Archive for the ‘Uncategorized’ Category

ยิ่งใหญ่!ศาลเจ้ากะทู้แห่พระรอบเมืองภูเก็ต

Image

ศาลเจ้ากะทู้อายุกว่า 200 ปีและเป็นศาลเจ้าแห่งแรกที่เริ่มต้นงานประเพณีถือศีลกินผัก ประกอบพิธีแห่พระรอบเมือง มีชาวภูเก็ต นักท่องเที่ยวนับหมื่นคนแห่ชมความสวยงามและยิ่งใหญ่ของขบวน

เมื่อช่วงเช้าของวันนี้ (12 ต.ค.) บรรยากาศการประกอบพิธีแห่พระรอบเมืองภูเก็ต งานประเพณีถือศีลกินผักจังหวัดภูเก็ต มีประชาชนชาวภูเก็ต และนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทยและชาวต่างชาติ จำนวนหลายพันคน ออกมารอรับขบวนแห่พระของศาลเจ้าหล่ายถู่ต่าวโบเก้งหรือศาลเจ้ากะทู้ เพื่อขอพรจากองค์พระ และชมการแสดงอิทธิฤทธิ์ของม้าทรง โดยการใช้ของแหลม ของมีคมต่างๆ ทั้งใน และนอกตำนาน ทิ่มแทงตามร่างกาย โดยเฉพาะบริเวณกระพุ้งแก้ม ลิ้น ซึ่งเชื่อกันว่าเป็นการรับเคราะห์แทนผู้ถือศีลกินผัก

โดยขบวนพระได้เคลื่อนออกจากศาลเจ้ากะทู้ มุ่งหน้าเข้าตัวเมืองภูเก็ต เพื่อไปประกอบพิธีอัญเชิญกระถางธูปศักดิ์สิทธิ์ ที่บริเวณปลายแหลมสะพานหิน กลับศาลเจ้า ทั้งนี้ เมื่อขบวนแห่พระผ่านมาถึงจุดที่มีประชาชนชาวภูเก็ต และนักท่องเที่ยว ที่ตั้งโต๊ะบูชาพระ ได้มีการนำประทัดแพ จำนวนมากจุดใส่ขบวนพระเพื่อเป็นการต้อนรับ ในโอกาสเสด็จออกประพาสเพื่อโปรดสัตว์ หรือทำนองออกเยี่ยมราษฎรของพระมหากษัตริย์โดยมีขบวนธง และป้ายชื่อแห่นำหน้า จากนั้นเป็นเกี้ยวหามรูปพระ เรียกว่า ไท่เปี๋ย หรือเสลี่ยงเล็ก โดยหามรูปพระบูชาต่างๆ ออกนั่งเกี้ยวไป ซึ่งจัดตามชั้นและยศของเทพ จากนั้นเป็นขบวนของนิ่วสิ่ว หรือฉัตรจีน ตามด้วยพระเกี้ยวใหญ่ หรือเสลี่ยงใหญ่ ซึ่งมักใช้คน 8 คนหาม ซึ่งเป็นที่ประทับองค์กิ้วฮ๋องไต่เต่ ทำให้พื้นที่ตัวเมืองภูเก็ตในเส้นทางที่ใช้ประกอบพิธีแห่พระถูกปกคลุมไปด้วยเสียงและควันจากประทัด

Read more »

ศาลเจ้ากะทู้ จัดงาน “ถวาย ร.9 กินผักเดือน 9 เมืองกะทู้ภูเก็ต” เชิญชวนชาวภูเก็ตร่วมถือศีลกินผักรอบ 2 วันที่ 24 ต.ค.-1 พ.ย.นี้ เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ให้ทรงหายจากพระอาการประชวร

557000012247004
เมื่อเวลา 17.30 น. วานนี้ (14 ต.ค.) ที่ศาลเจ้ากะทู้ ต.กะทู้ อ.กะทู้ จ.ภูเก็ต นายนิสิต จันทร์สมวงศ์ ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต ประธานแถลงข่าวการจัดงานประเพณีถือศีลกินผัก ครั้งที่ 2 ประจำปี 2557 ซึ่งศาลเจ้ากะทู้ จัดขึ้นภายใต้ชื่องาน “ถวาย ร.9 กินผักเดือน 9 เมืองกะทู้ภูเก็ต” เพื่อถวายเป็นพระราชกุศลแด่พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ระหว่างวันที่ 24 ต.ค.-1 พ.ย.57 มี นายทวิชาติ อินทรฤทธิ์ วัฒนธรรมจังหวัดภูเก็ต น.ส.อโนมา วงษ์ใหญ่ ผู้อำนวยการการท่องเที่ยวแห่งประเทศไทย สำนักงานภูเก็ต นายชัยอนันท์ สุทธิกุล นายกเทศมนตรีเมืองกะทู้ นายประเสริฐ ฟักทองผล ประธานชมรมอ๊ามภูเก็ต และนายประเสริฐ ขาวกิจไพศาล ประธานศาลเจ้ากะทู้ ร่วมแถลง และมีแขกผู้มีเกียรติ ตลอดจนผู้เกี่ยวข้อง และผู้สนใจทั่วไป รวมถึงสื่อมวลชนร่วมรับฟังการแถลงข่าว ทั้งนี้ หลังจบการแถลงข่าว ผู้ว่าราชการจังหวัดภูเก็ต และผู้ร่วมแถลงข่าวทั้งหมด ร่วมกันผัดหมี่เจ แจกให้แก่ผู้มาร่วมงานด้วย

