วัดพระศรีสรรเพชญ์ Wat Phra Sri Sanphet

เป็นวัดหลวงที่ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังโบราณ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ จึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาสเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง ใช้ประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง และเก็บอัฐิของพระมหากษัตริย์ เป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา (ต้นแบบของวัดพระศรีรัตนศาสดาราม กรุงเทพมหานคร) ปัจจุบันเหลือเพียงซากอิฐปูนและเจดีย์แบบลังกา 3 องค์ที่ตั้งตะหง่านเป็นจุดเด่นที่ยังคงเป็นจุดที่ดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมอยู่เสมอ ให้ได้จินตนาการดูก็จะรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่และความงดงามของกรุงศรีอยุธยาในสมัยที่ยังเป็นราชธานี

ขอขอบคุณ http://www.chillpainai.com/

วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา

20130922132337

ตั้งอยู่ทางทิศเหนือของวิหารพระมงคลบพิตร เป็นวัดสำคัญที่สร้างอยู่ในพระราชวังหลวงเทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามแห่งกรุงเทพมหานครหรือวัดมหาธาตุแห่งกรุงสุโขทัย ในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 (พระเจ้าอู่ทอง) ทรงสร้างพระราชมณเฑียรเป็นที่ประทับที่บริเวณนี้ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงย้ายพระราชวังขึ้นไปทางเหนือและอุทิศที่ดินเดิมให้สร้างวัดขึ้นภายในเขตพระราชวังและโปรดเกล้าฯให้สร้างเขตพุทธาวาสขึ้น เพื่อเป็นที่สำหรับประกอบพิธีสำคัญต่างๆ จึงเป็นวัดที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา

20130922132436

ขอขอบคุณ http://www.uasean.com/

วัดพระศรีสรรเพชญ์ : สุสานกษัตริย์อยุธยา

พระมหากษัตริย์ในสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ทรงมีพระราชนิยมในการสร้าง ศาสนสถาน ซึ่งได้แก่ วัดวาอารามต่าง ๆ เสมอมา วัดที่พระมหากษัตริย์ทรงสร้างนั้น เรียกว่า พระอารามหลวง จึงปรากฏพระอารามหลวงมากมายหลายแห่ง ทั้งในและนอกเกาะเมืองพระนครศรีอยุธยา อาทิเช่น วัดพุทไธสวรรย์ วัดมหาธาตุ วัดราชบูรณะ วัดพระศรีสรรเพชญ์ วัดพระราม เป็นต้น พระอารามหลวงเหล่านี้มีความสำคัญทางประวัติศาสตร์ศิลปะและโบราณคดี ซากปรับหักพังที่ปรากฏให้เห็นอยู่ในปัจจุบันเป็นประจักษ์พยาน แสดงให้เห็นถึงความเจริญรุ่งเรืองของชาติบ้านเมืองในอดีตได้เป็นอย่างดี พระอารามหลวงที่มีความสำคัญอย่างยิ่ง ตลอดสมัยที่กรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี ได้แก่ “ วัดพระศรีสรรเพชญ์ ”
วัดพระศรีสรรเพชญ์ ตั้องอยู่ที่ ต. ประตูชัย อ. พระนครศรีอยุธยา จังหวัดพระนครศรีอยุธยา เดิมเคยเป็นพระบรมมหาราชวังของพระมหากษัตริย์กรุงศรีอยุธยา แต่ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถได้ทรงสร้างพระบรมมหาราชวังขึ้นใหม่ ทางด้านทิศเหนือของพระราชวังองค์เดิมติดกับแม่น้ำลพบุรี และถวายพระบรมมหาราชวังองค์เดิมให้เป็นวัด ซึ่งได้แก่วัดพระศรีสรรเพชญ์ ความสำคัญในอดีตนั้น เทียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ในกรุงเทพมหานคร คือเป็นที่ประกอบพระราชพิธีสำคัญต่าง ๆ เช่น พระราชพิธีถือน้ำระพิพัฒน์สัตยา เป็นต้น วัดนี้ปรากฏพระมหาธาตุเจดีย์องค์ใหญ่สามองค์เรียงกันจนถือเป็นสัญลักษณ์ของจังหวัดพระนครศรีอยุธยาในปัจจุบัน
ประวัติความเป็นมา

