร้างก่อนที่พญามังรายมหาราชจะเสด็จมาพบพื้นที่บริเวณนี้ และโปรดให้สร้างเมืองเชียงรายในปี พ.ศ. 1805 โดยตามประวัติที่มีการกล่าวถึงวัดพระธาตุดอยจอมทองระบุว่าสร้างขึ้นในรัชสมัยพญาเรือนแก้ว เจ้าผู้ครองเมืองไชยนารายณ์ (บริเวณอำเภอเวียงชัยปัจจุบัน) นี พ.ศ. 1483 โดยในการสร้างวัดครั้งนั้น ได้มีการสร้างองค์พระเจดีย์ประธานของวัดขึ้นเพื่อเป็นที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า ที่พระมหาเถระชาวลังกาได้นำมาถวายแด่พญาพังคราชแห่งเมืองโยนกนาคพันธุ์ ซึ่งพญาพังคราชได้โปรดให้แบ่งพระบรมสารีริกธาตุออกเป็น 3 ส่วน และนำไปประดิษฐาน ณ พระบรมธาตุเจดีย์ที่สำคัญของจังหวัดเชียงรายในปัจจุบัน ได้แก่ พระมหาชินธาตุเจ้าดอยตุง พระธาตุจอมกิตติ และพระธาตุดอยจอมทองแห่งนี้

Read more »

พระธาตุจอมทอง หรือ พระธาตุศรีจอมทอง อ.จอมทอง จ.เชียงใหม่

IMG_0948

พระธาตุจอมทอง ตั้งอยู่บนเนินสูงที่เรียกว่า “ดอยจอมทอง” อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ จอมทองอยู่ห่างจากตัวจังหวัดไปทางใต้ประมาณ 58 กิโลเมตร พระบรมธาตุที่ประดิษฐานอยู่ที่นี่เป็น “พระทิกขิณโมฬีธาตุ” (คือกระดูกกระหม่อมด้านขวา) แม้จะมีประวัติมาตั้งแต่สมัยพุทธกาลดังที่กล่าวแล้ว แต่สถาปัตยกรรมหลักของวัดนี้ก็มีอายุประมาณไม่เกิน 500 ปี คือสร้างในสมัย พระเมืองแก้ว หรือ พญาแก้วภูตาธิปติราชาเจ้า (พ.ศ. 2038 – 2068) กษัตริย์ล้านนาแห่งราชวงศ์มังราย ซึ่งยุคนี้อยู่ในช่วงยุคทองของล้านนา แต่พระเจดีย์วัดพระธาตุศรีจอมทองนั้นยังอายุต่ำลงมาอีก คือเป็นเจดีย์แบบหลังสุดของสถาปัตยกรรมล้านนาน เป็นรุ่นหลังสมัยของพระเมืองแก้วลงมาแล้ว
พระธาตุจอมทองนี้มีความพิเศษกว่าพระธาตุทุกองค์ คือ พระบรมธาตุเพียงแห่งเดียวที่สามารถสักการะและสรงน้ำได้โดยตรงและเห็นองค์พระบรมสารีริกธาตุได้ เพราะแม้จะมีเจดีย์อยู่ในวัดแต่พระบรมธาตุกลับประดิษฐานอยู่ภายในกู่ปราสาทปิดทอง ตั้งอยู่ในวิหารจัตุรมุข ซึ่งสร้างโดยพระเมืองแก้ว เมื่อถึง วันวิสาขบูชา และ วันมาฆะบูชา ของทุกปี จะมีประเพณีสรงน้ำพระธาตุจอมทอง โดยอัญเชิญพระบรมสารีริกธาตุออกมาให้คนทั่วไปได้สักการะและสรงน้ำ

ขอขอบคุณ http://www.oceansmile.com/

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

1

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นหนึ่งในวัดที่มีความสำคัญคู่บ้านคู่เมืองเชียงใหม่ เนื่องจากเป็นทั้งพระอารามหลวง และเป็นวัดที่ประดิษฐานพระบรมสารีริกธาตุ ตั้งอยู่ที่ อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ เดิมชื่อ วัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทอง บริเวณที่ตั้งเป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า “ดอยจอมทอง” ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัดปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูล้านนา เมืองเชียงใหม่