สำหรับการจัดงานประเพณีถือศีลกินผัก ครั้งที่ 2 นั้น สืบเนื่องจากปีนี้ ตามปฏิทินฝ่ายจีน (จันทรคติ) ได้กำหนดมีเดือน 9 สองครั้ง โดยเดือน 9 ครั้งแรก เป็นเดือนใหญ่ มี 30 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 กันยายน ถึงวันที่ 23 ตุลาคม 2557 ส่วนเดือน 9 ครั้งหลัง เป็นเดือนเล็ก มี 29 วัน เริ่มตั้งแต่วันที่ 24 ตุลาคม ถึงวันที่ 1 พฤศจิกายน 2557 จึงถือได้ว่าในปี 2557 นี้ มีวันเก้าโหง้ยโชยอีดถึงโชยเก้า ถึง 2 ครั้ง

โดยการกินผักรอบ 2 นั้น จะมีเฉพาะศาลเจ้ากะทู้ กับศาลเจ้าเชิงทะเลเท่านั้นที่มีการประกอบพิธีกรรมต่างๆ เป็นปกติเหมือนกับครั้งแรก แต่จะไม่มีในส่วนของการประกอบพิธีลุยไฟ และการประกอบพิธีสะเดาะเคราะห์ จะมีการประกอบพิธีแห่พระในเส้นทางตัวเมืองภูเก็ต ในวันที่ 29 ต.ค.ของศาลเจ้าเชิงทะเล และวันที่ 31 ต.ค.ของศาลเจ้ากะทู้ ซึ่งจะเป็นไปอย่างยิ่งใหญ่ จะมีขบวนสนับสนุนของศาลเจ้าต่างๆ ในจังหวัดภูเก็ตร่วมมาในขบวนด้วย

Read more »

ประเพณีถือศีลกินผัก : ศาลเจ้ากะทู้ (ไล่ทู่เต้าบูเก้ง)

Katoo6

ห่างหายไปจากบล็อก ๓ – ๔ วันที่ผ่านมา เนื่องจากผมมีโอกาสได้ไปศึกษาดูงานและเยี่ยมชมวิถีชีวิตชุมชนของคนภาคใต้ที่ จ.ภูเก็ต ในหลาย ๆ ชุมชนเชียวครับ เช่น ชุมชนที่อยู่ร่วมกันอย่างมีความสุขระหว่างชาวไทยพุทธกับไทยมุสลิม หรือจะเป็นหมู่บ้านทางวัฒนธรรม เป็นต้น สำหรับวันนี้ก็ขอนำเสนอเรื่องราวของชุมชนไทย – จีน ณ ชุมชนกะทู้ ก่อนครับ เพราะว่าตรงกับช่วงเทศกาลพอดี

ย้อนอดีตไป ในปี พ.ศ. ๒๓๕๓ พม่ายกทัพมาตีเมืองภูเก็ต (เมืองถลาง) พม่าล้อมอยู่ได้ ๒๗ วัน เมืองถลางจึงเสียแก่พม่า พลเมืองถลางจึงอพยพหลบหนีไปเมืองพังงา อีกส่วนหนึ่งหนีไปทางตอนใต้ คือ บ้านกะทู้

โดยจดหมายเหตุของชาวฝรั่งเศสซึ่งปรากฏหลักฐานในประวัติศาสตร์ชาติไทย เขียนไว้ว่า ในสมัยกรุงธนบุรีและต้นกรุงรัตนโกสินทร์ เขตแดนเมืองภูเก็ตกับเมืองถลาง ซึ่งคงแบ่งปันกันไว้ตั้งแต่สมัยกรุงศรีอยุธยานั้น ปรากฏว่าอยู่ในพงศาวดารเมืองถลาง ดังนี้

เขตแดนเมืองภูเก็ตกับเมืองถลางเอาบางคูคด ซึ่งตามคลองเป็นแดน ตามแนวเขตแดนที่แบ่งกั้นนี้ เมืองถลาง อยู่ทางเหนือของเกาะ และเมืองภูเก็ตอยู่ทางใต้ ฉะนั้น ในปี พ.ศ. ๒๓๖๘ ชุมชนแห่งแรกที่เติบโตเป็นตัวเมืองภูเก็ต ในสมัยพระบาทสมเด็จพระนั่งเกล้าเจ้าอยู่หัว (รัชกาลที่ ๓) คือ บ้านกะทู้ อำเภอกะทู้

Read more »

บรรยากาศงานประเพณีถือศีลกินผัก ณ ศาลเจ้ากะทู้

DSC_0764

เมื่อวันที่ 24 กันยายน 2557 เป็นวันแรกของงานประเพณีถือศีลกินผัก โดยอ๊ามหล่ายถู่ต้าวโบ้เก๊ง (ศาลเจ้ากะทู้) ประกอบพิธีซงเก้งและถากซ้อ ทำพิธีกันจนถึงวันที่ 2 กันยายน 2557