ประวัติความเป็นมาของวัดพระศรีสรรเพชญ์นั้น อาจแบ่งออกได้เป็นสองช่วง คือ ช่วงแรกในฐานะเป็นพระบรมมหาราชวังและช่วงหลังในฐานะเป็นพระอารามหลวง
1. ในฐานะเป็นพระบรมมหาราชวัง
ตามพระราชพงศาวดารกล่าวว่าสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 พระเจ้าอู่ทอง ( 1893 – 1912 ) ทรงสถาปนากรุงศรีอยุธยาเป็นราชธานี เมื่อวันศุกร์ที่ 3 เมษายน 1893 และทรงโปรดให้สร้างพระที่นั่งขึ้น 3 องค์ คือ พระที่นั่งไพฑูรย์มหาปราสาท พระที่นั่งไพยนต์มหาปราสาท และพระที่นั่งไอศวรรย์มหาปราสาท ณ ตำบลหนองโลม
ต่อมาในรัชกาลสมเด็จพระราเมศวร ( พ.ศ. 1912 – 1913 และ 1931 – 1938 ) ปรากฏชื่อพระที่นั่งมังคลาภิเษกเพิ่มขึ้นอีก 1 องค์ และในรัชกาลพระบรมราชาธิราชที่ 2 ( พ.ศ. 1967 – 1991 ) ปรากฏพระที่นั่งตรีมุขอีก 1 องค์ แต่ในปัจจุบันไม่ปรากฏตำแหน่งของพระที่นั่งดังกล่าวมานั้นเลย ทั้งนี้อาจเป็นเพราะพระที่นั่งเหล่านั้นสร้างด้วยเครื่องไม้ ซึ่งอาจถูกไฟไหม้หรือพังทลายสูญหายไปหมดแล้ว แต่อย่างไรก็ตามปัจจุบันภายในวัดพระศรีสรรเพชญ์ปรากฏพระที่นั่งจอมทอง 1 องค์ ตั้งอยู่ด้านทิศตะวันออกเฉียงเหนือของพระวิหารหลวง แต่ไม่พบหลักฐานว่าสร้างขึ้นตั้งแต่เมื่อใด ซึ่งอาจเป็นไปได้ว่าเป็นพระที่นั่งองค์ใดองค์หนึ่งตามที่กล่าวนานมาแต่ได้ถูกเปลี่ยนชื่อเป็นพระที่นั่งจอมทองในสมัยหลัง
Read more »

ประวัติวัดพระศรีสรรเพชร อยุธยา

วัดพระศรีสรรเพชญ ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังโบราณ เป็นวัดพุทธาวาสที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาเพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง และเก็บอัฐิของพระมหากษัตริย์เปรียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวัง ในกรุงเทพมหานคร ปัจจุบันเหลือเพียงซากอิฐปูนและเจดีย์สามองค์ที่ตั้งตะหง่านเป็นจุดเด่น แต่ยังคงเป็นจุดที่ดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามา เยี่ยมชม อยู่เสมอ และเมื่อได้ลองจินตนาการดูก็จะรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่และความงดงามของกรุงศรีอยุธยาในสมัยที่ยังเป็นราชธานี
ประวัติวัดพระศรีสรรเพชร อยุธยา
วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถทรงสร้าง พระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แตกต่างกับวัดมหาธาตุสุโขทัย ที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งวัดมหาธาตุ สุโขทัย วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้นในมูลเหตุการสร้างวัดเดียวกันนั่นคือ “สร้างเพื่อ เป็นวัดประจำพระราชวัง” ต่อมาในปีพ.ศ. 2035รัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2พระองค์ทรงโปรดเกล้าฯ ให้สร้าง พระสถูป เจดีย์องค์ตะวันออก เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระราชบิดา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระสถูปเจดีย์องค์กลางเพื่อบรรจุพระอัฐิ ของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ผู้เป็นพระเชษฐาหลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2042พระองค์โปรดให้สร้างพระวิหารหลวงขึ้นในปีต่อ มาพ.ศ. 2043 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างพระวิหาร ทรงหล่อพระพุทธรูป ยืนสูง 8 วา (ประมาณ 16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำ หนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร ถวายพระนามว่าพระศรีสรรเพชญดาญาณซึ่งภายหลังเมื่อเสียกรุง พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด และองค์พระพังยับเยินรัชกาลที่ 1จึงโปรดเกล้าฯให้ย้ายมาประดิษฐานวัดพระเชตุพนและ บรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า เจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณเจดีย์ องค์ที่ 3 ถัดมาจากด้านทิศตะวันตกเป็น เจดีย์บรรจุพระอัฐิ ของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 2 ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4 (พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดให้สร้างขึ้น เจดีย์ทั้งสามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา

Read more »

วัดพระศรีสรรเพชญ์ จ.พระนครศรีอยุธยา

wat-phrasisanphet1

ตั้งอยู่ระหว่าง วิหารพระมงคลบพิตร และ พระราชวังโบราณ เป็นวัดหลวงในพระราชวังหลวงของกรุงศรีอยุธยา เหมือนอย่างเช่น วัดมหาธาตุ ของกรุงสุโขทัย อันเป็นต้นแบบของการสร้างวัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) ในพระราชวังของกรุงรัตนโกสินทร์? บริเวณที่ตั้งของวัดนั้นเดิมทีเป็นพระราชวังของสมเด็จพระเจ้าอู่ทอง ปฐมกษัตริย์แห่งกรุงศรีอยุธยา ที่สร้างขึ้นก่อน เมื่อปี พ.ศ. 1893
ครั้นรัชสมัย สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ เมื่อปี พ.ศ. 1991 โปรดฯ ให้สร้างพระราชวังขึ้นใหม่บริเวณริมแม่น้ำลพบุรี ส่วนพระราชวังเดิมให้เป็นเขตพุทธาวาส เพื่อใช้ประกอบพิธีกรรมทางศาสนา พระราชพิธี และเป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์รวมทั้งพระญาติ โดยไม่มีพระสงฆ์จำพรรษาอยู่ภายในวัด

ศาสนสถานและปูชนียวัตถุภายในวัดพระศรีสรรเพชญ์ ?ประกอบด้วย
พระวิหารพระศรีสรรเพชญ์ เป็นศาสนสถานที่สำคัญในการประกอบพระราชพิธี และเป็นที่บรรจุพระโกศพระบรมอัฐิพระมหากษัตริย์ สร้างขึ้นในรัชสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 เมื่อปี พ.ศ. 2042 ภายในประดิษฐาน พระศรีสรรเพชญ์ พระพุทธรูปยืนขนาดใหญ่ สูง 16 เมตร สร้างด้วยสำริดบุด้วยทองทั้งองค์ โดยพระองค์โปรดฯให้สร้างขึ้น ด้านหลังองค์พระประดิษฐานด้วย พระพุทธสิหิงค์ ปัจจุบันประดิษฐานอยู่ที่ พระที่นั่งพุทไธสวรรย์ ในพิพิธภัณฑสถานแห่งชาติพระนคร
คราวเสียกรุงครั้งที่สอง เมื่อปี พ.ศ. 2310 ข้าศึกได้เผาและลอกทองคำออก จนองค์พระเสียหายอย่างมาก รัชกาลที่ 1 แห่งกรุงรัตนโกสินทร์ ได้โปรดฯ ให้ย้ายชิ้นส่วนองค์พระมาประดิษฐานไว้ในเจดีย์ วัดพระเชตุพนวิมลมังคลาราม (วัดโพธิ์) โดยพระราชทานนามเจดีย์ว่า เจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ
พระวิหารพระไตรโลกนาถ ตั้งอยู่ด้านทิศเหนือพระวิหารหลวง ภายในประดิษฐานพระโลกนาถ ภายหลังรัชกาลที่ 1 โปรดฯให้อัญเชิญมาประดิษฐาน ณ วัดพระเชตุพน Read more »

พระศรีสรรเพชญ์ (Wat Phra Si Sanphet)

002

เป็นวัดสำคัญที่สุดของราชสำนักอยุธยา มีฐานะเป็นวัดส่วนพระองค์ของพระมหากษัตริย์ ซึ่งอยู่ในเขตพระราชฐาน จึงไม่มีพระสงฆ์จำอยู่ในวัด
พื้นที่ตั้งของวัด เดิมเป็นที่ตั้งของพระราชมณเฑียรอันเป็นที่ประทับของพระมหากษัตริย์ พระบรมไตรโลกนาถได้ทรงยกพื้นที่นี้ให้เป็นเขตพุทธาวาส เมื่อปี พ.ศ.1991 เรียกว่า วัดพระศรีสรรเพชญ์ แล้วย้ายบรรดาพระราชมณเฑียรเลยขึ้นไปทางทิศเหนือ ต่อจากเขตวัดไปจนจรดริมแม่น้ำลพบุรีในปัจจุบัน วัดพระศรีสรรเพชญ์ใช้ประกอบพระราชพิธีสำคัญต่างๆ เช่น พระราชพิธีถือน้ำพิพัฒน์สัตยา (ปีละ 2 ครั้ง) ตลอดจนใช้เป็นที่เก็บพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์อยุธยาเกือบทุกพระองค์ เป็นต้น