วัดพระธาตุศรีจอมทองเป็นสถานที่ประดิษฐานของพระทักขิณโมลีธาตุ พระบรมสาริกธาตุส่วนที่เป็นพระเศียรเบื้องขวาของสมเด็จพระสัมมาสัมพุทธเจ้า มีขนาดโตประมาณเมล็ดข้าวโพด สันฐานกลมเกลี้ยง สีขาวนวลเหมือน ดอกบวบ หรือ สีคล้ายดอกพิกุลแห้ง ปัจจุบัน พระบรมสารีริกธาตุ ถูกบรรจุไว้ในพระโกศ 5 ชั้นซึ่งประดิษฐานอยู่ภายใน พระวิหารจตุรมุข ก่ออิฐถือปูนทั้งองค์ มีฐานเป็นรูปสี่เหลียมจตุรัส คล้ายพระเจดีย์ กว้าง 4 เมตร สูง 8 เมตร ตามประวัติสร้างโดย “พระเจ้าดิลกปนัดดาธิราช” หรือ “พระเมืองแก้ว” กษัตริย์ราชวงศ์มังราย เจ้าผู้ครองนครเชียงใหม่ เมื่อปี พ.ศ. 2060

การเดินทาง วัดตั้งอยู่ติดกับ ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ที่ 2 ตําบลบ้านหลวง อําเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ ประมาณ 58 กิโลเมตร นักท่องเที่ยวนิยมไปกราบไหว้สักการะบูชาเป็นอย่างมาก เพราะอยู่ในอำเภอเดียวกับดอยอินทนนท์ นอกจากนี้ยังเป็นพระธาตุประจำปีเกิดของผู้ที่เกิดปีชวด(หนู)อีกด้วย

ขอขอบคุณ http://www.chillpainai.com

สถานที่สำคัญภายในวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร มีเนื้อที่ประมาณ 15 ไร่ ตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่ – ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวง อำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่ ห่างจากตัวจังหวัดเชียงใหม่ประมาณ 58 กิโลเมตร เป็นวัดสําคัญคู่เมืองจอมทองเป็นที่เคารพสักการะของชาวเหนือโดยทั่วไป

สถานที่สำคัญภายในวัด
พระอุโบสถ
ลักษณะทรงไทยหน้าบันลงปิดทองสวยงาม สร้างสมัยท่านเจ้าคุณสุวรรณโมลีฯ (สุวรรณบรมธาตุบริหาร) เดิมภายในพระอุโบสถมีประพุทธรูปสามองค์สร้างด้วยไม้แกะสลัก พระประธานในพระอุโบสถเป็นปางถวายเนตร ซึ่งแตกต่างจากพระอุโบสถในล้านนาทั่วไป บริเวณประตูทางเข้าพระอุโบสถได้ฝังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ตามประเพณีของล้านนา จึงไม่อนุญาตให้สุภาพสตรีขึ้นไปยังพระอุโบสถ ภายในมีรูปวาดฝาผนังแสดงตำนานพระธาตุศรีจอมทอง และรูปเทวดาในชั้นต่างๆ
หอพระไตรปิฎก
สร้างสมัยท่านเจ้าคุณสุวรรณโมลีฯ (สุวรรณบรมธาตุบริหาร) อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้ สำหรับเก็บพระไตรปิฎก มาบรูณะใหม่ประมาณ พ.ศ. 2534 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2536 สมัยพระครูสุวิทยธรรม
พระเจดีย์บริวาล (พระธาตุน้อย)
ไม่มีระบุว่าได้สร้างขึ้นเมื่อใด สันนิษฐานว่าอายุประมาณ 300 ปี ได้รับการบอกเล่าว่าสร้างโดยชาวพม่า เมื่อครั้งปกครองนครเชียงใหม่ ศิลปะเป็นแบบมอญ-พม่า สร้างขึ้นเพื่อให้เป็นคู่กับพระเจดีย์องค์ใหญ่ ให้เกิดการสมดุลกัน ภายในบรรจุสิ่งศักดิ์สิทธิ์มากมาย แต่ไม่ได้บรรจุพระธาตุไว้ภายใน
พระธาตุศรีจอมทอง
ฐานรูปสี่เหลี่ยม หุ้มทองทั้งองค์ กว้าง 4 เมตร ยาว 8 เมตร ศิลปกรรมแบบล้านนา
Read more »