พิธีกรรมจะเหมือนกับทุกๆ ปี และปีนี้ซึ่งมีเดือน 9 สองครั้ง ศาลเจ้ากะทู้เคยจัดงาน 9 สองครั้งเมื่อในอดีตเกือบ 200 ปีที่แล้ว พิธีกรรมจะจัดขึ้นอีกครั้งที่สอง ระหว่าง วันที่ 24 ตุลาคม – 01 พฤศจิกายน 57 (เฉพาะศาลเจ้ากะทู้ กับ ศาลเจ้าเชิงทะเล) ซึ่งศาลเจ้ากะทู้เป็นต้นกำเนิดการกินเจและเป็นศาลเจ้าที่เก่าแก่ที่สุด พิธีกรรมครั้งที่สองจะเหมือนกับครั้งแรก แต่จะงดพิธีกรรมโก้ยโห้ย(ลุยไฟ) และงดพิธีโก้ยห่าน (สะเดาะเคราะห์) ทั้งนี้ฝ่ายบริหารศาลเจ้ากะทู้เชิญชวนทุกท่านมาร่วมประเพณีถือศีลกินผักและร่วมกันสืบทอดประเพณีอันดีงามของชาวภูเก็ต

กำหนดการพิธีกรรม ศาลเจ้ากะทู้

วันที่ 23 กันยนยน 2557

17.00 น. พิธียกเสาโกเต้ง
24.00 น. ประกอบพิธีอัญเชิญพระยกอ๋องซ่งเต (พระอิศวร) และพระกิ๋วอ๋องไต่เต (ผู้เป็นใหญ่ทั้งเก้า)
24.30 น. ประกอบพิธีอัญเชิญตะเกียงสู่ยอดเสาโกเต้ง

Read more »

ศาลเจ้ากระทู้

ในอดีตที่ตั้งบริเวณอำเภอกะทู้ จังหวัดภูเก็ต เป็นที่หนึ่งที่อุดมไปด้วย แร่ดีบุก จึงทำให้คนจีนเริ่มหลั่งไหลเข้ามาในบ้านกะทู้มากขึ้น และ นำพาความเชื่อเดิมการนับถือ เทพเจ้า วีรบุรุษ และ บรรพชนมาด้วย จึงทำให้เกิดศาลเจ้ากะทู้เป็นที่ยึดจิตใจของชาวบ้าน

เริ่มต้นถือศิลกินผัก
หลังจากที่ได้มีคณะงิ้วเดินทางมาจากเมืองจีน มาเปิดการแสดงที่บ้านกะทู้ แต่แล้วผู้แสดง ในคณะงิ้วเกิดเจ็บป่วยขึ้น ทำให้คณะงิ้วคิดไว้ว่า พวกตนละเลย ไม่ได้ประกอบพิธีกินผัก ซึ่งเคยกระทำเป็นประจำทุกปีที่เมืองจีน จึงตกลงกัน ประกอบพิธีกินผักขึ้นที่โรงงิ้วนั้นเอง ภายหลังการประกอบ พิธีกินผักที่โรงงิ้วเสร็จแล้ว โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็หายไป จนหมดสิ้น ทำความประหลาดใจให้ชาวกะทู้ ชาวกะทู้ได้เข้าร่วมพิธีกินผัก กับคณะงิ้วด้วย แต่ไม่มีใครทราบ และเป็นผู้รู้เกี่ยวกับพิธีนี้ดี ชาวบ้านทำได้เพียง เคารพบูชา และขอขมา แด่ศาลเจ้า

จนกระทั่ง ท่านผู้รู้ เดินทางไปถึงมณฑลกังไซ้ และเห็นชาวบ้าน ประกอบพิธีถือศีลกินผัก แต่เขาแนะนำว่าการประกอบพิธีนั้น ไม่ถูกต้อง ตามประเพณีเดิมของฉ้ายตึ่ง (ศาลเจ้า ที่มณฑลกังไซ้) และอาสากลับไป เพื่ออัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือควันธูป มาจากมณฑลกังไซ้ ในตอนกลางคืน ท่านผู้รู้ได้ล่องเรือกลับจากประเทศจีนมาถึงที่บางเหลียว (บางเหนียว ในปัจจุบัน) และส่งข่าวไปยังชาวกะทู้ว่าท่านผู้รู้ได้มาถึงแล้ว ดังนั้นจึงบอกให้ คณะกรรมการ ในพิธีนี้มารับท่านผู้รู้ในวันถัดไป (ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9) นอกจากนี้ ท่านผู้รู้ ได้นำบทสวดมนต์ จากตำรา และคัมภีร์ต่างๆ กับเต้าบูเก็ง มาไว้ที่ศาลเจ้าฉ้ายตึ่ง เช่นกัน

Read more »

ศาลเจ้ากะูทู้

kathu-shrine-p02

ศาลเจ้ากะูทู้ หรือ เรียกว่า ศาลเจ้าในทู เป็นศาลเจ้าแห่งแรกที่เริ่มประเพณีถือศีลกินผักของภูเก็ต เป็นศาลเจ้าเก่าแก่ และ ศักดิ์สิทธิ์ เป็นที่เคารพนับถือของพี่น้องชาวภูเก็ต

หลังจากที่ได้มีคณะงิ้วเดินทางมาจากเมืองจีน มาเปิดการแสดงที่บ้านกะทู้แต่แล้วผู้แสดง ในคณะงิ้วเกิดเจ็บป่วยขึ้น ทำให้คณะงิ้วคิดไว้ว่า พวกตนละเลยไม่ได้ประกอบพิธีกินผัก ซึ่งเคยกระทำเป็นประจำทุกปีที่เมืองจีน จึงตกลงกันประกอบพิธีกินผักขึ้นที่โรงงิ้วนั้นเอง ภายหลังการประกอบพิธีกินผักที่โรงงิ้วเสร็จแล้ว โรคภัยไข้เจ็บต่างๆ ก็หายไป จนหมดสิ้นทำความประหลาดใจให้ชาวกะทู้ ชาวกะทู้ได้เข้าร่วมพิธีกินผัก กับคณะงิ้วด้วยแต่ไม่มีใครทราบ และเป็นผู้รู้เกี่ยวกับพิธีนี้ดี ชาวบ้านทำได้เพียง เคารพบูชาและขอขมา แด่ศาลเจ้า