บริเวณใจกลางสุด มีพระเจดีย์ขนาดใหญ่ 3 องค์ สลับระหว่างกลางแต่ละองค์ด้วยมณฑปอีก 3 หลัง ปลายทิศตะวันตกของพระเจดีย์องค์สุดท้ายมีฐานของพระวิหารจัตุรมุข โดยตรงกลางมีเจดีย์บรรจุพระบรมอัฐิ ส่วนมุขทั้งสี่ด้านเชื่อว่าเคยมีพระพุทธรูปนั่ง ยืน นอน และเดิน ด้านทิศตะวันออกต่อกับเจดีย์องค์แรกเป็นวิหารสำคัญที่สุด เพราะบริเวณด้านท้าย ซึ่งเรียกว่า ท้ายจระนำ ใช้เป็นที่บรรจุพระบรมอัฐิของพระมหากษัตริย์องค์ต่างๆ ในวิหารเคยมีพระพุทธรูปหุ้มทองคำหนัก 286 ชั่ง (หรือหนักเท่ากับ 12,880 บาท) ประทับยืนสูงถึง 8 วา มีพระนามว่า พระศรีสรรเพชญ์ ถือได้ว่าเป็นพระพุทธรูปที่สำคัญที่สุดในสมัยอยุธยา

Read more »

วัดพระศรีสรรเพชญจังหวัดอยุธยา

071

วัดพระศรีสรรเพชญ ตั้งอยู่ในเขตพระราชวังโบราณ เป็นวัดพุทธาวาสที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา
เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง และเก็บอัฐิของพระมหากษัตริย์
เปรียบได้กับวัดพระศรีรัตนศาสดารามในพระบรมมหาราชวังในกรุงเทพมหานคร
ปัจจุบันเหลือเพียงซากอิฐปูนและเจดีย์สามองค์ที่ตั้งตะหง่านเป็นจุดเด่น แต่ยังคงเป็นจุดที่
ดึงความสนใจของนักท่องเที่ยวให้เข้ามาเยี่ยมชมอยู่เสมอ และเมื่อได้ลองจินตนาการดู
ก็จะรู้สึกถึงความยิ่งใหญ่และความงดงามของกรุงศรีอยุธยาในสมัยที่ยังเป็นราชธานี

ประวัติ
วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ ๑ ใช้เป็นที่ประทับ
ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ
แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง
จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แตกต่างกับวัดมหาธาตุสุโขทัย
ที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งวัดมหาธาตุ สุโขทัย,วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา
และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้นในมูลเหตุการสร้างวัดเดียวกันนั่นคือ
“สร้างเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง”

Read more »

วัดพระศรีสรรเพชญ์

วัดพระศรีสรรเพชญ์ เดิมในสมัยสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 1 ใช้เป็นที่ประทับ ต่อมาสมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ ทรงสร้างพระราชมณเฑียรขึ้นใหม่ทางตอนเหนือ แล้วจึงโปรดฯให้ยกเป็นเขตพุทธาวาส เพื่อประกอบพิธีสำคัญต่าง ๆ ของบ้านเมือง จึงเป็นวัดในเขตพระราชวังที่ไม่มีพระสงฆ์จำพรรษา แตกต่างกับวัดมหาธาตุสุโขทัย ที่มีพระสงฆ์จำพรรษา ทั้งวัดมหาธาตุ สุโขทัย,วัดพระศรีสรรเพชญ์ อยุธยา และวัดพระศรีรัตนศาสดาราม ต่างก็ถูกสถาปนาขึ้นในมูลเหตุการสร้างวัดเดียวกันนั่นคือ “สร้างเพื่อเป็นวัดประจำพระราชวัง”