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร Wat Phra That Si Chom Thong–ประวัติความเป็นมา

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร มีบริเวณที่ตั้งเป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่า ดอยจอมทอง ตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20 แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่
ตำนานวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร และพระบรมธาตุเจ้าศรีจอมทอง
ดอยจอมทอง หรือ ดอยศรีจอมทองนั้น ในสมัยพุทธกาลมีเมืองตั้งอยู่ใกล้ๆ กับดอยลูกนี้ ชื่อ เมืองอังครัฏฐะมีเจ้าผู้ครองเมืองนามว่า พระยาอังครัฎฐะ พระยาอังครัฎฐะเมื่อได้ทราบข่าวจากพ่อค้าที่มาจากอินเดียว่า บัดนี้พระพุทธเจ้าได้บังเกิดในโลกแล้ว เวลานี้ประทับอยู่ที่เมืองราชคฤห์ในประเทศอินเดีย จึงได้ตั้งจิตอธิษฐานขอให้พระพุทธเจ้าเสด็จมาโปรด
เมื่อพระพุทธองค์ทรงทราบด้วยพระญาณแล้ว จึงเสด็จสู่เมืองอังครัฏฐะพร้อมด้วยภิกษุสาวกทางอากาศ ได้มารับอาหารบิณฑบาตจาก พระยาอังครัฏฐะ และทรงแสดงธรรมโปรดพร้อมทั้งได้ตรัสพยากรณ์ไว้ว่า “เมื่อเรานิพพาน แล้วธาตุพระเศียรเบื้องขวา (พระทักษิณโมลี) ของเราจักมาประดิษฐานอยู่ ณ ที่ดอยจอมทองแห่งนี้ ” แล้วเสด็จกลับ พระยาอังครัฏฐะเมื่อได้ทราบจากคำพยากรณ์นั้นแล้ว จึงได้สร้างสถูปไว้บนยอดดอยจอมทอง ด้วยหวังว่าจะให้เป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุตามที่ทรงพยากรณ์ไว้นั้น แล้วอยู่ครองราชย์จนสิ้นพระชมมายุ
กาลล่วงมาจนถึงพระพุทธเจ้าได้เสด็จดับขันธ์ปรินิพพานไป ณ เมืองกุสินารา และเมื่อได้จัดการถวายพระเพลิงพระพุทธสรีระแล้วจึงได้แบ่งพระบรมธาตุเจ้า โดยพระมหากัสสัปปะเถระ ผู้เป็นพระสังฆเถระในที่นั้นได้ขอเอาซึ่ง พระทักษิณโมลีธาตุ (พระบรมธาตุพระเศียรเบื้องขวา ) จากพระเจ้ามัลลกษัตริย์เมืองกุสินาราได้แล้ว จึงอธิษฐานขอให้พระบรมธาตุเจ้าเสด็จไปประดิษฐานอยู่ที่ยอดดอยจอมทอง ตามที่พระพุทธองค์ได้พยากรณ์ไว้
Read more »

ไหว้พระวัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

Jomthong

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อวัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทองตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวงอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่เป็นพระธาตุประจำปีชวด วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็นพระอารามหลวงชั้นตรีชนิดวรวิหาร บริเวณที่ตั้งเป็นเนินดินสูงประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่าดอยจอมทองตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นในราวพุทธศตวรรษที่ 20แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่างๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรมในสมัยหลังพุทธศตวรรษที่ 24 ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

สถานที่สำคัญภายในวัด
พระอุโบสถ
ลักษณะทรงไทยหน้าบันลงปิดทองสวยงาม สร้างสมัยท่านเจ้าคุณสุวรรณโมลีฯ (สุวรรณบรมธาตุบริหาร) เดิมภายในพระอุโบสถมีประพุทธรูปสามองค์สร้างด้วยไม้แกะสลัก พระประธานในพระอุโบสถเป็นปางถวายเนตร ซึ่งแตกต่างจากพระอุโบสถในล้านนาทั่วไป บริเวณประตูทางเข้าพระอุโบสถได้ฝังสิ่งศักดิ์สิทธิ์ไว้ตามประเพณีของล้านนา จึงไม่อนุญาตให้สุภาพสตรีขึ้นไปยังพระอุโบสถ ภายในมีรูปวาดฝาผนังแสดงตำนานพระธาตุศรีจอมทอง และรูปเทวดาในชั้นต่างๆ