จนกระทั่ง ท่านผู้รู้เดินทางไปถึงมณฑลกังไซ้ และเห็นชาวบ้าน ประกอบพิธีถือศีลกินผักแต่เขาแนะนำว่าการประกอบพิธีนั้น ไม่ถูกต้อง ตามประเพณีเดิมของฉ้ายตึ่ง (ศาลเจ้าที่มณฑลกังไซ้) และอาสากลับไป เพื่ออัญเชิญสิ่งศักดิ์สิทธิ์คือควันธูปมาจากมณฑลกังไซ้ ในตอนกลางคืนท่านผู้รู้ได้ล่องเรือกลับจากประเทศจีนมาถึงที่บางเหลียว (บางเหนียว ในปัจจุบัน)และส่งข่าวไปยังชาวกะทู้ว่าท่านผู้รู้ได้มาถึงแล้ว ดังนั้นจึงบอกให้ คณะกรรมการในพิธีนี้มารับท่านผู้รู้ในวันถัดไป (ขึ้น 8 ค่ำ เดือน 9) นอกจากนี้ ท่านผู้รู้ได้นำบทสวดมนต์ จากตำรา และคัมภีร์ต่างๆ กับเต้าบูเก็ง มาไว้ที่ศาลเจ้าฉ้ายตึ่งเช่นกัน

นอกจากนี้ศาลเจ้า ในต่างจังหวัด และต่างประเทศ ก็ได้มาอัญเชิญเหี่ยวโห้ย หรือเหี่ยวเอี้ยน จากศาลเจ้ากะทู้ ไปเช่นเดียวกัน คือศาลเจ้าไท้เป๋ง (ประเทศมาเลเซีย)ศาลเจ้าตะกั่วป่า ศาลเจ้ากระบี่ เป็นต้น

Read more »

ศาลเจ้ากระทู้

Katu_Shrine_11

นับว่าเป็นศาลเจ้าที่มีความสำคัญมาก เพราะนับได้ว่าศาลเจ้าแห่งนี้เป็นจุดเริ่มต้นของประเพณีถือศีลกินผักของชาวภูเก็ตที่สืบต่อมากระทั่งปัจจุบัน ศาลเจ้าแห่งนี้ตั้งอยู่ในชุมชนบ้านกะทู้ อำเภอเมืองกะทู้ ตามประวัตินั้นในสมัยที่มีชาวจีนเป็นจำนวนมากเข้ามาเป็นกรรมกรเหมืองแร่ในภูเก็ตได้เกิดโรคระบาดขึ้น คณะงิ้วจากเมืองจีนที่มาทำการแสดงที่บ้านกะทู้เกรงว่าอาจเป็นเพราะพวกตนไม่ได้ถือศีลกินผักตามที่เคยปฏิบัติกันมาที่ประเทศจีน พวกเขาจึงได้จัดพิธีถือศีลกินผักขึ้น 9 วัน 9 คืน ตามความเชื่อที่มีมา รวมทั้งช่วยกันสร้างศาลเจ้าแห่งนี้ด้วย หลังจากนั้นโรคร้ายก็หายไป ชาวบ้านกะทู้เกิดความเลื่อมใสจึงศรัทธา จัดให้มีพิธีถือศีลกินผักต่อเนื่องกันมา จากนั้นไม่นานประเพณีถือศีลกินผักก็แพร่หลายมากขึ้นเรื่อยๆ

ต่อมาหลวงอำนาจนรารักษ์ (ต้นตระกูลตัณฑเวทย์) ซึ่งเป็นนายเหมืองใหญ่ และเป็นผู้นำชุมชนบ้านกะทู้ได้ส่งคนไปนำเอา “เหี่ยวเอี้ยน” หรือขี้เถ้าธูปและกระถางธูปจากมณฑลกังใส ประเทศจีน มาไว้ที่ศาลเจ้ากะทู้ เพื่อให้พิธีถือศีลกินผักมีความถูกต้องสมบูรณ์ ศาลเจ้ากะทู้จึงได้ชื่อว่าเป็นจุดกำเนิดของประเพณีถือศีลกินผักบนเกาะภูเก็ตในปัจจุบัน

ที่ศาลเจ้ากะทู้แห่งนี้นอกจากจะมีกิมซิ้น หรือรูปเทพเจ้าจีน ไว้สักการบูชาของชาวไทยเชื้อสายจีนอยู่จำนวนมากแล้ว ที่นี่ยังมีรูปปั้นเจ้าแม่กวนอิม ซึ่งเป็นที่ศรัทธาเลื่อมใสของชาวบ้าน โดยสวมใส่ชุดสีขาวพระพักตร์เอิบอิ่ม มีการเจิมจุดแดงที่พระนลาฏ พระหัตถ์ขวาทรงขวดน้ำมนต์ พระหัตถ์ซ้ายอยู่ในท่าประทานพร ทรงยืนบนฐานมังกร ซึ่งนับเป็นประติมากรรมเทพเจ้าจีนที่สวยงามมากรูปหนึ่งที่ผู้คนให้ความศรัทธาสูงยิ่ง

Read more »

ประวัติ ท้าวเทพกระษัตรี (ย่ามุก) ท้าวศรีสุนทร (ย่าจัน)

ts3

คุณจัน เป็นบุตรีคนแรกของจอมร้างบ้านเคียน ซึ่งเกิดจาก นางหม้าเสี้ย มีพี่น้องร่วมบิดา มารดาเดียวกัน 5 คน เมื่ออายุสมควรจะมีเรือน บิดามารดาก็ได้จัดการแต่งงานให้กับหม่อมภักดีภูธร ( สามีคนแรก ) มีธิดา 1 คน คือแม่ปราง และบุตร 1 คน คือนานเทียน หลังจากคลอดนายเทียน หม่อมภักดีภูธรเสียชีวิต คุณจันอยู่เป็นหม้ายจนแต่งงานครั้งที่สอง กับพระยาพิมลอยา ( ขัน ) ภายหลังเป็น พระยาสุรินทราชาพิลอยา ( ขัน ) มีบุตรธิดาอีก 2 คน คุณจันมีอัธยาศัยสุภาพอ่อนโยน และมีความกล้าหาญเด็ดเดี่ยวสมกับเป็นบุตรของจอมร้างบ้านเคียน จึงเป็นที่สนิทเสน่าหา ของบิดามารดาและวงศ์ญาติทั้งหลาย เมื่อบิดามารดาแก่เฒ่า คุณจันรับภาระปกครองผู้คนบ่าวไพร่ และดูแลการงานภายในครอบครัวแทนบิดามารดาโดยสิทธิ์ขาด

คุณมุก เป็นบุตรคนที่ 2 ของจอมร้างบ้านเคียน ซึ่งเกิดจากนางหม้าเสี้ย มีกิริยาสุภาพอ่อนโยน ทั้งมีสติปัญญา และความกล้าหาญเด็ดเดี่ยว เป็นที่สนิทเสน่าหาของบิดามารดา และวงศ์ญาติเช่นกัน แต่ ไม่ปรากฎหลักฐานว่าแต่งงานกับผู้ใดหรือไม่

เมื่อจอมร้างบ้านเคียนถึงแก่กรรมลง พระยาสุวินทราชาพิมลอยา (ขัน) เป็นเจ้าเมือง ท่านผู้หญิงจัน เป็นแม่เมืองปกครองเมืองถลางด้วยความสงบสุขสืบมา ครั้นเมื่อพระยาสุรินทราชาพิมลอยา (ขัน) เจ้าเมืองเสียชีวิต พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกรัชกาลที่ 1 ได้ให้ทหารมาจับกุมตัว ท่านผู้หญิงจันเป็นเชลยศึกไปที่ค่ายปากพระ ในข้อกล่าวหาที่ว่าสามีเป็นหนี้แผ่นดิน

Read more »

ท้าวเทพกระษัตรี-ท้าวศรีสุนทร วีรสตรีผู้ปกป้องเมืองถลาง

ท้าวเทพกษัตรี หรือท่านหญิงจัน เป็นลูกของจอมร้าง เจ้าเมืองถลางกับนางหม่าเสี้ย ชาวเมืองไทรบุรี โดยมีพี่น้อง 4 คน ได้แก่ มุก (ท้าวศรีสุนทร) มหาอาด และเรือง ต่อมาท่านหญิงจันได้สมรสกับหม่อมศรีภักดีภูธร เป็นชาวนครศรีธรรมราช ซึ่งทั้งคู่มีบุตรด้วยกัน 2 คน คือ ปรางและเทียน ภายหลังเมื่อหม่อมศรีภักดีภูธรถึงแก่กรรม ท่านผู้หญิงจันและลูก ๆ จึงกลับมาอยู่ที่บ้านตะเคียนกับบิดา – มารดา ส่วนคุณมุกน้องสาว ได้แต่งงานกับชาวกรุงเทพฯ และมาทำมาหากินที่บ้านวัง เกาะถลาง
ต่อมาท่านหญิงได้แต่งงานใหม่กับพระยาพิรม (ขันธ์) จนมีบุตรด้วยกันอีก 5 คน ในสมัยสมเด็จพระเจ้าตากสิน พระยาพิมลได้รับการแต่งตั้ง เป็นเจ้าเมืองถลาง ภายหลังเมื่อสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลก ทรงปราบดาภิเษกเป็นปฐมกษัตริย์ ได้โปรดให้สำเร็จโทษสมเด็จพระเจ้าตากสิน พร้อมเชื้อพระวงศ์และนายทหารที่จงรักภักดี โดยต่อมาได้โปรดเกล้าให้ พระธรรมไตรโลก ทำการสะสางบ้านเมืองให้เรียบร้อย ทำให้พระยาพิมล ได้รับบาดเจ็บ และเสียชีวิตในเวลาต่อมา
ท่านผู้หญิงถูกคุมตัวไปที่ค่ายปากพระ เนื่องจากค้างค่าภาษีดีบุก ซึ่งเป็นขณะเดียวกันกันที่พม่ามาตีเมืองตะกั่วป่า และค่ายปากพระจนพ่าย ต่อมาท่านหญิงจึงรวมพรรคพวก ฝ่าวงล้อมหนีกลับมารวมคนที่ถลาง ซึ่งขณะนั้นถูกพม่าล้อมอยู่ ด้วยกองทัพไทยนั้นมีกำลังน้อย คุณหญิงจัน และคุณหญิงมุก (น้องสาว) สั่งให้คัดเลือกผู้หญิงกลางคนประมาณ 500 คน มาแต่งตัวเป็นผู้ชาย แล้วนำทางมะพร้าว มาทำเป็นอาวุธ เพื่อลวงข้าศึก ว่าทัพไทยมีกำลังเสริม ทำให้พม่าไม่กล้าโจมตีและขาดแคลนเสบียง ซึ่งพม่าล้อมเมืองถลาง อยู่ได้ประมาณ 1 เดือน ก็บาดเจ็บล้มตายไปประมาณ 300 – 400 คน จึงเลิกทัพกลับไป อันถือว่าเป็นการป้องกัน เมืองถลางเอาไว้ได้

Read more »

อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร

p17ria6h3jk1118m51gib1hnk15jp4

อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร เป็นอนุสรณ์สถานของ 2 วีรสตรี ขนาดเท่าองค์จริง รูปทรงน่าเกรงขาม มือนั้นถือดาบ เพื่อเป็นการเทิดทูนและรำลึกถึงคุณความดีของท่าน ครั้งสมัยที่ท่านทั้งสอง ได้ช่วยปกป้องประเทศจากการรุกราน ของกองทัพพม่า ได้ในสงครามเก้าทัพ สมัยรัตนโกสินทร์ตอนต้น ตั้งอยู่ที่วงเวียนท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง จังหวัดภูเก็ต สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2509

ท้าวเทพกระษัตรี มีชื่อเดิมว่า “ท่านผู้หญิงจัน” ท้าวศรีสุนทร เป็นน้องมีชื่อเดิมว่า “คุณมุก” ทั้งสองเป็นบุตรีของจอมรั้งเจ้าเมืองถลาง

มารดาชื่อหม่าเสี้ย เป็นเชื้อสายเจ้าเมืองไทรบุรี มีพี่น้องร่วมบิดามารดาทั้งหมด 5 คน ได้แก่ คุณจัน คุณมุก คุณหม่า (หญิง) คุณอาด (ชาย) และคุณเรือง (ชาย) ซึ่งต่อมาคุณจันได้แต่งงาน กับหม่อมศรีภักดี บุตรจอมนายกองเมืองตะกั่วทุ่ง มีบุตรธิดาด้วยกัน 2 คน ได้แก่ คุณปราง และ คุณเทียน เมื่อหม่อมศรีภักดีถึงแก่กรรม คุณจันจึงตกพุ่มหม้าย ต่อมาเมื่อพระกระบุรี (ขัน) ได้รับยศเป็นพระยาพิมลเจ้าเมืองถลาง จึงได้มาแต่งงานกับคุณจัน มีบุตรธิดาด้วยกัน 5 คน ได้แก่ แม่ทอง พ่อจุ้ย พ่อเนียม แม่กิ่ม และแม่เมือง

Read more »

ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร สองวีรสตรีของชาติ

จากสะพานไปตามทางหลวงหมายเลข 402 ลงไปทางใต้ ประมาณ 50 กิโลเมตร จะพบอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทรตั้งอยู่กลางถนน บริเวณวงเวียนท่าเรือ และจากตัวเมืองภูเก็ต มุ่งหน้าสู่อำเภอถลาง ประมาณ 12 กิโลเมตร มีบริการรถโดยสาร สายภูเก็ต – ท่าฉัตรไชย ค่าบริการคนละ 20 บาท ท่ารถจอดให้บริการอยู่ที่บริเวณตลาดสด ในตัวเมืองภูเก็ต

ตามทางหลวงหมายเลข 402 ก่อนเข้าสู่ตัวเมืองภูเก็ตปรมาณ 12 กิโลเมตร จะเห็นอนุสาวรีย์ ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ขนาดใหญ่ตั้งอยู่กลางถนน เพื่อเป็นการระลึกถึงความกล้าหาญ ของทั้งสองท่าน และเป็นสัญลักษณ์ประจำจังหวัดภูเก็ต

อนุสาวรีย์นี้ถูกสร้างขึ้นเมื่อปี พ.ศ. 2510 เป็นรูปปั้นรูปเหมือนของท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร ในชุดโจงกระเบน ใส่เสื้อแขนกระบอก มือถือดาบ ในท่าเตรียมพร้อมออกสู้รบกับทหารพม่า ในสมัยสงคราม 9 ทัพ

รอบอนุสาวรีย์เป็นลานขนาดย่อม เพื่อสำหรับเป็นที่สักการะบูชา และมักพบผู้มากราบไหว้เกือบตลอด ทั้งวัน โดยเฉพาะในวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี ชาวภูเก็ตจะร่วม จัดงานบวงสรวงสองวีรสตรี ที่บริเวณลานแห่งนี้

Read more »

อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร

9a9f0f60-24af-6b69-1590-524d45629f43

การไปนมัสการ อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร ที่บ้านท่าเรือ ตำบลศรีสุนทร อำเภอถลาง หรือที่ชาวภูเก็ตรู้จักกันดีในนาม “อนุสาวรีย์คุณหญิงจัน คุณหญิงมุก” ซึ่งเป็นนามเดิมของท่านทั้งสองนั่นเอง

หากเปรียบสะพานสารสินเป็นทางเดินเข้าสู่เมืองภูเก็ต อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร ก็เปรียบได้ดั่งประตูบ้านก็ว่าได้ เพราะไม่ว่าใครจะเดินทางเข้าออกเกาะแห่งนี้ ย่อมต้องผ่านอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีทั้งขาไปและขากลับ ก่อนที่จะไปนมัสการขอพรจาก ย่าจัน ย่ามุก เรามาทำความรู้จักอนุสาวรีย์คู่บ้านคู่เมืองแห่งนี้กันสักเล็กน้อยดีกว่าครับ

พ.ศ.2328 ประเทศไทยถูกพม่ารุกรานโดยศึกครั้งนั้นเรียกกันว่า “สงครามเก้าทัพ” และมีทัพหนึ่งของพม่าบุกมาทางภาคใต้หมายจะตีเมืองถลางให้สำเร็จ ขณะนั้นเจ้าเมืองถลางสามีของคุณหญิงจันเพิ่งเสียชีวิตลงไม่นานทำให้เมือง ถลางครานั้นขาดผู้นำ คุณหญิงจันและคุณหญิงมุกผู้เป็นน้องจึงอาสาเป็นผู้บัญชาการรบด้วยตัวเอง โดยคุณหญิงจันได้รวบรวมผู้คน อาวุธปืน และประชุมวางแผนป้องกันเมืองกับทหารชาย แต่ถึงอย่างไรทหารที่มีก็น้อยเหลือเกิน คุณหญิงจันและคุณหญิงมุกจึงคิดอุบายให้พม่าถอยทัพกลับโดยเร็วที่สุด โดยการรวบรวมผู้หญิงในเมืองถลางราว 500 คน มาแต่งตัวเลียนแบบชายชาตรี ทั้งการเดิน บุคลิกท่าทาง และที่สุดแห่งอุบายคือการให้ผู้หญิงทั้งหมดแสร้งทำเป็นว่าถือดาบ โดยให้เอาไม้ทองหลางเคลือบดีบุกถือต่างอาวุธ เพื่อลวงข้าศึกทำทีว่าจะยกพลเข้าตีทัพพม่า อีกกลยุทธ์ที่เด็ดดวงไม่แพ้กันคือรู้ว่าตนมีกำลังน้อย จึงทำทีจัดขบวนไพร่พลเดินตระเวนและประชุมพลถ่ายเทคนเข้าออก เป็นการลวงให้เห็นว่าทัพไทยมีพลกำลังเสริมเข้ามาตลอดเวลา ทำให้พม่าลังเลใจที่จะเข้าตี นับเป็นการหน่วงเหนี่ยวเวลาที่ได้ผลและแสบสันต์ที่สุด ระยะเวลาที่ยาวนานส่งผลให้กองทัพพม่าขาดเสบียงอาหาร บาดเจ็บล้มตายเป็นประจำทุกวัน เมื่อไม่เห็นทางจะตีเมืองถลางให้แตกได้กอปรกับขาดเสบียง ความอ่อนล้าจากสงครามและการเดินทาง ซึ่งกินเวลาราว 5 เดือน ส่งผลให้กองทัพปั่นป่วนและสูญเสียทหารไปมากกว่า 400 คน พม่าจึงตัดสินใจยกทัพกลับไป

Read more »

ประวัติท้าวเทพกระษัตรี – ท้าวศรีสุนทร

ท้าวเทพกระษัตรีและท้าวศรีสุนทร เป็นนามเทิดพระเกียรติแห่งวีรกรรมที่ พระบาทสมเด็จ พระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช รัชกาลที่ 1 แห่งราชวงศ์จักรี ทรงพระกรุณาโปรดเกล้าฯ พระราชทานให้ ท่านผู้หญิงจัน เป็นท้าวเทพกระษัตรี และคุณมุก เป็น ท้าวศรีสุนทร

ท่านทั้งสอง เป็นบุตรีของเจ้าเมืองถลาง นามว่า พระถลางจอมร้าง (บ้านตะเคียน) และ แม่เซีย หรือหม่าเสี้ย ก็เรียก กล่าวกันว่า มารดาท่านมีเชื้อสายเจ้าเมืองไทรบุรี ท่านมีพี่น้องร่วมบิดา มารดา 4 คน โดยคุณจันเป็นบุตรีคนหัวปี คนรองคือ คุณมุก คนที่สามเป็นหญิง ชื่อหมา คนที่สี่เป็นชายชื่ออาด (ต่อมาได้เป็นพระยาถลาง ตำแหน่งเจ้าเมืองถลางอีกคนหนึ่ง) คนสุดท้ายเป็นชายชื่อเรือง (ได้เป็นพระพล ตำแหน่งปลดเมืองถลางต่อมาด้วย)

คุณจัน นั้น คาดคะเนกันว่า ท่านน่าจะเกิด ระหว่างปี พ.ศ. 2278 – 2283 ในรัชสมัยแผ่นดิน พระเจ้าบรมโกศ แห่งกรุงศรีอยุธยาตอนปลาย ส่วนคุณมุกก็คงจะเป็นน้องสาว วัยไล่เลี่ยกับท่าน เพราะระหว่างนำสู้ศึกถลาง ท่านน่าจะมีอายุระหว่าง 45 – 50 ปี

ในวัยเด็กท่านอยู่กับครอบครัว บิดา มารดาท่านตั้งบ้านเรือนอยู่ที่ บ้านตะเคียน (ชาวถลางปัจจุบันเรียกว่า บ้านเคียน) เนื่องด้วยท่านทั้งสองเป็นเชื้อสายของเจ้าเมือง คงได้รับการอบรม และฝึกสอนให้มีจิตใจ เข้มแข็ง อดทน รู้หลักการปกครองผู้คนได้ ท่านทั้งสอง จึงเป็นคนที่แข็งแกร่ง เยี่ยงอย่างชาย ไม่อ่อนแอเหมือนหญิงทั่วไป Read more »

ท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร

งานท้าวเทพกษัตรีย์ ท้าวศรีสุนทร ตรงกับวันที่ 13 มีนาคม ของทุกปี (วันถลางชนะศึก) เป็นการเทิดทูนเกียรติ และรำลึกถึงคุณงามความดี ของสองวีรสตรี ที่ท่านสามารถ ปกป้อง เมืองถลางให้รอดพ้นจากข้าศึก (พม่า) ในสมัยสงครามเก้าทัพ นอกจากนี้ ยังเป็นการฟื้นฟู แหล่งประวัติศาสตร์ ไม่ว่าจะเป็น อนุสรณ์สถานถลางชนะศึก (วัดม่วง) โคกชนะพม่า หรือ วัดพระนางสร้าง ให้เป็นแหล่งท่องเที่ยว ที่ทรงคุณค่า เพื่อส่งเสริมการท่องเที่ยว เชิงประวัติศาสตร์ของ จังหวัดภูเก็ต ให้เป็นที่รู้จัก ของนักท่องเที่ยวทั้งชาวไทย และชาวต่างชาติอีกด้วย

ตามประวัติศาสตร์ กล่าวไว้ว่า ท้าวเทพกระษัตรี และท้าวศรีสุนทร เป็นธิดาของ จอมร้างบ้านตะเคียน (ขุนนางผู้ปกครองเมืองถลาง) มารดาชื่อหม่าเสี้ย เป็นเชื้อสายเจ้าเมืองไทรบุรี คุณจันเกิดที่ บ้านตะเคียน เมืองถลาง ประมาณปี พ.ศ. 2278 ปลายกรุงศรีอยุธยา ในรัชกาล พระเจ้าบรมโกศ มีพี่น้องร่วมบิดามารดา 5 คน คือคุณจัน คุณมุก คุณหม่า (หญิง) คุณอาด (ชาย) และคุณเรือง (ชาย)

ทั้งสองท่าน ได้รับการเลี้ยงดู เพื่อรับภาระอันหนักยิ่งของตระกูล ทั้งการควบคุมไพร่พลขุดหาดีบุก การแสวงหาเครื่องอุปโภคบริโภค สำหรับไพร่พลจำนวนมาก การหาตลาดจำหน่ายดีบุก การแสวงหาอาวุธ เพื่อป้องกันภัยจากพม่าและโจรสลัด หรือการรักษาสถานภาพของตระกูล จากการฉกฉวยแย่งชิงของศูนย์อำนาจภายนอก ดังนั้น จึงมีคุณสมบัติ ความเป็นผู้นำ สูงเป็นอย่างยิ่ง

Read more »

อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร – สักการะบุคคลสำคัญของเกาะภูเก็ต

1

เป็นที่รู้จักกันดีสำหรับวีรกรรมของสองวีรสตรีที่ปกป้องเกาะภูเก็ตไว้จากทัพข้าศึกในยุคต้นกรุงรัตนโกสินทร์ ครั้งที่พม่ายกทัพใหญ่หมายตีสยามประเทศให้ราบคราบในครั้งสุดท้าย หรือที่รู้จักกันดีดีว่า “สงครามเก้าทัพ” ครั้งนั้นท่านผู้หญิงจัน และน้องสาวคือคุณมุก ได้เป็นผู้นำทัพชาวบ้านต่อสู้จนขับไล่ข้าศึกออกจากการรุกรานไปได้ด้วยความกล้าหาญและความเฉลียวฉลาด

วีรกรรมในครั้งนั้นทำให้พระบาทสมเด็จพระพุทธยอดฟ้าจุฬาโลกมหาราช (รัชกาลที่ 1) ทรงมีพระบรมราชโองการโปรดเกล้าโปรดกระหม่อมบำเหน็จผู้ทำคุณแก่แผ่นดิน ให้ท่านผู้หญิงจันเป็น “ท้าวเทพกระษัตรี” และคุณมุกผู้เป็นน้องสาวเป็น “ท้าวศรีสุนทร”
อนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรี ท้าวศรีสุนทร – สักการะบุคคลสำคัญของเกาะภูเก็ต

ตัวอนุสาวรีย์สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2509 อยู่บริเวณสีแยกท่าเรือ ที่อำเภอถลาง โดยพระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวภูมิพลอดุลยเดชและสมเด็จพระนางเจ้าสิริกิติ์ พระบรมราชินีนาถ เสด็จ ฯ เปิดอนุสาวรีย์ท้าวเทพกระษัตรีท้าวศรีสุนทร เมื่อวันที่ 24 พฤษภาคม 2510 เป็นอนุสารย์ที่โดดเด่นเป็นสง่าด้วยสองวีรสตรไทยอยู่ใชุดโจงกระแบน สวมเสื้อแขนกระบอกห่มตะเบงมาน และมือขวาถือดาบ สามารถเดินข้ามถนนไปสักการะได้ ซึ่งเป็นสิ่งที่สมควรอย่างยิ่งสำหรับเรา ๆ ที่เป็นคนไทยให้ได้ทราบซึ้งถึงบุญคุณของบรรพบุรุษชาติไทยเรา

ขอขอบคุณ http://www.thailandholidayhomes.co.th/

. . . . . . .
. . . . . . .