ต่อมาในปี พ.ศ. 2035 รัชสมัยของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 พระองค์โปรดเกล้าฯ ให้สร้างพระสถูปเจดีย์องค์ตะวันออก เพื่อบรรจุพระอัฐิของพระราชบิดา สมเด็จพระบรมไตรโลกนาถ และพระสถูปเจดีย์องค์กลางเพื่อบรรจุพระอัฐิของสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 3 ผู้เป็นพระเชษฐา

หลังจากนั้นในปี พ.ศ. 2042 พระองค์โปรดให้สร้างพระวิหารหลวงขึ้น

ในปีต่อมา พ.ศ. 2043 สมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ทรงสร้างพระวิหาร ทรงหล่อพระพุทธรูป ยืนสูง 8 วา (ประมาณ 16 เมตร) หุ้มด้วยทองคำหนัก 286 ชั่ง (ประมาณ 171 กิโลกรัม) ประดิษฐานไว้ในวิหาร ถวายพระนามว่า พระศรีสรรเพชญดาญาณ ซึ่งภายหลังเมื่อเสียกรุง พ.ศ. 2310 พม่าได้เผาลอกทองคำไปหมด และองค์พระพังยับเยิน รัชกาลที่ 1 จึงโปรดเกล้าฯ ให้ย้ายมาประดิษฐานวัดพระเชตุพน และ บรรจุชิ้นส่วนซึ่งบูรณะไม่ได้เหล่านั้นไว้ในเจดีย์องค์ใหญ่ที่สร้างขึ้นแล้วพระราชทานชื่อเจดีย์ว่า เจดีย์ศรีสรรเพชญดาญาณ เจดีย์องค์ที่ 3 ถัดมาจากด้านทิศตะวันตกเป็น เจดีย์บรรจุพระอัฐิ ของสมเด็จพระรามาธิบดีที่ 2 ซึ่งสมเด็จพระบรมราชาธิราชที่ 4(พระหน่อพุทธางกูร) พระราชโอรสได้โปรดให้สร้างขึ้น เจดีย์ทั้งสามองค์นี้เป็นเจดีย์แบบลังกา

Read more »

วัดบรมพุทธาราม และ พระพุทธรูปประทับนั่งห้อยพระบาท

large_b1

ศุนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยา จัดตั้งขึ้นตามโครงการที่นักวิชาการไทยและนักวิชาการญี่ปุ่นปรับขยายมาจากข้อเสนอเดิมของสมาคมไทย-ญี่ปุ่นและจังหวัดพระนครศรีอยุธยาซึ่งเคยเสนอปรับปรุงบริเวณที่เคยเป็นหมู่บ้านญี่ปุ่นให้จัดสร้างเป็นพิพิธภัณฑ์หมู่บ้านญี่ปุ่น มาเป็นการเสนอให้จัดตั้งเป็นศูนย์ศึกษาประวัติศาสตร์อยุธยาซึ่งจะทำหน้าที่เป็นสถาบันวิจัยและพิพิธภัณฑสถานเกี่ยวกับราชอาณาจักรอยุธยาโดยรวม และได้รับงบประมาณช่วยเหลือแบบให้เปล่าจากรัฐบาลญี่ปุ่นเป็นเงิน ๙๙๙ ล้านเยน เพื่อเป็นการเฉลิมพระเกียรติในพระบรมราชวโรกาสที่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวทรงเจริญพระชนมพรรษาครบ ๖๐ พรรษา และเพื่อเป็นที่ระลึกในโอกาสที่มิตรภาพระหว่างประเทศญี่ปุ่นกับราชอาณาจักรไทยได้สถาวรยืนนานมาครบ ๑๐๐ ปี

วัดบรมพุทธาราม อยู่ภายในบริเวณสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยา หรือที่ชาวบ้านเรียกกันทั่วไปว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” เพราะแต่เดิมนั้นพระอุโบสถมุงด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียว วัดนี้สมเด็จพระเพทราชาทรงสร้างขึ้นที่บริเวณพระนิเวศน์เดิม

Read more »

วัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยา

wat-boromphuttharam1

วัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยาหรือ วัดกระเบื้องเคลือบ เป็นวัดเก่าที่ สมเด็จพระเพทราชา โปรด ฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2226 เมื่อครั้งยังรับราชการกรมช้าง ในบริเวณย่านป่าตอง อันเป็นนิวาสเดิมก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ โดยวัดได้มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในเวลาต่อมา อีกทั้งยังเป็นที่จำพรรษาของพระราชาคณะ
ศาสนสถานที่สร้างขึ้นนั้น โปรด ฯ ให้หมื่นจันทรา ช่างเคลือบกระเบื้องสี มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ ซึ่งแตกต่างจากวัดอื่น อันเป็นที่มาของนามวัด
ต่อมารัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2295 โปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด และโปรดให้ทำบานประตูประดับมุกสำหรับพระอุโบสถ ซึ่งบานประตูดังกล่าวปัจจุบันอยู่ ณ หอมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) คู่หนึ่ง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามคู่หนึ่ง ส่วนอีกคู่หนึ่งได้ถูกลักลอบตัดไปทำตู้หนังสือและติดตามคืนมาได้ ปัจจุบันได้เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

Read more »

วัดบรมพุทธาราม นิวาสถานเดิมสมเด็จพระเพทราชา

IMG_9400

วัดบรมพุทธาราม จ.พระนครศรีอยุธยา หรือ วัดกระเบื้องเคลือบ เป็นวัดเก่าที่ สมเด็จพระเพทราชา โปรด ฯ ให้สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2226 เมื่อครั้งยังรับราชการกรมช้าง ในบริเวณย่านป่าตอง อันเป็นนิวาสเดิมก่อนที่พระองค์จะขึ้นครองราชย์ โดยวัดได้มีฐานะเป็นพระอารามหลวงในเวลาต่อมา อีกทั้งยังเป็นที่จำพรรษาของพระราชาคณะ

ศาสนสถานที่สร้างขึ้นนั้น โปรด ฯ ให้หมื่นจันทรา ช่างเคลือบกระเบื้องสี มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบสีเหลือง ทั้งพระอุโบสถ พระวิหาร ศาลาการเปรียญ ซึ่งแตกต่างจากวัดอื่น อันเป็นที่มาของนามวัด
ต่อมารัชสมัยสมเด็จพระเจ้าบรมโกศ เมื่อปี พ.ศ. 2295 โปรดฯ ให้บูรณะปฏิสังขรณ์วัด และโปรดให้ทำบานประตูประดับมุกสำหรับพระอุโบสถ ซึ่งบานประตูดังกล่าวปัจจุบันอยู่ ณ หอมณเฑียรธรรม วัดพระศรีรัตนศาสดาราม (วัดพระแก้ว) คู่หนึ่ง วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนารามคู่หนึ่ง ส่วนอีกคู่หนึ่งได้ถูกลักลอบตัดไปทำตู้หนังสือและติดตามคืนมาได้ ปัจจุบันได้เก็บรักษา ณ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร

Read more »

วัดบรมพุทธาราม อยุธยา

อยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ประมาณพ.ศ.2231-2246 ณ บริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์ ตั้งของวัดถูกจำกัดโดยเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ คือด้านตะวันออกเป็นแนวคลองฉะไกรน้อย ด้านตะวันตกเป็นแนวถนนหลวงชื่อถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง แนวถนนและคลองดังกล่าวบังคับแผนผังของวัดให้วางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยหันหน้าวัดไปทางทิศเหนือ วัดนี้แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ทรงโปรดฯให้ทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองขึ้นมุงหลังคาพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ และใช้ประดับเจดีย์และซุ้มประตู จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีจึงแล้วเสร็จ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงโปรดฯให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ครั้งใหญ่และให้ทำบานประตูมุกฝีมืองดงาม 3 คู่ บานประตูมุกนี้ปัจจุบัน คู่หนึ่งอยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คู่หนึ่งอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และอีกคู่หนึ่งมีผู้ตัดไปทำตู้หนังสือซี่งขณะนี้ตั้งแสดงอยู่ที่พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร

ขอขอบคุณ http://thai.tourismthailand.org/

ท่องเที่ยววัดบรมพุทธาราม

วัดบรมพุทธาราม
อยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ประมาณพ.ศ.2231-2246 ณ บริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์ ตั้งของวัดถูกจำกัดโดยเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ คือด้านตะวันออกเป็นแนวคลองฉะไกรน้อย ด้านตะวันตกเป็นแนวถนนหลวงชื่อถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง แนวถนนและคลองดังกล่าวบังคับแผนผังของวัดให้วางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยหันหน้าวัดไปทางทิศเหนือ วัดนี้แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ทรงโปรดฯให้ทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองขึ้นมุง หลังคาพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ และใช้ประดับเจดีย์และซุ้มประตู จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีจึงแล้วเสร็จ ในสมัยพระเจ้าอยู่หัวบรมโกศทรงโปรดฯให้ปฏิสังขรณ์วัดนี้ครั้งใหญ่และให้ทำ บานประตูมุกฝีมืองดงาม 3 คู่ บานประตูมุกนี้ปัจจุบัน คู่หนึ่งอยู่ที่หอพระมณเฑียรธรรมในวัดพระศรีรัตนศาสดาราม คู่หนึ่งอยู่ที่วัดเบญจมบพิตรดุสิตวนาราม และอีกคู่หนึ่งมีผู้ตัดไปทำตู้หนังสือซี่งขณะนี้ตั้งแสดงอยู่ที่ พิพิธภัณฑสถานแห่งชาติ พระนคร จังหวัดกรุงเทพมหานคร
ขอขอบคุณ http://www.hotsia.com/

วัดบรมพุทธราม..”วัดเคียงคู่ ม.ราชภัฏพระนครศรีอยุธยา”

large_b2

วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ในสถาบันราชภัฏพระนครศรีอยุธยาทางด้านทิศตะวันตก
เป็นวัดที่สมเด็จพระเพทราชากษัตริย์อยุธยาองค์ที่ 28 แห่งราชวงค์บ้านพลูหลวง
โปรดให้สร้างขึ้นในบริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถาน(บ้าน)เดิม
วัดนี้เคยเป็นพระอารามหลวงครั้งกรุงศรีอยุธยา และพระอุโบสถ วิหารการเปรียญ
มุงหลังคาด้วยกระเบื้องเคลือบแปลกประหลาดกว่าวัดอื่น จึงเรียกกันเป็นสามัญว่า
“วัดกระเบื้องเคลือบ”

การมุงหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองแกมเขียวนี้ ในรัชกาลสมเด็จพระนารายณ์มหาราช
ได้โปรดให้มุงหลังคา พระที่นั่งดุสิตสวรรค์ธัญญมหาปราสาทในวังนารายณ์ราชนิเวศน์
และวิหารกลางในวัดพระศรีรัตนมหาธาตุ จังหวัดลพบุรี เมื่อพระเพทราชารับราชการ
เป็นเจ้ากรมช้าง ในสมัยสมเด็จพระนารายณ์มหาราช อยู่ที่วังนารายณ์ราชนิเวศน์
คงเห็นหลังคากระเบื้องเคลือบสีเหลืองสวยงามดี จึงได้ให้มุงหลังคากระเบื้องเคลือบ
ที่วัดบรมพุทธารามนี้บ้าง

Read more »

เสน่ห์แห่งศิลปะโบราณคดีที่ วัดบรมพุทธาราม

37_20101203102307.

วัดบรมพุทธาราม ตั้งอยู่ภายในบริเวณมหาวิทยาลัยราชภัฎพระนครศรีอยุธยา สร้างในสมัยสมเด็จพระเพทราชา ประมาณพ.ศ.2231-2246 ณ บริเวณย่านป่าตองอันเป็นนิวาสสถานเดิมของพระองค์ ตั้งของวัดถูกจำกัดโดยเส้นทางคมนาคมสมัยโบราณ คือ

ด้านตะวันออกเป็นแนวคลองฉะไกรน้อย ด้านตะวันตกเป็นแนวถนนหลวงชื่อถนนมหารัฐยาหรือถนนป่าตอง แนวถนนและคลองดังกล่าวบังคับแผนผังของวัดให้วางตัวตามแนวเหนือใต้ โดยหันหน้าวัดไปทางทิศเหนือ

วัดนี้แตกต่างจากวัดอื่นตรงที่ทรงโปรดฯให้ทำกระเบื้องเคลือบสีเหลืองขึ้นมุง หลังคาพระอุโบสถ วิหาร ศาลาการเปรียญ และใช้ประดับเจดีย์และซุ้มประตู จึงมีชื่อเรียกอีกชื่อหนึ่งว่า “วัดกระเบื้องเคลือบ” ซึ่งใช้เวลาก่อสร้าง 2 ปีจึงแล้วเสร็จ

Read more »

. . . . . . .
. . . . . . .