หอพระไตรปิฎก
สร้างสมัยท่านเจ้าคุณสุวรรณโมลีฯ (สุวรรณบรมธาตุบริหาร) อยู่ด้านหลังพระอุโบสถ เป็นอาคารสองชั้นครึ่งตึกครึ่งไม้สำหรับเก็บพระไตรปิฎกมาบรูณะใหม่ประมาณ พ.ศ. 2534 แล้วเสร็จ พ.ศ. 2536 สมัยพระครูสุวิทยธรรม

Read more »

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร

watprathatsrijomthong1

วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เดิมชื่อวัดพระธาตุเจ้าศรีจอมทองตั้งอยู่ถนนเชียงใหม่-ฮอด หมู่ 2 ตำบลบ้านหลวงอำเภอจอมทอง จังหวัดเชียงใหม่เป็นพระธาตุประจำปีชวด วัดพระธาตุศรีจอมทองวรวิหาร เป็น พระอารามหลวงชั้นตรี ชนิดวรวิหาร บริเวณที่ตั้ง เป็นเนินดินสูง ประมาณ 10 เมตร เรียกกันมาตั้งแต่อดีตว่าดอยจอมทองตามประวัติสันนิษฐานว่า เป็นวัดที่สร้างขึ้นใน ราวพุทธ ศตวรรษที่ 20แต่จากลักษณะทางศิลปกรรมของสิ่งก่อสร้างต่าง ๆ ภายในวัด ปรากฏเป็นลักษณะของศิลปกรรม ในสมัยหลัง พุทธศตวรรษที่ 24ซึ่งเป็นห้วงระยะเวลาของยุคฟื้นฟูเมืองเชียงใหม่

สิ่งสำคัญภายในวัด คือ พระบรมธาตุเจดีย์ ซึ่งตั้งอยู่บนยอดดอยจอมทองอันเป็นที่ประดิษฐานพระบรมธาตุส่วนพระเศียรเบื้องขวา ซึ่งมีความพิเศษแตกต่างจากที่อื่น คือเป็นพระบรมธาตุที่มิได้ฝังใต้ดินแต่ประดิษฐานอยู่ในกู่ภาย ในพระวิหารสามารถอันเชิญ มาสรงน้ำได้ พระบรมธาตุแห่งนี้มีตำนานเล่าว่าพระพุทธเจ้าได้เสด็จมายังดอยนี้ และ ทรงพยากรณ์ว่าที่นี่จะเป็นที่ประดิษฐาน พระบรมธาตุของพระองในภายหน้า ต่อมาราวปี พ.ศ.1995 นางเม็ง และ นานสอยได้พบพระบรมธาตุ จึงได้ก่อพระเจดีย์และสร้าง เสนาสนะที่ดอยดินทอง จึงได้ชื่อว่า วัดจอมทอง ต่อมาพระเมืองแก้วกษัตริย์องค์ที่ 4 แห่งราชวงศ์มังรายได้สร้าง พระวิหารขึ้นมา

ประเพณีสำคัญ
– สรงน้ำพระบรมธาตุ ตรงกับวันขึ้น ๑๕ ค่ำ เดือน ๙ เหนือ
– แห่ไม้ค้ำโพธิ์ วันสงกรานต์
– คติของชาวล้านนามีความเชื่อว่าเป็นพระธาตุประจำปีเกิด (ปีชวด)
กิจกรรม
– พิธีทำบุญถวายภัตตาหาร,ฟังเทศน์ทุกวันพระ (วันธัมมัสสวนะ)
– ปฏิบัติธรรมวิปัสสนากรรมฐาน (สติปัฎฐาน ๔) ตลอดทั้งปี
– และกิจกรรมอื่นๆ ตามโอ

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .